< Return to Video

หนึ่งเคล็ดลับแปลก ๆ ที่จะช่วยคุณมองคลิกเบตให้ออก - เจฟฟ์ ลีก (Jeff Leek) และ ลูซี แมกโกแวน (Lucy McGowan)

  • 0:07 - 0:12
    มีวิตามินชนิดหนึ่งที่สามารถ
    ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
  • 0:12 - 0:16
    การกินช็อกโกแลตลดความเครียดในเด็กนักเรียน
  • 0:16 - 0:20
    ยาชนิดใหม่ยืดอายุผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก
  • 0:20 - 0:23
    มีการนำเสนอ
    พาดหัวข่าวสุขภาพเช่นนี้ในทุก ๆ วัน
  • 0:23 - 0:26
    ซึ่งบางครั้งก็มีข้อสรุป
    ที่ตรงข้ามกันในแต่ละแหล่ง
  • 0:26 - 0:30
    อาจมีความไม่เกี่ยวข้องกันระหว่าง
    การพาดข่าวหัวกว้าง ๆ เพื่อดึงความสนใจ
  • 0:30 - 0:33
    กับผลลัพธ์ที่มักเฉพาะเจาะจง
    และเป็นก้าวเล็ก ๆ
  • 0:33 - 0:35
    ของงานวิจัยทางการแพทย์ในตัวข่าว
  • 0:35 - 0:39
    แล้วคุณจะป้องกันการถูกทำให้เข้าใจผิด
    จากพาดหัวยั่วให้อ่านเหล่านี้ได้อย่างไร?
  • 0:39 - 0:42
    วิธีที่ดีที่สุดในการประเมิน
    ความน่าเชื่อถือของพาดหัว
  • 0:42 - 0:46
    คือการเข้าไปดูงานวิจัยต้นฉบับที่ใช้อ้างถึง
  • 0:46 - 0:48
    เราได้จำลองสถานการณ์งานวิจัยสมมุติ
  • 0:48 - 0:51
    สำหรับ 3 พาดหัวต่อไปนี้
  • 0:51 - 0:53
    ให้ดูต่อไปสำหรับคำอธิบายของตัวอย่างแรก
  • 0:53 - 0:56
    จากนั้นกดหยุด
    ที่พาดหัวเพื่อตอบคำถาม
  • 0:56 - 0:59
    นี่เป็นเพียงสถานการณ์ง่าย ๆ
  • 0:59 - 1:03
    งานวิจัยจริงจะมีปัจจัยเยอะกว่ามาก
    รวมถึงที่มาที่ไปของปัจจัยเหล่านั้น
  • 1:03 - 1:05
    แต่เพื่อจุดประสงค์สำหรับการฝึก
  • 1:05 - 1:08
    ให้สมมุติว่าคุณมีข้อมูล
    ที่จำเป็นเพียงพอแล้ว
  • 1:11 - 1:14
    เรามาเริ่มจากการพิจารณา
    ผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต
  • 1:14 - 1:17
    ของวิตามินชนิดหนึ่งที่ชื่อ เฮลเทียม
  • 1:17 - 1:20
    งานวิจัยนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่าง
    ที่ได้รับเฮลเทียม
  • 1:20 - 1:24
    มีระดับคอเลสเตอรอลที่ดี
    สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาหลอก
  • 1:24 - 1:30
    ระดับของพวกเขาใกล้เคียงกับระดับของ
    กลุ่มคนที่มีคอเลสเตอรอลนี้สูงโดยธรรมชาติ
  • 1:30 - 1:35
    งานวิจัยก่อนหน้าชี้ว่ากลุ่มคนที่มี
    คอเลสเตอรอลนี้สูงโดยธรรมชาติ
  • 1:35 - 1:37
    มีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่า
  • 1:37 - 1:40
    งั้นสิ่งที่พาดหัวนี้ชวนให้เข้าใจผิดคืออะไร
  • 1:40 - 1:43
    "เฮลเทียมลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ"
  • 1:44 - 1:49
    ปัญหาของพาดหัวนี้คือ
    ที่จริงแล้วงานวิจัยนี้ไม่ได้สำรวจ
  • 1:49 - 1:51
    ว่าเฮลเทียมลดความเสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่
  • 1:51 - 1:54
    แต่เพียงสำรวจผลกระทบของเฮลเทียม
  • 1:54 - 1:57
    ต่อระดับของคอเลสเตอรอลประเภทหนึ่งเท่านั้น
  • 1:57 - 2:00
    ความจริงที่ว่าผู้มีระดับ
    คอเลสเตอรอลนี้สูงโดยธรรมชาติ
  • 2:00 - 2:02
    มีความเสี่ยงต่อหัวใจวายต่ำกว่านั้น
  • 2:02 - 2:08
    ไม่ได้แปลว่าจะเป็นจริงเช่นเดียวกันกับผู้ที่
    เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลนี้โดยใช้เฮลเทียม
  • 2:08 - 2:10
    ในเมื่อคุณได้ไขปริศนา
    กรณีเฮลเทียมแล้ว
  • 2:10 - 2:14
    ลองเผชิญกับความลึกลับน่าหลงใหลนี้ดู
  • 2:14 - 2:17
    ความสัมพันธ์ระหว่าง
    การกินช็อกโกแลตกับความเครียด
  • 2:17 - 2:20
    สมมุติว่างานวิจัยนี้
    มีการสำรวจนักเรียน 10 คน
  • 2:20 - 2:24
    ครึ่งหนึ่งเริ่มบริโภคช็อกโกแลต
    เป็นประจำทุกวัน
  • 2:24 - 2:25
    ส่วนอีกครึ่งงดบริโภค
  • 2:25 - 2:29
    ในฐานะเพื่อนร่วมห้อง
    ทุกคนใช้ตารางเรียนเดียวกัน
  • 2:29 - 2:30
    เมื่อจบการสำรวจ
  • 2:30 - 2:35
    พบว่านักเรียนที่ได้กินช็อกโกแลต
    เครียดน้อยกว่านักเรียนที่ไม่ได้กิน
  • 2:35 - 2:37
    พาดหัวนี้ผิดตรงไหน
  • 2:37 - 2:41
    "การกินช็อกโกแลต
    ลดความเครียดในเด็กนักเรียน"
  • 2:43 - 2:49
    มันน้อยเกินไปที่จะสรุปเกี่ยวกับนักเรียน
    อย่างกว้าง ๆ โดยใช้ตัวอย่างเพียงแค่ 10 คน
  • 2:49 - 2:54
    นั่นเพราะยิ่งผู้เข้าร่วมในตัวอย่างสุ่มน้อย
    โอกาสก็จะยิ่งต่ำที่ตัวอย่างเหล่านั้น
  • 2:54 - 2:58
    จะเป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมาย
    ทั้งหมดได้อย่างใกล้เคียง
  • 2:58 - 3:03
    เช่น หากประชากรทั้งหมดของนักเรียน
    เป็นเพศชายครึ่งหนึ่งหญิงครึ่งหนึ่ง
  • 3:03 - 3:05
    โอกาสที่จะสุ่มได้ตัวอย่าง 10 คน
  • 3:05 - 3:08
    ที่โน้มไปทางเพศชาย 70% เพศหญิง 30%
  • 3:08 - 3:10
    มีประมาณ 12%
  • 3:10 - 3:16
    ในตัวอย่าง 100 คน โอกาสจะต่ำกว่า 0.0025%
  • 3:16 - 3:18
    และในตัวอย่าง 1000 คน
  • 3:18 - 3:23
    โอกาสจะต่ำกว่า 6×10^-36 %
  • 3:23 - 3:25
    ในทำนองเดียวกัน ยิ่งผู้เข้าร่วมน้อย
  • 3:25 - 3:29
    ผลลัพธ์ของตัวอย่างแต่ละคนก็ยิ่ง
    ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์โดยรวมมาก
  • 3:29 - 3:33
    และจึงอาจทำให้แนวโน้ม
    ในภาพรวมเพี้ยนไป
  • 3:33 - 3:33
    ถึงกระนั้น
  • 3:33 - 3:37
    ก็มีเหตุผลที่ดีหลายเหตุผล
    ให้นักวิทยาศาสตร์ทำวิจัยขนาดเล็ก
  • 3:37 - 3:39
    โดยเริ่มจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก
  • 3:39 - 3:42
    พวกเขาสามารถประเมินได้ว่า
    ผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่าพอหรือไม่
  • 3:42 - 3:45
    ที่จะทำวิจัยที่ครบถ้วนมากขึ้น
    ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตาม
  • 3:45 - 3:49
    และบางวิจัยก็ต้องการ
    กลุ่มตัวอย่างที่เฉพาะมาก ๆ
  • 3:49 - 3:52
    ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ที่จะหา
    ตัวอย่างเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก
  • 3:52 - 3:54
    สิ่งสำคัญคือ การทำซ้ำได้
  • 3:54 - 3:58
    หากบทความหนึ่งทำการสรุป
    จากงานวิจัยขนาดเล็กชิ้นเดียว
  • 3:58 - 4:00
    ข้อสรุปนั้นอาจน่าเคลือบแคลง
  • 4:00 - 4:03
    แต่หากมีการใช้งานวิจัยหลายชิ้น
    ที่ได้ผลลัพธ์คล้ายกัน
  • 4:03 - 4:05
    ข้อสรุปนั้นก็น่าเชื่อถือมากขึ้น
  • 4:05 - 4:07
    เรายังเหลืออีกหนึ่งปริศนา
  • 4:07 - 4:08
    ในสถานการณ์นี้
  • 4:08 - 4:12
    งานวิจัยหนึ่งทดสอบผลของยาชนิดใหม่
    สำหรับโรคหายากร้ายแรง
  • 4:12 - 4:14
    ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย 2,000 คน
  • 4:14 - 4:18
    พบว่าผู้ที่เริ่มรับยาชนิดใหม่นี้
    หลังวินิจฉัยโรค
  • 4:18 - 4:21
    มีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก
  • 4:21 - 4:24
    คราวนี้คำถามต่างออกไปเล็กน้อย
  • 4:24 - 4:28
    ยังมีอีกอย่างที่คุณควรต้องรู้
    ก่อนจะตัดสินพาดหัว
  • 4:28 - 4:34
    "ยาชนิดใหม่ยืดอายุผู้ป่วยที่เป็นโรคหายาก"
    นี่สมเหตุสมผลหรือไม่?
  • 4:35 - 4:36
    ก่อนที่จะตัดสิน
  • 4:36 - 4:41
    คุณควรต้องรู้ว่ายานี้ยืดชีวิต
    ผู้ป่วยได้ยาวขึ้นแค่ไหน
  • 4:41 - 4:43
    บางครั้ง งานวิจัยอาจได้ผลลัพธ์ที่
  • 4:43 - 4:48
    แม้จะถูกต้องในทางวิทยาศาสตร์
    แต่ไม่ได้มีนัยสำคัญในโลกความเป็นจริง
  • 4:48 - 4:53
    เช่น การทดลองทางการแพทย์ของจริงครั้งหนึ่ง
    ของยาต้านมะเร็งตับอ่อน
  • 4:53 - 4:57
    พบว่าอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 10 วัน
  • 4:57 - 5:00
    ครั้งต่อไปที่คุณพบพาดหัว
    ทางการแพทย์ที่น่าตื่นตา
  • 5:00 - 5:03
    ให้ดูไปที่งานวิจัยที่ใช้อ้างถึงด้วย
  • 5:04 - 5:07
    ถึงแม้งานวิจัยตัวเต็ม
    ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอ่าน
  • 5:07 - 5:10
    คุณก็ยังสามารถหาสรุปแบบแผนการทดลอง
  • 5:10 - 5:13
    และผลการทดลองได้ในบทคัดย่อ
    ซึ่งเปิดให้อ่านได้ฟรี
  • 5:13 - 5:16
    หรือกระทั่งในตัวข่าวนั่นเอง
  • 5:16 - 5:20
    มันน่าตื่นเต้นที่ได้เห็น
    งานวิจัยครอบคลุมเนื้อหาในข่าวนั้น
  • 5:20 - 5:23
    และมันก็สำคัญเช่นกันที่ต้องเข้าใจ
    สิ่งที่พบในงานวิจัยนั้น ๆ
Title:
หนึ่งเคล็ดลับแปลก ๆ ที่จะช่วยคุณมองคลิกเบตให้ออก - เจฟฟ์ ลีก (Jeff Leek) และ ลูซี แมกโกแวน (Lucy McGowan)
Speaker:
เจฟฟ์ ลีก (Jeff Leek) และ ลูซี แมกโกแวน (Lucy McGowan)
Description:

ดูบทเรียนเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/this-one-weird-trick-will-help-you-spot-clickbait-jeff-leek-and-lucy-mcgowan

มีการนำเสนอพาดหัวข่าวสุขภาพมากมายในทุกวัน ซึ่งบางครั้งก็มีข้อสรุปที่ตรงข้ามกันในแต่ละแหล่ง อาจมีความไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างการพาดข่าวหัวกว้าง ๆ เพื่อดึงความสนใจ กับผลลัพธ์ที่มักเฉพาะเจาะจงและเป็นก้าวเล็ก ๆ ของงานวิจัยทางการแพทย์ในตัวข่าว แล้วคุณจะป้องกันการถูกทำให้เข้าใจผิดจากพาดหัวยั่วให้อ่านเหล่านี้ได้อย่างไร เจฟฟ์ ลีก (Jeff Leek) และ ลูซี แมกโกแวน (Lucy McGowan) จะมาอธิบายถึงวิธีมองคลิกเบตให้ออก

บทเรียนโดย เจฟฟ์ ลีก (Jeff Leek) และ ลูซี แมกโกแวน (Lucy McGowan)
กำกับโดย Zedem Media

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:49

Thai subtitles

Revisions