< Return to Video

อาการอิมโพสเตอร์คืออะไรและคุณสามารถต่อกรกับมันได้อย่างไร? - เอลิซาเบธ คอกซ์

  • 0:09 - 0:13
    แม้ว่าจะเขียนหนังสือจบ 11 เล่ม
    และชนะรางวัลอันทรงเกียรติหลายรางวัล
  • 0:13 - 0:15
    มายา แองเจลู ก็ไม่สามารถ
    คลายความสงสัยข้องใจ
  • 0:15 - 0:20
    ว่าจริงๆ แล้ว
    เธอไม่ควรได้รับความสำเร็จนั้น
  • 0:20 - 0:23
    อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์
    ก็ประสบกับสิ่งเหล่านี้ไม่ต่างกัน
  • 0:23 - 0:26
    เขาได้ให้คำจำกัดความตัวเอง
    ว่าเป็น "นักหลอกลวงที่ไม่ได้ตั้งใจ"
  • 0:26 - 0:30
    งานของเขาไม่ควรจะได้รับ
    ความสนใจมากขนาดนั้น
  • 0:30 - 0:33
    ความสำเร็จของ แองเจลู หรือ ไอน์สไตน์
    จัดอยู่ในระดับที่หายาก
  • 0:33 - 0:36
    แต่ความรู้สึกว่าพวกเขาหลอกลวงผู้อื่น
    ถือเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป
  • 0:36 - 0:38
    ทำไมเราถึงไม่สามารถขจัดความรู้สึก
  • 0:38 - 0:41
    ที่ว่าพวกเราไม่ควรได้รับ
    ความสำเร็จที่เราได้มา
  • 0:41 - 0:45
    หรือว่าความคิดและทักษะของพวกเรา
    ไม่ได้มีคุณค่ามากพอที่คนอื่นๆ จะสนใจ
  • 0:45 - 0:48
    พอลลีน โรส แคลนส์ เป็นนักจิตวิทยาคนแรก
    ที่ทำการศึกษาเรื่อง
  • 0:48 - 0:51
    ความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองที่ดูไร้เหตุผล
  • 0:51 - 0:52
    จากงานของเธอในฐานะนักบำบัด
  • 0:52 - 0:57
    เธอสังเกตเห็นคนไข้นักศึกษาปริญญาตรี
    มีความกังวลคล้ายกัน:
  • 0:57 - 0:58
    แม้ว่าพวกเขาจะได้เกรดสูง
  • 0:58 - 1:02
    แต่พวกเขากลับไม่เชื่อว่า
    ควรได้รับเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
  • 1:02 - 1:05
    บางคนถึงกับเชื่อว่าที่ได้รับเข้าเรียน
    เป็นเพราะความผิดพลาดตอนสมัคร
  • 1:05 - 1:07
    ขณะที่แคลนส์พบว่าความกลัวนี้ไม่มีมูลเหตุ
  • 1:07 - 1:11
    เธอเองก็จำได้ว่ารู้สึกแบบเดียวกัน
    ตอนเรียนบัณฑิตวิทยาลัย
  • 1:11 - 1:14
    เธอและคนไข้ของเธอต่างก็ประสบ
    กับสิ่งที่มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย--
  • 1:14 - 1:16
    ภาวะอิมโพสเตอร์
  • 1:16 - 1:18
    ประสบการณ์อิมโพสเตอร์
  • 1:18 - 1:20
    และอาการอิมโพสเตอร์
  • 1:20 - 1:22
    แคลนส์และผู้ร่วมงานชื่อ ซูแซนน์ ไอมส์
  • 1:22 - 1:27
    ได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับอาการอิมโพสเตอร์
    ในหมู่นักศึกษาหญิงที่วิทยาลัยและคณะ
  • 1:27 - 1:30
    การศึกษาของพวกเขาได้ค้นพบความรู้สึกหลอกลวง
    ที่แพร่หลายในคนกลุ่มนี้
  • 1:30 - 1:32
    จากการศึกษาครั้งแรก
  • 1:32 - 1:34
    ต่อมาก็ได้ขยายการศึกษาไปในทุกๆ เพศ
  • 1:34 - 1:35
    ทุกชาติพันธ์ุ
  • 1:35 - 1:36
    ทุกวัย
  • 1:36 - 1:38
    และในหลายหลายอาชีพ
  • 1:38 - 1:41
    แม้ว่าจะพบได้อย่างแพร่หลาย
    และส่งผลกระทบอย่างไม่สมส่วน
  • 1:41 - 1:45
    ต่อประสบการณ์ของชนกลุ่มน้อย
    หรือกลุ่มคนด้อยโอกาสมากกว่า
  • 1:45 - 1:48
    หากเรียกว่าเป็นอาการของโรคโรคหนึ่ง
    ก็จะยิ่งไปลดความสำคัญว่าใคร ๆ ก็เป็นกัน
  • 1:48 - 1:51
    มันไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติ
  • 1:51 - 1:54
    และมันไม่ได้จำต้องเกี่ยวพันกับ
    โรคซึมเศร้า
  • 1:54 - 1:55
    ความวิตกกังวล
  • 1:55 - 1:57
    หรือความภาคภูมิใจในตนเอง
  • 1:57 - 1:59
    ความรู้สึกว่ากำลังหลอกลวงผู้อื่นนี้
    มาจากไหนกัน?
  • 1:59 - 2:01
    คนที่มีทักษะสูงหรือประสบความสำเร็จ
  • 2:01 - 2:03
    มีแนวโน้มที่จะคิดว่ามันเป็นแค่ทักษะ
  • 2:03 - 2:07
    ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกแย่
    ที่ว่าพวกเขาไม่ควรได้รับรางวัล
  • 2:07 - 2:09
    และโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ
  • 2:09 - 2:11
    เหมือนดังที่ แองเจลลู และ ไอน์สไตน์ ประสบ
  • 2:11 - 2:14
    การประสบความสำเร็จซึ่งไม่มีเกณฑ์วัดตายตัว
  • 2:14 - 2:16
    ทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
  • 2:16 - 2:20
    ความรู้สึกของผู้ที่มีภาวะอิมโพสเตอร์
    ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ผู้มีทักษะสูงเช่นกัน
  • 2:20 - 2:23
    ทุกๆ คนต่างอ่อนไหวต่อภาวะที่เรียกว่า
    พฤติกรรมการเมินเฉยร่วมกัน
  • 2:24 - 2:27
    ที่พวกเราต่างสงสัยตัวเราเองอยู่เงียบๆ
  • 2:27 - 2:29
    ขณะที่เราก็เชื่อว่ามีแค่เราที่คิดแบบนี้
  • 2:29 - 2:31
    นั่นก็เพราะไม่มีใครพูดถึงความสงสัยนี้ออกมา
  • 2:31 - 2:35
    เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆ
    ว่างานของเพื่อนๆ เรามันยากแค่ไหน
  • 2:35 - 2:38
    ความลำบากที่พวกเขาประสบกับงานบางอย่าง
  • 2:38 - 2:40
    หรือพวกเขาสงสัยในตัวเองมากน้อยเพียงใด
  • 2:40 - 2:43
    มันไม่ง่ายที่จะลบความรู้สึกที่ว่า
    พวกเรามีความสามารถด้อยกว่า
  • 2:43 - 2:45
    คนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
  • 2:45 - 2:47
    ภาวะอิมโพสเตอร์ที่แรงกล้านี้
  • 2:47 - 2:49
    อาจเป็นอุปสรรคต่อการ
    แบ่งปันความคิดที่ยอดเยี่ยม
  • 2:49 - 2:53
    หรือการสมัครงาน
    และแผนการใดๆ ที่พวกเขาสันทัด
  • 2:53 - 2:54
    อย่างน้อย จนถึงตอนนี้
  • 2:54 - 2:57
    วิธีที่แน่นอนที่สุดในการต่อกร
    กับภาวะอิมโพสเตอร์
  • 2:57 - 2:58
    คือการพูดถึงมัน
  • 2:58 - 3:00
    คนมากมายที่ทนทุกข์กับอาการอิมโพสเตอร์
  • 3:00 - 3:03
    จะกลัวว่าถ้าหากถูกถามถึงผลการดำเนินงาน
  • 3:03 - 3:04
    สิ่งที่กลัวก็จะเป็นจริง
  • 3:04 - 3:06
    และแม้ว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี
  • 3:06 - 3:09
    มันก็ไม่อาจบรรเทาความรู้สึกหลอกลวงได้
  • 3:09 - 3:10
    แต่ในทางกลับกัน
  • 3:10 - 3:14
    การได้ยินว่าที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำ
    เคยประสบกับความรู้สึกจากภาวะอิมโพสเตอร์
  • 3:14 - 3:16
    อาจช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านั้น
  • 3:16 - 3:18
    เช่นเดียวกับเพื่อนๆ ของพวกเขา
  • 3:18 - 3:21
    การพบเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความรู้สึกเหล่านี้
  • 3:21 - 3:23
    อาจทำให้เกิดความโล่งใจอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 3:23 - 3:24
    เมื่อคุณตระหนักถึงภาวะนี้แล้ว
  • 3:24 - 3:27
    คุณสามารถต่อกรกับอาการอิมโพสเตอร์ที่คุณมี
  • 3:27 - 3:29
    ด้วยการรวบรวมและย้อนดูข้อเสนอแนะในเชิงบวก
  • 3:29 - 3:32
    นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่คอยโทษตัวเอง
    เมื่อเกิดปัญหาในห้องทดลอง
  • 3:32 - 3:36
    เริ่มบันทึกสาเหตุทุกครั้ง
    ที่มีบางอย่างผิดปกติ
  • 3:36 - 3:38
    ในท้ายที่สุด เธอก็ตระหนักได้ว่า
    ปัญหาส่วนใหญ่
  • 3:38 - 3:40
    เกิดจากอุปกรณ์ขัดข้อง
  • 3:40 - 3:42
    และกลับมาเห็นคุณค่าความสามารถของตัวเอง
  • 3:42 - 3:45
    เราอาจไม่สามารถขจัดความรู้สึกเหล่านี้
    ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
  • 3:45 - 3:50
    แต่เราสามารถพูดคุยถึงเรื่องความท้าทาย
    ในเชิงวิชาการหรือทางวิชาชีพอย่างเปิดเผย
  • 3:50 - 3:53
    ด้วยการตระหนักว่า
    ประสบการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั่วไป
  • 3:53 - 3:57
    บางทีพวกเราอาจจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น
    ที่จะซื่อตรงต่อความรู้สึกของตนเอง
  • 3:57 - 3:59
    และการสร้างความเชื่อมั่นในความจริงบางอย่าง
  • 3:59 - 4:00
    คุณมีพรสวรรค์
  • 4:00 - 4:01
    คุณทำได้
  • 4:01 - 4:03
    และคูณก็คู่ควร
Title:
อาการอิมโพสเตอร์คืออะไรและคุณสามารถต่อกรกับมันได้อย่างไร? - เอลิซาเบธ คอกซ์
Speaker:
เอลิซาเบธ คอกซ์
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/what-is-imposter-syndrome-and-how-can-you-combat-it-elizabeth-cox

แม้ว่าจะเขียนหนังสือจบ 11 เล่ม และชนะรางวัลอันทรงเกียรติหลายรางวัล มายา แองเจลู ก็ไม่สามารถคลายความสงสัยข้องใจว่าจริงแล้ว เธอไม่ควรได้รับความสำเร็จนั้น
ความรู้สึกที่เหมือนหลอกลวงคนอื่นเป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆ ทำไมพวกเราหลายคนถึงไม่สามารถขจัดความรู้สึกที่ว่าแนวคิดและทักษะของเราไม่ควรค่าที่ผู้อื่นจะให้ความสนใจ? เอลิซาเบธ คอกซ์ อธิบายหลักการทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังอาการอิมโพสเตอร์ และแนะนำวิธีต่อกรกับมัน

บทเรียนโดย เอลิซาเบธ คอกซ์ กำกับโดย ชารอน โคลแมน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:17

Thai subtitles

Revisions