แม้ว่าจะเขียนหนังสือจบ 11 เล่ม และชนะรางวัลอันทรงเกียรติหลายรางวัล มายา แองเจลู ก็ไม่สามารถ คลายความสงสัยข้องใจ ว่าจริงๆ แล้ว เธอไม่ควรได้รับความสำเร็จนั้น อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ ก็ประสบกับสิ่งเหล่านี้ไม่ต่างกัน เขาได้ให้คำจำกัดความตัวเอง ว่าเป็น "นักหลอกลวงที่ไม่ได้ตั้งใจ" งานของเขาไม่ควรจะได้รับ ความสนใจมากขนาดนั้น ความสำเร็จของ แองเจลู หรือ ไอน์สไตน์ จัดอยู่ในระดับที่หายาก แต่ความรู้สึกว่าพวกเขาหลอกลวงผู้อื่น ถือเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป ทำไมเราถึงไม่สามารถขจัดความรู้สึก ที่ว่าพวกเราไม่ควรได้รับ ความสำเร็จที่เราได้มา หรือว่าความคิดและทักษะของพวกเรา ไม่ได้มีคุณค่ามากพอที่คนอื่นๆ จะสนใจ พอลลีน โรส แคลนส์ เป็นนักจิตวิทยาคนแรก ที่ทำการศึกษาเรื่อง ความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองที่ดูไร้เหตุผล จากงานของเธอในฐานะนักบำบัด เธอสังเกตเห็นคนไข้นักศึกษาปริญญาตรี มีความกังวลคล้ายกัน: แม้ว่าพวกเขาจะได้เกรดสูง แต่พวกเขากลับไม่เชื่อว่า ควรได้รับเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย บางคนถึงกับเชื่อว่าที่ได้รับเข้าเรียน เป็นเพราะความผิดพลาดตอนสมัคร ขณะที่แคลนส์พบว่าความกลัวนี้ไม่มีมูลเหตุ เธอเองก็จำได้ว่ารู้สึกแบบเดียวกัน ตอนเรียนบัณฑิตวิทยาลัย เธอและคนไข้ของเธอต่างก็ประสบ กับสิ่งที่มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย-- ภาวะอิมโพสเตอร์ ประสบการณ์อิมโพสเตอร์ และอาการอิมโพสเตอร์ แคลนส์และผู้ร่วมงานชื่อ ซูแซนน์ ไอมส์ ได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับอาการอิมโพสเตอร์ ในหมู่นักศึกษาหญิงที่วิทยาลัยและคณะ การศึกษาของพวกเขาได้ค้นพบความรู้สึกหลอกลวง ที่แพร่หลายในคนกลุ่มนี้ จากการศึกษาครั้งแรก ต่อมาก็ได้ขยายการศึกษาไปในทุกๆ เพศ ทุกชาติพันธ์ุ ทุกวัย และในหลายหลายอาชีพ แม้ว่าจะพบได้อย่างแพร่หลาย และส่งผลกระทบอย่างไม่สมส่วน ต่อประสบการณ์ของชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มคนด้อยโอกาสมากกว่า หากเรียกว่าเป็นอาการของโรคโรคหนึ่ง ก็จะยิ่งไปลดความสำคัญว่าใคร ๆ ก็เป็นกัน มันไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติ และมันไม่ได้จำต้องเกี่ยวพันกับ โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือความภาคภูมิใจในตนเอง ความรู้สึกว่ากำลังหลอกลวงผู้อื่นนี้ มาจากไหนกัน? คนที่มีทักษะสูงหรือประสบความสำเร็จ มีแนวโน้มที่จะคิดว่ามันเป็นแค่ทักษะ ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกแย่ ที่ว่าพวกเขาไม่ควรได้รับรางวัล และโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ เหมือนดังที่ แองเจลลู และ ไอน์สไตน์ ประสบ การประสบความสำเร็จซึ่งไม่มีเกณฑ์วัดตายตัว ทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกของผู้ที่มีภาวะอิมโพสเตอร์ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ผู้มีทักษะสูงเช่นกัน ทุกๆ คนต่างอ่อนไหวต่อภาวะที่เรียกว่า พฤติกรรมการเมินเฉยร่วมกัน ที่พวกเราต่างสงสัยตัวเราเองอยู่เงียบๆ ขณะที่เราก็เชื่อว่ามีแค่เราที่คิดแบบนี้ นั่นก็เพราะไม่มีใครพูดถึงความสงสัยนี้ออกมา เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจจริงๆ ว่างานของเพื่อนๆ เรามันยากแค่ไหน ความลำบากที่พวกเขาประสบกับงานบางอย่าง หรือพวกเขาสงสัยในตัวเองมากน้อยเพียงใด มันไม่ง่ายที่จะลบความรู้สึกที่ว่า พวกเรามีความสามารถด้อยกว่า คนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ภาวะอิมโพสเตอร์ที่แรงกล้านี้ อาจเป็นอุปสรรคต่อการ แบ่งปันความคิดที่ยอดเยี่ยม หรือการสมัครงาน และแผนการใดๆ ที่พวกเขาสันทัด อย่างน้อย จนถึงตอนนี้ วิธีที่แน่นอนที่สุดในการต่อกร กับภาวะอิมโพสเตอร์ คือการพูดถึงมัน คนมากมายที่ทนทุกข์กับอาการอิมโพสเตอร์ จะกลัวว่าถ้าหากถูกถามถึงผลการดำเนินงาน สิ่งที่กลัวก็จะเป็นจริง และแม้ว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี มันก็ไม่อาจบรรเทาความรู้สึกหลอกลวงได้ แต่ในทางกลับกัน การได้ยินว่าที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำ เคยประสบกับความรู้สึกจากภาวะอิมโพสเตอร์ อาจช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านั้น เช่นเดียวกับเพื่อนๆ ของพวกเขา การพบเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความรู้สึกเหล่านี้ อาจทำให้เกิดความโล่งใจอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อคุณตระหนักถึงภาวะนี้แล้ว คุณสามารถต่อกรกับอาการอิมโพสเตอร์ที่คุณมี ด้วยการรวบรวมและย้อนดูข้อเสนอแนะในเชิงบวก นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่คอยโทษตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาในห้องทดลอง เริ่มบันทึกสาเหตุทุกครั้ง ที่มีบางอย่างผิดปกติ ในท้ายที่สุด เธอก็ตระหนักได้ว่า ปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากอุปกรณ์ขัดข้อง และกลับมาเห็นคุณค่าความสามารถของตัวเอง เราอาจไม่สามารถขจัดความรู้สึกเหล่านี้ ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง แต่เราสามารถพูดคุยถึงเรื่องความท้าทาย ในเชิงวิชาการหรือทางวิชาชีพอย่างเปิดเผย ด้วยการตระหนักว่า ประสบการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั่วไป บางทีพวกเราอาจจะรู้สึกสบายใจมากขึ้น ที่จะซื่อตรงต่อความรู้สึกของตนเอง และการสร้างความเชื่อมั่นในความจริงบางอย่าง คุณมีพรสวรรค์ คุณทำได้ และคูณก็คู่ควร