< Return to Video

เรื่องพิศวงของแกะตาเดียว - เทียน เหงียน (Tien Nguyen)

  • 0:07 - 0:11
    ในทศวรรษที่ 1950 กลุ่มชาวไร่ในรัฐไอดาโฮ
  • 0:11 - 0:16
    ต้องรู้สึกพิศวงเมื่อแกะของพวกเขา
    ให้กำเนิดลูกแกะพิการหน้าตาประหลาด
  • 0:16 - 0:19
    แกะตาเดียวเหล่านี้ทำให้พวกเขางงเป็นไก่ตาแตก
  • 0:19 - 0:24
    พวกเขาจึงเรียกนักวิทยาศาสตร์
    จากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เข้ามาตรวจสอบ
  • 0:24 - 0:27
    นักวิจัยตั้งสมมุติฐานว่าแกะที่ตั้งท้อง
  • 0:27 - 0:32
    ได้กินพืชมีพิษซึ่งเป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้ลูกเกิดมาพิการ
  • 0:32 - 0:36
    พวกเขาเก็บรวบรวมพืชในท้องถิ่น
    แล้วนำตัวอย่างไปเลี้ยงหนูทดลอง
  • 0:36 - 0:38
    แต่ไม่อาจทำให้เกิดผลซ้ำได้
  • 0:38 - 0:41
    ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจ
    ว่าจะเฝ้าสังเกตแกะโดยตรง
  • 0:41 - 0:46
    โดยให้นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง
    อาศัยอยู่กับฝูงแกะเป็นเวลาสามปี
  • 0:46 - 0:51
    หลังจากลองผิดลองถูกมานานนับทศวรรษ
    ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็พบเจ้าตัวร้าย
  • 0:51 - 0:53
    นั่นคือต้นพลับพลึงป่า
  • 0:53 - 0:57
    ต้นพลับพลึงประกอบด้วยโมเลกุล
    ที่มีห่วงโซ่เชื่อมกันหกห่วง
  • 0:57 - 1:02
    ที่พวกเขาตั้งชื่อให้ว่าไซโคลปามีน
    เพื่อเป็นการอ้างอิงถึงแกะตาเดียว
  • 1:02 - 1:06
    พวกเขาไม่ทราบแน่ชัดว่าไซโคลปามีน
    ก่อให้เกิดข้อบกพร่องได้อย่างไร
  • 1:06 - 1:09
    แต่ก็สั่งพวกเจ้าของฟาร์มให้หลีกเลี่ยง
  • 1:09 - 1:12
    ต้องใช้เวลาถึงราวสี่ทศวรรษ
    ก่อนที่ทีมนักชีววิทยา
  • 1:12 - 1:15
    ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ฟิลิป บีชี
  • 1:15 - 1:17
    จะพบกับคำตอบโดยบังเอิญ
  • 1:17 - 1:21
    ห้องปฏิบัติการของเขากำลังศึกษายีนตัวหนึ่ง
    ที่พบสิ่งในมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด
  • 1:21 - 1:23
    นับตั้งแต่หนูไปยันมนุษย์
  • 1:23 - 1:25
    มีชื่อว่ายีนเม่น
  • 1:25 - 1:30
    มันถูกตั้งชื่อโดยนักวิทยาศาสตร์สองคน
    ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานของพวกเขา
  • 1:30 - 1:33
    ซึ่งค้นพบว่าการกลายพันธุ์
    ของยีนนี้ในแมลงวันผลไม้
  • 1:33 - 1:37
    ทำให้เกิดหนามแหลมคมเหมือนกับเม่น
  • 1:37 - 1:40
    บีชีและเพื่อนร่วมงานของเขา
    ทำการดัดแปลงพันธุกรรม
  • 1:40 - 1:43
    เพื่อปิดยีนเม่นในหนู
  • 1:43 - 1:47
    เรื่องนี้ส่งผลให้เกิด
    ข้อบกพร่องร้ายแรงในการพัฒนา
  • 1:47 - 1:50
    สมอง อวัยวะ และดวงตาทั้งคู่ของพวกมัน
  • 1:50 - 1:52
    หรือตาที่มีดวงเดียวนั่นแหละ
  • 1:52 - 1:57
    ต่อมาขณะที่กำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
    บีชีเผอิญไปเจอรูปแกะตาเดียว
  • 1:57 - 2:01
    และพบว่านั่นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์
    ยังหาสาเหตุไม่พบมานานถึงสี่ทศวรรษ
  • 2:01 - 2:05
    ต้องมีอะไรที่อยู่ผิดที่ผิดทาง
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับยีนเม่นแน่ ๆ
  • 2:05 - 2:07
    เราลองย้อนกลับไปดูก่อนหน้านี้สักหน่อย
  • 2:07 - 2:13
    ยีนมีชุดคำสั่งที่บอกเซลล์ว่า
    จะให้ทำอะไรและเมื่อทำเมื่อไหร่
  • 2:13 - 2:16
    และพวกมันส่งสารคำสั่งนั้นผ่านโปรตีน
  • 2:16 - 2:22
    ตัวยีนเม่นเองบอกเซลล์
    ให้ปล่อยโปรตีนเม่นออกมา
  • 2:22 - 2:26
    ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชุดสัญญาณ
    ระหว่างเซลล์อันซับซ้อน
  • 2:26 - 2:29
    นี่เป็นวิธีการที่มันทำงาน
    ในพัฒนาการตามปกติ
  • 2:29 - 2:33
    โปรตีนเม่นจะเกาะแน่นอยู่กับ
    โปรตีนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า แก้ไขแล้ว
  • 2:33 - 2:36
    ที่ขัดขวาง หรือยับยั้ง หรือแก้ไขกลับไป
  • 2:36 - 2:41
    ปล่อยให้โปรตีนอีกตัวที่ชื่อว่า โปรตีนราบรื่น
    สามารถส่งสัญญาณให้เซลล์ได้อย่างอิสระ
  • 2:41 - 2:45
    บอกพวกมันว่าจะให้ไปที่ไหน
    และให้กลายเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด
  • 2:45 - 2:50
    ไซโคลปามีน เอาเป็นว่า
    อยู่ในรูปของพลับพลึงแสนอร่อย
  • 2:50 - 2:54
    ขัดจังหวะเส้นทางนี้
    โดยเกาะกับโปรตีนราบรื่น
  • 2:54 - 2:58
    นั่นเป็นการขังโปรตีนราบรื่นไว้
    ไม่ให้มันส่งสัญญาณ
  • 2:58 - 3:01
    ที่จำเป็นในการสร้างสมองให้เป็นสองซีก
  • 3:01 - 3:05
    และสร้างนิ้วมือหรือดวงตาแยกกันต่างหากได้
  • 3:05 - 3:08
    ดังนั้นแม้ว่าโปรตีนเม่น
    จะยังคงทำงานของมัน
  • 3:08 - 3:10
    ในการเปิดทางให้กับโปรตีนราบรื่น
  • 3:10 - 3:16
    ไซโคลปามีนจะขัดขวางโปรตีนราบรื่น
    จากการส่งผ่านข้อความทางเคมีของมัน
  • 3:16 - 3:18
    นั่นคือวิทยาศาสตร์
    ที่อยู่เบื้องหลังแกะตาเดียว
  • 3:18 - 3:20
    แต่บีชีและทีมงานของเขาจับประกาย
  • 3:20 - 3:23
    ของความสัมพันธ์อีกแบบ
    ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นมาได้
  • 3:23 - 3:27
    พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าการกระตุ้น
    ที่ไม่อาจควบคุมได้ของโปรตีนราบรื่นนั้น
  • 3:27 - 3:30
    สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของมนุษย์
  • 3:30 - 3:36
    ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
    และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งบางชนิด
  • 3:36 - 3:38
    นักวิทยาศาสตร์เสนอว่า
  • 3:38 - 3:42
    ให้นำความสามารถในการเกาะติดโปรตีนราบรื่น
    ของไซโคลปามีนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • 3:42 - 3:44
    ในการรักษาโรคมะเร็งเหล่านี้
  • 3:44 - 3:47
    ตราบเท่าที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์
  • 3:47 - 3:51
    แต่น่าเสียดายที่นักวิจัยพบว่า
    ที่สุดแล้วไซโคลปามีน
  • 3:51 - 3:52
    ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์
  • 3:52 - 3:56
    และคุณสมบัติทางเคมีของมัน
    ทำให้ยากที่จะนำมาใช้งาน
  • 3:56 - 4:01
    แต่พวกเขาค้นพบว่าโมเลกุลที่ใกล้ชิดกับมัน
    มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  • 4:01 - 4:08
    และยาเหล่านี้สองตัวถูกอนุมัติในปี 2012
    และปี 2015 ให้เป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง
  • 4:08 - 4:10
    เมื่อเกษตรกรเหล่านั้น
    ได้เห็นแกะตาเดียวเป็นครั้งแรก
  • 4:10 - 4:15
    พวกเขาอาจจะทึกทักเอาว่ามันเป็นแค่
    การกลายพันธุ์ประหลาด ๆ แล้วเดินหนีไปก็ได้
  • 4:15 - 4:20
    แทนที่จะทำเช่นนั้น การตัดสินใจตรวจสอบนั้น
    ได้ทำให้เรื่องลึกลับกลายเป็นการแพทย์
  • 4:20 - 4:23
    และแสดงให้เห็นว่าบางครั้ง
    มันก็มีอะไรไปมากกว่าแค่มองตากัน
Title:
เรื่องพิศวงของแกะตาเดียว - เทียน เหงียน (Tien Nguyen)
Description:

เยี่ยมชมเว็บของเราเพิ่มเติมที่ : https://www.patreon.com/teded

ชมบทเรียนเต็มที่ : https://ed.ted.com/lessons/the-strange-case-of-the-cyclops-sheep-tien-nguyen

ในทศวรรษที่ 1950 ชาวไร่กลุ่มหนึ่งในรัฐไอดาโฮต้องรู้สึกพิศวงเมื่อแกะของพวกเขาให้กำเนิดลูกแกะที่มีตาเพียงดวงเดียว พวกเขางงเป็นไก่ตาแตกกับแกะตาเดียวเหล่านี้ จึงได้เรียกนักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงเกษตรสหรัฐมาตรวจสอบ มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เทียน เหงียนจะมาเล่าให้ฟังว่าในอีกหลายทศวรรษต่อมา นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งไปพบคำตอบเข้าโดยบังเอิญได้อย่างไร

บทเรียนโดย เทียน เหงียน ภาพเคลื่อนไหวโดย แอนตอน โบกาตี

ขอบคุณอย่างสูงสำหรับผู้อุปถัมภ์ที่สนับสนุน! ถ้าไม่มีพวกคุณวิดีโอนี้คงไม่อาจเกิดขึ้นได้

ซาราเบธ โนเบล เคียนติน เลอ เมเนซ แมตเตีย เวลตริ แซมมี โกห์ ฟาเบียง อาเมลส์ เอลเลน สเปอร์ตัส ซานดรา เทอร์สลิวเซน มาร์เซล ทรอมปีเตอร์-ทา สเตปห์ ฮิวโก เลกอร์เรตา จีซี ชาง กุสตาโว แมนโดซา บาร์บารา นาซาเร โยช เองเกล นาตาเลีย ริโค แอนเดรีย เฟลิซ โอลิวิเยร์ บรูเนล

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:41

Thai subtitles

Revisions