WEBVTT 00:00:07.054 --> 00:00:10.536 ในทศวรรษที่ 1950 กลุ่มชาวไร่ในรัฐไอดาโฮ 00:00:10.536 --> 00:00:16.395 ต้องรู้สึกพิศวงเมื่อแกะของพวกเขา ให้กำเนิดลูกแกะพิการหน้าตาประหลาด 00:00:16.395 --> 00:00:18.906 แกะตาเดียวเหล่านี้ทำให้พวกเขางงเป็นไก่ตาแตก 00:00:18.906 --> 00:00:23.898 พวกเขาจึงเรียกนักวิทยาศาสตร์ จากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เข้ามาตรวจสอบ 00:00:23.898 --> 00:00:27.036 นักวิจัยตั้งสมมุติฐานว่าแกะที่ตั้งท้อง 00:00:27.036 --> 00:00:31.621 ได้กินพืชมีพิษซึ่งเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ลูกเกิดมาพิการ 00:00:31.621 --> 00:00:35.806 พวกเขาเก็บรวบรวมพืชในท้องถิ่น แล้วนำตัวอย่างไปเลี้ยงหนูทดลอง 00:00:35.806 --> 00:00:38.477 แต่ไม่อาจทำให้เกิดผลซ้ำได้ 00:00:38.477 --> 00:00:41.391 ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจ ว่าจะเฝ้าสังเกตแกะโดยตรง 00:00:41.391 --> 00:00:45.902 โดยให้นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง อาศัยอยู่กับฝูงแกะเป็นเวลาสามปี 00:00:45.902 --> 00:00:50.949 หลังจากลองผิดลองถูกมานานนับทศวรรษ ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็พบเจ้าตัวร้าย 00:00:50.949 --> 00:00:53.032 นั่นคือต้นพลับพลึงป่า 00:00:53.032 --> 00:00:57.297 ต้นพลับพลึงประกอบด้วยโมเลกุล ที่มีห่วงโซ่เชื่อมกันหกห่วง 00:00:57.297 --> 00:01:01.907 ที่พวกเขาตั้งชื่อให้ว่าไซโคลปามีน เพื่อเป็นการอ้างอิงถึงแกะตาเดียว 00:01:01.907 --> 00:01:06.207 พวกเขาไม่ทราบแน่ชัดว่าไซโคลปามีน ก่อให้เกิดข้อบกพร่องได้อย่างไร 00:01:06.207 --> 00:01:09.029 แต่ก็สั่งพวกเจ้าของฟาร์มให้หลีกเลี่ยง 00:01:09.029 --> 00:01:12.389 ต้องใช้เวลาถึงราวสี่ทศวรรษ ก่อนที่ทีมนักชีววิทยา 00:01:12.389 --> 00:01:14.614 ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ฟิลิป บีชี 00:01:14.614 --> 00:01:16.760 จะพบกับคำตอบโดยบังเอิญ 00:01:16.760 --> 00:01:20.699 ห้องปฏิบัติการของเขากำลังศึกษายีนตัวหนึ่ง ที่พบสิ่งในมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด 00:01:20.699 --> 00:01:22.642 นับตั้งแต่หนูไปยันมนุษย์ 00:01:22.642 --> 00:01:25.118 มีชื่อว่ายีนเม่น 00:01:25.118 --> 00:01:30.229 มันถูกตั้งชื่อโดยนักวิทยาศาสตร์สองคน ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานของพวกเขา 00:01:30.229 --> 00:01:33.497 ซึ่งค้นพบว่าการกลายพันธุ์ ของยีนนี้ในแมลงวันผลไม้ 00:01:33.497 --> 00:01:37.490 ทำให้เกิดหนามแหลมคมเหมือนกับเม่น 00:01:37.490 --> 00:01:40.344 บีชีและเพื่อนร่วมงานของเขา ทำการดัดแปลงพันธุกรรม 00:01:40.344 --> 00:01:43.470 เพื่อปิดยีนเม่นในหนู 00:01:43.470 --> 00:01:46.690 เรื่องนี้ส่งผลให้เกิด ข้อบกพร่องร้ายแรงในการพัฒนา 00:01:46.690 --> 00:01:49.750 สมอง อวัยวะ และดวงตาทั้งคู่ของพวกมัน 00:01:49.750 --> 00:01:51.770 หรือตาที่มีดวงเดียวนั่นแหละ 00:01:51.770 --> 00:01:57.030 ต่อมาขณะที่กำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง บีชีเผอิญไปเจอรูปแกะตาเดียว 00:01:57.030 --> 00:02:01.230 และพบว่านั่นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ ยังหาสาเหตุไม่พบมานานถึงสี่ทศวรรษ 00:02:01.230 --> 00:02:05.110 ต้องมีอะไรที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับยีนเม่นแน่ ๆ 00:02:05.110 --> 00:02:06.781 เราลองย้อนกลับไปดูก่อนหน้านี้สักหน่อย 00:02:06.781 --> 00:02:12.530 ยีนมีชุดคำสั่งที่บอกเซลล์ว่า จะให้ทำอะไรและเมื่อทำเมื่อไหร่ 00:02:12.530 --> 00:02:16.150 และพวกมันส่งสารคำสั่งนั้นผ่านโปรตีน 00:02:16.150 --> 00:02:21.692 ตัวยีนเม่นเองบอกเซลล์ ให้ปล่อยโปรตีนเม่นออกมา 00:02:21.692 --> 00:02:26.201 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชุดสัญญาณ ระหว่างเซลล์อันซับซ้อน 00:02:26.201 --> 00:02:29.211 นี่เป็นวิธีการที่มันทำงาน ในพัฒนาการตามปกติ 00:02:29.211 --> 00:02:32.612 โปรตีนเม่นจะเกาะแน่นอยู่กับ โปรตีนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า แก้ไขแล้ว 00:02:32.612 --> 00:02:36.023 ที่ขัดขวาง หรือยับยั้ง หรือแก้ไขกลับไป 00:02:36.023 --> 00:02:41.333 ปล่อยให้โปรตีนอีกตัวที่ชื่อว่า โปรตีนราบรื่น สามารถส่งสัญญาณให้เซลล์ได้อย่างอิสระ 00:02:41.333 --> 00:02:45.453 บอกพวกมันว่าจะให้ไปที่ไหน และให้กลายเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด 00:02:45.453 --> 00:02:49.863 ไซโคลปามีน เอาเป็นว่า อยู่ในรูปของพลับพลึงแสนอร่อย 00:02:49.863 --> 00:02:53.772 ขัดจังหวะเส้นทางนี้ โดยเกาะกับโปรตีนราบรื่น 00:02:53.772 --> 00:02:57.522 นั่นเป็นการขังโปรตีนราบรื่นไว้ ไม่ให้มันส่งสัญญาณ 00:02:57.622 --> 00:03:00.923 ที่จำเป็นในการสร้างสมองให้เป็นสองซีก 00:03:00.923 --> 00:03:04.744 และสร้างนิ้วมือหรือดวงตาแยกกันต่างหากได้ 00:03:04.744 --> 00:03:08.133 ดังนั้นแม้ว่าโปรตีนเม่น จะยังคงทำงานของมัน 00:03:08.133 --> 00:03:10.352 ในการเปิดทางให้กับโปรตีนราบรื่น 00:03:10.352 --> 00:03:15.517 ไซโคลปามีนจะขัดขวางโปรตีนราบรื่น จากการส่งผ่านข้อความทางเคมีของมัน 00:03:15.517 --> 00:03:18.213 นั่นคือวิทยาศาสตร์ ที่อยู่เบื้องหลังแกะตาเดียว 00:03:18.213 --> 00:03:20.414 แต่บีชีและทีมงานของเขาจับประกาย 00:03:20.414 --> 00:03:23.495 ของความสัมพันธ์อีกแบบ ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นมาได้ 00:03:23.495 --> 00:03:27.124 พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าการกระตุ้น ที่ไม่อาจควบคุมได้ของโปรตีนราบรื่นนั้น 00:03:27.124 --> 00:03:29.875 สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของมนุษย์ 00:03:29.875 --> 00:03:36.174 ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งบางชนิด 00:03:36.174 --> 00:03:37.996 นักวิทยาศาสตร์เสนอว่า 00:03:37.996 --> 00:03:42.473 ให้นำความสามารถในการเกาะติดโปรตีนราบรื่น ของไซโคลปามีนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 00:03:42.473 --> 00:03:44.454 ในการรักษาโรคมะเร็งเหล่านี้ 00:03:44.454 --> 00:03:47.176 ตราบเท่าที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์ 00:03:47.176 --> 00:03:50.695 แต่น่าเสียดายที่นักวิจัยพบว่า ที่สุดแล้วไซโคลปามีน 00:03:50.695 --> 00:03:52.424 ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ 00:03:52.424 --> 00:03:56.145 และคุณสมบัติทางเคมีของมัน ทำให้ยากที่จะนำมาใช้งาน 00:03:56.145 --> 00:04:00.996 แต่พวกเขาค้นพบว่าโมเลกุลที่ใกล้ชิดกับมัน มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 00:04:00.996 --> 00:04:07.707 และยาเหล่านี้สองตัวถูกอนุมัติในปี 2012 และปี 2015 ให้เป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง 00:04:07.707 --> 00:04:10.385 เมื่อเกษตรกรเหล่านั้น ได้เห็นแกะตาเดียวเป็นครั้งแรก 00:04:10.385 --> 00:04:14.586 พวกเขาอาจจะทึกทักเอาว่ามันเป็นแค่ การกลายพันธุ์ประหลาด ๆ แล้วเดินหนีไปก็ได้ 00:04:14.586 --> 00:04:19.577 แทนที่จะทำเช่นนั้น การตัดสินใจตรวจสอบนั้น ได้ทำให้เรื่องลึกลับกลายเป็นการแพทย์ 00:04:19.577 --> 00:04:23.426 และแสดงให้เห็นว่าบางครั้ง มันก็มีอะไรไปมากกว่าแค่มองตากัน