ในทศวรรษที่ 1950 กลุ่มชาวไร่ในรัฐไอดาโฮ
ต้องรู้สึกพิศวงเมื่อแกะของพวกเขา
ให้กำเนิดลูกแกะพิการหน้าตาประหลาด
แกะตาเดียวเหล่านี้ทำให้พวกเขางงเป็นไก่ตาแตก
พวกเขาจึงเรียกนักวิทยาศาสตร์
จากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ เข้ามาตรวจสอบ
นักวิจัยตั้งสมมุติฐานว่าแกะที่ตั้งท้อง
ได้กินพืชมีพิษซึ่งเป็นสาเหตุ
ที่ทำให้ลูกเกิดมาพิการ
พวกเขาเก็บรวบรวมพืชในท้องถิ่น
แล้วนำตัวอย่างไปเลี้ยงหนูทดลอง
แต่ไม่อาจทำให้เกิดผลซ้ำได้
ดังนั้นพวกเขาจึงตัดสินใจ
ว่าจะเฝ้าสังเกตแกะโดยตรง
โดยให้นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง
อาศัยอยู่กับฝูงแกะเป็นเวลาสามปี
หลังจากลองผิดลองถูกมานานนับทศวรรษ
ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็พบเจ้าตัวร้าย
นั่นคือต้นพลับพลึงป่า
ต้นพลับพลึงประกอบด้วยโมเลกุล
ที่มีห่วงโซ่เชื่อมกันหกห่วง
ที่พวกเขาตั้งชื่อให้ว่าไซโคลปามีน
เพื่อเป็นการอ้างอิงถึงแกะตาเดียว
พวกเขาไม่ทราบแน่ชัดว่าไซโคลปามีน
ก่อให้เกิดข้อบกพร่องได้อย่างไร
แต่ก็สั่งพวกเจ้าของฟาร์มให้หลีกเลี่ยง
ต้องใช้เวลาถึงราวสี่ทศวรรษ
ก่อนที่ทีมนักชีววิทยา
ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ฟิลิป บีชี
จะพบกับคำตอบโดยบังเอิญ
ห้องปฏิบัติการของเขากำลังศึกษายีนตัวหนึ่ง
ที่พบสิ่งในมีชีวิตหลาย ๆ ชนิด
นับตั้งแต่หนูไปยันมนุษย์
มีชื่อว่ายีนเม่น
มันถูกตั้งชื่อโดยนักวิทยาศาสตร์สองคน
ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานของพวกเขา
ซึ่งค้นพบว่าการกลายพันธุ์
ของยีนนี้ในแมลงวันผลไม้
ทำให้เกิดหนามแหลมคมเหมือนกับเม่น
บีชีและเพื่อนร่วมงานของเขา
ทำการดัดแปลงพันธุกรรม
เพื่อปิดยีนเม่นในหนู
เรื่องนี้ส่งผลให้เกิด
ข้อบกพร่องร้ายแรงในการพัฒนา
สมอง อวัยวะ และดวงตาทั้งคู่ของพวกมัน
หรือตาที่มีดวงเดียวนั่นแหละ
ต่อมาขณะที่กำลังอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
บีชีเผอิญไปเจอรูปแกะตาเดียว
และพบว่านั่นเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์
ยังหาสาเหตุไม่พบมานานถึงสี่ทศวรรษ
ต้องมีอะไรที่อยู่ผิดที่ผิดทาง
ซึ่งเกี่ยวข้องกับยีนเม่นแน่ ๆ
เราลองย้อนกลับไปดูก่อนหน้านี้สักหน่อย
ยีนมีชุดคำสั่งที่บอกเซลล์ว่า
จะให้ทำอะไรและเมื่อทำเมื่อไหร่
และพวกมันส่งสารคำสั่งนั้นผ่านโปรตีน
ตัวยีนเม่นเองบอกเซลล์
ให้ปล่อยโปรตีนเม่นออกมา
ซึ่งเป็นการเริ่มต้นชุดสัญญาณ
ระหว่างเซลล์อันซับซ้อน
นี่เป็นวิธีการที่มันทำงาน
ในพัฒนาการตามปกติ
โปรตีนเม่นจะเกาะแน่นอยู่กับ
โปรตีนตัวหนึ่งที่ชื่อว่า แก้ไขแล้ว
ที่ขัดขวาง หรือยับยั้ง หรือแก้ไขกลับไป
ปล่อยให้โปรตีนอีกตัวที่ชื่อว่า โปรตีนราบรื่น
สามารถส่งสัญญาณให้เซลล์ได้อย่างอิสระ
บอกพวกมันว่าจะให้ไปที่ไหน
และให้กลายเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด
ไซโคลปามีน เอาเป็นว่า
อยู่ในรูปของพลับพลึงแสนอร่อย
ขัดจังหวะเส้นทางนี้
โดยเกาะกับโปรตีนราบรื่น
นั่นเป็นการขังโปรตีนราบรื่นไว้
ไม่ให้มันส่งสัญญาณ
ที่จำเป็นในการสร้างสมองให้เป็นสองซีก
และสร้างนิ้วมือหรือดวงตาแยกกันต่างหากได้
ดังนั้นแม้ว่าโปรตีนเม่น
จะยังคงทำงานของมัน
ในการเปิดทางให้กับโปรตีนราบรื่น
ไซโคลปามีนจะขัดขวางโปรตีนราบรื่น
จากการส่งผ่านข้อความทางเคมีของมัน
นั่นคือวิทยาศาสตร์
ที่อยู่เบื้องหลังแกะตาเดียว
แต่บีชีและทีมงานของเขาจับประกาย
ของความสัมพันธ์อีกแบบ
ที่เป็นประโยชน์มากขึ้นมาได้
พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่าการกระตุ้น
ที่ไม่อาจควบคุมได้ของโปรตีนราบรื่นนั้น
สัมพันธ์กับกลุ่มอาการของมนุษย์
ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งบางชนิด
นักวิทยาศาสตร์เสนอว่า
ให้นำความสามารถในการเกาะติดโปรตีนราบรื่น
ของไซโคลปามีนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในการรักษาโรคมะเร็งเหล่านี้
ตราบเท่าที่ผู้ป่วยไม่ได้ตั้งครรภ์
แต่น่าเสียดายที่นักวิจัยพบว่า
ที่สุดแล้วไซโคลปามีน
ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์
และคุณสมบัติทางเคมีของมัน
ทำให้ยากที่จะนำมาใช้งาน
แต่พวกเขาค้นพบว่าโมเลกุลที่ใกล้ชิดกับมัน
มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
และยาเหล่านี้สองตัวถูกอนุมัติในปี 2012
และปี 2015 ให้เป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง
เมื่อเกษตรกรเหล่านั้น
ได้เห็นแกะตาเดียวเป็นครั้งแรก
พวกเขาอาจจะทึกทักเอาว่ามันเป็นแค่
การกลายพันธุ์ประหลาด ๆ แล้วเดินหนีไปก็ได้
แทนที่จะทำเช่นนั้น การตัดสินใจตรวจสอบนั้น
ได้ทำให้เรื่องลึกลับกลายเป็นการแพทย์
และแสดงให้เห็นว่าบางครั้ง
มันก็มีอะไรไปมากกว่าแค่มองตากัน