< Return to Video

หลังจากดูวิดีโอนี้ สมองของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ลารา บอยด์ | TEDxVancouver

  • 0:15 - 0:16
    เราจะเรียนรู้ได้อย่างไร
  • 0:17 - 0:21
    ทำไมคนบางคน
    ถึงเรียนรู้อะไรได้ง่ายกว่าคนอื่น
  • 0:21 - 0:25
    ฉันลาร่า บอยด์
  • 0:25 - 0:28
    ตอนนี้ฉันเป็นนักวิจัยสมอง
    ที่ University of British Columbia
  • 0:28 - 0:31
    คำถามเหล่านี้ติดอยู่ในใจฉัน
  • 0:31 - 0:34
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:35 - 0:39
    การวิจัยเกี่ยวกับสมอง
    เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่
  • 0:39 - 0:41
    ในการทำความเข้าใจสรีรวิทยาของมนุษย์
  • 0:41 - 0:45
    รวมถึงในการพิจารณาว่า
    อะไรทำให้เราเป็นเรา
  • 0:46 - 0:48
    มันเป็นช่วงเวลาที่วิเศษมาก
    ที่ได้เป็นนักวิจัยสมอง
  • 0:48 - 0:49
    และฉันอยากจะบอกกับทุกคน
  • 0:49 - 0:52
    ว่าฉันได้ทำงานที่น่าสนใจที่สุดในโลก
  • 0:52 - 0:56
    สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับสมอง
    เปลี่ยนแปลงเร็วเท่าชั่วลมหายใจ
  • 0:56 - 1:00
    และอะไรก็ตามที่เราคิดว่า
    เรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับสมอง
  • 1:00 - 1:03
    กลายเป็นเรื่องไม่จริงหรือไม่สมบูรณ์
  • 1:03 - 1:07
    ความเข้าใจผิดเหล่านี้
    บางเรื่องก็เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น
  • 1:07 - 1:10
    เช่น พวกเราเคยคิดว่า
  • 1:10 - 1:14
    หลังพ้นวัยเด็กแล้วสมองจะ
    ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • 1:14 - 1:18
    กลับกลายเป็นว่า ความเชื่อนี้
    ผิดจากความจริงเสียยิ่งกว่าอะไร
  • 1:18 - 1:20
    อีกความเข้าใจผิดหนึ่งเกี่ยวกับสมอง
  • 1:20 - 1:23
    คือความเชื่อว่าในขณะหนึ่งๆ
    คุณใช้สมองแค่เพียงบางส่วน
  • 1:23 - 1:26
    และสมองจะหยุดทำงาน
    เมื่อคุณไม่ได้ทำอะไรเลย
  • 1:26 - 1:28
    เรื่องนี้ก็ไม่จริงเช่นกัน
  • 1:28 - 1:30
    เรากลับพบว่า
    แม้แต่เวลาที่คุณกำลังพักผ่อน
  • 1:30 - 1:33
    และไม่ได้คิดอะไรเลย
    สมองก็ยังทำงานเต็มที่
  • 1:34 - 1:37
    ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น MRI
  • 1:37 - 1:41
    ทำให้เราได้ข้อค้นพบเหล่านี้
    และข้อค้นพบที่สำคัญอื่น ๆ
  • 1:41 - 1:43
    การค้นพบที่น่าตื่นเต้นที่สุด น่าสนใจที่สุด
  • 1:43 - 1:46
    และปฏิรูปความรู้ด้านสมองมากที่สุด
    ในบรรดาการค้นพบเหล่านี้
  • 1:46 - 1:49
    นั่นคือ ทุกครั้งที่คุณเรียนรู้
    ทักษะหรือความรู้ใหม่
  • 1:49 - 1:51
    คุณเปลี่ยนสมองของคุณไปด้วย
  • 1:51 - 1:55
    นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าการยืดหยุ่น
    ปรับตัวของสมอง (Neuroplasticity)
  • 1:55 - 1:59
    เมื่อ 25 ปีที่แล้ว
    พวกเราคิดว่าหลังจากช่วงวัยรุ่น
  • 1:59 - 2:02
    สมองมีแต่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ
  • 2:02 - 2:04
    เซลล์สมองลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
  • 2:04 - 2:07
    ผลกระทบจากความเสียหายในสมอง
    เช่น เส้นเลือดตีบหรือแตก
  • 2:07 - 2:09
    แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการศึกษา
  • 2:09 - 2:13
    ที่พบการปรับโครงสร้างจำนวนมาก
    ในสมองของผู้ใหญ่
  • 2:14 - 2:16
    และการวิจัยที่ตามมาก็แสดงให้เราเห็นว่า
  • 2:16 - 2:19
    ทุกพฤติกรรมของเรา
    เปลี่ยนแปลงสมองของเราได้
  • 2:20 - 2:23
    การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
    ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ
  • 2:23 - 2:25
    มันเป็นข่าวดีใช่มั้ย
  • 2:25 - 2:27
    และที่จริง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
    เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเลย
  • 2:27 - 2:30
    ที่สำคัญมากคือ
  • 2:30 - 2:32
    การปรับโครงสร้างในสมอง
    ช่วยส่งเสริมการฟื้นตัว
  • 2:32 - 2:34
    หลังจากที่สมองได้รับความเสียหาย
  • 2:35 - 2:39
    กุญแจของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ
    ความยืดหยุ่นปรับตัวของสมอง
  • 2:40 - 2:41
    แล้วความสามารถนี้มันเป็นอย่างไรล่ะ
  • 2:41 - 2:44
    สมองของคุณสามารถเปลี่ยนแปลง
    ได้ด้วยกระบวนการพื้นฐาน 3 อย่าง
  • 2:44 - 2:46
    เพื่อช่วยในการเรียนรู้
  • 2:46 - 2:48
    วิธีแรกก็คือสารเคมี
  • 2:48 - 2:52
    การทำงานของสมองเกิดจากการส่งต่อ
    ของสัญญาณทางเคมี
  • 2:52 - 2:54
    ระหว่างเซลล์ของสมอง
    ที่เราเรียกว่าเซลล์ประสาท
  • 2:54 - 2:57
    การส่งสัญญาณเคมีเหล่านี้
    กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ
  • 2:58 - 3:00
    เพื่อที่จะช่วยในการเรียนรู้
    สมองของคุณสามารถเพิ่มปริมาณ
  • 3:00 - 3:03
    หรือความเข้มข้นของสัญญาณเคมี
  • 3:03 - 3:06
    ที่เกิดขึ้นระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านี้
  • 3:06 - 3:09
    และเพราะการเปลี่ยนแปลงแบบนี้
    เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • 3:09 - 3:11
    มันจึงช่วยสนับสนุนความจำระยะสั้น
  • 3:11 - 3:15
    หรือเพิ่มความสามารถหรือทักษะ
    การเคลื่อนไหวได้ชั่วคราวด้วย
  • 3:16 - 3:19
    วิธีที่สองที่สมองเปลี่ยนแปลง
    เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
  • 3:19 - 3:21
    คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง
  • 3:21 - 3:25
    ระหว่างที่เรียนรู้อยู่ สมองสามารถเปลี่ยน
    การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทได้
  • 3:25 - 3:29
    วิธีนี้ โครงสร้างทางกายภาพของสมอง
    เปลี่ยนแปลงไปจริงๆ
  • 3:29 - 3:31
    จึงต้องใช้เวลามากขึ้น
  • 3:31 - 3:34
    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้
    จะเกี่ยวข้องกับความจำระยะยาว
  • 3:34 - 3:37
    และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวในระยะยาว
  • 3:37 - 3:41
    กระบวนการเหล่านี้มีผลกระทบต่อกัน
    ฉันจะยกตัวอย่างให้ฟังว่าเป็นอย่างไร
  • 3:42 - 3:45
    พวกเราพยายามเรียนรู้
    ทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ๆ
  • 3:45 - 3:46
    อาจจะเป็นการเล่นเปียโน
  • 3:46 - 3:48
    บางทีก็การเล่นกล
  • 3:48 - 3:51
    พวกเรามีประสบการณ์ว่าเรา
    ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:51 - 3:53
    ในการฝึกฝนครั้งหนึ่งๆ
  • 3:53 - 3:56
    แล้วก็คิดว่า "เราทำได้แล้ว"
  • 3:56 - 3:58
    จากนั้น คุณอาจกลับมาทำอีกครั้งในวันต่อไป
  • 3:58 - 4:01
    ทุกพัฒนาการที่ได้ฝึกในวันก่อนหน้ากลับหายไป
  • 4:01 - 4:03
    เกิดอะไรขึ้น
  • 4:03 - 4:06
    ในช่วงระยะสั้น
    สมองของคุณสามารถเพิ่ม
  • 4:06 - 4:09
    สัญญาณทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาท
  • 4:09 - 4:13
    แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนั้น
    ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้าง
  • 4:13 - 4:17
    ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความจำระยะยาว
  • 4:17 - 4:21
    อย่าลืมว่าความจำระยะยาวต้องใช้เวลา
  • 4:21 - 4:24
    และสิ่งที่คุณเห็นในระยะสั้น
    ไม่ได้สะท้อนว่าเกิดการเรียนรู้
  • 4:24 - 4:25
    ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
  • 4:25 - 4:28
    ซึ่งช่วยให้เกิดความจำระยะยาว
  • 4:28 - 4:32
    ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
    จะช่วยความจำระยะสั้น
  • 4:33 - 4:37
    การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างยังสร้างเครือข่าย
    ที่ประสานระหว่างพี้นที่ต่างๆ ในสมอง
  • 4:37 - 4:39
    ที่ร่วมกันทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้
  • 4:39 - 4:42
    และยังอาจทำให้สมองบางส่วน
  • 4:42 - 4:44
    ที่สำคัญต่อพฤติกรรมจำเพาะบางอย่าง
  • 4:44 - 4:47
    เปลี่ยนโครงสร้างหรือขยายขนาดขึ้น
  • 4:47 - 4:49
    นี่คือตัวอย่าง
  • 4:49 - 4:51
    คนที่อ่านอักษรเบลล์
  • 4:51 - 4:57
    มีสมองส่วนที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสที่มือ
    ขนาดใหญ่กว่าคนที่ไม่ได้อ่าน
  • 4:57 - 5:01
    สมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวมือข้างที่ถนัด
    ซึ่งอยู่บนสมองซีกซ้าย
  • 5:01 - 5:05
    ถ้าคุณเป็นคนที่ถนัดขวา พี้นที่ดังกล่าว
    บนสมองซีกซ้ายจะใหญ่กว่าอีกด้าน
  • 5:05 - 5:08
    และงานวิจัยพบว่าคนขับรถแท็กซี่ในลอนดอน
  • 5:08 - 5:12
    ที่ต้องจำแผนที่ในลอนดอนให้ได้
    เพื่อรับใบอนุญาตขับรถแท็กซี่
  • 5:12 - 5:17
    มีพื้นที่สมองที่ทำงานด้านมิติสัมพันธ์
    หรือการจดจำแผนที่ ที่ใหญ่กว่าคนปกติ
  • 5:18 - 5:21
    วิธีสุดท้ายที่สมองคุณสามารถเปลี่ยน
    เพื่อเอื้อในการเรียนรู้
  • 5:21 - 5:23
    คือการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงาน
  • 5:24 - 5:26
    เมื่อคุณใช้สมองส่วนใดส่วนหนึ่ง
  • 5:26 - 5:29
    มันจะไวต่อการกระตุ้นมากขึ้น
    และง่ายที่จะถูกใช้งานอีกครั้ง
  • 5:29 - 5:33
    และเมื่อสมองของคุณมีพื้นที่
    ที่ไวต่อการกระตุ้นเหล่านี้มากขึ้น
  • 5:33 - 5:36
    รูปแบบและจังหวะเวลา
    ที่สมองถูกกระตุ้นก็เปลี่ยนไป
  • 5:36 - 5:38
    เมื่อเกิดการเรียนรู้ เราจะเห็นได้ว่า
  • 5:38 - 5:42
    เครือข่ายของกิจกรรมในสมองทั้งหมด
    มีการขยับปรับเปลี่ยนเกิดขึ้น
  • 5:42 - 5:44
    ดังนั้น ความยืดหยุ่นปรับตัวของสมอง
  • 5:44 - 5:49
    จึงได้รับการสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลง
    ของสารเคมี, โครงสร้าง, และหน้าที่การทำงาน
  • 5:49 - 5:52
    และเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วทั้งสมอง
  • 5:52 - 5:54
    สิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นเดี่ยวๆ ก็ได้
  • 5:54 - 5:57
    แต่ส่วนมากจะเกิดร่วมกัน
  • 5:57 - 6:00
    ทั้งหมดช่วยในการเรียนรู้
  • 6:00 - 6:02
    และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • 6:04 - 6:09
    ฉันบอกคุณแล้วว่าความยืดหยุ่นปรับตัวได้
    ของสมองเรามันเจ๋งแค่ไหน
  • 6:09 - 6:13
    แต่ ทำไมคุณไม่สามารถเรียนรู้
    สิ่งที่คุณอยากเรียนได้ง่าย ๆ ล่ะ
  • 6:13 - 6:16
    ทำไมเด็ก ๆ ถึงล้มเหลวในการเรียน
  • 6:17 - 6:21
    ทำไมเมื่ออายุมากขึ้นเราจึงมักขี้ลืม
  • 6:21 - 6:24
    และทำไมคนเราจึงไม่สามารถ
    ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์หลังสมองเสียหาย
  • 6:24 - 6:29
    อะไรคือข้อจำกัดของความสามารถ
    ในการยืดหยุ่นปรับตัวของสมอง
  • 6:29 - 6:31
    นี่แหละคือสิ่งที่ฉันศึกษาอยู่
  • 6:31 - 6:35
    ฉันศึกษาเจาะลึกว่ามันสัมพันธ์กับ
    การฟื้นตัวจากโรคสมองขาดเลือดอย่างไร
  • 6:35 - 6:37
    ไม่นานมานี้ โรคสมองขาดเลือดลดอันดับ
  • 6:37 - 6:40
    จากการเป็นสาเหตุการตาย
    อันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา
  • 6:40 - 6:42
    เป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4
  • 6:42 - 6:44
    เป็นข่าวดีใช่มั้ยคะ
  • 6:45 - 6:46
    แต่จริง ๆ แล้วมันกลายเป็นว่า
  • 6:46 - 6:49
    จำนวนของคนที่เป็นโรคไม่ได้ลดลง
  • 6:49 - 6:53
    พวกเราแค่ทำให้คนไข้มีชีวิตอยู่ได้
    หลังจากที่โรคมีอาการรุนแรงขึ้น
  • 6:53 - 6:58
    มันยากมากที่จะช่วยฟื้นฟูสมอง
    จากโรคสมองขาดเลือด
  • 6:58 - 6:59
    พูดกันตรง ๆ เลยก็คือ
  • 6:59 - 7:03
    พวกเราล้มเหลวในการพัฒนา
    ประสิทธิภาพของการฟื้นฟูผู้ป่วยเหล่านี้
  • 7:05 - 7:10
    ผลลัพธ์โดยรวมของเรื่องนี้
    คือโรคสมองขาดเลือดเป็นสาเหตุหลัก
  • 7:10 - 7:14
    ของภาวะพิการระยะยาวในวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก
  • 7:14 - 7:16
    คนอายุน้อยป่วยด้วยโรคสมองขาดเลือดมากขึ้น
  • 7:16 - 7:19
    และมีแนวโน้มที่จะมีชีวิต
    อยู่กับภาวะพิการยาวนานขึ้น
  • 7:19 - 7:21
    และการวิจัยจากกลุ่มของฉันแสดงให้เห็นว่า
  • 7:21 - 7:26
    คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของชาวแคนาดา
    ที่เป็นโรคสมองขาดเลือดนั้นตกต่ำลง
  • 7:26 - 7:28
    มันชัดเจนมากที่เราจะต้องปรับปรุง
  • 7:28 - 7:31
    การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ป่วย
    จากโรคสมองขาดเลือดให้ดีขึ้น
  • 7:31 - 7:34
    นี่เป็นปัญหาที่ใหญ่มากของสังคม
  • 7:34 - 7:36
    และเป็นหนึ่งในปัญหาที่เรา
    ยังไม่ได้เข้าไปแก้ไข
  • 7:37 - 7:39
    แล้วเราจะทำอะไรได้ล่ะ
  • 7:39 - 7:41
    มีอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมาก คือ
  • 7:41 - 7:46
    สิ่งที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลง
    ความสามารถของสมองก็คือพฤติกรรมของคุณ
  • 7:47 - 7:50
    ปัญหาคือปริมาณของพฤติกรรม
    จำนวนครั้งของการฝึกฝน
  • 7:50 - 7:54
    ที่จำเป็นในการเรียนรู้สิ่งใหม่
    และเรียนรู้พฤติกรรมเก่าซ้ำ
  • 7:54 - 7:56
    ต้องทำซ้ำเยอะมากๆ
  • 7:56 - 7:59
    และจะทำอย่างไรให้การฝึกฝนนั้นมีประสิทธิภาพ
  • 7:59 - 8:03
    เป็นปัญหาที่ยากมากและแพงมากด้วย
  • 8:03 - 8:05
    แนวทางที่ฉันใช้ในงานวิจัยนั้น
  • 8:05 - 8:09
    คือการสร้างการบำบัดที่เหนี่ยวนำ
    หรือเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้
  • 8:09 - 8:14
    ซึ่งวิธีพวกนี้รวมถึงการจำลองสมอง
    การฝึกซ้อม และสมองกลหุ่นยนต์
  • 8:14 - 8:18
    แต่จากงานวิจัย ทำให้ฉันได้รู้ว่า
    ข้อจำกัดที่สำคัญ
  • 8:18 - 8:22
    ในการพัฒนาการรักษาที่สามารถฟื้นฟูสมอง
    จากโรคสมองขาดเลือดได้อย่างรวดเร็ว
  • 8:22 - 8:28
    คือรูปแบบของความสามารถของความสามารถของสมอง
    ซึ่งแตกต่างหลากหลายมาก จากคนหนึ่งถึงอีกคน
  • 8:29 - 8:33
    ในฐานะนักวิจัย
    ความแตกต่างหลากหลายนี้ทำให้ฉันปวดหัว
  • 8:33 - 8:36
    มันทำให้ยากมากที่จะใช้สถิติ
  • 8:36 - 8:38
    เพื่อทดสอบข้อมูลและความคิดของคุณ
  • 8:38 - 8:41
    เพราะอย่างนี้ การศึกษา
    วิธีบำบัดรักษาทางการแพทย์
  • 8:41 - 8:45
    จึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลด
    ความแตกต่างหลากหลายให้เหลือน้อยที่สุด
  • 8:45 - 8:48
    แต่ในการวิจัยของฉัน
    มันเห็นได้ชัดว่า
  • 8:48 - 8:53
    สิ่งสำคัญที่สุด และข้อมูล
    ที่มีความหมายที่สุดที่เรารวบรวมมาได้
  • 8:53 - 8:55
    ก็คือข้อมูลที่แสดงให้เห็น
    ความหลายหลายเหล่านี้
  • 8:57 - 9:01
    ดังนั้น จากการศึกษาสมองของผู้ป่วย
    ภาวะสมองขาดเลือด พวกเราได้เรียนรู้มากมาย
  • 9:01 - 9:06
    และฉันคิดว่าบทเรียนนี้
    มีค่ามากกับวงการอื่นๆ ด้วย
  • 9:07 - 9:08
    บทเรียนแรกก็คือ
  • 9:08 - 9:12
    ปัจจัยหลักที่ทำให้สมองของคุณเปลี่ยน
    ก็คือพฤติกรรมของคุณเอง
  • 9:12 - 9:15
    มันไม่มียาที่กินแล้ว
    ทำให้สมองของคุณเปลี่ยนแปลงไปได้
  • 9:16 - 9:19
    ไม่มีอะไรมีประสิทธิภาพไปมากกว่าการฝึกฝน
    ที่จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้
  • 9:19 - 9:23
    สำคัญที่สุดคือคุณต้องลงมือทำ
  • 9:23 - 9:26
    และที่จริง งานวิจัยของฉันแสดงให้เห็นว่า
  • 9:26 - 9:30
    ยิ่งยาก ยิ่งดิ้นรนพยายาม
    ในช่วงของการฝึกฝนมากเท่าไหร่
  • 9:30 - 9:33
    ก็ยิ่งนำไปสู่ ทั้งการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
  • 9:33 - 9:36
    และการเปลี่ยนแปลงใน
    โครงสร้างของสมองที่มากขึ้น
  • 9:38 - 9:43
    ปัญหาคือ ความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ของสมอง
    อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองรูปแบบ
  • 9:43 - 9:45
    มันสามารถเป็นไปในแง่บวก
    คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่
  • 9:45 - 9:48
    ได้ปรับปรุงทักษะการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น
  • 9:48 - 9:52
    แต่มันก็อาจเป็นไปในแง่ลบก็ได้
    เช่น คุณลืมสิ่งที่คุณเคยรู้
  • 9:52 - 9:54
    คุณเริ่มติดยาบางอย่าง
  • 9:54 - 9:56
    หรืออาจมีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง
  • 9:56 - 9:59
    สมองของคุณเป็นเหมือนพลาสติกอันน่าทึ่ง
  • 9:59 - 10:03
    ที่ถูกปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้าง
    และหน้าที่การทำงานได้ จากทุกสิ่งที่คุณทำ
  • 10:03 - 10:06
    รวมถึงสิ่งที่คุณไม่ได้ทำด้วย
  • 10:07 - 10:10
    บทเรียนที่สองที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับสมอง
  • 10:10 - 10:14
    คือไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ใดๆ ที่จะทำให้
    ทุกคนเข้าใจได้เท่ากัน
  • 10:14 - 10:17
    ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการเรียนรู้
  • 10:17 - 10:21
    จากความเชื่อที่แพร่หลายว่า
    เราต้องใช้เวลาฝึกฝน 10,000 ชั่วโมง
  • 10:21 - 10:24
    เพื่อเรียนรู้และชำนาญในทักษะใหม่
  • 10:24 - 10:27
    ฉันรับรองได้เลยว่ามันไม่ง่ายแบบนั้น
  • 10:27 - 10:28
    สำหรับพวกเราบางคน
  • 10:28 - 10:33
    จำเป็นต้องมีการฝึกมากมาย
    แต่คนอื่นที่อาจจะใช้เวลาฝึกน้อยกว่า
  • 10:33 - 10:37
    ดังนั้น การปรับเปลี่ยนสมองของเรานั้น
    เป็นเรื่องเฉพาะตัวสูง
  • 10:37 - 10:41
    เกินกว่าจะมีวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
    ที่จะได้ผลสำหรับทุกคน
  • 10:41 - 10:46
    การตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ทำให้เรา
    เริ่มคิดถึงการแพทย์เฉพาะตัวบุคคล
  • 10:46 - 10:49
    คือแนวคิดที่ว่า
    เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • 10:49 - 10:53
    แต่ละคนต้องการวิธีรักษาบำบัด
    ที่เฉพาะเจาะจง เหมาะสมกับตนเอง
  • 10:53 - 10:56
    แนวคิดนี้ได้มาจากการรักษาโรคมะเร็ง
  • 10:56 - 10:59
    ที่แสดงให้เห็นว่าพันธุกรรม
    เป็นปัจจัยสำคัญมากในการจับคู่
  • 10:59 - 11:04
    ยาเคมีบำบัดบางตัว กับโรคมะเร็ง
    ที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง
  • 11:04 - 11:08
    งานวิจัยของฉันแสดงให้เห็นว่าแนวคิดนี้
    นำไปใช้ในการฟื้นฟูโรคสมองขาดเลือดได้ด้วย
  • 11:08 - 11:11
    โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของสมอง
    มีลักษณะบางอย่าง
  • 11:11 - 11:13
    ที่เราเรียกว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ
  • 11:13 - 11:15
    ปรากฏว่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเหล่านี้
    มีประโยชน์อย่างมาก
  • 11:15 - 11:17
    และช่วยเราในการจับคู่
  • 11:17 - 11:21
    การรักษาในรูปแบบเฉพาะกับผู้ป่วยแต่ละคนได้
  • 11:21 - 11:25
    ข้อมูลจากห้องทดลองของฉันชี้ให้เห็นว่า
    เมื่อใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพหลายอย่างรวมกัน
  • 11:25 - 11:30
    จะช่วยทำนายการเปลี่ยนแปลงของสมอง
    และแบบแผนการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้ดีที่สุด
  • 11:30 - 11:34
    ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย
    เพราะสมองคนเราซับซ้อนมาก
  • 11:34 - 11:39
    แต่ฉันคิดว่าเราสามารถมองแนวคิดนี้
    ในมุมกว้างขึ้นกว่าเดิมได้
  • 11:40 - 11:44
    โครงสร้างและการทำงานของสมอง
    มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในแต่ละคน
  • 11:44 - 11:49
    ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงได้ของสมอง
    หลังเกิดภาวะสมองขาดเลือด นำไปใช้กับทุกคน
  • 11:50 - 11:55
    พฤติกรรมที่คุณทำในแต่ละวันนั้น
    เป็นสิ่งที่สำคัญ
  • 11:55 - 11:58
    พฤติกรรมเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนสมองของคุณ
  • 11:58 - 11:59
    ฉันเชื่อว่าเราต้องพิจารณา
  • 11:59 - 12:03
    ไม่ใช่แค่การแพทย์เฉพาะบุคคล
    แต่ต้องคิดถึงการเรียนรู้เฉพาะบุคคลด้วย
  • 12:03 - 12:06
    รูปแบบที่เฉพาะเจาะจงของสมอง
    จะมีผลกระทบกับตัวคุณ
  • 12:06 - 12:09
    ทั้งในฐานะผู้เรียนรู้และผู้ให้ความรู้
  • 12:09 - 12:12
    ความคิดนี้ช่วยให้เราได้เข้าใจ
  • 12:12 - 12:16
    ว่าทำไมเด็กบางคนถึงมีความก้าวหน้า
    ในรูปแบบการศึกษาแบบเก่า
  • 12:16 - 12:17
    แต่เด็กคนอื่นไม่สามารถทำได้
  • 12:17 - 12:20
    ทำไมพวกเราบางคนถึงเรียนภาษาได้อย่างง่ายดาย
  • 12:20 - 12:24
    และหลายคนสามารถเล่นกีฬาได้ดี
  • 12:25 - 12:28
    ดังนั้น หลังจากที่คุณออกจากห้องนี้
  • 12:28 - 12:33
    สมองของคุณจะไม่เหมือนกับ
    ตอนที่คุณเข้ามาเมื่อเช้านี้
  • 12:33 - 12:36
    และฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก
  • 12:36 - 12:40
    แต่พวกคุณแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลง
    ของสมองที่แตกต่างกัน
  • 12:41 - 12:43
    ความเข้าใจในความแตกต่างเหล่านี้
  • 12:43 - 12:46
    ในแบบแผนพฤติกรรมของแต่ละคน
    ในตัวแปรและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  • 12:46 - 12:50
    จะช่วยสร้างความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ต่อไป
    ในวงการประสาทวิทยาศาสตร์
  • 12:50 - 12:54
    ทำให้เราได้พัฒนาวิธีบำบัดรักษาใหม่ๆ
    ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 12:54 - 12:58
    ทำให้มีการจับคู่ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
  • 12:58 - 13:01
    และระหว่างผู้ช่วยกับวิธีบำบัดรักษา
  • 13:01 - 13:04
    แนวคิดนี้ใช้ได้ไม่เพียง
    ในการฟื้นฟูโรคสมองขาดเลือด
  • 13:04 - 13:08
    แต่ยังใช้ได้กับพวกเราแต่ละคน
    ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่, ครู, ผู้จัดการ
  • 13:08 - 13:13
    และพวกคุณที่อยู่ที่ TEDx ในวันนี้
    ในฐานะนักเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย
  • 13:13 - 13:17
    ค้นหาวิธีและสิ่งที่คุณเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • 13:17 - 13:21
    ทำพฤติกรรมที่ดีต่อสมองของคุณเหล่านั้นซ้ำๆ
  • 13:21 - 13:24
    เลิกทำพฤติกรรมที่ไม่ได้ช่วยในการเรียนรู้
  • 13:24 - 13:26
    ฝึกฝน
  • 13:26 - 13:30
    การเรียนรู้คือการลงมือ
    ทำสิ่งที่สมองของคุณต้องการ
  • 13:30 - 13:34
    ดังนั้น แผนการที่ดีที่สุด
    จะแตกต่างไปในแต่ละคน
  • 13:34 - 13:38
    ที่จริง คุณรู้ไหมว่ามันยังแตกต่างกัน
    ภายในตัวคนแต่ละคนอีก
  • 13:38 - 13:41
    การเรียนดนตรีสำหรับคุณอาจจะง่ายมาก
  • 13:41 - 13:44
    แต่การเรียนสโนว์บอร์ดอาจจะยากกว่า
  • 13:44 - 13:46
    ฉันหวังว่าหลังจากจบงานในวันนี้
  • 13:46 - 13:50
    คุณจะกลับไปด้วยความภูมิใจ
    ว่าสมองของคุณพิเศษมากแค่ไหน
  • 13:50 - 13:55
    คุณและสมองของคุณถูกปั้นแต่ง
    ด้วยโลกที่อยู่รอบตัวคุณ
  • 13:55 - 13:57
    เข้าใจว่าทุกสิ่งที่คุณได้ลงมือทำ
  • 13:57 - 14:02
    ทุกสิ่งที่คุณได้พบ ทุกประสบการณ์ที่สัมผัส
    จะเปลี่ยนแปลงสมองของคุณ
  • 14:02 - 14:06
    และมันจะเปลี่ยนให้ดีขึ้น หรือว่าแย่ลงก็ได้
  • 14:06 - 14:10
    ดังนั้น หลังจากจบงานนี้ ขอให้คุณ
    ออกไปสร้างสมองแบบที่คุณต้องการ
  • 14:10 - 14:12
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 14:12 - 14:13
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หลังจากดูวิดีโอนี้ สมองของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ลารา บอยด์ | TEDxVancouver
Description:

การบรรยายนี้จัดขึ้นโดยกิจกรรม TEDx โดยใช้รูปแบบการสัมมนาแบบ TED แต่จัดการโดยองค์การท้องถิ่น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://ted.com/tedx

ด็อกเตอร์ลารา บอยด์ อธิบายถึงความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ของสมอง ที่ทำให้คุณสามารถจัดรูปแบบของสมองได้ตามที่คุณต้องการ

ความพยายามของด็อกเตอร์บอยด์นำไปสู่การพัฒนาวิธีบำบัดรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่สมองได้รับความเสียหาย และยังนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นได้ด้วย การเรียนรู้แนวคิดใหม่ ใช้โอกาสต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมใหม่ๆ
จะทำให้คุณเปลี่ยนแปลงสมองของคุณเอง และเปิดโลกให้เห็นความเป็นไปได้ที่ไม่จำกัด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
14:25

Thai subtitles

Revisions