< Return to Video

Endocrine System, part 1 - Glands & Hormones: Crash Course A&P #23

  • 0:01 - 0:03
    ในวันนี้
    ผมอยากจะพูดถึงอะไรบางอย่าง
  • 0:03 - 0:05
    คืออคติภาพพจน์อันหนึ่ง
    ซึ่งแย่มากและระบาดไปไกลมาก
  • 0:05 - 0:08
    การเหมารวมที่ไม่ยุติธรรม ไม่เป็นจริง
    และไม่เป็นวิทยาศาสตร์
  • 0:08 - 0:11
    ซึ่งเพิ่งถูกพูดถึงบ่อยๆ ในยุคหลัง
    ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับเซ็กส์
  • 0:11 - 0:13
    และฮอร์โมน
  • 0:13 - 0:16
    มนุษย์ชอบมีนิสัยเสียที่คิดเอาเองว่า
    ฮอร์โมน เท่ากับ พฤติกรรมบางชนิด
  • 0:16 - 0:20
    ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์
    หรือพัฒนาการทางเพศ
  • 0:20 - 0:24
    หรือกิจกรรมบางอย่างที่จอห์นน้องชายผม
    เรียกว่าการโซเดมาคอม
  • 0:24 - 0:28
    เช่น คนอาจจะบอกว่าฮอร์โมนเป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้เควินมีสิวและอารมณ์ฉุนเฉียว
  • 0:28 - 0:31
    หรือทำให้แฮนนาห์ผู้ตั้งท้องสามเดือน
    ร้องไห้ตอนดูโฆษณาทีวี
  • 0:31 - 0:33
    เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ซึ่ง
    จริงแล้วผมก็ร้องเหมือนกัน
  • 0:33 - 0:37
    ผมไม่ได้หมายความว่าฮอร์โมนไม่ใช่
    สาเหตุของแรงดึงดูดทางเพศหรือสิว
  • 0:37 - 0:40
    หรือการมีอารมณ์พลุ่งพล่านนะครับ
    เพราะมันใช่จริงตามนั้น
  • 0:40 - 0:42
    เพียงแต่มันไม่ได้จำกัดเพียงแค่นั้น
  • 0:42 - 0:43
    ห่างจากความจริงไปไกลเลย
  • 0:43 - 0:46
    เวลาคนพูดถึงฮอร์โมน
    ในบริบทที่ผมเพิ่งยกตัวอย่างไป
  • 0:46 - 0:49
    พวกเขาหมายถึงฮอร์โมนเพศ
  • 0:49 - 0:52
    ฮอร์โมนเพศเป็นเพียงฮอร์โมนชนิดหนึ่ง
    ที่วิ่งวนอยู่ในร่างกายของคุณ
  • 0:52 - 0:55
    ณ เวลานี้เท่านั้น ที่จริงแล้วยังมี
    ฮอร์โมนอีกกว่า 50 ชนิด
  • 0:55 - 0:58
    ทำหน้าที่เป็นสารสื่อเคมี ทำงานอยู่
    ในร่างกายของคุณตลอดเวลา
  • 0:58 - 1:01
    ซึ่งก็มีแค่ไม่กี่ตัวที่มีหน้าที่
    ที่เกี่ยวข้องกับเซ็กส์
  • 1:01 - 1:05
    ความเป็นจริงก็คือ ตั้งแต่เกิดจนตาย
    การทำงานแทบทุกอย่างในเซลล์และร่างกาย
  • 1:05 - 1:08
    อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน
    ตลอดเวลาเลยนะครับ
  • 1:08 - 1:10
    พวกมันถูกส่งผ่านกระแสเลือด
    คอยควบคุมเมตาบอลิซึม
  • 1:10 - 1:15
    การหลับการตื่น การตอบสนองต่อภาวะเครียด
    และการควบคุมทั่วๆ ไปที่สำคัญที่สุด
  • 1:15 - 1:18
    คือรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis)
    ไม่ให้คุณตายนั่นแหละ
  • 1:18 - 1:22
    ฮอร์โมนบางตัวก็มีไว้สร้างฮอร์โมนอีกตัว
    เพื่อไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนอีกตัวทำงานมากขึ้น
  • 1:22 - 1:26
    เป็นชุดของกระบวนการต่อเนื่องทางเคมี
    ที่เหล่าชีววิทยาตั้งชื่อให้อย่างสง่างาม
  • 1:26 - 1:27
    ว่า "แคสเคด" (cascade-ขั้นน้ำตก)
  • 1:27 - 1:30
    ฮอร์โมนเหล่านี้อยู่ในตัวของคุณ
    ไม่ว่าจะอารมณ์ไหน
  • 1:30 - 1:32
    หรือคุณจะมีสิวหรือไม่
  • 1:32 - 1:35
    สรุปว่าความจริงแล้วก็คือเราต่างอยู่
    ในอิทธิพลของฮอร์โมนตลอดเวลานั่นเองครับ
  • 1:38 - 1:39
  • 1:46 - 1:51
    ก่อนที่จะมาทำความเข้าใจฮอร์โมน
    และระบบต่อมไร้ท่อที่
  • 1:51 - 1:53
    คอยผลิต หลั่ง และดูดคืน
    ฮอร์โมนเหล่านี้ เราอาจจะถอย
  • 1:53 - 1:54
    มาดูภาพรวมๆ กันก่อน
  • 1:54 - 1:58
    นอกเหนือจากการพยายามเน้นว่า
    ฮอร์โมนเพศไม่ใช่ฮอร์โมนอย่างเดียวในร่างกาย
  • 1:58 - 2:02
    แต่ยังดูเพิ่มไปอีกว่าฮอร์โมน
    ส่งผลต่อระบบอวัยวะต่างๆ อย่างไร
  • 2:02 - 2:06
    เพราะถ้าจะพูดง่ายๆ แล้ว ร่างกายคนเรา
    มีเจ้านายสองคน หรือระบบร่างกายสองระบบ
  • 2:06 - 2:10
    ที่คอยตะโกน คอยสั่งการ
    แต่ละส่วนยิบส่วนย่อยของร่างกาย
  • 2:10 - 2:12
    ระบบต่อมไร้ท่อ
    และระบบประสาท ทั้งสองระบบ
  • 2:12 - 2:14
    คอยส่งข้อมูลคำสั่ง
    ไปทั่วร่างกาย
  • 2:14 - 2:18
    คอยเก็บข้อมูล คอยสร้างข้อเรียกร้อง
    และควบคุมทุกการกระทำ
  • 2:18 - 2:21
    เพียงแต่สองระบบนี้
    มีวิธีการสั่งงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
  • 2:21 - 2:24
    ทางฝ่ายระบบประสาทนั้นใช้ระบบไฟฟ้า
    ความต่างศักย์ทางเคมีความเร็วสูง
  • 2:24 - 2:28
    ส่งข้อมูลผ่านทางด่วนที่สร้างจากเซลล์ประสาท
    ไปยังเซลล์หนึ่งๆ หรืออวัยวะหนึ่งๆ โดยเฉพาะ
  • 2:28 - 2:32
    แต่ฝ่ายต่อมไร้ท่อนั้นชอบวิธีส่งข้อมูล
    ที่ช้ากว่าแต่ทั่วถึงกว่า
  • 2:32 - 2:36
    มันหลั่งฮอร์โมน แล้วให้ฮอร์โมนเดินทาง
    ไปกับเลือด แทนที่จะเป็นเส้นประสาท
  • 2:36 - 2:40
    เพราะงั้นจึงเดินทางได้ช้ากว่า
    แต่ส่งผลกระทบได้เป็นวงกว้าง
  • 2:40 - 2:42
    และคงอยู่นานกว่าข้อมูล
    ที่ส่งผ่านศักย์ไฟฟ้างาน
  • 2:42 - 2:46
    ทีนี้ถ้าให้เทียบกับหัวใจ หรือสมอง
    หรืออวัยวะอื่นที่น่ามองกว่า
  • 2:46 - 2:49
    อวัยวะของระบบต่อมไร้ท่อนั้นออกจะ
  • 2:49 - 2:50
    เล็กกว่า และเป็นแค่ก้อนๆ
  • 2:50 - 2:53
    แถมยังทำตัวเหมือนคนจรจัด
    ในขณะที่อวัยอื่นอยู่กันเป็นที่เป็นทาง
  • 2:53 - 2:57
    อวัยวะพวกนี้กลับกระจายเป็นหย่อมๆ
    ตั้งแต่อยู่ในสมอง
  • 2:57 - 2:59
    อยู่ที่คอ อยู่ที่ไต
    และอยู่ที่อวัยวะเพศ
  • 2:59 - 3:02
    สิ่งที่เรียกว่าต่อมนั้นก็คืออะไรก็ได้
    ที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนได้
  • 3:02 - 3:06
    ต่อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของร่างกาย
    คือต่อมใต้สมอง ซึ่งสร้าง
  • 3:06 - 3:10
    ฮอร์โมนหลายชนิดที่สั่งการ
    ต่อมอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ พาราไทรอยด์
  • 3:10 - 3:13
    ต่อมหมวกไต และต่อมไพเนียล
    ให้สร้างฮอร์โมนของตัวเอง
  • 3:13 - 3:17
    ระบต่อมไร้ท่อยังนับรวมถึงอวัยวะอื่น
    อีกจำนวนหนึ่ง เช่น ต่อมเพศ
  • 3:17 - 3:20
    ตับอ่อน รกในหญิงตั้งครรภ์
    ซึ่งทั้งหมดนี้
  • 3:20 - 3:22
    มีหน้าที่อื่นอีกนอกเหนือจากการสร้างฮอร์โมน
    และประกอบขึ้นจาก
  • 3:22 - 3:24
    เนื้อเยื่อหลายๆ ชนิด
  • 3:24 - 3:27
    ทางเทคนิกแล้ว สมองส่วนไฮโปทาลามัส
    ก็น่าจะอยู่ในก๊วนต่อมไร้ท่อด้วย
  • 3:27 - 3:32
    เพราะนอกจากจะทำหน้าที่แบบสมองแล้ว
    ยังผลิตและหลั่งฮอร์โมนได้ด้วย
  • 3:32 - 3:35
    เป็นเพราะต่อมและอวัยวะต่างๆ เหล่านี้นี่เอง
    ร่างกายของเราจึงมีฮอร์โมน
  • 3:35 - 3:38
    ไหลเวียนในกระแสเลือด
    คอยทำหน้าที่ต่างๆ แต่ที่สำคัญคือ
  • 3:38 - 3:43
    ฮอร์โมนหนึ่งๆ จะสามารถกระตุ้นปฏิกิริยา
    ได้ในเซลล์บางเซลล์เท่านั้น
  • 3:43 - 3:46
    เซลล์เหล่านี้เรียกว่าเซลล์เป้าหมาย
    ซึ่งจะมีตัวรับที่ตรงกับฮอร์โมนนั้นๆ
  • 3:46 - 3:50
    เหมือนที่กุญแจบางดอกเปิดประตูได้หลายบาน
    แต่บางดอกก็เปิดได้แค่บานเดียว
  • 3:50 - 3:54
    ฮอร์โมนกับเซลล์เป้าหมายก็เช่นกัน
    ซึ่งอาจจะมีผลเป็นวงกว้าง
  • 3:54 - 3:55
    หรือเป็นวงแคบก็ได้
  • 3:55 - 3:58
    คุณน่าจะอยากได้ตัวอย่าง
    เริ่มที่ต่อมไทรอยด์ที่อยู่ตรง
  • 3:58 - 4:01
    คอของคุณเลยแล้วกัน มันสร้างฮอร์โมน
    ไทรอกซีน ซึ่งกระตุ้นเมตาบอลิซึม
  • 4:01 - 4:05
    และจับกับตัวรับบนเซลล์
    ซึ่งมีแทบทุกเซลล์ แต่ต่อมพิทูอิทารี
  • 4:05 - 4:09
    ซึ่งอยู่ใต้สมองนั้นผลิตฮอร์โมน
    ชื่อฟอลลิเคิลสติมูเลติงฮอร์โมน
  • 4:09 - 4:12
    ซึ่งช่วยควบคุมการเจริญเติบโต
    และทำให้เกิดลักษณะทางเพศ ทำงานได้เฉพาะกับ
  • 4:12 - 4:15
    เซลล์ในรังไข่และอัณฑะเท่านั้น
  • 4:15 - 4:18
    ฮอร์โมนจับกับเซลล์เป้าหมายได้อย่างไรนะหรือ
  • 4:18 - 4:21
    ทางเคมีนั้นฮอร์โมนส่วนใหญ่
    สร้างจากกรดอะมิโนรวมทั้ง
  • 4:21 - 4:25
    โครงสร้างซับซ้อนที่สร้างจากกรดอะมิโน
    เช่นสายเพพไทด์หรือโปรตีน หรืออาจจะ
  • 4:25 - 4:27
    สร้างจากไขมัน เช่นคอเลสเตอรอล
  • 4:27 - 4:29
    ตรงนี้คือกุญแจสำคัญ
    เพราะโครงสร้างทางเคมีจะเป็นตัวตัดสินว่า
  • 4:29 - 4:32
    ฮอร์โมนจะละลายในน้ำ
    อย่างพวกที่สร้างจากกรดอะมิโน
  • 4:32 - 4:34
    หรือละลายในไขมันเหมือนพวกสเตียรอยด์
  • 4:34 - 4:38
    การละลายได้นี้มีความสำคัญมาก
    เพราะเยื่อหุ้มเซลล์นั้นสร้างจากไขมัน
  • 4:38 - 4:41
    อะไรที่ละลายน้ำได้จะไม่สามารถผ่าน
    เยื่อหุ้มเซลล์ได้ ฉะนั้นเซลล์เป้าหมาย
  • 4:41 - 4:45
    ของฮอร์โมนกลุ่มนี้จะต้องมี
    ตัวรับอยู่ที่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์
  • 4:45 - 4:49
    ในขณะที่ฮอร์โมนที่ละลายในไขมันได้นั้น
    สามารถแทรกผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้
  • 4:49 - 4:52
    ตัวรับของฮอร์โมนกลุ่มนี้
    จึงอยู่ภายในของเซลล์เป้าหมาย
  • 4:52 - 4:56
    ไม่ว่าแบบใดก็ตาม เมื่อเซลล์เป้าหมาย
    ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมน มันจะเปลี่ยนแปลง
  • 4:56 - 4:59
    การทำงานบางอย่างของเซลล์
    โดยอาจจะทำมากขึ้นหรือทำน้อยลง
  • 4:59 - 5:03
    โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาภาวะธำรงดุล
    ของร่างกายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
  • 5:03 - 5:05
    ถ้าฮอร์โมนคอยรักษาสมดุลของร่างกาย
    แล้วอะไรกันเล่า
  • 5:05 - 5:07
    ที่คอยทำลายสมดุลของร่างกาย
  • 5:07 - 5:10
    อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ
    คุณจะรับพายไปกินสักหน่อยไหมล่ะครับ
  • 5:10 - 5:12
    พายสตรอวเบอร์รี่ผสมหัวรูบาร์บ
    สุดจะน่าอร่อย
  • 5:12 - 5:15
    และไหนๆ ก็ไหนๆ เราไปต่อให้สุด
    ด้วยการโปะไอศครีมแบบอาลาโมด
  • 5:15 - 5:18
    รับรองระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ
    จะต้องพุ่งสูงทะลุหลังคา
  • 5:18 - 5:21
    ตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาล
    ในเลือดโดยการหลั่งฮอร์โมนสองชนิด
  • 5:21 - 5:23
    คืออินซูลินและกลูคากอน
  • 5:23 - 5:26
    หลังจากคุณได้กินพายอันนั้นจนอิ่ม
    เซลล์เบต้าในตับอ่อนก็จะ
  • 5:26 - 5:29
    หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อช่วย
    ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการ
  • 5:29 - 5:32
    เพิ่มอัตราการเอาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
    ในรูปของไกลโคเจน
  • 5:32 - 5:34
    หรือไขมันเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลัง
  • 5:34 - 5:36
    ทีนี้สมมติว่าเป็นในทางตรงกันข้าม
  • 5:36 - 5:38
    คุณไม่ได้กินพาย คุณไร้พาย
  • 5:38 - 5:40
    หรือเอาเป็นว่าคุณไม่ได้กินอะไรเลยหลายชั่วโมง
  • 5:40 - 5:44
    หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลดต่ำลง
    เซลล์อัลฟาในตับอ่อนก็จะ
  • 5:44 - 5:47
    หลั่งกลูคากอนออกมา
    เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
  • 5:47 - 5:50
    ด้วยการลดอัตราการเก็บน้ำตาลเข้าสู่เซลล์
  • 5:50 - 5:53
    และกระตุ้นการปล่อยน้ำตาลกลูโคส
    ออกมาในกระแสเลือด
  • 5:53 - 5:56
    โรคทางต่อมไร้ท่อหลายๆ โรค
    เช่นเบาหวาน
  • 5:56 - 6:00
    หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
    มักเกิดจากการทำงานมากเกินไป
  • 6:00 - 6:03
    หรือน้อยเกินไปของฮอร์โมนต่างๆ
  • 6:03 - 6:05
    จนทำให้ร่างกายเสียภาวะธำรงดุล
  • 6:05 - 6:08
    ยังมีบางอย่างซึ่งพบได้บ่อยกว่า
    แต่ดูออกยากกว่า
  • 6:08 - 6:11
    มาทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลได้
    โดยไม่ได้เกิดจากโรค
  • 6:11 - 6:14
    แต่เกิดจากการที่ฮอร์โมนเหล่านี้
    ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของปฏิกิริยาลูกโซ่
  • 6:14 - 6:16
    ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักจึงจะหยุดลง
  • 6:16 - 6:19
    ฮอร์โมนบางตัวก็มีไว้เพื่อคุมฮอร์โมนอีกตัว
    ซึ่งฮอร์โมนตัวนั้น
  • 6:19 - 6:23
    ก็ไปคุมฮอร์โมนตัวอื่นอีกที
    เมื่อฮอร์โมนตัวหนึ่งถูกกระตุ้น
  • 6:23 - 6:25
    ก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาต่อๆ กันไป
    เป็นสายน้ำตก (แคสเคด) ได้
  • 6:25 - 6:28
    ในชั่วขณะหนึ่งๆ อาจจะมีแคสเคด
    ของฮอร์โมนทำงานอยู่หลายอัน
  • 6:28 - 6:31
    แต่อันหนึ่งซึ่งเป็นอันใหญ่สุด
    และควรค่าแก่การรู้จักที่สุด
  • 6:31 - 6:35
    คือแกนไฮโปทาลามิก พิทูอิทารี อะดรีนัล
    หรือแกน HPA
  • 6:35 - 6:37
    เรียกย่อเพราะคุณคง
    ไม่อยากพูดชื่อยาวๆ ซ้ำ
  • 6:37 - 6:40
    แกนนี้เป็นชุดของปฏิกิริยาที่ซับซ้อน
    ระหว่างต่อม 3 ต่อม ที่ช่วยกัน
  • 6:40 - 6:45
    ควบคุมกระบวนการหลายๆ อย่างในชีวิตประจำวัน
    เช่น การย่อยอาหาร เรื่องทางเพศ
  • 6:45 - 6:47
    ภูมิคุ้มกัน และการตอบสนอง
    ต่อความเครียด
  • 6:47 - 6:49
    ซับซ้อนนี้ไม่ใช่แค่เพราะ
    มีหลายต่อมเท่านั้น
  • 6:49 - 6:52
    แต่ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญ
    ที่ระบบต่อมไร้ท่อ
  • 6:52 - 6:55
    จะทำงานร่วมกันกับระบบประสาท
  • 6:55 - 6:57
    และอยู่เบื้องหลัง
    "การตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี"
  • 6:57 - 6:58
    ที่ทุกคนพากันพูดถึง
  • 6:58 - 7:02
    แกน HPA ก็คือเพื่อนในระบบต่อมไร้ท่อ
  • 7:02 - 7:04
    ของระบบประสาทซิมพาเทติก
  • 7:04 - 7:06
    ในเวลาที่ร่างกายมีความเครียดสูง
    ระบบประสาทซิมพาเทติก
  • 7:06 - 7:10
    จะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
    ผันเลือดไม่ให้ไปเลี้ยงลำไส้
  • 7:10 - 7:12
    เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
    ช่วยกันกับผลอื่นของการตอบสนอง
  • 7:12 - 7:14
    ที่ควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อ
  • 7:14 - 7:17
    การประสานงานระหว่างระบบประสาท
    และระบบต่อมไร้ท่อ ในเวลา
  • 7:17 - 7:20
    วิกฤตเช่นนี้เป็นหน้าที่ของไฮโปทาลามัส
  • 7:20 - 7:23
    ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่ทั้งสองระบบมาพบกัน
    คอยติดตามดูว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 7:23 - 7:26
    ในร่างกาย วิเคราะห์เลือด
    หาสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอะไรผิดปกติ
  • 7:26 - 7:29
    ทีนี้เรากลับมาดูการสู้หรือหนี
    ที่เราเคยพูดกันไปในบทก่อนๆ
  • 7:29 - 7:31
    เหตุการณ์บ้านไฟไหม้
  • 7:31 - 7:35
    สมมติว่าคุณกำลังฝันได้ลูบพุงแพนด้า
    กับเอมม่า วัตสัน หรืออะไรก็ตาม
  • 7:35 - 7:37
    และจู่ๆ สัญญาณเตือนไฟไหม้ก็ดังขึ้น
  • 7:37 - 7:40
    สัญญาณไฟฟ้าจากสมองจะไปกระตุ้น
    เซลล์ประสาทในไฮโปทาลามัส
  • 7:40 - 7:45
    ให้หลั่งเพพไทด์ฮอร์โมนที่ชื่อ CRH
    หรือ corticotropin-releasing hormone
  • 7:45 - 7:47
    ฮอร์โมน CRH นี้จะเดินทางสั้นๆ
    ผ่านกระแสเลือดไปยัง
  • 7:47 - 7:51
    ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และเนื่องจาก
    ฮอร์โมนนี้ละลายได้ในน้ำ จึงจับกับตัวรับ
  • 7:51 - 7:55
    ที่อยู่ผิวนอกของเซลล์เป้าหมาย
    และกระตุ้นให้เซลล์นั้นหลั่ง
  • 7:55 - 7:58
    adrenocorticotropic hormone
    หรือฮอร์โมน ACTH
  • 7:58 - 8:02
    ฮอร์โมน ACTH นี้จะเดินทางผ่าน
    กระแสเลือดอีกครั้งไปยังส่วนเปลือกนอก
  • 8:02 - 8:04
    ของต่อมหมวกไต ข้างๆ ไตของคุณ
  • 8:04 - 8:08
    ที่นั่น ACTH จะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์
    ของเปลือกต่อมหมวกไต
  • 8:08 - 8:11
    และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารแห่ง
    ความสติแตกจำนวนมากอย่างบ้าคลั่ง
  • 8:11 - 8:14
    เรียกว่าฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์
    และมิเนอราโลคอร์ติคอยด์
  • 8:14 - 8:18
    ฮอร์โมนเหล่านี้ปกติมีหน้าที่
    คอยตอบสนองต่อความเครียดระดับปกติ
  • 8:18 - 8:20
    รักษาระดับน้ำตาล ความดัน
    ให้สมดุล แต่เมื่อความเครียด
  • 8:20 - 8:25
    มากถึงระดับบ้านไฟไหม้นั้น
    ฮอร์โมนเหล่านี้เช่นคอร์ติซอลจะทำให้
  • 8:25 - 8:28
    เกิดปฏิกิริยาตอบสนองแบบสู้หรือหนี
    มันช่วยเพิ่มความดันเลือด
  • 8:28 - 8:31
    เพิ่มน้ำตาลเข้ามาในกระแสเลือด
    ระงับการทำงานของอะไรก็ตามที่ไม่ฉุกเฉิน
  • 8:31 - 8:34
    เช่นพวกระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตอสุจิ
    และไข่ แล้วไงต่อรู้ไหมครับ
  • 8:34 - 8:37
    พอฮอร์โมนความเครียดเหล่านี้
    ออกมาออกันอยู่ในเลือด
  • 8:37 - 8:40
    ไฮโปทาลามัสในสมองเขารับรู้ครับ
    เพราะนี่เป็นหน้าที่ของเขา
  • 8:40 - 8:42
    ที่จะคอยตรวจสอบและรักษาสมดุล
    เอาไว้หากเป็นไปได้
  • 8:42 - 8:47
    มันก็จะหยุดหลั่ง CRH
    ทำให้ต่อมอื่นๆ หยุดหลั่ง
  • 8:47 - 8:49
    ฮอร์โมนแห่งความสติแตกเหล่านี้ในที่สุด
  • 8:49 - 8:51
    เนื่องจากการตอบสนองความเครียดต่างๆ
    ส่วนใหญ่ผ่านฮอร์โมน
  • 8:51 - 8:54
    ไม่ใช่ไฟฟ้า จึงเกิดขึ้นช้ากว่า
    ส่วนที่ควบคุมโดยระบบประสาท
  • 8:54 - 8:58
    และคงอยู่นานกว่าจะค่อยๆ หยุดลง
    เพราะฮอร์โมนความเครียดเหล่านั้น
  • 8:58 - 9:01
    ยังคงอยู่ในกระแสเลือด
    จนกว่าจะถูกทำลายลงด้วยเอนไซม์ต่างๆ
  • 9:01 - 9:04
    เรามาไกลมาก จากความรักวัยรุ่น
    สิว และการร้องไห้ให้กับโฆษณาทีวี
  • 9:04 - 9:06
    ณ จุดจุดนี้ จริงไหมครับ
  • 9:06 - 9:08
    ในฐานะที่เป็นเจ้าของฮอร์โมน
    ตลอดชีวิต ผมหวังว่าคุณ
  • 9:08 - 9:12
    จะช่วยกันลบล้างอคติภาพพจน์ที่ครอบงำ
    เหล่าสารเคมีที่สำคัญและแข็งแกร่งเหล่านี้
  • 9:12 - 9:15
    ให้พวกเขาได้รับความเคารพ
    ที่พวกเขาสมควรจะได้รับ
  • 9:15 - 9:18
    วันนี้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
    ว่าต่อมต่างๆ สร้างฮอร์โมนอย่างไร
  • 9:18 - 9:22
    ฮอร์โมนเหล่านี้อาจเป็นกรดอะมิโน
    ซึ่งละลายในน้ำ
  • 9:22 - 9:26
    หรือเป็นสเตียรอยด์ซึ่งละลายในไขมัน
    และสามารถส่งผลต่อเซลล์ได้หลายชนิด
  • 9:26 - 9:28
    หรือส่งผลต่อเซลล์เพียงบางชนิด
  • 9:28 - 9:29
    พูดถึงแคสเคดของฮอร์โมนเล็กน้อย
  • 9:29 - 9:32
    และว่าแกน HPA ส่งผล
    ต่อการตอบสนองความเครียดอย่างไร
  • 9:32 - 9:35
    ขอบคุณเหล่าอาจารย์ใหญ่แห่งการเรียนรู้
    โทมัส แฟรงค์
  • 9:35 - 9:37
    ขอบคุณชาว Patreon ที่ทำให้รายการ
    crash course เป็นไปได้
  • 9:37 - 9:39
    ผ่านค่าสมาชิกรายเดือน
  • 9:39 - 9:42
    หากคุณชอบ crash course และอยากจะ
    สนับสนุนพวกเราให้ทำเนื้อหา
  • 9:42 - 9:45
    เกี่ยวกับการศึกษาฟรีต่อไป
    เยี่ยมชมได้ที่ patreon.com/crashcourse
  • 9:45 - 9:49
    crash course ถ่ายทำที่สตูดิโอ
    crash course ของ Dr. Cheryl C. Kenny
  • 9:49 - 9:51
    บทของรายการตอนนี้เขียนโดย
    Kathleen Yale
  • 9:51 - 9:54
    ตัดต่อโดย Blake de Pastino
    Dr. Brendan Jackson เป็นที่ปรึกษา
  • 9:54 - 9:55
    กำกับโดย Nicholas Jenkins
  • 9:55 - 9:57
    บก. Nicole Sweeney
    กำกับการเขียนบทโดย
  • 9:57 - 10:00
    Stefan Chin
    ออกแบบเสียงโดย Michael Amanda
  • 10:00 - 10:03
    ทีมกราฟอกโดย
    Though Cafe
Title:
Endocrine System, part 1 - Glands & Hormones: Crash Course A&P #23
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
10:25

Thai subtitles

Revisions