ในวันนี้ ผมอยากจะพูดถึงอะไรบางอย่าง คืออคติภาพพจน์อันหนึ่ง ซึ่งแย่มากและระบาดไปไกลมาก การเหมารวมที่ไม่ยุติธรรม ไม่เป็นจริง และไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเพิ่งถูกพูดถึงบ่อยๆ ในยุคหลัง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับเซ็กส์ และฮอร์โมน มนุษย์ชอบมีนิสัยเสียที่คิดเอาเองว่า ฮอร์โมน เท่ากับ พฤติกรรมบางชนิด ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ หรือพัฒนาการทางเพศ หรือกิจกรรมบางอย่างที่จอห์นน้องชายผม เรียกว่าการโซเดมาคอม เช่น คนอาจจะบอกว่าฮอร์โมนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เควินมีสิวและอารมณ์ฉุนเฉียว หรือทำให้แฮนนาห์ผู้ตั้งท้องสามเดือน ร้องไห้ตอนดูโฆษณาทีวี เกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ซึ่ง จริงแล้วผมก็ร้องเหมือนกัน ผมไม่ได้หมายความว่าฮอร์โมนไม่ใช่ สาเหตุของแรงดึงดูดทางเพศหรือสิว หรือการมีอารมณ์พลุ่งพล่านนะครับ เพราะมันใช่จริงตามนั้น เพียงแต่มันไม่ได้จำกัดเพียงแค่นั้น ห่างจากความจริงไปไกลเลย เวลาคนพูดถึงฮอร์โมน ในบริบทที่ผมเพิ่งยกตัวอย่างไป พวกเขาหมายถึงฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศเป็นเพียงฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ที่วิ่งวนอยู่ในร่างกายของคุณ ณ เวลานี้เท่านั้น ที่จริงแล้วยังมี ฮอร์โมนอีกกว่า 50 ชนิด ทำหน้าที่เป็นสารสื่อเคมี ทำงานอยู่ ในร่างกายของคุณตลอดเวลา ซึ่งก็มีแค่ไม่กี่ตัวที่มีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับเซ็กส์ ความเป็นจริงก็คือ ตั้งแต่เกิดจนตาย การทำงานแทบทุกอย่างในเซลล์และร่างกาย อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน ตลอดเวลาเลยนะครับ พวกมันถูกส่งผ่านกระแสเลือด คอยควบคุมเมตาบอลิซึม การหลับการตื่น การตอบสนองต่อภาวะเครียด และการควบคุมทั่วๆ ไปที่สำคัญที่สุด คือรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) ไม่ให้คุณตายนั่นแหละ ฮอร์โมนบางตัวก็มีไว้สร้างฮอร์โมนอีกตัว เพื่อไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนอีกตัวทำงานมากขึ้น เป็นชุดของกระบวนการต่อเนื่องทางเคมี ที่เหล่าชีววิทยาตั้งชื่อให้อย่างสง่างาม ว่า "แคสเคด" (cascade-ขั้นน้ำตก) ฮอร์โมนเหล่านี้อยู่ในตัวของคุณ ไม่ว่าจะอารมณ์ไหน หรือคุณจะมีสิวหรือไม่ สรุปว่าความจริงแล้วก็คือเราต่างอยู่ ในอิทธิพลของฮอร์โมนตลอดเวลานั่นเองครับ ♪ ก่อนที่จะมาทำความเข้าใจฮอร์โมน และระบบต่อมไร้ท่อที่ คอยผลิต หลั่ง และดูดคืน ฮอร์โมนเหล่านี้ เราอาจจะถอย มาดูภาพรวมๆ กันก่อน นอกเหนือจากการพยายามเน้นว่า ฮอร์โมนเพศไม่ใช่ฮอร์โมนอย่างเดียวในร่างกาย แต่ยังดูเพิ่มไปอีกว่าฮอร์โมน ส่งผลต่อระบบอวัยวะต่างๆ อย่างไร เพราะถ้าจะพูดง่ายๆ แล้ว ร่างกายคนเรา มีเจ้านายสองคน หรือระบบร่างกายสองระบบ ที่คอยตะโกน คอยสั่งการ แต่ละส่วนยิบส่วนย่อยของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาท ทั้งสองระบบ คอยส่งข้อมูลคำสั่ง ไปทั่วร่างกาย คอยเก็บข้อมูล คอยสร้างข้อเรียกร้อง และควบคุมทุกการกระทำ เพียงแต่สองระบบนี้ มีวิธีการสั่งงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทางฝ่ายระบบประสาทนั้นใช้ระบบไฟฟ้า ความต่างศักย์ทางเคมีความเร็วสูง ส่งข้อมูลผ่านทางด่วนที่สร้างจากเซลล์ประสาท ไปยังเซลล์หนึ่งๆ หรืออวัยวะหนึ่งๆ โดยเฉพาะ แต่ฝ่ายต่อมไร้ท่อนั้นชอบวิธีส่งข้อมูล ที่ช้ากว่าแต่ทั่วถึงกว่า มันหลั่งฮอร์โมน แล้วให้ฮอร์โมนเดินทาง ไปกับเลือด แทนที่จะเป็นเส้นประสาท เพราะงั้นจึงเดินทางได้ช้ากว่า แต่ส่งผลกระทบได้เป็นวงกว้าง และคงอยู่นานกว่าข้อมูล ที่ส่งผ่านศักย์ไฟฟ้างาน ทีนี้ถ้าให้เทียบกับหัวใจ หรือสมอง หรืออวัยวะอื่นที่น่ามองกว่า อวัยวะของระบบต่อมไร้ท่อนั้นออกจะ เล็กกว่า และเป็นแค่ก้อนๆ แถมยังทำตัวเหมือนคนจรจัด ในขณะที่อวัยอื่นอยู่กันเป็นที่เป็นทาง อวัยวะพวกนี้กลับกระจายเป็นหย่อมๆ ตั้งแต่อยู่ในสมอง อยู่ที่คอ อยู่ที่ไต และอยู่ที่อวัยวะเพศ สิ่งที่เรียกว่าต่อมนั้นก็คืออะไรก็ได้ ที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนได้ ต่อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของร่างกาย คือต่อมใต้สมอง ซึ่งสร้าง ฮอร์โมนหลายชนิดที่สั่งการ ต่อมอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และต่อมไพเนียล ให้สร้างฮอร์โมนของตัวเอง ระบต่อมไร้ท่อยังนับรวมถึงอวัยวะอื่น อีกจำนวนหนึ่ง เช่น ต่อมเพศ ตับอ่อน รกในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ มีหน้าที่อื่นอีกนอกเหนือจากการสร้างฮอร์โมน และประกอบขึ้นจาก เนื้อเยื่อหลายๆ ชนิด ทางเทคนิกแล้ว สมองส่วนไฮโปทาลามัส ก็น่าจะอยู่ในก๊วนต่อมไร้ท่อด้วย เพราะนอกจากจะทำหน้าที่แบบสมองแล้ว ยังผลิตและหลั่งฮอร์โมนได้ด้วย เป็นเพราะต่อมและอวัยวะต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ร่างกายของเราจึงมีฮอร์โมน ไหลเวียนในกระแสเลือด คอยทำหน้าที่ต่างๆ แต่ที่สำคัญคือ ฮอร์โมนหนึ่งๆ จะสามารถกระตุ้นปฏิกิริยา ได้ในเซลล์บางเซลล์เท่านั้น เซลล์เหล่านี้เรียกว่าเซลล์เป้าหมาย ซึ่งจะมีตัวรับที่ตรงกับฮอร์โมนนั้นๆ เหมือนที่กุญแจบางดอกเปิดประตูได้หลายบาน แต่บางดอกก็เปิดได้แค่บานเดียว ฮอร์โมนกับเซลล์เป้าหมายก็เช่นกัน ซึ่งอาจจะมีผลเป็นวงกว้าง หรือเป็นวงแคบก็ได้ คุณน่าจะอยากได้ตัวอย่าง เริ่มที่ต่อมไทรอยด์ที่อยู่ตรง คอของคุณเลยแล้วกัน มันสร้างฮอร์โมน ไทรอกซีน ซึ่งกระตุ้นเมตาบอลิซึม และจับกับตัวรับบนเซลล์ ซึ่งมีแทบทุกเซลล์ แต่ต่อมพิทูอิทารี ซึ่งอยู่ใต้สมองนั้นผลิตฮอร์โมน ชื่อฟอลลิเคิลสติมูเลติงฮอร์โมน ซึ่งช่วยควบคุมการเจริญเติบโต และทำให้เกิดลักษณะทางเพศ ทำงานได้เฉพาะกับ เซลล์ในรังไข่และอัณฑะเท่านั้น ฮอร์โมนจับกับเซลล์เป้าหมายได้อย่างไรนะหรือ ทางเคมีนั้นฮอร์โมนส่วนใหญ่ สร้างจากกรดอะมิโนรวมทั้ง โครงสร้างซับซ้อนที่สร้างจากกรดอะมิโน เช่นสายเพพไทด์หรือโปรตีน หรืออาจจะ สร้างจากไขมัน เช่นคอเลสเตอรอล ตรงนี้คือกุญแจสำคัญ เพราะโครงสร้างทางเคมีจะเป็นตัวตัดสินว่า ฮอร์โมนจะละลายในน้ำ อย่างพวกที่สร้างจากกรดอะมิโน หรือละลายในไขมันเหมือนพวกสเตียรอยด์ การละลายได้นี้มีความสำคัญมาก เพราะเยื่อหุ้มเซลล์นั้นสร้างจากไขมัน อะไรที่ละลายน้ำได้จะไม่สามารถผ่าน เยื่อหุ้มเซลล์ได้ ฉะนั้นเซลล์เป้าหมาย ของฮอร์โมนกลุ่มนี้จะต้องมี ตัวรับอยู่ที่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์ ในขณะที่ฮอร์โมนที่ละลายในไขมันได้นั้น สามารถแทรกผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ ตัวรับของฮอร์โมนกลุ่มนี้ จึงอยู่ภายในของเซลล์เป้าหมาย ไม่ว่าแบบใดก็ตาม เมื่อเซลล์เป้าหมาย ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมน มันจะเปลี่ยนแปลง การทำงานบางอย่างของเซลล์ โดยอาจจะทำมากขึ้นหรือทำน้อยลง โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาภาวะธำรงดุล ของร่างกายไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าฮอร์โมนคอยรักษาสมดุลของร่างกาย แล้วอะไรกันเล่า ที่คอยทำลายสมดุลของร่างกาย อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ คุณจะรับพายไปกินสักหน่อยไหมล่ะครับ พายสตรอวเบอร์รี่ผสมหัวรูบาร์บ สุดจะน่าอร่อย และไหนๆ ก็ไหนๆ เราไปต่อให้สุด ด้วยการโปะไอศครีมแบบอาลาโมด รับรองระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ จะต้องพุ่งสูงทะลุหลังคา ตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดโดยการหลั่งฮอร์โมนสองชนิด คืออินซูลินและกลูคากอน หลังจากคุณได้กินพายอันนั้นจนอิ่ม เซลล์เบต้าในตับอ่อนก็จะ หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อช่วย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการ เพิ่มอัตราการเอาน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ในรูปของไกลโคเจน หรือไขมันเพื่อเก็บไว้ใช้ในภายหลัง ทีนี้สมมติว่าเป็นในทางตรงกันข้าม คุณไม่ได้กินพาย คุณไร้พาย หรือเอาเป็นว่าคุณไม่ได้กินอะไรเลยหลายชั่วโมง หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลดต่ำลง เซลล์อัลฟาในตับอ่อนก็จะ หลั่งกลูคากอนออกมา เพื่อช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการลดอัตราการเก็บน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ และกระตุ้นการปล่อยน้ำตาลกลูโคส ออกมาในกระแสเลือด โรคทางต่อมไร้ท่อหลายๆ โรค เช่นเบาหวาน หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน มักเกิดจากการทำงานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปของฮอร์โมนต่างๆ จนทำให้ร่างกายเสียภาวะธำรงดุล ยังมีบางอย่างซึ่งพบได้บ่อยกว่า แต่ดูออกยากกว่า มาทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลได้ โดยไม่ได้เกิดจากโรค แต่เกิดจากการที่ฮอร์โมนเหล่านี้ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักจึงจะหยุดลง ฮอร์โมนบางตัวก็มีไว้เพื่อคุมฮอร์โมนอีกตัว ซึ่งฮอร์โมนตัวนั้น ก็ไปคุมฮอร์โมนตัวอื่นอีกที เมื่อฮอร์โมนตัวหนึ่งถูกกระตุ้น ก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาต่อๆ กันไป เป็นสายน้ำตก (แคสเคด) ได้ ในชั่วขณะหนึ่งๆ อาจจะมีแคสเคด ของฮอร์โมนทำงานอยู่หลายอัน แต่อันหนึ่งซึ่งเป็นอันใหญ่สุด และควรค่าแก่การรู้จักที่สุด คือแกนไฮโปทาลามิก พิทูอิทารี อะดรีนัล หรือแกน HPA เรียกย่อเพราะคุณคง ไม่อยากพูดชื่อยาวๆ ซ้ำ แกนนี้เป็นชุดของปฏิกิริยาที่ซับซ้อน ระหว่างต่อม 3 ต่อม ที่ช่วยกัน ควบคุมกระบวนการหลายๆ อย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การย่อยอาหาร เรื่องทางเพศ ภูมิคุ้มกัน และการตอบสนอง ต่อความเครียด ซับซ้อนนี้ไม่ใช่แค่เพราะ มีหลายต่อมเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่ระบบต่อมไร้ท่อ จะทำงานร่วมกันกับระบบประสาท และอยู่เบื้องหลัง "การตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี" ที่ทุกคนพากันพูดถึง แกน HPA ก็คือเพื่อนในระบบต่อมไร้ท่อ ของระบบประสาทซิมพาเทติก ในเวลาที่ร่างกายมีความเครียดสูง ระบบประสาทซิมพาเทติก จะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ผันเลือดไม่ให้ไปเลี้ยงลำไส้ เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ช่วยกันกับผลอื่นของการตอบสนอง ที่ควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อ การประสานงานระหว่างระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ ในเวลา วิกฤตเช่นนี้เป็นหน้าที่ของไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่ทั้งสองระบบมาพบกัน คอยติดตามดูว่าเกิดอะไรขึ้น ในร่างกาย วิเคราะห์เลือด หาสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอะไรผิดปกติ ทีนี้เรากลับมาดูการสู้หรือหนี ที่เราเคยพูดกันไปในบทก่อนๆ เหตุการณ์บ้านไฟไหม้ สมมติว่าคุณกำลังฝันได้ลูบพุงแพนด้า กับเอมม่า วัตสัน หรืออะไรก็ตาม และจู่ๆ สัญญาณเตือนไฟไหม้ก็ดังขึ้น สัญญาณไฟฟ้าจากสมองจะไปกระตุ้น เซลล์ประสาทในไฮโปทาลามัส ให้หลั่งเพพไทด์ฮอร์โมนที่ชื่อ CRH หรือ corticotropin-releasing hormone ฮอร์โมน CRH นี้จะเดินทางสั้นๆ ผ่านกระแสเลือดไปยัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และเนื่องจาก ฮอร์โมนนี้ละลายได้ในน้ำ จึงจับกับตัวรับ ที่อยู่ผิวนอกของเซลล์เป้าหมาย และกระตุ้นให้เซลล์นั้นหลั่ง adrenocorticotropic hormone หรือฮอร์โมน ACTH ฮอร์โมน ACTH นี้จะเดินทางผ่าน กระแสเลือดอีกครั้งไปยังส่วนเปลือกนอก ของต่อมหมวกไต ข้างๆ ไตของคุณ ที่นั่น ACTH จะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ ของเปลือกต่อมหมวกไต และกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารแห่ง ความสติแตกจำนวนมากอย่างบ้าคลั่ง เรียกว่าฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ และมิเนอราโลคอร์ติคอยด์ ฮอร์โมนเหล่านี้ปกติมีหน้าที่ คอยตอบสนองต่อความเครียดระดับปกติ รักษาระดับน้ำตาล ความดัน ให้สมดุล แต่เมื่อความเครียด มากถึงระดับบ้านไฟไหม้นั้น ฮอร์โมนเหล่านี้เช่นคอร์ติซอลจะทำให้ เกิดปฏิกิริยาตอบสนองแบบสู้หรือหนี มันช่วยเพิ่มความดันเลือด เพิ่มน้ำตาลเข้ามาในกระแสเลือด ระงับการทำงานของอะไรก็ตามที่ไม่ฉุกเฉิน เช่นพวกระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตอสุจิ และไข่ แล้วไงต่อรู้ไหมครับ พอฮอร์โมนความเครียดเหล่านี้ ออกมาออกันอยู่ในเลือด ไฮโปทาลามัสในสมองเขารับรู้ครับ เพราะนี่เป็นหน้าที่ของเขา ที่จะคอยตรวจสอบและรักษาสมดุล เอาไว้หากเป็นไปได้ มันก็จะหยุดหลั่ง CRH ทำให้ต่อมอื่นๆ หยุดหลั่ง ฮอร์โมนแห่งความสติแตกเหล่านี้ในที่สุด เนื่องจากการตอบสนองความเครียดต่างๆ ส่วนใหญ่ผ่านฮอร์โมน ไม่ใช่ไฟฟ้า จึงเกิดขึ้นช้ากว่า ส่วนที่ควบคุมโดยระบบประสาท และคงอยู่นานกว่าจะค่อยๆ หยุดลง เพราะฮอร์โมนความเครียดเหล่านั้น ยังคงอยู่ในกระแสเลือด จนกว่าจะถูกทำลายลงด้วยเอนไซม์ต่างๆ เรามาไกลมาก จากความรักวัยรุ่น สิว และการร้องไห้ให้กับโฆษณาทีวี ณ จุดจุดนี้ จริงไหมครับ ในฐานะที่เป็นเจ้าของฮอร์โมน ตลอดชีวิต ผมหวังว่าคุณ จะช่วยกันลบล้างอคติภาพพจน์ที่ครอบงำ เหล่าสารเคมีที่สำคัญและแข็งแกร่งเหล่านี้ ให้พวกเขาได้รับความเคารพ ที่พวกเขาสมควรจะได้รับ วันนี้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ว่าต่อมต่างๆ สร้างฮอร์โมนอย่างไร ฮอร์โมนเหล่านี้อาจเป็นกรดอะมิโน ซึ่งละลายในน้ำ หรือเป็นสเตียรอยด์ซึ่งละลายในไขมัน และสามารถส่งผลต่อเซลล์ได้หลายชนิด หรือส่งผลต่อเซลล์เพียงบางชนิด พูดถึงแคสเคดของฮอร์โมนเล็กน้อย และว่าแกน HPA ส่งผล ต่อการตอบสนองความเครียดอย่างไร ขอบคุณเหล่าอาจารย์ใหญ่แห่งการเรียนรู้ โทมัส แฟรงค์ ขอบคุณชาว Patreon ที่ทำให้รายการ crash course เป็นไปได้ ผ่านค่าสมาชิกรายเดือน หากคุณชอบ crash course และอยากจะ สนับสนุนพวกเราให้ทำเนื้อหา เกี่ยวกับการศึกษาฟรีต่อไป เยี่ยมชมได้ที่ patreon.com/crashcourse crash course ถ่ายทำที่สตูดิโอ crash course ของ Dr. Cheryl C. Kenny บทของรายการตอนนี้เขียนโดย Kathleen Yale ตัดต่อโดย Blake de Pastino Dr. Brendan Jackson เป็นที่ปรึกษา กำกับโดย Nicholas Jenkins บก. Nicole Sweeney กำกับการเขียนบทโดย Stefan Chin ออกแบบเสียงโดย Michael Amanda ทีมกราฟอกโดย Though Cafe