-
สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
จะบอกว่าเรื่องนึงนะคะที่มีคนขอวิวมาเยอะมากในแชนเนลนั้นก็คือ
-
อยากให้วิวเล่าเรื่องอาหารไทยค่ะ
-
แต่อย่างที่ทุกคนรู้นะ บ้านวิวก็ค่อนข้างจะเป็นคนจีนน่ะนะคะ
-
ดังนั้นนะคะ เรื่องที่วิวนำมาเล่าต่างๆ ส่วนมากก็จะมาจากตำรานู่นนี่นั่นใช่มั้ย
-
แต่พอมันเป็นเรื่องอาหาร เป็นเรื่องศิลปะวัฒนธรรมเนี่ยนะคะ
-
บางทีมันก็มีอะไรที่มันอยู่นอกตำรา
-
แล้วก็มันต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์จริงๆ นะคะ
-
ดังนั้นนะคะ ตามคำเรียกร้องของทุกคนเลย
-
วันนี้วิวก็เลยมาหาผู้รู้ด้านอาหารไทยค่ะ
-
เชฟป้อมนั่นเองค่ะ
-
วันนี้นะคะ วิวชวนอาป้อมมาที่ร้านอรรถรสค่ะ
-
โอเค ตอนนี้อาป้อมรออยู่ข้างในแล้ว
-
เรารีบเข้าไปด้านในกันดีกว่าค่ะ
-
แต่ ก่อนจะตามไปฟังเรื่องอาหารไทยกัน
-
อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางนะคะ
-
ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ยูทูป ทวิตเตอร์ อะไรต่างๆ
-
จะได้ไม่พลาดคลิปวีดีโอสนุกๆ แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ
-
โอเค ตอนนี้พร้อมจะตามวิวเข้าไปข้างใน
-
ไปฟังเรื่องที่ทั้งสนุก แล้วก็มีสาระกันรึยังคะ
-
ถ้าพร้อมกันแล้วก็ตามเข้ามาเลยค่ะ
-
ตอนนี้นะคะ เราก็มาอยู่กับอาป้อมเรียบร้อยแล้วค่ะ
-
สวัสดีค่ะอาป้อม
-
สวัสดีค่ะ
-
ก็ วันนี้วิวอยากจะมาขอความรู้เรื่องอาหารไทยค่ะ
-
เพราะว่าวิวเนี่ยไม่มีความรู้อะไรเลย
-
เรียกได้ว่า มีอะไรให้ทานก็ทานไป แบบนั้นเลยค่ะ
-
อย่าเรียกว่ามาขอความรู้เลย
-
เรียกว่าเรามาคุยกันดีกว่า
-
อาป้อมโชคดีที่พื้นฐานครอบครัว
-
ครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่อยู่กันหลายๆ รุ่น
-
แล้วก็เป็นหลายรุ่นที่เน้นวัฒนธรรมการกินในบ้าน
-
เมื่อก่อนนี้ เราไม่ได้รับประทานอาหารนอกบ้านกันค่ะ
-
ซึ่งการอยู่หลายรุ่นในบ้านเนี่ยค่ะ
-
มันทำให้การทานอาหารเนี่ย
-
แตกต่างจากการทานอาหารนอกบ้านสมัยนี้มั้ยคะ
-
จริงๆ แล้วนั่นมันคือวิถีชีวิตในความเป็นไทย
-
อย่าเพิ่งมองสมัยนี้นะคะ
-
ก็คือในหนึ่งหลังคาเรือนเนี่ย
-
มันจะมีคนมากกว่าหนึ่งรุ่นอายุ
-
ก็เหมือนที่เราดูในหนังในละครปกติ
-
ที่แบบว่า ตายายอุ้มหลาน
-
หลานวิ่งรอบ
-
ถูกต้อง เพราะครอบครัวพื้นฐานไทยธรรมดาที่มาจากสังคมเกษตรกรรม
-
ก็คือปู่ย่าตายายอยู่บ้านละ
-
พ่อแม่ออกไปทำนาละ
-
ลูกถ้ายังเล็กอยู่ ก็ไปอยู่กับปู่ย่าตายายนะคะ
-
ถ้าโตหน่อยไปเรียนที่วัด
-
เวลาคุณภาพของครอบครัวคือเวลาอาหาร
-
คือทุกคนนั่งล้อมวงกันทานข้าว
-
คือสมัยนี้เนี่ยสิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือชอบเสิร์ฟกันแบบฝรั่ง
-
ขึ้นต้นอาหารเรียกน้ำย่อย (appetizer)
-
ซุป อาหารจานหลัก (main course)
-
ตามด้วยของหวาน
-
จริงๆ ไม่ใช่
-
ของไทย ถ้ามากินอย่างนั้น ลองนึกดู
-
สมมุติ ต้มยำ ซดไปอ่ะ เผ็ดตายเลย
-
จริงๆ แล้ว ต้มยำคือหนึ่งในสำรับ
-
ก็คือสมัยก่อนคนไทยทานข้าวเป็นสำรับ
-
สำรับ จริงๆ ถ้าแปลตรงตัวมันคือกลุ่มของถ้วยจานชาม
-
แต่มาในแง่ของการกินเป็นสำรับ
-
คำว่าสำรับเนี่ยก็คือการจัดสมดุลในมื้ออาหาร
-
สมดุลมาจากคนสามรุ่นอายุสามารถกินอาหารร่วมกันได้
-
อาหารแค่เซ็ทเดียวเนี่ย ทุกคนต้องกินด้วยกันได้
-
หรือไม่ก็อย่างใดอย่างหนึ่ง
-
อ๋อ จะกลายเป็นว่าใครสั่งอันนี้ปุ๊บ เอ้ย ชั้นกินไม่ได้
-
อันนี้เด็กกินไม่ได้
-
อันนี้อาหารเด็ก อันนี้อาหารผู้ใหญ่
-
งั้นมันจะคือเวลาคุณภาพของครอบครัวมั้ยล่ะ
-
รุ่นที่หนึ่งกินได้ รุ่นที่สองกินได้ รุ่นที่สามกินได้
-
ทุกอย่างบนโต๊ะ มันคือรสชาติสมดุลและเอื้อกันไง
-
ถ้าสมัยนี้เรียกว่า มิกซ์แอนด์แมตช์ อะไรทำนองนี้ใช่มั้ยคะ
-
ปู่ย่าตายาย อายุเยอะละ ฟันฟางไม่ค่อยดี
-
กินเผ็ดมากก็ไม่ค่อยได้ เพราะคนแก่กินเผ็ดแล้วจะสำลัก
-
คนสมัยก่อนอายุซักประมาณสามสี่สิบกว่าฟันก็น่าจะเริ่มไปละ
-
คือไม่ต้องอะไรหรอก อาป้อมก็รู้ตัว
-
เพราะว่าตอนนี้ กินแล้วสำลักโดยไม่มีเหตุผล
-
แค่กลิ่นพริกลงในคอ นิดเดียวเนี่ย
-
เราจะสำลักเหมือนจะตายเอาเลย
-
ทั้งๆ ที่ปกตินี่กัดพริกขี้หนูสดๆ ไม่มีปัญหา
-
ดังนั้นเนี่ยในรุ่นกลาง รุ่นที่สอง รุ่นพ่อแม่ กินพริกเผ็ดได้
-
แต่คุณปู่คุณย่ากินไม่ได้แล้ว
-
ปู่ย่ากินอะไรล่ะคะ
-
ก็กินของทอด กินน้ำแกง
-
หรือต้มยำให้มันเบาลง
-
เพื่อที่ฟันน้อยๆ จะได้เคี้ยวได้
-
ซึ่งก็น่าจะเป็นอาหารคล้ายๆ กับอาหารของฝั่งเด็กเหมือนกัน
-
คล้าย แต่เด็กเนี่ยอาจจะกินเนื้อ หมู ไก่ ที่แข็งแรงกว่านั้นได้
-
แต่คุณย่าคุณยายกินไม่ได้แล้ว
-
กินหมูสับละกัน อะไรอย่างเงี้ยค่ะ
-
แต่เด็กๆ สามารถกินหมูทอดทั้งชิ้นได้โดยไม่มีปัญหา
-
หรือว่าในถ้วยนึงเนี่ย เราจะไม่เรียกไข่พะโล้
-
เราจะเรียกหมูหวานกับไข่ต้มเค็ม
-
เพราะของไทยไม่มีเครื่องพะโล้
-
อ๋อ พะโล้นี่ไม่ใช่อาหารไทย
-
พะโล้นี่คือจีนค่ะ คือ five spices
-
แต่การต้มเค็มหมูหวานกับไข่ต้มเค็มเนี่ย
-
เอาง่ายๆ พูดกันจนฮิตว่ามันคือไข่พะโล้
-
แต่กินเข้าไปไม่มีผงพะโล้ ไม่มีซีอิ๊วดำ
-
แต่มันดำได้ด้วยการเคี่ยวน้ำตาล
-
แต่ในขณะเดียวกัน หมูหวาน ไข่ต้มเค็ม
-
ปู่ย่าตายายกินไข่ได้
-
ไม่ไหวละ เคี้ยวหมูไม่ไหวละ
-
ก็เป็นหน้าที่ของเด็กเล็ก
-
แต่ในขณะเดียวกัน หน้าที่ของหมูหวานไข่ต้มเค็มมีไว้ทำอะไร
-
เวลาคุณพ่อคุณแม่เผ็ดจากน้ำพริกอ่ะ
-
ก็กินไข่กับหมูหวานแกล้ม
-
คือมันเหมือนทุกอย่างในสำรับมันโดนจัดมาเพื่อให้ช่วยกันและกัน
-
ใช่ค่ะ นี่คือวิถีของคนไทย
-
อย่างนี้แปลว่า
-
มื้อหลักที่สุดของคนไทยก็เป็น มื้อเย็น
-
แนวคิดที่แบบว่า มื้อเช้ากินอย่างราชานี่ ไม่มี ยังไม่เข้ามา
-
อันนั้นคือการดูแลสุขภาพ
-
ในสมัยหลัง
-
เราก็ได้ฟังเรื่องอาหารกันไปคร่าวๆ แล้วนะคะ
-
เดี๋ยวเราไปดูที่อาหารจริงๆ กันดีกว่า
-
เริ่มจากจานของว่าง ไม่ใช่จานเรียกน้ำย่อยนะ
-
ของว่างระหว่างมื้อเนี่ย
-
แล้วเมื่อไปที่อาหารเต็มๆ สำรับแล้วเนี่ย จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง
-
ให้อาป้อมค่อยๆ เล่าให้เราฟังค่ะ
-
ในวันนี้นะคะ เราสั่งของกินเล่น
-
อันเนี้ยน่าสนใจ
-
คือคำว่าเมี่ยง
-
เมี่ยงก็คือ อาหารที่เราต้องใช้การเคี้ยว
-
จริงๆ แล้วเนี่ย เมี่ยงมาจากอะไรล่ะคะ
-
เราสามารถทำน้ำเมี่ยง เคี่ยวน้ำเมี่ยง
-
น้ำตาล น้ำปลา มะพร้าว อันนี้ก็แล้วแต่สูตรใครนะ
-
เคี่ยวไว้ แล้วก็เก็บใส่โหล
-
มะพร้าวก็เคี่ยวไว้แล้ว กุ้งแห้งก็มีอยู่แล้ว
-
หัวหอม พริก ขิง อะไรเหล่าเนี้ย เรามีอยู่ในบ้าน
-
ดังนั้น สิ่งที่สามารถเอามาทำเมี่ยงได้
-
ใบชะพลู ใบทองหลาง กลีบบัว
-
จริงๆ แล้วข้างในเหมือนกันหมด
-
ก็คือมีทุกอย่างหมดแล้วแหละ บังเอิญได้ดอกบัวมา
-
อ่ะไปค้นๆ ของในบ้านมายัดรวมกัน
-
ใช่ มันเหมือนกับมีแขกมาเยี่ยมตอนบ่ายๆ
-
เอ้า หิวมั้ย เอานี่มั้ย เพลิน
-
คือปกติเนี่ย เค้าไม่ได้จัดมาแบบนี้
-
เค้าจะกองทุกอย่าง แล้วเราก็เลือกใส่เอาเอง
-
กินไปคุยไป มันเป็นความเพลิดเพลิน
-
แล้วเหมือนกับ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ
-
เชิญอาป้อมก่อนเลยค่ะ
-
เวลาเรากินนะ
-
เพื่อจะให้เข้าปากได้ง่ายๆ นะคะ
-
จริงๆ แล้วเนี่ย
-
คนไทยเป็นคนสุภาพ
-
เราก็รับประทานให้มันละเมียดนิดนึง
-
โดยการจับแล้วก็ไขว้เข้าไปอย่างนี้
-
จริงๆ แล้วการไขว้เนี่ย
-
เค้าจะไขว้ก่อนที่ พับกรวยก่อนที่จะใส่เครื่องเข้าไป
-
เหมือนที่บอก เวลามาเนี่ย เค้าไม่ได้จัดอย่างนี้
-
พอพับกรวยเสร็จแล้วเนี่ย
-
เราก็หยิบมะพร้าวใส่ กุ้งใส่
-
มะนาวใส่ พริก หอม
-
แล้วก็ค่อยเอาน้ำเมี่ยง
-
น้ำเมี่ยงนี่สูตรบ้านใครบ้านมัน
-
ใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติ
-
แล้วด้วยวิธีนี้ เราจะเข้าปากได้ง่ายขึ้น
-
-
ขออนุญาตทำสิ่งนึงก่อนค่ะ คือเขี่ยพริกออกนั่นเอง
-
หยิบดีๆ เข้าเลย
-
สิ่งที่เราเจอในปาก
-
ความมันความเค็มของกุ้งแห้ง
-
เค็มๆ หวานๆ ของน้ำเมี่ยง
-
เปรี้ยวมะนาว หอมผิวมะนาวขึ้นไปด้วย
-
ครบมาก คำเดียว
-
ค่ะ ในคำเดียว ครบ
-
แอบมีขิงแก่ เพื่ออะไรเหรอคะ
-
คนไทยเนี่ย เมื่อไหร่ที่กินไขมันประมาณมะพร้าว
-
เค้าก็จะใส่ขิงเพื่อเป็นการรักษาท้อง
-
คือเหมือนกับว่าเค้าเตรียมไว้ละ
-
ตอนนี้เรากินอะไรที่เป็นไขมัน เราต้องใส่อะไรแก้ไขมันลงไปด้วยในคำเดียว
-
ใช่ๆ เพราะว่าเห็นมั้ยว่าคนไทย เมื่อก่อนมีมั้ยคะ
-
ความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือดหัวใจ ไม่มี
-
ทั้งๆ ที่กะทิอ่ะ คนไทยก็กินมาตั้งนานแล้ว
-
หมูสามชั้นก็กินมาแล้ว
-
ค่ะ มันกุ้งอีก
-
ได้ข่าวว่าตอนอยุธยานี่เรากินมันกุ้งแล้วทิ้งเนื้อเลยใช่มั้ยคะ
-
โอ๊ย รุ่นคุณพ่อพี่อ่ะ จำได้เลย
-
บ้านเค้าอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
-
สมัยนั้นลงไปว่ายเล่นในแม่น้ำได้
-
พ่อเล่าว่า พ่อกระโดดลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเล่นเนี่ยนะ
-
ตรงเสาของท่า มีกุ้งก้ามกรามเกาะอยู่
-
คือตัวใหญ่มากอ่ะ
-
แล้วมันก็เป็นอะไรที่หาง่าย
-
แล้วก็ไม่ได้แพงมหัศจรรย์แบบสมัยนี้
-
วันนี้กิโลละพันหก อะไรอย่างนี้นะคะ
-
ใช่ค่ะ
-
อ่ะ ในที่สุดนะคะ หลังจากที่เรานั่งทานของว่างแล้วก็คุยกันมาสักพักนึงแล้ว
-
อาหารสำรับจริงก็มาแล้วค่ะ
-
ดังนั้น นี่คืออะไรยังไงบ้างคะเนี่ยอาป้อม
-
อย่างวันนี้เนี่ย ที่จัดมาให้ดูนะคะ
-
มันเป็นการกินอาหารแบบสำรับที่เมื่อกี้เราเกริ่นไป จำได้มั้ยคะ
-
ค่ะ
-
นั่นก็คือว่า
-
มีอาหารที่เป็นเผ็ด ผักสด ปลาทูทอด
-
แค่จานนี้ น่าจะกินได้ทั้งสามรุ่น
-
จานเดียวเนี่ยนะคะ
-
จานเดียวกัน ก็คือเด็กหน่อยก็กินปลาทู
-
แค่ข้าวคลุกปลาทู ยังกินน้ำพริกไม่ไหว
-
พ่อแม่นี่เหมาได้ทั้งจาน
-
พอปู่ย่าตายายเนี่ย
-
อาจจะต้องรับประทานผักนิ่มๆ แล้วก็แตะน้ำพริกแค่น้อยๆ
-
ซึ่งกรณีนี้เนี่ย
-
มันสามารถที่จะสอนให้เด็กรุ่นเล็กๆ เนี่ย หัดเริ่มรับประทานเผ็ดได้ด้วย
-
แตะๆ นิดหน่อย
-
ใช่ แตะแล้วชอบให้รสชาติเป็นยังไง
-
คนไทยก็จะเริ่มคุ้นกับกลิ่นกะปิ
-
ซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในครัวไทย
-
นี่แปลว่า โอ๊ย เด็กอยู่อย่าเพิ่งกิน อย่าไปแตะมันเลยเนี่ย
-
เป็นการสอนที่ผิด เพราะมันจะทำให้กินไม่เป็นในอนาคต
-
ให้แตะ อยากกิน เดี๋ยวเผ็ดก็จะได้รู้เอง ว่ากินเข้าไปแล้วเผ็ด
-
อ๋ออออ ค่ะ
-
เด็กก็จะต้องเผชิญปัญหาทุกอย่าง
-
ซึ่งพี่ฝากไว้อย่างนึง
-
พ่อแม่สมัยนี้เลี้ยงลูกแบบว่า overprootect
-
ปกป้องมากเกินไป
-
บางครั้งไม่ได้ให้ลูกเรียนรู้ที่จะแพ้
-
ไม่ได้ให้ลูกเรียนรู้ที่จะผิด
-
ลูกคุณก็ผิดได้ ลูกคุณก็แพ้ได้
-
เพราะในวันข้างหน้าถ้าคุณไม่สามารถตามปกป้องเค้าได้แล้ว
-
ถ้าเค้าต้องผิดต้องแพ้ขึ้นมา ในตัวเองเค้ารับไม่ได้
-
แล้วใครรับผิดชอบ
-
จริงด้วยค่ะ เป็นข้อคิดที่ดีมาก
-
เห็นมะ แม้กระทั่งเรื่องกินก็ยังสอนได้นะคนเรา
-
ค่ะ
-
อันนี้เป็นเครื่องจิ้ม
-
อย่างนี้เค้าเรียกว่าเครื่องจิ้ม
-
ซึ่งเครื่องจิ้มมีอะไรอีก
-
เครื่องจิ้มก็อาจจะมีหลน ซึ่งเป็นกะทิ
-
แต่วันนี้เอาพื้นบ้านเลย
-
คือน้ำพริกกะปิเนี่ย
-
รับประทานกับปลาทู ผักทอด ผักสด ผักลวก
-
มีดอกโสน
-
เมื่อน้ำพริกกะปิแซ่บแล้ว
-
แกงที่จะมาคู่กันสามารถเป็นแกงกะทิได้
-
-
วันนี้เนี่ยใช้แกงเผ็ดเป็ดย่าง
-
ค่ะ
-
แกงเผ็ดเป็ดย่างเนี่ย ทำไมเป็นแกงเดียวที่ต้องใส่สับปะรด
-
อ่า ไม่รู้สิคะ
-
เนื่องจากสมัยก่อนเนี่ย เป็ด เป็ดบ้านไก่บ้าน เหนียวค่ะ
-
อ๋อ
-
เค้าออกกำลังของเค้าทุกวันเนี่ย
-
พอเชือดมากิน เหนียว
-
ย่างแล้วเหนียวทำยังไง
-
การที่จะทำให้เนื้อเป็ดนุ่ม นั่นคือการใส่สับปะรดเข้าไป
-
นั่นคือภูมิปัญญาของคนไทย
-
มันจะเป็นตัวเอนไซม์ที่ไปย่อยให้เป็ดนุ่ม
-
ดังนั้น ถ้าไปเห็นแกงเผ็ดเป็ดย่างที่ไหนที่สับปะรดหน้าตาสดเกินไป
-
มันไม่ใช่
-
มันต้องใช้เวลาให้สับปะรดเนี่ย
-
เข้าไปช่วยเป็ดให้นุ่มก่อน
-
แล้วถึงใส่เครื่อง
-
ก็คือเหมือนกับว่าเคี่ยวไปก่อนเลย แล้วเดี๋ยวค่อยเติมอย่างอื่น
-
แล้วเสร็จแล้ว อาหาร ไม่ต้องว่าอะไร
-
ทุกอย่างมีวิวัฒนาการ
-
ดังนั้นในวันนี้
-
อาจจะเปลี่ยนเพิ่มลิ้นจี่บ้าง
-
เพิ่มองุ่นบ้าง อะไรบ้าง
-
แต่เห็นมั้ยว่า เค้าก็ยังคงความมีสับปะรดอยู่ในนี้
-
ให้มันนิ่ม
-
ยังไงก็เป็นสับปะรด
-
ไม่ใช่ไม่เป็นสับปะรด
-
ในเมื่อมีแกงแล้ว เผ็ดแล้ว นี่ก็เผ็ดอีก
-
มีนี่แกล้ม
-
จานนี้เนี่ย เห็นที่เขียนไว้คือหมูฮ้อง
-
หมูฮ้องเนี่ยคือ
-
เหมือนกับเป็นหมูต้มเค็มของทางภูเก็ตนะคะ
-
จะเป็นลูกผสมระหว่างหมูต้มเค็มของไทยกับหมูพะโล้
-
อ่ะเพราะว่าภูเก็ตก็คนจีนค่อนข้างเยอะ
-
ใช่ค่ะ แต่ว่าก็ยังผสมสามเกลอ
-
นั่นคือรากผักชีกระเทียมพริกไทย
-
แบบไทยอยู่
-
ชอบชื่อมากค่ะ สามเกลอ
-
สามเกลอ อันนี้เค้าจะเรียกกันสามเกลอ
-
เพราะขี้เกียจพูดอ่ะ รากผักชี กระเทียม พริกไทย ยาว
-
สามเกลอ จบ เราจะเข้าใจนะคะ
-
แล้วก็ถ้าเป็นหมูฮ้องเนี่ย
-
สามารถใส่ผงพะโล้เข้าไปด้วย
-
ผงพะโล้ก็ประกอบไปด้วย อบเชย กานพลู ลูกจันทน์ ลูกกระวาน แล้วก็พริกไทย ลงไป
-
ประมาณนี้นะคะ
-
เพราะภาษาจีนมาจากคำว่า five spices
-
อื้ม ก็คือเครื่องเทศห้าอย่าง
-
เครื่องเทศของจีน ก็ผงพะโล้นั่นเอง
-
แล้วก็ เคี่ยวจนหมูนุ่ม
-
แต่น้ำตาลในหมูฮ้องหรือหมูพะโล้
-
ก็จะไปรัดทั้งไข่ทั้งหมูให้ผิวตึง
-
แต่อันนี้ก็คืออาหารจานไข่และหมู
-
ซึ่งลูกเล็กกินได้ไง
-
และเป็นอาหารแก้เผ็ดของรุ่นใหญ่
-
ก็คือเห็นเด็กกินอยู่
-
โอ๊ย อันนี้เผ็ดจังเลย
-
ไปแย่งเด็กกิน
-
ใช่ค่ะ
-
ทีนี้เจอความหนักแล้ว
-
เรามาเบาด้วยยำ
-
สมัยก่อนน่ะ ตามบ้านชนบทไทย
-
เค้ามีหัวปลีอยู่แล้ว
-
ก็เลยเอาหัวปลีมายำ
-
แต่รสยำหัวปลี ทำไมถึงสั่งมาในวันนี้
-
ก็เพราะว่าเรามีน้ำพริกเผ็ดเปรี้ยว แซ่บอยู่แล้วถูกมั้ยคะ
-
ยำหัวปลีเค้าจะนวลๆ
-
เค้าจะเป็นยำที่ใส่หัวกะทิลงไป
-
หัวกะทิแล้วก็มะพร้าวคั่วนะคะ
-
เพราะงั้นความสดชื่นที่ไม่ถึงกับปี๊ดป๊าดเกินไป
-
แล้วจบด้วยแกงจืด
-
จะแกงจืดอะไรก็ตามที
-
ไว้ล้างปาก
-
คุณย่าคุณตาคุณยายจะได้คล่องคอหน่อย
-
เพราะว่าไม่งั้นเนี่ย เดี๋ยวข้าวแข็งติดคอ
-
ทีนี้ หนูแอบถามนิดนึงได้มั้ยคะ
-
เห็นว่าตอนนี้เรามีช้อนส้อมอะไรเสร็จเรียบร้อย
-
แต่ว่าจริงๆ แล้วอ่ะ เท่าที่เคยอ่านมา คนไทยสมัยก่อนเค้าใช้มือเปิบใช่มั้ยคะ
-
ใช่ค่ะ ใช้มือเปิบ
-
แต่คนไทยก็ไม่ใช่ไม่มีช้อนนะ
-
อย่างพวกเนี้ยเค้าก็จะใช้ช้อนตรงกลาง
-
แต่บางอย่างนี่เค้าจะใช้มือหยิบ เช่น การแกะปลาทู
-
หรือว่า การหยิบผัก
-
ซึ่งนี่ก็เคลียร์เลยใช่มั้ยคะ
-
เพราะว่าที่ผ่านมาหนูสงสัยมาตลอดเลยว่าเปิบมือแล้วเนี่ย
-
แล้วจะไปซดซุปได้ยังไง
-
เค้าก็ยังมีช้อนกลางอยู่นะคะ ในแต่ละอันเนี่ย
-
แล้วก็ด้วยความที่ถ้าในบ้านนึงสนิทกัน
-
ก็สามารถซดช้อนเดียวกันไปได้เลย
-
ซึ่งจริงๆ เราฟังดูอาจจะฟังดูไม่ถูกสุขลักษณะ
-
แต่บางครั้งเนี่ย ในความสนิทสนม
-
แล้วก็เมื่อก่อนเค้าก็ไม่ได้มีเชื้อโรคเยอะขนาดนี้เนอะ
-
แล้วก็อีกอย่างนึงก็คือ สามารถจะตักมาใส่ช้อนตัวเอง
-
แล้วก็ค่อยซดน้ำซุป
-
ได้เช่นกันค่ะ
-
ทีนี้หนูแอบอยากขออย่างนึงค่ะ
-
คือสงสัยมานานละ อยากรู้มาตลอดชีวิตเลย
-
เวลาเค้าเปิบมือนี่เค้าเปิบยังไงอ่ะคะ
-
มันไม่เละเหรอ
-
งั้นลอง
-
อย่างแรกเราล้างมือก่อน
-
ก็คือต้องมีถ้วย ถ้วยไว้ใช้ล้างมือ
-
เราล้างมือก่อน ถ้าอยู่ในบ้านนี่ก็อาจจะต้องวิ่งไปโอ่งหลังบ้าน
-
ละเอาข้าวใส่จาน
-
ข้าวนี่คือสิ่งเดียวที่คุณเป็นเจ้าของในโต๊ะอาหาร
-
นั่นคือการตักข้าวใส่จาน
-
ยิ่งถ้าสมมุติว่าบ้านไหนมีนานะ
-
ข้าวใหม่นี่โอ้โหมันจะเกาะกันเป็นก้อน
-
ในแง่ของน้ำพริกปลาทู อย่างแรกเลย
-
ก็แกะเนื้อปลาทูที่เราจะกินมาในจาน
-
คือคนไทยเมื่อก่อนเค้าก็ไม่ค่อยถือกันเท่าไหร่หรอกนะ การใช้มือ
-
ปัญหาคือแกะปลาทูไม่เป็น
-
อย่าให้เกินข้อแรกนะ
-
ให้อยู่แค่นี้นะ
-
ข้อแรกคือตรงนี้ใช่มั้ยคะ
-
เห็นมั้ยคะของอาป้อมไม่ได้เกิน
-
โห ยากละ งานเข้า
-
สวยหน่อย กรีดนิด กรีดกรายนิดๆ
-
แล้วก็ลองคลุกไปกับข้าว
-
มือเดียวๆ นี่ลองเอามือนี้เก็บไว้ข้างหลัง
-
แล้วก็ใช้ปลายนิ้ว
-
คลุกอย่างงี้ก่อน คลุกเสร็จแล้ว เราตักน้ำพริกใส่
-
สมมุติเราตักน้ำพริกเหยาะลงไป
-
อ่ะ ลองตักน้ำพริก
-
ไม่เป็นไร หนแรกเก้งก้างหน่อย
-
เราเหมือนกับต้องจับงี้นะ
-
ให้ใช้ห้านิ้วเนี่ย แล้วก็บีบ ให้มันค่อนข้างจับอย่างนี้ เห็นมั้ยคะ
-
จับตรงนี้ บีบเข้าไป บีบห้านิ้วรวมเข้าไป
-
ไม่อยู่
-
อยู่ กดที่จานแล้วบีบเข้าไป
-
กดที่จานแล้วบีบเข้าไปค่ะ
-
ปั้นหลายคำจังเว้ย เอาล่ะ พอ
-
แล้วก็เราจับอย่างนี้ ปึ๊ด
-
ผลักเข้าไป ใช้นิ้วโป้งผลักเข้าไป
-
เหมือนช้อนอ่ะ
-
เหมือนตรงนี้เป็นช้อนแล้วใช้นิ้วโป้งผลักเข้าไป
-
เสร็จแล้ว เราก็รับประทานผักแกล้ม
-
ในขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อก่อนเค้าก็คงไม่กินแกงโชกขนาดนั้น
-
ลองตักแกงเผ็ดเป็ดย่าง
-
แล้วเดี๋ยวเราจะแกล้มด้วยไข่พะโล้
-
-
อันนี้มีน้ำแกงก็ต้องกดแรงหน่อย
-
น้ำแกง ต้องคลุกก่อน
-
ใช่ แล้วก็บีบ ถูกต้อง บีบให้อยู่ปึ๊บ
-
ไม่ต้องขึ้นทั้งหมดก็ได้ เอ้า แล้วดันเข้าปาก
-
แขนกางเชียว
-
กินให้ละเมียดนิดนึง
-
คือแขนเนี่ยอยู่ใกล้ๆ ตัว
-
แล้วก็
-
แค่นี้เอง
-
พอรู้สึกว่า สมมุติว่า กินแกงเผ็ด
-
พอมันเผ็ด ก็ ตักไข่
-
ขอบคุณค่ะ
-
แล้วก็กินกับข้าว
-
บางคนเนี่ย อันนี้คนที่บ้านก็เคยกินนะคะ
-
มันไม่ต้องเปิบข้าวทุกคำ
-
เราอาจจะต้องกินแบบนี้
-
-
ก็กิน แล้วค่อยเปิบข้าวตาม
-
นี่ แขนลงมานิดนึง
-
กดก่อนๆ นี่หยิบเป็นข้าวเหนียวเลย
-
แล้ววิธีการจับนี่มัน มีแตกต่างอะไรกันยังไงมั้ยคะ
-
ก็คือเค้าบอกว่าถ้าหัดดีๆ แล้วเนี่ย ห้ามเกินข้อนิ้วบน
-
ห้ามเลอะเกินข้อนิ้วบน
-
เพราะฉะนั้นการหยิบก็คือการจับแบบนี้ถึงจะอยู่
-
เราสังเกตความเป็นผู้ดีได้จากความเละของมือนะคะ
-
มันก็ไม่แย่เท่าไหร่ ยังไม่แย่เท่าไหร่อ่ะ
-
แรกๆ ก็อย่าเกินข้อสองเท่านั้นเองค่ะ
-
แล้วก็เมื่อไหร่ที่ฝืดคอ เราก็ซดน้ำซุปตาม แค่นั้นเอง
-
นี่คือการกินแบบไทย
-
แล้วเมื่อกี้ค่ะ อย่างที่อาป้อมบอกว่าอันนี้คืออาหารแบบชาวบ้านใช่มั้ยคะ
-
แล้วถ้าสมมุติว่าอาหารชาววังมันจะต่างจากชาวบ้านยังไงอ่ะคะ
-
คำว่าวังไง
-
ก็คือคำว่าบ้าน ที่มีเจ้าอยู่
-
วังคือหนึ่งในราชาศัพท์
-
นั่นก็คือบ้านที่มีตั้งแต่ระดับหม่อมเจ้าอยู่ขึ้นไป เค้าจะเรียกว่าวัง
-
แล้วก็ อาหารชาววัง
-
เช่นในวังหลวงอย่างงี้
-
คือเจ้าจอมต่างๆ เนี่ย
-
ท่านก็มีตำหนัก แล้วก็มีข้าทาสบริวาร
-
ทีนี้ เวลาเหลือเยอะ แล้วกลัวลูกน้องไม่มีงานทำ
-
นะ ทำยังไง
-
ก็เริ่มเลย เห็นมะ
-
อย่างเงี้ยก็ไม่เชิงชาวบ้าน
-
อันนี้เป็นชาววัง ดู๊
-
แค่ใบบัวบกก็ยังจะต้องมามัดช่อสวยงาม
-
ประมาณนี้
-
หรือผักอ่ะ ก็จะมาเป็นคำ
-
ไม่ใช่ว่าต้องมานั่งกัดกรุ๊บๆๆๆ
-
คือชาวบ้านเนี่ย บางทีเค้าจะเด็ดสดข้างบ้านมา
-
แล้วกินไปกัดไป
-
หรือแตงกวาเค้ากัดทั้งลูกเลย
-
อันนั้นน่ะได้ มันเป็นความอร่อยจากความสดนะคะ
-
แต่ว่า พอในชาววังนี่ ไม่เอาไม่งามค่ะ
-
ไม่งาม ก็ต้องค่อยๆ อะไรที่เข้าปากได้ในคำเดียว
-
อ๋อ เพราะว่าอย่างเมื่อกี้ ถ้าสมมุติต้องมานั่งจกๆ เองมันก็เก้งก้าง
-
ไม่สวย ก็เลยจับมาเป็นคำๆ หมดแล้ว
-
ใช่ เนี่ย อย่างนี้เราเข้าหนึ่งคำได้
-
ทีนี้อีกข้อนึงก็คือว่า ถ้าเป็นชาวบ้านรสชาติจะเผ็ดจัด เค็มจัด
-
ทุกอย่างจะแซ่บ
-
แต่ของชาววัง
-
ที่คนมันตีความหมายผิดว่าอาหารชาววังหวาน
-
ไม่ใช่ค่ะ
-
อาหารชาววังเป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม นุ่มนวล
-
มีสัมผัสในทุกรส
-
บางคน คุณกินชาวบ้านมา คุณก็ต้องบอกของชาววังรสอ่อน หรือจืด
-
เลยกลายเป็นไปตีความว่าหวานอ่ะ
-
ซึ่งอันนี้มันไม่ใช่ เพราะว่าอาหารไทย เห็นมั้ย
-
อันนี้เปรี้ยวเค็ม
-
อันนี้แกงเผ็ดออกเค็ม
-
แต่อันนี้ เค็มหวาน
-
นั่นหมายความว่าอาหารแต่ละจานเค้ามีรสชาติของเค้า
-
ไม่งั้นเราจะจัดสำรับมาทำไมคะ
-
ก็คือในหนึ่งสำรับ เค้าคิดและว่าอันนี้คู่กับอันนี้
-
ไม่ใช่สั่งมั่วซั่ว
-
แล้วแกงจืดน่ะ มีเปรี้ยวมีหวานมั้ย
-
มันก็มีแค่เค็มของมัน เพื่อที่จะเป็นน้ำซดให้คล่องคอ
-
แต่ไม่จำเป็นต้องมีรสอะไรเลย
-
เหมือนกับกึ่งๆ จะล้างปาก
-
นี่คือชาววังกับชาวบ้านกินเหมือนกัน
-
แล้วอันเนี้ยแกะมาให้แล้ว อันนี้คือกึ่งๆ ชาววัง
-
เนี่ย ไม่มีก้าง คือเลาะกลางออก และเอาก้างกลางออก
-
เอาข้างนี่ออก แล้วประกบกลับเข้าไปเป็นตัวปลาทู
-
คือความละเอียด
-
นั่นหมายความว่า เค้ามีเวลา ในการประณีต
-
แต่ชาวบ้านทั่วไปทำไมเหรอคะ
-
ชาวบ้านทั่วไปต้องทำมาหากินอ่ะ
-
เวลาที่จะมาประณีต ไม่มีหรอก
-
การทำงานสำคัญกว่า
-
ดังนั้นเนี่ย ในทุกวัน ความสุขของเค้าทุกวันคือการเจอกัน
-
แต่อาจจะไปเด็ดแตงกวามาจากต้น
-
ไปเด็ดมะเขือมาจากต้นเลย
-
ล้างแล้วกินสดๆ
-
โห หวาน กรอบ อร่อย
-
ไม่ต้องเสียเวลามาตัด
-
เข้าใจขึ้นเยอะมากๆ เลยค่ะ เกี่ยวกับอาหารไทยทั้งหลาย
-
วันนี้ก็ขอบคุณอาป้อมมากๆ เลยค่ะ
-
ที่มาให้ความรู้กับพวกเราในวันนี้
-
แต่วิวอยากแอบบอกทุกคนอีกนิดนึงค่ะ
-
คือวิวอ่ะ เคยมีโอกาสไปเห็นอาป้อมในอีกบทบาทนึงซึ่งไม่ใช่เชฟหรืออะไรอย่างนี้
-
คือวิวเคยไปงานคอนเสิร์ตในสวนค่ะ Concert in the Park
-
แล้ววิวเห็นอาป้อมร้องเพลงด้วย
-
ถ้าสมมุติว่าวิวอยากได้ยินอาป้อมร้องเพลงอีกรอบเนี่ย
-
วิวจะต้องไปหาฟังที่ไหนอะไรยังไงมั้ยคะ
-
ตอนนี้เนี่ย ที่กลับมาก็คือ กลับมาเล่นละครเพลง
-
ละครเพลงเลยเหรอคะ
-
ละครเพลง ซึ่ง เอาใกล้ๆ นี่เลย
-
สูตรเสน่หา เดอะมิวสิคัล
-
ก็ไม่ได้มีบทมาก แต่ก็ได้เพลงที่ยากพอตัวนะคะ
-
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเค้าคิดว่าอาป้อมร้องอยู่เป็นประจำเหมือนแต่ก่อนรึเปล่า
-
ก็ทรมานทรกรรมกันหน่อย
-
แต่อาป้อมก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด
-
หกวันสิบรอบเท่านั้นนะคะ
-
ใครอยากเห็นอาป้อมหรือเชฟป้อมร้องเพลงนะคะ
-
ก็พลาดไม่ได้เลยจริงๆ
-
เพราะว่าเป็นทั้งละครเพลง แล้วก็เกี่ยวกับอาหารด้วยนะคะ
-
ดังนั้น ถ้าใครอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม ก็ดูด้านล่างเลยค่ะ
-
รายละเอียดอยู่ใน description box ข้างล่างแล้วนะคะ
-
วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาป้อมอีกครั้งมากๆ เลยค่ะ
-
ที่มาให้ความรู้กับเราในวันนี้
-
ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะ
-
อยากให้วิวพาไปทำอะไรอีก อยากให้วิวพาไปเจอใครหรืออะไรยังไง
-
คอมเม้นท์มาด้านล่างค่ะ
-
แล้วก็อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังให้เรา แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
-
วันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่า
-
เป็นไง คิดถึงเสียงวิวกันมั้ยคะ
-
เป็นหนึ่งคลิปที่รู้สึกว่าตัวเองแทบไม่ได้พูดไรเลยนะ
-
เพราะว่ามัวแต่นั่งอ้าปากค้างนะคะ
-
เป็นความรู้ที่ดีมากๆ เลย คือก็ไม่รู้จะไปหาอ่านเองจากไหนอะไรยังไงนะคะ
-
เอาเป็นว่าอย่างแรกนะคะ
-
ก็ขอขอบคุณร้านอาหารอรรถรส ซอยสุขุมวิท 39 นะคะ
-
ที่ให้เรามาชิมอาหารไทยดีๆ ในวันนี้
-
แล้วก็ให้ใช้สถานที่ด้วยค่ะ
-
นอกจากนี้ถ้าใครอยากติดตามผลงานของอาป้อมหรือว่าเชฟป้อมนะคะ
-
สูตรเสน่หา เดอะมิวสิคัลนะคะ
-
เล่นวันที่ 27 กันยายน ถึง 6 ตุลาคม 2562 นะคะ
-
มีรอบสุดสัปดาห์นะคะ วันศุกร์เย็น วันเสาร์บ่าย เสาร์เย็น อาทิตย์บ่าย อาทิตย์เย็น
-
ทั้งหมดแค่ 10 รอบด้วยกันนะคะ
-
พลาดแล้วพลาดเลย
-
ดังนั้นถ้าใครสนใจนะคะ รายละเอียดอยู่ด้านล่างเลย ใน description box นะคะ
-
รีบจองบัตรค่ะทุกคน
-
สำหรับวันนี้วิวลาไปก่อนนะคะ
-
บ๊ายบาย
-
สวัสดีค่ะ