-
เวลานักเบสบอลเมเจอร์ลีกขว้าง
-
ลูกเร็ว ลูกบอลนั้นมีพลังงานจลน์แน่นอน
-
เรารู้ว่าเพราถ้าคุณขวางทางมัน
-
มันจะทำงานใส่คุณ และคุณจะเจ็บ
-
ต้องระวังด้วย
-
แต่นี่คือคำถามของผม ลูกขว้างส่วนใหญ่
-
ยกเว้นคุณจะขว้างแบบไม่หมุน
-
ลูกขว้างส่วนใหญ่ที่พุ่งเข้าหาโฮมเพลต
-
โดยลูกเบสบอลหมุนนั้น
หมายความว่าลูกบอลนั้น
-
มีพลังงานจลน์เพิ่มไหม?
-
มันมี แล้วเราจะหามันได้อย่างไร
-
นั่นคือเป้าหมายของวิดีโอนี้
-
เราจะหาว่าพลังงานจลน์
-
เชิงหมุนของวัตถุเป็นเท่าใด?
-
ถ้าผมลองครั้งแรก
-
ผมก็เดาว่า โอเค
-
ผมรู้ว่าพลังงานจลน์ปกติเป็นอย่างไร
-
สูตรสำหรับพลังงานจลน์ปกติ
-
คือ 1/2 mv กำลังสอง
-
แล้วบอกว่า ผมอยากได้พลังงานจลน์เชิงหมุน
-
ขอผมเรียกว่ามันว่า k หมุนนะ
-
มันจะเท่ากับอะไร?
-
ผมรู้ว่าสำหรับวัตถุที่กำลังหมุน
-
สิ่งที่เทียบเท่ากับมวลคือโมเมนต์ความเฉื่อย
-
ผมก็เดาว่า แทนที่จะเป็นมวล
-
ผมมีโมเมนต์ความเฉื่อย
เพราะในกฎข้อสองของนิวตัน
-
สำหรับการหมุน ผมรู้ว่า แทนที่จะเป็นมวล
-
มันมีโมเมนต์ความเฉื่อย ผมก็แทนที่มัน
-
และแทนที่จะเป็นอัตราเร็วกำลังสอง
บางทีเนื่องจากผมมี
-
อะไรสักอย่างหมุน
ผมจะได้อัตราเร็วเชิงมุมกำลังสอง
-
ปรากฏว่ามันใช้ได้
-
คุณมักพิสูจน์ มันไม่ใช่การพิสูจน์จริงๆ
-
แต่คุณเดาอย่างมีหลักการได้
-
คุณมักได้สูตรสำหรับการหมุน
-
จากสูตรเชิงเส้น
โดยการแทนค่าที่คู่กันในการหมุน
-
สำหรับแต่ละตัวแปร ถ้าผมแทนที่มวลด้วย
-
มวลเชิงหมุน ผมจะได้โมเมนต์ความเฉื่อย
-
ถ้าผมแทนที่อัตราเร็วด้วยอัตราเร็วเชิงหมุน
-
ผมจะได้อัตราเร็วเชิงมุม และนี่คือสูตรที่ถูกต้อง
-
ในวิดีโอนี้ เราต้องเชื่อสูตรนี้ไป เพราะ
-
มันไม่ใช่การพิสูจน์จริง เราไม่ได้
-
พิสูจน์สูตรนี้ เราแค่แสดงว่ามันน่าจะใช่
-
แล้วเราพิสูจน์ได้อย่างไรว่านี่คือพลังงานจลน์
-
เชิงหมุนสำหรับวัตถุที่กำลังหมุน
-
อย่างเบสบอลจริงๆ
-
อย่างแรกที่ต้องสังเกตคือว่า พลังงานจลน์
-
เชิงหมุนนี้ไม่ใช่พลังงานจลน์แบบใหม่
-
มันยังคงเป็นพลังงานจลน์
-
ปกติแบบเดิมสำหรับสิ่งที่กำลังหมุน
-
ผมหมายความว่าอย่างนี้
-
นึกภาพลูกบอลเบสบอลนี้หมุนในวงกลม
-
ทุกจุดบนลูกเบสบอลจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว
-
สิ่งที่ผมหมายถึงคือว่า อันนี้ จุดนี้ด้านบน
-
ตรงนี้ นึกภาพส่วนหนังเล็กๆ ตรงนี้
-
มันจะมีอัตราเร็วไปข้างหน้า
-
ผมจะเรียกมวลนี้ว่า m1 ส่วนมวลเล็กๆ
-
ตอนนี้ ผมจะเรียกอัตราเร็วของมันว่า v1
-
เช่นเดียวกัน จุดนี้บนผืนหนังตรงนี้
-
ผมจะเรียกมันว่า m2 มันจะเคลื่อนที่ลง
-
เพราะมันหมุนรอบเป็นวงกม
ผมจะเรียกมันว่า v2
-
และจุดที่ใกล้แกนหมุนจะเคลื่อนที่
-
ด้วยอัตราเร็วน้อยกว่า จุดนี้ตรงนี้
-
เราจะเรียกว่า m3 เลื่อนลงด้วยอัตราเร็ว v3
-
มันไม่มากเท่ากับ v2 หรือ v1
-
คุณอาจเห็นไม่ชัดนัก
-
ผมใช้สีเขียวเข้ม m3 นี่ตรงนี้
-
ใกล้กับแกน แกนอยู่ตรงจุดนี้
-
ตรงศูนย์กลาง ใกล้กับแกน
อัตราเร็วของมันจะน้อยกว่า
-
จุดที่ห่างออกไปจากแกนนี้
-
คุณเห็นได้ว่ามันค่อนข้างซับซ้อน
-
ทุกจุดบนลูกเบสบอลนี้ จะเคลื่อนที่
-
ด้วยอัตราเร็วต่างๆ กัน จุดตรงนี้ที่
-
ใกล้แกนมาก แทบจะไม่เลื่อนที่เลย
-
ผมจะเรียกมันว่า m4 และมันจะ
-
เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v4
-
สิ่งที่เราหมายถึง คำว่าพลังงานจลน์เชิงหมุน
-
จริงๆ แล้วก็แค่พลังงานจลน์ปกติทั้งหมด
-
ที่มวลเหล่านี้มี เทียบกับ
ศูนย์กลางมวลของเบสบอล
-
กล่าวอีกอย่างคือ ความหมายของ k หมุน
-
คือคุณบวกพลังงานเหล่านี้ทั้งหมด
-
คุณมี 1/2 หนังส่วนเล็กๆ นี้
-
ตรงนี้ จะมีพลังงานจลน์
-
คุณได้ 1/2 m1 v1 กำลังสอง บวก
-
และ m2 นี้มีพลังงานจลน์
-
ไม่ต้องกังวลวันมันชี้ลง
-
ทิศไม่สำคัญว่าคิดสิ่งที่ไม่ใช่เวกเตอร์
-
v นี้กำลังสอง พลังงานจลน์จึงไม่ใช่เวกเตอร์
-
มันจึงไม่สำคัญว่าความเร็วชี้ลง
-
เพราะนี่เป็นเพียงอัตราเร็ว เช่นเดียวกัน
-
คุณก็บวก 1/2 m3 v3 กำลังสอง
-
แต่คุณอาจบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้
-
มันมีจุดนับไม่ถ้วนบนลูกเบสบอลนี้
-
ฉันจะหาค่านี้ได้อย่างไร
-
สิ่งที่น่าอัศจรรย์กำลังจะเกิดขึ้น
-
นี่คือการพิสูจน์ที่ผมชอบอันหนึ่ง
-
สั้นและสวย ดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น
-
KE การหมุน ก็แค่ผลบวก
-
ถ้าผมบวกทั้งหมดนี้เข้า ผมจะได้ผลบวก
-
ของ 1/2 mv กำลังสองสำหรับทุกจุด
-
บนลูกเบสบอล นึกภาพว่าแบ่งลูกเบสบอลนี้
-
เป็นชิ้นเล็กมากๆ
-
ไม่ต้องแบ่งจริงๆ แต่คิดในจินตนาการเอา
-
มองภาพชิ้นส่วนเล็กจิ๋ว
-
อนุภาคของลูกเบสบอลนี้
และมันเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน
-
สิ่งที่ผมกำลังบอกคือว่า ถ้าคุณบวกทั้งหมดเข้า
-
คุณจะได้พลังงานจลน์เชิงหมุนทั้งหมด
-
มันดูเป็นไปไม่ได้
-
แต่เรื่องมหัศจรรย์กำลังจะเกิดขึ้น
-
นี่คือสิ่งที่เราทำได้
-
เราเขียนมันใหม่ ปัญหาตรงนี้คือ v
-
ทุกจุดในนี้มีอัตราเร็ว v ต่างกัน
-
แต่เราใช้กลเม็ดได้ กลเม็ดที่เราชอบ
-
ใช้ในฟิสิกส์ แทนที่จะเขียนอันนี้ว่า v
-
เราจะเขียน v เป็น นึกดู สำหรับสิ่ง
-
ที่กำลังหมุน v ก็แค่ r คูณโอเมก้า
-
รัศมี ระยะจากแกน
-
คูณอัตราเร็วเชิงมุม หรืออัตราเร็วเชิงมุม
-
จะให้อัตราเร็วปกติ
-
สูตรนี้มีประโยชน์มาก เราจะแทนที่
-
v ด้วย r โอเมก้า แล้วอันนี้จะได้ r โอเมก้า
-
แล้วคุณจะต้องกำลังสองมัน และถึงจุดนี้
-
คุณอาจจะคิดว่า มันแย่กว่าเดิมอีก
-
เราทำไปเพื่ออะไร
-
ดูนะ ถ้าเราบวกอันนี้เข้า ผมจะได้ 1/2 m
-
ผมจะได้ r กำลังสอง แล้วก็โอเมก้ากำลังสอง
-
และสาเหตุที่อันนี้ดีกว่าคือว่า ถึงแม้
-
ทุกจุดบนลูกเบสบอลจะมีอัตราเร็ว v ต่างกัน
-
แต่พวกมันมีอัตราเร็วเชิงมุม โอเมก้า เท่ากัน
-
นั่นคือสิ่งที่ดีในปริมาณเชิงมุมเหล่านี้
-
พวกมันเท่ากันสำหรับทุกจุดบนลูกเบสบอล
-
ไม่ว่าคุณจะห่างจากแกนแค่ไหน
-
และเนื่องจากมันเท่ากันสำหรับทุกจุด ผมก็
-
นำมันออกมาจากเครื่องหมายรวม ผมเขียน
-
ผลบวกนี้ใหม่ และนำทุกอย่างที่คงที่
-
สำหรับมวลทุกก้อนออกจาก
เครื่องหมายรวม ผม
-
เขียนอันนี้ได้เป็น 1/2 คูณผลบวก
-
ของ m คูณ r กำลังสอง และปิดวงเล็บ
-
จบการรวม แล้วดึง โอเมก้ากำลังสองออกมา
-
เพราะมันเท่ากันสำหรับทุกเทอม
-
ผมแค่แยกตัวประกอบค่านี้ออกมาสำหรับ
-
ทุกเทอมในผลบวก มันอยู่บนนี้
-
ทั้งหมดนี้มี 1/2
-
คุณนึกภาพการแยก 1/2 ออกมา
-
แล้วเขียนปริมาณทั้งหมดนี้เป็น
-
1/2 คูณ m1 v1 กำลังสองบวก
-
m2 v2 กำลังสองไปเรื่อยๆ
-
นั่นคือสาเหตุที่ผมทำข้างล่างนี้ เป็น 1/2
-
แล้วก็โอเมก้ากำลังสอง
นั่นคือสาเหตุที่เราเลือก
-
แทนที่ v ด้วย r โอเมก้า
-
โอเมก้าเท่ากันสำหรับทุกตัว
-
คุณดึงออกมาได้
-
คุณอาจยังกังวล คุณอาจบอกว่า
-
เราติด m ในนี้เพราะคุณ
-
มี m ต่างกันที่จุดต่างๆ
-
เราติด r ในนี้กำลังสอง
-
ทุกจุดบนลูกเบสบอลมี r ต่างกัน
-
พวกมันห่างจากแกนต่างกัน
-
ระยะจากแกนต่างกัน เราจึงนำ
-
พวกมันออกมาไม่ได้ ทีนี้ เราทำอะไรได้
ถ้าคุณหัวไว
-
คุณจะสังเกตเทอมนี้ได้
-
เทอมผลบวกนี้คือ ไม่ใช่อะไรนอกจากโมเมนต์
-
ความเฉื่อยรวมของวัตถุ
-
นึกดูว่าโมเมนต์ความเฉื่อยของวัตถุ
-
เราเรียนไปก่อนหน้านี้ ก็แค่ mr กำลังสอง
-
โมเมนต์ความเฉื่อยของจุดมวล
-
คือ m กำลังสองและโมเมนต์ความเฉื่อย
-
ของจุดมวลหลายๆ จุดก็คือผลบวกของ
-
mr กำลังสองทั้งหมด
และนั่นคือสิ่งที่เราได้ตรงนี้
-
นี่ก็แค่โมเมนต์ความเฉื่อยของลูกเบสบอลนี้
-
หรือวัตถุใดก็ตาม มันไม่จำเป็นต้อง
-
มีรูปร่างเจาะจง เราจะบวก
-
mr กำลังสองทั้งหมด มันจะเท่ากับ
-
โมเมนต์ความเฉื่อยรวม
-
สิ่งที่เราพบก็คือ k เชิงหมุน
-
เท่ากับ 1/2 คูณปริมาณนี้
-
ซึ่งก็คือ I โมเมนต์ความเฉื่อย
-
คูณโอเมก้ากำลังสอง และนั่นคือสูตร
-
ที่เราได้บนนี้โดยการเดา
-
แต่มันใช้ได้ และนี่คือสาเหตุที่มันใช้ได้
-
เพราะคุณจะได้ปริมาณข้างล่างนี้เสมอ
-
ซึ่งก็คือ 1/2 โอเมก้ากำลังสอง ไม่ว่า
-
รูปร่างของวัตถุคืออะไร
-
สิ่งที่ตัวนี้บอกคุณ สิ่งที่ปริมาณนี้
-
บอกเราคือ พลังานจลน์เชิงหมุนทั้งหมด
-
ของทุกจุดบนมวลนั้นรอบจุดศูนย์กลาง
-
มวล แต่ตรงนี้คือสิ่งที่มันไม่ได้บอกคุณ
-
เทอมนี้ตรงนี้ไม่ได้รวม
-
พลังงานจลน์เลื่อนที่ ความจริงที่
-
ลูกเบสบอลนี้ลอยไปในอากาศ ยังไม่ได้
-
รวมเข้าไปในสูตรนี้
-
เราไม่ได้คิดความจริงที่ว่า
-
ลูกเบสบอลกำลังเคลื่อนที่ผ่านอากาศ
-
กล่าวอีกอย่างคือว่า เราไม่ได้คิด
-
ว่าศูนย์กลางมวลของลูกเบสบอลนี้
-
กำลังเลื่อนที่ไปในอากาศ
-
แต่เราทำได้ง่ายๆ ด้วยสูตรตรงนี้
-
นี่คือพลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่
-
บางครั้งแทนที่จะเขียนเป็นพลังงานจลน์ปกติ
-
ตอนนี้เราจะระบุลงไปว่า นี่ก็คือ
-
พลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่
-
เราจึงได้สูตรสำหรับพลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่
-
พลังงานที่มีเนื่องจากความจริงที่ว่าศูนย์กลาง
-
ของมวลวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ และเรามีสูตร
-
ที่นับรวมความจริงที่ว่าวัตถุมี
-
พลังงานจลน์เนื่องจากการหมุนด้วย
-
นั่นคือ k หมุน ถ้าวัตถุกำลังหมุน
-
มันมีพลังงานจลน์เชิงหมุน
-
ถ้าวัตถุเลื่อนที่ มันจะมี
-
พลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่
-
กล่าวคือ ถ้าศูนย์กลางมวลเคลื่อนที่
-
ถ้าวัตถุเลื่อนที่ และมันหมุน
-
แล้วมันจะมีพลังงานจลน์ทั้งสองตัว
-
พร้อมกันและนี่คือสิ่งที่สวยงาม
-
ถ้าวัตถุเลื่อนที่และหมุน และคุณอยาก
-
หาพลังงานจลน์รวมของวัตถุทั้งหมด
-
คุณก็บวกสองเทอมนี้เข้าด้วยกันได้
-
ถ้าผมนำพลังงานเลื่อนที่ 1/2 mv กำลังสอง
-
และอันนี้จะเป็นความเร็วของศูนย์กลางมวล
-
คุณต้องระวังหน่อย
-
ขอผมหาที่เพิ่มหน่อย ขอผมกำจัด
-
ทั้งหมดตรงนี้นะ
-
ถ้าคุณนำ 1/2 m มาคูณอัตราเร็วของศูนย์กลาง
-
มวลกำลังสอง คุณจะได้พลังงานจลน์เลื่อนที่
-
ทั้งหมดของลูกเบสบอล
-
และถ้าเราบวก 1/2 I โอเมก้ากำลังสองเข้าไป
-
โอเมก้ารอบจุดศูนย์กลางมวล คุณจะได้
-
พลังงานจลน์รวม ทั้งเลื่อนที่และหมุน
-
มันเยี่ยมเลย เราหาพลังงานจลน์รวม
-
ได้แล้ว การเคลื่อนที่แบบหมุน
การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่
-
จากการนำสองเทอมนี้รวมกัน
-
ตัวอย่างนี้จะเป็นอย่างไร
-
ลองเอาทั้งหมดนี้ออกไป
-
สมมุติว่าลูกเบสบอลนี้ มีคนขว้างลูกนี้มา
-
และปืนเรดาร์แสดงว่าลูกเบสบอลนี้
-
แหวกอากาศมาด้วยอัตรา 40 เมตรต่อวินาที
-
มันกำลังวิ่งเข้าหาโฮมเพลตด้วยอัตรา
40 เมตรต่อวินาที
-
ศูนย์กลางมวลของเบสบอลนี้จะ
-
เป็น 40 เมตรต่อวินาทีเข้าหาโฮมเพลต
-
สมมุติว่า คนขว้างลูกเร็ว
-
ลูกนี้หมุนด้วยอัตราเร็วเชิงมุม
-
50 เรเดียนต่อวินาที
-
เรารู้มวลลูกบอล ผมเพิ่งหามา
-
มวลของลูกเบสบอล
มีค่าประมาณ 0.145 กิโลกรัม
-
และรัศมีของลูกเบสบอล รัศมีของลูกเบสบอล
-
มีค่าประมาณ 7 เซนติเมตร ในรูปของเมตร
-
มันจะเป็น 0.07 เมตร เราก็หาได้ว่า
-
พลังงานจลน์รวมเป็นเท่าใด มันจะเท่ากับ
-
พลังงานจลน์เชิงหมุน และมันมี
-
พลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่
-
พลังงานจลน์เชิงเลื่อนที่ จะเท่ากับ 1/2
-
มวลของลูกเบสบอล
คูณอัตราเร็วศูนย์กลางมวล
-
ของลูกเบสบอลกำลังสอง ซึ่งจะให้ค่าเป็น 1/2
-
มวลของลูกเบสบอลเป็น 0.145
และศูนย์กลางมวล
-
อัตราเร็วของลูกเบสบอลเป็น 40
นั่นคือความเร็วของ
-
ศูนย์กลางมวลลูกเบสบอลที่เดินทาง
-
ถ้าเราบวกพวกมันเข้า เราจะได้ 116 จูล
-
เป็นพลังงานจลน์เลื่อนที่
-
พลังงานจลน์เชิงหมุนจะเป็นเท่าใด
-
เรามีพลังงานจลน์เชิงหมุน
-
เนื่องจากความจริงที่ว่า ลูกเบสบอลก็หมุนด้วย
-
เป็นเท่าใด เราจะใช้ 1/2 I โอเมก้ากำลังสอง
-
ผมจะได้ 1/2 แล้ว I คืออะไร ลูกเบสบอล
-
เป็นทรงกลม ถ้าคุณหาโมเมนต์ความเฉื่อยของ
-
ทรงกลัมตัน ผมไม่อยากหาผลบวก
-
ของ mr กำลังสองทั้งหมดเอง
ถ้าคุณคิดด้วยแคลคูลัส
-
คุณจะได้สูตรนี้
-
ในวิชาฟิสิกส์ที่เน้นพีชคณิต
-
คุณต้องหาสูตรนี้เอา ไม่ในหนังสือ
-
ก็แผนภาพหรือตาราง คุณหาออนไลน์ก็ได้
-
สำหรับทรงกลม โมเมนต์ความเฉือย
เท่ากับ 2/5 mr กำลังสอง
-
กล่าวอีกอย่างคือ 2/5 มวลของลูกเบสบอล
-
คูณรัศมีของลูกเบสบอลกำลังสอง
-
มันก็แค่ นั่นคือโมเมนต์ความเฉื่อยของทรงกลม
-
เรากำลังสมมุติว่า ลูกเบสบอลนี้
คือทรงกลมสมบูรณ์
-
มันมีความหนาแน่นสม่ำเสมอ
ซึ่งไม่จริงเสียทีเดียว
-
แต่มันเป็นการประมาณที่ดี
-
แล้วเราคูณด้วยโอเมก้านี้กำลังสอง
-
อัตราเร็วเชิงมุมกำลังสอง
-
แล้วเราได้อะไร เราจะได้ 1/2 คูณ
-
2/5 มวลของลูกเบสบอล คือ 0.145
-
รัศมีของลูกเบสบอลมีค่าประมาณ
เราบอกว่าอะไร
-
0.07 เมตร มันก็คือ 0.07 เมตรกำลังสอง
แล้วสุดท้าย
-
เราคูณด้วยโอเมก้ากำลังสอง และอันนี้
-
50 เรเดียนกำลังสอง แล้วเรากำลังสอง
-
มันรวมกันได้ 0.355 จูล
-
พลังงานของลูกเบสบอลนี้แทบไม่ได้
-
มาจากการหมุน
-
พลังงานเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของพลังงาน
-
เชิงเลื่อนที่ ซึ่งสมเหตุสมผล
-
นั่นคือความจริงที่ว่าลูกเบสบอลนี้กำลังพุ่ง
-
เข้าหาโอมเพลต
มันจะเจ็บทีเดียวถ้าลูกโดนคุณ
-
เทียบกับความจริงที่ว่าลูกจะหมุนเมื่อ
-
มันกระทบคุณ มันไม่ได้สร้างความเสียหาย
-
เท่ากับความจริงที่ว่า
พลังงานจลน์ของลูกเบสบอลนี้
-
อยู่ในรูปของพลังงานจลน์เลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
-
แต่ถ้าคุณอยากได้พลังงานจลน์รวม
ของลูกเบสบอล
-
คุณก็บวกสองค่านี้เข้าด้วยกันได้
-
k รวมจะเท่ากับพลังงานจลน์เลื่อนที่
-
บวกพลังงานจลน์เชิงหมุน
-
นั่นหมายความว่า พลังงานจลน์รวม
ซึ่งก็คือ 116 จูล
-
บวก 0.355 จูล จะให้ค่า
-
116.355 จูล
-
ทบทวนหน่อย ถ้าวัตถุทั้งหมุน
-
และเลื่อนที่ คุณหาพลังงานจลน์
-
เลื่อนที่ได้โดยใช้ 1/2 M อัตราเร็ว
-
ของศูนย์กลางมวลของวัตถุนั้นกำลังสอง
และคุณ
-
หาพลังงานจลน์เชิงหมุนได้โดยใช้
-
1/2 I โมเมนต์ความเฉื่อย
-
เราจะบอกว่ารูปร่างคืออะไร
-
ถ้ามันเป็นจุดมวลวนรอบวงกลมใหญ่
-
คุณก็ใช้ mr กำลังสอง ถ้ามันเป็นทรงกลม
-
หมุนรอบศูนย์กลางของมัน คุณก็ใช้ 2/5
-
mr กำลังสอง ทรงกระบอกเป็น
1/2 mr กำลังสอง
-
คุณหาค่าเหล่านี้ได้จากตารางเพื่อหา
-
ว่า I คืออะไร แล้วคุณต้องคูณอัตราเร็ว
-
เชิงมุมกำลังสองของวัตถุนั้น
รอบจุดศูนย์กลางมวล
-
และถ้าคุณบวกสองเทอมนี้เข้าด้วยกัน คุณจะได้
-
พลังงานจลน์รวมของวัตถุนั้น