< Return to Video

เทคโนโลยีทางอวกาศ 6 อย่างที่สามารถช่วยปรับปรุงชีวิตบนโลกได้

  • 0:01 - 0:05
    ฉันอายุ 17 ตอนฉันตัดสินเลือกสายอาชีพ
  • 0:06 - 0:08
    วันนั้นฉันยืนอยู่ข้างนอก
  • 0:08 - 0:10
    มันเป็นคืนที่ร้อนคืนนึงเลยในฟลอริด้า
  • 0:11 - 0:14
    ฉันอยู่ห่างจากทะเลไปแค่ไม่กี่ไมล์
  • 0:15 - 0:18
    รอคอยปาฎิหารย์ให้เกิดขึ้น
  • 0:20 - 0:23
    หน้าร้อนนั้น ฉันได้รับเลือก
    ให้เข้าเป็นเด็กฝึกงาน
  • 0:23 - 0:25
    ที่ นาซ่า เคนเนดี้ สเปซ เซ็นเตอร์
  • 0:26 - 0:28
    และปาฎิหารย์ที่ฉันรอคอย
  • 0:28 - 0:32
    ก็คือ การส่งกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
  • 0:32 - 0:35
    ที่บรรทุกอุปกรณ์สำรวจคลื่นเอ็กซเรย์
    ชื่อว่า ชานดรา ขึ้นไป
  • 0:35 - 0:42
    มันเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่จะเปิดโอกาส
    ให้นักวิทยาศาตร์ได้เห็นด้านในของหลุมดำ
  • 0:43 - 0:46
    ท้องฟ้าสว่างไปหมด
  • 0:47 - 0:50
    ไม่ต่างจากกลางวันเลย
    ทั้งๆที่มันเป็นกลางคืน
  • 0:51 - 0:55
    และครู่เดียว เราก็รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน
    ของเครื่องยนต์ ที่สะเทือนเข้าไปถึงในอก
  • 0:56 - 0:58
    มันไม่ใช่ปาฏิหาริย์
  • 0:58 - 1:02
    แต่มันเกิดจากความพยายาม
    และความร่วมมือกันของคนนับพัน
  • 1:02 - 1:04
    ที่ทำงานร่วมกัน
  • 1:04 - 1:07
    เพื่อทำให้สิ่งที่
    เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ให็เป็นความจริง
  • 1:08 - 1:12
    ฉันต้องการที่จะเข้าไปร่วมในทีมนั้น
  • 1:13 - 1:17
    ฉันเลยตัดสินใจสมัครเข้าเรียน
    ในมหาวิทยาลัยที่มีคณะวิศวกรรมอวกาศ
  • 1:18 - 1:19
    และในปีต่อมา
  • 1:19 - 1:22
    ฉันก็ได้เข้าเรียนที่ เอ็มไอที (MIT)
  • 1:22 - 1:24
    และได้เข้าร่วมโปรเจ็คสร้างหุ่นยนต์อวกาศ
  • 1:25 - 1:27
    ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ฉันต้องการ
  • 1:28 - 1:32
    ยกเว้น ฉันสับสน
    กับบางอย่างที่สำคัญ
  • 1:34 - 1:37
    ความสับสนของฉันเริ่มต้น
    ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน
  • 1:37 - 1:40
    ฉันได้เดินทางไปที่โรงเรียนหนึ่ง
    ในประเทศเคนย่า
  • 1:41 - 1:46
    ที่นั่นฉันอาสา
    ดูแลเด็กผู้หญิงอายุ 5-17 ปี
  • 1:46 - 1:50
    สอนพวกเขาภาษาอังกฤษ เลข และวิทยาศาสตร์
  • 1:51 - 1:54
    และพวกเขาสอนฉันร้องเพลงใน ภาษาสวาฮิลี
  • 1:55 - 1:59
    ส่วนใหญ่แล้วฉันใช้เวลาไปกับ
    การเรียนรู้ตัวตนของพวกเด็กๆ
  • 1:59 - 2:00
    มีความสุขไปกับพวกเขา
  • 2:01 - 2:05
    และฉันก็ได้เห็นบางอย่างว่า
    ทั้งเด็กๆ และผู้นำในหมู่บ้านนี้
  • 2:05 - 2:08
    พวกเขาสามารถที่จะ
    ก้าวข้ามกำแพงที่สำคัญ
  • 2:08 - 2:12
    อย่างการอนุญาตให้เด็กผู้หญิงเหล่านี้
    ได้รับโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขา
  • 2:13 - 2:16
    ฉันอยากจะร่วมด้วย
  • 2:17 - 2:20
    ฉันอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของทีม
    ที่ช่วยทลายกำแพง
  • 2:20 - 2:23
    และช่วยพัฒนาชีวิตของเด็กผู้หญิงทั่วโลก
  • 2:23 - 2:26
    แต่ฉันกังวลว่าการเรียน
    ด้านวิศวกรรมอวกาศ
  • 2:26 - 2:27
    ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุด
  • 2:27 - 2:30
    ฉันกังวลว่าคนเหล่านี้ในเคนย่า
    จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
  • 2:30 - 2:32
    จากอวกาศ ที่ฉันเรียนมา
  • 2:33 - 2:36
    แต่โชคดีที่ฉันคิดผิด
  • 2:37 - 2:40
    ฉันกลับมาฝึกงานต่อที่นาซ่า
  • 2:40 - 2:41
    และครั้งนี้
  • 2:41 - 2:43
    ครูที่ฉันเคารพได้สอนฉันว่า
  • 2:43 - 2:49
    ประเทศอย่าง เคนย่า ได้ใช้เทคโนโลยี
    อวกาศมานานนับสิบๆปีแล้ว
  • 2:49 - 2:52
    ในการพัฒนาประชากรในประเทศของเขา
  • 2:52 - 2:55
    ทำให้ฉันรู้ว่าฉันสามารถทำงานด้านวิศวกรรม
  • 2:55 - 2:57
    และการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆกันได้
  • 2:58 - 2:59
    แนวความคิดนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่
  • 3:00 - 3:04
    จริงๆแล้ว ในปี ค.ศ.1967
    หลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วม
  • 3:04 - 3:07
    ลงนามในสนธิสัญญาอวกาศ
  • 3:08 - 3:10
    ในสนธิสัญญาได้มีข้อความสำคัญ
  • 3:10 - 3:14
    กล่าวว่า "การสำรวจและการใช้
    พื้นที่นอกโลกนั้น
  • 3:14 - 3:18
    ควรจะทำเพื่อผลประโยชน์ของคนทุกประเทศ
  • 3:19 - 3:23
    โดยไม่คำนึงถึงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    หรือทางวิทยาศาสตร์ของประเทศนั้นๆ "
  • 3:25 - 3:27
    เรายังไม่สามารถ
    ทำตามอุดมการณ์ที่เราตั้งไว้ได้
  • 3:27 - 3:31
    แม้ว่าจะมีคนที่พยายามเป็นสิบๆ ปี
    ที่จะผลักดันให้มันเป็นจริงก็ตาม
  • 3:32 - 3:35
    แต่การล่าอาณานิคม
    การเหยียดสีผิว
  • 3:36 - 3:38
    และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ
  • 3:38 - 3:42
    ทำให้คนมากมายไม่ได้รับประโยชน์จากอวกาศ
  • 3:43 - 3:46
    และยังทำให้พวกเราเชื่อว่า
    อวกาศนั้นเป็นที่สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น
  • 3:46 - 3:49
    อย่าง คนรวย หรือคนมีอภิสิทธิ์
  • 3:50 - 3:52
    แต่เราไม่สามารถปล่อยให้
    ความคิดเหล่านี้เป็นจริงได้
  • 3:52 - 3:55
    เพราะว่าเรามีภารกิจสำคัญ
  • 3:55 - 3:57
    คือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนทุกคน
  • 3:58 - 4:04
    แผนของเราสำหรับภารกิจนี้มาจาก
    เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ
  • 4:04 - 4:05
    ของสหประชาชาติ
  • 4:06 - 4:09
    ผู้เข้าร่วมทุกประเทศ
    ของสหประชาชาติได้ตกลงกันว่า
  • 4:09 - 4:12
    แผนนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำ
    เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึง ค.ศ.2030
  • 4:13 - 4:18
    เป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ
    มันได้ให้โอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเรา
  • 4:18 - 4:21
    โอกาสที่จะยุติความยากจน
  • 4:21 - 4:26
    เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมี
    อาหารและน้ำสะอาดใช้
  • 4:28 - 4:31
    เราต้องพยามยามไปให้
    ถึงเป้าหมายเหล่านี้ให้ได้ด้วยกัน
  • 4:32 - 4:36
    เทคโนโลยีจากอวกาศ
    สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนโลก
  • 4:37 - 4:40
    จริงๆแล้ว เรามีดาวเทียมถึง 6 ตัวด้วยกัน
  • 4:40 - 4:44
    ที่สามารถช่วยให้เราไปถึง
    เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
  • 4:45 - 4:48
    เราจะใช้เวลาไม่กี่นาทีข้างหน้า
    ในการทำความรู้จักกับดาวเทียม 6 ดวงนี้
  • 4:48 - 4:52
    และดูตัวอย่างบางส่วน
    ของเป้าหมายที่พวกมันช่วยสนับสนุน
  • 4:52 - 4:53
    พร้อมกันรึยังคะ?
  • 4:53 - 4:54
    โอเค
  • 4:54 - 4:58
    ดาวเทียมสื่อสาร ช่วยให้เรา
    เข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต
  • 4:59 - 5:00
    เกือบจะทุกพื้นที่บนโลก
  • 5:01 - 5:04
    นี่เป็นที่สิ่งสำคัญโดยเฉพาะ
    ในช่วงเวลาการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ
  • 5:05 - 5:08
    ตอนที่ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
    เข้าปะทะประเทศฟิลิปปินส์
  • 5:08 - 5:11
    เครือข่ายการสื่อสารท้องถิ่น
    จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม
  • 5:11 - 5:14
    และทีมงานนำเสาอากาศสื่อสาร
    แบบพองลมเข้ามา
  • 5:14 - 5:16
    เพื่อช่วยในการติดต่อกับดาวเทียม
  • 5:16 - 5:19
    มันเป็นประโยชน์มากในช่วงเวลา
    ของการซ่อมแซมและการฟื้นฟู
  • 5:19 - 5:23
    ดาวเทียมบอกตำแหน่ง
    ตำแหน่งของดาวเทียมบอกเราว่าเราอยู่ตรงไหน
  • 5:23 - 5:25
    จากการที่บอกเราว่ามันอยู่ตรงไหน
  • 5:26 - 5:30
    นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคโนโลยีนี้
    ในการติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
  • 5:31 - 5:33
    เต่าตัวนี้ได้รับการติดตั้งระบบ
  • 5:33 - 5:38
    ที่ช่วยให้มันสามารถรับข้อมูล
    ตำแหน่งที่ตั้งจากดาวเทียมได้
  • 5:38 - 5:40
    และส่งตำแหน่งกลับไปยังนักวิทยาศาสตร์
  • 5:40 - 5:42
    ผ่านดาวเทียมสื่อสาร
  • 5:43 - 5:46
    นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุง
  • 5:46 - 5:49
    และช่วยหาวิธีให้สัตว์เหล่านี้
    มีชีวิตรอดต่อไปได้
  • 5:50 - 5:53
    ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก
  • 5:53 - 5:56
    พวกมันบอกเราว่าตอนนี้กำลัง
    เกิดอะไรขึ้นกับสภาพแวดล้อม
  • 5:56 - 5:59
    ตอนนี้ เรามีดาวเทียมกว่า 150 ดวง
  • 5:59 - 6:02
    ดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐกว่า 60 แห่ง
  • 6:02 - 6:04
    และนี่เป็นเพียงแค่ดาวเทียมสำรวจโลกเท่านั้น
  • 6:04 - 6:07
    และในขณะเดียวกันก็มีบริษัทต่างๆ
    สนใจเข้าร่วม
  • 6:07 - 6:11
    หน่วยงานภาครัฐเกือบทั้งหมดให้ข้อมูล
    ที่ได้มาจากดาวเทียมฟรีในอินเตอร์เน็ต
  • 6:11 - 6:14
    บางดาวเทียมให้ข้อมูลเป็นภาพ ลักษณะนี้
  • 6:14 - 6:17
    เหมือนกับภาพที่คุณจะเห็นได้จากกล้อง
  • 6:17 - 6:20
    อันนี้คือภาพ พื้นที่การเกษตรในรัฐแคนซัส
  • 6:21 - 6:24
    แต่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกส่วนใหญ่
  • 6:24 - 6:26
    ไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายรูป
  • 6:26 - 6:27
    แต่มันมีไว้เพื่อวัดระยะ
  • 6:27 - 6:31
    และพวกมันใช้ข้อมูลจากการวัดระยะ
    ร่วมกับการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน
  • 6:31 - 6:34
    และสร้างภาพที่สวยงามออกมา อย่างเช่นภาพนี้
  • 6:34 - 6:36
    ที่แสดงกระแสน้ำในมหาสมุทร
  • 6:36 - 6:38
    และอุณหภูมิของมหาสมุทร ทั่วโลก
  • 6:39 - 6:45
    หรือเราจะดู เกลือ ควัน
    และฝุ่นในชั้นบรรยากาศ
  • 6:48 - 6:50
    หรือปริมาณน้ำฝน และหิมะจากทั่วโลก
  • 6:53 - 6:58
    เช่นเดียวกับวัฏจักรประจำปีของพืช
    บนบกและในมหาสมุทร
  • 7:00 - 7:04
    นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ
    ปริมาณน้ำฝน และพืชพันธุ์นี้
  • 7:04 - 7:06
    เพื่อทำความเข้าใจ
  • 7:06 - 7:10
    ว่าพื้นที่ส่วนไหนบนโลกที่กำลังประสบภาวะ
    แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ
  • 7:10 - 7:12
    และนำข้อมูลนั้น
    ไปแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • 7:12 - 7:16
    เพื่อให้มีการเตรียมการเข้าช่วยเหลือ
    ก่อนที่สถานการณ์จะหนักขึ้น
  • 7:17 - 7:22
    ในอวกาศ เรามีห้องวิจัย
    อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ
  • 7:23 - 7:26
    สถานีและทุกสิ่งในนั้น
    เคลื่อนตัวไปอย่างไร้น้ำหนัก
  • 7:26 - 7:27
    รอบๆโลก
  • 7:27 - 7:29
    ผลกระทบของแรงโน้มถ่วงไม่มีผลต่อพวกมัน
  • 7:30 - 7:32
    เช่นนั้นเราจึงเรียกมันว่า
    "สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ"
  • 7:33 - 7:36
    เมื่อนักบินอวกาศอยู่ใน
    สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ
  • 7:36 - 7:39
    ร่างกายของพวกเขา
    จะเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว
  • 7:40 - 7:42
    กระดูกและกล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง
  • 7:42 - 7:46
    ระบบการเผาผลาญและ
    ระบบภูมิคุ้มกันก็เปลี่ยน
  • 7:47 - 7:50
    นักวิทยาศาสตร์ต้องหาวิธีให้นักบินอวกาศ
    คงสุขภาพของพวกเค้าไว้ให้ได้
  • 7:50 - 7:54
    เราสามารถที่จะใช้ วิธีออกกำลังกาย
    และเทคนิคที่ใช้กับนักบินอวกาศ
  • 7:54 - 7:56
    นำมาปรับใช้กับผู้คนบนโลก
  • 7:56 - 7:57
    เพื่อปรับปรุงสุขภาพของเราได้
  • 7:57 - 8:01
    ในหลายๆครั้งที่เราพัฒนาเทคโนโลยี
    เพื่อการสำรวจอวกาศของนักบินอวกาศ
  • 8:01 - 8:02
    หรือเพื่อการสร้างยานอวกาศ
  • 8:02 - 8:06
    เราสามารถใช้เทคโนโลยีพวกนั้น
    ปรับปรุงคุณภาพชีวิตบนโลกได้อีกด้วย
  • 8:06 - 8:07
    อันนี้คือที่ฉันชอบมากที่สุด
  • 8:07 - 8:09
    มันคือระบบกรองน้ำ
  • 8:09 - 8:12
    ซึ่งที่มาของมันมาจากเทคโนโลยี
  • 8:12 - 8:14
    การกรองน้ำเสียในยานอวกาศ
  • 8:14 - 8:16
    ตอนนี้มันถูกนำมาใช้แล้วทั่วโลก
  • 8:17 - 8:20
    อวกาศ ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจ
    ที่ไม่มีสิ้นสุดอีกด้วย
  • 8:20 - 8:21
    ผ่านการศึกษา
  • 8:21 - 8:23
    ผ่านการวิจัยและดาราศาตร์
  • 8:23 - 8:26
    รวมถึงวิธีการดูดาวแบบสมัยก่อนอีกด้วย
  • 8:27 - 8:30
    ตอนนี้ ประเทศต่างๆทั่วโลก พยายามที่
  • 8:30 - 8:31
    พัฒนาตนเองขึ้น
  • 8:31 - 8:35
    โดยการเพิ่มการเรียนการสอนในประเทศ
    เกี่ยวกับ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และอวกาศ
  • 8:36 - 8:40
    เรามาทำความรู้จักกับวิศวกรดาวเทียม
    รุ่นล่าสุดกันดีกว่า
  • 8:40 - 8:43
    นี่คือ เอลก้า อาเบโย่ จากประเทศเวเนซูเอล่า
  • 8:44 - 8:47
    เอลก้า กำลังฝึกฝนเป็นวิศวกรดาวเทียม
  • 8:47 - 8:50
    เธออยู่ในโปรแกรมการพัฒนา
    ดาวเทียมของประเทศเวเนซูเอล่า
  • 8:51 - 8:53
    เธอได้สร้างซอฟท์แวร์
  • 8:53 - 8:56
    ที่ช่วยให้ทีมของเธอ สามารถออกแบบ
    ระบบให้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น
  • 8:58 - 9:01
    และนี่คือ อะเดล คาสติโย่ ดูราน
  • 9:01 - 9:02
    จาก ฟิลิปปินส์
  • 9:02 - 9:05
    อะเดล เป็นทั้ง นักอุตุนิยมวิทยา
    และวิศวกรดาวเทียม
  • 9:06 - 9:09
    เธอใช้ข้อมูลจากดาวเทียมในการ
    วิเคราะห์สภาพอากาศ
  • 9:11 - 9:12
    และสุดท้าย ฮาลา
  • 9:13 - 9:14
    ฮาลา มาจากประเทศซูดาน
  • 9:14 - 9:18
    ในขณะที่เธอเรียนปริญญาตรี
    ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
  • 9:18 - 9:19
    ในเมืองคาร์ทูม
  • 9:19 - 9:22
    เธอและเพื่อนสองสามคนของเธอ
    ตัดสินใจที่จะสร้างดาวเทียมกันเอง
  • 9:22 - 9:26
    หลังจากนั้น ฮาลาก็ได้ทุนเพื่อไปเรียนต่อ
    เกี่ยวกับวิศวกรรมดาวเทียม
  • 9:26 - 9:28
    ในระดับปริญญาโท
  • 9:29 - 9:31
    เรื่องที่ฉันได้เล่าให้พวกคุณฟังไปนั้น
  • 9:31 - 9:36
    มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณเข้าใจว่า
    อวกาศมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน
  • 9:36 - 9:37
    เพื่อผลประโยชน์ของมนุษยชาติ
  • 9:38 - 9:40
    แต่เราก็ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ
  • 9:40 - 9:44
    เพราะว่ามันยังมีกำแพงอีกหลายอย่าง
    ที่ยังแบ่งกั้นผู้คนกับอวกาศอยู่
  • 9:44 - 9:46
    และจำกัดศักยภาพของเทคโนโลยีพวกนี้
  • 9:47 - 9:51
    สำหรับหลายๆคน ข้อมูลการสำรวจโลก
    เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเข้าใจยาก
  • 9:52 - 9:54
    และระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
    ก็มีราคาที่แพงเกินไป
  • 9:55 - 9:58
    และการวิจัยเกี่ยวกับสภาวะการโน้มถ่วงน้อย
    ก็ยากเกินเข้าถึง
  • 10:00 - 10:04
    นี่เป็นสิ่งที่ผลักดันฉัน ในฐานะศาสตราจารย์
    ของห้องวิจัย มีเดีย ที่เอ็มไอที
  • 10:05 - 10:10
    ไม่นานมานี้ ฉันได้ก่อตั้งกลุ่มวิจัยชื่อ
    "สเปซ เอนเนเบิ้ล" หรือ "อวกาศเป็นไปได้"
  • 10:11 - 10:15
    งานของพวกเราก็คือทลายกำแพงและขีดจำกัดต่างๆ
    ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ
  • 10:16 - 10:18
    และเราจะพัฒนาโปรแกรมต่อไป
  • 10:18 - 10:22
    เพื่อช่วยในการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • 10:23 - 10:24
    เราจะยังคงทำงานนี้ต่อไป
  • 10:24 - 10:28
    จนถึงวันที่เราพูดได้ว่า ทุกคน
    สามารถใช้ประโยชน์จากอวกาศได้จริงๆ
  • 10:29 - 10:32
    และพวกเราได้ใช้ประโยชน์จากมันทั้งหมด
  • 10:33 - 10:34
    ขอบคุณค่ะ
  • 10:34 - 10:37
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เทคโนโลยีทางอวกาศ 6 อย่างที่สามารถช่วยปรับปรุงชีวิตบนโลกได้
Speaker:
แดเนียล วู้ด
Description:

แดเนียล วู้ด เป็นผู้นำกลุ่มวิจัย สเปซ เอนเนเบิ้ล ของห้องวิจัย เอ็ม ไอ ที มีเดีย เธอมุ่งมั่นที่จะทลายกำแพงข้อกำจัดต่างๆ เพื่อที่ทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์จากการสำรวจอวกาศ ไม่ใช่เพียงกลุ่มคนรวย รึคนเก่งเท่านั้น

เธอกล่าวถึง 6 เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการสำรวจอวกาศที่ได้ถูกนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาชีวิตของคนบนโลก ทั้งดาวเทียมสำรวจสรรพยากรโลกที่ให้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆและการศึกษาทางการแพทย์ในเรื่องการใช้ชีวิตในสภาวะแรงโน้มถ่วงน้อย ที่ได้มีการนำมาปรับใช้กับการดูแลสุขภาพของคนบนโลกได้ "อวกาศนั้นช่วยในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของคนทุกชนชาติจริงๆ" วู้ดกล่าว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:51

Thai subtitles

Revisions