ฉันอายุ 17 ตอนฉันตัดสินเลือกสายอาชีพ วันนั้นฉันยืนอยู่ข้างนอก มันเป็นคืนที่ร้อนคืนนึงเลยในฟลอริด้า ฉันอยู่ห่างจากทะเลไปแค่ไม่กี่ไมล์ รอคอยปาฎิหารย์ให้เกิดขึ้น หน้าร้อนนั้น ฉันได้รับเลือก ให้เข้าเป็นเด็กฝึกงาน ที่ นาซ่า เคนเนดี้ สเปซ เซ็นเตอร์ และปาฎิหารย์ที่ฉันรอคอย ก็คือ การส่งกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ที่บรรทุกอุปกรณ์สำรวจคลื่นเอ็กซเรย์ ชื่อว่า ชานดรา ขึ้นไป มันเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่จะเปิดโอกาส ให้นักวิทยาศาตร์ได้เห็นด้านในของหลุมดำ ท้องฟ้าสว่างไปหมด ไม่ต่างจากกลางวันเลย ทั้งๆที่มันเป็นกลางคืน และครู่เดียว เราก็รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน ของเครื่องยนต์ ที่สะเทือนเข้าไปถึงในอก มันไม่ใช่ปาฏิหาริย์ แต่มันเกิดจากความพยายาม และความร่วมมือกันของคนนับพัน ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้สิ่งที่ เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ให็เป็นความจริง ฉันต้องการที่จะเข้าไปร่วมในทีมนั้น ฉันเลยตัดสินใจสมัครเข้าเรียน ในมหาวิทยาลัยที่มีคณะวิศวกรรมอวกาศ และในปีต่อมา ฉันก็ได้เข้าเรียนที่ เอ็มไอที (MIT) และได้เข้าร่วมโปรเจ็คสร้างหุ่นยนต์อวกาศ ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่ฉันต้องการ ยกเว้น ฉันสับสน กับบางอย่างที่สำคัญ ความสับสนของฉันเริ่มต้น ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ฉันได้เดินทางไปที่โรงเรียนหนึ่ง ในประเทศเคนย่า ที่นั่นฉันอาสา ดูแลเด็กผู้หญิงอายุ 5-17 ปี สอนพวกเขาภาษาอังกฤษ เลข และวิทยาศาสตร์ และพวกเขาสอนฉันร้องเพลงใน ภาษาสวาฮิลี ส่วนใหญ่แล้วฉันใช้เวลาไปกับ การเรียนรู้ตัวตนของพวกเด็กๆ มีความสุขไปกับพวกเขา และฉันก็ได้เห็นบางอย่างว่า ทั้งเด็กๆ และผู้นำในหมู่บ้านนี้ พวกเขาสามารถที่จะ ก้าวข้ามกำแพงที่สำคัญ อย่างการอนุญาตให้เด็กผู้หญิงเหล่านี้ ได้รับโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกเขา ฉันอยากจะร่วมด้วย ฉันอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของทีม ที่ช่วยทลายกำแพง และช่วยพัฒนาชีวิตของเด็กผู้หญิงทั่วโลก แต่ฉันกังวลว่าการเรียน ด้านวิศวกรรมอวกาศ ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุด ฉันกังวลว่าคนเหล่านี้ในเคนย่า จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี จากอวกาศ ที่ฉันเรียนมา แต่โชคดีที่ฉันคิดผิด ฉันกลับมาฝึกงานต่อที่นาซ่า และครั้งนี้ ครูที่ฉันเคารพได้สอนฉันว่า ประเทศอย่าง เคนย่า ได้ใช้เทคโนโลยี อวกาศมานานนับสิบๆปีแล้ว ในการพัฒนาประชากรในประเทศของเขา ทำให้ฉันรู้ว่าฉันสามารถทำงานด้านวิศวกรรม และการพัฒนาสังคมไปพร้อมๆกันได้ แนวความคิดนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ จริงๆแล้ว ในปี ค.ศ.1967 หลายประเทศทั่วโลกได้เข้าร่วม ลงนามในสนธิสัญญาอวกาศ ในสนธิสัญญาได้มีข้อความสำคัญ กล่าวว่า "การสำรวจและการใช้ พื้นที่นอกโลกนั้น ควรจะทำเพื่อผลประโยชน์ของคนทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือทางวิทยาศาสตร์ของประเทศนั้นๆ " เรายังไม่สามารถ ทำตามอุดมการณ์ที่เราตั้งไว้ได้ แม้ว่าจะมีคนที่พยายามเป็นสิบๆ ปี ที่จะผลักดันให้มันเป็นจริงก็ตาม แต่การล่าอาณานิคม การเหยียดสีผิว และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ทำให้คนมากมายไม่ได้รับประโยชน์จากอวกาศ และยังทำให้พวกเราเชื่อว่า อวกาศนั้นเป็นที่สำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น อย่าง คนรวย หรือคนมีอภิสิทธิ์ แต่เราไม่สามารถปล่อยให้ ความคิดเหล่านี้เป็นจริงได้ เพราะว่าเรามีภารกิจสำคัญ คือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนทุกคน แผนของเราสำหรับภารกิจนี้มาจาก เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ของสหประชาชาติ ผู้เข้าร่วมทุกประเทศ ของสหประชาชาติได้ตกลงกันว่า แผนนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึง ค.ศ.2030 เป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ มันได้ให้โอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเรา โอกาสที่จะยุติความยากจน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนมี อาหารและน้ำสะอาดใช้ เราต้องพยามยามไปให้ ถึงเป้าหมายเหล่านี้ให้ได้ด้วยกัน เทคโนโลยีจากอวกาศ สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนโลก จริงๆแล้ว เรามีดาวเทียมถึง 6 ตัวด้วยกัน ที่สามารถช่วยให้เราไปถึง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ เราจะใช้เวลาไม่กี่นาทีข้างหน้า ในการทำความรู้จักกับดาวเทียม 6 ดวงนี้ และดูตัวอย่างบางส่วน ของเป้าหมายที่พวกมันช่วยสนับสนุน พร้อมกันรึยังคะ? โอเค ดาวเทียมสื่อสาร ช่วยให้เรา เข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต เกือบจะทุกพื้นที่บนโลก นี่เป็นที่สิ่งสำคัญโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ ตอนที่ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เข้าปะทะประเทศฟิลิปปินส์ เครือข่ายการสื่อสารท้องถิ่น จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม และทีมงานนำเสาอากาศสื่อสาร แบบพองลมเข้ามา เพื่อช่วยในการติดต่อกับดาวเทียม มันเป็นประโยชน์มากในช่วงเวลา ของการซ่อมแซมและการฟื้นฟู ดาวเทียมบอกตำแหน่ง ตำแหน่งของดาวเทียมบอกเราว่าเราอยู่ตรงไหน จากการที่บอกเราว่ามันอยู่ตรงไหน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ ในการติดตามสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ เต่าตัวนี้ได้รับการติดตั้งระบบ ที่ช่วยให้มันสามารถรับข้อมูล ตำแหน่งที่ตั้งจากดาวเทียมได้ และส่งตำแหน่งกลับไปยังนักวิทยาศาสตร์ ผ่านดาวเทียมสื่อสาร นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุง และช่วยหาวิธีให้สัตว์เหล่านี้ มีชีวิตรอดต่อไปได้ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก พวกมันบอกเราว่าตอนนี้กำลัง เกิดอะไรขึ้นกับสภาพแวดล้อม ตอนนี้ เรามีดาวเทียมกว่า 150 ดวง ดำเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐกว่า 60 แห่ง และนี่เป็นเพียงแค่ดาวเทียมสำรวจโลกเท่านั้น และในขณะเดียวกันก็มีบริษัทต่างๆ สนใจเข้าร่วม หน่วยงานภาครัฐเกือบทั้งหมดให้ข้อมูล ที่ได้มาจากดาวเทียมฟรีในอินเตอร์เน็ต บางดาวเทียมให้ข้อมูลเป็นภาพ ลักษณะนี้ เหมือนกับภาพที่คุณจะเห็นได้จากกล้อง อันนี้คือภาพ พื้นที่การเกษตรในรัฐแคนซัส แต่ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกส่วนใหญ่ ไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายรูป แต่มันมีไว้เพื่อวัดระยะ และพวกมันใช้ข้อมูลจากการวัดระยะ ร่วมกับการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน และสร้างภาพที่สวยงามออกมา อย่างเช่นภาพนี้ ที่แสดงกระแสน้ำในมหาสมุทร และอุณหภูมิของมหาสมุทร ทั่วโลก หรือเราจะดู เกลือ ควัน และฝุ่นในชั้นบรรยากาศ หรือปริมาณน้ำฝน และหิมะจากทั่วโลก เช่นเดียวกับวัฏจักรประจำปีของพืช บนบกและในมหาสมุทร นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับ ปริมาณน้ำฝน และพืชพันธุ์นี้ เพื่อทำความเข้าใจ ว่าพื้นที่ส่วนไหนบนโลกที่กำลังประสบภาวะ แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ และนำข้อมูลนั้น ไปแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการเตรียมการเข้าช่วยเหลือ ก่อนที่สถานการณ์จะหนักขึ้น ในอวกาศ เรามีห้องวิจัย อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ สถานีและทุกสิ่งในนั้น เคลื่อนตัวไปอย่างไร้น้ำหนัก รอบๆโลก ผลกระทบของแรงโน้มถ่วงไม่มีผลต่อพวกมัน เช่นนั้นเราจึงเรียกมันว่า "สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ" เมื่อนักบินอวกาศอยู่ใน สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ร่างกายของพวกเขา จะเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว กระดูกและกล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง ระบบการเผาผลาญและ ระบบภูมิคุ้มกันก็เปลี่ยน นักวิทยาศาสตร์ต้องหาวิธีให้นักบินอวกาศ คงสุขภาพของพวกเค้าไว้ให้ได้ เราสามารถที่จะใช้ วิธีออกกำลังกาย และเทคนิคที่ใช้กับนักบินอวกาศ นำมาปรับใช้กับผู้คนบนโลก เพื่อปรับปรุงสุขภาพของเราได้ ในหลายๆครั้งที่เราพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการสำรวจอวกาศของนักบินอวกาศ หรือเพื่อการสร้างยานอวกาศ เราสามารถใช้เทคโนโลยีพวกนั้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิตบนโลกได้อีกด้วย อันนี้คือที่ฉันชอบมากที่สุด มันคือระบบกรองน้ำ ซึ่งที่มาของมันมาจากเทคโนโลยี การกรองน้ำเสียในยานอวกาศ ตอนนี้มันถูกนำมาใช้แล้วทั่วโลก อวกาศ ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจ ที่ไม่มีสิ้นสุดอีกด้วย ผ่านการศึกษา ผ่านการวิจัยและดาราศาตร์ รวมถึงวิธีการดูดาวแบบสมัยก่อนอีกด้วย ตอนนี้ ประเทศต่างๆทั่วโลก พยายามที่ พัฒนาตนเองขึ้น โดยการเพิ่มการเรียนการสอนในประเทศ เกี่ยวกับ วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และอวกาศ เรามาทำความรู้จักกับวิศวกรดาวเทียม รุ่นล่าสุดกันดีกว่า นี่คือ เอลก้า อาเบโย่ จากประเทศเวเนซูเอล่า เอลก้า กำลังฝึกฝนเป็นวิศวกรดาวเทียม เธออยู่ในโปรแกรมการพัฒนา ดาวเทียมของประเทศเวเนซูเอล่า เธอได้สร้างซอฟท์แวร์ ที่ช่วยให้ทีมของเธอ สามารถออกแบบ ระบบให้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น และนี่คือ อะเดล คาสติโย่ ดูราน จาก ฟิลิปปินส์ อะเดล เป็นทั้ง นักอุตุนิยมวิทยา และวิศวกรดาวเทียม เธอใช้ข้อมูลจากดาวเทียมในการ วิเคราะห์สภาพอากาศ และสุดท้าย ฮาลา ฮาลา มาจากประเทศซูดาน ในขณะที่เธอเรียนปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ในเมืองคาร์ทูม เธอและเพื่อนสองสามคนของเธอ ตัดสินใจที่จะสร้างดาวเทียมกันเอง หลังจากนั้น ฮาลาก็ได้ทุนเพื่อไปเรียนต่อ เกี่ยวกับวิศวกรรมดาวเทียม ในระดับปริญญาโท เรื่องที่ฉันได้เล่าให้พวกคุณฟังไปนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณเข้าใจว่า อวกาศมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน เพื่อผลประโยชน์ของมนุษยชาติ แต่เราก็ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ เพราะว่ามันยังมีกำแพงอีกหลายอย่าง ที่ยังแบ่งกั้นผู้คนกับอวกาศอยู่ และจำกัดศักยภาพของเทคโนโลยีพวกนี้ สำหรับหลายๆคน ข้อมูลการสำรวจโลก เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเข้าใจยาก และระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ก็มีราคาที่แพงเกินไป และการวิจัยเกี่ยวกับสภาวะการโน้มถ่วงน้อย ก็ยากเกินเข้าถึง นี่เป็นสิ่งที่ผลักดันฉัน ในฐานะศาสตราจารย์ ของห้องวิจัย มีเดีย ที่เอ็มไอที ไม่นานมานี้ ฉันได้ก่อตั้งกลุ่มวิจัยชื่อ "สเปซ เอนเนเบิ้ล" หรือ "อวกาศเป็นไปได้" งานของพวกเราก็คือทลายกำแพงและขีดจำกัดต่างๆ ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ และเราจะพัฒนาโปรแกรมต่อไป เพื่อช่วยในการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจะยังคงทำงานนี้ต่อไป จนถึงวันที่เราพูดได้ว่า ทุกคน สามารถใช้ประโยชน์จากอวกาศได้จริงๆ และพวกเราได้ใช้ประโยชน์จากมันทั้งหมด ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)