ชีวิตที่ดี มีได้จากอะไร? บทเรียนจากการวิจัยความสุขของมนุษย์ที่ยาวนานที่สุด
-
0:01 - 0:04อะไรทำให้เราแข็งแรงและมีความสุข
-
0:04 - 0:05ในการใช้ชีวิต
-
0:07 - 0:09หากตอนนี้จะต้องลงทุน
-
0:09 - 0:11สร้างตัวเองที่ดีที่สุดในอนาคต
-
0:11 - 0:14คุณจะใช้เวลาและพลังไปกับสิ่งใด?
-
0:15 - 0:18เมื่อเร็วๆ นี้ มีการสำรวจคนยุค Millennials
-
0:18 - 0:23ถามพวกเขาว่าเป้าหมายสูงสุด
ในชีวิตของพวกเขาคืออะไร -
0:23 - 0:25และมากกว่า 80% ตอบว่า
-
0:25 - 0:29เป้าหมายสูงสุดคือความร่ำรวย
-
0:29 - 0:33และอีก 50% ของคนกลุ่มเดียวกันนี้
-
0:33 - 0:36บอกว่าเป้าหมายในชีวิตอีกอย่างหนึ่ง
-
0:36 - 0:38คือการมีชื่อเสียงโด่งดัง
-
0:39 - 0:40(เสียงหัวเราะ)
-
0:40 - 0:47เรามักจะถูกสอนให้มุ่งไปที่งาน
ทุ่มเทให้กับงานมากๆ -
0:47 - 0:49และประสบความสำเร็จให้มากขึ้น
-
0:49 - 0:53เราถูกฝังหัวว่านี่คือสิ่งที่เราต้องไขว่คว้า
-
0:53 - 0:54เพื่อที่จะมีชีวิตที่ดี
-
0:54 - 0:57ภาพของชีวิต
-
0:57 - 1:02ภาพของทางเลือกที่เราเลือกเดิน
และผลลัพธ์ของทางเลือกเหล่านั้น -
1:02 - 1:05ภาพเหล่านั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้
-
1:06 - 1:09ทุกสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์
-
1:09 - 1:13ได้จากการให้ผู้คนนึกย้อนอดีต
-
1:13 - 1:17และเท่าที่เรารู้ การมองย้อนอดีต
มันไม่ได้คมชัด เที่ยงตรง -
1:17 - 1:21เรามักจะลืมสิ่งที่เกิดขึ้นมากมายในชีวิต
-
1:21 - 1:24และบางครั้งส่วนที่จำได้
ก็ถูกแต่งเติมขึ้นมาอย่างสิ้นเชิง -
1:25 - 1:29แต่ถ้าเราสามารถมองดูชีวิตทั้งชีวิต
-
1:29 - 1:32ในขณะที่ชีวิตค่อยๆ
เป็นไปตามกาลเวลาล่ะ? -
1:32 - 1:36หากเราสามารถศึกษาผู้คน
ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น -
1:36 - 1:39จนกระทั่งแก่ชรา
-
1:39 - 1:42เพื่อดูว่าอะไรทำให้เราแข็งแรง
และมีความสุขอย่างแท้จริงล่ะ? -
1:44 - 1:45พวกผมทำแล้วครับ
-
1:46 - 1:48โครงการ Harvard Study of Adult Development
-
1:48 - 1:53อาจจะเป็นโครงการศึกษาชีวิตมนุษย์
ที่นานที่สุดเท่าที่เคยมีมา -
1:54 - 2:00ตลอด 75 ปี เราศึกษาชีวิตของชาย 724 คน
-
2:01 - 2:06ถามพวกเขาเกี่ยวกับงาน ความเป็นอยู่
และสุขภาพ ปีแล้วปีเล่า -
2:06 - 2:10และแน่นอนว่าเราถามคำถามโดยไม่รู้เลยว่า
สุดท้ายแล้วชีวิตของพวกเขา -
2:10 - 2:12จะเป็นอย่างไร
-
2:13 - 2:17การศึกษาวิจัยแบบนี้ หายากครับ
-
2:17 - 2:21เกือบทุกโครงการ ลักษณะแบบเดียวกันนี้
มักล้มเลิกไปภายใน 10 ปี -
2:21 - 2:24เพราะมีกลุ่มตัวอย่าง
ขอออกจากโครงการจำนวนมาก -
2:24 - 2:27หรือไม่ก็ ไม่มีเงินสนับสนุนโครงการต่อ
-
2:27 - 2:29หรือไม่ นักวิจัยดันเกิดหมดความสนใจ
-
2:29 - 2:33หรือไม่ นักวิจัยเสียชีวิต
และไม่มีใครสานต่อโครงการ -
2:34 - 2:37แต่ด้วยโชคช่วย
-
2:37 - 2:40และด้วยความตั้งใจของนักวิจัยรุ่นต่อรุ่น
-
2:40 - 2:42โครงการศึกษานี้รอดมาได้
-
2:43 - 2:47กลุ่มตัวอย่างของเราราวๆ 60 คน จาก 724 คน
-
2:47 - 2:48ยังมีชีวิตอยู่
-
2:48 - 2:51และยังร่วมอยู่ในโครงการนี้
-
2:51 - 2:53ซึ่งส่วนใหญ่ก็อายุราวๆ 90 ปีแล้ว
-
2:54 - 2:55และตอนนี้เราก็เริ่มศึกษา
-
2:55 - 2:59ลูกหลานของคนเหล่านี้
ซึ่งมีมากกว่า 2,000 คน -
3:00 - 3:02และผมเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรุ่นที่ 4
ของโครงการนี้ -
3:03 - 3:08ตั้งแต่ปี 1938 เราติดตามชีวิต
ของชายสองกลุ่ม -
3:08 - 3:10กลุ่มแรกเริ่มเข้าโครงการ
-
3:10 - 3:13ขณะเรียนอยู่ปีสองที่วิทยาลัยฮาร์วาร์ด
-
3:13 - 3:16พวกเขาทุกคนจบวิทยาลัย
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 -
3:16 - 3:18และเกือบทุกคนก็ออกมา
เข้าร่วมสงคราม -
3:19 - 3:21กลุ่มที่สองที่เราติดตามศึกษา
-
3:21 - 3:26เป็นกลุ่มเด็กชายจากชุมชน
ที่จนที่สุดในบอสตัน -
3:26 - 3:28เด็กๆ ถูกคัดเลือกเข้าโครงการ
-
3:28 - 3:31เพราะพวกเขามาจากครอบครัวที่มีปัญหา
-
3:31 - 3:33และด้อยโอกาสมากที่สุด
-
3:33 - 3:36ในบอสตันช่วงปี 1930
-
3:36 - 3:40ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในห้องเช่า
ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีน้ำใช้ -
3:43 - 3:44เมื่อพวกเขาเข้าร่วมโครงการ
-
3:44 - 3:47เด็กทุกคนถูกสัมภาษณ์
-
3:47 - 3:50และได้รับการตรวจร่างกาย
-
3:50 - 3:53เราไปที่บ้านของพวกเขาและสัมภาษณ์พ่อแม่
-
3:53 - 3:56จากนั้น พวกเขาก็เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
-
3:56 - 3:58และมีชีวิตที่แตกต่างกัน
-
3:58 - 4:04พวกเขากลายเป็นพนักงานโรงงาน
ทนายความ ช่างปูน และหมอ -
4:04 - 4:07หนึ่งคนเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
-
4:08 - 4:12บางคนติดสุราเรื้อรัง
จำนวนหนึ่งเป็นโรคจิตเภท -
4:13 - 4:16บางคนไต่บันไดของสังคม
-
4:16 - 4:19จากชนชั้นล่างสุดไปเป็นชนชั้นสูงสุด
-
4:19 - 4:22บางคนดำเนินชีวิตไปในทางตรงกันข้าม
-
4:24 - 4:26ผู้ก่อตั้งโครงการนี้
-
4:26 - 4:28คงไม่เคยคิดไม่เคยฝัน
-
4:29 - 4:33ว่าผมจะมายืนอยู่ตรงนี้ 75 ปีให้หลัง
-
4:33 - 4:36และบอกกับคุณว่าโครงการนี้ยังดำเนินต่อ
-
4:37 - 4:41ทุกๆ สองปี นักวิจัยที่ทุ่มเท
และมีความอดทนสูง -
4:41 - 4:44จะโทรหากลุ่มตัวอย่าง
และถามพวกเขาว่าจะเป็นอะไรมั้ย -
4:44 - 4:47หากเราจะส่งคำถาม ถามเกี่ยวกับ
ชีวิตของพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง -
4:48 - 4:52ชายในกลุ่มเด็กยากจนจากบอสตัน
หลายคนถามเราว่า -
4:52 - 4:56"ทำไมพวกคุณถึงยังอยากศึกษาชีวิตผม?
ชีวิตผมไม่ได้น่าสนใจขนาดนั้น" -
4:57 - 4:59แต่ชายจากฮาร์วาร์ดไม่เคยถามคำถามนั้น
-
4:59 - 5:04(เสียงหัวเราะ)
-
5:09 - 5:12เพื่อให้เห็นภาพชีวิตของคนเหล่านี้ชัดที่สุด
-
5:12 - 5:15เราไม่ได้ส่งไปแค่ชุดคำถาม
-
5:15 - 5:17แต่เราสัมภาษณ์พวกเขาในห้องนั่งเล่น
-
5:17 - 5:20ขอบันทึกเอกสารทางการแพทย์ของพวกเขา
-
5:20 - 5:23เก็บตัวอย่างเลือดและสแกนสมองของพวกเขา
-
5:23 - 5:24คุยกับลูกๆ ของพวกเขา
-
5:24 - 5:30อัดวิดีโอขณะที่พวกเขา
เล่าความกังวลใจให้ภรรยาฟัง -
5:30 - 5:33และ 10 ปีก่อน เมื่อเราขอให้ภรรยาของพวกเขา
-
5:33 - 5:36เข้าร่วมในโครงการนี้
-
5:36 - 5:38ภรรยาหลายคนตอบว่า
"ได้เวลาพอดีเลย คุณรู้รึเปล่า" -
5:38 - 5:39(เสียงหัวเราะ)
-
5:39 - 5:41แล้ว เราเรียนรู้อะไร?
-
5:41 - 5:46อะไรคือบทเรียนจากข้อมูล
-
5:46 - 5:49จำนวนหลายหมื่นหน้าที่เราเขียนขึ้น
-
5:50 - 5:51จากชีวิตของคนเหล่านี้?
-
5:52 - 5:57บทเรียนไม่ได้เกี่ยวกับความร่ำรวย
ความโด่งดัง หรือการทำงานหนัก -
5:59 - 6:05สิ่งที่ชัดเจนที่สุด
ที่เราได้จากการวิจัย 75 ปี คือ -
6:05 - 6:10ความสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้เรา
มีความสุขและแข็งแรงมากขึ้น จบครับ -
6:11 - 6:15เราได้ข้อคิด 3 ข้อหลักๆ
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ -
6:15 - 6:19ข้อแรก คือ ความสัมพันธ์ทางสังคม
มีประโยชน์กับเรามาก -
6:19 - 6:21และความโดดเดี่ยวฆ่าเรา
-
6:21 - 6:25กลายเป็นว่า คนที่มีความสัมพันธ์อันดี
-
6:25 - 6:28กับครอบครัว เพื่อน และสังคมของเขา
-
6:28 - 6:33มีความสุข สุขภาพดี และอายุยืน
-
6:33 - 6:36กว่าคนที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยกว่า
-
6:36 - 6:40เราพบว่า ประสบการณ์อันโดดเดี่ยวนั้นเป็นพิษ
-
6:40 - 6:45คนที่ถูกโดดเดี่ยวจากคนอื่น
มากกว่าที่เขาอยากจะเป็น -
6:45 - 6:48กลายเป็นคนไม่มีความสุข
-
6:48 - 6:51สุขภาพเสื่อมโทรมตั้งแต่ช่วงกลางของชีวิต
-
6:51 - 6:53การทำงานของสมองเสื่อมลงเร็วกว่า
-
6:53 - 6:57และอายุสั้นกว่าคนที่ไม่โดดเดี่ยว
-
6:58 - 7:01และความจริงอันแสนเศร้าคือ
ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ -
7:01 - 7:06จะมีชาวอเมริกันมากกว่าหนึ่งในห้า
บอกว่าตนเองโดดเดี่ยว -
7:07 - 7:10และเราก็รู้ว่าคุณอาจรู้สึกโดดเดี่ยว
ท่ามกลางผู้คนมากมาย -
7:10 - 7:12และคุณอาจรู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางชีวิตคู่
-
7:12 - 7:15ดังนั้น ข้อคิดที่สอง ที่เราได้เรียนรู้
-
7:15 - 7:18คือ ไม่ใช่แค่จำนวนเพื่อนที่คุณมี
-
7:18 - 7:21และไม่ใช่แค่การมีความสัมพันธ์ที่จริงจัง
-
7:21 - 7:26สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพของความสัมพันธ์ใกล้ชิด
-
7:27 - 7:31เราพบว่าการมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง
ส่งผลเสียต่อสุขภาพ -
7:31 - 7:35เช่น ชีวิตแต่งงานที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง
และร้างความรัก -
7:35 - 7:41เป็นสิ่งที่ทำร้ายสุขภาพของเรา
อาจจะมากกว่าการหย่าร้างด้วยซ้ำไป -
7:41 - 7:46และการมีชีวิตอยู่ท่ามกลาง
ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นช่วยปกป้องเรา -
7:46 - 7:49เมื่อเราศึกษากลุ่มตัวอย่าง จนกระทั่ง
พวกเขาอยู่ในช่วงอายุ 80 ปี -
7:49 - 7:52เราต้องการที่จะย้อนกลับไปดู
ชีวิตวัยกลางคนของพวกเขา -
7:52 - 7:54เพื่อดูว่าเราจะสามารถทำนาย
-
7:54 - 7:58ว่าใครจะกลายเป็นชายวัย 80
ที่สุขภาพดี มีความสุข -
7:58 - 7:59และใครไม่เป็นเช่นนั้น
-
8:00 - 8:04เมื่อเรารวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่เรารู้
เกี่ยวกับพวกเขา -
8:04 - 8:05ตอนพวกเขาอายุ 50 ปี
-
8:06 - 8:09เราพบว่าระดับคอเลสเตอรอล
ในช่วงวัยกลางคน -
8:09 - 8:12ไม่ได้บ่งบอกเลยว่า
พวกเขาจะเป็นอย่างไรเมื่อแก่ตัวลง -
8:12 - 8:15แต่กลับเป็นระดับความพึงพอใจของพวกเขา
ต่อความสัมพันธ์ที่พวกเขามี -
8:15 - 8:20ชายที่พอใจกับความสัมพันธ์ที่มีตอนอายุ 50
-
8:20 - 8:22เป็นชายที่แข็งแรงที่สุด ตอนอายุ 80
-
8:24 - 8:27ความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่ดี
ดูเหมือนจะช่วยปกป้องเรา -
8:27 - 8:30จากผลเสียของการแก่ชรา
-
8:30 - 8:34ชายและหญิงที่ครองคู่กันอย่างมีความสุข
-
8:34 - 8:37บอกกับเรา เมื่ออายุ 80 ว่า
-
8:37 - 8:39ในวันที่พวกเขาเจ็บปวดทางกายเป็นอย่างมาก
-
8:40 - 8:41พวกเขายังคงมีความสุข
-
8:42 - 8:46แต่สำหรับคนที่มีความสัมพันธ์
ที่ไม่มีความสุข -
8:46 - 8:49ในวันที่เขาเจ็บปวดทางกายเป็นอย่างมาก
-
8:49 - 8:52ความเจ็บปวดจะทวีคูณ
ด้วยความเจ็บปวดทางอารมณ์ -
8:52 - 8:57บทเรียนที่สาม ที่เราเรียนรู้
เกี่ยวกับความสัมพันธ์และสุขภาพของเรา -
8:57 - 9:00คือ ความสัมพันธ์ที่ดี
ไม่ใช่แค่ปกป้องสุขภาพเท่านั้น -
9:00 - 9:02แต่ยังปกป้องสมองของเราด้วย
-
9:02 - 9:07เราพบว่า การมีความสัมพันธ์
ที่แน่นแฟ้นและมั่นคง -
9:07 - 9:11กับคนอีกคนในช่วงอายุ 80
เป็นสิ่งที่ปกป้องเรา -
9:11 - 9:13คนที่มีความสัมพันธ์
-
9:13 - 9:17ที่พวกเขารู้สึกว่า
พึ่งพาอีกคนได้เมื่อต้องการ -
9:17 - 9:21มีความจำที่เฉียบคมเป็นระยะเวลานาน
-
9:21 - 9:22ส่วนคนที่มีความสัมพันธ์
-
9:22 - 9:26ที่พวกเขารู้สึกว่า
ไม่สามารถพึ่งพาอีกคนได้ -
9:26 - 9:29กลับมีสภาวะความจำเสื่อมถอยเร็วกว่า
-
9:31 - 9:34ความสัมพันธ์ที่ดีที่ว่านั้น
ไม่จำเป็นต้องราบรื่นตลอดเวลา -
9:34 - 9:38คู่รักวัย 80 บางคู่
อาจจะทะเลาะ -
9:38 - 9:39ไม่หยุดไม่หย่อน
-
9:39 - 9:43แต่ตราบเท่าที่พวกเขารู้สึกว่า
สามารถพึ่งพากันได้ -
9:43 - 9:44เมื่อทุกอย่างแย่
-
9:44 - 9:48การทะเลาะกันไม่ได้มีผลต่อ
ความจำของพวกเขาเลย -
9:50 - 9:52สิ่งที่เราต้องการจะบอก คือ
-
9:52 - 9:58ความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิด
ดีต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี -
9:58 - 10:01นี่เป็นความรู้ที่มีมานาน
-
10:01 - 10:05แล้วทำไมมันถึงทำได้ยาก
และถูกลืมได้อย่างง่ายดาย -
10:06 - 10:07ก็เพราะ เราเป็นมนุษย์
-
10:07 - 10:10สิ่งที่เราชอบคือทางออกที่ง่ายและเร็ว
-
10:10 - 10:12อะไรก็ได้ที่เราหามาได้
-
10:12 - 10:14ที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี
และดีต่อไปเรื่อยๆ -
10:15 - 10:19ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ยุ่งยาก
และซับซ้อน -
10:19 - 10:22และความยุ่งยาก
ในการใส่ใจครอบครัวและเพื่อน -
10:23 - 10:25ก็ไม่น่าสนใจหรือดึงดูดใจเลย
-
10:25 - 10:29มันเป็นสิ่งที่ต้องทำตลอดชีวิต
ไม่มีวันจบสิ้น -
10:29 - 10:34กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย 75 ปีของเรา
ที่มีความสุขที่สุดในชีวิตหลังเกษียณ -
10:34 - 10:39คือผู้ที่คอยแทนที่เพื่อนร่วมงาน
ด้วยเพื่อนร่วมเล่นอยู่ตลอดเวลา -
10:39 - 10:42เหมือนกับคนวัย Millennials
จากการสำรวจล่าสุดนั่นแหละครับ -
10:42 - 10:46ชายหลายคนในงานวิจัยของเรา
เมื่อครั้งที่พวกเขายังเป็นหนุ่มวัยรุ่น -
10:46 - 10:50เชื่อจริงๆ ว่า ชื่อเสียง ความร่ำรวย
และการประสบความสำเร็จสูงสุด -
10:50 - 10:54คือสิ่งที่พวกเขาต้องได้มา
เพื่อการมีชีวิตที่ดี -
10:54 - 10:58แต่ครั้งแล้วครั้งเล่า ตลอด 75 ปีที่ผ่านมา
งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นแล้วว่า -
10:58 - 11:04คนที่ประสบความสำเร็จที่สุด
คือคนที่ทุ่มเทเวลาให้กับ -
11:04 - 11:07ครอบครัว เพื่อน และสังคมของเขา
-
11:09 - 11:11แล้วคุณล่ะครับ
-
11:11 - 11:15ตอนนี้ คุณอาจจะอายุ 25 หรือ 40 หรือ 60
-
11:16 - 11:19การทุ่มให้กับความสัมพันธ์อย่างที่ว่านี่
ต้องทำอย่างไร? -
11:20 - 11:23เป็นอะไรก็ครับ ความเป็นไปได้มีไม่สิ้นสุด
-
11:24 - 11:30อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ อย่างการ
จัดสรรเวลาให้กับพวกเขา -
11:30 - 11:34หรือการทำให้ความสัมพันธ์ที่น่าเบื่อ
สดใสขึ้นด้วยการทำกิจกรรมใหม่ๆ ด้วยกัน -
11:34 - 11:36การเดินด้วยกัน หรือการออกเดท
-
11:37 - 11:42หรือการติดต่อคนในครอบครัว
ที่คุณไม่ได้คุยด้วยเป็นเวลานาน -
11:42 - 11:46เพราะความบาดหมางธรรมดาๆ
ในครอบครัว -
11:46 - 11:48อาจส่งผลเสียร้ายแรง
-
11:48 - 11:50กับผู้ที่มีความแค้นฝังใจอยู่
-
11:52 - 11:56ผมอยากจะทิ้งท้ายด้วยคำพูด
ของ Mark Twain -
11:57 - 12:00หลายศตวรรษก่อน
-
12:00 - 12:02Mark Twain ได้มองย้อนกลับไปในชีวิตของเขา
-
12:02 - 12:04และได้เขียนสิ่งนี้ขึ้นครับ
-
12:05 - 12:09"ชีวิตสั้นนัก จนไม่มีเวลา
-
12:09 - 12:14สำหรับการทะเลาะ การขอโทษ
การอิจฉาริษยา และการต่อว่า -
12:15 - 12:18มีเพียงเวลาเพื่อรัก
-
12:18 - 12:21และจะว่าไปแล้ว ก็แสนสั้นเช่นกัน"
-
12:23 - 12:27ชีวิตที่ดีเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ดี
-
12:27 - 12:28ขอบคุณครับ
-
12:28 - 12:34(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ชีวิตที่ดี มีได้จากอะไร? บทเรียนจากการวิจัยความสุขของมนุษย์ที่ยาวนานที่สุด
- Speaker:
- โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์
- Description:
-
อะไรทำให้เราแข็งแรงและมีความสุขตลอดช่วงชีวิตจนแก่ชรา ถ้าคุณคิดว่ามันคือชื่อเสียงและเงินทอง คุณไม่ใช่คนเดียวที่คิดแบบนี้ แต่คุณคิดผิด ตามที่โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์บอกกับเรา ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัยด้านพัฒนาการของผู้ใหญ่ที่ยาวนานถึง 75 ปี วาลดิงเจอร์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสุขและความพอใจในชีวิตที่แท้จริงอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ในปาฐกถานี้ เขาได้แบ่งปันบทเรียน 3 ประการจากงานวิจัย พร้อมทั้งความรู้เก่าแก่เกี่ยวกับการสร้างชีวิตที่ยืนยาวและประสบความสำเร็จที่เราสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 12:46
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
BOYEON LEE accepted Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness | ||
Dollaya Piumsuwan edited Thai subtitles for What makes a good life? Lessons from the longest study on happiness |