< Return to Video

ทำไมคนเราถึงผมหงอก? | Point of View x ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

  • 0:00 - 0:03
    ทำไมคนเราต้องมีผมหงอกด้วย
  • 0:03 - 0:04
    สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
  • 0:04 - 0:07
    บอกก่อนนะคะ ก่อนที่หลาย ๆ คนจะเข้าใจว่า
  • 0:07 - 0:09
    วิวได้รับ inspiration ชื่อคลิปนี้มาจากหัวตัวเอง
  • 0:09 - 0:12
    ต้องบอกว่าไม่ใช่นะคะ วิวไม่ได้มีผมหงอกแต่อย่างใดค่ะ
  • 0:12 - 0:16
    แต่ว่าวิวเนี่ยนะคะ เห็นหลาย ๆ คนชอบบ่นกันว่า
  • 0:16 - 0:18
    โอ๊ย ตายแล้ว ช่วงนี้เครียดจังเลย ผมหงอกแล้ว
  • 0:18 - 0:20
    หรือว่ารู้สึกว่ากลัวตัวเอง
  • 0:20 - 0:22
    อุ๊ยตายแล้ว ฉันเริ่มผมหงอกแล้ว
  • 0:22 - 0:23
    ฉันแก่รึยัง อะไรยังไงนะคะ
  • 0:23 - 0:26
    ดังนั้นวันนี้ค่ะ วิวก็เลยไปหาข้อมูล
  • 0:26 - 0:28
    เกี่ยวข้องกับเรื่องผมหงอกเนี่ย
  • 0:28 - 0:30
    มาเพื่อจะมาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ
  • 0:30 - 0:31
    แต่ไม่ต้องกลัวนะคะ
  • 0:31 - 0:33
    สำหรับหลายคนที่ติดตามช่องเรามาเนิ่นนานเนี่ย
  • 0:33 - 0:36
    เปิดคลิปแบบนี้ อู้หู มันจะต้องขายแชมพู
  • 0:36 - 0:37
    ขายยาโกรกผม ขายอะไรแน่ ๆ
  • 0:37 - 0:39
    ไม่ใช่ค่ะ วันนี้วิวแค่ไปหาข้อมูล
  • 0:39 - 0:41
    แล้วก็จะเอามาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ
  • 0:41 - 0:44
    ดังนั้นเราไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงอะไรดีกว่าค่ะ
  • 0:44 - 0:46
    เพราะว่าคลิปวันนี้เนื้อหาจะค่อนข้างเข้มข้นนะคะ
  • 0:46 - 0:49
    ดังนั้นพร้อมที่จะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง
  • 0:49 - 0:50
    สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ
  • 0:51 - 0:53
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
  • 0:56 - 0:58
    เมื่อพูดถึงเรื่องผมหงอกเนี่ย
  • 0:58 - 1:00
    แน่นอนอย่างที่วิวพูดไปตอนต้นเลยนะคะ
  • 1:00 - 1:02
    หลายคนคิดว่าการผมหงอกเนี่ย
  • 1:02 - 1:04
    เป็นสัญลักษณ์ของความแก่เฒ่าใช่ไหมคะ
  • 1:04 - 1:05
    ประมาณว่า อุ๊ยตายแล้ว
  • 1:05 - 1:07
    การที่เราผมเริ่มหงอกแล้วเนี่ย
  • 1:07 - 1:09
    แปลว่าเราแก่ อะไรต่าง ๆ นะคะ
  • 1:09 - 1:11
    แต่จริง ๆ วิวขอบอกเลยค่ะว่าไม่ใช่นะคะ
  • 1:11 - 1:14
    ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนเรามีผมหงอก
  • 1:14 - 1:16
    มีมากกว่า 1 สาเหตุค่ะ
  • 1:16 - 1:19
    มีสาเหตุอะไรต่าง ๆ มากกว่าความแก่เยอะเลยนะคะ
  • 1:19 - 1:21
    ดังนั้นเราไปฟังเหตุผลกันดีกว่า
  • 1:21 - 1:23
    บอกเลยว่าวันนี้ไม่ได้มาเล่าเป็นนิทานอะไรนะคะ
  • 1:23 - 1:25
    อันนี้มาเป็นวิทยาศาสตร์แบบจริง ๆ เลยนะ
  • 1:25 - 1:29
    ก่อนที่เราจะไปฟังกันนะคะว่าผมหงอกเกิดขึ้นจากอะไรเนี่ย
  • 1:29 - 1:30
    เราต้องมาฟังกันก่อนค่ะว่า
  • 1:30 - 1:32
    ผมของคนเราเนี่ยนะ เกิดจากอะไร
  • 1:32 - 1:35
    ต้องบอกว่าอันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกันนะคะว่า
  • 1:35 - 1:37
    ผมกับขนเนี่ยคือสิ่งเดียวกันแต่ว่า
  • 1:37 - 1:41
    ผมเนี่ยอาจจะเป็นขนที่อยู่ในบริเวณที่มันงอกเร็วกว่า
  • 1:41 - 1:42
    งอกยาวกว่าอะไรต่าง ๆ นะ
  • 1:42 - 1:46
    ดังนั้นถ้าคลิปนี้วิวพูดคำว่าผมกับขนสลับกันไปสลับกันมา
  • 1:46 - 1:48
    ขอให้เข้าใจว่ามันถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันนะคะ
  • 1:48 - 1:52
    เอาละ เรามาดูที่วัฏจักรการเกิดผมของคนเราก่อนดีกว่า
  • 1:52 - 1:54
    ก็วัฏจักรเดียวกับวัฏจักรการเกิดขนนั่นแหละ
  • 1:54 - 1:56
    ถามว่าวัฏจักรการเกิดผมของคนเราเนี่ยนะคะ
  • 1:56 - 1:57
    แบ่งเป็นกี่ขั้นตอน
  • 1:57 - 1:58
    มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • 1:58 - 2:01
    กว่าผมของเราจะงอกขึ้นมายาวขนาดนี้นะคะ
  • 2:01 - 2:04
    ต้องบอกว่ามันแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ระยะด้วยกันค่ะ
  • 2:04 - 2:07
    เอาชื่อแบบฟังยาก ๆ ก่อนนะ มันแบ่งเป็น 3 ระยะก็คือ
  • 2:07 - 2:09
    Anagen, Catagen แล้วก็ Telogen ค่ะ
  • 2:09 - 2:11
    เอาเป็นว่าเราช่างชื่อมันไปแล้วกันนะคะ
  • 2:11 - 2:13
    หลายคนฟังชื่อแล้วอาจจะงง
  • 2:13 - 2:16
    เรามาฟังเป็นระยะที่ 1 ระยะที่ 2 แล้วก็ระยะที่ 3 กันดีกว่าค่ะ
  • 2:16 - 2:20
    ระยะที่ 1 นะคะคือระยะที่ผมของคนเราเนี่ยยังงอกอยู่นะคะ
  • 2:20 - 2:23
    ก็ยังเป็นช่วงที่ผมเนี่ยงอก ๆ ๆ ๆ ออกมา
  • 2:23 - 2:25
    ส่วนระยะที่ 2 นะคะจะเป็นช่วงเวลาที่
  • 2:25 - 2:27
    ผมของคนเราเนี่ยงอกจนสุดละ
  • 2:27 - 2:29
    ไม่งอกเพิ่มอะไรอีกแล้วนะคะ
  • 2:29 - 2:32
    ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมสิ้นสุดการเจริญเติบโตละ
  • 2:32 - 2:36
    รอเวลาที่เส้นผมเนี่ยนะคะจะค่อย ๆ หลุดร่วงลงจากหัวค่ะ
  • 2:36 - 2:39
    และระยะที่ 3 นะคะก็คือระยะที่ไม่มีผมนะคะ
  • 2:39 - 2:41
    เป็นระยะที่ผิวหนังของคนเราเนี่ย
  • 2:41 - 2:43
    รอเวลาที่จะดันผมเส้นใหม่ออกมา
  • 2:43 - 2:46
    ซึ่งเมื่อดันผมเส้นใหม่ออกมาก็จะกลับไปสู่
  • 2:46 - 2:48
    ระยะที่ 1 อีกรอบค่ะ
  • 2:48 - 2:50
    อะ อันนี้คือ concept แบบง่าย ๆ ก่อนนะ
  • 2:50 - 2:52
    ทีนี้เรามาเจาะลึกทีละระยะกันนะคะ
  • 2:52 - 2:55
    ระยะที่ 1 เนี่ยนะคะ ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
  • 2:55 - 2:58
    กว่าที่เส้นผมของคนเราเนี่ยจะงอกแทงทะลุผิวหนังขึ้นมานะคะ
  • 2:58 - 3:01
    ก็ต้องบอกว่าผิวหนังของคนเราเนี่ยมันมีหลายชั้นใช่ไหม
  • 3:01 - 3:04
    เหมือนที่วิวเคยอธิบายไปในคลิปว่าทำไมคนเราถึงผิวดำเนอะ
  • 3:05 - 3:08
    ซึ่งในชั้นนึงของผิวหนังของเราเนี่ยนะคะ ที่ชื่อว่า demis
  • 3:08 - 3:10
    มันจะมีต่อมที่เรียกว่าต่อมขนอยู่ค่ะ
  • 3:10 - 3:14
    ต่อมขนเนี่ยคือต่อมที่เป็นตัวผลิตเส้นขนต่าง ๆ นะคะ
  • 3:14 - 3:16
    แล้วก็ดันให้เส้นผมหรือว่าเส้นขนเนี่ย
  • 3:16 - 3:18
    งอกออกมาจากต่อม ๆ นี้ค่ะ
  • 3:18 - 3:20
    ถามว่าต่อมนี้มันมีลักษณะเป็นยังไง
  • 3:20 - 3:21
    มันมีลักษณะเป็นกระเปาะนะคะ
  • 3:21 - 3:24
    เราน่าจะคุ้นเคยกับภาพนี้กันดีเวลาที่เราดูพวก
  • 3:24 - 3:28
    โฆษณาการกำจัดผม กำจัดขนอะไรต่าง ๆ นะ
  • 3:28 - 3:30
    ซึ่งในกระเปาะนี้มันก็จะเป็นกระเปาะที่
  • 3:30 - 3:32
    เชื่อมต่อกับเส้นเลือดอะไรต่าง ๆ นะคะ
  • 3:32 - 3:35
    ก็จะมีเส้นเลือดไปเลี้ยง มีอะไรไปเลี้ยง
  • 3:35 - 3:38
    ทีนี้มาพอมันเลี้ยงออกมา ต่อมนี้ก็จะผลิตขน ผลิตผมนะคะ
  • 3:38 - 3:40
    แล้วก็ค่อย ๆ ดันตัวออกมาเนี่ย
  • 3:40 - 3:42
    ตัวที่ผลิตใหม่ก็จะดันตัวเก่าเนี่ย
  • 3:42 - 3:44
    ให้ทะลุออกมาจากผิวหนังใช่ไหม
  • 3:44 - 3:48
    ส่วนพวกที่ผลิตใหม่มาต่อก็ดัน ๆ กันออกมา
  • 3:48 - 3:50
    ก็เลยกลายเป็นเส้นผมหรือเส้นขนที่ยาวขึ้น
  • 3:50 - 3:52
    ยาวขึ้น ยาวขึ้นเรื่อย ๆ นี่ล่ะค่ะ
  • 3:52 - 3:55
    ส่วนระยะที่ 2 เนี่ยนะคะก็คือระยะที่ต่อมขนเนี่ย
  • 3:55 - 3:57
    มันจะดันตัวเองให้สูงขึ้นค่ะ
  • 3:57 - 4:00
    ก็คือขึ้นมาใกล้ ๆ บริเวณผิวหนังด้านนอกมากขึ้นใช่ไหม
  • 4:00 - 4:02
    ผลจากสิ่งนี้ทำให้เกิดอะไรขึ้น รู้ไหมคะ
  • 4:02 - 4:04
    ผลจากสิ่งนี้จะทำให้ต่อมขนของคนเราเนี่ยนะ
  • 4:04 - 4:06
    แตะกับเส้นเลือดน้อยลงค่ะ
  • 4:06 - 4:08
    พอมันไม่มีเลือดไปเลี้ยงอะไรต่าง ๆ
  • 4:08 - 4:10
    เส้นผมก็เลยหยุดผลิตนะคะ
  • 4:10 - 4:13
    การเจริญงอกงาม เจริญเติบโตของเส้นผมหรือเส้นขนเนี่ย
  • 4:13 - 4:16
    มันก็จะหยุดค่ะ แล้วก็รอเวลาที่
  • 4:16 - 4:19
    มันจะสิ้นสุดอายุขัยแล้วก็ร่วงหล่นออกไปนะคะ
  • 4:19 - 4:22
    ส่วนระยะที่ 3 ก็คือระยะที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นน่ะนะ
  • 4:22 - 4:23
    ก็คือเส้นผมหลุดไปแล้วจ้า
  • 4:23 - 4:26
    รอเวลาที่มันจะกลับไปที่ระยะที่ 1 อีกนะคะ
  • 4:26 - 4:30
    ทีนี้ถามว่าเรื่องราวของสีผมที่เราจะพูดถึงเนี่ย
  • 4:30 - 4:31
    มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน
  • 4:31 - 4:34
    แน่นอนว่าตอนที่เส้นผมมันงอกออกมาแล้ว
  • 4:34 - 4:35
    แล้วมันสิ้นสุดการเติบโตแล้วเนี่ย
  • 4:35 - 4:38
    มันก็ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะมาพูดถึงเรื่องสีผมกันใช่ไหมคะ
  • 4:38 - 4:41
    เช่นเดียวกับระยะเวลาที่เราไม่มีผมนะคะ
  • 4:41 - 4:42
    เราก็คงไม่พูดถึงสีผมกัน
  • 4:43 - 4:45
    ดังนั้นเวลาที่เราจะพูดถึงสีผมกันเนี่ย
  • 4:45 - 4:46
    มันจะอยู่ในระยะที่ 1
  • 4:46 - 4:49
    หรือว่าระยะ anagen นั่นเองนะคะ
  • 4:49 - 4:53
    ในระยะนี้จะเป็นระยะที่มีการผลิตสีผมอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาค่ะ
  • 4:53 - 4:55
    แล้วถามว่าสีผมของคนเราเนี่ย
  • 4:55 - 4:56
    สีดำ สีน้ำตาล สีทองเนี่ย
  • 4:57 - 4:58
    มันเกิดขึ้นจากอะไรรู้ไหมคะ
  • 4:58 - 5:01
    มันเกิดขึ้นจากเซลล์ชนิดนึงค่ะ
  • 5:01 - 5:03
    ที่เราคุ้นเคยชื่อกันดีแน่นอน
  • 5:03 - 5:07
    แต่ว่าหลาย ๆ คนไม่เคยได้ยินมันในเรื่องราวของสีผมค่ะ
  • 5:07 - 5:10
    เราจะไปได้ยินในเรื่องราวของสีผิวมากกว่านะคะ
  • 5:10 - 5:13
    เพราะว่ามันคือสิ่งเดียวกันเลยนะคะ นั่นก็คือ
  • 5:13 - 5:14
    melanin นั่นเองค่ะ
  • 5:14 - 5:16
    อ้าว ชื่อนี้กลับมาอีกแล้วนะคะ
  • 5:16 - 5:20
    melanin ที่ทำให้คนเรามีสีผิวแตกต่างกันไปต่าง ๆ น่ะนะ
  • 5:20 - 5:22
    มันก็อยู่ในเส้นผมเช่นเดียวกันค่ะ
  • 5:22 - 5:24
    คือต้องบอกก่อนนะคะว่าดูภาพนี้ก่อน
  • 5:24 - 5:27
    เส้นผมของคนเราเนี่ยมันไม่ใช่แค่เป็นเส้น ๆ อย่างนี้นะ
  • 5:27 - 5:30
    ถ้าสมมติว่าเราซูมมันเข้าไปนะคะ เอากล้องส่องอะไรต่าง ๆ
  • 5:30 - 5:33
    เราจะเห็นเส้นผมของคนเราเนี่ยเป็นภาพแบบนี้นะคะ
  • 5:33 - 5:35
    คือเป็นเหมือนท่อขึ้นมาท่อนึงค่ะ
  • 5:35 - 5:37
    ส่วนตรงกลางเนี่ยเราจะเรียกว่า medulla นะคะ
  • 5:37 - 5:40
    แล้วก็ส่วนนอกสุดเนี่ยเราจะเรียกว่า cuticle นะคะ
  • 5:40 - 5:42
    แต่ว่าส่วนที่เรากำลังจะพูดถึงเนี่ย
  • 5:42 - 5:45
    ก็คือส่วนที่อยู่ระหว่างในสุดกับนอกสุดนะ
  • 5:45 - 5:47
    ที่เราจะเรียกว่าส่วน cortex ค่ะ
  • 5:47 - 5:49
    ซึ่งสีผมเนี่ยมันจะไปอยู่ในส่วน cortex นี่แหละ
  • 5:49 - 5:52
    คือเวลาที่เส้นผมของคนเราเนี่ยงอกขึ้นมานะคะ
  • 5:52 - 5:53
    บริเวณรากผมเนี่ย
  • 5:53 - 5:56
    มันจะมีเซลล์ชนิดนึงค่ะ ชื่อว่า melanocyte
  • 5:56 - 6:00
    ทำหน้าที่ผลิต melanin นั่นเองใช่ไหมคะ ก็คือสีผม
  • 6:00 - 6:01
    เอาเป็นว่าถ้าฟังแล้วงงนะ
  • 6:01 - 6:04
    เข้าใจง่าย ๆ เลยคือเส้นผมของคนเรามี 3 ชั้น
  • 6:04 - 6:06
    ชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอก
  • 6:06 - 6:07
    ตรงบริเวณรากผม
  • 6:07 - 6:10
    มีเซลล์ชนิดนึงผลิตเม็ดสี melanin ขึ้นมา
  • 6:10 - 6:12
    และเม็ดสี melanin นี้นะคะ
  • 6:12 - 6:15
    มันจะไปอยู่ในชั้น cortex หรือว่าชั้นกลางของผมนั่นเองนะ
  • 6:15 - 6:18
    ซึ่งทำให้เส้นผมของคนเราเนี่ยมีสีที่แตกต่างกันไปค่ะ
  • 6:18 - 6:20
    คำว่าสีที่แตกต่างไม่ใช่ว่า
  • 6:20 - 6:23
    อุ๊ย ฉันจะผลิตเซลล์ melanin สีน้ำตาล
  • 6:23 - 6:25
    ฉันผลิตสีทอง ฉันผลิตสีแดง ฉันผลิตสีดำ
  • 6:25 - 6:27
    แล้วเส้นผมมันจะแตกต่างกันนะคะ
  • 6:27 - 6:31
    ต้องบอกว่าคนเราเวลาที่จะเห็นสีออกมาแบบนี้
  • 6:31 - 6:34
    มันเกิดจากการที่ผลิตเม็ดสี melanin หลาย ๆ สีขึ้นมาค่ะ
  • 6:34 - 6:36
    แล้วก็มีการผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
  • 6:36 - 6:39
    ผมสีเข้มเนี่ยมันอาจจะเม็ดสีอยู่ใกล้กันนิดนึง
  • 6:39 - 6:41
    ผมสีอ่อนอาจจะเม็ดสีอยู่ห่างกันนิดนึง
  • 6:41 - 6:45
    ซึ่งเม็ดสี melanin เนี่ยนะคะมันก็มีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกันอีก
  • 6:45 - 6:46
    อันนี้ศัพท์เริ่มเยอะแล้วนะ
  • 6:46 - 6:48
    มันคือเรียกว่า eumelanin กับ pheomelanin นะคะ
  • 6:48 - 6:51
    ก็คือเม็ดสีสีเช้มกับเม็ดสีสีอ่อนนั่นแหละ
  • 6:51 - 6:53
    แต่เอาเป็นว่าช่างมันไม่ต้องสนใจศัพท์นะ
  • 6:53 - 6:56
    เข้าใจง่าย ๆ ก็คือมันมีเม็ดสีสีเข้มกับเม็ดสีสีอ่อน
  • 6:56 - 6:59
    แล้วมันก็จะเป็นการแบบว่าผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
  • 6:59 - 7:00
    ตามพันธุกรรมนะคะ
  • 7:00 - 7:01
    เพื่อที่จะกำหนดออกมาว่า
  • 7:01 - 7:04
    โอ๊ะ สีผมคนนี้ เราใส่สีเข้มเยอะหน่อย
  • 7:04 - 7:06
    เราใส่สีอ่อนน้อยหน่อย ผมก็จะออกมาเข้ม
  • 7:06 - 7:08
    อะ เราใส่สีเข้มน้อยหน่อย ใส่สีอ่อนเยอะหน่อย
  • 7:08 - 7:10
    ผมก็จะออกมาเป็นสีอ่อนนะคะ
  • 7:10 - 7:13
    ดังนั้น combination ทั้งหมดนี้นี่แหละค่ะที่ทำให้
  • 7:13 - 7:16
    เกิดสีผมของคนเราที่แตกต่างกันออกไปอะนะ
  • 7:16 - 7:19
    แล้วถามว่าเฉดสีผมสีไหนที่เราเจอมากที่สุดในโลก รู้ไหมคะ
  • 7:19 - 7:23
    สีนั้นก็คือ สีดำนั่นเองค่ะ ที่พบในคนเอเชียเนอะ
  • 7:23 - 7:26
    ส่วนรองลงมาก็จะเป็นสีน้ำตาลนะคะ ที่พบในคนยุโรปค่ะ
  • 7:26 - 7:30
    แล้วถามว่าทำไมวิวถึงใช้คำว่าเฉดสีดำ ไม่ใช้คำว่าสีดำ
  • 7:30 - 7:33
    เพราะว่าแต่ละคนมันก็จะมี melanin อะไรไปผสมของมันเอง
  • 7:33 - 7:35
    ดังนั้นแม้ว่าจะบอกว่าผมดำเหมือนกัน
  • 7:35 - 7:37
    แต่ดำแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วยนะคะ
  • 7:37 - 7:39
    บางคนก็ดำออกดำน้ำตาล
  • 7:39 - 7:41
    บางคนมีดำน้ำเงิน ก็มีเหมือนกันนะคะ
  • 7:41 - 7:44
    ดังนั้นนี่คือเฉดสีผมที่แตกต่างกันไปที่เกิดจาก
  • 7:44 - 7:47
    เม็ดสี melanin ที่มันผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
  • 7:47 - 7:50
    ทีนี้เรารู้แล้วว่าสีผมปกติเกิดจากอะไร
  • 7:50 - 7:52
    เราก็น่าจะพอเดากันได้ใช่ไหมคะว่า
  • 7:52 - 7:54
    อ๊ะ ผมขาวเกิดจากอะไร
  • 7:54 - 7:57
    หลายคนนี่ก็เดาว่า อ๋อ ผมขาวเนี่ยแปลว่า
  • 7:57 - 8:01
    เซลล์ melanocyte ที่อยู่ที่รากผมผลิตเม็ดสีสีขาวออกมาใช่ไหม
  • 8:01 - 8:02
    ผมก็เลยกลายเป็นสีขาว
  • 8:02 - 8:05
    ต้องบอกว่าความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ
  • 8:05 - 8:08
    เพราะว่าการที่ผมหงอกหรือผมขาวเนี่ยนะคะ
  • 8:08 - 8:10
    มันไม่ได้เกิดจากการผลิตเม็ดสีสีขาวค่ะ
  • 8:10 - 8:12
    แต่มันเกิดจากการที่เซลล์ melanocyte
  • 8:12 - 8:14
    บริเวณที่รากผมเนี่ยนะคะ
  • 8:14 - 8:16
    ไม่ผลิตเม็ดสีค่ะ
  • 8:16 - 8:19
    พอไม่ผลิตเม็ดสีเนี่ย ผมมันก็เลยเป็นแบบใส ๆ ค่ะ
  • 8:19 - 8:21
    ไม่มีสีอยู่ตรงกลาง
  • 8:21 - 8:25
    พอมันมาอยู่ท่ามกลางสีดำ ท่ามกลางสีน้ำตาลอะไรต่าง ๆ
  • 8:25 - 8:27
    มันก็เลยดูไปแล้ว อ๊ะ โดนแสงต่าง ๆ
  • 8:27 - 8:30
    เอ๊ะ อาจจะเป็นสีขาว หรือเป็นสีเงินรึเปล่านะ
  • 8:30 - 8:32
    เหลือบสะท้อนแสงอะไรไปต่าง ๆ ค่ะ
  • 8:32 - 8:35
    ก็เลยทำให้เกิดการผมหงอกขึ้นนั่นเองนะคะ
  • 8:35 - 8:37
    ดังนั้นนะคะ การที่เซลล์ melanocyte
  • 8:37 - 8:40
    บริเวณรากผมเนี่ย ไม่ผลิตเม็ดสี
  • 8:40 - 8:43
    ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเนี่ยผมหงอกค่ะ
  • 8:43 - 8:45
    ทีนี้แน่นอนว่าทุกคนรู้นะคะว่าการผมหงอกเนี่ย
  • 8:45 - 8:48
    มันมักจะเกิดขึ้นกับคนที่สูงอายุใช่ไหมคะ
  • 8:48 - 8:50
    เพราะว่าอะไร เพราะว่าเขาสูงอายุแล้วไง
  • 8:50 - 8:52
    ดังนั้นเซลล์รากผมของเขาอะไรต่าง ๆ
  • 8:52 - 8:54
    มันก็ไม่ function เท่าสมัยที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ
  • 8:54 - 8:58
    ดังนั้นพอมันไม่สามารถผลิตเม็ดสีได้หรืออะไรต่าง ๆ
  • 8:58 - 9:01
    มันก็เลยทำให้เกิดผมหงอกขึ้นได้ง่ายนั่นเองค่ะ
  • 9:01 - 9:03
    เรียกได้ว่าร่างกายร่วงโรยว่าอย่างนั้นเถอะ
  • 9:03 - 9:05
    ไม่ใช่แค่กับคนสูงอายุนะคะ
  • 9:05 - 9:06
    แต่กับเด็กแรกเกิดเนี่ย
  • 9:06 - 9:10
    เด็กแรกเกิดบางคน ผมก็จะสีอ่อนกว่าตอนที่โตขึ้นมาเหมือนกัน
  • 9:10 - 9:13
    เราจะเห็นเด็กบางคนที่แบบ อุ๊ย ตอนเด็ก ๆ ผมสีอ่อนมากเลย
  • 9:13 - 9:15
    โตขึ้นมา อ้าว ผมเข้มขึ้นซะอย่างนั้น
  • 9:15 - 9:17
    เพราะว่าในตอนเด็ก ๆ เนี่ยบางที
  • 9:17 - 9:19
    กระบวนการผลิต melanin อะไรของเขา
  • 9:19 - 9:21
    ก็อาจจะยังไม่สมบูรณ์ขนาดนั้นเหมือนกันนะคะ
  • 9:21 - 9:23
    ดังนั้นสีผมเขาก็เลยอาจจะอ่อนกว่า
  • 9:23 - 9:25
    ตอนที่โตแล้ว ว่าอย่างนั้นเถอะค่ะ
  • 9:25 - 9:27
    แต่ต้องบอกว่าถึงเราจะบอกว่า
  • 9:27 - 9:31
    ความแก่เป็นสาเหตุหลักสาเหตุนึงเลยนะที่ทำให้คนผมหงอก
  • 9:31 - 9:33
    แต่จริง ๆ แล้วการที่คนเราผมหงอกเนี่ยนะคะ
  • 9:33 - 9:35
    ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสูงวัยอย่างเดียวนะคะ
  • 9:35 - 9:39
    มันยังมีปัจจัยต่าง ๆ อีกเยอะแยะมากมายเต็มไปหมดเลย
  • 9:39 - 9:42
    ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกนะคะ
  • 9:42 - 9:44
    ยกตัวอย่างปัจจัยภายในนะคะก็มีตั้งแต่
  • 9:44 - 9:46
    เป็นความผิดปกติตามพันธุกรรม
  • 9:46 - 9:47
    ฮอร์โมน อายุ
  • 9:47 - 9:51
    การกระจายตัวของสารต่าง ๆ ในร่างกาย อะไรอย่างนี้
  • 9:51 - 9:53
    หรือว่าปัจจัยภายนอกนะคะก็มีตั้งแต่
  • 9:53 - 9:57
    เจอมลพิษเยอะรึเปล่า สภาพภูมิอากาศเป็นยังไง
  • 9:57 - 10:00
    สารพิษเกิดอะไรขึ้น สัมผัสสารเคมีรึเปล่า
  • 10:00 - 10:03
    ซึ่งสุดท้ายทั้งหมดนี้มันก็จะไปส่งผลกระทบต่อ
  • 10:03 - 10:05
    melanin ในผมของเราเนี่ยนะคะ
  • 10:05 - 10:07
    ทำให้การผลิต melanin เนี่ยมันน้อยลง
  • 10:07 - 10:09
    ก็อาจจะทำให้คนเราผมสีอ่อนลงหรือว่า
  • 10:09 - 10:11
    ผมหงอกได้เช่นเดียวกันค่ะ
  • 10:11 - 10:14
    อย่างเคสวิวที่เคยเห็นมา ก็มีเพื่อนคนนึงเนี่ย
  • 10:14 - 10:15
    ถ้าจำไม่ผิดนะ สมัยเด็ก ๆ เนี่ย
  • 10:15 - 10:17
    เขาก็โดนต่อต่อยนะคะ
  • 10:17 - 10:20
    ต่อยที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ
  • 10:20 - 10:22
    มันไปโดนกระบวนการผลิต melanin ของเขาเนี่ย
  • 10:22 - 10:26
    ทำให้ผมของเขาเนี่ยมีบางส่วนที่หงอกไปซะอย่างนั้นเลย
  • 10:26 - 10:29
    ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกันทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สูงอายุหรืออะไรนะคะ
  • 10:29 - 10:30
    และแน่นอนนะคะ
  • 10:30 - 10:34
    อีกความเชื่อนึงที่เมื่อกี้วิวก็พูดไปแล้วตอนต้นนู่นเลยนะคะ
  • 10:34 - 10:36
    ก็คือเรื่องของความเครียดนั่นเอง
  • 10:37 - 10:40
    ทีนี้นี่คือสาเหตุที่วิวมาทำคลิปวิดีโอทั้งหมดเลยค่ะ
  • 10:40 - 10:42
    คือวิวเนี่ยเพิ่งไปเจอข้อมูลชุดนึงมาค่ะว่า
  • 10:42 - 10:45
    เออ สรุปแล้วความเครียดมันทำให้หัวหงอกจริงรึเปล่า
  • 10:45 - 10:47
    อยากรู้กันไหมว่าสรุปแล้วเวลาเราเครียด
  • 10:47 - 10:49
    เราบอก โอ๊ย เครียดหัวหงอกจังเลยเนี่ย
  • 10:49 - 10:50
    มันเป็นแค่ความเชื่อหรือว่า
  • 10:50 - 10:52
    มันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า
  • 10:52 - 10:53
    เออ มันเกิดขึ้นจริงนะทุกคน
  • 10:53 - 10:56
    เพราะว่าเวลาที่เราได้ยินว่า โอ๊ะ เครียดจนหัวหงอกเนี่ย
  • 10:56 - 10:57
    หลายครั้งมันเป็นคำบ่น
  • 10:57 - 10:59
    แล้วก็หลายครั้งเนี่ยมันเป็น
  • 10:59 - 11:01
    เรื่องราวที่เกิดขึ้นในตำนานหรือว่านิทาน
  • 11:01 - 11:04
    หรือว่าเป็นแบบเรื่องเล่าปากต่อปากนะคะ
  • 11:04 - 11:06
    เอาที่แบบว่าเด่น ๆ ที่เราคุ้นกันดีที่สุดเลย
  • 11:06 - 11:07
    ถ้าเป็นฝั่งเอเชียก็
  • 11:07 - 11:10
    คนที่แบบเครียดชั่วข้ามคืนอะ นึกออกป้ะ
  • 11:10 - 11:12
    แบบตื่นมาแล้วทุกอย่าง ชีวิตฉันพังหมดเลย
  • 11:12 - 11:15
    เครียด ๆ ๆ ๆ แค้น ๆ ๆ ๆ
  • 11:15 - 11:17
    สุดท้ายหัวหงอกทั้งหัว
  • 11:17 - 11:19
    ที่เราคุ้นกันดีที่สุดของฝั่งเอเชียก็คือ
  • 11:19 - 11:21
    นางพญาผมขาวนะคะ
  • 11:21 - 11:24
    อันนี้น่าจะได้ยินชื่อกันมาค่อนข้างคุ้นเคยเนอะ
  • 11:24 - 11:27
    ส่วนอีกคนนึงนะคะ ฝั่งตะวันตก ที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เลยว่า
  • 11:27 - 11:30
    เครียดจนผมขาวหงอกในคืนเดียวนะคะ ก็คือ
  • 11:30 - 11:32
    พระนาง Marie Antoinette นั่นเอง
  • 11:33 - 11:35
    พระราชินีของฝรั่งเศสน่ะนะ
  • 11:35 - 11:36
    ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส
  • 11:36 - 11:39
    เขาก็เชื่อกันว่าในคืนที่มีการปฏิวัติอะไรต่าง ๆ เนี่ย
  • 11:39 - 11:41
    พระนางเครียดมากนะคะแล้วก็
  • 11:41 - 11:44
    ตื่นเช้ามาก็คือผมขาว ผมหงอกทั้งหัวเลยนะคะ
  • 11:44 - 11:45
    ซึ่งเดี๋ยวถ้ามีโอกาสวันหลัง
  • 11:45 - 11:48
    เดี๋ยวเรามาคุยกันเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสอีกทีนะคะ
  • 11:48 - 11:50
    แต่อันนี้แค่อยากยกตัวอย่างเคสให้เห็นว่า
  • 11:50 - 11:52
    เออ พระนาง Marie Antoinette นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคนนะที่
  • 11:52 - 11:56
    เราเชื่อกันว่าตื่นเช้ามาแล้วแบบเครียด หัวขาวทั้งหัวเลยจ้า
  • 11:56 - 11:57
    ที่สำคัญนะคะ
  • 11:57 - 12:00
    พระนางเนี่ยโด่งดังในเรื่องนี้ถึงขนาดที่ว่า
  • 12:00 - 12:03
    มันมีการตั้งชื่อโรคเลยนะว่าใครที่ตื่นมาแล้วหัวขาวทั้งหัวเนี่ย
  • 12:03 - 12:06
    เราจะเรียกโรคนี้นะคะว่า Marie Antoinette Syndrome ค่ะ
  • 12:06 - 12:09
    ก็เป็นที่มาของชื่อโรคไปเลยซะอย่างนั้นนะคะ
  • 12:09 - 12:12
    ทีนี้ฟังไปขนาดนี้แล้วอยากรู้กันไหมคะว่า
  • 12:12 - 12:14
    เรื่องที่แบบว่าเอ๊ย เราเครียดแล้วผมหงอกเนี่ย
  • 12:14 - 12:18
    เราเครียดจนผมหงอกมันเป็นเรื่องราวที่แค่เป็นความเชื่อ
  • 12:18 - 12:21
    หรือว่ามันมีข้อพิสูจน์อะไรทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ นะคะ
  • 12:21 - 12:24
    ก็ต้องบอกว่าสารภาพเลย วิวเพิ่งจะไปเจอข้อมูลนี้ค่ะ
  • 12:24 - 12:26
    มาจากเพจ Facebook เพจนึงนะ ชื่อว่า
  • 12:26 - 12:28
    ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นะคะ
  • 12:28 - 12:31
    เพจนี้เขาเป็นเพจที่เผยแพร่ความรู้นะ
  • 12:31 - 12:33
    เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
  • 12:33 - 12:36
    การแพทย์ สาธารณสุข อะไรต่าง ๆ
  • 12:36 - 12:38
    แล้วเขาก็มีการให้บริการการแพทย์ด้วยนะ
  • 12:38 - 12:40
    ซึ่งเขาก็พยายามเอาข้อมูลเหล่านี้
  • 12:40 - 12:42
    มาทำให้อ่านง่ายแล้วก็เข้าใจง่าย
  • 12:42 - 12:44
    เข้าได้ถึงทุกเพศทุกวัยนะคะ
  • 12:44 - 12:46
    วิวก็ไปอ่านโพสนึงมาจากเพจนี้แหละ
  • 12:46 - 12:47
    แล้วก็รู้สึกว่าเออ น่าสนใจ
  • 12:47 - 12:50
    ก็เลยไปค้นต่อแล้วก็สรุปรวบยอดทุกสิ่งอย่างนะคะ
  • 12:50 - 12:53
    มาเล่าให้ทุกคนฟังในวันนี้นี่แหละว่าจริง ๆ แล้วอะ
  • 12:53 - 12:56
    ที่เราเข้าใจว่าเครียดแล้วผมหงอก เครียดแล้วผมหงอกเนี่ย
  • 12:56 - 12:58
    มันเป็นความเชื่อมาตลอดเลยทุกคน
  • 12:58 - 12:59
    คือมันแบบว่ายังไม่ได้รับ
  • 12:59 - 13:02
    การพิสูจน์อะไรขนาดนั้นทางวิทยาศาสตร์นะคะ
  • 13:02 - 13:04
    จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ค่ะ
  • 13:04 - 13:07
    นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะทำการทดลองแล้วเริ่มพิสูจน์ได้ว่า
  • 13:07 - 13:08
    เฮ้ย มันจริง
  • 13:08 - 13:11
    มันจริงนะทุกคนที่แบบว่าเราเครียดแล้วเราผมหงอกอะ
  • 13:11 - 13:12
    ถามว่าเขาเพิ่งค้นพบเมื่อไหร่ รู้ไหมคะ
  • 13:13 - 13:15
    เขาเพิ่งค้นพบเมื่อเดือนมกราคม ปีนี้นี่แหละ
  • 13:15 - 13:18
    ปีค.ศ. 2020 นี้นะคะ ก็ไม่นานเลยนะทุกคน
  • 13:18 - 13:20
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาว่า
  • 13:20 - 13:23
    ปีนี้ทั้งปีเราหายไปกับ COVID-19 กันนะคะ
  • 13:23 - 13:26
    แล้วถามว่าใครเป็นคนทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้นะคะ
  • 13:26 - 13:29
    ก็มี 2 กลุ่มด้วยกันค่ะ เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินะ
  • 13:30 - 13:32
    เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยด้วยกันค่ะ
  • 13:32 - 13:33
    มหาวิทยาลัยแรกก็คือ
  • 13:33 - 13:36
    มหาวิทยาลัยเซาเปาโลของบราซิลนะคะ
  • 13:36 - 13:37
    ส่วนมหาวิทยาลัยที่สองนี่ก็คือ
  • 13:37 - 13:40
    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐอเมริกาค่ะ
  • 13:40 - 13:42
    พอเขาทำงานวิจัยอะไรอย่างนี้เสร็จเรียบร้อยนะคะ
  • 13:42 - 13:45
    เขาก็เพิ่งจะตีพิมพ์ออกมาเมื่อเดือนมกราคมนี่แหละ
  • 13:45 - 13:47
    ตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมานะว่า
  • 13:47 - 13:49
    เฮ้ย คอนเฟิร์ม ความเครียดเนี่ยทำให้ผมหงอกจริง ๆ
  • 13:50 - 13:51
    แล้วถามว่าอยากรู้ไหมคะว่า
  • 13:51 - 13:53
    ทำไมเวลาที่เราเครียดแล้วเนี่ย ผมมันถึงหงอก
  • 13:53 - 13:56
    เวลาเครียดเนี่ยเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรานะคะ
  • 13:56 - 13:58
    ต้องบอกว่ามันเกิดขึ้นหลายอย่างเลย
  • 13:58 - 14:01
    แล้วก็อาจจะมีอะไรบางอย่างไปส่งผลกระทบต่อผมนะคะ
  • 14:01 - 14:02
    ทำให้มันหงอกได้ค่ะ
  • 14:02 - 14:05
    ซึ่งหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์เขามีการทดลองเนี่ยนะคะ
  • 14:05 - 14:09
    เขาก็ตีพิมพ์ผลงานออกมาได้เป็น 2 แบบด้วยกันค่ะ
  • 14:09 - 14:12
    โดยการที่เขาเอาหนูเนี่ยนะคะมาเป็นหนูทดลอง
  • 14:12 - 14:13
    ที่มีสีขนสีดำอะนะ
  • 14:13 - 14:17
    แล้วก็จัดการเอาไฟฟ้าเนี่ยนะคะ ชอต ๆ ๆ ๆ ชอตหนูค่ะ
  • 14:17 - 14:19
    ทำให้มันเครียดนะคะ
  • 14:19 - 14:21
    พอมันเครียดเนี่ย มันก็จะมีปฏิกิริยาร่างกายออกมา
  • 14:21 - 14:22
    แล้วเขาก็พบว่า
  • 14:22 - 14:25
    หลังจากที่มันเครียดอยู่ระยะเวลานึงเนี่ย
  • 14:25 - 14:27
    ขนของมันเนี่ยนะคะก็หงอกจริง ๆ ค่ะ
  • 14:27 - 14:29
    คือมันไม่กลับมาขนดำอีกเลยนะ
  • 14:29 - 14:31
    ดังนั้นเขาก็เลยตีความว่า
  • 14:31 - 14:32
    โอเค เอาแล้วละ
  • 14:32 - 14:34
    ความเครียดเนี่ยมันทำให้ขนหงอกจริง ๆ ด้วย
  • 14:34 - 14:35
    หรือว่าผมหงอกจริง ๆ ด้วย
  • 14:35 - 14:37
    แต่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับหนูนะคะ
  • 14:37 - 14:40
    เขาก็ตีความกันออกมาได้เป็น 2 ทางด้วยกันค่ะ
  • 14:40 - 14:41
    คือทางแรกเนี่ยนะคะ เขาบอกว่า
  • 14:41 - 14:43
    เวลาที่หนูมันเครียดเนี่ยนะคะ
  • 14:43 - 14:46
    มันจะมีการผลิตโปรตีนออกมาตัวนึงค่ะ ชื่อว่า CDK นะคะ
  • 14:46 - 14:49
    ซึ่งโปรตีนตัวนี้มันไปทำลายสเตมเซลล์ค่ะ
  • 14:49 - 14:53
    ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเม็ดสี melanin นะคะ
  • 14:53 - 14:55
    คือเหมือนกับว่าไปทำให้สเตมเซลล์ตัวนี้
  • 14:55 - 14:57
    ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีเนี่ย มันตายบึ้มไปเลย
  • 14:57 - 14:59
    พอเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีมันตาย
  • 14:59 - 15:00
    เม็ดสีก็ไม่เกิดขึ้น
  • 15:00 - 15:03
    ก็เลยทำให้ผมของเราเนี่ยไม่มีสี หรือว่า
  • 15:03 - 15:05
    เกิดการผมหงอกขึ้นนั่นเองนะคะ
  • 15:05 - 15:07
    ส่วนอีกทฤษฎีนึงเนี่ยเขาบอกว่า
  • 15:07 - 15:09
    ในร่างกายของคนเราหรือว่าในร่างกายของหนูเนี่ยนะคะ
  • 15:09 - 15:11
    มันมีระบบประสาทอยู่ระบบนึงค่ะ
  • 15:11 - 15:14
    ซึ่งระบบประสาทนี้เมื่อเกิดการเครียดขึ้นมานะคะ
  • 15:14 - 15:17
    มันจะตอบสนองเหมือนกับการเอาชีวิตรอด
  • 15:17 - 15:20
    คือไม่ว่าเราจะกลัว จะเครียด จะโดนโจมตีอะไรต่าง ๆ นะ
  • 15:20 - 15:23
    จะเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า สู้หรือว่าหนี
  • 15:23 - 15:24
    คือสมองเราจะประมวลละ
  • 15:24 - 15:25
    เฮ้ย เราจะสู้หรือเราจะหนีดี
  • 15:25 - 15:28
    ซึ่งระหว่างที่แบบจะสู้จะหนี จะสู้จะหนีเนี่ย
  • 15:28 - 15:30
    มันก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาอยู่ตัวนึงค่ะ
  • 15:30 - 15:31
    ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้
  • 15:31 - 15:33
    มันจะไปทำปฏิกิริยาโดยตรงนะคะ
  • 15:33 - 15:36
    กับเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเม็ดสีค่ะ
  • 15:36 - 15:37
    แต่มันไม่เหมือนอันแรก
  • 15:37 - 15:39
    อันแรกนี่คือไปยับยั้งไม่ให้ผลิตเม็ดสีใช่ไหม
  • 15:39 - 15:41
    อันนี้ ฮอร์โมนตัวนี้เนี่ยนะคะ
  • 15:41 - 15:44
    มันจะมีหน้าที่เข้าไปกระตุ้นเซลล์ผลิตเม็ดสีค่ะ
  • 15:44 - 15:47
    แล้วมันทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีออกมาเยอะมาก
  • 15:48 - 15:50
    ออกมาเยอะเกินเหตุนะคะ
  • 15:50 - 15:52
    จนในที่สุดเหมือนมันผลิตจนมันหมดแมกซ์อะ
  • 15:52 - 15:54
    แล้วมันก็สูญเสียการผลิตเม็ดสี
  • 15:54 - 15:56
    แบบผลิตไม่ได้อีกต่อไปเลยนะคะ
  • 15:56 - 15:58
    ก็เลยทำให้หนูที่โดนกระตุ้นเนี่ย
  • 15:58 - 16:00
    ขนหงอกซะอย่างนั้นเลย
  • 16:00 - 16:03
    แล้วก็ไม่สามารถกลับมาขนดำได้เหมือนเดิมอีกต่อไปนะคะ
  • 16:03 - 16:05
    อย่างไรก็ตามนะคะ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ค่ะ
  • 16:05 - 16:08
    ว่าสรุปแล้วโปรตีนตัวแรกหรือสารตัวที่สองเนี่ย
  • 16:08 - 16:11
    คือตัวที่ทำให้เราผมหงอกเวลาที่เครียดนะคะ
  • 16:11 - 16:14
    แต่เขาก็มีความพยายามที่จะทดลองต่อนะ เช่น
  • 16:14 - 16:19
    เอ๊ะ โปรตีนตัว CDK เนี่ยมันเป็นโปรตีนที่ทำให้หนูขนหงอก
  • 16:19 - 16:22
    ดังนั้นลองให้ยาที่ยับยั้งโปรตีนตัวนี้ไหม
  • 16:22 - 16:24
    อะ พอให้ไป อุ๊ย หนูขนไม่หงอก
  • 16:24 - 16:26
    อะ น่าสนใจ เดี๋ยวเราไปทดลองต่อดีกว่า
  • 16:26 - 16:29
    เผื่อจะมีโอกาสเอามาใช้กับคนในอนาคตนะคะ
  • 16:29 - 16:30
    ดังนั้นสำหรับใครที่กลัวว่า
  • 16:30 - 16:33
    ในอนาคตฉันจะเครียดแล้วผมฉันจะหงอกเนี่ย
  • 16:33 - 16:34
    ก็อดใจรอนิดนึง
  • 16:34 - 16:36
    คิดว่านักวิทยาศาสตร์เขาน่าจะกำลัง
  • 16:36 - 16:38
    ค้นคว้าหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ อยู่
  • 16:38 - 16:40
    เพื่อที่จะผลิตผลิตภัณฑ์อะไรบางอย่างออกมา
  • 16:40 - 16:42
    เพื่อที่จะยับยั้งผมหงอกนะคะ
  • 16:42 - 16:45
    ดังนั้นตอนนี้ก็ทำใจตัวเองให้สบาย ๆ
  • 16:45 - 16:46
    อย่าเพิ่งเครียดไปก่อนเพราะว่า
  • 16:46 - 16:48
    เครียดตอนนี้ยังไม่มีทางแก้นะคะ
  • 16:48 - 16:49
    ผมหงอกแน่นอนนะคะทุกคน
  • 16:49 - 16:52
    ซึ่งหลายคนก็บอกว่าจริง ๆ ชีวิตก็ไม่ได้เครียดอะไรนะ
  • 16:52 - 16:53
    มาเครียดตอนฟังวิดีโอนี้นี่แหละ
  • 16:53 - 16:56
    โอ้โห ตอบอะไรวิทยาศาสตร์จ๋าขนาดนี้นะคะ
  • 16:56 - 16:58
    อย่างไรก็ตามค่ะ สิ่งที่วิวอยากจะบอกทุกคนก็คือ
  • 16:58 - 17:00
    การที่คนเราผมหงอกเนี่ย
  • 17:00 - 17:02
    โอเค มันก็เป็นเรื่องของความสวยความงาม
  • 17:02 - 17:04
    ไม่ได้มีความอันตรายอะไรขนาดนั้น
  • 17:04 - 17:06
    แต่ว่าสำหรับคนที่ไม่อยากจะผมหงอกนะคะ
  • 17:06 - 17:08
    จริง ๆ แล้วการผมหงอกเนี่ยมันมี
  • 17:08 - 17:11
    ปัจจัยเยอะมากเต็มไปหมดเลยนะ
  • 17:11 - 17:12
    ไม่ว่าจะเป็นความแก่ชรา
  • 17:12 - 17:14
    ไม่ว่าจะเป็นความเครียด
  • 17:14 - 17:16
    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกเพียบ
  • 17:16 - 17:20
    ไม่ว่าจะเป็นการขาดวิตามิน B12 ขาดโปรตีน
  • 17:20 - 17:22
    เกิดจากการสูบบุหรี่
  • 17:22 - 17:23
    เกิดจากธาตุทองแดงมากไป
  • 17:23 - 17:24
    เกิดจากธาตุเหล็ก
  • 17:24 - 17:27
    เกิดจากฮอร์โมน เกิดจากอะไรต่าง ๆ อีกเพียบเลยนะคะ
  • 17:27 - 17:30
    ดังนั้นนะคะถ้าสมมติว่าใครไม่อยากผมหงอกก่อนวัยอันควรนะ
  • 17:30 - 17:33
    สิ่งที่เราทำได้ก็คือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นะคะ
  • 17:33 - 17:36
    โดยเฉพาะอาหารที่มี Omega 3 สูง ๆ
  • 17:36 - 17:39
    เช่น วอลนัทนะคะ หรือว่าปลาในกลุ่ม fatty fish
  • 17:39 - 17:40
    ซึ่งปลาในกลุ่ม fatty fish นี่ก็เช่น
  • 17:40 - 17:43
    ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ประมาณนี้นะ
  • 17:43 - 17:46
    นอกจากนี้ก็สามารถรับประทานวิตามิน B12
  • 17:46 - 17:47
    กับวิตามิน B6 เพิ่มเติม
  • 17:47 - 17:49
    รวมถึงหลีกเลี่ยงพวกกิจกรรมกลางแจ้ง
  • 17:49 - 17:51
    ที่ต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
  • 17:51 - 17:53
    เพราะว่าแสงแดดนี่บางทีรังสีมันก็
  • 17:53 - 17:55
    ไปทำลายเซลล์รากผมอะไรต่าง ๆ ได้นะคะ
  • 17:55 - 17:58
    ทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัยอันควรได้เช่นกันค่ะ
  • 17:58 - 18:01
    สำหรับวันนี้นะคะ วิวคิดว่าข้อมูลเราแน่นพอสมควรแล้วค่ะ
  • 18:01 - 18:02
    ควรจะพอแค่นี้ก่อนเนอะ
  • 18:02 - 18:04
    เราก็สลับกันไป
  • 18:04 - 18:06
    คลิปบางคลิปก็จะข้อมูลแน่นนิดนึง
  • 18:06 - 18:07
    บางคลิปก็จะมาทางวิทยาศาสตร์
  • 18:07 - 18:09
    บางคลิปก็จะไปทางเรื่องเล่าอะไรต่าง ๆ
  • 18:09 - 18:11
    ก็เอาเป็นว่าผสม ๆ กันไปนะคะ
  • 18:11 - 18:13
    สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษ
  • 18:13 - 18:15
    อยากให้วิวไปหาข้อมูลเรื่องอะไรมาเล่า
  • 18:15 - 18:17
    ก็สามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนะคะ
  • 18:17 - 18:20
    และที่สำคัญนะคะ วิวค่อนข้างจะเชื่อมั่นในกลุ่มคนดูของวิวค่ะ
  • 18:20 - 18:23
    ถ้าสมมติว่าใครเป็นนักวิทยาศาสตร์ ใครเป็นแพทย์
  • 18:23 - 18:25
    หรือว่ามีความรู้เรื่องนี้ดีกว่าวิวเนี่ย
  • 18:25 - 18:27
    อย่าลืมพิมพ์มาอธิบายด้านล่างนะคะ
  • 18:27 - 18:30
    อันนี้ก็เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นที่วิวไปหาข้อมูลมาเนอะ
  • 18:30 - 18:32
    ดังนั้นอย่าลืมมาแชร์กันค่ะ
  • 18:32 - 18:33
    สำหรับวันนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะ
  • 18:33 - 18:35
    อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
  • 18:35 - 18:37
    กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ
  • 18:37 - 18:39
    แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน
  • 18:39 - 18:40
    บ๊ายบาย
  • 18:40 - 18:41
    สวัสดีค่ะ
  • 18:41 - 18:42
    สารภาพตามตรงนะทุกคน
  • 18:42 - 18:44
    คลิปนี้ตอนแรกไม่ได้คิดจะทำเลย
  • 18:44 - 18:46
    นี่คือข้อมูลที่ไปหามาแล้วก็
  • 18:46 - 18:47
    ตั้งใจจะอยากรู้เองไง
  • 18:47 - 18:49
    แต่ว่าพอหามาแล้วมันเริ่มลึก
  • 18:49 - 18:51
    พอมันเริ่มลึกแล้วมันก็รู้สึกว่าเอ๊ะ
  • 18:51 - 18:53
    หรือคนอื่นเขาจะอยากรู้เหมือนเราไหมนะ
  • 18:53 - 18:55
    ก็เลยคิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ เอามาทำเป็นคลิปวิดีโอละกัน
  • 18:55 - 18:58
    เอาเป็นว่าชอบไม่ชอบยังไงอย่าลืมบอกกันนะคะ
  • 18:58 - 18:59
    วันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน
  • 18:59 - 19:00
    บ๊ายบาย
  • 19:00 - 19:01
    สวัสดีค่ะ
Title:
ทำไมคนเราถึงผมหงอก? | Point of View x ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
Description:

more » « less
Duration:
19:02

Thai subtitles

Revisions