ทำไมคนเราต้องมีผมหงอกด้วย
สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
บอกก่อนนะคะ ก่อนที่หลาย ๆ คนจะเข้าใจว่า
วิวได้รับ inspiration ชื่อคลิปนี้มาจากหัวตัวเอง
ต้องบอกว่าไม่ใช่นะคะ วิวไม่ได้มีผมหงอกแต่อย่างใดค่ะ
แต่ว่าวิวเนี่ยนะคะ เห็นหลาย ๆ คนชอบบ่นกันว่า
โอ๊ย ตายแล้ว ช่วงนี้เครียดจังเลย ผมหงอกแล้ว
หรือว่ารู้สึกว่ากลัวตัวเอง
อุ๊ยตายแล้ว ฉันเริ่มผมหงอกแล้ว
ฉันแก่รึยัง อะไรยังไงนะคะ
ดังนั้นวันนี้ค่ะ วิวก็เลยไปหาข้อมูล
เกี่ยวข้องกับเรื่องผมหงอกเนี่ย
มาเพื่อจะมาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ
แต่ไม่ต้องกลัวนะคะ
สำหรับหลายคนที่ติดตามช่องเรามาเนิ่นนานเนี่ย
เปิดคลิปแบบนี้ อู้หู มันจะต้องขายแชมพู
ขายยาโกรกผม ขายอะไรแน่ ๆ
ไม่ใช่ค่ะ วันนี้วิวแค่ไปหาข้อมูล
แล้วก็จะเอามาเล่าให้ทุกคนฟังนะคะ
ดังนั้นเราไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงอะไรดีกว่าค่ะ
เพราะว่าคลิปวันนี้เนื้อหาจะค่อนข้างเข้มข้นนะคะ
ดังนั้นพร้อมที่จะไปฟังเรื่องราวที่ทั้ง
สนุกแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ
ถ้าพร้อมกันแล้วก็ไปฟังกันเลยค่ะ
เมื่อพูดถึงเรื่องผมหงอกเนี่ย
แน่นอนอย่างที่วิวพูดไปตอนต้นเลยนะคะ
หลายคนคิดว่าการผมหงอกเนี่ย
เป็นสัญลักษณ์ของความแก่เฒ่าใช่ไหมคะ
ประมาณว่า อุ๊ยตายแล้ว
การที่เราผมเริ่มหงอกแล้วเนี่ย
แปลว่าเราแก่ อะไรต่าง ๆ นะคะ
แต่จริง ๆ วิวขอบอกเลยค่ะว่าไม่ใช่นะคะ
ที่จริงแล้วสาเหตุที่ทำให้คนเรามีผมหงอก
มีมากกว่า 1 สาเหตุค่ะ
มีสาเหตุอะไรต่าง ๆ มากกว่าความแก่เยอะเลยนะคะ
ดังนั้นเราไปฟังเหตุผลกันดีกว่า
บอกเลยว่าวันนี้ไม่ได้มาเล่าเป็นนิทานอะไรนะคะ
อันนี้มาเป็นวิทยาศาสตร์แบบจริง ๆ เลยนะ
ก่อนที่เราจะไปฟังกันนะคะว่าผมหงอกเกิดขึ้นจากอะไรเนี่ย
เราต้องมาฟังกันก่อนค่ะว่า
ผมของคนเราเนี่ยนะ เกิดจากอะไร
ต้องบอกว่าอันนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจตรงกันนะคะว่า
ผมกับขนเนี่ยคือสิ่งเดียวกันแต่ว่า
ผมเนี่ยอาจจะเป็นขนที่อยู่ในบริเวณที่มันงอกเร็วกว่า
งอกยาวกว่าอะไรต่าง ๆ นะ
ดังนั้นถ้าคลิปนี้วิวพูดคำว่าผมกับขนสลับกันไปสลับกันมา
ขอให้เข้าใจว่ามันถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันนะคะ
เอาละ เรามาดูที่วัฏจักรการเกิดผมของคนเราก่อนดีกว่า
ก็วัฏจักรเดียวกับวัฏจักรการเกิดขนนั่นแหละ
ถามว่าวัฏจักรการเกิดผมของคนเราเนี่ยนะคะ
แบ่งเป็นกี่ขั้นตอน
มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
กว่าผมของเราจะงอกขึ้นมายาวขนาดนี้นะคะ
ต้องบอกว่ามันแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ระยะด้วยกันค่ะ
เอาชื่อแบบฟังยาก ๆ ก่อนนะ มันแบ่งเป็น 3 ระยะก็คือ
Anagen, Catagen แล้วก็ Telogen ค่ะ
เอาเป็นว่าเราช่างชื่อมันไปแล้วกันนะคะ
หลายคนฟังชื่อแล้วอาจจะงง
เรามาฟังเป็นระยะที่ 1 ระยะที่ 2 แล้วก็ระยะที่ 3 กันดีกว่าค่ะ
ระยะที่ 1 นะคะคือระยะที่ผมของคนเราเนี่ยยังงอกอยู่นะคะ
ก็ยังเป็นช่วงที่ผมเนี่ยงอก ๆ ๆ ๆ ออกมา
ส่วนระยะที่ 2 นะคะจะเป็นช่วงเวลาที่
ผมของคนเราเนี่ยงอกจนสุดละ
ไม่งอกเพิ่มอะไรอีกแล้วนะคะ
ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ผมสิ้นสุดการเจริญเติบโตละ
รอเวลาที่เส้นผมเนี่ยนะคะจะค่อย ๆ หลุดร่วงลงจากหัวค่ะ
และระยะที่ 3 นะคะก็คือระยะที่ไม่มีผมนะคะ
เป็นระยะที่ผิวหนังของคนเราเนี่ย
รอเวลาที่จะดันผมเส้นใหม่ออกมา
ซึ่งเมื่อดันผมเส้นใหม่ออกมาก็จะกลับไปสู่
ระยะที่ 1 อีกรอบค่ะ
อะ อันนี้คือ concept แบบง่าย ๆ ก่อนนะ
ทีนี้เรามาเจาะลึกทีละระยะกันนะคะ
ระยะที่ 1 เนี่ยนะคะ ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง
กว่าที่เส้นผมของคนเราเนี่ยจะงอกแทงทะลุผิวหนังขึ้นมานะคะ
ก็ต้องบอกว่าผิวหนังของคนเราเนี่ยมันมีหลายชั้นใช่ไหม
เหมือนที่วิวเคยอธิบายไปในคลิปว่าทำไมคนเราถึงผิวดำเนอะ
ซึ่งในชั้นนึงของผิวหนังของเราเนี่ยนะคะ ที่ชื่อว่า demis
มันจะมีต่อมที่เรียกว่าต่อมขนอยู่ค่ะ
ต่อมขนเนี่ยคือต่อมที่เป็นตัวผลิตเส้นขนต่าง ๆ นะคะ
แล้วก็ดันให้เส้นผมหรือว่าเส้นขนเนี่ย
งอกออกมาจากต่อม ๆ นี้ค่ะ
ถามว่าต่อมนี้มันมีลักษณะเป็นยังไง
มันมีลักษณะเป็นกระเปาะนะคะ
เราน่าจะคุ้นเคยกับภาพนี้กันดีเวลาที่เราดูพวก
โฆษณาการกำจัดผม กำจัดขนอะไรต่าง ๆ นะ
ซึ่งในกระเปาะนี้มันก็จะเป็นกระเปาะที่
เชื่อมต่อกับเส้นเลือดอะไรต่าง ๆ นะคะ
ก็จะมีเส้นเลือดไปเลี้ยง มีอะไรไปเลี้ยง
ทีนี้มาพอมันเลี้ยงออกมา ต่อมนี้ก็จะผลิตขน ผลิตผมนะคะ
แล้วก็ค่อย ๆ ดันตัวออกมาเนี่ย
ตัวที่ผลิตใหม่ก็จะดันตัวเก่าเนี่ย
ให้ทะลุออกมาจากผิวหนังใช่ไหม
ส่วนพวกที่ผลิตใหม่มาต่อก็ดัน ๆ กันออกมา
ก็เลยกลายเป็นเส้นผมหรือเส้นขนที่ยาวขึ้น
ยาวขึ้น ยาวขึ้นเรื่อย ๆ นี่ล่ะค่ะ
ส่วนระยะที่ 2 เนี่ยนะคะก็คือระยะที่ต่อมขนเนี่ย
มันจะดันตัวเองให้สูงขึ้นค่ะ
ก็คือขึ้นมาใกล้ ๆ บริเวณผิวหนังด้านนอกมากขึ้นใช่ไหม
ผลจากสิ่งนี้ทำให้เกิดอะไรขึ้น รู้ไหมคะ
ผลจากสิ่งนี้จะทำให้ต่อมขนของคนเราเนี่ยนะ
แตะกับเส้นเลือดน้อยลงค่ะ
พอมันไม่มีเลือดไปเลี้ยงอะไรต่าง ๆ
เส้นผมก็เลยหยุดผลิตนะคะ
การเจริญงอกงาม เจริญเติบโตของเส้นผมหรือเส้นขนเนี่ย
มันก็จะหยุดค่ะ แล้วก็รอเวลาที่
มันจะสิ้นสุดอายุขัยแล้วก็ร่วงหล่นออกไปนะคะ
ส่วนระยะที่ 3 ก็คือระยะที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นน่ะนะ
ก็คือเส้นผมหลุดไปแล้วจ้า
รอเวลาที่มันจะกลับไปที่ระยะที่ 1 อีกนะคะ
ทีนี้ถามว่าเรื่องราวของสีผมที่เราจะพูดถึงเนี่ย
มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาไหน
แน่นอนว่าตอนที่เส้นผมมันงอกออกมาแล้ว
แล้วมันสิ้นสุดการเติบโตแล้วเนี่ย
มันก็ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะมาพูดถึงเรื่องสีผมกันใช่ไหมคะ
เช่นเดียวกับระยะเวลาที่เราไม่มีผมนะคะ
เราก็คงไม่พูดถึงสีผมกัน
ดังนั้นเวลาที่เราจะพูดถึงสีผมกันเนี่ย
มันจะอยู่ในระยะที่ 1
หรือว่าระยะ anagen นั่นเองนะคะ
ในระยะนี้จะเป็นระยะที่มีการผลิตสีผมอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาค่ะ
แล้วถามว่าสีผมของคนเราเนี่ย
สีดำ สีน้ำตาล สีทองเนี่ย
มันเกิดขึ้นจากอะไรรู้ไหมคะ
มันเกิดขึ้นจากเซลล์ชนิดนึงค่ะ
ที่เราคุ้นเคยชื่อกันดีแน่นอน
แต่ว่าหลาย ๆ คนไม่เคยได้ยินมันในเรื่องราวของสีผมค่ะ
เราจะไปได้ยินในเรื่องราวของสีผิวมากกว่านะคะ
เพราะว่ามันคือสิ่งเดียวกันเลยนะคะ นั่นก็คือ
melanin นั่นเองค่ะ
อ้าว ชื่อนี้กลับมาอีกแล้วนะคะ
melanin ที่ทำให้คนเรามีสีผิวแตกต่างกันไปต่าง ๆ น่ะนะ
มันก็อยู่ในเส้นผมเช่นเดียวกันค่ะ
คือต้องบอกก่อนนะคะว่าดูภาพนี้ก่อน
เส้นผมของคนเราเนี่ยมันไม่ใช่แค่เป็นเส้น ๆ อย่างนี้นะ
ถ้าสมมติว่าเราซูมมันเข้าไปนะคะ เอากล้องส่องอะไรต่าง ๆ
เราจะเห็นเส้นผมของคนเราเนี่ยเป็นภาพแบบนี้นะคะ
คือเป็นเหมือนท่อขึ้นมาท่อนึงค่ะ
ส่วนตรงกลางเนี่ยเราจะเรียกว่า medulla นะคะ
แล้วก็ส่วนนอกสุดเนี่ยเราจะเรียกว่า cuticle นะคะ
แต่ว่าส่วนที่เรากำลังจะพูดถึงเนี่ย
ก็คือส่วนที่อยู่ระหว่างในสุดกับนอกสุดนะ
ที่เราจะเรียกว่าส่วน cortex ค่ะ
ซึ่งสีผมเนี่ยมันจะไปอยู่ในส่วน cortex นี่แหละ
คือเวลาที่เส้นผมของคนเราเนี่ยงอกขึ้นมานะคะ
บริเวณรากผมเนี่ย
มันจะมีเซลล์ชนิดนึงค่ะ ชื่อว่า melanocyte
ทำหน้าที่ผลิต melanin นั่นเองใช่ไหมคะ ก็คือสีผม
เอาเป็นว่าถ้าฟังแล้วงงนะ
เข้าใจง่าย ๆ เลยคือเส้นผมของคนเรามี 3 ชั้น
ชั้นใน ชั้นกลาง ชั้นนอก
ตรงบริเวณรากผม
มีเซลล์ชนิดนึงผลิตเม็ดสี melanin ขึ้นมา
และเม็ดสี melanin นี้นะคะ
มันจะไปอยู่ในชั้น cortex หรือว่าชั้นกลางของผมนั่นเองนะ
ซึ่งทำให้เส้นผมของคนเราเนี่ยมีสีที่แตกต่างกันไปค่ะ
คำว่าสีที่แตกต่างไม่ใช่ว่า
อุ๊ย ฉันจะผลิตเซลล์ melanin สีน้ำตาล
ฉันผลิตสีทอง ฉันผลิตสีแดง ฉันผลิตสีดำ
แล้วเส้นผมมันจะแตกต่างกันนะคะ
ต้องบอกว่าคนเราเวลาที่จะเห็นสีออกมาแบบนี้
มันเกิดจากการที่ผลิตเม็ดสี melanin หลาย ๆ สีขึ้นมาค่ะ
แล้วก็มีการผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
ผมสีเข้มเนี่ยมันอาจจะเม็ดสีอยู่ใกล้กันนิดนึง
ผมสีอ่อนอาจจะเม็ดสีอยู่ห่างกันนิดนึง
ซึ่งเม็ดสี melanin เนี่ยนะคะมันก็มีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกันอีก
อันนี้ศัพท์เริ่มเยอะแล้วนะ
มันคือเรียกว่า eumelanin กับ pheomelanin นะคะ
ก็คือเม็ดสีสีเช้มกับเม็ดสีสีอ่อนนั่นแหละ
แต่เอาเป็นว่าช่างมันไม่ต้องสนใจศัพท์นะ
เข้าใจง่าย ๆ ก็คือมันมีเม็ดสีสีเข้มกับเม็ดสีสีอ่อน
แล้วมันก็จะเป็นการแบบว่าผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
ตามพันธุกรรมนะคะ
เพื่อที่จะกำหนดออกมาว่า
โอ๊ะ สีผมคนนี้ เราใส่สีเข้มเยอะหน่อย
เราใส่สีอ่อนน้อยหน่อย ผมก็จะออกมาเข้ม
อะ เราใส่สีเข้มน้อยหน่อย ใส่สีอ่อนเยอะหน่อย
ผมก็จะออกมาเป็นสีอ่อนนะคะ
ดังนั้น combination ทั้งหมดนี้นี่แหละค่ะที่ทำให้
เกิดสีผมของคนเราที่แตกต่างกันออกไปอะนะ
แล้วถามว่าเฉดสีผมสีไหนที่เราเจอมากที่สุดในโลก รู้ไหมคะ
สีนั้นก็คือ สีดำนั่นเองค่ะ ที่พบในคนเอเชียเนอะ
ส่วนรองลงมาก็จะเป็นสีน้ำตาลนะคะ ที่พบในคนยุโรปค่ะ
แล้วถามว่าทำไมวิวถึงใช้คำว่าเฉดสีดำ ไม่ใช้คำว่าสีดำ
เพราะว่าแต่ละคนมันก็จะมี melanin อะไรไปผสมของมันเอง
ดังนั้นแม้ว่าจะบอกว่าผมดำเหมือนกัน
แต่ดำแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วยนะคะ
บางคนก็ดำออกดำน้ำตาล
บางคนมีดำน้ำเงิน ก็มีเหมือนกันนะคะ
ดังนั้นนี่คือเฉดสีผมที่แตกต่างกันไปที่เกิดจาก
เม็ดสี melanin ที่มันผสมปนเปอะไรกันต่าง ๆ
ทีนี้เรารู้แล้วว่าสีผมปกติเกิดจากอะไร
เราก็น่าจะพอเดากันได้ใช่ไหมคะว่า
อ๊ะ ผมขาวเกิดจากอะไร
หลายคนนี่ก็เดาว่า อ๋อ ผมขาวเนี่ยแปลว่า
เซลล์ melanocyte ที่อยู่ที่รากผมผลิตเม็ดสีสีขาวออกมาใช่ไหม
ผมก็เลยกลายเป็นสีขาว
ต้องบอกว่าความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ
เพราะว่าการที่ผมหงอกหรือผมขาวเนี่ยนะคะ
มันไม่ได้เกิดจากการผลิตเม็ดสีสีขาวค่ะ
แต่มันเกิดจากการที่เซลล์ melanocyte
บริเวณที่รากผมเนี่ยนะคะ
ไม่ผลิตเม็ดสีค่ะ
พอไม่ผลิตเม็ดสีเนี่ย ผมมันก็เลยเป็นแบบใส ๆ ค่ะ
ไม่มีสีอยู่ตรงกลาง
พอมันมาอยู่ท่ามกลางสีดำ ท่ามกลางสีน้ำตาลอะไรต่าง ๆ
มันก็เลยดูไปแล้ว อ๊ะ โดนแสงต่าง ๆ
เอ๊ะ อาจจะเป็นสีขาว หรือเป็นสีเงินรึเปล่านะ
เหลือบสะท้อนแสงอะไรไปต่าง ๆ ค่ะ
ก็เลยทำให้เกิดการผมหงอกขึ้นนั่นเองนะคะ
ดังนั้นนะคะ การที่เซลล์ melanocyte
บริเวณรากผมเนี่ย ไม่ผลิตเม็ดสี
ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเนี่ยผมหงอกค่ะ
ทีนี้แน่นอนว่าทุกคนรู้นะคะว่าการผมหงอกเนี่ย
มันมักจะเกิดขึ้นกับคนที่สูงอายุใช่ไหมคะ
เพราะว่าอะไร เพราะว่าเขาสูงอายุแล้วไง
ดังนั้นเซลล์รากผมของเขาอะไรต่าง ๆ
มันก็ไม่ function เท่าสมัยที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ
ดังนั้นพอมันไม่สามารถผลิตเม็ดสีได้หรืออะไรต่าง ๆ
มันก็เลยทำให้เกิดผมหงอกขึ้นได้ง่ายนั่นเองค่ะ
เรียกได้ว่าร่างกายร่วงโรยว่าอย่างนั้นเถอะ
ไม่ใช่แค่กับคนสูงอายุนะคะ
แต่กับเด็กแรกเกิดเนี่ย
เด็กแรกเกิดบางคน ผมก็จะสีอ่อนกว่าตอนที่โตขึ้นมาเหมือนกัน
เราจะเห็นเด็กบางคนที่แบบ อุ๊ย ตอนเด็ก ๆ ผมสีอ่อนมากเลย
โตขึ้นมา อ้าว ผมเข้มขึ้นซะอย่างนั้น
เพราะว่าในตอนเด็ก ๆ เนี่ยบางที
กระบวนการผลิต melanin อะไรของเขา
ก็อาจจะยังไม่สมบูรณ์ขนาดนั้นเหมือนกันนะคะ
ดังนั้นสีผมเขาก็เลยอาจจะอ่อนกว่า
ตอนที่โตแล้ว ว่าอย่างนั้นเถอะค่ะ
แต่ต้องบอกว่าถึงเราจะบอกว่า
ความแก่เป็นสาเหตุหลักสาเหตุนึงเลยนะที่ทำให้คนผมหงอก
แต่จริง ๆ แล้วการที่คนเราผมหงอกเนี่ยนะคะ
ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสูงวัยอย่างเดียวนะคะ
มันยังมีปัจจัยต่าง ๆ อีกเยอะแยะมากมายเต็มไปหมดเลย
ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกนะคะ
ยกตัวอย่างปัจจัยภายในนะคะก็มีตั้งแต่
เป็นความผิดปกติตามพันธุกรรม
ฮอร์โมน อายุ
การกระจายตัวของสารต่าง ๆ ในร่างกาย อะไรอย่างนี้
หรือว่าปัจจัยภายนอกนะคะก็มีตั้งแต่
เจอมลพิษเยอะรึเปล่า สภาพภูมิอากาศเป็นยังไง
สารพิษเกิดอะไรขึ้น สัมผัสสารเคมีรึเปล่า
ซึ่งสุดท้ายทั้งหมดนี้มันก็จะไปส่งผลกระทบต่อ
melanin ในผมของเราเนี่ยนะคะ
ทำให้การผลิต melanin เนี่ยมันน้อยลง
ก็อาจจะทำให้คนเราผมสีอ่อนลงหรือว่า
ผมหงอกได้เช่นเดียวกันค่ะ
อย่างเคสวิวที่เคยเห็นมา ก็มีเพื่อนคนนึงเนี่ย
ถ้าจำไม่ผิดนะ สมัยเด็ก ๆ เนี่ย
เขาก็โดนต่อต่อยนะคะ
ต่อยที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ
มันไปโดนกระบวนการผลิต melanin ของเขาเนี่ย
ทำให้ผมของเขาเนี่ยมีบางส่วนที่หงอกไปซะอย่างนั้นเลย
ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกันทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สูงอายุหรืออะไรนะคะ
และแน่นอนนะคะ
อีกความเชื่อนึงที่เมื่อกี้วิวก็พูดไปแล้วตอนต้นนู่นเลยนะคะ
ก็คือเรื่องของความเครียดนั่นเอง
ทีนี้นี่คือสาเหตุที่วิวมาทำคลิปวิดีโอทั้งหมดเลยค่ะ
คือวิวเนี่ยเพิ่งไปเจอข้อมูลชุดนึงมาค่ะว่า
เออ สรุปแล้วความเครียดมันทำให้หัวหงอกจริงรึเปล่า
อยากรู้กันไหมว่าสรุปแล้วเวลาเราเครียด
เราบอก โอ๊ย เครียดหัวหงอกจังเลยเนี่ย
มันเป็นแค่ความเชื่อหรือว่า
มันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า
เออ มันเกิดขึ้นจริงนะทุกคน
เพราะว่าเวลาที่เราได้ยินว่า โอ๊ะ เครียดจนหัวหงอกเนี่ย
หลายครั้งมันเป็นคำบ่น
แล้วก็หลายครั้งเนี่ยมันเป็น
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในตำนานหรือว่านิทาน
หรือว่าเป็นแบบเรื่องเล่าปากต่อปากนะคะ
เอาที่แบบว่าเด่น ๆ ที่เราคุ้นกันดีที่สุดเลย
ถ้าเป็นฝั่งเอเชียก็
คนที่แบบเครียดชั่วข้ามคืนอะ นึกออกป้ะ
แบบตื่นมาแล้วทุกอย่าง ชีวิตฉันพังหมดเลย
เครียด ๆ ๆ ๆ แค้น ๆ ๆ ๆ
สุดท้ายหัวหงอกทั้งหัว
ที่เราคุ้นกันดีที่สุดของฝั่งเอเชียก็คือ
นางพญาผมขาวนะคะ
อันนี้น่าจะได้ยินชื่อกันมาค่อนข้างคุ้นเคยเนอะ
ส่วนอีกคนนึงนะคะ ฝั่งตะวันตก ที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เลยว่า
เครียดจนผมขาวหงอกในคืนเดียวนะคะ ก็คือ
พระนาง Marie Antoinette นั่นเอง
พระราชินีของฝรั่งเศสน่ะนะ
ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส
เขาก็เชื่อกันว่าในคืนที่มีการปฏิวัติอะไรต่าง ๆ เนี่ย
พระนางเครียดมากนะคะแล้วก็
ตื่นเช้ามาก็คือผมขาว ผมหงอกทั้งหัวเลยนะคะ
ซึ่งเดี๋ยวถ้ามีโอกาสวันหลัง
เดี๋ยวเรามาคุยกันเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสอีกทีนะคะ
แต่อันนี้แค่อยากยกตัวอย่างเคสให้เห็นว่า
เออ พระนาง Marie Antoinette นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคนนะที่
เราเชื่อกันว่าตื่นเช้ามาแล้วแบบเครียด หัวขาวทั้งหัวเลยจ้า
ที่สำคัญนะคะ
พระนางเนี่ยโด่งดังในเรื่องนี้ถึงขนาดที่ว่า
มันมีการตั้งชื่อโรคเลยนะว่าใครที่ตื่นมาแล้วหัวขาวทั้งหัวเนี่ย
เราจะเรียกโรคนี้นะคะว่า Marie Antoinette Syndrome ค่ะ
ก็เป็นที่มาของชื่อโรคไปเลยซะอย่างนั้นนะคะ
ทีนี้ฟังไปขนาดนี้แล้วอยากรู้กันไหมคะว่า
เรื่องที่แบบว่าเอ๊ย เราเครียดแล้วผมหงอกเนี่ย
เราเครียดจนผมหงอกมันเป็นเรื่องราวที่แค่เป็นความเชื่อ
หรือว่ามันมีข้อพิสูจน์อะไรทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ นะคะ
ก็ต้องบอกว่าสารภาพเลย วิวเพิ่งจะไปเจอข้อมูลนี้ค่ะ
มาจากเพจ Facebook เพจนึงนะ ชื่อว่า
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นะคะ
เพจนี้เขาเป็นเพจที่เผยแพร่ความรู้นะ
เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
การแพทย์ สาธารณสุข อะไรต่าง ๆ
แล้วเขาก็มีการให้บริการการแพทย์ด้วยนะ
ซึ่งเขาก็พยายามเอาข้อมูลเหล่านี้
มาทำให้อ่านง่ายแล้วก็เข้าใจง่าย
เข้าได้ถึงทุกเพศทุกวัยนะคะ
วิวก็ไปอ่านโพสนึงมาจากเพจนี้แหละ
แล้วก็รู้สึกว่าเออ น่าสนใจ
ก็เลยไปค้นต่อแล้วก็สรุปรวบยอดทุกสิ่งอย่างนะคะ
มาเล่าให้ทุกคนฟังในวันนี้นี่แหละว่าจริง ๆ แล้วอะ
ที่เราเข้าใจว่าเครียดแล้วผมหงอก เครียดแล้วผมหงอกเนี่ย
มันเป็นความเชื่อมาตลอดเลยทุกคน
คือมันแบบว่ายังไม่ได้รับ
การพิสูจน์อะไรขนาดนั้นทางวิทยาศาสตร์นะคะ
จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ค่ะ
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะทำการทดลองแล้วเริ่มพิสูจน์ได้ว่า
เฮ้ย มันจริง
มันจริงนะทุกคนที่แบบว่าเราเครียดแล้วเราผมหงอกอะ
ถามว่าเขาเพิ่งค้นพบเมื่อไหร่ รู้ไหมคะ
เขาเพิ่งค้นพบเมื่อเดือนมกราคม ปีนี้นี่แหละ
ปีค.ศ. 2020 นี้นะคะ ก็ไม่นานเลยนะทุกคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาว่า
ปีนี้ทั้งปีเราหายไปกับ COVID-19 กันนะคะ
แล้วถามว่าใครเป็นคนทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้นะคะ
ก็มี 2 กลุ่มด้วยกันค่ะ เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินะ
เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยด้วยกันค่ะ
มหาวิทยาลัยแรกก็คือ
มหาวิทยาลัยเซาเปาโลของบราซิลนะคะ
ส่วนมหาวิทยาลัยที่สองนี่ก็คือ
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐอเมริกาค่ะ
พอเขาทำงานวิจัยอะไรอย่างนี้เสร็จเรียบร้อยนะคะ
เขาก็เพิ่งจะตีพิมพ์ออกมาเมื่อเดือนมกราคมนี่แหละ
ตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมานะว่า
เฮ้ย คอนเฟิร์ม ความเครียดเนี่ยทำให้ผมหงอกจริง ๆ
แล้วถามว่าอยากรู้ไหมคะว่า
ทำไมเวลาที่เราเครียดแล้วเนี่ย ผมมันถึงหงอก
เวลาเครียดเนี่ยเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรานะคะ
ต้องบอกว่ามันเกิดขึ้นหลายอย่างเลย
แล้วก็อาจจะมีอะไรบางอย่างไปส่งผลกระทบต่อผมนะคะ
ทำให้มันหงอกได้ค่ะ
ซึ่งหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์เขามีการทดลองเนี่ยนะคะ
เขาก็ตีพิมพ์ผลงานออกมาได้เป็น 2 แบบด้วยกันค่ะ
โดยการที่เขาเอาหนูเนี่ยนะคะมาเป็นหนูทดลอง
ที่มีสีขนสีดำอะนะ
แล้วก็จัดการเอาไฟฟ้าเนี่ยนะคะ ชอต ๆ ๆ ๆ ชอตหนูค่ะ
ทำให้มันเครียดนะคะ
พอมันเครียดเนี่ย มันก็จะมีปฏิกิริยาร่างกายออกมา
แล้วเขาก็พบว่า
หลังจากที่มันเครียดอยู่ระยะเวลานึงเนี่ย
ขนของมันเนี่ยนะคะก็หงอกจริง ๆ ค่ะ
คือมันไม่กลับมาขนดำอีกเลยนะ
ดังนั้นเขาก็เลยตีความว่า
โอเค เอาแล้วละ
ความเครียดเนี่ยมันทำให้ขนหงอกจริง ๆ ด้วย
หรือว่าผมหงอกจริง ๆ ด้วย
แต่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับหนูนะคะ
เขาก็ตีความกันออกมาได้เป็น 2 ทางด้วยกันค่ะ
คือทางแรกเนี่ยนะคะ เขาบอกว่า
เวลาที่หนูมันเครียดเนี่ยนะคะ
มันจะมีการผลิตโปรตีนออกมาตัวนึงค่ะ ชื่อว่า CDK นะคะ
ซึ่งโปรตีนตัวนี้มันไปทำลายสเตมเซลล์ค่ะ
ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเม็ดสี melanin นะคะ
คือเหมือนกับว่าไปทำให้สเตมเซลล์ตัวนี้
ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีเนี่ย มันตายบึ้มไปเลย
พอเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีมันตาย
เม็ดสีก็ไม่เกิดขึ้น
ก็เลยทำให้ผมของเราเนี่ยไม่มีสี หรือว่า
เกิดการผมหงอกขึ้นนั่นเองนะคะ
ส่วนอีกทฤษฎีนึงเนี่ยเขาบอกว่า
ในร่างกายของคนเราหรือว่าในร่างกายของหนูเนี่ยนะคะ
มันมีระบบประสาทอยู่ระบบนึงค่ะ
ซึ่งระบบประสาทนี้เมื่อเกิดการเครียดขึ้นมานะคะ
มันจะตอบสนองเหมือนกับการเอาชีวิตรอด
คือไม่ว่าเราจะกลัว จะเครียด จะโดนโจมตีอะไรต่าง ๆ นะ
จะเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า สู้หรือว่าหนี
คือสมองเราจะประมวลละ
เฮ้ย เราจะสู้หรือเราจะหนีดี
ซึ่งระหว่างที่แบบจะสู้จะหนี จะสู้จะหนีเนี่ย
มันก็จะมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาอยู่ตัวนึงค่ะ
ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้
มันจะไปทำปฏิกิริยาโดยตรงนะคะ
กับเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเม็ดสีค่ะ
แต่มันไม่เหมือนอันแรก
อันแรกนี่คือไปยับยั้งไม่ให้ผลิตเม็ดสีใช่ไหม
อันนี้ ฮอร์โมนตัวนี้เนี่ยนะคะ
มันจะมีหน้าที่เข้าไปกระตุ้นเซลล์ผลิตเม็ดสีค่ะ
แล้วมันทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีออกมาเยอะมาก
ออกมาเยอะเกินเหตุนะคะ
จนในที่สุดเหมือนมันผลิตจนมันหมดแมกซ์อะ
แล้วมันก็สูญเสียการผลิตเม็ดสี
แบบผลิตไม่ได้อีกต่อไปเลยนะคะ
ก็เลยทำให้หนูที่โดนกระตุ้นเนี่ย
ขนหงอกซะอย่างนั้นเลย
แล้วก็ไม่สามารถกลับมาขนดำได้เหมือนเดิมอีกต่อไปนะคะ
อย่างไรก็ตามนะคะ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ค่ะ
ว่าสรุปแล้วโปรตีนตัวแรกหรือสารตัวที่สองเนี่ย
คือตัวที่ทำให้เราผมหงอกเวลาที่เครียดนะคะ
แต่เขาก็มีความพยายามที่จะทดลองต่อนะ เช่น
เอ๊ะ โปรตีนตัว CDK เนี่ยมันเป็นโปรตีนที่ทำให้หนูขนหงอก
ดังนั้นลองให้ยาที่ยับยั้งโปรตีนตัวนี้ไหม
อะ พอให้ไป อุ๊ย หนูขนไม่หงอก
อะ น่าสนใจ เดี๋ยวเราไปทดลองต่อดีกว่า
เผื่อจะมีโอกาสเอามาใช้กับคนในอนาคตนะคะ
ดังนั้นสำหรับใครที่กลัวว่า
ในอนาคตฉันจะเครียดแล้วผมฉันจะหงอกเนี่ย
ก็อดใจรอนิดนึง
คิดว่านักวิทยาศาสตร์เขาน่าจะกำลัง
ค้นคว้าหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ อยู่
เพื่อที่จะผลิตผลิตภัณฑ์อะไรบางอย่างออกมา
เพื่อที่จะยับยั้งผมหงอกนะคะ
ดังนั้นตอนนี้ก็ทำใจตัวเองให้สบาย ๆ
อย่าเพิ่งเครียดไปก่อนเพราะว่า
เครียดตอนนี้ยังไม่มีทางแก้นะคะ
ผมหงอกแน่นอนนะคะทุกคน
ซึ่งหลายคนก็บอกว่าจริง ๆ ชีวิตก็ไม่ได้เครียดอะไรนะ
มาเครียดตอนฟังวิดีโอนี้นี่แหละ
โอ้โห ตอบอะไรวิทยาศาสตร์จ๋าขนาดนี้นะคะ
อย่างไรก็ตามค่ะ สิ่งที่วิวอยากจะบอกทุกคนก็คือ
การที่คนเราผมหงอกเนี่ย
โอเค มันก็เป็นเรื่องของความสวยความงาม
ไม่ได้มีความอันตรายอะไรขนาดนั้น
แต่ว่าสำหรับคนที่ไม่อยากจะผมหงอกนะคะ
จริง ๆ แล้วการผมหงอกเนี่ยมันมี
ปัจจัยเยอะมากเต็มไปหมดเลยนะ
ไม่ว่าจะเป็นความแก่ชรา
ไม่ว่าจะเป็นความเครียด
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกเพียบ
ไม่ว่าจะเป็นการขาดวิตามิน B12 ขาดโปรตีน
เกิดจากการสูบบุหรี่
เกิดจากธาตุทองแดงมากไป
เกิดจากธาตุเหล็ก
เกิดจากฮอร์โมน เกิดจากอะไรต่าง ๆ อีกเพียบเลยนะคะ
ดังนั้นนะคะถ้าสมมติว่าใครไม่อยากผมหงอกก่อนวัยอันควรนะ
สิ่งที่เราทำได้ก็คือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นะคะ
โดยเฉพาะอาหารที่มี Omega 3 สูง ๆ
เช่น วอลนัทนะคะ หรือว่าปลาในกลุ่ม fatty fish
ซึ่งปลาในกลุ่ม fatty fish นี่ก็เช่น
ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ประมาณนี้นะ
นอกจากนี้ก็สามารถรับประทานวิตามิน B12
กับวิตามิน B6 เพิ่มเติม
รวมถึงหลีกเลี่ยงพวกกิจกรรมกลางแจ้ง
ที่ต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
เพราะว่าแสงแดดนี่บางทีรังสีมันก็
ไปทำลายเซลล์รากผมอะไรต่าง ๆ ได้นะคะ
ทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัยอันควรได้เช่นกันค่ะ
สำหรับวันนี้นะคะ วิวคิดว่าข้อมูลเราแน่นพอสมควรแล้วค่ะ
ควรจะพอแค่นี้ก่อนเนอะ
เราก็สลับกันไป
คลิปบางคลิปก็จะข้อมูลแน่นนิดนึง
บางคลิปก็จะมาทางวิทยาศาสตร์
บางคลิปก็จะไปทางเรื่องเล่าอะไรต่าง ๆ
ก็เอาเป็นว่าผสม ๆ กันไปนะคะ
สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษ
อยากให้วิวไปหาข้อมูลเรื่องอะไรมาเล่า
ก็สามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนะคะ
และที่สำคัญนะคะ วิวค่อนข้างจะเชื่อมั่นในกลุ่มคนดูของวิวค่ะ
ถ้าสมมติว่าใครเป็นนักวิทยาศาสตร์ ใครเป็นแพทย์
หรือว่ามีความรู้เรื่องนี้ดีกว่าวิวเนี่ย
อย่าลืมพิมพ์มาอธิบายด้านล่างนะคะ
อันนี้ก็เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นที่วิวไปหาข้อมูลมาเนอะ
ดังนั้นอย่าลืมมาแชร์กันค่ะ
สำหรับวันนี้ถ้าใครชื่นชอบคลิปนี้นะคะ
อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิวแล้วก็
กดแชร์เพื่อชวนเพื่อน ๆ มาดูด้วยกันค่ะ
แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะคะทุกคน
บ๊ายบาย
สวัสดีค่ะ
สารภาพตามตรงนะทุกคน
คลิปนี้ตอนแรกไม่ได้คิดจะทำเลย
นี่คือข้อมูลที่ไปหามาแล้วก็
ตั้งใจจะอยากรู้เองไง
แต่ว่าพอหามาแล้วมันเริ่มลึก
พอมันเริ่มลึกแล้วมันก็รู้สึกว่าเอ๊ะ
หรือคนอื่นเขาจะอยากรู้เหมือนเราไหมนะ
ก็เลยคิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ เอามาทำเป็นคลิปวิดีโอละกัน
เอาเป็นว่าชอบไม่ชอบยังไงอย่าลืมบอกกันนะคะ
วันนี้ลาไปก่อนแล้วกันค่ะทุกคน
บ๊ายบาย
สวัสดีค่ะ