ยีนมาจากไหน? - คาร์ล ซิมเมอร์ (Carl Zimmer)
-
0:06 - 0:11มนุษย์เรามียีนประมาณ 20,000 ยีนในดีเอ็นเอ
-
0:11 - 0:14เป็นรหัสในการสร้างโมเลกุลต่างๆ
ที่ประกอบกันเป็นร่างกายมนุษย์ -
0:14 - 0:18ตั้งแต่ เคราตินในเล็บเท้า
ถึงคอลลาเจนที่ปลายจมูก -
0:18 - 0:21จนถึงโดพามีนที่ขับออกมาในสมอง
-
0:21 - 0:24สิ่งมีชีวิตอื่นมียีนเฉพาะของพวกมัน
-
0:24 - 0:26แมงมุมมียีนสำหรับสร้างใยแมงมุม
-
0:26 - 0:31ต้นโอ๊คมียีนสร้างคลอโรฟิลล์
ที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดมาสร้างเป็นเนื้อไม้ -
0:31 - 0:33แล้วยีนเหล่านี้มาจากไหนกัน?
-
0:33 - 0:35คำตอบขึ้นอยู่กับชนิดของยีน
-
0:35 - 0:40นักวิทยาศาสตร์คาดว่าชีวิตบนโลก
เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อน -
0:40 - 0:43ชีวิตรูปแบบแรกๆ คือ จุลินทรีย์
-
0:43 - 0:47ที่มีชุดยีนพื้นฐาน สำหรับงานพื้นฐาน
พอเพียงสำหรับการดำรงชีพ -
0:47 - 0:50พวกมันส่งต่อยีนพื้นฐานเหล่านั้นสู่ลูกหลาน
-
0:50 - 0:52นับพันล้านรุ่น
-
0:52 - 0:58บางยีนยังคงทำหน้าที่เดิมอยู่จนถึงทุกวันนี้
เช่น การทำสำเนาดีเอนเอ -
0:58 - 1:02แต่พวกจุลินทรีย์เหล่านั้นก็ไม่มียีน
สำหรับสร้าง ใยแมงมุม หรือโดพามีน -
1:02 - 1:07ทุกวันนี้มียีนเกิดขึ้นมากมายบนโลก
มากกว่ายีนที่มีในยุคแรก -
1:07 - 1:11ทว่ายีนใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษนี้
เกิดจากความผิดพลาด -
1:11 - 1:16แต่ละครั้งที่เซลล์แบ่งตัว
มันก็สร้างดีเอ็นเอขึ้นมาอีกชุด -
1:16 - 1:20บางครั้งมีการได้สร้างดีเอ็นเอช่วงเดิม
ถึงสองหน -
1:20 - 1:25ผลก็คือ มันอาจทำให้ได้ยีนเกินมาอีกชุดด้วย
-
1:25 - 1:28ตอนแรก
ยีนที่เกินมาก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม -
1:28 - 1:32แต่เมื่อผ่านไปหลายชั่วอายุ
มันอาจเกิดการกลายพันธุ์ขึ้น -
1:32 - 1:35การกลายพันธุ์อาจทำให้เกิด
ยีนที่ทำหน้าที่ใหม่ขึ้นมา -
1:35 - 1:38และยีนใหม่นี้ก็อาจถูกเพิ่มจำนวนอีก
-
1:38 - 1:42การกลายพันธุ์มากมายในยีนของเรา
เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ -
1:42 - 1:45หลายยีนเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ล้านปีที่ผ่านมา
-
1:45 - 1:50การกลายพันธุ์ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อสายพันธุ์มนุษย์
วิวัฒนาการแยกออกจากลิงไม่มีหางญาติของเรา -
1:50 - 1:54มันอาจจะใช้เวลาเป็นล้านปี
ในการทำให้เกิดยีนขึ้นมา 1ยีน -
1:54 - 1:56จนกลายเป็นชุดยีนที่มีอยู่ทั้งหมด
-
1:56 - 1:59นักวิทยาศาสตร์พบว่า
เมื่อยีนใหม่เกิดขึ้นมา -
1:59 - 2:02มันสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว
-
2:02 - 2:06เช่น เรามียีนนับร้อย
สำหรับสร้างโปรตีนในจมูก -
2:06 - 2:09ที่ทำหน้าที่จับโมเลกุลของอนุภาคกลิ่น
-
2:09 - 2:11การกลายพันธุ์ทำให้พวกมันสามารถ
จับโมเลกุลใหม่ๆ ได้ -
2:11 - 2:15ทำให้เราจำแนกกลิ่นต่างๆ ได้มากมาย
-
2:15 - 2:19บางครั้งการกลายพันธุ์มีผลกระทบใหญ่หลวง
ต่อยีนชุดใหม่ -
2:19 - 2:23พวกมันอาจทำให้ยีนนั้นทำหน้าที่
สร้างโปรตีนในอวัยวะอื่น -
2:23 - 2:25หรือในช่วงที่ต่างออกไปในชีวิตของเรา
-
2:25 - 2:29หรือโปรตีนอาจทำหน้าที่ใหม่ๆ
-
2:29 - 2:34ตัวอย่างเช่น งู
มียีนที่สร้างโปรตีนสำหรับฆ่าแบคทีเรีย -
2:34 - 2:38เมื่อนานมาแล้วยีนนี้ถูกเพิ่มจำนวนขึ้น
และได้เกิดกลายพันธุ์ -
2:38 - 2:41การกลายพันธุ์ได้เปลี่ยนการส่งสัญญาณในยีน
-
2:41 - 2:43ที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่มันควรสร้างโปรตีน
-
2:43 - 2:46แทนที่ยีนจะทำงานในตับอ่อนของงู
-
2:46 - 2:51มันกลับเริ่มสร้างโปรตีนสำหรับฆ่าแบคทีเรียขึ้น
ในช่องปากแทน -
2:51 - 2:55เมื่องูไปกัดเหยี่อของมัน
เอนไซม์ดังกล่าวก็เข้าสู่บาดแผล -
2:55 - 2:58และเมื่อโปรตีนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงพิษสงของมัน
-
2:58 - 3:00ที่ช่วยให้งูจับเหยื่อได้มากขึ้น
-
3:00 - 3:02ยีนนั้นจึงเป็นที่โปรดปราน
-
3:02 - 3:06ตอนนี้ยีนที่เคยทำงานในตับอ่อน
ได้มาสร้างพิษที่ปากงูแทน -
3:06 - 3:08ซึ่งช่วยในการฆ่าเหยื่อของงู
-
3:08 - 3:11มันยังมีวิธีอื่นอีกมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
ในการเกิดยีนใหม่ๆ -
3:11 - 3:14ดีเอ็นเอของพืช สัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
-
3:14 - 3:18มีส่วนของสายดีเอ็นเอที่ไม่มียีนที่ถอดรหัสได้โปรตีน
-
3:18 - 3:22เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ทราบ
พวกมันส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย -
3:22 - 3:25ลำดับแบบสุ่มที่ไม่มีความหมายหรือหน้าที่เฉพาะ
-
3:25 - 3:29ส่วนของดีเอ็นเอเหล่านี้บางครั้งได้กลายพันธุ์
เหมือนที่เกิดกับยีน -
3:29 - 3:32ซึ่งการกลายพันธุ์บางครั้งทำให้
ดีเอ็นเอส่วนนั้นมีประโยชน์ขึ้นมา -
3:32 - 3:34ทำให้เซลล์สามารถเริ่มถอดรหัสมันได้
-
3:34 - 3:37ทันใดนั้นก็เกิดการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ขึ้น
-
3:37 - 3:41ตอนแรก โปรตีนชนิดใหม่
อาจไม่มีประโยชน์และอาจเป็นโทษ -
3:41 - 3:44แต่การกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น
สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีน -
3:44 - 3:46ทำให้มันอาจทำหน้าที่ซึ่งเป็นประโยชน์
-
3:46 - 3:49เช่น ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น หรือแข็งแรงขึ้น
-
3:49 - 3:51เพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์
-
3:51 - 3:55นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบยีนใหม่ๆ เหล่านี้
ทำงานตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย -
3:55 - 3:59ดังนั้นยีน 20,000 ยีนของเรา
มีจุดกำเนิดที่หลากหลาย -
3:59 - 4:04ตั้งแต่จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
ไปจนถึงยีนใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาใหม่ -
4:04 - 4:07ตราบเท่าที่ยังมีสิ่งมีชีวิตบนโลก
ยีนใหม่ๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ
- Title:
- ยีนมาจากไหน? - คาร์ล ซิมเมอร์ (Carl Zimmer)
- Description:
-
ชมบทเรียีนทั้งหมดได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/where-do-genes-come-from-carl-zimmer
เมื่อชีวิตกำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อราว4พันล้านปีก่อน จุลินทรีย์รุ่นแรกมีชุดยีนพื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ ในยุคของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ซึ่งมียีนเกิดขึ้นมากมายกว่าเดิม
ยีนใหม่เหล่านั้นมาจากไหนกัน? คาร์ล ซิมเมอร์ ได้ตรวจสอบเรื่องราวการกลายพันธุ์และการเพิ่มชนิดของยีนเหล่านั้นบทเรียนโดย Carl Zimmer, แอนิเมชั่น โดย TOGETHER
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:24
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer | |
![]() |
Pongsakorn Puavaranukroh edited Thai subtitles for Where do genes come from? - Carl Zimmer |