มนุษย์เรามียีนประมาณ 20,000 ยีนในดีเอ็นเอ เป็นรหัสในการสร้างโมเลกุลต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นร่างกายมนุษย์ ตั้งแต่ เคราตินในเล็บเท้า ถึงคอลลาเจนที่ปลายจมูก จนถึงโดพามีนที่ขับออกมาในสมอง สิ่งมีชีวิตอื่นมียีนเฉพาะของพวกมัน แมงมุมมียีนสำหรับสร้างใยแมงมุม ต้นโอ๊คมียีนสร้างคลอโรฟิลล์ ที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดมาสร้างเป็นเนื้อไม้ แล้วยีนเหล่านี้มาจากไหนกัน? คำตอบขึ้นอยู่กับชนิดของยีน นักวิทยาศาสตร์คาดว่าชีวิตบนโลก เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อน ชีวิตรูปแบบแรกๆ คือ จุลินทรีย์ ที่มีชุดยีนพื้นฐาน สำหรับงานพื้นฐาน พอเพียงสำหรับการดำรงชีพ พวกมันส่งต่อยีนพื้นฐานเหล่านั้นสู่ลูกหลาน นับพันล้านรุ่น บางยีนยังคงทำหน้าที่เดิมอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น การทำสำเนาดีเอนเอ แต่พวกจุลินทรีย์เหล่านั้นก็ไม่มียีน สำหรับสร้าง ใยแมงมุม หรือโดพามีน ทุกวันนี้มียีนเกิดขึ้นมากมายบนโลก มากกว่ายีนที่มีในยุคแรก ทว่ายีนใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติพิเศษนี้ เกิดจากความผิดพลาด แต่ละครั้งที่เซลล์แบ่งตัว มันก็สร้างดีเอ็นเอขึ้นมาอีกชุด บางครั้งมีการได้สร้างดีเอ็นเอช่วงเดิม ถึงสองหน ผลก็คือ มันอาจทำให้ได้ยีนเกินมาอีกชุดด้วย ตอนแรก ยีนที่เกินมาก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม แต่เมื่อผ่านไปหลายชั่วอายุ มันอาจเกิดการกลายพันธุ์ขึ้น การกลายพันธุ์อาจทำให้เกิด ยีนที่ทำหน้าที่ใหม่ขึ้นมา และยีนใหม่นี้ก็อาจถูกเพิ่มจำนวนอีก การกลายพันธุ์มากมายในยีนของเรา เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลายยีนเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ล้านปีที่ผ่านมา การกลายพันธุ์ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อสายพันธุ์มนุษย์ วิวัฒนาการแยกออกจากลิงไม่มีหางญาติของเรา มันอาจจะใช้เวลาเป็นล้านปี ในการทำให้เกิดยีนขึ้นมา 1ยีน จนกลายเป็นชุดยีนที่มีอยู่ทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อยีนใหม่เกิดขึ้นมา มันสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว เช่น เรามียีนนับร้อย สำหรับสร้างโปรตีนในจมูก ที่ทำหน้าที่จับโมเลกุลของอนุภาคกลิ่น การกลายพันธุ์ทำให้พวกมันสามารถ จับโมเลกุลใหม่ๆ ได้ ทำให้เราจำแนกกลิ่นต่างๆ ได้มากมาย บางครั้งการกลายพันธุ์มีผลกระทบใหญ่หลวง ต่อยีนชุดใหม่ พวกมันอาจทำให้ยีนนั้นทำหน้าที่ สร้างโปรตีนในอวัยวะอื่น หรือในช่วงที่ต่างออกไปในชีวิตของเรา หรือโปรตีนอาจทำหน้าที่ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น งู มียีนที่สร้างโปรตีนสำหรับฆ่าแบคทีเรีย เมื่อนานมาแล้วยีนนี้ถูกเพิ่มจำนวนขึ้น และได้เกิดกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์ได้เปลี่ยนการส่งสัญญาณในยีน ที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่มันควรสร้างโปรตีน แทนที่ยีนจะทำงานในตับอ่อนของงู มันกลับเริ่มสร้างโปรตีนสำหรับฆ่าแบคทีเรียขึ้น ในช่องปากแทน เมื่องูไปกัดเหยี่อของมัน เอนไซม์ดังกล่าวก็เข้าสู่บาดแผล และเมื่อโปรตีนนี้ได้แสดงให้เห็นถึงพิษสงของมัน ที่ช่วยให้งูจับเหยื่อได้มากขึ้น ยีนนั้นจึงเป็นที่โปรดปราน ตอนนี้ยีนที่เคยทำงานในตับอ่อน ได้มาสร้างพิษที่ปากงูแทน ซึ่งช่วยในการฆ่าเหยื่อของงู มันยังมีวิธีอื่นอีกมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ในการเกิดยีนใหม่ๆ ดีเอ็นเอของพืช สัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีส่วนของสายดีเอ็นเอที่ไม่มียีนที่ถอดรหัสได้โปรตีน เท่าที่นักวิทยาศาสตร์ทราบ พวกมันส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ลำดับแบบสุ่มที่ไม่มีความหมายหรือหน้าที่เฉพาะ ส่วนของดีเอ็นเอเหล่านี้บางครั้งได้กลายพันธุ์ เหมือนที่เกิดกับยีน ซึ่งการกลายพันธุ์บางครั้งทำให้ ดีเอ็นเอส่วนนั้นมีประโยชน์ขึ้นมา ทำให้เซลล์สามารถเริ่มถอดรหัสมันได้ ทันใดนั้นก็เกิดการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ขึ้น ตอนแรก โปรตีนชนิดใหม่ อาจไม่มีประโยชน์และอาจเป็นโทษ แต่การกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีน ทำให้มันอาจทำหน้าที่ซึ่งเป็นประโยชน์ เช่น ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น หรือแข็งแรงขึ้น เพิ่มโอกาสในการสืบพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบยีนใหม่ๆ เหล่านี้ ทำงานตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นยีน 20,000 ยีนของเรา มีจุดกำเนิดที่หลากหลาย ตั้งแต่จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงยีนใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาใหม่ ตราบเท่าที่ยังมีสิ่งมีชีวิตบนโลก ยีนใหม่ๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ