< Return to Video

Can you ever respond to violence with violence?

  • 0:02 - 0:05
    (ระฆังครึ่งเสียง)
  • 0:10 - 0:24
    เราจะตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรงเพื่อยุติการเข่นฆ่ากันได้ไหม
  • 0:29 - 0:31
    นมัสการหลวงปู่ สวัสดีสังฆะ
  • 0:32 - 0:36
    คำถามนี้เกี่ยวกับข้อฝึกอบรมสติข้อที่หนึ่ง
  • 0:37 - 0:42
    เมื่อมีความรุนแรงขั้นสุดอย่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น
  • 0:43 - 0:52
    การตอบโต้ความรุนแรงด้วยการกระทำ รวมถึงการกระทำที่รุนแรง เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไหม
  • 0:53 - 0:56
    ฉันทำอาชีพเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
  • 0:58 - 1:00
    และฉันนึกถึงเชอร์ชิล
  • 1:00 - 1:04
    หรือเชมเบอร์ลินกับฮิตเลอร์
  • 1:04 - 1:07
    หรือตัวอย่างที่สมัยใหม่กว่าอย่างเช่น รวันดา
  • 1:08 - 1:11
    ซูดาน
  • 1:13 - 1:16
    ซึ่งการรับฟังด้วยความกรุณาแบบที่
  • 1:17 - 1:21
    เชมเบอร์ลินใช้กับฮิตเลอร์
  • 1:22 - 1:25
    อาจไม่เพียงพอ
  • 1:26 - 1:29
    และฉันไม่รู้จะทำอย่างไรกับเรื่องนี้
  • 1:38 - 1:42
    นมัสการหลวงปู่ เพื่อนของเราถามเกี่ยวกับ
  • 1:42 - 1:48
    สถานการณ์ที่รุนแรงขั้นสุด และเธอยกตัวอย่าง
  • 1:49 - 1:53
    เมื่อกลางศตวรรษที่ 20 ที่ฮิตเลอร์ก่อให้เกิดความทุกข์แสนสาหัส
  • 1:53 - 1:56
    และมีข้าราชการในอังกฤษคนหนึ่ง
  • 1:56 - 1:59
    พยายามรับฟังฮิตเลอร์ด้วยความกรุณา
  • 1:59 - 2:02
    และดูเหมือนไม่ประสบความสำเร็จ
  • 2:02 - 2:06
    อันที่จริงแล้ว เปิดโอกาสให้ฮิตเลอร์ทำร้ายผู้คนมากขึ้น
  • 2:06 - 2:09
    เธอถามว่า ในสถานการณ์เช่นนี้
  • 2:09 - 2:16
    การใช้ความรุนแรงเพื่อยุติความรุนแรงนั้น เหมาะสมหรือไม่
  • 2:24 - 2:28
    การกระทำโดยไม่ใช้ความรุนแรง (สันติวิธี) ไม่ใช่เทคนิค
  • 2:30 - 2:37
    แต่เป็นหนทาง..ไม่ใช่เทคนิค
  • 2:41 - 2:47
    และพื้นฐานของสันติวิธีก็คือ ความเข้าใจและความกรุณา
  • 2:49 - 2:54
    เมื่อเธอมีความเข้าใจและความกรุณาในหัวใจ
  • 2:54 - 2:58
    ทุกสิ่งที่เธอทำจะปราศจากความรุนแรง
  • 3:01 - 3:05
    สมมุติว่า มีคนฆ่าใคร มีคนทำผิดกฎหมาย
  • 3:05 - 3:10
    แล้วเธอจับเขาเข้าคุก
  • 3:11 - 3:13
    การจับกุมเขา และขังไว้ในคุก
  • 3:13 - 3:16
    ถือเป็นความรุนแรงหรือไม่รุนแรง
  • 3:17 - 3:19
    ขึ้นอยู่กับ
  • 3:22 - 3:24
    สถานการณ์
  • 3:24 - 3:27
    ถ้าเธอจับคนๆ นั้นขังไว้
  • 3:29 - 3:35
    แต่เธอทำด้วยความเข้าใจและความกรุณา
  • 3:35 - 3:39
    นั่นคือ การกระทำที่ปราศจากความรุนแรง
  • 3:42 - 3:47
    แต่ถ้าเธอไม่ทำอะไรเลย
  • 3:47 - 3:50
    แต่เธอปล่อยให้
  • 3:51 - 3:59
    ผู้คนเหล่านั้นเข่นฆ่าและทำลาย
  • 3:59 - 4:05
    แม้เธอจะไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย
    นั่นก็เรียกว่า ความรุนแรง
  • 4:06 - 4:13
    ความรุนแรงอาจมาจากการกระทำ หรือการไม่กระทำ
  • 4:18 - 4:22
    ดูภายนอกอาจจะดูรุนแรง
  • 4:23 - 4:31
    แต่ถ้าเธอกระทำด้วยจิตใจที่เข้าใจและกรุณา
  • 4:31 - 4:36
    นั่นก็ไม่ใช่ความรุนแรงจริงๆ
  • 4:37 - 4:43
    สมมุติว่า ม้าตัวหนึ่งทรมานมากและใกล้จะตาย แต่ไม่ตายสักที
  • 4:44 - 4:51
    หากเธอกระทำการบางอย่างเพื่อให้มันจบชีวิตลงได้
  • 4:51 - 4:56
    ดูเหมือนจะเป็นความรุนแรง แต่นั่นเกิดจากความกรุณาของเธอ
  • 4:56 - 5:01
    เธอไม่อยากให้ม้าตัวนั้นทุกข์ทรมานอีกนานเกินไป
  • 5:01 - 5:04
    ภาพนั้นสะท้อนให้เธอเห็นว่า
  • 5:04 - 5:08
    การกระทำนั้นๆ จะเป็นความรุนแรงหรือไม่
  • 5:09 - 5:11
    อยู่ที่หัวใจของเธอ
  • 5:11 - 5:16
    ถ้าเธอตั้งใจที่จะลดทอนความทุกข์...
  • 5:16 - 5:26
    ถ้าเธอเข้าใจว่า ทำไมคนๆ นั้นถึงทำเรื่องรุนแรงอย่างนั้น
  • 5:26 - 5:34
    แม้เธอจะขังเขาไว้ หรือปล่อยให้เขาอดอาหาร 2-3 วัน
  • 5:34 - 5:36
    นั่นก็ยังไม่ใช่ความรุนแรง
  • 5:36 - 5:41
    เพราะการไม่ให้อาหารคนบางคนสองสามวัน
  • 5:41 - 5:43
    เพื่อช่วยให้เขาตระหนักว่า
  • 5:43 - 5:49
    การมีอะไรกินนั้นช่างดีนักหนา
  • 5:50 - 5:53
    เพื่อให้เขาเกิดปัญญา
  • 5:53 - 5:59
    เธอไม่ได้มีความตั้งใจที่จะลงโทษเขา
  • 5:59 - 6:02
    แต่ตั้งใจช่วยให้เขาได้เรียนรู้และเห็นคุณค่า
  • 6:02 - 6:07
    นั่นคือ สันติวิธี
  • 6:08 - 6:12
    ดังนั้น เราจึงไม่ควรรอจนเกิดเรื่องขึ้นก่อน
  • 6:12 - 6:17
    แล้วถึงจะตัดสินใจว่า ควรจะตอบโต้ด้วยความรุนแรงหรือสันติวิธี
  • 6:17 - 6:20
    เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้
  • 6:20 - 6:23
    พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น
  • 6:24 - 6:28
    เราจะสามารถกระทำการด้วยความกรุณา
  • 6:28 - 6:32
    ซึ่งหมายถึงการใช้สันติวิธี
  • 6:40 - 6:46
    และการกระทำแบบสันติวิธีควร…
  • 6:47 - 6:50
    ควร
  • 6:51 - 6:58
    เป็นการกระทำระยะยาว
  • 6:58 - 7:02
    เมื่อเธอสอนลูก
  • 7:03 - 7:07
    เวลาที่เธอบอกลูกว่า ให้ประพฤติตนอย่างไร
  • 7:07 - 7:13
    เธอพ่วงการกระทำที่ปราศจากความรุนแรงเข้าไปด้วย
  • 7:13 - 7:18
    อย่ารอจนกระทั่งเด็กกลายเป็นคนโหดเหี้ยม
  • 7:18 - 7:23
    และเริ่มทำลายหรือเข่นฆ่า แล้วถึงจะสอนเขา
  • 7:23 - 7:28
    เธอต้องใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อน
  • 7:29 - 7:31
    ดังนั้น ในแวดวงการศึกษา
  • 7:31 - 7:34
    แวดวงการเกษตร
  • 7:34 - 7:37
    แวดวงศิลปะ
  • 7:38 - 7:42
    เธอสามารถนำเสนอ
  • 7:43 - 7:48
    การคิดแบบสันติวิธี
    การกระทำแบบสันติวิธี
  • 7:48 - 7:56
    และสอนผู้คนให้เลิกเลือกปฏิบัติ
  • 7:56 - 8:02
    นั่นคือ การกระทำพื้นฐานของสันติวิธี
  • 8:02 - 8:07
    เพราะความรุนแรงเกิดจากการเลือกที่รักมักที่ชัง จากการแบ่งแยก
  • 8:11 - 8:14
    จากความเกลียดชัง ความกลัว ความโกรธ
  • 8:14 - 8:17
    ดังนั้น การช่วยผู้คนให้แปรเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้
  • 8:18 - 8:24
    ก่อนที่มันจะแปรสภาพเป็นการกระทำ
  • 8:25 - 8:28
    ถือเป็นการกระทำที่ปราศจากความรุนแรงที่แท้จริง
  • 8:28 - 8:30
    เราควรจะเริ่มต้นเดี๋ยวนี้
  • 8:30 - 8:32
    ไม่ควรรอจนเกิดอะไรบางอย่างขึ้น
  • 8:33 - 8:37
    ถึงจะมาคิดว่า เราควรจะกระทำรุนแรงหรือไม่
  • 8:38 - 8:42
    และหลวงปู่คิดว่า...
  • 8:42 - 8:52
    สันติวิธีไม่ใช่คำตอบที่เบ็ดเสร็จ
  • 8:56 - 9:03
    เราอาจใช้คำว่า เราควรจะไม่ใช้ความรุนแรงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  • 9:08 - 9:10
    เมื่อเรานึกถึงทหาร
  • 9:10 - 9:16
    เราคิดว่า ทหารทำแต่สิ่งที่รุนแรง
  • 9:17 - 9:23
    แต่การคุมกองทัพ
  • 9:24 - 9:28
    การปกป้องบ้านเมือง
  • 9:29 - 9:36
    การป้องกันการรุกรานจากกองทัพต่างชาตินั้น
  • 9:37 - 9:39
    ทำได้หลายวิธี
  • 9:39 - 9:41
    มีทั้งวิธีที่รุนแรงมากกว่า
  • 9:42 - 9:44
    และวิธีที่รุนแรงน้อยกว่า
  • 9:44 - 9:47
    และเธอเลือกได้เสมอ
  • 9:52 - 9:56
    ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้สันติวิธีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
  • 9:57 - 10:08
    ใช้สันติวิธีสัก 80 เปอร์เซนต์
    ก็ยังดีกว่าแค่ 10 เปอร์เซ็นต์...
  • 10:09 - 10:13
    เห็นไหม...ดังนั้น อย่าถามหาความเบ็ดเสร็จสมบูรณ์
  • 10:14 - 10:18
    นั่นก็เป็นแนวทางที่เราใช้ในการฝึกปฏิบัติตามข้อฝึกอบรมสติห้าประการ
  • 10:18 - 10:21
    เธอไม่อาจปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • 10:22 - 10:24
    อย่าไปกังวลว่า
  • 10:24 - 10:30
    เธอจะรักษาศีล 14 หรือศีล 5 ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • 10:31 - 10:36
    สิ่งสำคัญคือ เธอตั้งจิตมั่นที่จะไปทางนั้น
  • 10:39 - 10:42
    เธอทำให้เต็มที่ที่สุด
    นั่นคือ สิ่งที่พวกเราต้องการ
  • 10:43 - 10:47
    เหมือนกับในป่า
    เธอหลงทางอยู่กลางป่าในตอนกลางคืน
  • 10:48 - 10:51
    ไม่รู้ว่าจะออกมาได้อย่างไร
  • 10:51 - 10:55
    และเธอต้องมองไปยังดาวเหนือเพื่อหาหนทาง
  • 10:56 - 10:58
    ถ้าเธอเดินไปทางทิศเหนือ
  • 10:58 - 11:01
    ก็ไม่ได้หมายความว่า เธออยากไปให้ถึงดาวเหนือ
  • 11:01 - 11:04
    เธอไม่จำเป็นต้องไปให้ถึง
    เพียงแค่ต้องไปทางทิศเหนือ
  • 11:05 - 11:07
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:07 - 11:10
    ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการก็เป็นเช่นนั้นแหละ
  • 11:10 - 11:14
    เธอควรเดินไปในทิศทางแห่งความเข้าใจและกรุณา
  • 11:14 - 11:17
    เธอไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ
  • 11:17 - 11:21
    ถ้าเธอรู้ว่า เธอทำดีที่สุดแล้ว
    ก็ดีพอแล้วสำหรับสังฆะ
  • 11:21 - 11:24
    ดีพอแล้วสำหรับพระพุทธองค์
  • 11:26 - 11:28
    สันติวิธีก็เหมือนกัน
  • 11:28 - 11:31
    เราต้องทำให้เต็มที่ที่สุด
  • 11:34 - 11:36
    ขอบคุณ
Title:
Can you ever respond to violence with violence?
Description:

more » « less
Video Language:
English
Duration:
12:15

Thai subtitles

Revisions