< Return to Video

ดนตรีคือภาษา วิกเตอร์ วูเท่น

  • 0:15 - 0:16
    ขอบคุณมากครับ
  • 0:16 - 0:19
    เป็นเรื่องจริงที่ผมเกิดในวงดนตรี
  • 0:19 - 0:21
    ผมหมายความอย่างนั้นจริง ๆ
  • 0:21 - 0:23
    ตอนที่ผมเกิด
  • 0:23 - 0:26
    พี่ชายทั้ง 4 คนของผมเริ่มเล่นดนตรีแล้ว
  • 0:26 - 0:29
    และพวกเขากำลังหามือเบส
  • 0:29 - 0:30
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:30 - 0:33
    จะได้ครบวงพอดี
  • 0:33 - 0:34
    ผมเกิดมาเพื่อตำแหน่งนั้น
  • 0:34 - 0:36
    เมื่อผมมองย้อนกลับไป
  • 0:36 - 0:40
    จากตอนนี้ ที่มีคนเรียกผมว่า "คุณครู"
  • 0:41 - 0:44
    เมื่อมองย้อนไป เพื่อดูว่าผมถูกสอนมาอย่างไร
  • 0:44 - 0:46
    ผมถึงเข้าใจว่า จริงๆ แล้วผมไม่ได้ถูก "สอน"
  • 0:46 - 0:49
    นี่เป็นเหตุผลที่ผมถึงบอกว่า ดนตรีคือภาษา
  • 0:49 - 0:51
    เพราะว่าถ้าคุณลองคิดถึงภาษาแรกของคุณ
  • 0:51 - 0:54
    สำหรับผมและคนส่วนใหญ่ในที่นี้คงบอกว่าภาษาอังกฤษ
  • 0:54 - 0:56
    ผมเลยขอใช้ภาษาอังกฤษเป็นตัวอย่าง
  • 0:56 - 0:58
    อยากให้ลองคิดดูว่าคุณรู้ภาษาได้อย่างไร
  • 0:58 - 1:00
    คุณก็จะเข้าใจว่าคุณไม่ได้ถูกสอน
  • 1:00 - 1:01
    คนอื่น ๆ แค่คุยกับคุณ
  • 1:01 - 1:05
    ตรงนี้แหละที่มันน่าสนใจ
  • 1:05 - 1:08
    เพราะพวกเขาปล่อยให้คุณคุยด้วย
  • 1:08 - 1:10
    แต่ถ้าผมยกตัวอย่างดนตรี
  • 1:10 - 1:12
    ส่วนใหญ่แล้ว พวกมือใหม่
  • 1:12 - 1:15
    จะไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นในวง ร่วมกับคนที่เก่งแล้ว
  • 1:15 - 1:17
    คุณต้องเริ่มจากการเป็นมือใหม่
  • 1:17 - 1:19
    และต้องอยู่ตรงนั้นสัก ปี สองปี
  • 1:19 - 1:22
    จนเมื่อคุณเล่นได้ดีขึ้น จนไปถึงระดับกลาง ๆ
  • 1:22 - 1:24
    และเล่นจนถึงขั้นสูง หลังจากขั้นสูงแล้ว
  • 1:24 - 1:27
    คุณยังต้องออกไปเล่นเก็บประสบการณ์อีก
  • 1:27 - 1:29
    แต่กับภาษาแล้ว
  • 1:29 - 1:32
    ถ้าพูดตามภาษาของดนตรี แม้ว่าคุณจะเป็นเด็กทารก
  • 1:32 - 1:35
    คุณสามารถ "แจม" กับมืออาชีพได้
  • 1:35 - 1:36
    ได้ตลอดเวลา
  • 1:36 - 1:40
    มันถึงขนาดว่า คุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าคุณเป็นมือใหม่
  • 1:40 - 1:41
    ไม่มีใครมาบอกคุณว่า
  • 1:41 - 1:43
    "ฉันจะไม่พูดกับเธอจนกว่าเธอจะพูดรู้เรื่อง"
  • 1:43 - 1:45
    "รอให้โตกว่านี้แล้วฉันจะพูดด้วย"
  • 1:45 - 1:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:47 - 1:49
    สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น
  • 1:49 - 1:52
    ไม่มีใครจะมาบอกว่า คุณต้องพูดอะไร
  • 1:53 - 1:56
    คุณไม่ต้องนั่งที่มุมห้องแล้วก็ซ้อม
  • 1:58 - 2:02
    แม้ว่าคุณพูดผิด ก็ไม่มีใครมาแก้ให้
  • 2:03 - 2:07
    ลองคิดดู เมื่อคุณอายุ 2 - 3 ขวบและคุณพูดผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 2:07 - 2:08
    ไม่มีใครมาว่าคุณ
  • 2:08 - 2:10
    ถ้าคุณพูดผิดหลายครั้งเข้า
  • 2:10 - 2:14
    แทนที่จะถูกแก้ พ่อแม่ก็เข้าใจคุณ
  • 2:14 - 2:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:15 - 2:17
    และเขาก็เริ่มที่จะพูดผิดแบบคุณด้วย !
  • 2:17 - 2:21
    สิ่งสำคัญก็คือ คุณยังคงมีอิสระ
  • 2:21 - 2:23
    ในวิธีการพูดของคุณ
  • 2:24 - 2:28
    และคุณยังไม่ต้องเดินตามระเบียบวิธีของดนตรี
  • 2:28 - 2:31
    ในช่วงเวลาเหล่านี้ คุณมีเวลาที่จะหาเสียงของคุณ
  • 2:31 - 2:34
    พูดในแบบของคุณ ทำให้สำเนียงของคุณไม่หายไป
  • 2:34 - 2:36
    ไม่มีใครมาเอามันทิ้งไปได้
  • 2:37 - 2:42
    ผมได้เรียนรู้แบบนี้ตอนผมยังเด็ก
  • 2:42 - 2:45
    ผมเรียนภาษาอังกฤษและเรียนดนตรี
  • 2:45 - 2:48
    ในเวลาเดียวกัน และด้วยวิธีเดียวกัน
  • 2:49 - 2:53
    ผมมักเล่าให้คนอื่นฟังว่า "ผมเริ่มตอน 2 - 3 ขวบ"
  • 2:53 - 2:57
    ผมพูดไปแบบนั้น
    เพราะว่ามันฟังดูน่าเชื่อถือมากกว่า
  • 2:57 - 3:00
    แต่จริง ๆ แล้วเราเริ่มพูดภาษาอังกฤษเมื่อไหร่ ?
  • 3:00 - 3:02
    เรารอจนอายุ 2 หรือ 3 ขวบหรือเปล่า ?
  • 3:03 - 3:04
    ไม่
  • 3:05 - 3:09
    ผมว่า เราเริ่มกันตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดด้วยซ้ำ
  • 3:09 - 3:13
    เริ่มตั้งแต่ที่คุณได้ยินเสียง คุณก็เริ่มเรียนแล้ว
  • 3:13 - 3:17
    สำหรับผม วิธีการที่พี่ผมใช้มันเยี่ยมและฉลาดมาก ๆ
  • 3:17 - 3:20
    ผมมีพี่น้อง 5 คน ผมเป็นคนเล็กสุด
  • 3:20 - 3:22
    เรกจี พี่ชายคนโต
  • 3:22 - 3:24
    เขาห่างกับผมแค่ 8 ปี
  • 3:24 - 3:27
    ทำไมเขาฉลาดขนาดนี้ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
  • 3:27 - 3:29
    นั่นควรจะเป็น TED Talk ตัวจริง
  • 3:29 - 3:33
    เขาคิดวิธีการอันแยบยลได้ยังไง
  • 3:33 - 3:37
    โดยที่ไม่ต้องคอยสอนพวกน้อง ๆ เล่นดนตรี
  • 3:37 - 3:39
    เค้าไม่ได้เริ่มด้วยการเอากีตาร์เบสให้ผม
  • 3:39 - 3:41
    เปล่าเลย
  • 3:43 - 3:46
    สิ่งแรกที่พวกเขาทำคือเล่นดนตรีรอบ ๆ ผม
  • 3:47 - 3:49
    ตั้งแต่ผมยังเล็ก ๆ ตั้งแต่ผมจำความได้
  • 3:49 - 3:51
    ผมจำได้ตอนที่เราอยู่ที่ฮาวาย
  • 3:51 - 3:57
    พี่ ๆ ผมจะตั้งเครื่องดนตรี ผมจำได้ถีงเก้าอี้พลาสติก
  • 3:57 - 3:59
    หลาย ๆ ครั้งเราจะตั้งวงกันที่สนามหน้าบ้าน
  • 3:59 - 4:01
    ที่ ๆ ผมจะเห็นเก้าอี้พลาสติก
  • 4:01 - 4:04
    และมีกีตาร์ของเล่นรูปมิกกี้เมาส์
  • 4:04 - 4:06
    วางอยู่บนเก้าอี้
  • 4:06 - 4:09
    ไม่มีใครบอกผม ว่านั้นเป็นของผม
  • 4:09 - 4:11
    มันเหมือนกับที่ ไม่มีใครมาบอกคุณว่า
  • 4:11 - 4:13
    คุณต้องเริ่มพูดเมื่อไหร่
  • 4:13 - 4:14
    คุณรู้ว่าคุณจะต้องทำอะไร
  • 4:14 - 4:17
    เหมือนกับที่ผมรู้ว่า เก้าอี้ตัวนั้นเป็นของผม
  • 4:17 - 4:18
    ผมรู้ว่าเครื่องดนตรีนั้นเป็นของผม
  • 4:18 - 4:20
    มันมีสายพลาสติก
  • 4:20 - 4:22
    คุณแค่ผูกสายเข้ากับตัวและเริ่มเล่นเพลงได้เลย
  • 4:22 - 4:24
    แต่เอาเข้าจริง ๆ
  • 4:24 - 4:27
    การเริ่มของคุณไม่ได้เริ่มต้นจากการดีดสาย
  • 4:27 - 4:30
    ในตอนนั้น เมื่อผมโตพอที่จะถือเครื่องดนตรี
  • 4:32 - 4:36
    พี่ ๆ หาอะไรมาให้ถือ ถือเพื่อให้โยกไปกับมัน
  • 4:36 - 4:39
    เพื่อเตรียมผมให้พร้อมสำหรับปีต่อ ๆ ไป
  • 4:39 - 4:42
    มันไม่ใช่เรื่องของการเล่นเครื่องดนตรี
  • 4:42 - 4:45
    มันเป็นความผิดพลาด ของครูดนตรีหลาย ๆ คน
  • 4:45 - 4:47
    ที่พวกเรามักจะสอนเด็ก ๆ
  • 4:47 - 4:50
    ให้เล่นเครื่องดนตรี ก่อนที่จะเข้าใจดนตรี
  • 4:50 - 4:53
    คุณจะไม่สอนเด็กว่าสะกดยังไง
  • 4:53 - 4:54
    การสอนเด็กให้สะกดคำว่า "นม"
  • 4:54 - 4:57
    ก่อนที่เด็ก ๆ จะได้ดื่มนมก่อนสัก 2-3 ปี
  • 4:57 - 4:58
    คุณว่ามันเข้าท่าหรือเปล่า ?
  • 4:58 - 5:01
    แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง เราทำแบบนั้นกับดนตรี
  • 5:01 - 5:05
    เรากลับสอนเด็กถึงกฎเกณฑ์และเครื่องดนตรีก่อน
  • 5:06 - 5:09
    แต่ตอนผม 2 ขวบ พี่ ๆ เอาเครื่องดนตรีเด็กเล่นให้ผม
  • 5:09 - 5:11
    ตอนนั้นผมพร้อมแล้วสำหรับดนตรี
  • 5:11 - 5:14
    เพราะผมเชื่อว่า เราเกิดมาพร้อมดนตรี
  • 5:14 - 5:18
    เพียงแค่ฟังเสียงร้องของผู้คน ฟังเสียงของเด็ก ๆ
  • 5:18 - 5:20
    ไม่มีเสียงดนตรีไหนบริสุทธิ์เท่านี้อีกแล้ว
  • 5:20 - 5:23
    พวกพี่ ๆ ของผมรู้ว่าผมเกิดมากับดนตรี
  • 5:23 - 5:25
    แต่ว่าพวกเขาต้องการให้ผมเป็นมือเบส
  • 5:25 - 5:28
    ดังนั้น พอผมโตได้ที่ เขาก็เอาของเล่นใส่มือผม
  • 5:28 - 5:30
    และเขาก็เล่นเพลง
  • 5:30 - 5:34
    ผมก็กระโดดและดีดไปตามจังหวะ
  • 5:34 - 5:39
    แต่ที่เจ๋งมาก คือ มันไม่ใช่เรื่องของเครื่องดนตรี
  • 5:39 - 5:43
    ผมกำลังเรียนรู้ที่จะเล่นดนตรี ไม่ใช่เครื่องดนตรี
  • 5:43 - 5:46
    และผมก็ทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
  • 5:46 - 5:51
    ขอย้ำ ที่ผมรู้ ผมเข้าใจคือความหมายต่าง ๆ
  • 5:51 - 5:56
    ตอนที่พี่ชายผมเปิดไฮแฮท เมื่อจบจังหวะที่ 4 ของท่อน
  • 5:56 - 5:58
    หรือตอนที่ผมเรียนรู้ว่าท่อนนี้ต่างกับท่อนนั้นยังไง
  • 5:58 - 6:01
    มันเป็นวิธีเดียวกับที่เด็กทารกรู้จัก
  • 6:01 - 6:04
    เสียงของแม่ที่สูง
  • 6:04 - 6:07
    เทียบกับเสียงของพ่อที่ต่ำกว่า
  • 6:07 - 6:08
    คุณรู้จักสิ่งเหล่านี้
  • 6:08 - 6:12
    แม้ว่าคุณจะไม่ได้เข้าใจความหมายของคำ
  • 6:12 - 6:14
    คุณเรียนรู้ผ่านสิ่งเหล่านี้
  • 6:14 - 6:16
    กว่าที่เด็กทารกจะพูดเป็นคำ ๆ
  • 6:16 - 6:19
    เขารู้เรื่องภาษาไปเยอะแล้ว
  • 6:19 - 6:21
    ผมก็เรียนรู้เรื่องดนตรีในลักษณะเดียวกัน
  • 6:21 - 6:23
    ตอนที่ผมเริ่มเล่นเครื่องดนตรี
  • 6:23 - 6:25
    ผมมีดนตรีอยู่เต็มเปี่ยม
  • 6:25 - 6:27
    ตอนที่ผมย่างเข้า 3 ขวบ
  • 6:27 - 6:32
    เรกจีเอาสายกีตาร์ 2 สายจากกีตาร์ของเขา
  • 6:32 - 6:34
    เขาเอาสายเสียงสูงออก 2 สาย
  • 6:34 - 6:37
    และนั้นกลายเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกของผม
  • 6:37 - 6:39
    จากนั้นเรกจีจึงเริ่มสอนผม
  • 6:39 - 6:44
    ที่จะวางมือในบางตำแหน่ง เพื่อที่จะเล่นโน๊ต
  • 6:44 - 6:46
    ในเพลงที่ผมคุ้นเคย
  • 6:49 - 6:51
    ผมไม่ได้เพิ่งเริ่มเล่นจากตรงนั้น
  • 6:51 - 6:53
    ผมมีดนตรีมาก่อน
  • 6:53 - 6:57
    ถึงตรงนี้ ผมแค่ใส่ดนตรีเข้าไปในเครื่องดนตรี
  • 6:58 - 7:00
    เมื่อมองย้อนกลับไป
  • 7:00 - 7:02
    ผมถึงเข้าใจว่า ผมเรียนรู้ที่จะพูดได้อย่างไร
  • 7:02 - 7:05
    ไม่ใช่เรียนรู้ที่จะใช้เครื่องดนตรีก่อน
  • 7:05 - 7:08
    ใครจะมาสนใจว่าคุณพูดผ่านเครื่องมืออะไร
  • 7:08 - 7:10
    มันสำคัญตรงสิ่งที่คุณจะพูด
  • 7:12 - 7:16
    ผมมีดนตรีอยู่ในเสียงของผมเสมอ
  • 7:16 - 7:18
    ผมมีสิ่งที่ต้องการจะพูดอยู่เสมอ
  • 7:18 - 7:22
    และผมเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดผ่านเครื่องดนตรี
  • 7:23 - 7:25
    ถ้าคุณคิดถึงสิ่งเหล่านี้
  • 7:25 - 7:28
    ไม่ถูกบังคับให้ฝึกซ้อม
  • 7:28 - 7:32
    ไม่ถูกบอกว่าต้องพูดอะไร
  • 7:32 - 7:35
    คือผมขอกลับมาพูดถึงภาษา
  • 7:35 - 7:38
    เวลาที่ครูสอนคำศัพท์ใหม่
  • 7:38 - 7:42
    ครูจะสอนผ่านประโยคตามสถานการณ์ที่ใช้
  • 7:42 - 7:44
    ครูดนตรีจะบอกให้คุณไปฝึกซ้อม
  • 7:44 - 7:49
    การซ้อมก็ดีแต่มันเป็นกระบวนการที่ช้า กว่าการเรียนจากสถานการณ์
  • 7:49 - 7:51
    และพวกเราก็รู้เรื่องนี้ดีในการเรียนภาษา
  • 7:51 - 7:53
    ที่เล่ามาเป็นเส้นทางการเรียนรู้ของผม
  • 7:53 - 7:57
    เมื่อผมโตขึ้น ประมาณ 5 ขวบ
  • 7:57 - 8:00
    พวกเรา 5 คนก็เริ่มออกทัวร์กันจริง ๆ
  • 8:00 - 8:02
    พวกเราโชคดีที่ได้มีโอกาสออกทัวร์
  • 8:02 - 8:04
    เป็นวงเปิดให้กับนักร้องเพลงโซล ชื่อดัง
  • 8:04 - 8:07
    ชื่อ เคอติส เมย์ฟิลด์
  • 8:07 - 8:10
    ถ้าผม 5 ขวบตอนนั้น พี่ชายคนโตสุดของผมก็ 13 ขวบเท่านั้น
  • 8:11 - 8:13
    เมื่อคิดถึงตอนนั้น
  • 8:13 - 8:16
    ตอนอายุเท่านั้นพวกเราก็พูดภาษาอังกฤษได้ดีแล้ว
  • 8:16 - 8:18
    แล้วทำไมจะทำไม่ได้กับดนตรีล่ะ
  • 8:19 - 8:22
    ตั้งแต่นั้นมาผมก็มองดนตรีในแบบเดียวกับภาษา
  • 8:22 - 8:25
    เพราะผมเรียนดนตรีแบบเดียวกัน
  • 8:25 - 8:27
    และเรียนไปพร้อม ๆ กับภาษา
  • 8:28 - 8:30
    ส่วนดีที่สุดคือ
  • 8:30 - 8:33
    ผมยังคงรักษาสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเด็ก ๆ
  • 8:34 - 8:35
    คืออิสรภาพ
  • 8:37 - 8:41
    พวกเราหลาย ๆ คนถูกสอนจนไม่มีเสียงของตัวเอง
  • 8:41 - 8:44
    อย่างตอนที่เราเริ่มบทเรียนแรก
  • 8:44 - 8:45
    เรามักไปหาครู
  • 8:45 - 8:47
    และครูน้อยคนที่จะรู้ว่า
  • 8:47 - 8:49
    ทำไมเราถึงมาเรียนดนตรี
  • 8:49 - 8:52
    หลาย ๆ ครั้งที่เด็กสมมุติว่าตัวเองกำลังเล่นกีตาร์
  • 8:52 - 8:54
    ซึ่งตรงนั้นไม่มีผิดหรือถูก
  • 8:54 - 8:57
    ไม่มีเล่นโน๊ตถูกหรือผิด ไม่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี
  • 8:57 - 8:59
    เด็ก ๆ เล่นเพราะมันรู้สึกดี
  • 8:59 - 9:03
    มันเหมือนกับที่คุณร้องเพลงตอนอาบน้ำ
  • 9:03 - 9:07
    หรือคุณร้องเพลงตอนขับรถไปทำงาน
  • 9:07 - 9:10
    คุณไม่ได้ร้องเพราะคุณร้องได้ถูกโน๊ต
  • 9:10 - 9:12
    หรือร้องเพราะคุณรู้จักสเกลนั้นดี
  • 9:12 - 9:15
    แต่คุณร้องเพราะคุณรู้สึกดี
  • 9:15 - 9:18
    ผมได้คุยกับผู้หญิงคนหนึ่ง เธอเล่าว่า
  • 9:18 - 9:20
    "ฉันคือ เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ ตอนฉันอาบน้ำ"
  • 9:20 - 9:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:22 - 9:24
    แน่นอนเธอพูดถูก
  • 9:24 - 9:28
    แต่ทำไมมันเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อเริ่มมีคนฟัง
  • 9:30 - 9:33
    อิสรภาพนั้นเริ่มหายไป เมื่อเราโตขึ้น เมื่อเรารู้มากขึ้น
  • 9:33 - 9:37
    และเราจำเป็นต้องหาวิธีรักษาอิสภาพนั้นไว้
  • 9:37 - 9:38
    มันเป็นไปได้
  • 9:38 - 9:40
    มันไม่ได้หายไปอย่างถาวร
  • 9:41 - 9:45
    เด็กที่เล่นกีตาร์สมมุติ จะเล่นด้วยร้อยยิ้ม
  • 9:47 - 9:50
    พอเริ่มบทเรียนแรก รอยยิ้มก็หายไป
  • 9:52 - 9:54
    หลาย ๆ ครั้งคุณต้องทำงานหนัก
  • 9:54 - 9:57
    ตลอดชีวิตนักดนตรี เพื่อจะนำรอยยิ้มกลับมา
  • 9:57 - 10:02
    ในฐานะครู เราสามารถรักษารอยยิ้มนั้นไว้ ถ้าเราเข้าใจ
  • 10:02 - 10:05
    เข้าใจดนตรีแบบเดียวกับภาษา
  • 10:05 - 10:08
    รักษาอิสรภาพของผู้เรียน
  • 10:08 - 10:10
    พอผมเริ่มโตขึ้นมาหน่อย
  • 10:10 - 10:14
    ผมกับพี่พี่ เริ่มออกทัวร์มากขึ้น
  • 10:14 - 10:17
    แม่ผมถามคำถาม ที่ผมไม่เคยเข้าใจมันอย่างแท้จริง
  • 10:17 - 10:21
    จนกระทั่งผมอายุมากขึ้น และมีลูก
  • 10:21 - 10:22
    คำถามคือ
  • 10:22 - 10:25
    "โลกต้องการอะไร
  • 10:26 - 10:28
    จากนักดนตรีที่ดีอีกสักคน"
  • 10:30 - 10:31
    อยากให้ลองคิดดู
  • 10:31 - 10:33
    ผมคงตอบว่า ดนตรี
  • 10:33 - 10:35
    แต่ลองแทนที่ด้วยอาชีพของคุณ
  • 10:35 - 10:37
    โลกต้องการอะไรจากคุณ
  • 10:40 - 10:43
    ผมเพิ่งเข้าใจ ตอนที่ผมอายุมากขึ้น
  • 10:43 - 10:47
    ว่าดนตรีไม่ใช่แค่ภาษา ดนตรีเป็นวิถีชีวิต
  • 10:49 - 10:50
    มันเป็นวิถีชีวิตของผม
  • 10:50 - 10:55
    ผมไม่ได้หมายถึง วิถีชีวิตนักดนตรีแบบที่หลายคนเป็น
  • 10:56 - 11:00
    ลองดู ฮีโร่ทางดนตรีหลายคนในอดีต
  • 11:00 - 11:02
    คุณจะพบว่าเขาประสบความสำเร็จอย่างมากทางดนตรี
  • 11:02 - 11:05
    แต่กลับล้มเหลวอย่างมากกับชีวิต
  • 11:06 - 11:10
    ผมสามารถเอ่ยชื่อได้ แต่คงไม่ดีกว่า
  • 11:10 - 11:14
    ถ้าเราคิดถึงฮีโร่ของเรา หลาย ๆ คนเป็นแบบนั้น
  • 11:15 - 11:18
    ผมคิดว่า ตอนนั้นพ่อแม่ผมคงเตรียมพวกเราให้พร้อม
  • 11:18 - 11:20
    ณ ตอนนั้นพวกเราคงไม่รู้
  • 11:20 - 11:22
    แต่เธอคงเห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้น
  • 11:22 - 11:24
    "โลกต้องการอะไร
  • 11:27 - 11:29
    จากนักดนตรีที่ดีอีกสักคน"
  • 11:30 - 11:32
    เราฝึกซ้อมกันอย่างหนัก
  • 11:33 - 11:36
    เราเปลี่ยนบ้านเป็นห้องซ้อมดนตรี
  • 11:36 - 11:38
    เพื่อที่นักดนตรีแถวบ้าน
  • 11:38 - 11:40
    นักดนตรีในจังหวัดจะมาเล่นด้วย
  • 11:40 - 11:42
    เราฝึกซ้อม
  • 11:42 - 11:44
    พ่อแม่ผมยอมใช้เงินที่ไม่ค่อยจะมี
  • 11:44 - 11:47
    ไปกับเครื่องดนตรีใหม่ ๆ
  • 11:47 - 11:50
    ช่วงคริสต์มาส ซานตาคลอสจะเอาของรุ่นล่าสุดมาให้
  • 11:50 - 11:52
    นั่นหมายความว่าอะไร
  • 11:53 - 11:56
    เพื่อว่าเราจะทำเงินได้อย่างงั้นหรือ?
  • 11:56 - 11:59
    เพื่อที่เราจะได้เล่นบนเวทีด้วยความภาคภูมิใจหรือ?
  • 12:02 - 12:06
    ตอนนี้ผมเข้าใจแล้ว ว่ามันมากกว่านั้น
  • 12:07 - 12:09
    ดนตรีคือวิถีชีวิตของผม
  • 12:10 - 12:12
    และตอนนี้ผมอยู่ในแวดวงการสอนดนตรี
  • 12:12 - 12:16
    ผมสามารถแชร์กับคุณในฐานะของครู
  • 12:16 - 12:19
    ผมได้เข้าใจว่า มีหลายอย่างที่เราเรียนรู้ได้จากดนตรี
  • 12:19 - 12:20
    มาปรับใช้กับชีวิต
  • 12:20 - 12:23
    จะเป็นนักดนตรีที่ดี คุณต้องเป็นนักฟังที่ดี
  • 12:26 - 12:27
    มันไม่สำคัญว่า
  • 12:27 - 12:29
    ผมจะเป็นมือเบสหรือเครื่องดนตรีอื่นที่เก่งเพียงใด
  • 12:29 - 12:31
    มันไม่สำคัญว่าผมเก่งแค่ไหน
  • 12:31 - 12:35
    เราสามารถเอานักดนตรีที่เก่งที่สุดของโลก 5 คนขึ้นมาบนเวที
  • 12:36 - 12:39
    แต่ถ้านักดนตรีเหล่านั้นเก่งแบบตัวใครตัวมัน
  • 12:39 - 12:41
    เล่นออกมาก็ไม่น่าฟัง
  • 12:44 - 12:47
    แต่ถ้าเราฟังคนอื่นและเล่นไปด้วยกัน
  • 12:49 - 12:51
    โดยที่ แต่ละคนไม่ต้องเก่งมากก็ได้
  • 12:52 - 12:55
    เสียงที่ออกมาก็จะดีกว่ามาก
  • 12:58 - 12:59
    เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  • 12:59 - 13:02
    ผมถูกเชิญไปที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในแคลิฟอร์เนีย
  • 13:02 - 13:03
    ร่วมกับทีมนักดนตรี
  • 13:03 - 13:06
    เพื่อแนะนำนักศึกษาปี 1 ที่มาใหม่
  • 13:06 - 13:09
    เราได้ใช้ดนตรีเพื่อให้พวกเขา
  • 13:09 - 13:12
    ได้คิดถึงว่า ใน 4 ปีข้างหน้าชีวิตพวกเขาจะเป็นเช่นไร
  • 13:12 - 13:15
    มันสนุกที่จะใช้ดนตรีเป็นช่องทาง
  • 13:15 - 13:18
    ที่ทำให้ผมพูดได้ทุกเรื่อง และกระทบใจ
  • 13:18 - 13:20
    ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การเหยียดผิว
  • 13:20 - 13:22
    ความเท่าและไม่เท่าเทียม ศาสนา
  • 13:22 - 13:24
    ผมสามารถสื่อผ่านดนตรี
  • 13:24 - 13:26
    โดยที่ผมยังมีความปลอดภัยในชีวิต
  • 13:26 - 13:28
    ตอนนั้นเราเลือกคนฟังมา 1 คน
  • 13:28 - 13:30
    เป็นคนที่ไม่เคยเล่นเครื่องดนตรีมาก่อน
  • 13:30 - 13:31
    เราได้ผู้หญิง
  • 13:31 - 13:34
    เราขอให้เธอขึ้นเวที เอาเบสให้เธอสะพาย
  • 13:34 - 13:35
    แล้วก็ให้วงดนตรีเริ่มเล่น
  • 13:35 - 13:37
    พอวงเริ่มปุ๊บ
  • 13:37 - 13:39
    เธอก็เริ่มทำแบบนี้
  • 13:39 - 13:41
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:41 - 13:42
    แล้วผมก็บอกว่า "นั่นไงล่ะ ดนตรี"
  • 13:44 - 13:47
    เครื่องดนตรีถ้ามันวางอยู่เฉย ๆ ในร้าน
  • 13:47 - 13:49
    มันไม่มีเสียงใด ๆ ออกมาหรอก
  • 13:49 - 13:51
    แต่ถ้าคุณอยากให้เกิดเสียงดนตรี
  • 13:51 - 13:53
    คุณต้องเอาให้คนเล่น
  • 13:53 - 13:54
    และจังหวะจากการโยกหัวของคุณ
  • 13:54 - 13:57
    คุณต้องส่งผ่านไปยังเครื่องดนตรีของคุณ
  • 13:57 - 13:59
    ผมแค่ให้เธอเอามือข้างซ้ายจับไปที่คอของเบส
  • 13:59 - 14:02
    เพราะทุกคนรู้ว่าจะจับเครื่องดนตรีอย่างไร
    ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย
  • 14:02 - 14:07
    กดแล้วให้มือขวาเต้นรำไปบนสาย
  • 14:07 - 14:10
    เธอก็เริ่มกระโดดไปตามโน๊ต วงก็เริ่มเล่นรอบ ๆ เธอ
  • 14:10 - 14:13
    เพียงครู่เดียวเธอก็กลายเป็นมือเบส
  • 14:13 - 14:16
    ยิ่งกว่านั้น เธอคือนักดนตรี
  • 14:16 - 14:18
    นักเต้นไม่เคยถามก่อนที่จะเต้น
  • 14:18 - 14:21
    นักร้องไม่จำเป็นต้องถามว่าวงเล่นคีย์ไหนอยู่
  • 14:21 - 14:24
    แต่นักดนตรีกลับมีคำถามมากมาย
  • 14:25 - 14:27
    นั่นสอนให้ผมรู้ว่า "ว้าว"
  • 14:27 - 14:31
    เพราะว่าพวกเราเก่ง เธอเลยไม่ต้องรู้อะไรก็ได้
  • 14:31 - 14:33
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:33 - 14:37
    หากใครสักคนเดินเข้ามาในห้องและเห็นวงดนตรีเล่น
  • 14:37 - 14:40
    โดยมีมือใหม่ร่วมบนเวที
  • 14:40 - 14:43
    เขาจะไม่รู้ว่าใครเป็นมือใหม่
  • 14:44 - 14:46
    นั่นทำให้ผมร้อง "้ว้าว !
  • 14:46 - 14:49
    ถ้าผมใช้ความสามารถไปในทางที่ถูก
  • 14:49 - 14:53
    มันจะช่วยให้คนอื่นเก่งขึ้นอย่างรวดเร็ว"
  • 14:53 - 14:55
    และที่เจ๋งกว่านั้นคือ
  • 14:55 - 14:57
    เธอได้เอาเบสกีตาร์ตัวนั้นกลับบ้านด้วย
  • 14:57 - 14:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:59 - 15:02
    ผมพบเธอเร็ว ๆ นี้ เธอยังคงเป็นมือเบสอยู่
  • 15:02 - 15:04
    มันยอดเยี่ยมมาก
  • 15:04 - 15:08
    การฟังเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีที่เราสามารถเอามาใช้ในชีวิต
  • 15:08 - 15:09
    ทำงานร่วมกัน
  • 15:09 - 15:12
    เราเก่งด้วยการที่ช่วยให้คนอื่นให้เก่งขึ้น
  • 15:12 - 15:13
    เมื่อคนขอให้คุณขึ้นเวที
  • 15:13 - 15:16
    อย่าเลี่ยงออกมาด้วยท่าทีเหมือนคุณถ่อมตัว
  • 15:16 - 15:17
    ขึ้นไปยืนบนนั้น
  • 15:17 - 15:21
    ถ้าเขายกคุณขึ้นไป แสดงว่าพวกเขาเห็นว่าคุณสูงส่งแค่ไหน
  • 15:21 - 15:23
    ยืนบนนั้นแล้วดึงพวกเขาขึ้นไป
  • 15:24 - 15:27
    พวกเขาจะเติบโตได้เร็วกว่าที่คุณลงมาข้างล่าง
  • 15:27 - 15:31
    เราสามารถช่วยคนอื่นได้เพราะเราเก่ง
  • 15:31 - 15:35
    แต่ในทางดนตรี ผมจะเก่งได้ก็ต่อเมื่อคนอื่น ๆ บอกว่าผมเก่ง
  • 15:35 - 15:37
    คนอื่น ๆ บอกว่า "นั่นไง เขาได้รางวัลแกรมมี่"
  • 15:37 - 15:40
    แต่ผมไม่สามารถชนะได้หากไม่มีพวกคุณ
  • 15:40 - 15:42
    อีกสิ่งหนึ่งที่แม่ผมสอนพวกเราเสมอ
  • 15:42 - 15:44
    คือ "พวกเธอประสบความสำเร็จแล้ว
  • 15:45 - 15:48
    แค่โลกยังไม่รู้จักต่างหาก"
  • 15:49 - 15:50
    ตอนแม่สอนผมก็ยังไม่เข้าใจ
  • 15:50 - 15:52
    แต่ตอนนี้ผมเข้าใจดีแล้ว
  • 15:54 - 15:56
    ก่อนหมดเวลา ผมอยากให้คุณคิดถึงเรื่องนี้
  • 15:56 - 15:59
    ถ้าผมเล่นโน๊ต 2 ตัว เอาว่า C
  • 15:59 - 16:01
    -อยากให้คุณลองใช้จิตนาการของคุณดู-
  • 16:01 - 16:05
    ถ้าผมเล่น C และ C# ที่อยู่ติดกัน
  • 16:06 - 16:08
    เสียงที่ได้มันก็จะขัด ๆ
  • 16:09 - 16:11
    "ผิด" "ไม่ได้เรื่อง"
  • 16:14 - 16:17
    แต่ถ้าผมเล่น C ขึ้นไป อีกอ็อกเทฟ
  • 16:18 - 16:21
    เล่น C# และ C อีกครั้ง
  • 16:21 - 16:23
    เพียงเท่านี้ เราจะได้เสียงที่ไพเราะมาก
  • 16:23 - 16:24
    โน๊ต 2 ตัวเหมือนเดิม
  • 16:26 - 16:29
    C ตัวนั้นจะกลายเป็น C เมเจอร์ 7 ที่เข้ากับ C# ได้ดี
  • 16:29 - 16:34
    ซึ่งเป็นโน๊ตสำคัญของคอร์ดที่ให้เสียงเพราะมาก
  • 16:34 - 16:37
    ทั้ง ๆ ที่เป็นโน๊ตตัวเดิม โน๊ต 2 ตัวเหมือนกัน
  • 16:37 - 16:39
    แต่ทำไมให้เสียงต่างกันได้
  • 16:39 - 16:41
    อันหนึ่งเสียงแย่ แต่อีกอันเสียงเพราะได้?
  • 16:41 - 16:43
    ลองเอาเรื่องนี้มาใช้กับชีวิต
  • 16:44 - 16:47
    เวลาที่คุณเห็นอะไรแย่ ๆ หรือเลวร้ายในชีวิต
  • 16:47 - 16:49
    บางทีมุมที่คุณมองอาจจะผิดอ็อกเทฟ
  • 16:51 - 16:53
    บางทีเราแค่เปลี่ยนมุมองของเรา
  • 16:54 - 16:57
    จริง ๆ แล้วถ้าคุณเห็นอะไรที่มันผิด
  • 16:57 - 17:00
    คุณควรจะระลึกได้ว่า คุณกำลังมองอยู่ผิดมุม
  • 17:00 - 17:05
    และหาทางที่จะเปลี่ยนมุมมอง
  • 17:05 - 17:08
    หรือศัพท์ดนตรีก็คือเปลี่ยนอ็อกเทฟ
  • 17:11 - 17:18
    ประเทศที่สร้างระเบิดเพื่อที่จะทำร้ายกัน
  • 17:19 - 17:23
    ปลูกฝังความกลัว ฆ่าผู้คนเพื่อพิสูจน์จุดยืน
  • 17:24 - 17:28
    ประเทศที่รัฐบาลสวดอวยพรแล้วก็ทิ้งระเบิด
  • 17:29 - 17:32
    มันเกิดขึ้นจากการสั่งการ จากบนสู่ล่าง
  • 17:32 - 17:34
    การมีรัฐบาลจากข้างล่างจะเป็นคำตอบ
  • 17:35 - 17:39
    มันทำให้ผมเข้าใจว่าทางออกจะมาจากล่างขึ้นบน
  • 17:39 - 17:42
    จะมีใครบ้างที่กำลังสร้างระเบิดที่ทำให้คนหลงรัก
  • 17:43 - 17:45
    มันคงจะเป็นระเบิดกามเทพ
  • 17:46 - 17:48
    ผมเชื่อว่าเรามีกันอยู่แล้ว
  • 17:48 - 17:50
    มันคือดนตรี
  • 17:51 - 17:54
    และแต่ละประเทศมีรูปแบบของตัวเอง
  • 17:54 - 17:57
    และใช้ได้ดี เพราะมันพาให้ผู้คนมาร่วมกัน
  • 17:57 - 18:01
    ไม่ต้องรู้จักก็สามารถมีได้
  • 18:02 - 18:05
    มันเป็นภาษา เป็นวิถีชีวิต
  • 18:06 - 18:08
    และมันสามารถช่วยโลกได้
  • 18:08 - 18:11
    ผมชื่อ วิกเตอร์ วูเท่น ผมเป็นนักดนตรี
  • 18:12 - 18:14
    ผมหวังว่าคุณจะร่วมกับผมในสนามรบนั้น
  • 18:14 - 18:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 18:15 - 18:16
    ขอบคุณครับ
  • 18:16 - 18:17
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ดนตรีคือภาษา วิกเตอร์ วูเท่น
Description:

วูเท่น ยกกรณีศึกษาการเรียนดนตรีในลักษณะเดียวกับการเรียนภาษาแม่ของเรา ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่เน้นวิชาการ เขาชี้ให้เห็นว่า เด็กทารกไม่ได้ถูกสอนเรื่องภาษาหรือถูกแก้ไขตอนที่พูดผิด เด็ก ๆ ไม่รู้ตัวว่าเป็นมือใหม่ที่กำลังแจมกับคนที่เล่นเก่งกว่า วูเท่นใช้ประสบการณ์การสอนดนตรีของเขาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้มุมมองดนตรีคือภาษานี้ให้ผลลัพท์ที่ยอดเยี่ยม

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDxTalks
Duration:
18:31

Thai subtitles

Revisions