-
(เสียงระฆัง)
-
อาจารย์ชาวทิเบตเคยเล่าเรื่องนรก
หลังความตายให้ฟัง
-
นี่มันเป็นเรื่องจริง หรือเป็นกุศโลบาย
ที่ช่วยให้เราพัฒนาจิตตื่น
-
หรือเป็นคำอุปมาถึงประสบการณ์
-
ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน
-
(คำถามภาษาฝรั่งเศ~~~~~ส)
-
กัลยาณมิตรท่านนี้ได้เล่าว่า
-
เขารู้สึกว่า คำสอนของอาจารย์
เกี่ยวกับความตายค่อนข้างสบายๆ
-
เมื่อ 18 ปีที่แล้ว เขาไปเข้าคอร์สภานา
แบบทิเบต
-
แล้วก็มีพูดถึงเรื่อง "ความตาย"
-
ผู้สอนเล่ารายละเอียดมากมายเกี่ยวกับ
การเคลื่อนย้ายจิตสำนึก
-
ณ ขณะที่ตาย
ไปจนถึงสิ่งที่เกิดหลังความตาย
-
ผู้สอนเล่าไปถึงรายละเอียดนรกขุมต่างๆ
-
บางขุมเย็นหน่อย บางขุมร้อนหน่อย
-
และก็มีคำบรรยายเกี่ยวกับนรกขุมต่างๆ
-
อันนึงบอกว่ามี "เปรต" (ผีหิว)
-
เราอาจจะไปเกิดที่่ขุมนั้นก็ได้
-
แล้วมีคอเล็กนิดเดียว
-
และแม้จะหิวมาก แต่ก็ไม่สามารถกินอาหาร
-
ให้อิ่มได้
-
แล้วก็มีอีกหลายอย่างที่เขาอธิบาย
-
คำถามของกัลยาณมิตรท่านนี้ก็คือ
-
คำอธิบายเหล่านี้มีไว้เพื่อช่วยให้เรา...
-
(ค้นหาในสมุด)
-
ตื่น
(เสียงหัวเราะ)
-
คือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรา
-
ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายยิ่งขึ้น
เหมาะสมยิ่งขึ้น
-
และงดงามยิ่งขึ้นหรือเปล่า
-
หรือว่าคำบรรยายเหล่านี้คือ
มันมีอย่างนั้นจริงๆ
-
และถ้าจะเชื่อมโยงต่อจากนั้น ก็คือ
เรากล่าวแบบนี้ได้หรือไม่ว่า
-
นรก ที่จริงก็คือหมายถึงโลกนี้แหละ
ในช่วงเวลานี้เลย
-
คือเป็นอุปมา ของประสบการณ์
ขณะที่เรามีชีวิตนี่แหละ
-
หรือจริงๆ แล้วนรกเป็นสิ่งที่คงอยู่
ภายหลังความตายเท่านั้น
-
ที่จริงก็ยังมีอีก 2-3 คำถามนะคะ
แต่คิดว่าน่าจะพอแค่นี้ก่อน
-
(เสียงหัวเราะ)
-
คำถามนี้ก็คล้ายกับถามถึงความเชื่อมโยง
-
ระหว่างการ "หลับโดยไม่ฝัน"
กับ "จิตใต้สำนึก"
-
ดูจากวิธีการถาม
-
ก็รู้ว่าผู้ถาม...
-
ทราบคำตอบอยู่แล้ว
(เสียงหัวเราะ)
-
วิธีถามของเขาบอกอยู่ว่าเขารู้คำตอบ
-
ว่างั้นมั้ย?
-
อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นโอกาส
ที่จะให้พวกเราได้
-
เห็นจริงๆ ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า
มีประโยชน์ต่อคนมากมายเพียงใด
-
ไม่เพียงแต่คนฉลาดเท่านั้น
-
แม้แต่คนที่ไม่ได้รับการศึกษาที่ดีนัก
-
คำสอนของพุทธองค์ก็ยังเป็นประโยชน์
แก่พวกเขาเหล่านั้นเช่นกัน
-
คำสอนในพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง
เป็นไปเพื่อมหาชน
-
และก็มีส่วนที่เป็นแก่นลงไป
สำหรับคนกลุ่มน้อยที่สนใจ
-
ทั้งนี้วิธีการสอน บางทีก็ดูเหมือนจะ
"ขัดแย้ง" กันเอง หากเรามองที่รูปแบบ
-
จึงมีคำกล่าวว่า
-
ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามี
84,000 พระธรรมขันธ์
-
คำสอนมีมากมาย
วิธีการฝึกปฏิบัติมีมากมาย
-
สำหรับพวกที่กลัวการถูกลงโทษ
-
กลัวผลของกรรม
-
ประพฤติดี
-
เพราะกลัวผลของกรรมตามสนอง
-
ก็เป็นเหตุผลที่สอนพวกเขาเรื่องนรกขุมต่างๆ
-
ร้อนบ้าง เย็นบ้าง ว่ากันไป
-
อาจฟังดูเหมือนคำขู่
-
"ถ้าเธอทำอย่างนี้นะ
เธอจะต้องทุกข์ทรมานอย่างนี้"
-
ในวัดหลายๆ วัดก็จะมีจิตรกรรมภาพนรกอยู่
-
คล้ายเป็นการเตือนกลายๆ
-
"ถ้าไม่รักษาศีล 5
-
จะตกนรกนะ
-
ลงกระทะทองแดงไปเลย"
อะไรอย่างนั้น
-
"ถ้าโกหกนะ ยมทูตจะดึงลิ้นออกมา
-
แล้วตัดซะ"
-
(เสียงหัวเราะ)
-
วิธีนี้ก็ได้ผลกับคนจำนวนมากนะ
-
แต่ใช้ไม่ได้กับบางคน
-
นี่เรียกว่าเป็นพุทธประชานิยม
-
เรารู้กันอยู่ว่าชาวพุทธส่วนใหญ่
เชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด
-
อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้
-
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มองว่า "มีตัวตน"
"มีตัวตนที่มีดวงวิญญาณ"
-
แยกต่างหากจากร่างกาย
-
เมื่อร่างกายนี้สูญสลายไป
-
วิญญาณเป็นดวงๆ นี้เป็นอมตะ
-
คอยหาร่างใหม่อาศัยอยู่ต่อไป
-
เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดใหม่แบบนั้น
และสอนกันแบบนั้นเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิด
-
แต่นี่ไม่ใช่แก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธเจ้า
-
เพราะมันตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ผิด
ว่า "มีตัวตน"
-
สิ่งใดๆ คำสอนใดๆ ที่ค้านกับ
-
ความเห็นถึงความไม่เที่ยง
ไม่มีตัวตน และการทำให้แจ้งในนิพพาน
-
ไม่ใช่แก่นของคำสอนของพระพุทธเจ้า
-
ไม่ว่าเรากำลังวิจัยเรื่องปฏิจจสมุปบาท
การกลับชาติมาเกิด เรื่องกฏแห่งกรรม
-
ถ้าคำสอนนั้น ถ้าการปฏิบัตินั้น
ไม่เป็นไปเพื่อการเห็นตามจริงว่า ไม่เที่ยง
-
ไม่มีตัวตน และการทำให้แจ้งในนิพพาน
นั่นไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
-
ที่จริงหลายๆ เรื่องนั้น
-
มาจากคำสอนในพระเวท หรือคำภีร์อุปนิษัท
-
เราทราบกันดีว่าก่อนพุทธกาล
ความเชื่อเหล่านี้ก็แพร่หลายอยู่แล้ว
-
การกลับชาติมาเกิด หรือกฏแห่งกรรม
-
เรื่องเหล่านี้
ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น
-
คำสอนเหล่านี้มีมาก่อนหน้า
พระพุทธเจ้าเสียอีก
-
แต่มันอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่า
"ตัวตนมีอยู่"
-
พระพุทธเจ้านั้น แม้จะทรงตรัสถึง
การสืบต่อจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง
-
แต่คำสอนของท่านนั้นอยู่บนฐาน
ของความเห็นแจ้งว่า "ไม่มีตัวตน"
-
"ไม่เที่ยง" และในที่สุด "นิพพาน"
การเกิดและการดับก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป
-
ฉะนั้น..ความเชื่อลักษณะนี้
แม้ไม่ใช่พุทธแท้
-
ก็มีประโยชน์
-
บางพวกก็เชื่อในแดนสุขาวดี
ของพระอามิตตาพุทธ
-
ไม่ได้อยู่ที่นี่นะ
อยู่ทางตะวันตก
-
ถ้าอยากไปต้องตายก่อน
-
บางคนก็มีมุมมองที่ชัดเจนกว่า
เห็นต่างออกไป
-
เรารู้ว่าสุขาวดีของจริง
อยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้
-
ไม่จำเป็นว่าจะต้อง
ไปอยู่ทางตะวันตก หรือตะวันออก
-
เมื่อใดใจบริสุทธิ์ผ่องใส
-
สุขาวดีก็อยู่ที่นั่นแหละ
-
ซึ่งนี่ก็เขยิบเข้าไปใกล้สัมมาทิฏฐิ
(มุมมองที่ถูก) เข้าไปอีกหน่อย
-
วิถีของชาวพุทธ คือ ความเปิดกว้าง
ยอมรับความเห็นผู้อื่น
-
ชนบางพวกไม่สามารถ
เข้าถึงแก่นของพุทธศาสนาได้
-
เราก็ต้องให้พวกเขาค่อยๆ เปิดใจรับ
กับพุทธศาสนาในรูปแบบนี่ เจือจางลงมาหน่อย
-
เหมือนกับยาเคลือบน้ำตาลประมาณนั้น
-
มันช่วยได้นะ
-
ดังนั้นเราก็จะไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์
คำสอน หรือความเชื่อใคร
-
ที่บางครั้งไม่ตรงกับความจริงสูงสุด
เสียทีเดียว
-
เพราะเราเห็นใจ
-
เพราะเราเข้าใจ เราจึงเห็นใจ
-
วิถีแห่งพุทธเปิดกว้างเสมอ
ไม่สุดโต่ง
-
ถ้าเรามีความสามารถพอ
เราจะพาเขาไปอย่างช้าๆ
-
ค่อยๆ ให้เขาได้ละจากความเห็นผิด
-
พัฒนาเป็นความเห็นถูกขึ้นมา
เรื่อยๆ เรื่อยๆ
-
อันนี้ใช้ได้กับทุกคนนะ
-
ในตอนแรก เราเข้าใจว่าพระรัตนตรัย
เป็นอย่างนี้ๆ
-
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
-
ภาวนาไป 10 ปี
-
เราก็เห็นมุมมองที่ต่างออกไป
-
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
-
ผ่านไป 50 ปี
ความเข้าใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
-
ก็ลึกซื้งยิ่งขึ้น
-
เพราะเห็นอย่างนี้
เราจึงรู้จักที่จะเปิดกว้าง
-
ไม่คิดว่ามุมมองของเรา
เป็นมุมมองที่ถูกต้องที่สุด
-
เพราะเราเองก็อยู่ในระหว่างพัฒนา
-
เราพร้อมที่จะละมุมมองปัจจุบัน
-
เพื่อจะไปสู่มุมมองที่ถูกต้องกว่า
-
นี่เป็นการฝึก ลดละความยึดมั่นถือมั่น
ในความคิดความเห็น
-
สำหรับชาวพุทธ ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้
-
เราย่อมเปิดกว้าง
ยอมรับพุทธศาสนารูปแบบต่างๆ
-
ไม่เที่ยววิพากษ์วิจารณ์
-
เราเพียงช่วยให้เขาเห็นถูกเห็นตรง
และภาวนาได้ดียิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น
-
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรมีข้อขัดแย้ง
ระหว่างพุทธสายต่างๆ เกิดขึ้นเลย
-
และในความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้น
-
ศาสนาพุทธมีนิกาย มีสายต่างๆ เยอะมาก
-
แต่ไม่เคยก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์ใดๆ
มาฆ่าล้างกันเอง
-
เราควรจะรักษาขนบแห่งความใจกว้างนี้ไว้นะ
-
เปิดกว้าง ไม่ใช่เพราะมีใครมาบังคับ
-
แต่เปิดกว้างเพราะมีมุมมองที่ถูกต้อง
ฉะนั้นใจจึงเปิด
-
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงสามารถอดทน
-
ผู้ที่ไม่ได้ความคิดความเห็นตรงกับเราได้
-
ลองกล่าวถ้อยคำหวานๆ
และตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง
-
ช่วยให้อีกฝ่ายปล่อยจากมุมมองเดิมๆ
-
บางทีอาจจะยังมี
ความสุดโต่งบางอย่างอยู่ในนั้น
-
เราก็หัดมาเรียนรู้ว่าปัจจุบัน
-
ไม่ใช่อะไรที่สามารถดำรงอยู่ด้วยตนเอง
-
แยกต่างหากไปจากอดีต หรืออนาคต
-
เราจะไปตัดแล้วแยก
-
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ออกจากกันไม่ได้
-
นั่นเพราะ กาลทั้ง 3
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
-
เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน
-
ถ้าเราเห็นอันใดอันหนึ่ง
เราก็เห็นอีก 2 กาล
-
นี่เป็นเหตุผลว่า เมื่อเราอยู่
กับปัจจุบันขณะอย่างซึมซาบ
-
เราจะสัมผัสได้ถึงอดีต
และอนาคต
-
อดีตยังคงอยู่
และอนาคตก็มีอยู่
-
นี่เองเป็นญาณที่เกิดขึ้น
-
เมื่อเจริญสมาธิ โดยดูธรรมชาติ
ความเป็นเหตุปัจจัยของกาลเวลา
-
เชื่อมโยง บันดาลใจ เติมเต็ม
-
(เสียงระฆัง)