(เสียงระฆัง) อาจารย์ชาวทิเบตเคยเล่าเรื่องนรก หลังความตายให้ฟัง นี่มันเป็นเรื่องจริง หรือเป็นกุศโลบาย ที่ช่วยให้เราพัฒนาจิตตื่น หรือเป็นคำอุปมาถึงประสบการณ์ ที่เราสัมผัสได้ในปัจจุบัน (คำถามภาษาฝรั่งเศ~~~~~ส) กัลยาณมิตรท่านนี้ได้เล่าว่า เขารู้สึกว่า คำสอนของอาจารย์ เกี่ยวกับความตายค่อนข้างสบายๆ เมื่อ 18 ปีที่แล้ว เขาไปเข้าคอร์สภานา แบบทิเบต แล้วก็มีพูดถึงเรื่อง "ความตาย" ผู้สอนเล่ารายละเอียดมากมายเกี่ยวกับ การเคลื่อนย้ายจิตสำนึก ณ ขณะที่ตาย ไปจนถึงสิ่งที่เกิดหลังความตาย ผู้สอนเล่าไปถึงรายละเอียดนรกขุมต่างๆ บางขุมเย็นหน่อย บางขุมร้อนหน่อย และก็มีคำบรรยายเกี่ยวกับนรกขุมต่างๆ อันนึงบอกว่ามี "เปรต" (ผีหิว) เราอาจจะไปเกิดที่่ขุมนั้นก็ได้ แล้วมีคอเล็กนิดเดียว และแม้จะหิวมาก แต่ก็ไม่สามารถกินอาหาร ให้อิ่มได้ แล้วก็มีอีกหลายอย่างที่เขาอธิบาย คำถามของกัลยาณมิตรท่านนี้ก็คือ คำอธิบายเหล่านี้มีไว้เพื่อช่วยให้เรา... (ค้นหาในสมุด) ตื่น (เสียงหัวเราะ) คือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรา ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายยิ่งขึ้น เหมาะสมยิ่งขึ้น และงดงามยิ่งขึ้นหรือเปล่า หรือว่าคำบรรยายเหล่านี้คือ มันมีอย่างนั้นจริงๆ และถ้าจะเชื่อมโยงต่อจากนั้น ก็คือ เรากล่าวแบบนี้ได้หรือไม่ว่า นรก ที่จริงก็คือหมายถึงโลกนี้แหละ ในช่วงเวลานี้เลย คือเป็นอุปมา ของประสบการณ์ ขณะที่เรามีชีวิตนี่แหละ หรือจริงๆ แล้วนรกเป็นสิ่งที่คงอยู่ ภายหลังความตายเท่านั้น ที่จริงก็ยังมีอีก 2-3 คำถามนะคะ แต่คิดว่าน่าจะพอแค่นี้ก่อน (เสียงหัวเราะ) คำถามนี้ก็คล้ายกับถามถึงความเชื่อมโยง ระหว่างการ "หลับโดยไม่ฝัน" กับ "จิตใต้สำนึก" ดูจากวิธีการถาม ก็รู้ว่าผู้ถาม... ทราบคำตอบอยู่แล้ว (เสียงหัวเราะ) วิธีถามของเขาบอกอยู่ว่าเขารู้คำตอบ ว่างั้นมั้ย? อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นโอกาส ที่จะให้พวกเราได้ เห็นจริงๆ ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มีประโยชน์ต่อคนมากมายเพียงใด ไม่เพียงแต่คนฉลาดเท่านั้น แม้แต่คนที่ไม่ได้รับการศึกษาที่ดีนัก คำสอนของพุทธองค์ก็ยังเป็นประโยชน์ แก่พวกเขาเหล่านั้นเช่นกัน คำสอนในพุทธศาสนาส่วนหนึ่ง เป็นไปเพื่อมหาชน และก็มีส่วนที่เป็นแก่นลงไป สำหรับคนกลุ่มน้อยที่สนใจ ทั้งนี้วิธีการสอน บางทีก็ดูเหมือนจะ "ขัดแย้ง" กันเอง หากเรามองที่รูปแบบ จึงมีคำกล่าวว่า ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามี 84,000 พระธรรมขันธ์ คำสอนมีมากมาย วิธีการฝึกปฏิบัติมีมากมาย สำหรับพวกที่กลัวการถูกลงโทษ กลัวผลของกรรม ประพฤติดี เพราะกลัวผลของกรรมตามสนอง ก็เป็นเหตุผลที่สอนพวกเขาเรื่องนรกขุมต่างๆ ร้อนบ้าง เย็นบ้าง ว่ากันไป อาจฟังดูเหมือนคำขู่ "ถ้าเธอทำอย่างนี้นะ เธอจะต้องทุกข์ทรมานอย่างนี้" ในวัดหลายๆ วัดก็จะมีจิตรกรรมภาพนรกอยู่ คล้ายเป็นการเตือนกลายๆ "ถ้าไม่รักษาศีล 5 จะตกนรกนะ ลงกระทะทองแดงไปเลย" อะไรอย่างนั้น "ถ้าโกหกนะ ยมทูตจะดึงลิ้นออกมา แล้วตัดซะ" (เสียงหัวเราะ) วิธีนี้ก็ได้ผลกับคนจำนวนมากนะ แต่ใช้ไม่ได้กับบางคน นี่เรียกว่าเป็นพุทธประชานิยม เรารู้กันอยู่ว่าชาวพุทธส่วนใหญ่ เชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มองว่า "มีตัวตน" "มีตัวตนที่มีดวงวิญญาณ" แยกต่างหากจากร่างกาย เมื่อร่างกายนี้สูญสลายไป วิญญาณเป็นดวงๆ นี้เป็นอมตะ คอยหาร่างใหม่อาศัยอยู่ต่อไป เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดใหม่แบบนั้น และสอนกันแบบนั้นเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิด แต่นี่ไม่ใช่แก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะมันตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ผิด ว่า "มีตัวตน" สิ่งใดๆ คำสอนใดๆ ที่ค้านกับ ความเห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และการทำให้แจ้งในนิพพาน ไม่ใช่แก่นของคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าเรากำลังวิจัยเรื่องปฏิจจสมุปบาท การกลับชาติมาเกิด เรื่องกฏแห่งกรรม ถ้าคำสอนนั้น ถ้าการปฏิบัตินั้น ไม่เป็นไปเพื่อการเห็นตามจริงว่า ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และการทำให้แจ้งในนิพพาน นั่นไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ที่จริงหลายๆ เรื่องนั้น มาจากคำสอนในพระเวท หรือคำภีร์อุปนิษัท เราทราบกันดีว่าก่อนพุทธกาล ความเชื่อเหล่านี้ก็แพร่หลายอยู่แล้ว การกลับชาติมาเกิด หรือกฏแห่งกรรม เรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น คำสอนเหล่านี้มีมาก่อนหน้า พระพุทธเจ้าเสียอีก แต่มันอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่า "ตัวตนมีอยู่" พระพุทธเจ้านั้น แม้จะทรงตรัสถึง การสืบต่อจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่ง แต่คำสอนของท่านนั้นอยู่บนฐาน ของความเห็นแจ้งว่า "ไม่มีตัวตน" "ไม่เที่ยง" และในที่สุด "นิพพาน" การเกิดและการดับก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป ฉะนั้น..ความเชื่อลักษณะนี้ แม้ไม่ใช่พุทธแท้ ก็มีประโยชน์ บางพวกก็เชื่อในแดนสุขาวดี ของพระอามิตตาพุทธ ไม่ได้อยู่ที่นี่นะ อยู่ทางตะวันตก ถ้าอยากไปต้องตายก่อน บางคนก็มีมุมมองที่ชัดเจนกว่า เห็นต่างออกไป เรารู้ว่าสุขาวดีของจริง อยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้อง ไปอยู่ทางตะวันตก หรือตะวันออก เมื่อใดใจบริสุทธิ์ผ่องใส สุขาวดีก็อยู่ที่นั่นแหละ ซึ่งนี่ก็เขยิบเข้าไปใกล้สัมมาทิฏฐิ (มุมมองที่ถูก) เข้าไปอีกหน่อย วิถีของชาวพุทธ คือ ความเปิดกว้าง ยอมรับความเห็นผู้อื่น ชนบางพวกไม่สามารถ เข้าถึงแก่นของพุทธศาสนาได้ เราก็ต้องให้พวกเขาค่อยๆ เปิดใจรับ กับพุทธศาสนาในรูปแบบนี่ เจือจางลงมาหน่อย เหมือนกับยาเคลือบน้ำตาลประมาณนั้น มันช่วยได้นะ ดังนั้นเราก็จะไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์ คำสอน หรือความเชื่อใคร ที่บางครั้งไม่ตรงกับความจริงสูงสุด เสียทีเดียว เพราะเราเห็นใจ เพราะเราเข้าใจ เราจึงเห็นใจ วิถีแห่งพุทธเปิดกว้างเสมอ ไม่สุดโต่ง ถ้าเรามีความสามารถพอ เราจะพาเขาไปอย่างช้าๆ ค่อยๆ ให้เขาได้ละจากความเห็นผิด พัฒนาเป็นความเห็นถูกขึ้นมา เรื่อยๆ เรื่อยๆ อันนี้ใช้ได้กับทุกคนนะ ในตอนแรก เราเข้าใจว่าพระรัตนตรัย เป็นอย่างนี้ๆ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภาวนาไป 10 ปี เราก็เห็นมุมมองที่ต่างออกไป ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผ่านไป 50 ปี ความเข้าใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ลึกซื้งยิ่งขึ้น เพราะเห็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักที่จะเปิดกว้าง ไม่คิดว่ามุมมองของเรา เป็นมุมมองที่ถูกต้องที่สุด เพราะเราเองก็อยู่ในระหว่างพัฒนา เราพร้อมที่จะละมุมมองปัจจุบัน เพื่อจะไปสู่มุมมองที่ถูกต้องกว่า นี่เป็นการฝึก ลดละความยึดมั่นถือมั่น ในความคิดความเห็น สำหรับชาวพุทธ ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ เราย่อมเปิดกว้าง ยอมรับพุทธศาสนารูปแบบต่างๆ ไม่เที่ยววิพากษ์วิจารณ์ เราเพียงช่วยให้เขาเห็นถูกเห็นตรง และภาวนาได้ดียิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรมีข้อขัดแย้ง ระหว่างพุทธสายต่างๆ เกิดขึ้นเลย และในความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้น ศาสนาพุทธมีนิกาย มีสายต่างๆ เยอะมาก แต่ไม่เคยก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์ใดๆ มาฆ่าล้างกันเอง เราควรจะรักษาขนบแห่งความใจกว้างนี้ไว้นะ เปิดกว้าง ไม่ใช่เพราะมีใครมาบังคับ แต่เปิดกว้างเพราะมีมุมมองที่ถูกต้อง ฉะนั้นใจจึงเปิด นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงสามารถอดทน ผู้ที่ไม่ได้ความคิดความเห็นตรงกับเราได้ ลองกล่าวถ้อยคำหวานๆ และตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง ช่วยให้อีกฝ่ายปล่อยจากมุมมองเดิมๆ บางทีอาจจะยังมี ความสุดโต่งบางอย่างอยู่ในนั้น เราก็หัดมาเรียนรู้ว่าปัจจุบัน ไม่ใช่อะไรที่สามารถดำรงอยู่ด้วยตนเอง แยกต่างหากไปจากอดีต หรืออนาคต เราจะไปตัดแล้วแยก อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ออกจากกันไม่ได้ นั่นเพราะ กาลทั้ง 3 อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน ถ้าเราเห็นอันใดอันหนึ่ง เราก็เห็นอีก 2 กาล นี่เป็นเหตุผลว่า เมื่อเราอยู่ กับปัจจุบันขณะอย่างซึมซาบ เราจะสัมผัสได้ถึงอดีต และอนาคต อดีตยังคงอยู่ และอนาคตก็มีอยู่ นี่เองเป็นญาณที่เกิดขึ้น เมื่อเจริญสมาธิ โดยดูธรรมชาติ ความเป็นเหตุปัจจัยของกาลเวลา เชื่อมโยง บันดาลใจ เติมเต็ม (เสียงระฆัง)