ทำไมเราไม่สะกดคำอย่างที่เราอ่านออกเสียง
-
0:01 - 0:05เราเสียเวลาในโรงเรียน
ไปกับการเรียนรู้ที่จะสะกดคำ -
0:06 - 0:12ทุกวันนี้ เด็ก ๆ ก็ยังคงเสียเวลา
ที่โรงเรียนไปกับการสะกดคำ -
0:13 - 0:16นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม
ฉันจึงอยากจะตั้งคำถามที่ว่า -
0:18 - 0:21"เราต้องการกฎการสะกดคำใหม่หรือ"
-
0:22 - 0:24ฉันเชื่อว่าใช่ค่ะ เราต้องการมัน
-
0:24 - 0:29หรือถ้าจะให้ดี ฉันคิดว่าเราต้องการ
ที่จะให้การสะกดคำที่เรามีง่ายขึ้นกว่าเดิม -
0:29 - 0:33ทั้งคำถามและคำตอบนี้
ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลยสำหรับภาษาสเปน -
0:33 - 0:38พวกมันโต้กลับไปกลับมา
ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่า -
0:38 - 0:43ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1492 ในคู่มือ
ไวยากรณ์ภาษาสเปนฉบับแรก -
0:43 - 0:49อันโตนิโอ เดอร์ เนบริคา บอกหลักการสะกดคำ
ไว้อย่างชัดเจนและเรียบง่ายว่า -
0:49 - 0:52"... ดังนั้น เราจะต้องเขียนคำต่าง ๆ
ดังเช่นที่เราออกเสียงพวกมัน -
0:52 - 0:54และการออกเสียงคำเหล่านั้น
เฉกเช่นที่เราเขียนมัน" -
0:54 - 0:58แต่ละเสียงสอดคล้องกับตัวอักษรแต่ละตัว
-
0:58 - 1:01แต่ละตัวอักษร
เป็นตัวแทนของเสียงเดี่ยวแต่ละเสียง -
1:01 - 1:06และตัวอักษรที่ไม่ได้เป็นตัวแทนเสียงใดเลย
ก็สมควรถูกลบทิ้งไป -
1:08 - 1:10วิธีการนี้ เป็นวิธีการทางสัทศาสตร์
(Phonetic Approach) -
1:10 - 1:14ซึ่งบอกว่าเราจะต้องเขียนคำศัพท์ต่าง ๆ
ดังที่เราออกเสียงพวกมัน -
1:14 - 1:18ทั้งเป็นและไม่เป็นรากของการสะกดคำ
ที่เราปฏิบัติกันในทุกวันนี้ -
1:19 - 1:24เพราะว่าภาษาสเปนต่างจากภาษาอื่น ๆ
-
1:24 - 1:27เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
-
1:27 - 1:30ตรงที่ภาษาสเปนที่ไม่ยอมเขียนคำต่าง ๆ
-
1:30 - 1:31ให้ต่างจากที่เราอ่านออกเสียง
มากจนเกินไป -
1:31 - 1:34แต่เป็นเพราะเมื่อศตวรรษที่ 18
-
1:34 - 1:37เราตัดสินใจว่าเราจะวางมาตรฐาน
การเขียนของเราอย่างไร -
1:38 - 1:42และนี่เป็นอีกวิธีการหนึ่ง
ซึ่งแนะแนวทางที่ดีสำหรับการตัดสินใจ -
1:42 - 1:45มันเป็นวิธีการทางศัพทมูลวิทยา
(Etymological Approach) -
1:45 - 1:47ซึ่งกล่าวว่า เราจะต้องสะกดคำต่าง ๆ
-
1:47 - 1:51ตามแบบที่มันถูกเขียน
ในภาษาดั้งเดิมของมัน -
1:51 - 1:52เช่น ตามภาษาละติน หรือตามภาษากรีก
-
1:52 - 1:57นั่นทำให้เรามีอักษร H ที่ไม่ออกเสียง
ซึ่งเราเขียนมันเอาไว้ แต่ไม่ได้ออกเสียง -
1:57 - 2:02นั่นทำให้เรามีอักษร B และ V
ซึ่งทั้งสองตัวอักษรนี้ -
2:02 - 2:06ไม่ได้ออกเสียงแตกต่างกันเลยในภาษาสเปน
อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ -
2:06 - 2:09นั่นจึงทำให้เราปวดหัวกับตัว G
-
2:09 - 2:11ที่บางครั้งก็เป็นเสียงธนิต
อย่างคำว่า "gente" [เคนเต้] -
2:11 - 2:14และบางครั้งก็เป็นเสียงสิถิล
อย่างเช่นคำว่า "gato"[กาโต้] -
2:14 - 2:17นั่นทำให้เรามีตัว C, S และ Z
-
2:18 - 2:21อักษรทั้งสามที่ในบางแห่ง
ก็ให้เสียงเหมือนกัน -
2:21 - 2:24แต่ในบางแห่งอาจให้เสียงต่างกันเป็นสองเสียง
แต่ไม่ใช่สามเสียง -
2:26 - 2:28ฉันไม่ได้มาที่นี่เพื่อจะบอกคุณ
-
2:28 - 2:31เกี่ยวกับสิ่งที่คุณยังไม่รู้
จากประสบการณ์ของคุณ -
2:31 - 2:34เราทุกคนไปโรงเรียน
-
2:34 - 2:39เราทุกคนทุ่มเวลามากมายไปกับการศึกษา
-
2:39 - 2:44ทุ่มช่วงวัยเยาว์ที่สมองยังเป็นไม้อ่อนดัดง่าย
-
2:44 - 2:45เสียเวลาไปกับการเขียนตามคำบอก
-
2:45 - 2:50ในการจดจำกฎในการสะกดคำ
ที่ไม่ว่าอย่างไรเสีย ก็เต็มไปด้วยข้อยกเว้น -
2:51 - 2:55เราถูกบอกหลายต่อหลายครั้ง
ทั้งโดยตรงและโดยนัย -
2:55 - 2:58ว่าในการสะกดคำ
-
2:58 - 3:01สิ่งที่เป็นพื้นฐานต่อการสอนสั่งของเรา
กำลังอยู่ในความเสี่ยง -
3:01 - 3:04กระนั้น ฉันก็ยังรู้สึกว่า
-
3:04 - 3:07คุณครูทั้งหลายไม่ได้ถามตัวเองว่า
ทำไมมันถึงสลักสำคัญนัก -
3:07 - 3:10อันที่จริง พวกเขาไม่ได้ถามตัวเอง
ด้วยคำถามก่อนหน้านี้ว่า -
3:10 - 3:13จุดประสงค์ของการสะกดคำคืออะไร
-
3:14 - 3:17เราต้องการสะกดคำไปเพื่ออะไร
-
3:19 - 3:22และความจริงก็คือ เมื่อใครสักคน
ถามตัวเองด้วยคำถามนี้ -
3:22 - 3:25คำตอบนั้นเรียบง่ายกว่า
แต่กลับสำคัญน้อยกว่า -
3:25 - 3:26ที่พวกเรามักจะเชื่อกัน
-
3:27 - 3:30การสะกดคำ
ทำให้การเขียนของเรามีเอกภาพ -
3:30 - 3:33เพื่อที่พวกเราจะได้เขียนเหมือน ๆ กัน
-
3:33 - 3:38และเพื่อทำให้มันง่ายต่อความเข้าใจของเรา
เมื่อเราอ่านการเขียนของกันและกัน -
3:38 - 3:41แต่ที่แตกต่างจากแง่มุมอื่น ๆ ของภาษา
-
3:41 - 3:44เช่น การแบ่งวรรคตอน
-
3:44 - 3:50ในการสะกดคำนั้น
มันไม่มีการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง -
3:50 - 3:52ในการแบ่งวรรคตอน
-
3:52 - 3:56ด้วยการแบ่งวรรคตอน ฉันสามารถเลือก
ที่จะเปลี่ยนความหมายของวลีได้ -
3:56 - 3:59ด้วยการแบ่งวรรคตอน
-
3:59 - 4:02ฉันสามารถที่จะกำหนด
บางจังหวะของการเขียนของฉันได้ -
4:02 - 4:04แต่ไม่ใช่ด้วยการสะกดคำ
-
4:04 - 4:07เมื่อมันเป็นเรื่องของการสะกดคำ
มีเพียงแค่ถูกหรือผิด -
4:07 - 4:11ตามแต่ว่ามันเข้ากันหรือไม่เข้ากัน
กับกฎในตอนนั้น -
4:12 - 4:17แต่แล้ว มันจะไม่เป็นเหตุเป็นผลกว่าหรือ
ที่จะทำให้กฎในปัจจุบันเรียบง่าย -
4:17 - 4:23เพื่อให้เรียนและสอนกันง่ายยิ่งขึ้น
และใช้การสะกดคำได้อย่างถูกต้อง -
4:24 - 4:28มันจะไม่เป็นเหตุเป็นผลกว่านี้หรือ
ที่จะทำให้กฎในปัจจุบันเรียบง่าย -
4:28 - 4:31เพื่อให้เวลาทั้งหมด
-
4:31 - 4:34ที่เราอุทิศแก่การสอนการสะกดคำ
-
4:34 - 4:37จะสามารถถูกนำไปอุทิศให้กับเรื่องอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับภาษา -
4:37 - 4:41ซึ่งความซับซ้อนของพวกมัน
สมควรได้รับเวลาและความใส่ใจ -
4:42 - 4:47สิ่งที่ฉันอยากนำเสนอ
ไม่ใช่การล้มเลิกการสะกดคำ -
4:47 - 4:51ไม่ใช่ให้ทุกคนเขียนอย่างไรก็ได้
อย่างที่อยากจะเขียน -
4:52 - 4:56ภาษาเป็นเครื่องมือสาธารณะ
-
4:56 - 4:59ดังนั้น
-
4:59 - 5:02ฉันก็ยังเชื่อว่ามันเป็นพื้นฐาน
ว่าเราควรใช้มันตามเกณฑ์ที่มีร่วมกัน -
5:02 - 5:04แต่ฉันยังพบว่ามันเป็นพื้นฐาน
-
5:04 - 5:08ที่เกณฑ์ที่มีอยู่ร่วมกันนั้น
จะต้องเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ -
5:08 - 5:12โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะ
ถ้าเราทำให้การสะกดคำของเราเรียบง่าย -
5:12 - 5:15เราก็ไม่ต้องลดระดับมันให้ต่ำลงมา
-
5:15 - 5:18เมื่อการสะกดคำของเราเรียบง่าย
-
5:18 - 5:21คุณภาพของภาษาก็ไม่ได้รับผลกระทบเลย
-
5:22 - 5:26ทุก ๆ วัน ฉันทำงานเกี่ยวกับ
วรรณกรรมยุคทองของสเปน -
5:26 - 5:30ฉันอ่าน การ์ซิลาโซ่, เซร์บันเตส,
กอนโกร่า, เกเบโด -
5:30 - 5:33ผู้ซึ่งบางครั้งก็เขียนคำว่า "hombre"
[ออมเบร] แบบที่ไม่มีตัว H -
5:33 - 5:36และบางครั้งก็เขียนคำว่า "escribir"
[เอสคริบริ] ด้วยตัว V -
5:36 - 5:38และมันชัดเจนสำหรับฉัน
-
5:38 - 5:44ว่าความแตกต่างระหว่างการสะกดคำเหล่านั้น
กับการสะกดคำของเราคือการตกลงกัน -
5:44 - 5:47หรืออาจพูดได้ว่า การไร้ซึ่งข้อตกลง
ในช่วงเวลาของพวกเขา -
5:47 - 5:49แต่ไม่ใช่ความแตกต่างเรื่องคุณภาพ
-
5:50 - 5:53แต่ขอให้ฉันวกกลับไปพูดถึง
ครูบาอาจารย์สักหน่อย -
5:53 - 5:56เพราะพวกเขาเป็นตัวละครสำคัญ
ในเรื่องราวนี้ -
5:56 - 6:02ก่อนหน้านี้ ฉันเล่าถึงการยืนกราน
ที่ค่อนข้างจะไร้เหตุผล -
6:02 - 6:05ที่ครูของเราจู้จี้กับเราเหลือเกิน
-
6:05 - 6:06ในเรื่องการสะกดคำ
-
6:06 - 6:10แต่ความเป็นจริงก็คือ
สิ่งต่าง ๆ เป็นอย่างที่มันเป็น -
6:10 - 6:12มันมีเหตุผลที่ชัดเจน
-
6:12 - 6:14ในสังคมของเรา
-
6:14 - 6:17การสะกดคำทำหน้าที่เป็นดัชนีแห่งเอกสิทธิ์
-
6:17 - 6:22ที่แยกผู้ทรงวัฒนธรรมออกจากผู้ป่าเถื่อน
แยกผู้มีการศึกษาออกจากผู้ไร้การศึกษา -
6:22 - 6:27โดยไม่เกี่ยวข้องเลยว่า
บริบทที่กำลังถูกเขียนอยู่นั้นคืออะไร -
6:27 - 6:30คนคนหนึ่งอาจได้งานหรือไม่ได้งาน
-
6:30 - 6:33ด้วยเหตุที่เขาเขียน H หรือว่าไม่ได้เขียน
-
6:33 - 6:34คนคนหนึ่งอาจกลายเป็นตัวตลกของสังคม
-
6:34 - 6:36เพียงเพราะเขียนตัว B ไว้ผิดตำแหน่ง
-
6:36 - 6:39ดังนั้น ในบริบทนี้
-
6:39 - 6:41แน่นอนล่ะว่า
เราควรสละเวลาให้กับการสะกดคำ -
6:41 - 6:46แต่เราไม่ควรลืมว่า
-
6:46 - 6:48ตลอดประวัติศาสตร์ของภาษาเรา
-
6:48 - 6:51มีแต่ครู
-
6:51 - 6:53หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษา
ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น -
6:53 - 6:57ที่ส่งเสริมการปฏิรูปการสะกด
-
6:57 - 6:59ที่ตระหนักว่าการสะกดคำของเรา
-
6:59 - 7:04มักจะมีอุปสรรค
ในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ -
7:04 - 7:06ตัวอย่างเช่น ในกรณีของเรา
-
7:06 - 7:08เซอร์เมียนโต และ อันเดรส เบลโย่
เป็นหัวหอกในการปฏิรูปการสะกดคำ -
7:08 - 7:12ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นกับภาษาสเปน
-
7:12 - 7:16ซึ่งก็คือ การปฏิรูปในชิลี
เมื่อกลางศตวรรษที่ 19 -
7:16 - 7:20แล้วทำไมเราไม่รับเอาผลสำเร็จ
จากครูบาอาจารย์เหล่านั้น -
7:22 - 7:26และนำมันมาพัฒนาการสะกดคำของเราล่ะ
-
7:26 - 7:30นี่คือ กลุ่มคำที่เราคุ้นเคยจำนวน 10,000 คำ
-
7:30 - 7:33ที่ฉันอยากจะหยิบยกขึ้นมา
เพื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของพวกมัน -
7:33 - 7:35ที่ฉันคิดว่ามันสมเหตุสมผล
ที่จะนำมาอภิปรายกัน -
7:35 - 7:39ลองกำจัด H ที่ไม่ต้องออกเสียงออกไป
-
7:40 - 7:43ตรงที่เราเขียน H แต่ไม่อ่านออกเสียง
-
7:43 - 7:48ลองไม่ต้องเขียนมันดูนะคะ
-
7:48 - 7:49(เสียงปรบมือ)
-
7:49 - 7:50ฉันจินตนาการไม่ออก
ว่ามันจะเกิดเป็นเรื่องอ่อนไหว -
7:50 - 7:53ที่ใครสักคนจะถูกตัดสินเพราะความยุ่งยาก
ที่เกิดจาก H ที่ไม่ออกเสียงได้อย่างไร -
7:53 - 7:58อย่างที่เราพูดถึงไปก่อนหน้านี้ว่า B และ V
-
7:58 - 8:00ไม่เคยมีความแตกต่างกันเลย
ในภาษาสเปน -
8:00 - 8:03(เสียงปรบมือ)
-
8:03 - 8:04เลือกมาสักตัว จะเป็นตัวไหนก็ได้
ปรึกษากัน และตัดสินใจเลย -
8:04 - 8:07ทุกคนมีความชื่นชอบเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว
และอาจจะถกเถียงกัน -
8:07 - 8:11เลือกมาตัวเดียวก็พอ แล้วทิ้งอีกตัวไป
-
8:11 - 8:14มาแยกหน้าที่ให้กับ G และ J
-
8:14 - 8:17G ควรจะคงเสียงเสียงสิถิลของมันไว้
แบบใน "กาโต้" "มาโก" "อะกิล่า" -
8:17 - 8:21และ J ควรคงเสียงเสียงธนิต
-
8:21 - 8:25อย่างใน "คาราบี" "คาราฟา" "เคนเต้"
"อาร์เคนติโน" เอาไว้ -
8:25 - 8:30กรณีของ C, S และ Z ก็น่าสนใจ
-
8:30 - 8:36เพราะมันแสดงว่าวิธีการที่เกี่ยวข้องกับ
การออกเสียงนั้นจะต้องเป็นตัวชี้แนะ -
8:36 - 8:40แต่ไม่อาจเป็นหลักการแต่เพียงอย่างเดียวได้
-
8:40 - 8:43ในบางกรณี ความแตกต่างในการอ่าน
ออกเสียงจะต้องได้รับการบ่งบอก -
8:43 - 8:48ค่ะ อย่างที่ฉันพูดถึงก่อนหน้านี้
C, S และ Z -
8:48 - 8:50ในบางที่ มีเสียงเพียงแบบเดียว
ในบางที่มีเสียงสองแบบ -
8:50 - 8:54หากเราลดตัวอักษรจากสามตัว
เหลือเป็นสองตัวก็ดีมากแล้ว -
8:54 - 8:59สำหรับบางคน การเปลี่ยนแปลงนี้
อาจเป็นอะไรที่สุดโต่ง -
9:00 - 9:05แต่จริง ๆ แล้วไม่เลยค่ะ
-
9:05 - 9:07ราชบัณฑิตยสถานสเปน
และสถาบันทางภาษาทุกแห่ง -
9:07 - 9:11ยังเชื่อว่าการสะกดคำ
ควรที่จะได้รับการพัฒนาปรับปรุง -
9:11 - 9:16ในแบบที่ว่า ภาษานั้นถูกเชื่อมโยงกับ
ประวัติศาสตร์ ธรรมเนียม และประเพณี -
9:16 - 9:20แต่ในขณะเดียวกัน มันจะต้องเหมาะสม
ต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน -
9:20 - 9:25และบางครั้ง การเชื่อมโยงกับ
ประวัติศาสตร์ ธรรมเนียม และประเพณีนี้ -
9:25 - 9:30ก็กลายเป็นอุปสรรคสำหรับการใช้ในปัจจุบัน
-
9:30 - 9:35แน่นอนล่ะว่า
นี่เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า -
9:36 - 9:38ภาษาของเรานั้น
เป็นมากกว่าภาษาเพื่อนบ้าน -
9:38 - 9:45ตรงที่ภาษาของเราได้ดัดแปลงตัวเอง
โดยพวกเราเองมาโดยตลอด -
9:45 - 9:48ยกตัวอย่างเช่น เราเปลี่ยนจากการเขียน
"ortographia" เป็น "ortografía", -
9:48 - 9:52จาก "theatro" เป็น "teatro",
จาก "quantidad" เป็น "cantidad", -
9:52 - 9:56จาก "symbolo" เป็น "símbolo",
-
9:56 - 9:58และตัว H ที่ไม่ออกเสียง
ก็ค่อย ๆ ถูกกำจัดออกไป -
9:58 - 10:04จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
-
10:04 - 10:06"arpa" และ "armonía" สามารถสะกด
แบบมีหรือไม่มี H ก็ได้ -
10:06 - 10:12และทุกคนก็เห็นด้วยกับมัน
-
10:12 - 10:14ฉันยังเชื่อด้วยว่า
-
10:15 - 10:18เวลานี้แหละที่เหมาะสมต่อการอภิปราย
-
10:18 - 10:24เราพูดกันเสมอว่า
ภาษาเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ -
10:25 - 10:29จากรากฐานขึ้นมา
-
10:29 - 10:31และผู้ใช้ภาษาก็คือผู้ที่นำคำใหม่ ๆ
เพิ่มเติมเข้าไป -
10:31 - 10:35และเป็นผู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางไวยากรณ์ -
10:35 - 10:38และผู้มีอำนาจหน้าที่
เช่นองค์กรทางวิชาการในบางแห่ง -
10:38 - 10:42หรือพจนานุกรมในบางฉบับ
หรือกระทรวงกรมในบางแห่ง -
10:42 - 10:46หลังจากระยะเวลาอันยาวนาน
ก็ยอมรับและจัดรวมพวกมันเข้าไป -
10:46 - 10:50มันเป็นจริงเฉพาะกับบางระดับของภาษา
-
10:51 - 10:54มันเป็นจริงเฉพาะในระดับคำศัพท์
-
10:54 - 10:58ทว่ามันไม่ค่อยจะเป็นเช่นนั้น
ในระดับของไวยากรณ์ -
10:58 - 11:01และฉันเกือบจะพูดได้ว่า
มันไม่เป็นจริงเช่นนั้นเลยในระดับการสะกดคำ -
11:01 - 11:05ที่ตามประวัติศาสตร์แล้ว
เปลี่ยนแปลงแบบรับคำสั่งจากเบื้องบนลงมา -
11:05 - 11:09สถาบันต่าง ๆ
-
11:09 - 11:13เป็นผู้คอยออกกฏและกำหนดวัตถุประสงค์
ในการเปลี่ยนแปลงเสมอมา -
11:13 - 11:16ทำไมฉันถึงพูดว่านี่คือเวลาเปลี่ยนแปลง
ที่เหมาะสมน่ะหรือคะ -
11:17 - 11:22ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-
11:22 - 11:23การเขียนถูกจำกัดมากกว่า
และเป็นส่วนตัวมากกว่าการพูด -
11:23 - 11:29แต่ในยุคของเรานี้
ที่เป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์ก -
11:30 - 11:35จะกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิวัติ
-
11:35 - 11:38ผู้คนไม่เคยเขียนกันแพร่หลายเช่นนี้มาก่อน
-
11:38 - 11:41คนไม่เคยเขียนเพื่อให้ผู้อ่าน
จำนวนมากมายเท่านี้มาก่อน -
11:41 - 11:46และเป็นครั้งแรกในสังคมออนไลน์
-
11:47 - 11:50เราจะได้เห็นการใช้การสะกดคำ
ในรูปโฉมใหม่ในระดับมหาชน -
11:50 - 11:55ที่ซึ่งผู้มีการศึกษาชั้นสูงที่สะกดคำ
ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง -
11:55 - 11:59เมื่ออยู่ในสังคมออนไลน์
ก็มีพฤติกรรมส่วนใหญ่ -
11:59 - 12:02เหมือน ๆ กับพฤติกรรม
ของผู้ใช้งานสังคมออนไลน์โดยมาก -
12:02 - 12:07นั่นบ่งบอกว่า พวกเขาผ่อนปรน
การตรวจสอบการสะกดคำ -
12:07 - 12:11และให้ความสำคัญกับความรวดเร็ว
และความสะดวกในการสื่อสารมากกว่า -
12:11 - 12:16สังคมออนไลน์เวลานี้ เราจะเห็นความสับสน
ในการใช้ของแต่ละคน -
12:16 - 12:22แต่ฉันคิดว่า เราต้องให้ความสนใจกับมัน
-
12:22 - 12:25เพราะว่ามันอาจกำลังบอกเราว่า
-
12:25 - 12:27ยุคที่จะกำหนดการเขียนแนวใหม่
-
12:27 - 12:32กำลังหาจุดยืนให้กับการเขียนแบบใหม่นี้
-
12:32 - 12:36ฉันเชื่อว่ามันคงไม่ถูกต้อง
ถ้าเราปฏิเสธหรือเขี่ยมันทิ้งไป -
12:36 - 12:42ด้วยเหตุผลที่ว่า
-
12:42 - 12:47เราระบุว่าพวกมันเป็นอาการของการเสื่อมสลาย
ทางวัฒนธรรมในยุคของเรา -
12:47 - 12:52ไม่ค่ะ ฉันเชื่อว่าเราจะต้องสังเกต
จัดระเบียบ และเปิดทางให้พวกมัน -
12:52 - 12:57ด้วยแนวทางที่สอดคล้องกับความต้องการ
ในยุคของเราอย่างเหมาะสมยิ่งกว่า -
12:59 - 13:02ฉันคาดเดาได้ถึงผลลัพธ์บางอย่าง
-
13:04 - 13:05จะมีคนพูดว่า
-
13:05 - 13:10ถ้าเราทำให้การสะกดคำนั้นเรียบง่าย
เราจะสูญเสียศัพทมูลวิทยาไป -
13:11 - 13:14ว่ากันตามจริงแล้ว
หากเราอยากจะอนุรักษ์ศัพทมูลวิทยา -
13:14 - 13:16เราจะต้องทำอะไรมากกว่า
แค่จดจ่ออยู่ที่การสะกดคำ -
13:16 - 13:20เราจะต้องเรียนภาษาละติน
กรีก และอาหรับ -
13:21 - 13:24ด้วยการสะกดคำที่ถูกทำให้เรียบง่าย
เราอาจทำให้ศัพทมูลวิทยา -
13:24 - 13:29เป็นอย่างที่มันเป็นในตอนนี้
ซึ่งก็คือทำพจนานุกรมศัพทมูลวิทยานั่นเอง -
13:29 - 13:31ผลลัพธ์ที่สองจะมาจากคนที่บอกว่า
-
13:32 - 13:35"ถ้าเราทำให้การสะกดคำเรียบง่าย
-
13:35 - 13:39เราก็จะแบ่งแยกความแตกต่าง
-
13:39 - 13:43ระหว่างคำที่มีตัวอักษรแตกต่างกัน
เพียงตัวเดียวไม่ได้" -
13:43 - 13:47นั่นก็จริงอยู่ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา
-
13:47 - 13:52ภาษาของเรามีคำพ้องรูป
ที่มีความหมายแตกต่างกัน -
13:52 - 13:54แต่ว่าเราก็ไม่เห็นจะสับสนระหว่าง
คำว่า "banco" ที่แปลว่าม้านั่ง -
13:54 - 13:57กับ "banco" ที่แปลว่าธนาคาร เลย
-
13:57 - 14:00หรือคำว่า "traje" ที่แปลว่าสูท
กับคำว่า "trajimos" ที่แปลว่าสวมใส่ -
14:00 - 14:06ในสถานการณ์ส่วนใหญ่
บริบทช่วยขจัดความสับสนต่าง ๆ -
14:07 - 14:10แต่ก็ยังมีข้อโต้เถียงที่สามอยู่ดี
-
14:12 - 14:13สำหรับฉันแล้ว มันเป็นข้อโต้แย้ง
ที่เข้าใจได้มากที่สุด -
14:15 - 14:18นั่นก็คือ คนที่บอกว่า
"ฉันไม่อยากเปลี่ยนเลย -
14:19 - 14:22ฉันเติบโตมากับการสะกดคำแบบนี้
ฉันเคยชินกับอะไรแบบนี้ -
14:23 - 14:26พออ่านคำที่สะกดแบบเรียบง่ายนี่
-
14:26 - 14:33มันทำเอาตาฉันแทบบอด"
-
14:33 - 14:34(เสียงหัวเราะ)
-
14:34 - 14:39ส่วนหนึ่งของข้อโต้แย้งนี้
มีอยู่ในตัวเราทุกคน -
14:40 - 14:42เราควรจะทำอย่างไรน่ะหรือคะ
-
14:42 - 14:44ฉันคิดว่า เราควรทำในสิ่งที่
เราทำกันเสมอ ๆ ในกรณีเช่นนี้ -
14:44 - 14:50ซึ่งก็คือ เปลี่ยนแปลงมันซะ
-
14:50 - 14:54เด็ก ๆ ก็ได้รับการสอนกฎใหม่
-
14:54 - 14:59พวกเราที่ไม่อยากปรับเปลี่ยนตาม
ก็สามารถเขียนในแบบที่เราคุ้นเคยได้ -
14:59 - 15:06และหวังว่า เวลาจะช่วยทำให้กฎใหม่
เข้าที่เข้าทาง -
15:06 - 15:11ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำ
ที่ส่งผลลึกลงไปต่อรากเหง้าของนิสัย -
15:12 - 15:16ตั้งอยู่บนความระมัดระวัง, ความเห็นพ้องต้องกัน,
ความค่อยเป็นค่อยไป และความอดทน -
15:16 - 15:18ในเวลาเดียวกัน เราก็ไม่อาจยอม
ให้การยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ -
15:19 - 15:22เหนี่ยวรั้งเราไว้ไม่ให้เราก้าวไปข้างหน้า
-
15:22 - 15:25สิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะรำลึกถึงอดีต
-
15:25 - 15:28ก็คือการพัฒนาสิ่งที่ตกทอดมาสู่เรา
-
15:28 - 15:31ฉะนั้น ฉันจึงเชื่อว่าเราต้องเข้าถึงข้อตกลง
-
15:31 - 15:34สถาบันวิชาการจะต้องเข้าถึงข้อตกลง
-
15:34 - 15:38และเลิกนิสัยเดิม ๆ ของเรา
ในเรื่องกฏกติกาการสะกดคำ -
15:38 - 15:39ที่เราทำไปเพื่อรักษาธรรมเนียมปฏิบัติ
แม้ว่าเดี๋ยวนี้มันจะไร้ประโยชน์แล้วก็ตาม -
15:40 - 15:43ฉันเชื่อว่า ถ้าเราทำอย่างนั้น
-
15:43 - 15:47กับส่วนหนึ่งของภาษาที่เรียบง่าย
แต่มีความสำคัญยิ่งนี้ -
15:47 - 15:53เราจะส่งมอบอนาคตที่สดใสกว่า
ไว้ให้กับลูกหลานของเรา -
15:53 - 15:57(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ทำไมเราไม่สะกดคำอย่างที่เราอ่านออกเสียง
- Speaker:
- คารินา กัลเพอริน (Karina Galperin)
- Description:
-
เราใช้พลังงานสมองไปมากแค่ไหนเพื่อเรียนรู้ว่าจะสะกดคำอย่างไร ภาษามีวิวัฒนาการตลอดเวลา และวิธีการที่เราสะกดคำก็เช่นกัน มันคุ้มกันหรือที่จะเสียเวลาไปกับการจดจำกฎต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยข้อยกเว้นมากมาย คารินา กัลเพอริน นักวิชาการด้านอักษรศาสตร์แนะว่ามันอาจถึงเวลาแล้วสำหรับการปรับเปลี่ยนการบันทึกภาษาของเราและมุมมองที่เรามีต่อสิ่งดังกล่าว (ให้การบรรยายไว้เป็นภาษาสเปน พร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษ)
- Video Language:
- Spanish
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 16:13
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Retired user accepted Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Retired user declined Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? | |
![]() |
Retired user edited Thai subtitles for ¿Por qué no escribimos las palabras como las pronunciamos? |