< Return to Video

3 เงื่อนงำเพื่อไขความลับสมองของคุณ

  • 0:00 - 0:04
    ดังที่คริสได้บอกคุณไปแล้วนะครับ ผมศึกษาสมองมนุษย์
  • 0:04 - 0:06
    การทำงานและโครงสร้างของสมองมนุษย์
  • 0:06 - 0:10
    และผมอยากให้คุณลองคิดสักครู่ว่ามันเกี่ยวกับอะไร
  • 0:10 - 0:14
    นี่คือก้อนเยลลี่ ก้อนเยลลี่ที่มีมวล 3 ปอนด์
  • 0:14 - 0:17
    คุณสามารถประคองมันไว้ในมือได้
  • 0:17 - 0:21
    และมันสามารถคิดไตร่ตรองถึง
    ความกว้างใหญ่ของห้วงอวกาศ
  • 0:21 - 0:23
    มันคิดไตร่ตรองถึงความหมายของความเป็นอนันต์
  • 0:23 - 0:28
    และมันไตร่ตรองถึงตัวของมันเอง
    ที่กำลังไต่ตรองความหมายของอนันต์อยู่
  • 0:28 - 0:33
    และคุณสมบัติการคิดวนซ้ำแบบนี้
    ที่เราเรียกมันว่าความตระหนักรู้ตน
  • 0:33 - 0:37
    ที่ผมคิดว่ามันคือเป้าหมายสูงสุดของประสาทวิทยา
  • 0:37 - 0:39
    และหวังว่า วันหนึ่งเราจะเข้าใจกลไกของมัน
  • 0:40 - 0:43
    เอาล่ะ แล้วเราจะศึกษาอวัยวะลึกลึบนี้ได้อย่างไร ?
  • 0:43 - 0:47
    ผมหมายถึง คุณมีถึงหนึ่งแสนล้านเซลล์ประสาท
  • 0:47 - 0:50
    เส้นใยเล็กๆของโพรโทพลาสซึมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
  • 0:50 - 0:54
    และจากกิจกรรมเหล่านี้
    ก่อให้เกิดความสามารถมากมาย
  • 0:54 - 0:57
    ที่เราเรียกว่าธรรมชาติของมนุษย์
    และสติสัมปชัญญะของมนุษย์
  • 0:57 - 0:58
    มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
  • 0:58 - 1:01
    มันมีหลายวิธีที่จะใช้เพื่อศึกษา
    การทำงานของสมองมนุษย์
  • 1:01 - 1:04
    วิธีหนึ่ง ซึ่งเราใช้เป็นหลักเลยก็คือ
  • 1:04 - 1:09
    การศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ
    ในบริเวณเล็กๆ ของสมอง
  • 1:09 - 1:11
    หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
    ในบริเวณเล็กๆ ของสมอง
  • 1:11 - 1:15
    สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การถดถอยในทุกๆ ด้าน
  • 1:15 - 1:17
    ในความสามารถของสมอง
  • 1:17 - 1:20
    เหมือนกับกระบวนการรับรู้โดยรวมแย่ลง
  • 1:20 - 1:23
    แต่สิ่งที่คุณพบ คือการสูญเสียการทำงาน
    แบบเฉพาะเจาะจงมากๆ
  • 1:23 - 1:25
    ในขณะที่การทำงานด้านอื่นๆ ยังคงปกติดีอยู่
  • 1:25 - 1:27
    และนี่ช่วยให้ความั่นใจแก่คุณในการยืนยัน
  • 1:27 - 1:31
    ว่าส่วนนั้นของสมองเกี่ยวข้อง
    ในกระบวนการทำงานของหน้าที่นั้น
  • 1:31 - 1:33
    คุณจึงสามารถเชื่อมโยงหน้าที่เข้ากับโครงสร้าง
  • 1:33 - 1:36
    และหาว่าวงจรการทำงานของสมองนั้นทำงานอย่างไร
  • 1:36 - 1:38
    เพื่อก่อให้เกิดหน้าที่เฉพาะอันนั้น
  • 1:38 - 1:40
    ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งที่เราพยายามทำ
  • 1:40 - 1:43
    ให้ผมแสดงให้ดูถึง 3 ตัวอย่างที่โดดเด่น
  • 1:43 - 1:47
    อันที่จริง ผมจะกล่าวถึง 3 ตัวอย่าง
    ตัวอย่างละ 6 นาที ในการบรรยายครั้งนี้
  • 1:47 - 1:51
    ตัวอย่างแรก เป็นโรคแปลกประหลาด
    ชื่อ กลุ่มอาการ คัพกราส์ (Capgras syndrome)
  • 1:51 - 1:53
    ถ้าคุณดูที่สไลด์แรก
  • 1:53 - 1:58
    นั่นคือสมองกลีบขมับ กลีบหน้า กลีบข้าง
  • 1:58 - 2:00
    กลีบเหล่านั้นประกอบกันเป็นสมอง
  • 2:00 - 2:04
    และที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ผิวของสมองกลีบขมับ
  • 2:04 - 2:06
    ที่คุณมองมันไม่เห็นจากมุมนี้
  • 2:06 - 2:08
    มันจะมีโครงสร้างเล็กๆ
    ที่เรียกว่า ฟิวซิฟอร์มไจรัส (fusiform gyrus)
  • 2:08 - 2:11
    และมันถูกเรียกว่าสมองส่วนที่ใช้จดจำใบหน้า
  • 2:11 - 2:14
    เนื่องจากถ้ามันเสียหาย
    คุณจะไม่สามารถจำใบหน้าผู้คนได้
  • 2:14 - 2:16
    คุณยังคงจำพวกเขาได้จากน้ำเสียง
  • 2:16 - 2:18
    และพูดว่า "อ้อใช่ นั่นโจ"
  • 2:18 - 2:21
    แต่คุณไม่สามารถมองใบหน้าพวกเขา
    แล้วจำได้ว่าเป็นใคร
  • 2:21 - 2:23
    คุณจะไม่สามารถแม้แต่จะจำตัวเองในกระจกได้
  • 2:23 - 2:26
    ผมหมายถึง คุณคงรู้ได้เพราะถ้าคุณกระพริบตา
    เงาสะท้อนคุณก็กระพริบด้วย
  • 2:26 - 2:28
    และคุณก็รู้ว่ามันเป็นกระจก
  • 2:28 - 2:31
    แต่คุณจะจำไม่ได้ว่าคนในกระจกเป็นตัวคุณเอง
  • 2:31 - 2:35
    โอเค ตอนนี้โรคนี้เป็นที่รู้จักกันดี
    ว่ามีสาเหตุมาจากฟิวซิฟอร์มไจรัสถูกทำลาย
  • 2:35 - 2:38
    แต่มันยังมีกลุ่มอาการหายากอีกแบบหนึ่ง
    ที่จริงแล้วพบยากมาก
  • 2:38 - 2:42
    มีแพทย์น้อยคนที่เคยได้ยินชื่อมัน
    แม้แต่นักประสาทวิทยาเองก็ไม่เคยได้ยิน
  • 2:42 - 2:44
    มันถูกเรียกว่า อาการประสาทหลอนคัพกราส์
  • 2:44 - 2:47
    นั่นคือ คนไข้ผู้ซึ่งในแง่อื่นๆแล้วปกติดีทุกอย่าง
  • 2:47 - 2:50
    ได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ ฟื้นจากโคม่า
  • 2:50 - 2:53
    เป็นปกติดีทุกอย่าง
    ยกเว้นตอนทีเขาเจอแม่ของเขา
  • 2:53 - 2:56
    และพูดว่า "ผู้หญิงคนนี้เหมือนแม่ของฉันเปี๊ยบ
  • 2:56 - 2:58
    แต่เธอเป็นตัวปลอม
  • 2:58 - 3:00
    เธอเป็นผู้หญิงคนอื่นที่แสร้งทำเป็นแม่ของฉัน"
  • 3:00 - 3:02
    ทีนี้ ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ?
  • 3:02 - 3:05
    ทำไมบางคน
    --และคนคนนี้ก็เป็นผู้มีสัมปชัญญะครบถ้วน
  • 3:05 - 3:07
    และฉลาดในแง่อื่นๆ ทั้งหมด
    แต่เมื่อเขาเห็นแม่ของเขา
  • 3:07 - 3:10
    อาการประสาทหลอนก็จะเริ่มขึ้น
    และบอกว่านั่นไม่ใช่แม่ของเขา
  • 3:10 - 3:12
    คำอธิบายทั่วไปของเรื่องนี้
  • 3:12 - 3:14
    ซึ่งคุณจะหาได้ในหนังสือจิตวิทยาทุกเล่ม
  • 3:14 - 3:18
    คือมุมมองแบบฟรอยด์ นั่นคือ นายหมอนี่
  • 3:18 - 3:20
    อ้อ และคำอธิบายนี้ก็ใช้กับผู้หญิงได้ด้วยนะครับ
  • 3:20 - 3:22
    แต่ผมแค่ยกตัวอย่างว่าเป็นผู้ชาย
  • 3:22 - 3:25
    เมื่อคุณเป็นเด็กน้อย เป็นทารก
  • 3:25 - 3:27
    คุณมีความรู้สึกดึงดูดทางเพศต่อแม่ของคุณ
  • 3:27 - 3:29
    นี่มีชื่อเรียกว่า ปมเอดิเพิส
    (Oedipus complex) ของฟรอยด์
  • 3:29 - 3:31
    ผมไม่ได้บอกว่าผมเชื่อนะครับ
  • 3:31 - 3:33
    แต่นี่คือมุมมองแบบมาตรฐานในแบบของฟรอยด์
  • 3:33 - 3:36
    และเมื่อคุณโตขึ้น สมองชั้นนอกพัฒนาขึ้น
  • 3:36 - 3:40
    และยับยั้งความปราถนาทางเพศ
    ต่อแม่ของคุณที่ซ่อนอยู่
  • 3:40 - 3:44
    ขอบคุณพระเจ้า ไม่อย่างนั้น
    คุณคงเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อเห็น
    แม่ของตัวเองกันหมดแน่ๆ
  • 3:44 - 3:46
    และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 3:46 - 3:48
    การบาดเจ็บที่ศรีษะ ทำลายสมองชั้นนอก
  • 3:48 - 3:52
    เปิดโอกาสให้ความปรารถนาทางเพศ
    ที่ซ่อนเร้นอยู่ถูกปลดปล่อย
  • 3:52 - 3:55
    ปะทุขึ้นสู่ภายนอก อย่างทันทีทันใดโดยอธิบายไม่ได้
  • 3:55 - 3:58
    และคุณรู้สึกถูกกระตุ้นทางเพศโดยแม่ของคุณ
  • 3:58 - 4:00
    และคุณจะคิดว่า "พระเจ้า ถ้านี่เป็นแม่ของฉัน
  • 4:00 - 4:02
    ทำไมฉันถึงมีอารมณ์ทางเพศได้หล่ะ?
  • 4:02 - 4:04
    เธอต้องเป็นผู้หญิงคนอื่น เธอต้องเป็นตัวปลอม"
  • 4:04 - 4:08
    มันเป็นการตีความแบบเดียวที่สมเหตุผล
    กับการบาดเจ็บของสมอง
  • 4:08 - 4:11
    มันไม่เคยฟังดูสมเหตุผลเลยสำหรับผม
    ข้อโต้แย้งนี้
  • 4:11 - 4:14
    เข้าใจคิดจริงๆ เช่นเดียวกับข้อโต้แย้งอื่นๆของฟรอยด์
  • 4:14 - 4:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:16 - 4:21
    แต่มันไม่ค่อยมีเหตุผล
    เพราะผมเคยเห็นอาการหลอนแบบเดียวกัน
  • 4:21 - 4:23
    คนไข้คนหนึ่ง มีอาการหลอนแบบเดียวกัน
    กับหมาพุดเดิ้ลของเขา
  • 4:23 - 4:24
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:24 - 4:29
    เขาบอกว่า "หมอ, นี่มันไม่ใช่ฟิฟี่ มันดูเหมือนฟิฟี่เป๊ะ
  • 4:29 - 4:31
    แต่นี่มันเป็นหมาตัวอื่น"
  • 4:31 - 4:33
    ทีนี้ลองเอาคำอธิบายแบบฟรอยด์มาใช้สิครับ
  • 4:33 - 4:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:34 - 4:38
    คุณจะเริ่มพูดเรื่องความปรารถนาจะสมสู่กับสัตว์
    ที่ซ้อนเร้นอยู่ในมนุษย์ทุกคน
  • 4:38 - 4:41
    หรืออะไรแบบนั้น ซึ่งแน่นอน มันเหลวไหลสิ้นดี
  • 4:41 - 4:43
    ทีนี้ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
  • 4:43 - 4:45
    เพื่อที่จะอธิบายความผิดปกติอันน่าฉงนนี้
  • 4:45 - 4:49
    เราศึกษาถึงโครงสร้างและการทำงาน
    ของเส้นทางสื่อประสาททางสายตาในสมองที่ปกติ
  • 4:49 - 4:52
    ปกติแล้ว สัญญาณภาพเข้ามาสู่ลูกตา
  • 4:52 - 4:54
    และส่งไปยังส่วนประมวลภาพในสมอง
  • 4:54 - 4:57
    อันที่จริงแล้ว มีพื้นที่ 30 ส่วนในสมอง
    ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาพ
  • 4:57 - 5:00
    หลังจากประมวลผลเสร็จ
    ข้อความจะถูกส่งไปยังโครงสร้างเล็กๆ
  • 5:00 - 5:05
    ที่ชื่อฟิวซิฟอร์มไจรัส ที่ซึ่งคุณรับรู้ใบหน้า
  • 5:05 - 5:07
    มันมีเซลล์ประสาทที่ไวต่อภาพใบหน้า
  • 5:07 - 5:10
    คุณสามารถเรียกมันได้ว่า
    เป็นสมองส่วนจดจำใบหน้า
  • 5:10 - 5:12
    ผมพูดถึงไปแล้วก่อนหน้านี้
  • 5:12 - 5:16
    ทีนี้ เมื่อบริเวณนั้นเสียหาย
    คุณจะเสียความสามารถในการจดจำใบหน้า
  • 5:16 - 5:19
    แต่จากบริเวณนั้น ข้อความถูกส่งต่อไปยัง
  • 5:19 - 5:22
    โครงสร้างที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ในสมองชั้นใน
  • 5:22 - 5:24
    ส่วนความรู้สึกในสมอง
  • 5:24 - 5:26
    และโครงสร้างนั้น ที่เรียกว่า อมิกดาลา
  • 5:26 - 5:28
    จะวัดปริมาณความรู้สึกของสิ่งที่คุณมองเห็น
  • 5:28 - 5:32
    มันคือเหยื่อ มันคือผู้ล่า มันคือเพศตรงข้าม
  • 5:32 - 5:34
    หรือมันคือสิ่งทั่วๆไปเช่นเศษผ้า
  • 5:34 - 5:38
    เศษชอล์ก หรือ ผมไม่อยากจะชี้ไปตรงนั้น แต่
  • 5:38 - 5:40
    หรือรองเท้า หรืออะไรก็ตาม
  • 5:40 - 5:42
    ที่ซึ่งคุณสามารถละเลยได้
  • 5:42 - 5:45
    ดังนั้น ถ้าอามิกดาลาถูกกระตุ้น
    นั่นหมายถึงบางอย่างที่สำคัญ
  • 5:45 - 5:48
    ข้อความจะถูกส่งต่อไปยังระบบประสาทอัตโนมัติ
  • 5:48 - 5:50
    หัวใจคุณจะเต้นเร็วขึ้น
  • 5:50 - 5:53
    คุณเริ่มเหงื่อออก
    เพื่อเตรียมจะระบายความร้อน
  • 5:53 - 5:55
    ที่คุณจะสร้างจากการออกแรงของกล้ามเนื้อ
  • 5:55 - 5:59
    และนั่นถือเป็นโชคดี เพราะเราสามารถ
    วางขั้วไฟฟ้าสองอันไว้ในมือคุณ
  • 5:59 - 6:03
    แล้ววัดการเปลี่ยนแปลงความต้านทานไฟฟ้า
    ของผิวหนังซึ่งเกิดจากเหงื่อ
  • 6:03 - 6:05
    ดังนั้นผมจึงสามารถวัดได้ว่า เมื่อคุณมองบางสิ่ง
  • 6:05 - 6:09
    คุณตื่นเต้น หรือรู้สึกถูกกระตุ้นหรือเปล่า
  • 6:09 - 6:11
    และผมจะบอกในอีกสักครู่
  • 6:11 - 6:15
    แนวคิดของผมคือ เมื่อนายคนนี้มองวัตถุสักชิ้น
  • 6:15 - 6:19
    หรือมองวัตถุอะไรก็ตาม
    มันจะถูกส่งไปยังส่วนประมวลภาพ
  • 6:19 - 6:22
    มันจะถูกประมวลโดยฟิวซิฟอร์มไจรัส
  • 6:22 - 6:25
    และคุณก็รู้ว่ามันเป็นต้นถั่ว หรือโต๊ะ
  • 6:25 - 6:27
    หรือแม่ของคุณ โอเคไหมครับ
  • 6:27 - 6:30
    และจากนั้นข้อความก็ถูกส่งต่อไปยังอมิกดาลา
  • 6:30 - 6:32
    และไปต่อยังระบบประสาทอัตโนมัติ
  • 6:32 - 6:37
    แต่บางที ในกรณีของนายคนนี้ เส้นทางเชื่อมต่อ
    ระหว่างอมิกดาลากับสมองชั้นใน
  • 6:37 - 6:40
    ซึ่งเป็นส่วนควบคุมอารมณ์ของสมอง
    ถูกตัดขาดโดยอุบัติเหตุ
  • 6:40 - 6:42
    ดังนั้น เนื่องจากฟิวซิฟอร์มยังอยู่ดี
  • 6:42 - 6:45
    นายคนนี้จึงยังจำแม่ของเขาได้
  • 6:45 - 6:47
    และบอกว่า "อ้อใช่ นี่คือดูเหมือนแม่ของฉัน"
  • 6:47 - 6:50
    แต่เนื่องจากเส้นทางสู่ศูนย์ควบคุมอารมณ์ถูกตัดขาด
  • 6:50 - 6:54
    เขาจึงคิดว่า "แต่ถ้านี่คือแม่ของฉัน
    ทำไมฉันถึงไม่รู้สึกถึงความอบอุ่นเลย"
  • 6:54 - 6:56
    หรือความรู้สึกสยอง ก็แล้วแต่กรณีนะครับ
  • 6:56 - 6:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:57 - 7:03
    ดังนั้นเขาจึงคิดว่า "แล้วฉันจะอธิบายความรู้สึก
    ไร้อารมณ์นี้ได้อย่างไร"
  • 7:03 - 7:05
    นี่ต้องไม่ใช่แม่ของฉันแน่ๆ
  • 7:05 - 7:07
    ต้องเป็นหญิงแปลกหน้าสักคน
    ปลอมตัวมาเป็นแม่ของฉัน"
  • 7:07 - 7:09
    เราทดสอบได้อย่างไร ?
  • 7:09 - 7:11
    ที่คุณต้องทำคือ ถ้าคุณให้ใครสักคนในที่นี้
    ให้เขานั่งหน้าจอ
  • 7:11 - 7:14
    และวัดความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนัง
  • 7:14 - 7:16
    และแสดงภาพต่างๆ บนจอ
  • 7:16 - 7:19
    ผมสามารถวัดว่าคุณเหงื่อออก
    มากน้อยแค่ไหนเมื่อคุณมองเห็นวัตถุ
  • 7:19 - 7:22
    เช่น โต๊ะ หรือร่ม แน่นอนว่าคุณจะไม่เหงื่อออก
  • 7:22 - 7:27
    แต่ถ้าผมโชว์ภาพเสือ สิงโต หรือภาพวาบหวิว
    คุณจะเริ่มมีเหงื่อ
  • 7:27 - 7:30
    และเชื่อหรือไม่ว่า ถ้าผมแสดงภาพแม่ของคุณ
  • 7:30 - 7:32
    ผมหมายถึงในคนปกตินะครับ
    คุณจะเริ่มเหงื่อออก
  • 7:32 - 7:34
    ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะกับคนยิวเท่านั้นนะครับ
  • 7:34 - 7:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:36 - 7:40
    ทีนี้จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเอาภาพเหล่านี้
    แสดงให้ผู้ป่วยรายนี้ดู?
  • 7:40 - 7:44
    คุณแสดงให้ผู้ป่วยรายนี้เห็นภาพต่างๆ บนจอ
  • 7:44 - 7:46
    และวัดความต้านทานไฟฟ้าบนผิวหนัง
  • 7:46 - 7:51
    โต๊ะ เก้าอี้ เศษผ้า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    เช่นเดียวกับในคนปกติ
  • 7:51 - 7:53
    แต่เมื่อคุณแสดงให้เขาเห็นภาพของแม่เขา
  • 7:53 - 7:55
    ความต้านทานไฟฟ้าที่ผิวเขาก็ยังไม่มีการตอบสนอง
  • 7:55 - 7:57
    ไม่มีการตอบสนองด้านอารมณ์ต่อแม่ของเขาเลย
  • 7:57 - 8:02
    เพราะเส้นทางเชื่อต่อจากส่วนรับภาพ
    ไปถึงส่วนควบคุมอารมณ์นั้นถูกตัดขาด
  • 8:02 - 8:05
    สายตาของเขายังปกติ เนื่องจากส่วนรับภาพยังปกติ
  • 8:05 - 8:08
    อารมณ์ของเขาก็เป็นปกติ เขายังหัวเราะ
    ร้องไห้ และแสดงอารมณ์อื่นๆ ได้อยู่
  • 8:08 - 8:11
    แต่เส้นทางเชื่อมระหว่างภาพ
    และอารมณ์นั้นถูกตัด
  • 8:11 - 8:14
    และดังนั้นเขาจึงเกิดประสาทหลอน
    ว่าแม่ของเขานั้นคือตัวปลอม
  • 8:14 - 8:17
    นี่คือตัวอย่างของสิ่งที่เราทำ
  • 8:17 - 8:21
    คือเอากรณีของคนไข้ที่มีอาการทางจิต
    ที่แปลกประหลาด ราวกับไม่มีคำอธิบาย
  • 8:21 - 8:23
    และบอกว่ามุมมองแบบฟรอยด์นั้นผิด
  • 8:23 - 8:27
    และจริงๆแล้ว คุณสามารถหาเหตุผล
    อธิบายได้อย่างแม่นยำ
  • 8:27 - 8:29
    โดยใช้ความรู้ด้านกายวิภาคของสมอง
  • 8:29 - 8:31
    อ้อ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ป่วยรายนี้กลับไป
  • 8:31 - 8:36
    และแม่ของเขาโทรหาจากห้องข้างๆ
  • 8:36 - 8:40
    และเขาหยิบโทรศัพท์ขึ้นพูด เขาจะพูดว่า "โอ้ แม่ครับ แม่เป็นยังไงบ้าง แม่อยู่ไหน"
  • 8:40 - 8:42
    ไม่มีอาการหลอนผ่านทางโทรศัพท์
  • 8:42 - 8:44
    จากนั้นถ้าเธอเข้ามาหาเขาอีกชั่วโมงให้หลัง
    เขาจะพูดว่า "คุณเป็นใคร
  • 8:44 - 8:46
    คุณดูเหมือแม่ผมเลย"
  • 8:46 - 8:48
    เหตุผลก็คือมันมีเส้นทางสื่อประสาทอีกเส้นทางหนึ่ง
  • 8:48 - 8:52
    จากส่วนรับเสียงไปยังส่วนอารมณ์
  • 8:52 - 8:54
    และเส้นทางนั้นไม่ได้ถูกตัดขาดโดยอุบัติเหตุ
  • 8:54 - 8:59
    ดังนั้น นี่จึงอธิบายว่าทำไม
    เขาจึงจำแม่ของเขาได้ทางโทรศัพท์
  • 8:59 - 9:02
    และเมื่อเขาเห็นเธอตัวเป็นๆ
    เขาจึงบอกว่านี่คือตัวปลอม
  • 9:02 - 9:06
    แล้ววงจรที่ซับซ้อนนี้
    ถูกสร้างขึ้นอย่างไรในสมองเรา?
  • 9:06 - 9:09
    เป็นเรื่องธรรมชาติ พันธุกรรม หรือการเลี้ยงดู?
  • 9:09 - 9:11
    และวิธีที่เราแก้ปัญหานี้
  • 9:11 - 9:15
    โดยการศึกษาโรคประหลาดอีกโรค
    ชื่อ แขนขาลวง (phantom limb)
  • 9:15 - 9:17
    และทุกคนรู้ว่าแขนขาลวงคืออะไร
  • 9:17 - 9:20
    เมื่อ แขนถูกตัด หรือขาถูกตัดเพราะเนื้อเน่า
  • 9:20 - 9:22
    หรือคุณเสียมันไปในสงคราม ตัวอย่างเช่นในสงครามอิรัก
  • 9:22 - 9:24
    ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นปัญหาหนัก
  • 9:24 - 9:28
    คุณยังคงรู้สึกได้ชัดเจนว่าแขนขานั้นยังอยู่
    แม้ว่ามันจะหายไปแล้ว
  • 9:28 - 9:31
    และมันเรียนกว่า แขนลวง หรือ ขาลวง
  • 9:31 - 9:33
    อันที่จริง คุณเกิดอาการ "ลวง"
    ได้กับทุกส่วนของร่างกาย
  • 9:33 - 9:36
    เชื่อหรือไม่ แม้แต่กับอวัยวะภายใน
  • 9:36 - 9:40
    ผมเคยมีคนป่วยที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว
  • 9:40 - 9:45
    ซึ่งมีอาการ มดลูกลวง รวมถึง
    ปวดท้องประจำเดือนลวงด้วย
  • 9:45 - 9:47
    ในช่วงเวลาที่เหมาะสมของเดือน
  • 9:47 - 9:49
    อันที่จริง มีนักเรียนคนหนึ่งถามผมเมื่อวันก่อนว่า
  • 9:49 - 9:51
    "แล้วเธอมีอาการ วัยทองลวง (PMS) ด้วยไหม ?"
  • 9:51 - 9:52
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:52 - 9:56
    เป็นอีกหัวข้อที่พร้อมสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
    แต่เราไม่ได้ศึกษาในแนวทางนั้นนะครับ
  • 9:56 - 9:59
    ทีนี้ อีกคำถามหนึ่งก็คือ
  • 9:59 - 10:02
    คุณจะเรียนรู้อะไรได้บ้างเกี่ยวกับแขนขาลวง
    โดยใช้การทดลอง
  • 10:02 - 10:04
    สิ่งหนึ่งที่เราพบคือ
  • 10:04 - 10:06
    เกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีอาการแขนขาลวง
  • 10:06 - 10:08
    อ้างว่าพวกเขาสามารถเคลื่อนไหวแขนขาลวงนั้นได้
  • 10:08 - 10:10
    เขาใช้มันตบไหล่พี่ชายของเขาได้
  • 10:10 - 10:12
    เขาใช้มันรับโทรศัพท์เมื่อมันดัง หรือใช้มันโบกมือลา
  • 10:12 - 10:15
    มันให้ความรู้สึกเหมือนจริงมาก
  • 10:15 - 10:17
    คนไข้ไม่ได้ประสาทหลอน
  • 10:17 - 10:19
    เขารู้อยู่แก่ใจว่าแขนเขาไม่มีแล้ว
  • 10:19 - 10:22
    แต่มันเป็นความรู้สึกที่ชัดเจนสำหรับคนไข้
  • 10:22 - 10:25
    อย่างไรก็ตาม อีกครึ่งหนึ่งของคนไข้ไม่มีอาการเหล่านี้
  • 10:25 - 10:29
    อาการแขนขาลวง แต่เขาจะพูดว่า
    "แต่หมอ แขนขาลวงของผมเป็นอัมพาต"
  • 10:29 - 10:32
    มันอยู่นิ่งในลักษณะกำแน่นและเจ็บปวดเกินบรรยาย
  • 10:32 - 10:35
    ถ้าผมสามารถขยับมันได้
    บางทีคามเจ็บปวดอาจบรรเทาลง"
  • 10:35 - 10:38
    ทีนี้ ทำไมแขนขาลวงจึงเป็นอัมพาตได้
  • 10:38 - 10:40
    ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกัน
  • 10:40 - 10:43
    แต่เมื่อเราดูที่ประวัติคนไข้ เราพบว่า
  • 10:43 - 10:45
    คนเหล่านี้ที่มีอาการแขนขาลวงอัมพาตนั้น
  • 10:45 - 10:49
    มีแขนจริงที่เป็นอัมพาต
    เพราะการบาดเจ็บทางเส้นประสาท
  • 10:49 - 10:52
    เส้นประสาทจริงๆซึ่งเชื่อมไปยังแขนถูกตัดขาด
  • 10:52 - 10:54
    ถูกตัดโดยอุบัติเหตุทางจักรยานยนต์เป็นต้น
  • 10:54 - 10:57
    ดังนั้นคนไข้ยังมีแขนซึ่งเจ็บปวด
  • 10:57 - 11:01
    อยู่ในที่ห้อยแขนเป็นเวลา 2-3 เดือน
    หรือเป็นปี แล้วจากนั้น
  • 11:01 - 11:04
    ด้วยความพยายามจะช่วยกำจัดความเจ็บปวดที่แขน
    อันเกิดจากความเข้าใจผิดๆ
  • 11:04 - 11:06
    ศัลยแพทย์จึงตัดแขนข้างนั้น
  • 11:06 - 11:10
    และจากนั้นคุณก็จะได้แขนลวง
    ที่ยังคงความเจ็บปวดอยู่
  • 11:10 - 11:12
    และนี่เป็นกรณีป่วยที่รุนแรง
  • 11:12 - 11:14
    ผู้ป่วยบางคนเป็นโรคซึมเศร้า
  • 11:14 - 11:16
    บางคนคิดฆ่าตัวตาย
  • 11:16 - 11:18
    แล้วคุณจะรักษาอาการเหล่านี้ได้อย่างไร
  • 11:18 - 11:20
    ทำไมคุณจึงเกิดอาการแขนลวงอัมพาต
  • 11:20 - 11:24
    เมื่อผมศึกษาประวัติคนไข้เหล่านี้
    ผมพบว่าพวกเขาล้วนมีแขนจริง
  • 11:24 - 11:27
    และเส้นประสาทที่เชื่อมต่อแขนนั้นถูกตัดขาด
  • 11:27 - 11:30
    และแขนจริงก็กลายเป็นอัมพาต
  • 11:30 - 11:34
    และห้อยอยู่ในที่แขวนหลายเดือนก่อนถูกตัด
  • 11:34 - 11:40
    และความเจ็บปวดนี้ถูกส่งถ่ายไปยังแขนลวง
  • 11:40 - 11:42
    ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
  • 11:42 - 11:44
    เมื่อแขนยังอยู่ แต่เป็นอัมพาต
  • 11:44 - 11:47
    สมองจะส่งคำสั่งไปยังแขน
    สมองส่วนหน้าจะสั่งว่า "ขยับ"
  • 11:47 - 11:49
    และได้รับการป้อนกลับทางสายตาบอกว่า "ไม่"
  • 11:49 - 11:53
    ขยับ ไม่ ขยับ ไม่ ขยับ ไม่
  • 11:53 - 11:56
    และนี่ถูกบันทึกฝังลงในวงจรของสมอง
  • 11:56 - 11:59
    และเราเรียกสิ่งนี้ว่า
    ความเป็นอัมพาตจากการเรียนรู้
  • 11:59 - 12:03
    สมองเรียนรู้ ตามการเรียนรู้แบบเฮ็บเบี้ยน (Hebbian)
  • 12:03 - 12:06
    ว่าเพียงแค่ส่งคำสั่งไปขยับแขน
  • 12:06 - 12:08
    จะสร้างความรู้สึกของแขนที่เป็นอัมพาต
  • 12:08 - 12:10
    ดังนั้น เมื่อคุณตัดแขนออก
  • 12:10 - 12:14
    ความเป็นอัมพาตจากการเรียนรู้นี้
    จึงถ่ายทอดไปยังภาพพจน์ของร่างกาย
  • 12:14 - 12:17
    และไปยังแขนลวง โอเคไหมครับ
  • 12:17 - 12:19
    แล้วคุณจะช่วยคนไข้เหล่านี้อย่างไร ?
  • 12:19 - 12:21
    คุณจะทำให้อัมพาตจากการเรียนรู้นั้นถูกลืมได้
  • 12:21 - 12:25
    เพื่อที่คุณจะได้ช่วยเขาบรรเทาจากอาการ
    มือกำแน่นอันเจ็บปวด
  • 12:25 - 12:27
    ของแขนลวงได้
  • 12:27 - 12:32
    ดังนั้นเราจึงคิดว่า ถ้าตอนนี้คุณส่งคำสั่งไปยังแขนลวง
  • 12:32 - 12:36
    แล้วให้เขาเห็นการป้อนกลับทางสายตาว่า
    แขนนั้นมันทำตามคำสั่ง
  • 12:36 - 12:39
    บางทีคุณอาจจะช่วยบรรเทา
    ความเจ็บปวดลวง ตะคริวลวงนี้ได้
  • 12:39 - 12:41
    แล้วคุณจะทำอย่างไร
    ก็ใช้ความจริงเสมือนสิครับ (virtual reality)
  • 12:41 - 12:43
    แต่นั้นมันแพงหลายล้านดอลลาร์
  • 12:43 - 12:46
    ดังนั้นผมจึงตัดสินใจทำมัน
    ในแบบที่ใช้เงินเพียง 3 ดอลลาร์
  • 12:46 - 12:48
    แต่อย่าบอกผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยผมนะครับ
  • 12:48 - 12:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:49 - 12:53
    สิ่งที่ทำคือคุณสร้างสิ่งทีผมเรียกว่ากล่องกระจก
  • 12:53 - 12:55
    คุณมีกล่องกระดาษที่มีกระจกวางไว้ตรงกลาง
  • 12:55 - 12:59
    และจากนั้นคุณเอาแขนลวงใส่เข้าไป
    คนไข้คนแรกของผม เดเร็ก เข้ามา
  • 12:59 - 13:02
    แขนเขาถูกตัดไปแล้วเมื่อ 10 ปีก่อน
  • 13:02 - 13:05
    เขาได้รับบาดเจ็บที่ศูนย์รวมประสาทบริเวณหัวไหล่
    ดังนั้นเส้นประสาทจึงถูกตัด
  • 13:05 - 13:09
    แขนเขาเป็นอัมพาต ห้อยอยู่ในที่ห้อยแขนเป็นปี
    และสุดท้ายก็ถูกตัด
  • 13:09 - 13:11
    เขาเกิดมีแขนลวด มันเจ็บปวดแสนสาหัส
    และเขาขยับมันไม่ได้
  • 13:11 - 13:13
    มันเป็นแขนลวงอัมพาต
  • 13:13 - 13:17
    เขาเข้ามาและผมให้กระจกแบบนั้นในกล่อง
  • 13:17 - 13:20
    ที่ผมเรียกว่ากล่องกระจก
  • 13:20 - 13:23
    คนไข้สอดแขนลวงด้านซ้าย
  • 13:23 - 13:25
    ที่ซึ่งกำแน่น ไว้ทางซ้ายของกระจก
  • 13:25 - 13:27
    และแขนข้างที่ปกติทางด้านขวาของกระจก
  • 13:27 - 13:31
    และให้ทำท่าทางเดียวกัน ท่ากำมือ
  • 13:31 - 13:34
    และมองดูในกระจก และเขาจะเกิดประสบการณ์อย่างไร
  • 13:34 - 13:37
    เขามองเห็นแขนลวงกำลังคืนชีพขึ้นมา
  • 13:37 - 13:41
    เพราะเขามองเห็นภาพสะท้อนของแขนที่ปกติในกระจก
  • 13:41 - 13:43
    มันจึงเหมือนกับแขนลวงได้กลับมาแล้ว
  • 13:43 - 13:46
    "ทีนี้" ผมกล่าว "ทีนี้ลองกระดิก
  • 13:46 - 13:50
    นิ้วจริงๆ หรือขยับนิ้วจริงในขณะมองกระจก"
  • 13:50 - 13:54
    เขาจะได้เห็นภาพว่านิ้วลวงกำลังขยับใช่ไหม
  • 13:54 - 13:56
    นั่นมันชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ
  • 13:56 - 13:59
    คนไข้กล่าว่า "โอ้พระเจ้า แขนลวงผมขยับได้แล้ว"
  • 13:59 - 14:01
    และความเจ็บปวด อาการกำแน่นก็ค่อยยังชั่วขึ้น
  • 14:01 - 14:04
    และโปรดจำว่า คนไข้คนแรกที่เข้ามา
  • 14:04 - 14:05
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:05 - 14:09
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
  • 14:09 - 14:12
    คนไข้คนแรกที่เข้ามา และเขามองกระจก
  • 14:12 - 14:15
    และผมบอกว่า "ดูภาพสะท้อนของแขนลวงคุณสิ"
  • 14:15 - 14:17
    เขาเริ่มหัวเราะคิกคัก แล้วพูดว่า
    "ผมเห็นแขนลวงผมแล้ว"
  • 14:17 - 14:19
    แต่เขาไม่ได้โง่ เขารู้ว่ามันไม่จริง
  • 14:19 - 14:21
    เขารู้ว่ามันเป็นภาพสะท้อนในกระจก
  • 14:21 - 14:23
    แต่มันเป็นประสบการณ์รับรู้ทางประสาทที่สมจริง
  • 14:23 - 14:26
    และผมบอกว่า "ขยับมือจริงและมือลวงของคุณ"
  • 14:26 - 14:28
    เขาพูดว่า "ผมขยับแขนลวงไม่ได้หรอก
    หมอก็รู้ มันเจ็บปวด"
  • 14:28 - 14:30
    ผมบอก "ขยับมือข้างปกติของคุณ"
  • 14:30 - 14:32
    และเขากล่าวว่า "โอ้พระเจ้า
    แขนลวงผมขยับได้แล้ว ผมไม่อยากเชื่อเลย"
  • 14:32 - 14:35
    และความเจ็บปวดก็ลดลงด้วย
  • 14:35 - 14:36
    และจากนั้นผมบอกว่า "ลองหลับตา"
  • 14:36 - 14:38
    เขาหลับตาลง
  • 14:38 - 14:39
    "และขยับมือข้างที่ปกติของคุณ"
  • 14:39 - 14:40
    "ไม่เห็นเกิดอะไรขึ้นเลย มันกำแน่นอีกแล้ว"
  • 14:40 - 14:42
    "โอเค ลืมตาได้"
  • 14:42 - 14:43
    "โอ้พระเจ้า โอ้พระเจ้า มันขยับได้อีกแล้ว"
  • 14:43 - 14:45
    เขากลายเป็นเหมือนเด็กในร้านขนมเลย
  • 14:45 - 14:50
    ดังนั้น นี่จึงพิสูจน์ทฤษฎีของผมเรื่อง
    ความเป็นอัมพาตจากการเรียนรู้
  • 14:50 - 14:52
    และความสำคัญของข้อมูลทางสายตา
  • 14:52 - 14:54
    แต่ผมคงไม่ได้รางวัลโนเบล
  • 14:54 - 14:56
    สำหรับการทำให้ใครบางคน
    สามารถขยับแขนขาลวงได้
  • 14:56 - 14:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:57 - 14:58
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:58 - 15:01
    มันเป็นความสามารถที่ไร้ประโยชน์สิ้นดี
    ถ้าคุณลองคิดดู
  • 15:01 - 15:02
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:02 - 15:06
    แต่ผมก็เริ่มตระหนักว่า
    บางที ความเป็นอัมพาตแบบอื่นๆ
  • 15:06 - 15:11
    ที่คุณเห็นในประสาทวิทยา เช่น เส้นเลือดในสมองอุดตัน
    หรืออาการดิโทเนียเฉพาะจุด (focal dystonias)
  • 15:11 - 15:13
    บางทีอาจมีปัจจัยอันเกิดจากการเรียนรู้เสริมเข้าไปด้วย
  • 15:13 - 15:16
    ซึ่งคุณสามารถเอาชนะมันได้ด้วย
    อุปกรณ์ง่ายๆ เช่นกระจก
  • 15:16 - 15:18
    ผมจึงพูดว่า "เอาล่ะ เดเร็ก"
  • 15:18 - 15:21
    คืออย่างแรก เขาคงไม่สามารถแบกกระจกตลอดเวลา
    เพื่อให้ความเจ็บปวดเขาหายไป
  • 15:21 - 15:25
    ผมจึงพูดว่า "เอาล่ะ เดเร็ก เอากระจกนี่กลับบ้าน
    แล้วลองฝึกดูสักอาทิตย์ สองอาทิตย์
  • 15:25 - 15:27
    บางที หลังจากที่ฝึกไปสักพัก
  • 15:27 - 15:29
    คุณจะเลิกใช้กระจกได้ และลืมอาการอัมพาต
  • 15:29 - 15:31
    และเริ่มขยับแขนที่เป็นอัมพาตได้
  • 15:31 - 15:33
    และจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของคุณ"
  • 15:33 - 15:35
    เขาตอบตกลงและเอากระจกกลับบ้านไป
  • 15:35 - 15:37
    "จริงๆ แล้วมันก็แค่สองเหรียญ เอามันกลับบ้านไปเลย"
  • 15:37 - 15:40
    เขาจึงเอามันกลับบ้าน
    และหลังจากนั้นสองอาทิตย์ เขาโทรหาผม
  • 15:40 - 15:42
    เขาพูดว่า "หมอ หมอต้องไม่เชื่อผมแน่ๆ"
  • 15:42 - 15:43
    ผมถาม "อะไรหรือ"
  • 15:43 - 15:45
    เขาบอก "มันหายไปแล้ว"
  • 15:45 - 15:46
    ผมถาม "อะไรหาย"
  • 15:46 - 15:48
    ผมคิดว่า บางทีกล่องกระจกหายไปแล้ว
  • 15:48 - 15:49
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:49 - 15:52
    เขาบอกว่า "ไม่ใช่ครับ แขนลวงของผม
    ที่ผมมีมาตลอด 10 ปีมานี้"
  • 15:52 - 15:54
    มันหายไปแล้ว
  • 15:54 - 15:56
    ผมกังวลมาก พระเจ้า
  • 15:56 - 15:58
    ผมได้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของเขาไปแล้ว
  • 15:58 - 16:01
    แล้วเรื่องเกี่ยวกับมนุษยธรรม จรรยาบรรณ และอื่นๆ ล่ะ
  • 16:01 - 16:03
    ผมถาม "เดเร็ก นี่ทำให้คุณกังวลหรือเปล่า"
  • 16:03 - 16:06
    เขาบอกว่า "ไม่เลย สามวันที่ผ่านมา
    ผมไม่มีแขนลวงแล้ว"
  • 16:06 - 16:09
    และดังนั้น จึงไม่มีความปวดจากข้อศอกลวง
    ไม่มีอาการกำมือแน่น
  • 16:09 - 16:12
    ไม่มีความเจ็บปวดจากต้นแขนลวง
    ความเจ็บปวดทุกอย่างหายไปหมด
  • 16:12 - 16:16
    แต่ปัญหาคือผมรู้สึกถึงนิ้วลวง
    ที่ห้อยอยู่ตรงหัวไหล่ผม
  • 16:16 - 16:18
    และกล่องของคุณก็ลึกไม่พอ"
  • 16:18 - 16:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 16:19 - 16:22
    "ดังนั้น คุณช่วยออกแบบใหม่
    และเอามันผูกไว้กับหน้าผากผมได้ไหม"
  • 16:22 - 16:25
    เพื่อที่ผมจะได้ทำแบบนี้ และกำจัดนิ้วลวงออกไป
  • 16:25 - 16:27
    เขาคงนึกว่าผมเป็นนักมายากล
  • 16:27 - 16:28
    ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
  • 16:28 - 16:31
    นั่นเป็นเพราะสมองนั้น
    ต้องเจอกับความขัดแย้งของประสาทสัมผัส
  • 16:31 - 16:34
    มันได้รับข้อความจากภาพว่าแขนลวงกลับมาแล้ว
  • 16:34 - 16:36
    และในทางกลับกัน มันไม่มีตัวรับสัมผัสที่สอดคล้องกัน
  • 16:36 - 16:40
    สัญญาณกล้ามเนื่อบอกว่าแขนนั้นไม่มีจริง
  • 16:40 - 16:42
    และคำสั่งสู่กล้ามเนื้อบอกว่ามันมีแขน
  • 16:42 - 16:45
    และด้วยความขัดแย้งนี้ สมองจึงบอกว่า ช่างหัวมัน
  • 16:45 - 16:48
    ไม่มีทั้งแขนปิศาจ ไม่มีทั้งแขนจริงนั่นแหละ
  • 16:48 - 16:50
    มันเข้าสู่สถานะการไม่ยอมรับ ลบล้างสัญญาณ
  • 16:50 - 16:54
    และเมื่อแขนหายไปแล้ว
    ของแถมคือความเจ็บปวดก็หายไปด้วย
  • 16:54 - 16:58
    เพราะคุณไม่สามารถมีความเจ็บปวด
    ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศได้
  • 16:58 - 17:00
    และนั่นเป็นของแถม
  • 17:00 - 17:02
    เทคนิคนี้ ได้ถูกทดลองกับคนไข้จำนวนมาก
  • 17:02 - 17:04
    โดยกลุ่มวิจัยอื่นๆ ในเฮลซิงกิ
  • 17:04 - 17:07
    ดังนั้นมันจึงพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นการรักษา
    ที่จำเป้นสำหรับความเจ็บปวดลวง
  • 17:07 - 17:09
    และอันที่จริงแล้ว ผู้คนยังทดลองมัน
    กับการพักฟืนจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน
  • 17:09 - 17:12
    อาการเส้นเลือดในสมองอุดตันที่ปกติแล้ว
    คุณคิดว่าเป็นความบาดเจ็บของเส้นประสาท
  • 17:12 - 17:14
    คุณทำอะไรกับมันไม่ได้
  • 17:14 - 17:19
    แต่มันกลายเป็นว่า บางส่วนของอัมพาตจาก
    เส้นเลือดในสมองอุตันนั้นเกิดจากการเรียนรู้
  • 17:19 - 17:22
    และบางทีส่วนที่ว่านั้นอาจแก้ไขได้
    โดยการใช้กระจก
  • 17:22 - 17:24
    กรณีนี้ก็เช่นกันได้ถูกไปใช้แล้วในการทดลองทางคลินิก
  • 17:24 - 17:26
    เพื่อช่วยเหลือคนไข้จำนวนมาก
  • 17:26 - 17:30
    โอเค ผมขอเปลี่ยนหัวข้อไปยัง
    ส่วนที่สามของการบรรยายของผม
  • 17:30 - 17:34
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์แปลกๆ
    ที่เรียกว่าซินเนสทีเซีย (synesthesia)
  • 17:34 - 17:37
    มันถูกค้นพบโดย ฟรานซิส แกลตัน (Francis Galton)
    ในศตวรรษ์ที่ 19
  • 17:37 - 17:39
    เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ชาลส์ ดาร์วิน
  • 17:39 - 17:41
    เขาชี้ให้เห็นว่าบางคนในกลุ่มประชากร
  • 17:41 - 17:45
    ผู้ซึ่งดูปกติในเรื่องอื่นๆ จะมีอาการดังนี้
  • 17:45 - 17:48
    ทุกครั้งที่เขาเห็นตัวเลข มันเป็นสี
  • 17:48 - 17:52
    ห้าคือสีน้ำเงิน เจ็ดคือสีเหลือง แปดคือสีตองอ่อน
  • 17:52 - 17:54
    เก้าคือสีคราม
  • 17:54 - 17:57
    โปรดระลึกว่า คนเหล่านี้
    เป็นคนปกติดีทุกอย่างในเรื่องอื่นๆ
  • 17:57 - 18:00
    หรือ บางครั้งโน้ตเสียงเป็นตัวกระตุ้นสี
  • 18:00 - 18:03
    ซีชาร์ปเป็นสีน้ำเงิน เอฟชาร์ปเป็นสีเขียว
  • 18:03 - 18:06
    โน้ตอื่นๆ อาจเป็นสีเหลือง
  • 18:06 - 18:08
    ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
  • 18:08 - 18:10
    อาการนี้เรียกว่าซินเนสทีเซีย
    แกลตันเรียกมันว่าซินเนสทีเซีย
  • 18:10 - 18:12
    การผสมปนเปของประสาทรับรู้
  • 18:12 - 18:14
    ในพวกเรา ประสาทรับรู้ทุกอย่างนั้นแยกกันเด็ดขาด
  • 18:14 - 18:16
    แต่คนเหล่านี้มีประสาทสัมผัสผสมกันปนเป
  • 18:16 - 18:17
    ทำไมจึงเป็นเช่นนี้
  • 18:17 - 18:19
    หนึ่งในสองแง่ของปัญหานี้น่าสนใจมาก
  • 18:19 - 18:21
    ซินเนสทีเซียถ่ายทอดกันในตระกูล
  • 18:21 - 18:24
    ดังนั้น แกลตันจึงกล่าวว่านี่เป็น
    อาการที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • 18:24 - 18:28
    แง่ที่สอง ซินเนสทีเซียเกี่ยวข้องกับ --
    และนี่จะโยงไปสู่ประเด็นของผม
  • 18:28 - 18:31
    เกี่ยวข้องกับใจความหลักของบรรยายครั้งนี้
    ซึ่งเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
  • 18:31 - 18:36
    ซินเนสทีเซียนั้นพบบ่อยเป็น 8 เท่า
    ในกลุ่มศิลปิน กวี นักประพันธ์
  • 18:36 - 18:39
    และคนอื่นๆ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
    มากกว่าในคนทั่วไป
  • 18:39 - 18:40
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
  • 18:40 - 18:42
    ผมกำลังจะตอบคำถามนั้น
  • 18:42 - 18:44
    มันไม่เคยได้รับคำตอบมาก่อน
  • 18:44 - 18:45
    เอาล่ะ อะไรคือซินเนสทีเซีย ? อะไรเป็นสาเหตุ ?
  • 18:45 - 18:46
    มีหลายทฤษฎีที่ใช้อธิบาย
  • 18:46 - 18:48
    ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า คนเหล่านี้ก็แค่เป็นบ้า
  • 18:48 - 18:51
    นั่นไม่ใช่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สักเท่าไหร่
    เราลืมมันไปได้เลย
  • 18:51 - 18:55
    อีกทฤษฎีกล่าวว่า พวกนี้คือพวกติดยา พวกพี้กัญชา
  • 18:55 - 18:57
    บางทีอาจมีความจริงอยู่บ้าง
  • 18:57 - 18:59
    เพราะมันพบบ่อยมากในย่าน เบย์ แอเรีย
    มากกว่าในซานดิเอโก
  • 18:59 - 19:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 19:00 - 19:03
    ทฤษฎีที่สาม กล่าวว่า --
  • 19:03 - 19:08
    เอาล่ะ ลองถามตัวเราเองก่อนว่าเกิดอะไรขึน
    เมื่อเกิดซินเนสทีเซีย ตกลงไหมครับ?
  • 19:08 - 19:11
    เราพบว่า สมองส่วนประมวลสี และส่วนประมวลตัวเลขนั้น
  • 19:11 - 19:14
    อยู่ติดกันในสมอง ในฟิวซิฟอร์มไจรัส
  • 19:14 - 19:16
    เราเชื่อว่า มันเกิดการเชื่อมโยงที่ผิดพลาด
  • 19:16 - 19:19
    ข้ามกันไปมาระหว่างสีและตัวเลขในสมอง
  • 19:19 - 19:22
    ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณเห็นตัวเลข
    คุณจะเห็นสีที่สอดคล้องกันด้วย
  • 19:22 - 19:24
    และนั่นทำให้คุณเป็นซินเนสทีเซีย
  • 19:24 - 19:26
    ทีนี้โปรดจำว่า -- ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?
  • 19:26 - 19:28
    ทำไมถึงมีการเชื่อมโยงผิดพลาดในเฉพาะบางคน
  • 19:28 - 19:30
    จำไว้ว่า ผมบอกว่ามันสืบทอดในตระกูล
  • 19:30 - 19:32
    นั่นเป็นคำบอกใบ้คุณ
  • 19:32 - 19:34
    ว่ามียีนผิดปกติอยู่ตัวหนึ่ง
  • 19:34 - 19:37
    ยีนตัวหนึ่งที่กลายพันธุ์และเป็นสาเหตุ
    ของการเชื่อมโยงข้ามกันที่ผิดปกติ
  • 19:37 - 19:39
    ในพวกเราทุกคนนั้น
  • 19:39 - 19:43
    ปรากฏว่าเราเกิดมาด้วยสภาพที่
    ทุกอย่างเชื่อมโยงกับทุกอย่าง
  • 19:43 - 19:46
    ทุกส่วนในสมองเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ทุกส่วน
  • 19:46 - 19:48
    และมันจะค่อยๆ ถูกตัดออก
  • 19:48 - 19:51
    เพื่อสร้างโครงสร้างของสมองผู้ใหญ่
  • 19:51 - 19:53
    ดังนั้น ถ้ามียีนตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ตัดการเชื่อมโยงนี้
  • 19:53 - 19:55
    และถ้ายีนนั้นเกิดกลายพันธุ์
  • 19:55 - 19:58
    ดังนั้นคุณจะได้การตัดการเชื่อมโยงที่ผิดพลาด
    ระหว่างสองส่วนในสมอง
  • 19:58 - 20:01
    และถ้ามันเกิดขึ้นระหว่างตัวเลขและสี
    คุณจะได้ซินเนสทีเซียประเภทสีและตัวเลข
  • 20:01 - 20:04
    และถ้าเป็นระหว่างโทนเสียงและสี
    คุณจะได้ซินเนสทีเซียประเภทเสียงและสี
  • 20:04 - 20:06
    ฟังดูดีใช่ไหมครับ
  • 20:06 - 20:08
    ทีนี้ ถ้ายีนตัวนี้ทำงานทุกๆที่ในสมอง
  • 20:08 - 20:09
    ดังนั้นทุกอย่างในสมองจะถูกเชื่อมโยงข้ามกันหรือเปล่า?
  • 20:09 - 20:15
    ลองนึกถึงสิ่งที่ศิลปิน นักประพันธ์
    และกวีล้วนมีเหมือนกัน
  • 20:15 - 20:18
    นั่นคือความสามารถในการคิดแบบอุปมาเปรียบเปรย
  • 20:18 - 20:20
    เชื่อมโยงแนวคิดที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกันเลย
  • 20:20 - 20:23
    เช่น "นั่นคือทิศบูรพาและจูเลียตเป็นดั่งดวงอาทิตย์"
  • 20:23 - 20:25
    คุณคงไม่พูดว่า จูเลียตเป็นดั่งดวงอาทิตย์
  • 20:25 - 20:27
    นั่นแปลว่า จูเลียตคือลูกไฟดวงใหญ่หรือเปล่า
  • 20:27 - 20:30
    คนเป็นโรคจิตเภทอาจเห็นแบบนั้น
    แต่นั่นมันคนละเรื่องกันนะครับ
  • 20:30 - 20:33
    คนปกติจะบอกว่า เธอนั้นอบอุ่นเหมือนดวงอาทิตย์
  • 20:33 - 20:35
    เธอเปล่งประกายเหมือนดวงอาทิตย์
    เธออ่อนโยนเหมือนดวงอาทิตย์
  • 20:35 - 20:37
    ในทันใดนั้น คุณมองเห็นความเชื่อมโยง
  • 20:37 - 20:40
    ทีนี้ ถ้าคุณสมมติว่ามีการเชื่อมโยงที่มากกว่านั้น
  • 20:40 - 20:43
    และแนวคิดคือมันเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆของสมองด้วย
  • 20:43 - 20:46
    ทีนี้มันก็จะก่อให้เกิดแนวโน้มที่สูงขึ้น
  • 20:46 - 20:49
    ที่จะมีความคิดแบบอุปมาอุปมัย และความคิดสร้างสรรค์
  • 20:49 - 20:51
    ในผู้คนที่เป็นซิเนสทีเซีย
  • 20:51 - 20:54
    และนั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราพบรายงาน
    ผู้เป็นซิเนสทีเซียบ่อยเป็น 8 เท่า
  • 20:54 - 20:56
    ในกลุ่มกวี ศิลปิน และนักประพันธ์
  • 20:56 - 20:59
    เอาหล่ะ นี่คือมุมมองของซินเนสทีเซีย
    ในเชิงการทำนายจากลักษณะสมอง
  • 20:59 - 21:01
    การสาธิตสุดท้าย ผมขอสักนาทีนึงนะครับ
  • 21:01 - 21:03
    (เสียงปรบมือ)
  • 21:03 - 21:08
    ผมจะแสดงให้คุณดูว่าทุกคนเป็นซินเนสทีเซีย
    แต่พวกคุณปฏิเสธมัน
  • 21:08 - 21:12
    นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่าตัวอักษรภาษามนุษย์ดาวอังคาร
    มันคล้ายๆกับตัวอักษรของคุณแหล่ะครับ
  • 21:12 - 21:15
    เอ คือ เอ บี คือ บี ซี คือ ซี
  • 21:15 - 21:18
    รูปร่างต่างกัน ก็ออกเสียงต่างกัน
  • 21:18 - 21:20
    ทีนี้ คุณมีตัวอักษรชาวดาวอังคาร
  • 21:20 - 21:22
    ตัวหนึ่งชื่อ กิกี้ อีกตัวชื่อ โบบ้า
  • 21:22 - 21:24
    ตัวไหนชื่อ กิกี้ และตัวไหนชื่อ โบบ้า ครับ
  • 21:24 - 21:26
    มีใครบ้างคิดว่า นั่นคือ กิกี้
    และนั้นคือ โบบ้า ยกขึ้นมือครับ
  • 21:26 - 21:28
    เอาหล่ะ มีมนุษย์กลายพันธุ์อยู่คนสองคน
  • 21:28 - 21:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 21:29 - 21:31
    มีใครบ้างคิดว่า นั่นคือ โบบ้า
    และนั้นคือ กิกี้ ยกมือขึ้นครับ
  • 21:31 - 21:33
    99% ของพวกคุณ
  • 21:33 - 21:35
    และไม่มีใครเป็นชาวดาวอังคาร แล้วคุณรู้ได้อย่างไร
  • 21:35 - 21:40
    นั่นเป็นเพราะทุกคนกำลังทำ
    การสรุปเชิงนามธรรมข้ามประสาทรับรู้
    (cross-modal synesthetic abstraction)
  • 21:40 - 21:44
    หมายถึงว่าคุณกำลังคิดว่า เสียงแหลมๆ กิ กิ้
  • 21:44 - 21:49
    ในประสาทหูของคุณ เหล่าเซลล์ขนก็ถูกกระตุ้น -- กิ กิ้
  • 21:49 - 21:52
    คล้ายกับภาพที่เห็น ภาพการหักมุมของภาพหยักๆ นั้น
  • 21:52 - 21:55
    นี่สำคัญมาก เพราะมันกำลังบอกคุณว่า
  • 21:55 - 21:57
    สมองคุณกำลังใช้วิธีคิดแบบเก่าแก่
  • 21:57 - 21:59
    มันแค่ มันเหมือนภาพลวงตาโง่ๆ
  • 21:59 - 22:03
    แต่โฟตอนในตาคุณสร้างภาพแบบนี้
  • 22:03 - 22:06
    และเซลล์ขนในหูคุณถูกกระตุ้นด้วยรูปแบบของเสียง
  • 22:06 - 22:11
    แต่สมองสามารถเพียงแค่ดึงเอาสิ่งที่โดดเด่นที่เหมือนกัน
  • 22:11 - 22:13
    มันคือรูปแบบเก่าแก่ของการสรุปแบบนามธรรม
  • 22:13 - 22:18
    ตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันเกิดขึ้นในส่วน
    ฟิวซิฟอร์ม ไจรัสของสมอง
  • 22:18 - 22:19
    เพราะเมื่อมันถูกทำลาย
  • 22:19 - 22:23
    คนเหล่านั้นจะเสียความสามารถ
    ในการคิดเรื่อง โบบ้า กิกิ้
  • 22:23 - 22:25
    แถมยังเสียความสามารถในการคิดอุปมาเปรียบเปรย
  • 22:25 - 22:29
    ถ้าคุณถาม "ทุกอย่างที่เป็นประกาย ไม่ใช่ทองเสมอไป"
    [สำนวน: ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างทีเห็น]
  • 22:29 - 22:31
    มันแปลว่าอะไร ?
  • 22:31 - 22:33
    คนไข้จะบอกว่า "ถ้ามันเป็นโลหะและสะท้อนแสงได้
    มันไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นทอง
  • 22:33 - 22:36
    คุณจะต้องวัดความถ่วงจำเพาะด้วย รู้ไหม"
  • 22:36 - 22:39
    พวกเขาหลงประเด็นเรื่องความหมายเชิงอุปมา
  • 22:39 - 22:42
    สมองส่วนนี้ใหญ่เป็นแปดเท่าในสัตว์ตระกูลลิงชั้นสูง
  • 22:42 - 22:45
    โดยเฉพาะในมนุษย์
    เมื่อเทียบกับสัตว์ตระกูลลิงชั้นล่างๆ
  • 22:45 - 22:48
    บางสิ่งที่น่าสนใจมากกำลังเกิดขึ้นใน
    แองกูลาร์ไจรัส (angular gyrus)
  • 22:48 - 22:51
    เพราะมันคือถนนข้ามแดนระหว่างการได้ยิน
    การมองเห็น และสัมผัส
  • 22:51 - 22:55
    มันใหญ่มหึมาในมนุษย์ และบางสิ่งที่น่าสนใจก็เกิดขึ้น
  • 22:55 - 22:58
    และผมคิดว่า มันเป็นพื้นฐาน
    ของความสามารถพิเศษในมนุษย์
  • 22:58 - 23:01
    เช่น คิดเชิงนามธรรม การอุปมาเปรียบเทียบ
    และความคิดสร้างสรรค์
  • 23:01 - 23:04
    คำถามหลากหลายที่เหล่านักปราชญ์
    ได้ศึกษามาเป็นพันปี
  • 23:04 - 23:08
    พวกเรานักวิทยาศสาสตร์
    สามารถเริ่มค้นคว้าโดยการใช้ภาพถ่ายสมอง
  • 23:08 - 23:10
    โดยการศึกษาคนไข้ และถามคำถามที่ถูก
  • 23:10 - 23:12
    ขอบคุณครับ
  • 23:12 - 23:13
    (เสียงปรบมือ)
  • 23:13 - 23:14
    ขอโทษด้วยครับ
  • 23:14 - 23:15
    (เสียงหัวเราะ)
Title:
3 เงื่อนงำเพื่อไขความลับสมองของคุณ
Speaker:
วิลยนูร สุพรหมัณยัม รามจันทรัน (VS Ramachandran)
Description:

วิลยนูร รามจันทรัน เล่าให้เราฟังว่าการบาดเจ็บทางสมองสามารถเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อเยื่อสมองและจิตใจได้ โดยใช้สามกรณีของอาการประสาทหลอนอันน่าตื่นตาตื่นใจเป็นตัวอย่าง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
23:17
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Pongsapak Vanichrundorn accepted Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Pongsapak Vanichrundorn commented on Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Pongsapak Vanichrundorn edited Thai subtitles for 3 clues to understanding your brain
Show all
  • เปลี่ยน damaged จาก "ถูกทำลาย" เป็น "เสียหาย"
    แก้ไขส่วนที่พิมพ์ตกบางจุด เปลี่ยน "เอาหล่ะ" เป็น "เอาล่ะ"

  • my my, what a long talk with great translating effort. I think it's good to go ka. thank you both :)

Thai subtitles

Revisions Compare revisions