< Return to Video

ความเชื่อโชคลางมาจากไหน

  • 0:07 - 0:09
    คุณกลัวแมวดำหรือเปล่า
  • 0:09 - 0:12
    คุณจะกางร่มในอาคารไหม
  • 0:12 - 0:16
    และคุณรู้สึกอย่างไรกับหมายเลข 13
  • 0:16 - 0:17
    ไม่ว่าคุณจะเชื่อมันหรือไม่
  • 0:17 - 0:21
    คุณอาจจะคุ้นเคย
    กับความเชื่อโชคลางเหล่านี้มาบ้าง
  • 0:21 - 0:24
    แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ที่คนทั่วโลก
  • 0:24 - 0:25
    เคาะไม้
  • 0:25 - 0:29
    หรือเลี่ยงที่จะเหยียบรอยแยกบนทางเท้า
  • 0:29 - 0:32
    เอาล่ะ แม้ว่าพวกมันจะไม่ได้มีพื้นฐาน
    เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
  • 0:32 - 0:35
    หลายความเชื่อและการปฏิบัติ
    อย่างเฉพาะเจาะจงและแปลกประหลาดนี้
  • 0:35 - 0:39
    มีที่มาที่เฉพาะเจาะจงและพิสดารพอกัน
  • 0:39 - 0:42
    เพราะพวกมันเกี่ยวข้องกับเหตุเหนือธรรมชาติ
  • 0:42 - 0:46
    ไม่น่าประหลาดใจที่ความเชื่อโชคลาง
    หลายเรื่อง มีพื้นเพที่มาจากศาสนา
  • 0:46 - 0:51
    ตัวอย่างเช่น เลข 13 ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับ
    อาหารมื้อสุดท้าย ในคัมภีร์ไบเบิ้ล
  • 0:51 - 0:54
    ที่พระเยซูร่วมเสวยมื้อค่ำ
    กับสานุศิษย์ทั้งสิบสองคน
  • 0:54 - 0:58
    ก่อนพระองค์จะถูกจับกุมและตรึงไม้กางเขน
  • 0:58 - 1:02
    เกิดเป็นความเชื่อว่า
    หากมีผู้ร่วมโต๊ะสิบสามคนจะโชคร้าย
  • 1:02 - 1:08
    สุดท้ายก็ขยายวงกว้างออก
    ทำให้สิบสามเป็นเลขแห่งโชคร้ายไปหมด
  • 1:08 - 1:13
    ปัจจุบันความกลัวเลขสิบสาม
    ที่เรียกว่า ไตรไคเดคคาโฟเบีย นี้
  • 1:13 - 1:18
    พบเห็นได้ทั่วไป
    โดยหลายตึกทั่วโลกไม่มีชั้นที่สิบสาม
  • 1:18 - 1:22
    จากชั้นสิบสองจะกลายเป็นชั้นสิบสี่เลย
  • 1:22 - 1:26
    แน่นอน หลายคนเชื่อว่าเรื่องราว
    ของอาหารมื้อสุดท้ายเป็นเรื่องจริง
  • 1:26 - 1:29
    แต่ความเชื่อโชคลางอื่น ๆ
    ที่มาจากขนบธรรมเนียมทางศาสนา
  • 1:29 - 1:33
    มีคนไม่มากนักที่เชื่อหรือจำมันได้
  • 1:33 - 1:38
    การเคาะไม้ คาดว่ามาจากประเพณีพื้นบ้าน
    ของชาวอินโดยูโรเปียนโบราณ
  • 1:38 - 1:41
    หรืออาจจะเป็นผู้คนยุคก่อนนั้น
  • 1:41 - 1:44
    ที่เชื่อว่า ต้นไม้
    เป็นที่อยู่ของดวงวิญญาณต่าง ๆ
  • 1:44 - 1:47
    การสัมผัสต้นไม้
    เป็นการขอความคุ้มครอง
  • 1:47 - 1:50
    หรือขอพรจากดวงวิญญาณในต้นไม้
  • 1:50 - 1:52
    และด้วยเหตุผลบางประการ
  • 1:52 - 1:56
    ธรรมเนียมนี้ยังคงอยู่มายาวนาน
    หลังความเชื่อเรื่องวิญญาณเลือนหายไปแล้ว
  • 1:56 - 2:00
    ความเชื่อโชคลางหลายอย่างที่พบได้บ่อย
    ในรัสเซียไปจนถึงไอร์แลนด์ในปัจจุบัน
  • 2:00 - 2:06
    คาดว่าหลงเหลือมาจากลัทธินอกศาสนา
    ที่ถูกแทนที่ด้วยศาสนาคริสต์
  • 2:06 - 2:09
    แต่ไม่ใช่ว่าความเชื่อโชคลางทั้งหมด
    จะเกี่ยวกับศาสนา
  • 2:09 - 2:13
    บางอย่างก็มาจากเหตุบังเอิญ
    หรือความเชื่อมโยงที่โชคร้าย
  • 2:13 - 2:16
    ตัวอย่างเช่น ชาวอิตาเลียนจำนวนมาก
    กลัวเลข 17
  • 2:16 - 2:23
    เพราะเลขโรมัน XVII
    สามารถเรียงได้เป็นคำว่า vixi
  • 2:23 - 2:26
    ที่แปลว่า ชีวิตฉันจบสิ้นแล้ว
  • 2:26 - 2:28
    เช่นเดียวกันกับคำที่หมายถึงเลขสี่
  • 2:28 - 2:30
    ที่ออกเสียงเหมือนกับคำว่า ตาย
  • 2:30 - 2:32
    ในภาษาจีนกวางตุ้ง
  • 2:32 - 2:34
    รวมทั้งภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาญี่ปุ่น
  • 2:34 - 2:38
    และเกาหลี ที่ยืมตัวเลขของจีนไป
  • 2:38 - 2:41
    และเนื่องจากเลขหนึ่งออกเสียง
    เหมือนกับคำว่า ต้อง
  • 2:41 - 2:45
    หมายเลขสิบสี่จึงออกเสียง
    เหมือนวลี ต้องตาย
  • 2:45 - 2:50
    มีตัวเลขหลายตัวที่ลิฟท์
    และโรงแรมนานาชาติหลีกเลี่ยง
  • 2:50 - 2:51
    และเชื่อหรือไม่ว่า
  • 2:51 - 2:54
    ความเชื่อโชคลางบางอย่างก็สมเหตุสมผล
  • 2:54 - 2:58
    หรืออย่างน้อยมันก็เป็นอย่างนั้น
    จนเราลืมจุดประสงค์แต่แรกของมัน
  • 2:58 - 3:03
    ยกตัวอย่างเช่น ฉากเวทีละคร
    เดิมใช้ฉากหลังทาสีขนาดใหญ่
  • 3:03 - 3:08
    ที่ถูกยกขึ้นลงโดยผู้ควบคุมเวที
    ซึ่งจะผิวปากส่งสัญญาณให้กันและกัน
  • 3:08 - 3:11
    คนอื่นที่ใจลอยผิวปากออกมา
    อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • 3:11 - 3:17
    แต่เรื่องต้องห้ามของการผิวปากหลังเวที
    ก็ยังมีอยู่จนทุกวันนี้
  • 3:17 - 3:21
    ซึ่งผู้คุมเวที
    เริ่มใช้หูฟังวิทยุสื่อสารกันมานานแล้ว
  • 3:21 - 3:24
    ทำนองเดียวกัน การจุดบุหรี่สามมวน
    จากไม้ขีดก้านเดียวกัน
  • 3:24 - 3:30
    อาจจะทำให้โชคร้ายได้จริง ๆ
    ถ้าคุณเป็นทหารในหลุมหลบภัย
  • 3:30 - 3:35
    ซึ่งถ้าจุดไม้ขีดนานเกินไป
    อาจดึงดูดความสนใจของมือปืนซุ่มยิงฝ่ายศัตรู
  • 3:35 - 3:37
    ตอนนี้คนที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่
    ไม่ต้องกังวลเรื่องมือปืนซุ่มยิงแล้ว
  • 3:37 - 3:40
    แต่ความเชื่อนี้ก็ยังคงอยู่
  • 3:40 - 3:43
    แล้วทำไมคนถึงยังยึดติด
    อยู่กับเรื่องเล็ก ๆ ของศาสนาที่ถูกลืมไปแล้ว
  • 3:43 - 3:43
    เหตุบังเอิญ
  • 3:43 - 3:45
    และคำแนะนำที่ล้าสมัยล่ะ
  • 3:45 - 3:48
    พวกเขาช่างไม่มีเหตุผลเสียเลยใช่ไหม
  • 3:48 - 3:50
    อืม ก็ใช่นะ แต่สำหรับหลาย ๆ คน
  • 3:50 - 3:55
    ความเชื่อโชคลางมาจากความเคยชินทางวัฒนธรรม
    มากกว่าความเชื่อระดับจิตสำนึก
  • 3:55 - 3:59
    อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครเกิดมาก็รู้ว่าเลยว่า
    ต้องหลีกเลี่ยงการเดินลอดใตับันได
  • 3:59 - 4:01
    หรือผิวปากในบ้าน
  • 4:01 - 4:05
    แต่ถ้าคุณเติบโตขึ้นมา
    โดยที่ครอบครัวบอกให้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้
  • 4:05 - 4:07
    ก็เป็นไปได้มากที่มันจะทำให้คุณไม่สบายใจ
  • 4:07 - 4:11
    แม้ว่าต่อมาคุณจะเข้าใจด้วยเหตุผลแล้ว
    ว่ามันจะไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้นหรอก
  • 4:11 - 4:15
    และการทำอะไรบางอย่างเช่น การเคาะไม้
    ก็ไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายอะไรนัก
  • 4:15 - 4:20
    การทำตามความเชื่อในโชคลาง
    ก็มักจะง่ายกว่าการตั้งใจที่จะต่อต้านมัน
  • 4:20 - 4:24
    นอกจากนี้ ความเชื่อในโชคลาง
    ก็ดูเหมือนว่ามักจะได้ผลซะด้วย
  • 4:24 - 4:28
    บางทีคุณอาจจะจำได้ว่า คุณตีโฮมรันได้
    ตอนใส่ถุงเท้านำโชคของคุณ
  • 4:28 - 4:30
    นี่ก็แค่การทำงานแบบอคติทางจิตวิทยาของเรา
  • 4:30 - 4:33
    คุณมักจะจำไม่ค่อยได้หรอกว่า
    ทุกครั้งที่คุณตีลูกออกนั้น
  • 4:33 - 4:35
    ก็เป็นตอนที่คุณใส่ถุงเท้าคู่นั้นแหละ
  • 4:35 - 4:39
    แต่การเชื่อว่ามันได้ผล
    อาจทำให้คุณเล่นได้ดีขึ้นจริง ๆ
  • 4:39 - 4:44
    ด้วยการให้ภาพลวงกับว่า
    คุณสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
  • 4:44 - 4:48
    ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ความมั่นใจ
    สามารถสร้างความแตกต่างได้ อย่างเช่น กีฬา
  • 4:48 - 4:51
    ความเชื่อโชคลางประหลาดพวกนี้
    ก็อาจจะไม่ประหลาดเลยก็ได้
Title:
ความเชื่อโชคลางมาจากไหน
Speaker:
สจ๊วต ไวส์ (Stuart Vyse)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/where-do-superstitions-come-from-stuart-vyse

คุณกลัวแมวดำหรือเปล่า คุณจะกางร่มในบ้านไหม คุณรู้สึกอย่างไรกับเลข 13 ไม่ว่าคุณจะเชื่อมันหรือไม่ คุณอาจจะคุ้นเคยกับความเชื่อโชคลางพวกนี้บ้าง แต่ว่ามันมาจากไหนล่ะ สจ๊วต ไวส์ (Stuart Vyse) แบ่งปันที่มาที่ประหลาดและเฉพาะเจาะจงของความเชื่อโชคลางยอดนิยมของเรา

เรื่องโดย สจ๊วต ไวส์ แอนิเมชั่น โดย TED-ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:11

Thai subtitles

Revisions