< Return to Video

อาหารไทยคืออะไร ft. เชฟป้อม | Point of View x ThaiPBS

  • 0:00 - 0:02
    สวัสดีค่ะ วิวจาก Channel Point of View ค่ะ
  • 0:02 - 0:07
    จากคราวที่แล้วเนี่ย วิวบอกทุกคนไปว่า
    ช่วงนี้วิวดูละครไทยเรื่องปลายจวักทาง Thai PBS อยู่ใช่ไหมคะ
  • 0:07 - 0:15
    และวิวก็สัญญากับทุกคนว่าวิวจะทำคลิปเกี่ยวกับปลายจวัก
    อีก 1 คลิป แล้วที่สำคัญคลิปนี้มีแขกรับเชิญมาด้วย 1 ท่านนะคะ
  • 0:15 - 0:17
    แหมะ เดากันไม่ยากเลยนะ พูดถึงอาหารไทย
  • 0:17 - 0:20
    วันนี้เราได้รับเกียรติจากอาป้อมหรือเชฟป้อมของทุกคน
  • 0:20 - 0:21
    กลับมาอีกรอบแล้วค่ะ
  • 0:21 - 0:24
    ดังนั้นวันนี้วิวมาอยู่ที่ร้านอาหาร ป่าก์ นะคะ กับอาป้อม
  • 0:24 - 0:29
    เพื่อที่เราจะมาคุยกันในประเด็นสำคัญมากๆ คือประเด็นที่ว่า
    อาหารไทยคืออะไรค่ะ
  • 0:29 - 0:30
    เออ พูดถึงอาหารไทยกันมาตั้งนาน
  • 0:30 - 0:32
    อาหารไทยคืออะไรคะ
  • 0:32 - 0:35
    แต่ก่อนจะไปพบอาป้อมกันนะคะ ทุกคน
    อย่าลืมกดติดตามวิวให้ครบทุกช่องทางค่ะ
  • 0:35 - 0:38
    จะได้ไม่พลาดคลิปวิดีโอสนุกๆ
    แล้วก็ข่าวสารดีๆ จากช่อง Point of View ค่ะ
  • 0:39 - 0:42
    สำหรับตอนนี้พร้อมจะไปฟังเรื่องราว
    ที่ทั้งสนุกและแล้วก็ได้สาระกันรึยังคะ
  • 0:42 - 0:45
    ถ้าพร้อมกันแล้วก็ เข้าไปเจออาป้อมกันเลย
  • 0:49 - 0:53
    -ในที่สุดนะคะ เราก็มีอยู่กับอาป้อมกันแล้วค่ะ สวัสดีค่ะ อาป้อม
    -สวัสดีค่ะวิว
  • 0:53 - 0:56
    คือวันนี้ค่ะอาป้อม วิวมีคำถามมาถามอาป้อมอีกแล้วค่ะ
  • 0:56 - 0:58
    -อ่า
    -ชอบหาคำถามประหลาดมาหาอาป้อมตลอดเลย
  • 0:58 - 1:02
    วันนี้คำถามใหญ่มาก คำถามก็คืออาหารไทยคืออะไรคะ
  • 1:02 - 1:03
    โอ้โห
  • 1:03 - 1:04
    ขอคำตอบยังงี้เลย
  • 1:04 - 1:07
    มันก็คืออะไรละค่ะ เดี๋ยวก็ตอบขวานผ่าซาก
  • 1:07 - 1:09
    อาหารไทยก็คืออาหารที่คนไทยรับประทาน
  • 1:09 - 1:13
    คือหนูต้องเกริ่นก่อนใช่ไหมคะ ว่าทั้งหมดนี้คำถามมาจากอะไร
  • 1:13 - 1:17
    คำถามมาจากที่ว่าหนูเนี่ย
    ไปดูรายชื่ออาหารไทยมาต่างๆ มากมายแล้วค่ะ
  • 1:17 - 1:20
    แล้วมันก็พบว่า อันนี้มันก็ดูเป็นอาหารของชาตินั้น
  • 1:20 - 1:22
    อันนั้นมันก็ดูเป็นอาหารของชาตินี้
  • 1:22 - 1:28
    อย่างที่วางๆ อยู่หน้าเราเนี่ย สะเต๊ะ หนูก็เพิ่งไปอินโดมา
    มันก็เป็นอาหารของอินโดนีเซียอาหารของชวา
  • 1:28 - 1:28
    ค่ะ
  • 1:28 - 1:31
    -มัสมั่นอะ อ้าว นี่ก็อาหารมลายู
    -มลายู
  • 1:31 - 1:33
    หรือว่าแบบ เนี่ยโปรตุเกสชัดๆ
  • 1:33 - 1:35
    -แล้วอาหารไทยคืออะไรคะ
    -ใช่ค่ะ
  • 1:35 - 1:38
    คือเรารับเขามาแล้วเมื่อไหร่เราถึงจะเรียกมันว่าอาหารไทย
  • 1:38 - 1:43
    แล้วอาหารไทยฟิวชั่นทุกวันนี้หรือว่าอาหารนู่นอาหารนี่
    ที่ฟิวชั่นมาเราเริ่มรับมันเป็นอาหารไทยเมื่อไหร่
  • 1:43 - 1:46
    -เอาพูดสโคปตามความเข้าใจของเราดีกว่า
    -ค่ะ
  • 1:46 - 1:49
    อย่างอาหารไทยเนี่ยค่ะ ดูอย่างแกง แกงที่เป็นของไทย
  • 1:49 - 1:54
    อย่างแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน
    ยังงี้ก็คือมาจากสมุนไพรของไทย
  • 1:54 - 1:54
    -นะคะ
    -อืม
  • 1:54 - 1:58
    แต่ตอนนี้ อย่างเมื่อก่อนในวังเนี่ย ทุกคนก็พยายามที่แบบว่า
  • 1:58 - 2:01
    ตำหนักนู้นตำหนักนี่ทำอาหารที่ต่างกันไป
  • 2:01 - 2:05
    แล้วก็อาจจะเป็นความจำเจ ก็เลยคิดอาหารใหม่ๆ
  • 2:05 - 2:09
    แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้แปลว่าเราเอามาจากคนอื่นทั้งดุ้น
  • 2:09 - 2:11
    เราแค่เอาอิทธิพลมา
  • 2:11 - 2:14
    อ่า ก็คือคนไทยเนี่ยนิยม เลือกรับแล้วก็ปรับใช้อยู่แล้ว
  • 2:15 - 2:20
    -ใช่ค่ะ
    -คือเหมือนกับทุกสิ่งที่เป็นศิลปะไทย
    เราก็รับเขามาแล้วก็รสนิยมฉันเป็นอย่างนี้ บิดหน่อย
  • 2:20 - 2:27
    ใช่ เนี่ยยังงี้ ใน 4 จานที่เรานำตัวอย่างมาเนี่ย อย่าง
    ทองหยิบทองหยอดฝอยทองเราก็ได้อิทธิพลมาจากโปรตุเกส
  • 2:27 - 2:30
    พูดคำว่าอิทธิพล เราไม่ได้ลอกเลียนแบบมา
  • 2:30 - 2:33
    เพราะว่าบังเอิญเคยได้ชิมของโปรตุเกสจริงๆ อะ
  • 2:33 - 2:35
    ของเราอร่อยกว่าเยอะ
  • 2:35 - 2:36
    อ้าว ทำไมล่ะคะ
  • 2:36 - 2:41
    ของเขาเนี่ยเหมือนกับจะเชื่อมน้ำตาลจนแบบว่า
    ทองหยิบแข็งเลยค่ะ
  • 2:41 - 2:43
    อ๋อ คือแบบเหมือว่าเคลือบไปเลยเหรอคะ
  • 2:43 - 2:45
    ค่ะ เคลือบและน้ำตาลข้างในก็คงมากพอ
  • 2:46 - 2:49
    และมันก็หวานมาก หวานจนไม่รู้ว่า เนี่ยทำจากอะไร
  • 2:49 - 2:50
    อื้ม
  • 2:50 - 2:54
    ของเราก็ยังรู้ว่า นี่นะไข่เป็ดคุณภาพผสมแป้ง
  • 2:54 - 2:55
    อะไรยังงี้ค่ะ
  • 2:55 - 2:57
    แต่อันนั้นไม่รู้เลย ของเราหวานมัน
  • 2:57 - 3:01
    อ่า ก็คือเรามีความเอามันเข้าไปตัดจึ๊งนึง
  • 3:01 - 3:01
    ใช่ค่ะ
  • 3:01 - 3:04
    แต่จะบอกว่าคนไทยเนี่ย ทำอาหารมีเสน่ห์
  • 3:04 - 3:08
    ซึ่งทำไมอาหารไทยถึงเป็นที่นิยมของคนทั่วไป
  • 3:08 - 3:12
    เพราะว่าคนไทยรู้จักการทำของหวานแตะเกลือ
  • 3:12 - 3:12
    แตะเกลือเหรอคะ
  • 3:12 - 3:15
    ใช่ค่ะ คือเกลือเนี่ยเราไม่ได้ใส่ให้เค็ม
  • 3:15 - 3:18
    เราจะใส่เพื่อให้รสหวานเนี่ย อร่อยขึ้น
  • 3:18 - 3:24
    คือเหมือนที่เขาบอกว่าชาวตะวันตกเนี่ย เวลาทำขนมเนี่ยหวานคือหวานเค็มคือเค็มฉันจะไม่ไปยุ่งกับเค็มเหรอคะ
  • 3:24 - 3:24
    ใช่ค่ะ
  • 3:24 - 3:29
    แล้วนั้นก็หมายความว่า
    ถ้าลองรับประทานจากต้นแบบจริงๆ เนี่ย
  • 3:29 - 3:32
    ของหวานเขาเนี่ย จะหวาน หวานแบบหวานเจื้อยแจ้ว
  • 3:32 - 3:35
    แม้กระทั่งหวานน้อยก็จะมีความหวานลอยๆ
  • 3:36 - 3:39
    แต่ของไทยเนี่ยพอเรามาใส่เกลือเข้าไปนิดหน่อยเนี่ย
  • 3:39 - 3:41
    มันทำให้หวานของเรากลมกล่อมขึ้น
  • 3:41 - 3:44
    -อารมณ์ว่าก็ปรับให้เข้าลิ้นของเรามากขึ้น
    -ใช่ค่ะ
  • 3:44 - 3:49
    เพราะฉะนั้น พอมาถึงของคาว
    คนไทยก็รู้จักที่จะแตะน้ำตาลลงไป
  • 3:49 - 3:51
    เพื่อให้เค็มนั้นอร่อย
  • 3:51 - 3:54
    -คือก็กลับกัน อะตอนของหวานใส่เกลือนิดนึง
    -ใช่
  • 3:54 - 3:57
    -ตอนของคาวเขาไม่ใส่น้ำตาลกันเราก็แอบใส่นิดนึงน่า
    -ใช่ค่ะ
  • 3:57 - 4:02
    เพราะฉะนั้น มันทำให้อาหารไทยนี่ผิดไป
    จนปัจจุบันเนี่ยหวานไปหมด
  • 4:02 - 4:06
    ก็เพราะว่าเข้าใจผิดในการใส่นำตาลนิดนึง
  • 4:06 - 4:08
    อาหารบางอย่างจะหวานก็ต้องหวาน
  • 4:09 - 4:15
    แต่ทั่วไป บางทีแกงเราก็จะแตะแกงเผ็ดเราก็จะแตะน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าวลงไป
  • 4:15 - 4:17
    เพื่อให้เค็มอร่อย
  • 4:17 - 4:24
    -อ๋อ ซึ่งจริงน้ำตาลพวกนั้นมันก็จะวานแบบกลมกล่อม
    มันก็จะไม่ปรี๊ดเหมือนน้ำตาลอ้อยใช่ไหมคะ
    -กลมกล่อมค่ะ แต่เขาก็จะไปกลั้วเกลี้ยกับความเค็ม
  • 4:24 - 4:25
    ทำให้เค็มเราอร่อยขึ้น
  • 4:25 - 4:28
    หลากศัพท์มาก กลั้วเกลี้ย เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกในชีวิต
  • 4:28 - 4:30
    ก็พูดไปเรื่อยแต่เข้าใจใช่ไหมล่ะ
  • 4:30 - 4:31
    เข้าใจค่ะ
  • 4:31 - 4:34
    เป็นการใช้ศัพท์แบบจินตภาพอะทุกคน
    เห็นภาพให้มันชัดเจนนะคะ
  • 4:34 - 4:36
    ทีนี้เรามาดูทีละจานกันดีกว่าไหมคะอาป้อม
  • 4:36 - 4:38
    ว่าแต่ละจานนี่มันอะไรยังไง
  • 4:38 - 4:42
    -คือวันเนี้ย อาหารที่เลือกมาเนี่ยเหมือนกับอาหารที่มีประวัติ
    -ค่ะ
  • 4:42 - 4:43
    อื้ม
  • 4:43 - 4:46
    นะคะ เรามาเริ่มที่หมูผัดท้าววรจันทร์
  • 4:46 - 4:49
    ทำไมต้องเรียกหมูผัดท้าววรจันทร์
  • 4:49 - 4:50
    สูตรของท้าววรจันทร์รึเปล่าคะ
  • 4:50 - 4:53
    ใช่ค่ะ แล้วก็มีเรื่องเล่าว่า
  • 4:53 - 5:00
    ตอนที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่ประชวรนะคะ
    ก็เสวยอะไรไม่ค่อยได้
  • 5:00 - 5:05
    ก็อยากจะเสวยหมูผัดท้าววรจันทร์ ซึ่งท้าววรจันทร์เคยทำถวาย
  • 5:05 - 5:09
    ตอนนั้นท้าววรจันทร์ก็ไม่ค่อยสบายก็ออกมาอยู่นอกวังแล้ว
  • 5:10 - 5:15
    ทุกคนก็พยายามจะทำหมูผัดท้าววรจันทร์จากคำบอกเล่า
  • 5:15 - 5:19
    ซึ่งในวันนี้อาป้อมเองก็ไม่ได้บอกว่าเราไม่ได้ทำถูกต้อง
  • 5:19 - 5:20
    นะคะ
  • 5:20 - 5:21
    แต่เป็นการตีความ
  • 5:21 - 5:25
    -อ่า ก็คือเขาบอกไว้ว่าแบบนั้นรสชาติประมาณนี้
    -ใช่ค่ะ
  • 5:25 - 5:29
    หรือว่าเล่าในประวัติศาสตร์
    หรือว่าเล่าในหนังสือเรื่องเล่าใดๆ ก็ตามเนี่ย
  • 5:30 - 5:32
    เราตีความออกมาได้
  • 5:32 - 5:33
    ทำนองว่า
  • 5:33 - 5:34
    เหมือนหมูหวาน
  • 5:34 - 5:35
    อื้อ
  • 5:35 - 5:39
    เหมือนหมูหวานที่ใส่รากผักชักระเทียมพริกไทย
  • 5:39 - 5:40
    ซึ่งก็คือ 3 เกลอ
  • 5:40 - 5:41
    ใช่แล้วค่ะ เก่งนะ
  • 5:41 - 5:44
    นี่ค่ะ คราวที่แล้วอาป้อมสอนไว้ จำได้ค่ะ
  • 5:44 - 5:44
    อืม
  • 5:44 - 5:49
    แล้วก็เอามาผัด น้ำตาลที่เคี่ยวให้เป็นสีน้ำตาลเหมือนคาราเมล
  • 5:49 - 5:52
    -แล้วสมัยก่อนเนี่ย เราใช้น้ำปลาดี
    -ค่ะ
  • 5:52 - 5:59
    น้ำปลาเมื่อก่อนหอมมาก เพราะฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนกับ
    หมูผัดรากผักชี กระเทียม พริกไทย น้ำปลาและน้ำตาล
  • 5:59 - 6:01
    น้ำปลานี่น้ำปลาญี่ปุ่นด้วยรึเปล่าคะ
  • 6:01 - 6:02
    น้ำปลาไทย
  • 6:02 - 6:04
    เป็นการหมักอาจจะไม่ค่อยเค็มมาก
  • 6:04 - 6:09
    ไม่ไม่เหมือนกับกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
    ที่แบบใช้น้ำปลาญี่ปุ่นอะไรยังงี้ ไม่ใช่
    -หอมอร่อย อ๋อ
  • 6:09 - 6:10
    ไม่ใช่
  • 6:10 - 6:10
    แต่อันนี้เนี่ย
  • 6:10 - 6:14
    จริงๆ แล้วเนี่ย น่าจะเป็นหนึ่งในสำรับมากกว่า
  • 6:15 - 6:21
    เพราะว่ารสเค็มหวาน จะเป็นการแก้เผ็ดในเครื่องจิ้ม
    หรือแก้เผ็ดในแกงอะไรยังงี้ค่ะ
  • 6:21 - 6:27
    อะ ถ้าใครอยากฟังเรื่องสำรับก็กดไปตรงนี้
    คราวที่แล้ววิวเคยมาฟังอาป้อมเล่าไปรอบหนึ่งแล้วนะคะ
  • 6:27 - 6:31
    แต่ว่าถ้าเป็นเด็ก กินเปล่าๆ กับข้าวก็น่าจะอร่อย
  • 6:31 - 6:32
    อืม
  • 6:32 - 6:36
    อันนี้เนี่ยเราสามารถเลือกใช้ได้ แบบว่าผิดไหม
  • 6:36 - 6:42
    บางครั้งก็ว่าอาจจะใช้หมูสามชั้น อาจจะใช้สันคอหมู
    หมูติดมัน หมูสะโพกได้ทั้งสิ้น
  • 6:42 - 6:46
    -อื้อหือ
    -มันหอมไหม
  • 6:47 - 6:49
    มันหอมแล้วมันจะไม่ติดกลิ่นซีอิ๊วดำ
  • 6:49 - 6:52
    -ไม่พูดอะไรเลยค่ะ จังหวะนี้
    -อื้ม
  • 6:52 - 6:56
    พอจานที่สอง จริงๆ แล้วที่เราเอามาแกงมัสมั่น
  • 6:56 - 7:00
    วันนี้ใช้มัสมั่นเนื้อแล้วเลือกเอ็นน่องมา
  • 7:00 - 7:00
    นะคะ
  • 7:00 - 7:06
    เป็นส่วนที่เมื่อเอ็นน่องเปื่อยปั๊บ
    มันจะมีความรู้สึกนุ่มนวลเหมือนไขมันในนั้น
  • 7:06 - 7:07
    -ค่ะ
    -นะคะ
  • 7:07 - 7:12
    -จานนี้มาจากไหน
    -มลายูค่ะนี่แอบไปค้นหาข้อมูลมาแล้วนิดหน่อย
  • 7:12 - 7:14
    -มลายูเพราะว่ามีเครื่องเทศ
    -ค่ะ
  • 7:14 - 7:19
    แต่อาป้อมเชื่อเลยว่าคนไทย
    จะต้องมาปรับเข้ากับสูตรแกงของตัวเอง
  • 7:19 - 7:21
    อันนี้ไม่แน่ใจนะคะว่าวิวค้นมาถูกรึเปล่า
  • 7:21 - 7:26
    แต่เท่าที่ค้นมาเนี่ยเขาบอกว่ามาจากมลายู
    แต่มลายูเนี่ยรับมาจากชาวมุสลิมอีกทีหนึ่ง
  • 7:26 - 7:31
    -ดังนั้นมัสมั่นนี่มาจากชื่อประมาณว่ามัสมาน
    ซึ่งแปลว่ามุสลิมนะคะ
    -ใช่
  • 7:31 - 7:38
    ซึ่งในเมืองไทยเองมัสมั่นโดยชาวมุสลิม
    รสชาติเครื่องเทศก็ไม่เหมือนที่เราได้กินในร้านไทย
  • 7:38 - 7:44
    -อ้า เหมือนกับมัสมั่นภาคกลางกับมัสมั่นภาคใต้
    ภาคใต้จะดูเป็นมุสลิมมากกว่า
    -ใช่ ใช่ค่ะ
  • 7:44 - 7:46
    -ทีนี้สำหรับอาป้อมเนี่ย
    -ค่ะ
  • 7:46 - 7:47
    -เน้นอาหารภาคกลาง
    -ค่ะ
  • 7:47 - 7:54
    จะบอกว่ามัสมั่นจริงๆ แล้วเนี่ยเราก็จะมีเครื่องเทศที่ใช้
    ก็คือ เนี่ยที่เห็นในนี้นะคะ
  • 7:54 - 7:58
    นี่ก็มีอบเชยนะคะ อันนี้คือลูกกระวาน
  • 7:58 - 8:02
    จริงๆ แล้วในเครื่องแกงเนี่ยเราใส่โป๊ยกั๊กได้
  • 8:02 - 8:05
    -คือในของอาป้อมเนี่ย อาป้อมจะป่น
    -ค่ะ
  • 8:05 - 8:11
    นะคะ เพื่อให้กลิ่นมันซึมไป แต่อย่ามากนะ
    พวกนี้ถ้าเล่นเครื่องเทศแรงเกินไปมันจะฉุนสำหรับเรานะคะ
  • 8:11 - 8:14
    แล้วรสชาติของมัสมั่นนะคะ ก็จะมี 3 รส
  • 8:14 - 8:15
    3 รสเลยเหรอคะ
  • 8:15 - 8:18
    3 รสค่ะ โดยการที่มี เปรี้ยว เค็ม หวาน
  • 8:18 - 8:23
    แต่รถเปรี้ยวไม่ต้องนำนะ รสเปรี้ยวเนี่ย
    ให้มีการแทรกของกลิ่นมะขามเข้ามา
  • 8:23 - 8:27
    -จริงด้วยปรกติไม่ค่อยสังเกตว่ามันมีรสเปรี้ยว
    เน้นไปที่เค็มกับหวาน
    -ใช่ ใช่
  • 8:27 - 8:28
    แต่เค็มกับหวาน
  • 8:28 - 8:31
    แต่พอมานั่งนึกดีๆ ก็ เออมันก็มีอยู่นิดนึง
  • 8:31 - 8:31
    ค่ะ
  • 8:32 - 8:35
    เค็มหวานแล้วมีกลิ่นน้ำมะขามแทรกเข้ามา
  • 8:35 - 8:39
    กลิ่นเล็กๆ นะ อย่าเยอะนะ เยอะแล้วมันจะปรี๊ดเกินไป
  • 8:39 - 8:45
    จานนี้นี่ได้ข่าวมาจาก เขาเป็นประเด็นกันอยู่นี่คะ
    ว่าใครเป็นคนแรกที่เริ่มเอามันฝรั่งใส่ลงไป
  • 8:45 - 8:47
    -เพราะว่าตำหรับเดิมๆ ของ
    -ใช่
  • 8:47 - 8:47
    ไม่มีค่ะ
  • 8:47 - 8:51
    และในวันนี้เนี่ยที่ร้านป่าก์เนี่ยเด็กรุ่นใหม่เป็นคนทำ
  • 8:51 - 8:53
    ก็จะมีมันใส่เข้าไป
  • 8:54 - 9:01
    ซึ่งจริงๆ แล้วเนี่ย ในการรับประทานมัสมั่นที่มีมันฝรั่ง
    หรือส่วนใหญ่เนี่ยถ้าใส่อาป้อมจะใส่มันเทศ
  • 9:01 - 9:02
    อ๋อ
  • 9:02 - 9:03
    นะคะ
  • 9:03 - 9:08
    -เพราะว่าจริงๆ มันฝรั่งนี่เหมือนมนุษย์เลยนะคะ
    ไม่ใช่แค่คนไทยจะเริ่มนำมารับประทานไม่นานเลย
    -ใช่ค่ะ
  • 9:08 - 9:12
    แล้วก็มีการใส่มันในปัจจุบันเหมือนกับเพิ่มปริมาณ
  • 9:12 - 9:14
    อ่า ก็คือทำให้อิ่มท้องมากขึ้น
  • 9:14 - 9:20
    อิ่มท้องมากขึ้นและจริงๆ แล้วก็เหมือนกับ
    จะเป็นคำอธิบายต่อไปว่าไม่ได้เสียหาย
  • 9:20 - 9:23
    เพราะอาหารต้องมีวิวัฒนาการ
  • 9:23 - 9:28
    อ่า เหมือนคราวที่แล้วที่เรากินแกงเผ็ดเป็ดย่างกัน
    เราก็มีแบบว่าใส่ลิ้นจี่ลงไปนิดนึง
  • 9:28 - 9:33
    แต่ว่าอาป้อมบอกว่าไม่เป็นไรเพราะมันยังมีสับปะรดอยู่
    แปลว่ามันยังเป็นแกงเผ็ดเป็ดย่างอยู่
  • 9:33 - 9:36
    -เพราะมีสับปะรดก็คือทำให้เนื้อเป็ดนุ่ม
    -ทำนองนั้น
  • 9:36 - 9:40
    -แต่อันนี้ก็คือพื้นฐานมาจากแกงมัสมั่นจริงจัง
    -ค่ะ
  • 9:40 - 9:43
    เคี่ยวเนื้อเปื่อยจะใส่มันมา ผิดไหม ไม่ผิด
  • 9:43 - 9:47
    แต่คอนเซ็ปต์ยังอยู่ ถ้าเติมนู่นเติมนี่
    ถ้าเติมแล้วมันอร่อยก็เติมไปเถอะ
  • 9:47 - 9:48
    ใช่ค่ะ
  • 9:48 - 9:52
    อันนี้เนี่ยเขาเคี่ยวเนื้อน่องลายจนเปื่อย
  • 9:52 - 9:57
    จริงๆ แล้วสำหรับอาป้อม การใช้เนื้อวัวเนี่ย
    เวลาเราเคี่ยวนานๆ นี่มันมีตะกอนของเนื้อ
  • 9:57 - 9:59
    แกงของเราเนี่ย มีความเข้มข้นขึ้น
  • 10:00 - 10:04
    แล้วจริงๆ แล้วแกงโบราณของเราเนี่ย เขาจะมีการเคี่ยวหัวกะทิจนแตกมัน
  • 10:04 - 10:08
    การเคี่ยวหัวกะทิจนแตกมันเนี่ย
    มันทำให้ตัวมะพร้าวเนี่ยเป็นครีม
  • 10:08 - 10:12
    ซึ่งมันทำให้แกงมีความเข้มข้นหวานมันตรงนั้นอีก
  • 10:12 - 10:13
    คือจริงๆ ควรจะเคี่ยวให้แบบแตกไปเลย
  • 10:14 - 10:18
    อืม แล้วก็จริงๆ แล้วมันตรงนี้สมัยใหม่เนี่ยใช้ผัดน้ำมันกัน
  • 10:18 - 10:20
    แต่นี่คือน้ำมันจากกะทิ
  • 10:20 - 10:23
    -ก็คือผัดให้กะทิแตกแล้วน้ำมันออกมาเองยังงี้ใช่ไหมค่ะ
    -ใช่ค่ะ
  • 10:23 - 10:27
    แต่เนี่ย สมัยนี้ก็เป็นผัดเครื่องแกงในน้ำมันพืช น้ำมันอะไรทั่วไป
  • 10:27 - 10:29
    -เร็วกว่า ประหยัดกว่า
    -ใช่ค่ะ
  • 10:29 - 10:31
    ใช่ค่ะ แล้วก็ใช้กะทิสำเร็จรูปไง
  • 10:31 - 10:34
    ถ้าในวิถีชีวิตรุ่นใหม่เนี่ย อาป้อมก็ไม่ได้คิดว่าผิดนะ
  • 10:34 - 10:37
    คือคุณใช้กะทิสำเร็จรูป ดังนั้นแกงให้เป็น
  • 10:37 - 10:43
    นั่นคือเครื่องแกงต้องมาผัดด้วยไฟอ่อนเรื่อยๆ
    จนกว่าเครื่องแกงจะสุกถึงค่อยเติมกะทิ
  • 10:43 - 10:46
    เพราะว่าพอเครื่องแกงไม่สุกเนี่ย ใส่กะทิสำเร็จรูปลงไป
  • 10:46 - 10:49
    เคยเห็นไหมเวลาเขาทำแล้วแกงมันน้ำใสๆ ขาวๆ แยกๆ อะ
  • 10:50 - 10:52
    นั่นคือเครื่องแกงไม่สุกมันก็จะไม่กินกะทิ
  • 10:53 - 10:57
    แล้วถ้าใช้ไฟแรงเกินไปก็ไหม้ แกงนี่เซนซิทีฟมากนะ
    แล้วก็ต้องนานพอ
  • 10:58 - 11:01
    คือเราเนี่ยโดนสอนมาว่า
    เราจะต้องตำหรือบด ใช้เครื่องทุ่นแรงไม่ว่า
  • 11:01 - 11:05
    แต่เราจะต้องบดจนพริกออกสีแล้วเครื่องแกงละเอียดเนียน
  • 11:05 - 11:06
    อะ ชิม
  • 11:06 - 11:10
    ค่ะ ชิมแกงเปล่าๆ เลยนะคะเนี่ย จะได้ได้รสแกงเต็มๆ
  • 11:10 - 11:17
    คือรสเปรี้ยวเขาไม่เน้น แต่รสเปรี้ยวนี่มันจะดึงเข้ามานิดนึง
    กลิ่นมะขามจะผ่านปึ๊ดเข้ามานิดนึง
  • 11:17 - 11:19
    ต่อมาถึงสะเต๊ะลือ
  • 11:19 - 11:21
    โอ อันนี้ประวัติได้ข่าวว่ามันเหมือนกันนะคะ
  • 11:22 - 11:24
    ก็มาจากอันนี้อินโดนีเซียถูกไหม
  • 11:24 - 11:25
    ใช่ค่ะ
  • 11:25 - 11:27
    แต่ทีนี้สะเต๊ะลือ ทำไมถึงลือ
  • 11:28 - 11:36
    คือตอนที่เอาเข้ามาทำเข้าใจว่าในช่วงของพระวิมาดาเธอ
    ใช่ไหมค่ะ พระคุณเจ้าสายสวลีภิรมย์นี่แหละ
  • 11:36 - 11:39
    ท่านก็เหมือนกับคล้ายๆ ว่า นี่แหละอย่างที่ว่า
  • 11:39 - 11:46
    ตำหนักต่างๆ เนี่ยก็พยายามที่จะนำอาหารโน้นนี้มาทำให้
    เพื่อที่เวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสวยแล้วเนี่ย
  • 11:46 - 11:48
    จะได้มีความต่างในรสชาติ
  • 11:49 - 11:51
    -ตำหนักฉันมีตำหนักเดียวจ้า
    -ใช่
  • 11:51 - 11:57
    -ไม่ต้องสมัยนั้นหรอกค่ะ สมัยนี้แค่ร้านอาหาร
    เรายังต้องไปหาอาหารที่แบบเธอต้องมากินร้านฉันร้านเดียวเลย
    -ใช่
  • 11:57 - 12:03
    ใช่ แล้วเสร็จแล้วสะเต๊ะลือเนี่ย
    จริงๆ แล้วที่ลือก็คือร่ำลือในความอร่อย
  • 12:03 - 12:06
    ประมาณว่าลือกันไป 3 บ้าน 8 บ้าน ที่นี่แหละอร่อยที่สุด
  • 12:06 - 12:11
    ใช่ค่ะ และนั้นก็คือสะเต๊ะ
    เพราะฉะนั้นความอร่อยอจริงๆ แล้วไม่ต้องน้ำจิ้มนะคะ
  • 12:11 - 12:16
    ตัวเขาอร่อยโดยการที่เรารับประทานอาจาดแก้เลี่ยนเท่านั้น
  • 12:16 - 12:25
    ทีนี้เมนูนี้มันเป็นคำถามที่หลายๆ คนน่ะไม่เคยสงสัยเลย
    แต่วิวเนี่ยเพิ่งจะมาสงสัยตอนมารู้ประวัติสะเต๊ะลือ
  • 12:25 - 12:27
    หรือว่าเพิ่งจะมาเคยกินสะเต๊ะที่อินโดนี่แหละค่ะ
  • 12:27 - 12:34
    -คือสะเต๊ะ พูดจริงๆ มันเป็นอาหารมุสลิม
    ทำไมบ้านเรากินหมูสะเต๊ะกันคิดดูสิว่าเราปรับกันขนาดไหน
    -ใช่
  • 12:34 - 12:42
    ใช่ค่ะ นี่ไงวิวพูดถูกคือคนไทยเอาเข้ามาแปลง
    มีแม้กระทั่ง เริ่มจริงๆ เนี่ยเชื่อว่าน่าจะเป็นสะเต๊ะเนื้อ
  • 12:42 - 12:46
    เดี๋ยวนี้มีสะเต๊ะหมู สะเต๊ะไก่ สะเต๊ะกุ้ง สะเต๊ะปลา
  • 12:46 - 12:47
    ทุกอย่างทำเป็นสะเต๊ะหมด
  • 12:47 - 12:53
    -นี่แหละการปรับใช้ของคนไทยนะคะ เพิ่งจะมาสงสัยกันใช่ไหมว่า เฮ้ย อาหารมุสลิมทำไมมันเป็นหมู
    -ใช่
  • 12:53 - 12:54
    -ใช่ค่ะ
    -นั่นแหละค่ะ
  • 12:54 - 12:57
    เหมือนมัสมั่นเนี่ยไม่อนุญาตให้ทำหมู
  • 12:57 - 13:01
    เพราะว่าคุณบอกว่าคุณเอามาจากของพวกมุสลิมอะ
  • 13:01 - 13:02
    แล้วคุณจะทำหมูทำไม
  • 13:02 - 13:08
    น่ะ แต่ก็นี่แหละค่ะ พอปรับเข้ากับปากคนไทยก็
    ก็เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาแล้ว
  • 13:08 - 13:10
    เราเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอาหารและความอร่อย
  • 13:10 - 13:16
    ใช่ค่ะ เพราะฉะนั้นถึงได้บอกว่าเราเอามาจากเขา
    เราไม่ได้ทำแบบเขาซะโดยตรง
  • 13:16 - 13:22
    -ศิลปินที่เก่งคือศิลปินที่ขโมยเก่งค่ะ
    แต่ขโมยมาแล้วต้องปรับให้เข้ากับตัวเอง
    -ทำให้เป็นตัวของตัวเอง
  • 13:22 - 13:26
    ไม่ใช่ว่าแบบ ยกมาแล้วตั้งวางปึ้งเลย
    เพราะว่าทุกอย่างในโลกที่เป็นงานศิลปะเนี่ย
  • 13:26 - 13:29
    ได้รับแรงบันดาลใจจากอะไรบางอย่างทั้งนั้นแหละ
  • 13:29 - 13:32
    วิวพูดถูกวิวใช้คำว่า แรงบันดาลใจ
  • 13:32 - 13:33
    ค่ะ
  • 13:33 - 13:35
    แนะนำให้ลองชิมโดยไม่จิ้มอะไรก่อน
  • 13:36 - 13:41
    เดี๋ยวก็จะแอบดูวิธีกินของอาป้อมก่อนนะคะ
    แต่ถ้ากินเองนี่ทั้งไม้แหละค่ะ
  • 13:41 - 13:44
    ได้เลยค่ะไม่มีปัญหาค่ะ อาป้อมจะกินไม่หมดเท่านั้นเอง
  • 13:47 - 13:49
    เห็นไหม สะเต๊ะเขาจะมีรสชาติของเขาเอง
  • 13:50 - 13:52
    เดี๋ยวคราวนี้แกล้มด้วยอาจาด
  • 13:52 - 13:56
    อื้อหือ มีความคล้ายสะเต๊ะที่อินโดมากกว่าสะเต๊ะไทย
  • 13:56 - 13:57
    อืม
  • 13:57 - 14:01
    ถ้าที่เขาทำขายทั่วไปเขาเน้นเอาสีเหลือง
    นั่นก็คือขมิ้นผงกับผงกะหรี่
  • 14:02 - 14:05
    อันนี้เราหมักกะทิ อันนี้กลิ่นลูกผักชีจะชัดขึ้น
  • 14:05 - 14:06
    กลิ่นเครื่องเทศชัดเจนมากค่ะ
  • 14:06 - 14:07
    ใช่ค่ะ
  • 14:07 - 14:11
    รู้เลยว่าทำไมพวกชาวตะวันตกต้องมาล่าอาณานิคมแถวนี้
  • 14:11 - 14:15
    ส่วนทองหยิบทองหยอดนี่ก็คงไม่ต้องเล่าแล้วแหละ
    ไม่ต้องถึงมืออาป้อมอะนะ ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า
  • 14:15 - 14:21
    ท้าวทองกีบม้าของเราพัฒนามาจากโปรตุเกส
    เรียนกันมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นเราไม่เสียเวลาดีกว่า
  • 14:21 - 14:25
    แล้วยังงี้ค่ะ อันนี้คืออาหารที่เราได้รับการยอมรับแล้ว
    ว่าเป็นอาหารไทย
  • 14:25 - 14:31
    แล้วทีนี้อย่างอาหารไทยฟิวชั่นใหม่ๆ อย่างวิวบอกว่า อย่างวิวกินสเต๊ก สเต๊กนี่อาหารฝรั่ง 100% ชื่อก็บอกแล้ว่าสเต๊ก
  • 14:31 - 14:35
    เกิดวิวเอาสเต๊กไปจิ้มแจ่วนับเป็นอาหารไทยได้รึยังคะ
  • 14:35 - 14:37
    ก็เป็นการผสมผสาน
  • 14:37 - 14:37
    นะคะ
  • 14:37 - 14:41
    เอายังงี้ สมมติว่า อันนี้ตัวอย่างนี้จะอธิบายได้ง่ายขึ้น
  • 14:41 - 14:43
    คือแกงเขียวหวานเนื้อ
  • 14:43 - 14:44
    อ้า ค่ะ
  • 14:44 - 14:49
    นะคะ อาป้อมเคยเสิร์ฟแม้กระทั่งใช้เนื้อสเต๊กดีๆ มาวาง
  • 14:49 - 14:56
    และราดด้วยซอดแกงเขียวหวานข้นๆ
    แล้วอาป้อมอาจจะเอามะเขือมาผัดเป็นเครื่องแกล้ม
  • 14:56 - 14:57
    โรยด้วยใบโหระพา
  • 14:57 - 15:02
    อาป้อมไม่เรียกว่าฟิวชั่น
    จานเช่นนั้นอาป้อมเรียกว่า Modern Thai
  • 15:02 - 15:06
    อ่า ก็คืออาหารไทยจานเดิม ทุกอย่างเป็นของที่มีอยู่ในไทย
  • 15:06 - 15:09
    -ใช่
    -เราแค่มันจัดเรียงใหม่ให้มันก็ modern ขึ้น
  • 15:09 - 15:16
    ค่ะ เพราะว่าสมัยก่อนคนไทยรับประทานเนื้อวัวเนื้อควาย
    ซึ่งต้องเคี่ยวในแกง
  • 15:16 - 15:24
    แต่ปัจจุบันเรามีเนื้อเข้ามาหรือเนื้อโคขุนที่เราเลี้ยงเอง
    แล้วมันมีความนุ่มมีคุณภาพที่ดีกว่า
  • 15:24 - 15:27
    เราก็เสิร์ฟทั้งแบบที่เป็นสเต็กนะคะ
  • 15:27 - 15:32
    แต่เมื่อเราตักสิ่งนั้นรวมกันเข้าปาก
    ในปากเราก็ยังเป็นแกงเขียวหวานเนื้อ
  • 15:32 - 15:38
    งั้นวิวสามารถสรุปแบบนี้ได้ไหมค่ะ อาป้อม ว่าทั้งหมด
    ที่เราคุยมาเนี่ย จากคำถามที่บอกว่าอาหารไทยคืออะไรเนี่ย
  • 15:39 - 15:41
    จริงๆ เราไม่จำเป็นต้องนิยามหรอกว่าอาหารไทยคืออะไร
  • 15:41 - 15:44
    -มันก็คืออาหารที่คนไทยรับประทานแล้วถูกปากนั่นแหละ
    -ใช่ค่ะ
  • 15:44 - 15:50
    แต่ว่าพอพูดถึงอาหารพูดถึงศิลปะวัฒนธรรมอะไรต่างๆ
    มันไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
  • 15:50 - 15:53
    มันก็คือการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอะไรกันไปมา
  • 15:53 - 15:59
    เอาแค่ว่ากินแล้วอร่อยกินแล้วถูกปากกินแล้วพอใจ แล้วยังเก็บรากเหง้าแล้วก็เก็บคอร์หลักของอาหารชนิดนั้นน่ะ
  • 15:59 - 16:05
    -ว่าแบบว่าชนิดเกิดขึ้นมาเพื่ออะไรยังไง แต่นั่นแหละ
    เป็นอาหารที่อย่าเรียกว่าถูกต้องเลย
    -ใช่ค่ะ
  • 16:05 - 16:07
    ก็เรียกได้ว่าเป็นอาหารประเภทนั้นๆ แล้ว
  • 16:07 - 16:08
    ใช่ค่ะ
  • 16:08 - 16:12
    นี่แหละค่ะ วันนี้เราก็ได้คำตอบจากอาป้อมแล้วนะคะ
    ว่าอาหารไทยคืออะไร
  • 16:12 - 16:15
    เป็นยังไงบ้างทุกคนคิดเห็นเหมือนกันไหม
    ลอง comment มาด้านล่างได้นะคะ
  • 16:16 - 16:20
    อย่างไรก็ตามนะคะ ถ้าใครสนใจเรื่องอาหารอะไรต่างๆ
    อยากรับรู้วัฒนธรรมผ่านอาหาร
  • 16:21 - 16:25
    อยากเห็นการปะทะกันของอาหารรสกลมกล่อม
    อาหารรสจัดจ้านนะคะ
  • 16:25 - 16:28
    เรื่องปลายจวักนะคะ ก็สามารถรับชมได้ที่ Thai PBS นะคะ
  • 16:28 - 16:33
    ในทุกวันเสาร์อาทิตย์เวลา 20.15 - 21.10 น. ค่ะ
  • 16:34 - 16:38
    นอกจากนี้ก็ยังรับชมย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์นะคะ
    วิวขึ้น QR Code ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะทุกคน
  • 16:38 - 16:43
    สำหรับวันนี้ต้องขอบคุณอาป้อมมากๆ เลยนะคะ
    ที่มาให้ความรู้อีกรอบหนึ่ง
  • 16:43 - 16:46
    อยากให้วิวไปคุยอะไรกับใครอีก
    ก็ comment มาด้านล่างเช่นกันค่ะ
  • 16:46 - 16:50
    วันนี้ลาไปก่อนนะคะทุกคน บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ
  • 16:50 - 16:54
    แหม่ ทุกคนก็รู้อยู่ว่าถ่ายคลิปอาหาร มันก็ต้องมานั่งกินนี่แหละ
  • 16:54 - 16:57
    จุดประสงค์หลักของคลิปนี้ก็คือ
    อยากมาชิมอาหารไทยนี่แหละค่ะ
  • 16:57 - 17:02
    ดังนั้นเราปิดคลิปกันเถอะ วิวจะไปกินต่อแล้วทุกคน
    วันนี้ลาไปก่อนนะคะ บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ
  • 17:10 - 17:11
    พอแล้วปิดกล้อง
Title:
อาหารไทยคืออะไร ft. เชฟป้อม | Point of View x ThaiPBS
Description:

more » « less
Duration:
17:12

Thai subtitles

Revisions