< Return to Video

ฟิล แฮนเซน (Phil Hansen): สวมกอดยอมรับอาการสั่นนั้น แล้วนำมันมาใช้

  • 0:01 - 0:03
    ตอนผมเรียนที่โรงเรียนศิลปะ
  • 0:03 - 0:04
    ผมเริ่มมีอาการมือไม้สั่น
  • 0:04 - 0:07
    และนี่คือเส้นที่ตรงที่สุดเท่าที่ผมจะวาดได้
  • 0:07 - 0:10
    หลังจากที่ผมเข้าใจปัญหาข้อนี้
    จริงๆแล้วมันก็มีประโยชน์ดีเหมือนกันครับ
  • 0:10 - 0:13
    เช่นเขย่าประป๋องเพื่อผสมสี หรือเขย่าภาพโพลารอย
  • 0:13 - 0:16
    แต่ ณ เวลานั้น มันวันที่ช่างขมขื่นมืดมน
  • 0:16 - 0:19
    มันเป็นเหมือนการทำลายความฝัน
    ในการเป็นศิลปินของผม
  • 0:19 - 0:22
    อาการมือสั่นของผมนั้น จริงๆแล้ว
  • 0:22 - 0:24
    พัฒนามาจากความมุ่งมั่นพยายามทำงานวาดจุด
  • 0:24 - 0:26
    ปีแล้วปีเล่าที่ทำการวาดจุดเล็กๆ
  • 0:26 - 0:30
    และในที่สุด จุดเหล่านี้ที่เคยกลมอย่างสมบูรณ์แบบ
  • 0:30 - 0:34
    ก็กลายเป็นอะไรบางอบ่างหน้าตาเหมือนลูกอ๊อด
    เพราะว่ามือผมสั่นไปหมด
  • 0:34 - 0:36
    ดังนั้น เพื่อทำการชดเชยกัน
    ผมจึงจับปากกาแน่นขึ้น
  • 0:36 - 0:38
    และสิ่งนี้เองที่ยิ่งทำให้อาการมือสั่นทรุดหนักไปกว่าเดิม
  • 0:38 - 0:41
    ผมก็เลยจับปากกาให้แน่นขึ้นไปอีก
  • 0:41 - 0:43
    และนี่ก็กลายเป็นวงจรอุบาทว์ ที่สุดท้ายแล้ว
  • 0:43 - 0:45
    ส่งผลให้เจ็บมากและมีปัญหาเรื่องข้อต่อตามมา
  • 0:45 - 0:47
    ผมมีปัญหาในการถือของไม่ว่าอะไรก็ตาม
  • 0:47 - 0:51
    และหลังทุ่มเทเวลาทั้งชีวิต
    เพื่อความต้องการในการทำงานศิลปะ
  • 0:51 - 0:55
    ผมลาออกจากโรงเรียนศิลปะ
    และหลังจากนั้น ผมลาจากวงการศิลปะไปอย่างสมบูรณ์
  • 0:55 - 0:58
    แต่หลังจากสองสามปี
    ผมไม่สามารถที่จะอยู่ห่างจากงานศิลป์ได้
  • 0:58 - 1:00
    และผมตัดสินใจที่จะไปปรึกษานักประสาทวิทยา
    เกี่ยวกับอาการมือสั่น
  • 1:00 - 1:03
    และพบว่า ประสาทของผมได้ถูกทำลายไปแล้วอย่างถาวร
  • 1:03 - 1:06
    และเขาก็มองไปที่เส้นยุ่งๆที่ผมเขียน
  • 1:06 - 1:09
    และกล่าวว่า
    "เอาล่ะ ทำไมคุณไม่ลองยอมรับอาการสั่นนี้แล้วนำมาใช้ซะล่ะ"
  • 1:09 - 1:12
    ผมก็เลยทำตามครับ ผมกลับบ้าน
    จับดินสอ
  • 1:12 - 1:13
    และปล่อยให้มือผมสั่นและสั่น
  • 1:13 - 1:16
    ผมร่างภาพทั้งหมดเหล่านี้
  • 1:16 - 1:17
    และถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ศิลปะ
  • 1:17 - 1:21
    ในแบบที่ผมมีใจรักจริงๆตอนนั้น
    แต่มันรู้สึกดีมากครับ
  • 1:21 - 1:24
    และที่สำคัญไปกว่านั้น
    เมื่อผมได้ยอมรับอาการสั่นนั่นแล้ว
  • 1:24 - 1:26
    ผมก็ตระหนักว่า ผมยังคงทำงานศิลปะได้
  • 1:26 - 1:27
    ผมแค่ต้องหาแนวทางใหม่
  • 1:27 - 1:30
    เพื่อที่จะทำงานศิลปะที่ผมต้องการ
  • 1:30 - 1:32
    ตอนนี้ ผมก็ยังสนใจงานที่เกี่ยวกับจุดอยู่
  • 1:32 - 1:34
    ได้เห็นจุดเล็กๆพวกนี้มาอยู่รวมกัน
  • 1:34 - 1:36
    เพื่อที่จะสร้างเป็นผลงานชิ้นใหญ่
  • 1:36 - 1:39
    ดังนั้น ผมเริ่มทดลองหลายๆแนวทางเพื่อจะทำภาพย่อย
  • 1:39 - 1:41
    ที่อาการมือสั่นจะไม่ขัดขวางการทำงาน
  • 1:41 - 1:46
    เช่นจุ่มเท้าผมลงบนสีแล้วเดินไปเดินมาบนผ้าใบ
  • 1:46 - 1:49
    หรือโครงสร้างสามมิติขนาด 2x4
  • 1:49 - 1:55
    ก็สามารถสร้างเป็นภาพสองมิติ
    โดยเผามันด้วยเครื่องพ่นความร้อน
  • 1:55 - 1:58
    ผมได้ค้นพบว่าถ้าผมทำงานขนาดใหญ่และด้วยวัสดุใหญ่ๆ
  • 1:58 - 2:01
    มือผมก็ไม่เจ็บ
  • 2:01 - 2:04
    และหลังจากใช้วิธีการเดียวเพื่อเข้าถึงศิลปะ
  • 2:04 - 2:07
    ผมลงเอยกับวิธีที่ใช้เข้าถึงความคิดสร้างสรรค์
  • 2:07 - 2:10
    ที่เปลี่ยนขอบเขตความเป็นศิลปินของผม
    ไปอย่างสิ้นเชิง
  • 2:10 - 2:12
    นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้พบกับความคิดนี้
  • 2:12 - 2:18
    ที่ยอมรับว่า ความจำกัดนั้น
    สามารถผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้จริง
  • 2:18 - 2:20
    ณ เวลานั้น ผมกำลังจะจบการศึกษา
  • 2:20 - 2:24
    และผมก็ตื่นเต้นมากที่จะได้มีทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน
    และในที่สุดจะได้มีทุนสำหรับงานศิลปะใหม่ๆสักที
  • 2:24 - 2:27
    ผมมีชุดอุปกรณ์เล็กๆแย่ๆนี่ และผมรู้สึกว่า
  • 2:27 - 2:30
    ผมน่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ถ้ามีอุปกรณ์
  • 2:30 - 2:32
    ที่ผมคิดว่าศิลปินพึงมี
  • 2:32 - 2:34
    ความจริงแล้ว ผมไม่มีแม้กระทั่งกรรไกรธรรมดาๆด้วยซ้ำ
  • 2:34 - 2:37
    ผมเคยใช้เศษโลหะพวกนี้ จนกระทั่งผมไปฉกมาได้ด้ามนึง
  • 2:37 - 2:39
    จากที่ทำงานผม
  • 2:39 - 2:42
    ดังนั้น ผมออกจากโรงเรียน ผมได้งาน ผมได้เงินเดือน
  • 2:42 - 2:44
    ผมพาตัวเองไปยังร้านศิลปะ
  • 2:44 - 2:47
    และผมก็ซื้อของอย่างบ้าคลั่ง
  • 2:47 - 2:48
    และเมื่อผมกลับบ้าน ผมนั่งลง
  • 2:48 - 2:51
    และผมก็บอกตัวเองให้ทำงาน
    เพื่อสร้างอะไรสักอย่างจริงๆจังๆ
  • 2:51 - 2:54
    ที่มันเป็นการคิดนอกกรอบอย่างสิ้นเชิง
  • 2:54 - 2:59
    แต่ผมนั่งอยู่ตรงนั้นเป็นชั่วโมงๆ
    และไม่มีอะไรเข้ามาในหัวเลย
  • 2:59 - 3:01
    วันถัดไปก็เป็นเหมือนเดิม และวันต่อไปก็เป็นแบบนั้น
  • 3:01 - 3:05
    ความคิดสร้างสรรค์ตกลงฮวบฮาบ
  • 3:05 - 3:09
    และผมอยู่ในมุมมืดมาเป็นเวลานาน
    ไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์อะไรได้
  • 3:09 - 3:12
    และมันก็ไม่เห็นจะมีเหตุผลเลย
    เพราะว่าในที่สุด
  • 3:12 - 3:16
    ผมก็สามารถที่จะมีทุนสำหรับงานศิลป์
    แต่ความคิดสร้างสรรค์ของผมก็ยังกลวงโบ๋
  • 3:16 - 3:18
    แต่ระหว่างที่ผมได้ค้นหามันไปในความมืด
  • 3:18 - 3:22
    ผมตระหนักว่า อันที่จริงผมถูกตรึงให้เป็นอัมพาต
    ด้วยตัวเลือกมากมาย
  • 3:22 - 3:24
    ที่ผมไม่เคยมีมาก่อน
  • 3:24 - 3:28
    และ ณ ตอนนั้นเองที่ผมนึกย้อนไปถึงมือที่สั่นเทา
  • 3:28 - 3:31
    "โอบกอดยอมรับ ความสั่นของมือ"
  • 3:31 - 3:33
    และผมก็รู้ว่า ถ้าผมยังต้องการความคิดสร้างสรรค์กลับมา
  • 3:33 - 3:37
    ผมต้องเลิกที่จะบังคับตัวเองอย่างหนักในการคิดนอกกรอบ
  • 3:37 - 3:40
    และกลับเข้ามาหามันแทน
  • 3:40 - 3:42
    ผมตรองดู เรามีความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าเดิมไหม
  • 3:42 - 3:45
    โดยการมองหาข้อจำกัด
  • 3:45 - 3:50
    ถ้าผมสามารถที่จะสร้างสรรค์งาน
    ด้วยอุปกรณ์ราคาแค่ดอลล่าร์เดียวล่ะ
  • 3:50 - 3:52
    ณ จุดนี้ ผมใช้ทุกเวลาทุกเย็น
  • 3:52 - 3:55
    เอ่อ ผมเกรงว่าผมใช้เวลาส่วนใหญ่ตอนเย็นในสตาร์บัค
  • 3:55 - 3:58
    แต่ผมรู้ว่าขอแก้วเพิ่มได้ถ้าต้องการ
  • 3:58 - 4:01
    ผมก็เลยตัดสินใจของสัก 50 ถ้วย
  • 4:01 - 4:03
    น่าแปลกใจที่พวกเขาก็ให้ผมนะ
  • 4:03 - 4:05
    และจากนั้น ด้วยดินสอที่ผมมี
  • 4:05 - 4:08
    ผมสร้างงานนี้ขึ้นมาด้วยเงิน 80 เซน
  • 4:08 - 4:10
    มันเป็นวินาทีที่ให้ความกระจ่างแจ้งแก่ผมจริงๆว่า
  • 4:10 - 4:13
    เราต้องมีข้อจำกัดก่อน
  • 4:13 - 4:16
    เพื่อที่จะไปสู่ความไร้ขอบเขต
  • 4:16 - 4:18
    ผมนำแนวคิดแบบนอกกรอบนี้
  • 4:18 - 4:20
    ไปสร้างสรรค์งานบนผ้าใบ
    และสงสัยว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น
  • 4:20 - 4:23
    ถ้าแทนที่ผมจะวาดภาพบนผ้าใบ
    ผมวาดได้แค่บนหน้าอกของตัวเอง
  • 4:23 - 4:26
    ดังนั้นผมจึงวาดภาพ 30 ภาพ
    ทีละชั้น
  • 4:26 - 4:27
    ทับกันไปเรื่อยๆ
  • 4:27 - 4:32
    แต่ละภาพนั้นเป็นตัวแทนของแรงบันดาลใจในชีวิตผม
  • 4:32 - 4:34
    หรือ ถ้าแทนที่ผมจะใช้แปรงวาดเขียน
  • 4:34 - 4:37
    แล้วผมจะใช้แค่ฝ่ามือคาราเต้ในการวาดล่ะ (เสียงหัวเราะ)
  • 4:37 - 4:39
    ดังนั้น ผมจุมมือลงในสี
  • 4:39 - 4:40
    และเข้าโจมตีผ้าใบ
  • 4:40 - 4:43
    และผมก็อัดมันแรงจริงๆนะครับ
    ทำเอาซะข้อนิ้วก้อยผมช้ำ
  • 4:43 - 4:46
    และงอไม่ไปสองสามสัปดาห์เลยครับ
  • 4:46 - 4:49
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 4:49 - 4:53
    หรือว่า ถ้าหากผมไม่พึ่งตัวเอง
  • 4:53 - 4:55
    แล้วพึ่งคนอื่นแทน
  • 4:55 - 4:58
    ในการสร้างผลงานทางศิลปะล่ะ
  • 4:58 - 5:01
    ดังนั้น ในหกวัน ผมใช้ชีวิตหน้ากล้อง
  • 5:01 - 5:03
    ผมนอนบนพื้นและซื้ออาหารกล่องมากิน
  • 5:03 - 5:06
    และขอให้คนโทรหาผม
    และมาแบ่งปันเรื่องราวชีวิต
  • 5:06 - 5:08
    ที่เกี่ยวกับวินาทีแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • 5:08 - 5:11
    เรื่องราวของพวกเขากลายเป็นงานศิลปะ
  • 5:11 - 5:14
    เมื่อผมเขียนมันลงไปในผ้าใบที่หมุนได้
  • 5:14 - 5:19
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:19 - 5:23
    หรือ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าแทนที่จะสร้างงานศิลป์เพื่อแสดง
  • 5:23 - 5:25
    ผมต้องทำลายมันแทน
  • 5:25 - 5:28
    นี่มันเหมือนเป็นที่สุดแห่งความจำกัด
  • 5:28 - 5:30
    เป็นศิลปินโดยปราศจากศิลปะ
  • 5:30 - 5:33
    ความคิดในการทำลายกลายมาเป็นโครงการที่กินเวลาเป็นปี
  • 5:33 - 5:34
    ซึ่งผมเรียกมันว่า กู๊ดบาย อาร์ท (Goodbye Art)
  • 5:34 - 5:39
    โดยงานศิลปะทุกๆชิ้นต้องถูกทำลายหลังจากที่มันถูกสร้างขึ้น
  • 5:39 - 5:40
    ในช่วงแรกของ กู๊ดบาย อาร์ท ผมให้ความสนใจไปยัง
  • 5:40 - 5:43
    การทำลายแบบบังคับ เช่นภาพของ จิมมี่ เฮนดริกส์ (Jimi Hendrix)
  • 5:43 - 5:46
    ทำจากไม้ขึดไฟกว่า 7,000 ก้าน
  • 5:46 - 5:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:47 - 5:50
    จากนั้นผมก็ได้เปิดใจที่จะสร้างสรรค์งานศิลป์
    ที่มันถูกทำลายได้ตามธรรมชาติ
  • 5:50 - 5:53
    ผมมองหาวัสดุแบบชั่วคราว
  • 5:53 - 5:55
    ดั่งเช่นบ้วนอาหาร
  • 5:55 - 5:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:59 - 6:02
    ภาพเขียนช๊อคบนทางเท้า
  • 6:02 - 6:07
    และแม้กระทั่งไวน์แช่แข็ง
  • 6:07 - 6:09
    การทำการทำลายล้างครั้งสุดท้าย
  • 6:09 - 6:13
    คือการที่ผมพยายามจะสร้างอะไรบางอย่าง
    ที่ไม่ได้มีปรากฎอยู่แล้วแต่แรกเริ่ม
  • 6:13 - 6:16
    ผมทำการจัดเรียงเทียนบนโต๊ะ ผมจุดพวกมัน
    และจากนั้นเป่าเพื่อดับมัน
  • 6:16 - 6:20
    จากนั้น ทำแบบนี้ซ้ำๆเรื่อยๆด้วยเทียนชุดเดิม
  • 6:20 - 6:24
    และนำภาพวีดีโอเหล่านั้นมารวมเป็นภาพใหญ่
  • 6:24 - 6:28
    ดังนั้น ในที่สุดภาพทั้งหมดนั้นไม่เคยมีอยู่จริงในเชิงกายภาพ
  • 6:28 - 6:32
    มันถูกทำลายหมดก่อนที่มันจะมีตัวตน
  • 6:32 - 6:35
    ในโครงงาน กู๊ดบาย อาร์ท นี้
  • 6:35 - 6:37
    ผมได้สร้างงานต่างกัน 23 ผลงาน
  • 6:37 - 6:41
    โดยที่ไม่มีอะไรที่จับต้องได้หลงเหลือให้จัดแสดง
  • 6:41 - 6:43
    สิ่งที่ผมคิดว่ามันเป็นข้อด้อยข้อจำกัดอย่างที่สุด
  • 6:43 - 6:46
    กลายมาเป็นการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ
  • 6:46 - 6:48
    ในทุกครั้งที่ผมสร้างสรรค์งาน
  • 6:48 - 6:50
    การทำลายได้นำผลกลับไปยังที่ที่เป็นกลาง
  • 6:50 - 6:55
    สถานที่ซึ่งผมรู้สึกสดใหม่
    และพร้อมที่จะเริ่มทำงานชิ้นถัดไป
  • 6:55 - 6:57
    มันไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนนะครับ
  • 6:57 - 6:59
    บางครั้งโครงการของผมล้มเหลว
    ไม่ยอมเหินสู่ฟ้า
  • 6:59 - 7:02
    หรือแย่กว่านั้น หลังจากหมดเวลากับมันไปมากมาย
  • 7:02 - 7:04
    ภาพสุดท้ายออกมาช่างน่าอับอาย
  • 7:04 - 7:07
    แต่ผมได้สร้างพันธสัญญาไว้กับกระบวนการแล้ว
    ผมก็เดินหน้าต่อไป
  • 7:07 - 7:09
    และบางครั้งสิ่งที่น่าประหลาดใจก็ปรากฎออกมา
  • 7:09 - 7:12
    เมื่อผมได้ทำลายงานแต่ละงาน
  • 7:12 - 7:15
    ผมได้เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง
  • 7:15 - 7:18
    ปล่อยวางผลที่จะออกมา ปล่อยวางความล้มเหลว
  • 7:18 - 7:21
    และปล่อยวางความไม่สมบูรณ์
  • 7:21 - 7:23
    และในทางกลับกัน
    ผมพบวิถีทางในการสร้างงานศิลป์
  • 7:23 - 7:28
    ที่จะไม่มีวันดับสิ้น
    และไม่มีผลเกี่ยวพันใดต่อผลลัพท์
  • 7:28 - 7:30
    ผมได้พบว่าตนเองอยู่ในสถานะของ
    การสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
  • 7:30 - 7:32
    คิดเพียงแต่ว่า จะทำอะไรต่อไป
  • 7:32 - 7:35
    และเกิดความคิดใหม่ๆมากกว่าที่เคยเป็น
  • 7:35 - 7:37
    เมื่อผมคิดย้อนกลับไปยังสามปีที่ผมห่างหายจากงานศิลปะ
  • 7:37 - 7:41
    ออกห่างจากความฝัน ปล่อยชีวิตล่องลอยไปวันๆ
  • 7:41 - 7:44
    แทนที่จะพยายามหาทางใหม่ที่จะสานต่อความฝันนั้น
  • 7:44 - 7:48
    ผมแค่ล้มเลิก ผมถอดใจ
  • 7:48 - 7:51
    และถ้าหากผมไม่ได้สวมกอดอาการมือสั่นนี้ล่ะ
  • 7:51 - 7:52
    เพราะว่าการยอมรับในอาการมือสั่นนั้น
  • 7:52 - 7:55
    ไม่ได้แค่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะและทักษะทางงานศิลปะ
  • 7:55 - 8:00
    กลายเป็นว่ามันเกี่ยวกับชีวิต และการมีทักษะชีวิตด้วย
  • 8:00 - 8:02
    เพราะว่าที่สุดแล้ว สิ่งที่เราทำเป็นส่วนใหญ่
  • 8:02 - 8:08
    เกิดขึ้นที่นี่ ในกล่องที่มีข้อจำกัด
  • 8:08 - 8:11
    การเรียนรู้ที่จะมีความคิดสร้างสรรค์
    ในขณะที่เราถูกวางกรอบด้วยข้อจำกัดต่างๆ
  • 8:11 - 8:15
    เป็นความหวังที่ดีที่สุด
    ที่พวกเราจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง
  • 8:15 - 8:19
    และโดยทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว
    เปลี่ยนแปลงโลกของเรา
  • 8:19 - 8:23
    การมองดูข้อจำกัดนั้น
    ให้เป็นแหล่งของความคิดสร้างสรรค์
  • 8:23 - 8:26
    ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของผม
  • 8:26 - 8:28
    ทุกวันนี้ เมื่อผมเผชิญหน้ากับอุปสรรค์
  • 8:28 - 8:31
    หรือพบว่าความคิดสร้างสรรค์ของผมนั้นตีบตัน
  • 8:31 - 8:33
    บางที ผมก็ยังคงล้มลุกคลุกคลาน
  • 8:33 - 8:35
    แต่ผมก็ยังคงก้าวต่อไป
  • 8:35 - 8:38
    และพยายามที่จะย้ำเตือนตัวเองถึงความเป็นไปได้
  • 8:38 - 8:43
    เหมือนกับการใช้หนอนเป็นร้อยๆตัวในการสร้างภาพผลงาน
  • 8:43 - 8:47
    ใช้เข็มสักรูปบนกล้วย
  • 8:47 - 8:53
    หรือวาดภาพด้วยมันจากแฮมเบอร์เกอร์
  • 8:53 - 8:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:55 - 8:57
    เร็วๆนี้ ผมใช้ความอุตสาหะอย่างมาก
  • 8:57 - 9:00
    ในการพยายามแปลพฤติกรรมของความคิดสร้างสรรค์
    ที่ผมได้เรียนรู้
  • 9:00 - 9:03
    ให้เป็นสิ่งที่คนอื่นๆสามารถทำตามได้
  • 9:03 - 9:07
    ข้อจำกัด อาจเป็นสิ่งสุดท้าย
  • 9:07 - 9:11
    ที่จะให้พลังกับความคิดสร้างสรรค์ แต่ทว่า
  • 9:11 - 9:14
    มันคือ หนทางหนึ่งที่ดีที่สุด ที่เราจะขึ้นจากหล่ม
  • 9:14 - 9:18
    ตรึกตรองถึงปทารถะ (ความเข้าใจพื้นฐาน)
    และขานรับคำท้าทายแห่งปทัสถาน (บรรทัดฐาน)
  • 9:18 - 9:22
    และแทนที่จะบอกกันและกันว่า จงไขว่คว้าเอาธงชัย
  • 9:22 - 9:26
    บางที เราอาจเตือนตนเองทุกๆวันว่า
  • 9:26 - 9:28
    จงไขว่คว้าข้อจำกัด
  • 9:28 - 9:30
    ขอบคุณครับ
  • 9:30 - 9:35
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ฟิล แฮนเซน (Phil Hansen): สวมกอดยอมรับอาการสั่นนั้น แล้วนำมันมาใช้
Speaker:
Phil Hansen
Description:

ที่โรงเรียนศิลปะ ฟิล แฮนเซน มีอาการมือสั่นแบบที่บังคับไม่ได้ ซึ่งมันทำให้เขาต้องห่างเหินจากการสร้างสรรค์งานจากจุดเล็กๆที่เขารัก
แฮนเซนหมดอาลัยตายอยาก ล่องลอยไปวันๆอย่างไร้จุดหมาย จนกระทั่งนักประสาทวิทยาได้ให้ข้อแนะนำง่ายๆกับเขาว่า โอบกอดข้อด้อยอันนี้ และเอาชนะมันซะ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
10:01
Uzma Daraman commented on Thai subtitles for Embrace the shake
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Embrace the shake
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Embrace the shake
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Embrace the shake
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Embrace the shake
Uzma Daraman accepted Thai subtitles for Embrace the shake
Uzma Daraman commented on Thai subtitles for Embrace the shake
Uzma Daraman edited Thai subtitles for Embrace the shake
Show all

Thai subtitles

Revisions