< Return to Video

ทำไมถุงเย็นถึงเย็นเร็วนัก - จอห์น โพลลาด (John Pollard)

  • 0:09 - 0:14
    กล้ามเนื้อของคุณยึดตึง
    และการอักเสบนั้นมันก็สุดจะทน
  • 0:14 - 0:17
    คุณอยากที่จะหาอะไรเย็นๆ
    ที่จะทำให้ความเจ็บป่วยลดลง
  • 0:17 - 0:21
    แต่ถ้าจะใช้ถุงเย็น คุณต้องแช่มันไว้
    ในช่องแข็งก่อนแล้วสักชั่วโมง
  • 0:21 - 0:23
    โชคดีที่ยังมีอีกวิธี
  • 0:23 - 0:28
    ถุงเย็นสามารถเก็บไว้ได้ที่อุณหภูมิห้อง
    จนถึงตอนที่คุณต้องการใช้
  • 0:28 - 0:34
    แค่หักมันตามที่บอกไว้
    และภายในไม่กี่วินาที คุณก็จะรู้สึกว่ามันเย็น
  • 0:34 - 0:37
    แต่ว่า มันเปลี่ยนจากอุณหภูมิห้อง
    ถึงจุดเกือบเยือกแข็ง
  • 0:37 - 0:39
    ในเวลาอันสั้นได้อย่างไร
  • 0:39 - 0:41
    คำตอบอยู่ที่เคมี
  • 0:41 - 0:44
    ถุงเย็นของคุณบรรจุด้วยน้ำ
    และสารประกอบที่เป็นของแข็ง
  • 0:44 - 0:50
    ตามปกติแล้วจะเป็น แอมโมเนียม ไนเตรต
    ในส่วนต่างหากที่แยกโดยที่กั้น
  • 0:50 - 0:53
    เมื่อที่กั้นแตกออก ของแข็งก็ละลาย
  • 0:53 - 0:56
    ทำให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันว่า
    ปฏิกิริยาดูดความร้อน
  • 0:56 - 0:59
    ที่ดูดเอาความร้อนจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ
  • 0:59 - 1:01
    เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงาน
  • 1:01 - 1:05
    เราต้องมองที่พลังขับเคลื่อนทั้งสอง
    ที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการทางเคมี
  • 1:05 - 1:07
    พลังงานและเอนโทรปี
  • 1:07 - 1:13
    สิ่งเหล่านี้กำหนดว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
    ในระบบหรือไม่ พลังงานจะถ่ายเทอย่างไร
  • 1:13 - 1:17
    ในเคมี พลังงานเกี่ยวกับ
    พลังการดึงและการผลัก
  • 1:17 - 1:20
    ระหว่างอนุภาคในระดับโมเลกุล
  • 1:20 - 1:26
    ระดับนี้เล็กมากเสียจน
    โมเลกุลของน้ำในแก้วหนึ่ง
  • 1:26 - 1:29
    มีมากกว่าจำนวนดาวที่เรารู้จักในจักรวาลเสียอีก
  • 1:29 - 1:32
    และโมเลกุลมากมายทั้งหมดนี้
  • 1:32 - 1:36
    เคลื่อนไหว สั่น และหมุนตลอดเวลา
    ในอัตราต่างๆ กัน
  • 1:36 - 1:40
    เราสามารถคิดถึงอุณหภูมิเป็นดั่ง
    การวัดค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่
  • 1:40 - 1:43
    หรือ พลังงานจลย์ ของอนุภาคทั้งหมด
  • 1:43 - 1:47
    การเพิ่มขึ้นของการเคลื่อนที่
    หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ
  • 1:47 - 1:49
    และในทำนองกลับกัน
  • 1:49 - 1:52
    การถ่ายเทความร้อนในการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
  • 1:52 - 1:55
    ขึ้นอยู่กับแรงยึดระหว่างแต่ละอนุภาค
  • 1:55 - 1:58
    ในแต่ละสถานะของสสาร
  • 1:58 - 2:01
    เมื่อแต่ละอนุภาค
    มีพลังการดึงดูดร่วมกันที่แข็งแรง
  • 2:01 - 2:04
    พวกมันเคลื่อนที่เข้าหากันอย่างรวดเร็ว
    จนกระทั่งพวกมันเข้ามาใกล้กันมาก
  • 2:04 - 2:08
    และแรงผลักดันพวกมันออกจากกัน
  • 2:08 - 2:10
    ถ้าการดึงดูดแรกมีมากพอ
  • 2:10 - 2:13
    อนุภาคจะสั่นไปกลับแบบนั้น
  • 2:13 - 2:16
    ยิ่งมีการดึงแรง ยิ่งมีการเคลื่อนที่เร็ว
  • 2:16 - 2:19
    และเพราะโดยหลักแล้วความร้อนนั้นเคลื่อนที่
  • 2:19 - 2:22
    เมื่อสสารเปลี่ยนเป็นสถานะ
    ซึ่งแรงยึดเหล่านี้แข็งแรงมากกว่า
  • 2:22 - 2:24
    ระบบก็ร้อนขึ้น
  • 2:24 - 2:26
    แต่ถุงเย็นของเราทำตรงข้าม
  • 2:26 - 2:29
    ซึ่งหมายความว่า เมื่อของแข็งละลายในน้ำ
  • 2:29 - 2:33
    แรงยึดใหม่ของอนุภาคของแข็ง
    และโมเลกุลน้ำ
  • 2:33 - 2:37
    จะอ่อนลงกว่าแรงยึดที่แยกกันก่อนหน้านี้
  • 2:37 - 2:41
    นี่ทำให้อนุภาคทั้งสองชนิดช้าลงโดยเฉลี่ย
  • 2:41 - 2:42
    ทำให้ทั้งสารละลายเย็นลง
  • 2:42 - 2:47
    แต่ทำไมสสารถึงเปลี่ยนไปเป็นสถานะ
    ที่มีแรงยึดอ่อนลง
  • 2:47 - 2:51
    ไม่ใช่ว่าแรงยึดที่แข็งแรงกว่าก่อนหน้านี้
    จะทำให้ของแข็งไม่ละลายน้ำหรือ
  • 2:51 - 2:53
    นี่เป็นส่วนที่เอนโทรปีเข้ามา
  • 2:53 - 2:56
    หลักๆ แล้ว เอนโทรปี อธิบาย
    ว่าวัตถุและพลังงาน
  • 2:56 - 3:00
    ถูกทำให้แพร่ออกไป
    โดยหลักของการเคลื่อนที่แบบสุ่ม
  • 3:00 - 3:04
    ถ้าคุณคิดถึงอากาศในห้อง
    มันมีการจัดตัวได้มากมาย
  • 3:04 - 3:06
    สำหรับอนุภาคหลายล้านล้าน
    ที่เป็นองค์ประกอบของมัน
  • 3:06 - 3:09
    บางที่จะมีแต่โมเลกุลออกซิเจน
  • 3:09 - 3:12
    และอีกที่อาจมีแต่โมเลกุลไนโตรเจน
  • 3:12 - 3:15
    แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกมันจะอยู่ผสมรวมกัน
  • 3:15 - 3:18
    ซึ่งเป็นเหตุว่าทำไมอากาศ
    จึงถูกพบในสถานะเช่นนี้เสมอ
  • 3:18 - 3:21
    ทีนี้ ถ้ามีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคมาก
  • 3:21 - 3:24
    ความน่าจะเป็นของโครงร่างอาจเปลี่ยนไป
  • 3:24 - 3:28
    แม้จะเป็นจุดที่โอกาสไม่เอื้ออำนวย
    ต่อการรวมกันของสสารบางชนิด
  • 3:28 - 3:31
    น้ำมันและน้ำ ไม่ผสมรวมกัน เป็นตัวอย่าง
  • 3:31 - 3:35
    แต่ในกรณีของแอมโมเนียม ไนเตรต
    หรือสสารอื่นๆในถุงเย็น
  • 3:35 - 3:39
    แรงผลักไม่มากพอที่จะเปลี่ยนเป็นต่อ
  • 3:39 - 3:43
    และการเคลื่อนที่อย่างสุ่ม
    ทำให้อนุภาคที่ประกอบด้วยของแข็งแยกจากกัน
  • 3:43 - 3:47
    โดยละลายลงในน้ำ
    และไม่กลับมาอยู่ในสถานะของแข็งอีก
  • 3:47 - 3:51
    เพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายๆ ถุงเย็นของคุณ
    เย็นขึ้นเพราะการเคลื่อนที่อย่างสุ่ม
  • 3:51 - 3:55
    เพิ่มการสร้างสัดส่วนซึ่ง
    ของแข็งและของเหลวผสมกัน
  • 3:55 - 3:59
    และทั้งหมดนี้
    มีความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคอ่อนกว่า
  • 3:59 - 4:01
    มีการเคลื่อนที่ของอนุภาคโดยรวมน้อยลง
  • 4:01 - 4:05
    และมีความร้อนน้อยลง
    กว่าภายในถุงที่ไม่เคยถูกใช้
  • 4:05 - 4:08
    ดังนั้น ในขณะที่ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นได้
    จากเอนโทรปี
  • 4:08 - 4:11
    อาจทำให้คุณบาดเจ็บได้แต่แรก
  • 4:11 - 4:15
    มันยังรับผิดชอบในส่วนการให้ความเย็นสบาย
    ที่บรรเทาอาการปวดของคุณ
Title:
ทำไมถุงเย็นถึงเย็นเร็วนัก - จอห์น โพลลาด (John Pollard)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-cold-packs-get-cold-so-fast-john-pollard

ถ้าคุณเอาน้ำเข้าช่องแข็ง มันจะใช้เวลาสองสามชั่วโมงเพื่อทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วทำไมถุงเย็นจึงเปลี่ยนจากอุณหภูมิห้องลงไปเกือบเยือกแข็งในไม่กี่วินาที จอห์น โพลลาด ให้รายละเอียดเคมีของถุงเย็น และให้ความกระจ่างกับแนวคิดของพลังงานและเอนโทรปีตลอดการบรรยาย

แบบเรียนโดย John Pollard, แอนิเมชั่นโดย Karrot Animation.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:32

Thai subtitles

Revisions