นิยายของความทรงจำ
-
0:01 - 0:05ฉันจะขอเล่าเกี่ยวกับคดีทางกฎหมายหนึ่งที่ฉันเคยทำ
-
0:05 - 0:08เกี่ยวกับชายที่ชื่อว่า สตีฟ ไททัส
-
0:08 - 0:11ไททัสเป็นผู้จัดการร้านอาหาร
-
0:11 - 0:16ตอนนั้นเขาอายุ 31 ปี อาศัยอยู่ที่ซีแอตเติ้ล กรุงวอชิงตัน
-
0:16 - 0:17เขาหมั้นหมายอยู่กับเกรทเช่น
-
0:17 - 0:20กำลังจะแต่งงานกัน เธอเป็นรักแท้ของเขา
-
0:20 - 0:23คืนหนึ่ง ทั้งคู่ออกไป
-
0:23 - 0:26ทานอาหารค่ำโรแมนติคที่ร้านอาหาร
-
0:26 - 0:27ขณะที่พวกเขากำลังกลับบ้าน
-
0:27 - 0:30ตำรวจนายหนึ่งสั่งให้พวกเขาจอดรถ
-
0:30 - 0:34ปรากฎว่า รถของไททัสดูค่อนข้างคล้ายกับรถคันหนึ่ง
-
0:34 - 0:37ซึ่งคนที่ขับรถคันนี้ในช่วงเย็นวันเดียวกัน
-
0:37 - 0:41เป็นคนข่มขืนผู้หญิงที่ขอโดยสารรถไปด้วย
-
0:41 - 0:44และไททัสก็หน้าตาคล้ายๆ กับโจรข่มขืนคนนั้น
-
0:44 - 0:47ตำรวจจึงนำรูปภาพของไททัส
-
0:47 - 0:50ไปรวมกับรูปภาพสำหรับการชี้ตัว
-
0:50 - 0:52และโชว์ให้ผู้เสียหายดูในเวลาต่อมา
-
0:52 - 0:54เธอชี้ไปที่รูปของไททัส
-
0:54 - 0:58และบอกว่า "คนนี้ดูเหมือนที่สุด"
-
0:58 - 1:02ตำรวจและอัยการจึงดำเนินการพิจารณาคดี
-
1:02 - 1:05ตอนที่สตีฟ ไททัส ถูกนำตัวมาขึ้นศาลในข้อหาข่มขืน
-
1:05 - 1:07เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้ขึ้นมาบนแท่นพยาน
-
1:07 - 1:11และกล่าวว่า "ฉันมั่นใจอย่างแน่นอนว่าเป็นเขา"
-
1:11 - 1:14ไททัสจึงถูกตัดสินลงโทษ
-
1:14 - 1:16เขาป่าวประกาศว่าตัวเองบริสุทธิ์
-
1:16 - 1:19ครอบครัวของเขากรีดร้องใส่คณะลูกขุน
-
1:19 - 1:22คู่หมั้นของเขาทรุดตัวลงไปร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่พื้น
-
1:22 - 1:25และไททัส ก็ถูกนำตัวเข้าห้องขัง
-
1:25 - 1:29คุณจะทำอย่างไร เมื่อเรื่องมาถึงจุดนี้
-
1:29 - 1:30คุณจะทำอย่างไร
-
1:30 - 1:34ไททัสสูญเสียความเชื่อมั่นในระบบกฎหมายโดยสิ้นเชิง
-
1:34 - 1:36แต่เขาก็ยังได้ความคิดหนึ่ง
-
1:36 - 1:38เขาโทรไปหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
-
1:38 - 1:42เขาได้รับความสนใจจากนักข่าวสืบสวนคนหนึ่ง
-
1:42 - 1:47และนักข่าวคนนั้นก็เป็นผู้หาโจรข่มขืนตัวจริงจนพบ
-
1:47 - 1:50คนที่สารภาพในที่สุดว่าเป็นผู้ลงมือข่มขืนครั้งนี้
-
1:50 - 1:53คนที่ถูกคาดว่าลงมือข่มขืนมาแล้ว 50 ครั้ง
-
1:53 - 1:55ในพื้นที่นั้น
-
1:55 - 1:58และเมื่อข้อมูลนี้ถูกส่งไปถึงผู้พิพากษา
-
1:58 - 2:01ผู้พิพากษาจึงปล่อยไททัสเป็นอิสระ
-
2:01 - 2:05ว่ากันจริงๆแล้ว เคสนี้ก็น่าจะสิ้นสุดที่ตรงนี้
-
2:05 - 2:06มันน่าจะจบ
-
2:06 - 2:08ไททัสน่าจะมองว่ามันช่างเป็นปีที่เลวร้าย
-
2:08 - 2:12ปีของการถูกกล่าวหาและดำเนินคดี แต่มันก็สิ้นสุดลงแล้ว
-
2:12 - 2:14เรื่องมันไม่ได้จบลงแบบนั้น
-
2:14 - 2:17ไททัสรู้สึกขมขื่นมาก
-
2:17 - 2:20เขาสูญเสียหน้าที่การงาน เขาเอามันกลับคืนมาไม่ได้
-
2:20 - 2:21เขาสูญเสียคู่หมั้น
-
2:21 - 2:24เธอทนอยู่กับอารมณ์โกรธแค้นตลอดเวลาของเขาไม่ได้
-
2:24 - 2:26เขาสูญเสียเงินเก็บทั้งหมด
-
2:26 - 2:29เขาก็เลยตัดสินใจยื่นฟ้อง
-
2:29 - 2:32ฟ้องตำรวจและคนอื่นๆ ที่เขารู้สึกว่า
-
2:32 - 2:34มีส่วนรับผิดชอบกับความทุกข์ทรมานของเขา
-
2:34 - 2:39ตอนนั้นเองที่ฉันได้เข้ามาเริ่มทำงานเกี่ยวกับเคสนี้
-
2:39 - 2:41โดยพยายามหาคำตอบว่า
-
2:41 - 2:43จากที่ผู้เสียหายเคยพูดว่า
-
2:43 - 2:44"คนนี้ดูเหมือนที่สุด"
-
2:44 - 2:49กลายมาเป็น "ฉันมั่นใจอย่างแน่นอนว่าเป็นเขา" ไปได้อย่างไร
-
2:49 - 2:52ไททัสหมกมุ่นอยู่กับคดีของเขามาก
-
2:52 - 2:55เขาคิดเกี่ยวกับมันตลอดทุกช่วงเวลาที่ลืมตาตื่น
-
2:55 - 2:59และก่อนขึ้นศาลเพียงไม่กี่วัน
-
2:59 - 3:02เขาตื่นขึ้นมาในเช้าวันหนึ่ง
-
3:02 - 3:03รู้สึกเจ็บปวดจนตัวงอ
-
3:03 - 3:06และตายเพราะหัวใจล้มเหลวจากความเครียด
-
3:06 - 3:09เขาอายุได้ 35 ปี
-
3:09 - 3:14ดังนั้น ฉันได้รับเชิญเข้ามาทำเคสของไททัส
-
3:14 - 3:17เพราะฉันเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตวิทยา
-
3:17 - 3:20ฉันศึกษาเกี่ยวกับความจำ
ฉันได้ค้นคว้าเรื่องความจำมาหลายสิบๆ ปี -
3:20 - 3:24และถ้าฉันได้รู้จักใครบนเครื่องบิน
-
3:24 - 3:26เรื่องนี้เกิดตอนที่กำลังบินไปสก็อตแลนด์
-
3:26 - 3:28ถ้าฉันได้รู้จักใครบนเครื่องบิน
-
3:28 - 3:31และถามกันประมาณว่า "คุณทำงงทำงานอะไร"
-
3:31 - 3:32ฉันก็จะบอกว่า "ฉันศึกษาเกี่ยวกับความจำ"
-
3:32 - 3:36พวกเขาก็มักจะเล่าให้ฟังว่ามีปัญหาเรื่องจดจำชื่อ
-
3:36 - 3:38หรือไม่ก็มีญาติที่เป็นอัลไซเมอร์
-
3:38 - 3:40หรือปัญหาอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับความจำ
-
3:40 - 3:43แต่ฉันต้องบอกพวกเขาว่า
-
3:43 - 3:46ฉันไม่ได้ศึกษาเวลาที่ผู้คนหลงลืม
-
3:46 - 3:49ฉันศึกษาเรื่องที่ตรงกันข้าม เวลาที่พวกเขาจดจำ
-
3:49 - 3:52เวลาที่พวกเขาจำสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น
-
3:52 - 3:54หรือจำสิ่งที่แตกต่าง
-
3:54 - 3:56จากที่มันเป็นอยู่จริงๆ
-
3:56 - 4:01ฉันศึกษาเรื่องความทรงจำเท็จ
-
4:01 - 4:05มันน่าเศร้าที่ สตีฟ ไททัส ไม่ใช่คนเดียว
-
4:05 - 4:09ที่ถูกตัดสินลงโทษจากความทรงจำเท็จของคนอื่น
-
4:09 - 4:13ที่สหรัฐอเมริกา มีโครงการหนึ่ง
-
4:13 - 4:15มีการรวบรวมข้อมูล
-
4:15 - 4:19จากผู้บริสุทธิ์ 300 คน
-
4:19 - 4:23จำเลย 300 คนที่ถูกตัดสินลงโทษในอาชญากรรม
ที่พวกเขาไม่ได้ก่อ -
4:23 - 4:28พวกเขาต้องติดคุกเป็น 10, 20, 30 ปี
ในข้อหาก่ออาชญากรรมเหล่านี้ -
4:28 - 4:30และปัจจุบันผลการทดสอบดีเอ็นเอก็พิสูจน์ว่า
-
4:30 - 4:33จริงๆ แล้วพวกเขาบริสุทธิ์
-
4:33 - 4:36และเมื่อมีการวิเคราะห์ดคีเหล่านั้น
-
4:36 - 4:38พบว่าสามในสี่ของผู้บริสุทธิ์
-
4:38 - 4:44ถูกลงโทษพราะความทรงจำเท็จ
ความทรงจำที่ผิดของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ -
4:44 - 4:45ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ
-
4:45 - 4:48เช่นเดียวกับคณะลูกขุนที่ตัดสินโทษผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น
-
4:48 - 4:51และคณะลูกขุนที่ตัดสินโทษไททัส
-
4:51 - 4:53หลายๆ คนเชื่อว่าความจำ
-
4:53 - 4:54ทำงานเหมือนเป็นเครื่องบันทึก
-
4:54 - 4:57คุณแค่บันทึกข้อมูล
-
4:57 - 4:59แล้วก็ค่อยนึกย้อนกลับไปแล้วเล่นใหม่
-
4:59 - 5:03เวลาที่ต้องตอบคำถาม หรือระบุรูปภาพ
-
5:03 - 5:05แต่หลายทศวรรษที่ทำงานด้านจิตวิทยามา
-
5:05 - 5:08ได้แสดงให้เห็นว่ามันไม่เป็นความจริงเลย
-
5:08 - 5:11ความจำของคนเรามันสร้างต่อเติมได้
-
5:11 - 5:12มันสร้างขึ้นใหม่ได้
-
5:12 - 5:16ความจำทำงานเหมือนกับวิกิพีเดียมากกว่า
-
5:16 - 5:21คุณเข้าไปเปลี่ยนแปลงมันได้ คนอื่นก็ทำได้เหมือนกัน
-
5:21 - 5:26ฉันเริ่มศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความจำนี้
-
5:26 - 5:28ในช่วงปี 1970
-
5:28 - 5:33ฉันทำการทดลองโดยให้คนได้ดู
-
5:33 - 5:35เหตุการณ์จำลองของอาชญากรรมและอุบัติเหตุต่างๆ
-
5:35 - 5:39แล้วก็ตั้งคำถามดูว่าพวกเขาจำอะไรได้บ้าง
-
5:39 - 5:43มีกรณีหนึ่ง เราให้ดูเหตุการณ์จำลองอุบัติเหตุ
-
5:43 - 5:44แล้วก็ถามคนดูว่า
-
5:44 - 5:47รถวิ่งมาด้วยความเร็วขนาดไหนตอนที่ชนกัน
-
5:47 - 5:49และก็ถามคนอีกกลุ่มว่า
-
5:49 - 5:52รถวิ่งมาด้วยความเร็วขนาดไหนตอนที่พุ่งชนกันอย่างจัง
-
5:52 - 5:55ถ้าเราถามนำโดยใช้คำว่า "พุ่งชนกันอย่างจัง"
-
5:55 - 5:59พยานจะตอบเป็นระดับความเร็วที่สูงกว่า
-
5:59 - 6:03และยิ่งไปกว่านั้น คำถามนำ "พุ่งชนกันอย่างจัง" นั้น
-
6:03 - 6:05ทำให้คนมีแนวโน้มที่จะบอกเราว่า
-
6:05 - 6:08พวกเขาเห็นเศษกระจกแตกในที่เกิดเหตุ
-
6:08 - 6:12ทั้งๆ ที่มันไม่มีเศษกระจกแตกอยู่เลย
-
6:12 - 6:15อีกการค้นคว้าหนึ่ง เราให้ดูเหตุการณ์จำลองอุบัติเหตุ
-
6:15 - 6:19ที่มีรถวิ่งฝ่าสี่แยกที่มีป้ายหยุด
-
6:19 - 6:24ถ้าเราถามคำถามที่บอกเป็นนัยว่ามันเป็นป้ายให้ทาง
-
6:24 - 6:28พยานหลายคนก็จะบอกว่า พวกเขาจำได้ว่ามันเป็นป้ายให้ทาง
-
6:28 - 6:31ที่สี่แยกนั้น ไม่ใช้ป้ายหยุด
-
6:31 - 6:33คุณอาจจะคิดว่า แหม
-
6:33 - 6:35นี่มันเป็นเหตุการณ์ที่ถูกถ่ายไว้
-
6:35 - 6:36มันไม่ได้ทำให้คนรู้สึกเครียดเท่าไหร่
-
6:36 - 6:39ความผิดพลาดแบบเดียวกันจะเกิดขึ้นไหม
-
6:39 - 6:42ถ้ามันเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียดจริงๆ
-
6:42 - 6:45จากการค้นคว้าหนึ่งที่เราเพิ่งเผยแพร่ไปเมื่อสองสามเดือนก่อน
-
6:45 - 6:48เราได้คำตอบให้กับคำถามนี้
-
6:48 - 6:50เพราะสิ่งที่ผิดไปจากเดิมเกี่ยวกับการค้นคว้านี้
-
6:50 - 6:56คือเราจัดให้คนได้อยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดมาก
-
6:56 - 6:58ผู้ที่รับการทดสอบนี้
-
6:58 - 7:01เป็นกลุ่มทหารกองทัพสหรัฐ
-
7:01 - 7:05ที่กำลังอยู่ในระหว่างการฝึกที่แสนทรมาน
-
7:05 - 7:08ที่สอนให้พวกเขารู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร
-
7:08 - 7:12ถ้าพวกเขาโดนจับไปเป็นเชลยสงคราม
-
7:12 - 7:14และส่วนหนึ่งของการฝึกนี้
-
7:14 - 7:18พวกทหารจะถูกสอบปากคำด้วยท่าทีก้าวร้าว
-
7:18 - 7:23จงเกลียดจงชัง และมีการใช้กำลัง เป็นเวลา 30 นาที
-
7:23 - 7:26หลังจากนั้นพวกเขาต้องพยายามระบุตัว
-
7:26 - 7:29คนที่เป็นผู้สอบปากคำนั้น
-
7:29 - 7:33และตอนที่พวกเขาได้รับข้อมูลชี้นำ
-
7:33 - 7:35ที่บอกใบ้ว่าเป็นคนอื่น
-
7:35 - 7:39ทหารหลายคนชี้ตัวผู้สอบปากคำผิดคน
-
7:39 - 7:43มักจะระบุตัวคนที่ไม่แม้แต่จะดูคล้าย
-
7:43 - 7:46กับตัวผู้สอบปากคำตัวจริง
-
7:46 - 7:49การศึกษาค้นคว้าเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นว่า
-
7:49 - 7:52เมื่อคุณป้อนข้อมูลที่ผิดๆ ให้กับผู้คน
-
7:52 - 7:56เกี่ยวกับประสบการณ์บางอย่างที่พวกเขาอาจจะเคยเจอ
-
7:56 - 8:01คุณสามารถบิดเบือน หรือ เจือปน
หรือเปลี่ยนแปลงความทรงจำของพวกเขาได้ -
8:01 - 8:04ในโลกแห่งความจริง
-
8:04 - 8:07การให้ข้อมูลที่ผิดๆ มีอยู่ทุกที่
-
8:07 - 8:08เราได้รับข้อมูลผิดๆ
-
8:08 - 8:11ไม่ใช่เพียงแค่ถูกตั้งคำถามชี้นำ
-
8:11 - 8:13แต่ถ้าเราคุยกับพยานคนอื่นๆ
-
8:13 - 8:16ที่อาจจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ
-
8:16 - 8:18ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดแก่เรา
-
8:18 - 8:23หรือถ้าเราได้ดูข่าวเกี่ยวกับบางเหตุการณ์ที่เราอาจจะเคยเจอมาก่อน
-
8:23 - 8:26สิ่งเหล่านี้ล้วนเปิดโอกาส
-
8:26 - 8:30ให้ความทรงจำของเราเกิดการปนเปื้อน
-
8:30 - 8:34ในช่วงปี 1990 เราเริ่มเห็น
-
8:34 - 8:39ปัญหาเกี่ยวกับความจำที่ยิ่งร้ายแรงกว่า
-
8:39 - 8:42ผู้ป่วยบางคน เข้ารับการบำบัดเพราะมีปัญหาอย่างหนึ่ง
-
8:42 - 8:45อาจจะเพราะพวกเขามีอาการหดหู่ มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ
-
8:45 - 8:48แต่พวกเขากลับออกมาจากการบำบัด
-
8:48 - 8:50ด้วยปัญหาอีกอย่างหนึ่ง
-
8:50 - 8:54คือการมีความทรงจำที่เลวร้่ายเกี่ยวกับการกระทำทารุณที่น่ากลัว
-
8:54 - 8:56บางครั้งก็เกิดจากการทำพิธีกรรมที่เกี่ยวกับซาตาน
-
8:56 - 9:01บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆ ที่สุดแสนจะแปลกพิสดาร
-
9:01 - 9:03มีผู้หญิงคนหนึ่งกลับออกมาจากการบำบัดจิต
-
9:03 - 9:06พร้อมกับเชื่อว่าเธอได้ทนทุกข์เป็นเวลาหลายปี
-
9:06 - 9:09จากการทารุณที่เป็นพิธีกรรม ซึ่งเธอถูกทำให้ตั้งท้อง
-
9:09 - 9:12และถูกผ่าท้องเอาเด็กทารกออกไป
-
9:12 - 9:14แต่ร่างกายเธอไม่มีรอยแผลเป็นให้เห็น
-
9:14 - 9:16ไม่มีแม้แต่หลักฐานทางร่างกายอื่นๆ
-
9:16 - 9:19ที่จะสามารถสนับสนุนเรื่องราวของเธอได้
-
9:19 - 9:22เมื่อฉันเริ่มตรวจสอบดูกรณีเหล่านี้
-
9:22 - 9:24ฉันสงสัยว่า
-
9:24 - 9:26ความทรงจำแปลกประหลาดพวกนี้มาจากไหน
-
9:26 - 9:30และสิ่งที่ฉันค้นพบก็คือ เกือบทั้งหมดของสถานการณ์เหล่านี้
-
9:30 - 9:36เกี่ยวข้องกับรูปแบบเฉพาะบางอย่างของการบำบัดทางจิต
-
9:36 - 9:38ฉันจึงตั้งคำถามว่า
-
9:38 - 9:41ในการบำบัดทางจิต มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่
-
9:41 - 9:44อย่่างเช่น การฝึกให้จินตนาการ
-
9:44 - 9:46หรือการตีความหมายของความฝัน
-
9:46 - 9:48หรือการสะกดจิต ในบางกรณี
-
9:48 - 9:52หรือการเปิดรับข้อมูลที่ผิดๆ ในบางกรณี
-
9:52 - 9:55สิ่งเหล่านี้ได้ชี้นำให้ผู้ป่วย
-
9:55 - 9:57สร้างความทรงจำที่แปลกประหลาด
-
9:57 - 10:00ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เหล่านี้ ใช่หรือไม่
-
10:00 - 10:02ฉันจึงออกแบบการทดลองบางอย่าง
-
10:02 - 10:07เพื่อพยายามศึกษาขั้นตอนที่ใช้ในการบำบัดจิต
-
10:07 - 10:10เพื่อที่ฉันจะได้ค้นคว้าเกี่ยวกับ
-
10:10 - 10:14การพัฒนาของความทรงจำที่ผิดไปอย่างมากเหล่านี้
-
10:14 - 10:16หนึ่งในกรณีแรกๆ ที่เราได้ทำการค้นคว้า
-
10:16 - 10:19เราใช้การชี้นำ
-
10:19 - 10:23ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการบำบัดจิต
ที่เราได้เห็นในกรณีต่างๆเหล่านี้ -
10:23 - 10:25เราใช้การชี้นำแนวนี้
-
10:25 - 10:27และปลูกฝังความทรงจำเท็จว่า
-
10:27 - 10:30ตอนที่คุณยังเด็ก อายุประมาณ 5 หรือ 6 ขวบ
-
10:30 - 10:32คุณหลงทางในห้าง
-
10:32 - 10:35คุณกลัวมาก ร้องห่มร้องไห้
-
10:35 - 10:37สุดท้ายก็มีผู้ใหญ่คนหนึ่งมาช่วยคุณไว้
-
10:37 - 10:39และพาคุณกลับไปหาครอบครัว
-
10:39 - 10:42เราประสบความสำเร็จในการฝังความทรงจำนี้
-
10:42 - 10:46ลงในจิตใจของประมาณหนึ่งในสี่ของผู้รับการทดลอง
-
10:46 - 10:48คุณอาจจะคิดว่า แหม
-
10:48 - 10:50เหตุการณ์แบบนั้นไม่ได้ทำให้รู้สึกเครียดเท่าไหร่
-
10:50 - 10:53แต่พวกเรา และผู้ตรวจสอบคนอื่นๆ ก็ได้ฝัง
-
10:53 - 10:56ความทรงจำที่ผิดไปมากๆ เกี่ยวกับสิ่งที่
-
10:56 - 10:59ผิดปกติมากกว่าเดิม
และสร้างความตึงเครียดมากกว่าเดิมมาแล้ว -
10:59 - 11:02มีการค้นคว้าหนึ่งในรัฐเทนเนสซี
-
11:02 - 11:04นักวิจัยได้ฝังความจำเท็จ ว่า
-
11:04 - 11:07ตอนคุณเป็นเด็ก คุณเกือบจมน้ำ
-
11:07 - 11:09และมีเจ้าหน้ากู้ชีพที่มาช่วยไว้
-
11:09 - 11:11และอีกการค้นคว้าหนึ่งในแคนาดา
-
11:11 - 11:14นักวิจัยฝังความทรงจำเท็จไว้ว่า
-
11:14 - 11:15ตอนคุณยังเด็ก
-
11:15 - 11:19อะไรบางอย่างที่เลวร้าย เช่น การถูกสัตว์ที่ดุร้ายทำร้ายเอา
-
11:19 - 11:20ได้เกิดขึ้นกับคุณ
-
11:20 - 11:24ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้รับการทดสอบถูกฝังความจำได้สำเร็จ
-
11:24 - 11:26และมีการค้นคว้าหนึ่งในอิตาลี
-
11:26 - 11:29นักวิจัยฝังความจำเท็จไว้ว่า
-
11:29 - 11:34ตอนที่คุณยังเด็ก คุณได้เห็นการถูกปีศาจเข้าสิง
-
11:34 - 11:36ฉันอยากจะขอเสริมว่า มันอาจจะดูเหมือนว่า
-
11:36 - 11:40พวกเรากำลังสร้างความบอบช้ำทางจิตใจ
ให้กับผู้เข้ารับการทดลองเหล่านี้ -
11:40 - 11:42เพื่อเห็นแก่วิทยาศาสตร์
-
11:42 - 11:46แต่การศึกษาของเราได้ผ่านการประเมินอย่างถี่ถ้วน
-
11:46 - 11:48จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
-
11:48 - 11:50ที่ได้ตัดสินใจว่า
-
11:50 - 11:54ความลำบากใจชั่วคราวที่
-
11:54 - 11:57เหล่าผู้รับการทดลองต้องเผชิญในการค้นคว้าทั้งหลายนี้
-
11:57 - 12:01เทียบได้น้อยกว่าความสำคัญของปัญหา
-
12:01 - 12:04เพื่อที่เราจะได้เข้าใจกระบวนการของความทรงจำ
-
12:04 - 12:07และการใช้ความทรงจำในทางที่ผิด ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่
-
12:07 - 12:10ในหลายๆ แห่งบนโลกนี้
-
12:10 - 12:13ฉันต้องประหลาดใจ
-
12:13 - 12:17เมื่อฉันได้เผยแพร่งานชิ้นนี้ และเริ่มออกไปพูด
-
12:17 - 12:21ต่อต้านการบำบัดจิตแนวเฉพาะนี้
-
12:21 - 12:25มันได้ก่อปัญหาที่ค่อนข้างร้ายแรงให้ฉันพอสมควร
-
12:25 - 12:30คือการถูกปองร้าย
โดยเริ่มจากพวกนักบำบัดจิตแนวเก็บกดความทรงจำ -
12:30 - 12:31ที่รู้สึกเหมือนถูกโจมตี
-
12:31 - 12:35และก็จากผู้ป่วยที่ถูกควบคุมจิตใจโดยนักบำบัดเหล่านั้น
-
12:35 - 12:38บางครั้งฉันถึงกับต้องมีคนคอยคุ้มกันพร้อมอาวุธตามงานบรรยาย
-
12:38 - 12:40ที่ฉันได้รับเชิญให้ไปพูด
-
12:40 - 12:44มีคนพยายามปลุกปั่นรณรงค์
เขียนเป็นจดหมายให้ฉันโดนไล่ออก -
12:44 - 12:46แต่ที่น่าจะแย่ที่สุดคือ
-
12:46 - 12:49ตอนนั้นฉันสงสัยว่าผู้หญิงคนหนึ่ง
-
12:49 - 12:51เป็นผู้บริสุทธิ์จากการถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิด
-
12:51 - 12:54โดยลูกที่โตเป็นสาวแล้วของเธอ
-
12:54 - 12:57เธอกล่าวหาว่าแม่ของเธอล่วงละเมิดทางเพศ
-
12:57 - 12:59โดยกล่าวหาจากความทรงจำที่ถูกเก็บกดไว้
-
12:59 - 13:02และลูกสาวที่ฟ้องร้องแม่ตัวเองนี้ ก็อนุญาติให้มีการบันทึก
-
13:02 - 13:05เรื่องราวของตัวเธอเอง และเผยแพร่ในที่สาธารณะ
-
13:05 - 13:08ฉันรู้สึกไม่ชอบมาพากลกับเรื่องนี้
-
13:08 - 13:10จึงเริ่มสืบดู
-
13:10 - 13:15และในที่สุดก็พบข้อมูลที่ทำให้ฉันเชื่อว่า
-
13:15 - 13:17แม่คนนี้เป็นผู้บริสุทธิ์
-
13:17 - 13:20ฉันได้ตีพิมพ์เปิดเผยเรื่องราวของเคสนี้
-
13:20 - 13:23และไม่นานหลังจากนั้น ลูกสาวที่ฟ้องร้องแม่ตัวเอง
-
13:23 - 13:25ก็ยื่นฟ้องศาล
-
13:25 - 13:27ถึงแม้ว่าฉันจะไม่เคยเอ่ยชื่อของเธอเลย
-
13:27 - 13:32เธอก็ฟ้องร้องฉันด้วยข้อหาหมิ่นประมาท
และบุกรุกความเป็นส่วนตัว -
13:32 - 13:34ฉันต้องใช้เวลาเกือบ 5 ปี
-
13:34 - 13:41ในการต่อสู้คดีที่แสนวุ่นวายและไม่มีอะไรน่าพอใจเลย
-
13:41 - 13:45แต่ในที่สุด ในที่สุดมันก็จบลง และฉันก็สามารถ
-
13:45 - 13:47กลับไปทำงานต่อได้จริงๆ เสียที
-
13:47 - 13:49อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้น ฉันได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง
-
13:49 - 13:52ของเทรนด์หนึ่งที่น่าหวั่นใจในอเมริกา
-
13:52 - 13:54คือการที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างถูกฟ้องร้อง
-
13:54 - 13:59เพียงเพราะการพูดเปิดเผย
เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นประเด็นขัดแย้งสาธารณะ -
13:59 - 14:02เมื่อฉันได้กลับไปทำงาน ฉันก็ตั้งคำถามว่า
-
14:02 - 14:05ถ้าฉันฝังความทรงจำเท็จลงในจิตใจของคุณ
-
14:05 - 14:06มันจะมีผลสะท้อนที่ตามมาหรือไม่
-
14:06 - 14:08มันจะมีผลกระทบกับความคิดของคุณ
-
14:08 - 14:10หรือพฤติกรรมของคุณในเวลาต่อมาหรือไม่
-
14:10 - 14:13การค้นคว้าแรกที่เราได้ฝังความจำเท็จไว้ว่า
-
14:13 - 14:16ตอนที่คุณเป็นเด็ก คุณไม่สบายจากการกินอาหารบางอย่าง
-
14:16 - 14:19เช่น ไข่ต้ม ผักดอง ไอศครีมรสสตอเบอร์รี่
-
14:19 - 14:22เราได้พบว่า เมื่อเราฝังความทรงจำเท็จแบบนี้ไปแล้ว
-
14:22 - 14:24มันทำให้ผู้คนลดความอยากอาหารลง
-
14:24 - 14:27เวลาไปปิคนิคข้างนอก
-
14:27 - 14:31ความทรงจำเท็จ ไม่จำเป็นต้องเลวร้าย
หรือไม่น่าพอใจเสมอไป -
14:31 - 14:33ถ้าเราฝังความทรงจำที่อบอุ่น
-
14:33 - 14:36เกี่ยวกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างหน่อไม้ฝรั่ง
-
14:36 - 14:39เราก็ทำให้คนอยากกินหน่อไม้ฝรั่งมากขึ้น
-
14:39 - 14:42ดังนั้น การค้นคว้าเหล่านี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่า
-
14:42 - 14:44คุณสามารถฝังความทรงจำเท็จ
-
14:44 - 14:45และมันก็จะมีผลสะท้อน
-
14:45 - 14:50ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม เนิ่นนานหลังจากที่ความทรงจำคงอยู่
-
14:50 - 14:53แต่ที่มาพร้อมกับความสามารถในการ
-
14:53 - 14:56ฝังความทรงจำ และการควบคุมพฤติกรรม
-
14:56 - 15:00ที่เห็นได้ชัดก็คือประเด็นเรื่องจริยธรรมบางประเด็นที่สำคัญ
-
15:00 - 15:03เช่น เราควรจะใช้เทคโนโลยีทางด้านจิตใจนี้ได้เมื่อไหร่
-
15:03 - 15:07และ มันควรจะแม้แต่ถูกนำมาใช้หรือไม่
-
15:07 - 15:10ตามจริยธรรม นักบำบัดไม่ควรฝังความจำเท็จ
-
15:10 - 15:11ลงในจิตใจของคนไข้
-
15:11 - 15:14ถึงแม้ว่ามันจะช่วยในการรักษา
-
15:14 - 15:15แต่มันไม่ควรจะมีอะไรมาหยุดยั้งคนที่เป็นพ่อแม่ที่จะลองทำดู
-
15:15 - 15:20กับลูกของพวกเขาที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่น้ำหนักเกิน
หรือเป็นโรคอ้วน -
15:20 - 15:22และเมื่อฉันแนะนำอย่างนี้ออกไป
-
15:22 - 15:26ก็เกิดการโวยวายคัดค้านขึ้นมาอีก
-
15:26 - 15:30"เอาอีกแล้วไง เธอสนับสนุนให้พ่อแม่โกหกลูก"
-
15:30 - 15:32สวัสดีค่ะ ซานตาคลอส (เสียงหัวเราะ)
-
15:32 - 15:41ฉันหมายถึงว่า เรามองมันได้อีกแง่หนึ่ง
-
15:41 - 15:43คุณจะเลือกอะไรระหว่าง
-
15:43 - 15:47ลูกที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน อายุสั้น
-
15:47 - 15:48และอะไรต่อมิอะไรที่ตามมา
-
15:48 - 15:51หรือลูกที่มีความทรงจำเท็จนิดหน่อย
-
15:51 - 15:54ฉันรู้ว่าจะเลือกอะไรเพื่อลูกของฉันเอง
-
15:54 - 15:58แต่อาจจะเป็นเพราะงานของฉัน
ทำให้ฉันแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ -
15:58 - 16:01คนส่วนใหญ่มักจะทะนุถนอนความทรงจำของตัวเอง
-
16:01 - 16:03รู้ดีว่ามันแสดงถึงตัวตนของพวกเขา
-
16:03 - 16:05ว่าเป็นใคร มาจากไหน
-
16:05 - 16:08และฉันก็เข้าใจถึงคุณค่าในสิ่งนั้น ฉันก็รู้สึกอย่างเดียวกัน
-
16:08 - 16:10แต่ฉันได้เรียนรู้จากงานของฉันว่า
-
16:10 - 16:14ในความทรงจำมันมีเรื่องที่แต่งขึ้นอยู่มากมายเท่าไหร่
-
16:14 - 16:17ถ้าฉันจะได้เรียนรู้อะไรจากหลายสิบปี
-
16:17 - 16:19ของการพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือ
-
16:19 - 16:22เพียงแค่มีใครบางคนบอกอะไรบางอย่างกับคุณ
-
16:22 - 16:23และเชาพูดด้วยความมั่นใจ
-
16:23 - 16:26เพียงเพราะเขาบอกรายละเอียดได้เยอะ
-
16:26 - 16:29เพียงเพราะเขาแสดงอารมณ์ตอนที่พูดออกมา
-
16:29 - 16:32ไม่ได้หมายความว่ามันเกิดขึ้นตามนั้นจริงๆ
-
16:32 - 16:36เราไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างความทรงจำที่แท้จริง
กับความทรงจำเท็จ อย่างน่าเชื่อถือได้ -
16:36 - 16:39เราจำเป็นต้องมีการหาพยานหลักฐานสนับสนุน
ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย -
16:39 - 16:42การค้นพบดังกล่าว ทำให้ฉันเกิดความอดทน
-
16:42 - 16:44ต่อความผิดพลาดของความจำที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
-
16:44 - 16:47ที่เกิดขึ้นโดยเพื่อนๆ และครอบครัวของฉัน
-
16:47 - 16:52การค้นพบดังกล่าวอาจจะช่วยสตีฟ ไททัสไว้ได้
-
16:52 - 16:55ชายคนที่อนาคตทั้งหมดของเขาถูกกระชากไป
-
16:55 - 16:58โดยความทรงจำเท็จ
-
16:58 - 17:01แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ควรจำให้ขึ้นใจว่า
-
17:01 - 17:02มันจะดีกว่าสำหรับเรา
-
17:02 - 17:06ว่าความทรงจำ เช่นเดียวกับอิสรภาพ
-
17:06 - 17:10เป็นสิ่งที่เปราะบาง
-
17:10 - 17:13ขอบคุณค่ะ ขอบคุณค่ะ
-
17:13 - 17:15ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)
-
17:15 - 17:19ขอบคุณมากค่ะ (เสียงปรบมือ)
- Title:
- นิยายของความทรงจำ
- Speaker:
- อลิซาเบ็ธ ลอฟทัส (Elizabeth Loftus)
- Description:
-
นักจิตวิทยา อลิซาเบ็ธ ลอฟทัส ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความทรงจำ จะให้ถูกต้องกว่านั้นก็คือ เธอศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำเท็จ เมื่อคนเราจำสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น หรือจำผิดไปเป็นอีกอย่างจากเรื่องจริง มันเป็นเรื่องปกติธรรมดามากกว่าที่คุณคิด ซึ่งลอฟทัสได้แบ่งปันเรื่องราวและสถิติที่น่าตกใจ และยกประเด็นคำถามทางจริยธรรมที่สำคัญ ที่เราทุกคนควรจะจดจำไว้เพื่อพิจารณา
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 17:36
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Chatthip Chaichakan accepted Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Chatthip Chaichakan commented on Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Chatthip Chaichakan edited Thai subtitles for How reliable is your memory? | |
![]() |
Patama Patamajinda edited Thai subtitles for How reliable is your memory? |
Chatthip Chaichakan
Love your translation ka. It is beautifully simple and easy to understand. Glad I am the reviewer of your work ka. :)
Kelwalin Dhanasarnsombut
Well done, both of you :)