< Return to Video

แคทเธอรีน มอห์ร์ ปลูกบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • 0:01 - 0:04
    ก่อนอื่นเลยนะคะ ดิฉันเป็นคนโก๊ะๆหัวหมอๆค่ะ
  • 0:04 - 0:06
    ดิฉันเป็นพวกชีวจิตรักอาหารปลอดสาร
  • 0:06 - 0:09
    จำกัดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) และถ้วนถี่กับทุกสิ่งอัน
  • 0:09 - 0:12
    และดิฉันก็อยากจะสร้างอะไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมค่ะ
  • 0:12 - 0:14
    แต่ดิฉันเป็นคนช่างสงสัยอย่างมาก
  • 0:14 - 0:16
    กับพวกบทความที่มีคุณค่าประโยชน์อะไรทั้งหลาย
  • 0:16 - 0:18
    คนเราอยากมีอำนาจสั่งว่าอะไรดีไม่ดี
  • 0:18 - 0:20
    แต่กลับมีข้อมูลน้อยเหลือเกิน
  • 0:20 - 0:22
    ที่จะบอกดิฉันว่าจะทำอะไรพวกนั้นได้ยังไง
  • 0:22 - 0:24
    และเพราะอย่างนั้น ดิฉันก็เลยต้องมาหาวิธีเอาเองค่ะ
  • 0:24 - 0:27
    ยกตัวอย่างนะคะ: เช่นว่า อันเนี่ยเป็นเรื่องเลวร้ายหรือเปล่า?
  • 0:27 - 0:30
    ดิฉันเผลอทำโยเกิร์ตอินทรีย์หล่นก้อนนึง
  • 0:30 - 0:32
    เป็นโยเกิร์ตที่ได้มาจากวัวท้องถิ่นที่รู้จักตัวเองและมีความสุข
  • 0:32 - 0:34
    หล่นอยู่บนเคาน์เตอร์
  • 0:34 - 0:37
    ดิฉันก็เลยไปหยิบกระดาษเช็ดมือ (paper towel) และก็จะเช็ดออก
  • 0:37 - 0:40
    แต่ว่า ดิฉันจะใช้กระดาษเช็ดมือนี่ได้หรือเปล่านะ? (เสียงหัวเราะ)
  • 0:40 - 0:43
    คำตอบอยู่ที่ปริมาณพลังงานแฝงค่ะ
  • 0:43 - 0:45
    มันคือปริมาณของพลังงานที่ใช้ไปกว่าที่จะได้เป็น
  • 0:45 - 0:47
    กระดาษเช็ดมือ หรือปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ในกระดาษ
  • 0:47 - 0:49
    ทุกๆครั้งที่ดิฉันใช้กระดาษเช็ดมือ
  • 0:49 - 0:51
    ดิฉันใช้
  • 0:51 - 0:53
    พลังงานแฝงและปริมาณน้ำแฝงมากเท่านี้
  • 0:53 - 0:55
    เช็ดเสร็จ ขว้างทิ้ง
  • 0:55 - 0:58
    ตอนนี้ถ้าดิฉันลองเปรียบเทียบกับผ้าขนหนูเนื้อฝ้าย
  • 0:58 - 1:00
    ซึ่งดิฉันใช้ซ้ำได้เป็นพันครั้ง
  • 1:00 - 1:03
    ดิฉันไม่ใช้พลังงานแฝงเยอะเท่าไหร่
  • 1:03 - 1:05
    จนกระทั่งดิฉันนำผ้าผืนที่เปื้อนโยเกิร์ตนั้นไปซัก
  • 1:05 - 1:08
    ส่วนนี้เป็นพลังงานในการซักล้าง
  • 1:08 - 1:10
    ดังนั้น ถ้าเกิดดิฉันโยนผ้านี่เข้าไปในเครื่องซักผ้า
  • 1:10 - 1:12
    ก็หมายความว่าดิฉันได้ใส่พลังงานกับน้ำ
  • 1:12 - 1:14
    กลับเข้าไปในผ้าผืนนี้
  • 1:14 - 1:16
    ยกเว้นเสียแต่ว่าดิฉันใช้เครื่องซักผ้าประสิทธิภาพสูงแบบที่มีประตูเปิดด้านหน้า
  • 1:16 - 1:19
    ซึ่งก็ทำให้ดูดีขึ้นมานิดนึง
  • 1:19 - 1:21
    แล้วถ้าเป็นกระดาษเช็ดมือที่ทำมาด้วยกรรมวิธีนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
  • 1:21 - 1:23
    ที่มาแบบความยาวครึ่งแผ่นปรกติ
  • 1:23 - 1:25
    ตอนนี้กลายเป็นว่ากระดาษเช็ดมือแบบนี้ดูดีกว่า
  • 1:25 - 1:27
    ลืมๆกระดาษเช็ดมือไปดีกว่า ไปดูฟองน้ำกัน
  • 1:27 - 1:30
    ดิฉันเช็ดด้วยฟองน้ำ แล้วเปิดน้ำก๊อกล้างออกแบบนี้
  • 1:30 - 1:32
    ดิฉันใช้พลังงานน้อยกว่ามากโขอยู่ แต่ก็ใช้น้ำมากกว่าจมเลย
  • 1:32 - 1:34
    ยกเว้นว่าคุณจะทำอะไรคล้ายๆดิฉัน คือ เปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้
  • 1:34 - 1:36
    โดยบิดมาทางฝั่งน้ำร้อนตอนที่คุณเปิดก๊อก
  • 1:36 - 1:38
    ถ้าเป็นแบบนี้คือคุณใช้พลังงานมากกว่า
  • 1:38 - 1:40
    แย่กว่านั้นถ้าคุณเปิดน้ำร้อนทิ้งไว้รอมันอุ่น
  • 1:40 - 1:42
    เพื่อชะล้างผ้าที่สกปรก
  • 1:42 - 1:44
    ตอนนี้อะไรๆก็เอาไม่อยู่แล้วค่ะ
  • 1:44 - 1:46
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:46 - 1:48
    ที่พูดมานี่ก็คือว่า
  • 1:48 - 1:51
    บางครั้งอะไรที่เราไม่คาดคิด
  • 1:51 - 1:53
    ตำแหน่งที่เราบิดหัวก๊อกน้ำ
  • 1:53 - 1:55
    มีผลกระทบมากกว่าอะไรอย่างอื่นทั้งหมด
  • 1:55 - 1:57
    ที่เราพยายามจำกัดจำเขี่ย
  • 1:57 - 1:59
    ตอนนี้ลองมาคิดดูว่าคนพิลึกๆอย่างดิฉันเนี่ย
  • 1:59 - 2:01
    พยายามจะปลูกบ้านขึ้นมาสักหลัง
  • 2:01 - 2:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:04 - 2:07
    นั่นคือสิ่งที่สามีกับดิฉันกำัลังทำอยู่ตอนนี้ค่ะ
  • 2:07 - 2:09
    ถ้างั้น ดิฉันกับสามีก็เลยอยากรู้ว่าเราจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากน้อยอย่างไร
  • 2:09 - 2:11
    และก็มีบทความอยู่ร้อยแปด
  • 2:11 - 2:13
    ที่สอนเราว่าเราจะได้อย่างเสียอย่างกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง
  • 2:13 - 2:15
    บทความพวกนั้นก็อย่างที่คาดไว้
  • 2:15 - 2:18
    ว่าจะบอกเราให้จำกัดจำเขี่ยกับสิ่งละอันพันละน้อยให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  • 2:18 - 2:20
    แต่กลับเป็นว่า ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
  • 2:20 - 2:22
    บ้านทั่วๆไป
  • 2:22 - 2:25
    จะใช้พลังงานประมาณ 300 เมกกะวัตต์-ชั่วโมง
  • 2:25 - 2:27
    เป็นพลังงานแฝง
  • 2:27 - 2:29
    นี่เป็นพลังงานที่ใช้ในการปลูกบ้านขึ้นมาทั้งหมดนะคะ
  • 2:29 - 2:31
    เท่ากับกระดาษเช็ดมือเป็นล้านๆแผ่น
  • 2:31 - 2:34
    ดิฉันกับสามีก็อยากรู้ว่าพวกเราจะทำให้ดีขึ้นได้สักขนาดไหน
  • 2:34 - 2:36
    ดังนั้น ก็เหมือนคนอื่นๆมากมายนั่นแหละค่ะ
  • 2:36 - 2:38
    เราสองคนเริ่มจากบ้านหลังหนึ่งในที่ดินผืนหนึ่ง
  • 2:38 - 2:40
    ดิฉันจะเสนอให้คุณชมโดยให้การก่อสร้างแบบทั่วไปอยู่ด้านบน
  • 2:40 - 2:42
    แล้วก็ที่พวกเราทำอยู่ด้านล่างนี้นะคะ
  • 2:42 - 2:44
    ตอนแรก เราก็ทุบบ้านทิ้งก่อน
  • 2:44 - 2:47
    ซึ่งก็ใช้พลังงาน แต่ถ้าเราใช้วิธีรื้อถอน
  • 2:47 - 2:49
    ถอดออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วก็เอาชิ้นพวกนี้ไปใช้
  • 2:49 - 2:51
    เราก็จะได้พลังงานคืนกลับมา
  • 2:51 - 2:53
    ต่อจากนั้น ดิฉันกับสามีก็ขุดหลุมใหญ่ๆ
  • 2:53 - 2:55
    สำหรับใ่ส่ถังเก็บน้ำฝน
  • 2:55 - 2:57
    เพื่อจะได้มีน้ำรดสวนโดยไม่ต้องใช้ประปาค่ะ
  • 2:57 - 2:59
    จากนั้นเราก็วางฐานราก
  • 2:59 - 3:01
    ไว้สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทางอ้อม
  • 3:01 - 3:03
    มาถึงตอนนี้ เราสามารถลดพลังงานแฝง
  • 3:03 - 3:05
    ได้ประมาณร้อยละ 25
  • 3:05 - 3:08
    โดยใช้คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอยสูง (high fly ash concrete)
  • 3:08 - 3:10
    จากนั้นก็ขึ้นโครงบ้าน
  • 3:10 - 3:12
    อันนี้คือโครง แผ่นไม้
  • 3:12 - 3:14
    วัสดุคอมโพสิต
  • 3:14 - 3:17
    ซึ่งค่อนข้างยากที่จะรู้ว่าพลังงานแฝงเป็นเท่าไหร่
  • 3:17 - 3:19
    แต่ว่าพวกนี้ก็สามารถเป็นทรัพยากรที่ยั่งยืน
  • 3:19 - 3:22
    ถ้าเราใช้แผ่นไม้ที่รับรองโดยเอฟเอสซี (F.S.C. certified lumber) อะนะคะ
  • 3:22 - 3:24
    ต่อจากนั้น พวกเราก็มาเจอ
  • 3:24 - 3:26
    อะไรอย่างแรกเลยที่ทำให้เราต้องแปลกใจ
  • 3:26 - 3:29
    ถ้าเราใช้หน้าต่างอลูมิเนียมกับบ้านนี้
  • 3:29 - 3:32
    เราจะใช้พลังงานถึงสองเท่าเลยค่ะ
  • 3:32 - 3:34
    ขั้นตอนนี้ ผลิตภัณฑ์พีวีซี (PVC) ดูเหมือนจะดีกว่านิดนึง
  • 3:34 - 3:37
    แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับไม้ที่พวกเราเลือกไว้ค่ะ
  • 3:37 - 3:39
    จากนั้นเราก็ติดตั้งระบบท่อส่งน้ำ
  • 3:39 - 3:41
    ระบบไฟฟ้า และ ระบบความร้อนความเย็นและระบายอากาศ (HVAC)
  • 3:41 - 3:43
    และฉนวน
  • 3:43 - 3:46
    โฟมแบบฉีดนี่เป็นฉนวนชั้นเยี่ยม มันซึมเข้าไปในรอยแตกได้ด้วย
  • 3:46 - 3:49
    แต่ว่ามันมีพลังงานแฝงค่อนข้างจะสูงมาก
  • 3:49 - 3:52
    เซลลูโลสแบบฉีด หรือพวกเศษผ้ายีนส์สีน้ำเงิน
  • 3:52 - 3:54
    เป็นทางเลือกที่ใช้พลังงานต่ำกว่ามากเลย
  • 3:54 - 3:56
    พวกเราใช้ฟางก้อนสี่เหลี่ยม
  • 3:56 - 3:58
    มาใส่ตรงที่จะเป็นห้องสมุดของเราด้วย
  • 3:58 - 4:00
    ซึ่งถือว่าไร้พลังงานแฝงค่ะ
  • 4:00 - 4:02
    พอมาถึงเรื่องของผนังสำเร็จรูป
  • 4:02 - 4:04
    ถ้าเราใช้ อิโคร๊อค (EcoRock) ก็จะมี
  • 4:04 - 4:07
    พลังงานแฝงอยู่หนึ่งในสี่ของผนังสำเร็จรูปชนิดมาตรฐาน
  • 4:07 - 4:09
    ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนของการเก็บงาน
  • 4:09 - 4:12
    ซึ่งเป็นหัวข้อของบทความพวกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
  • 4:12 - 4:13
    พอต้องมาทำอะไรที่ขนาดใหญ่อย่างบ้านเนี่ย
  • 4:13 - 4:16
    ดูจะไม่สร้างความแตกต่างอะไรขึ้นมาเลยค่ะ
  • 4:16 - 4:18
    แต่สื่อกลับมามุ่งประเด็นเอากับเรื่องพวกนี้
  • 4:18 - 4:20
    ยกเว้นพื้นบ้านนะคะ
  • 4:20 - 4:22
    ถ้าเราใส่พื้นพรมทั่วบ้าน
  • 4:22 - 4:25
    จะมีพลังงานแฝงประมาณ 1/10 ของพลังงานทั้งบ้าน
  • 4:25 - 4:27
    ยกเว้นว่าเราใช้คอนกรีตหรือไม้
  • 4:27 - 4:29
    พลังงานแฝงจะต่ำกว่ามากเลย
  • 4:29 - 4:32
    เอาหล่ะค่ะ ตอนนี้เราก็บวกพลังงานที่ใช้ในขั้นตอนการก่อสร้างเข้าไปแล้วรวมยอดให้หมด
  • 4:32 - 4:34
    เราได้ปลูกบ้านที่มีพลังงานแฝงน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
  • 4:34 - 4:37
    ของการปลูกบ้านแบบเดียวกันนี้อย่างที่ทำกันทั่วไป
  • 4:37 - 4:39
    แต่ก่อนที่เราจะลูบ
  • 4:39 - 4:41
    หลังชื่นชมตัวเองมากเกินไป
  • 4:41 - 4:44
    เราได้ใช้พลังงานเข้าไป 151 เมกกะวัตต์-ชั่วโมง
  • 4:44 - 4:46
    ไปในขั้นตอนการก่อสร้างบ้านหลังนี้
  • 4:46 - 4:48
    เทียบกับการที่ว่าเรามีบ้านหลังเก่าอยู่ตรงนี้มาก่อนแล้ว
  • 4:48 - 4:50
    ดังนั้น คำถามก็คือ
  • 4:50 - 4:52
    เราจะเอาพลังงานตรงนั้นทดแทนกลับคืนมาได้ยังไง
  • 4:52 - 4:55
    ถ้างั้น ดิฉันก็จะทดเวลาการอยู่ในบ้านประหยัดพลังงานหลังใหม่นี้ไปในอนาคต
  • 4:55 - 4:58
    เทียบกับถ้าอยู่บ้านหลังเก่าที่ไม่ใช่บ้านประหยัดพลังงาน
  • 4:58 - 5:01
    ปรากฏว่าเราจะได้พลังงานกลับมาทดแทนกันได้ใน 6 ปี
  • 5:01 - 5:03
    แต่เกิดว่าดิฉันเลือกปรับปรุงบ้านหลังเก่า
  • 5:03 - 5:05
    ให้มีประสิทธิภาพพลังงานมากขึ้น
  • 5:05 - 5:07
    ถ้าเป็นกรณีนั้น
  • 5:07 - 5:10
    ก็จะใช้เวลาราวๆ 20 ปีถึงจะคุ้มทุนทางพลังงาน
  • 5:11 - 5:13
    แต่ว่าถ้าหากดิฉันไม่นับพลังงานแฝง
  • 5:13 - 5:15
    ก็จะทำให้เราต้องใช้เวลา
  • 5:15 - 5:17
    กว่า 50 ปีจึงจะถึงจุดคุ้มทุนทางพลังงาน
  • 5:17 - 5:19
    เทียบกับบ้านหลังเก่าที่ได้รับการปรับปรุงอะนะคะ
  • 5:19 - 5:21
    ถ้างั้น มันหมายความว่าไงล่ะ?
  • 5:21 - 5:24
    ถ้านับตามสัดส่วนพลังงานในบ้านหลังนี้ที่เป็นของดิฉัน
  • 5:24 - 5:26
    ก็จะเท่ากับประมาณ
  • 5:26 - 5:28
    ที่ดิฉันขับรถในหนึ่งปี
  • 5:28 - 5:30
    จะเท่ากับประมาณห้าเท่า
  • 5:30 - 5:32
    ถ้าหากว่าดิฉันกินมังสวิรัติตลอดปี
  • 5:32 - 5:35
    แต่ว่าเจ้าช้างในห้องนั่งเล่นที่ ถี่ลอดตาข้าง ของดิฉันหน่ะมันบินได้ค่ะ
  • 5:35 - 5:38
    พูดกันชัดๆก็คือ ดิฉันต้องเดินจากงาน TED นี่กลับบ้านหละ
  • 5:38 - 5:41
    แต่การคำนวณทั้งหมดนี้
  • 5:41 - 5:43
    ที่ใช้คำนวณพลังงานแฝงอยู่บนเว็บบล๊อกอันนี้
  • 5:43 - 5:46
    และจำไว้นะคะว่า บางครั้งสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิด
  • 5:46 - 5:49
    ว่าจะทำอะไรได้กลับกลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอะไรๆได้มากที่สุด
  • 5:49 - 5:51
    ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)
Title:
แคทเธอรีน มอห์ร์ ปลูกบ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Speaker:
Catherine Mohr
Description:

ในการบรรยายสั้นๆที่สนุกสนานและอัดแน่นด้วยข้อมูลที่ TED U แคทเธอรีน มอห์ร์ (Catherine Mohr) พาเราก้าวผ่านไปยังการตัดสินใจแบบโก๊ะหัวหมอที่เธอใช้ในการปลูกบ้านหลังใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยวิิเคราะห์ตัวเลขพลังงานที่ใช้อย่างแท้จริง ไม่มีอะไรซ่อนเร้น ตัวเลือกไหนที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ตัวเลือกที่คุณคิดแน่ๆ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
05:52
Heartfelt Grace added a translation

Thai subtitles

Revisions