ก่อนอื่นเลยนะคะ ดิฉันเป็นคนโก๊ะๆหัวหมอๆค่ะ
ดิฉันเป็นพวกชีวจิตรักอาหารปลอดสาร
จำกัดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) และถ้วนถี่กับทุกสิ่งอัน
และดิฉันก็อยากจะสร้างอะไรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมค่ะ
แต่ดิฉันเป็นคนช่างสงสัยอย่างมาก
กับพวกบทความที่มีคุณค่าประโยชน์อะไรทั้งหลาย
คนเราอยากมีอำนาจสั่งว่าอะไรดีไม่ดี
แต่กลับมีข้อมูลน้อยเหลือเกิน
ที่จะบอกดิฉันว่าจะทำอะไรพวกนั้นได้ยังไง
และเพราะอย่างนั้น ดิฉันก็เลยต้องมาหาวิธีเอาเองค่ะ
ยกตัวอย่างนะคะ: เช่นว่า อันเนี่ยเป็นเรื่องเลวร้ายหรือเปล่า?
ดิฉันเผลอทำโยเกิร์ตอินทรีย์หล่นก้อนนึง
เป็นโยเกิร์ตที่ได้มาจากวัวท้องถิ่นที่รู้จักตัวเองและมีความสุข
หล่นอยู่บนเคาน์เตอร์
ดิฉันก็เลยไปหยิบกระดาษเช็ดมือ (paper towel) และก็จะเช็ดออก
แต่ว่า ดิฉันจะใช้กระดาษเช็ดมือนี่ได้หรือเปล่านะ? (เสียงหัวเราะ)
คำตอบอยู่ที่ปริมาณพลังงานแฝงค่ะ
มันคือปริมาณของพลังงานที่ใช้ไปกว่าที่จะได้เป็น
กระดาษเช็ดมือ หรือปริมาณน้ำที่แฝงอยู่ในกระดาษ
ทุกๆครั้งที่ดิฉันใช้กระดาษเช็ดมือ
ดิฉันใช้
พลังงานแฝงและปริมาณน้ำแฝงมากเท่านี้
เช็ดเสร็จ ขว้างทิ้ง
ตอนนี้ถ้าดิฉันลองเปรียบเทียบกับผ้าขนหนูเนื้อฝ้าย
ซึ่งดิฉันใช้ซ้ำได้เป็นพันครั้ง
ดิฉันไม่ใช้พลังงานแฝงเยอะเท่าไหร่
จนกระทั่งดิฉันนำผ้าผืนที่เปื้อนโยเกิร์ตนั้นไปซัก
ส่วนนี้เป็นพลังงานในการซักล้าง
ดังนั้น ถ้าเกิดดิฉันโยนผ้านี่เข้าไปในเครื่องซักผ้า
ก็หมายความว่าดิฉันได้ใส่พลังงานกับน้ำ
กลับเข้าไปในผ้าผืนนี้
ยกเว้นเสียแต่ว่าดิฉันใช้เครื่องซักผ้าประสิทธิภาพสูงแบบที่มีประตูเปิดด้านหน้า
ซึ่งก็ทำให้ดูดีขึ้นมานิดนึง
แล้วถ้าเป็นกระดาษเช็ดมือที่ทำมาด้วยกรรมวิธีนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
ที่มาแบบความยาวครึ่งแผ่นปรกติ
ตอนนี้กลายเป็นว่ากระดาษเช็ดมือแบบนี้ดูดีกว่า
ลืมๆกระดาษเช็ดมือไปดีกว่า ไปดูฟองน้ำกัน
ดิฉันเช็ดด้วยฟองน้ำ แล้วเปิดน้ำก๊อกล้างออกแบบนี้
ดิฉันใช้พลังงานน้อยกว่ามากโขอยู่ แต่ก็ใช้น้ำมากกว่าจมเลย
ยกเว้นว่าคุณจะทำอะไรคล้ายๆดิฉัน คือ เปิดก๊อกน้ำทิ้งไว้
โดยบิดมาทางฝั่งน้ำร้อนตอนที่คุณเปิดก๊อก
ถ้าเป็นแบบนี้คือคุณใช้พลังงานมากกว่า
แย่กว่านั้นถ้าคุณเปิดน้ำร้อนทิ้งไว้รอมันอุ่น
เพื่อชะล้างผ้าที่สกปรก
ตอนนี้อะไรๆก็เอาไม่อยู่แล้วค่ะ
(เสียงหัวเราะ)
ที่พูดมานี่ก็คือว่า
บางครั้งอะไรที่เราไม่คาดคิด
ตำแหน่งที่เราบิดหัวก๊อกน้ำ
มีผลกระทบมากกว่าอะไรอย่างอื่นทั้งหมด
ที่เราพยายามจำกัดจำเขี่ย
ตอนนี้ลองมาคิดดูว่าคนพิลึกๆอย่างดิฉันเนี่ย
พยายามจะปลูกบ้านขึ้นมาสักหลัง
(เสียงหัวเราะ)
นั่นคือสิ่งที่สามีกับดิฉันกำัลังทำอยู่ตอนนี้ค่ะ
ถ้างั้น ดิฉันกับสามีก็เลยอยากรู้ว่าเราจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากน้อยอย่างไร
และก็มีบทความอยู่ร้อยแปด
ที่สอนเราว่าเราจะได้อย่างเสียอย่างกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง
บทความพวกนั้นก็อย่างที่คาดไว้
ว่าจะบอกเราให้จำกัดจำเขี่ยกับสิ่งละอันพันละน้อยให้ได้ประโยชน์สูงสุด
แต่กลับเป็นว่า ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
บ้านทั่วๆไป
จะใช้พลังงานประมาณ 300 เมกกะวัตต์-ชั่วโมง
เป็นพลังงานแฝง
นี่เป็นพลังงานที่ใช้ในการปลูกบ้านขึ้นมาทั้งหมดนะคะ
เท่ากับกระดาษเช็ดมือเป็นล้านๆแผ่น
ดิฉันกับสามีก็อยากรู้ว่าพวกเราจะทำให้ดีขึ้นได้สักขนาดไหน
ดังนั้น ก็เหมือนคนอื่นๆมากมายนั่นแหละค่ะ
เราสองคนเริ่มจากบ้านหลังหนึ่งในที่ดินผืนหนึ่ง
ดิฉันจะเสนอให้คุณชมโดยให้การก่อสร้างแบบทั่วไปอยู่ด้านบน
แล้วก็ที่พวกเราทำอยู่ด้านล่างนี้นะคะ
ตอนแรก เราก็ทุบบ้านทิ้งก่อน
ซึ่งก็ใช้พลังงาน แต่ถ้าเราใช้วิธีรื้อถอน
ถอดออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วก็เอาชิ้นพวกนี้ไปใช้
เราก็จะได้พลังงานคืนกลับมา
ต่อจากนั้น ดิฉันกับสามีก็ขุดหลุมใหญ่ๆ
สำหรับใ่ส่ถังเก็บน้ำฝน
เพื่อจะได้มีน้ำรดสวนโดยไม่ต้องใช้ประปาค่ะ
จากนั้นเราก็วางฐานราก
ไว้สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทางอ้อม
มาถึงตอนนี้ เราสามารถลดพลังงานแฝง
ได้ประมาณร้อยละ 25
โดยใช้คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอยสูง (high fly ash concrete)
จากนั้นก็ขึ้นโครงบ้าน
อันนี้คือโครง แผ่นไม้
วัสดุคอมโพสิต
ซึ่งค่อนข้างยากที่จะรู้ว่าพลังงานแฝงเป็นเท่าไหร่
แต่ว่าพวกนี้ก็สามารถเป็นทรัพยากรที่ยั่งยืน
ถ้าเราใช้แผ่นไม้ที่รับรองโดยเอฟเอสซี (F.S.C. certified lumber) อะนะคะ
ต่อจากนั้น พวกเราก็มาเจอ
อะไรอย่างแรกเลยที่ทำให้เราต้องแปลกใจ
ถ้าเราใช้หน้าต่างอลูมิเนียมกับบ้านนี้
เราจะใช้พลังงานถึงสองเท่าเลยค่ะ
ขั้นตอนนี้ ผลิตภัณฑ์พีวีซี (PVC) ดูเหมือนจะดีกว่านิดนึง
แต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับไม้ที่พวกเราเลือกไว้ค่ะ
จากนั้นเราก็ติดตั้งระบบท่อส่งน้ำ
ระบบไฟฟ้า และ ระบบความร้อนความเย็นและระบายอากาศ (HVAC)
และฉนวน
โฟมแบบฉีดนี่เป็นฉนวนชั้นเยี่ยม มันซึมเข้าไปในรอยแตกได้ด้วย
แต่ว่ามันมีพลังงานแฝงค่อนข้างจะสูงมาก
เซลลูโลสแบบฉีด หรือพวกเศษผ้ายีนส์สีน้ำเงิน
เป็นทางเลือกที่ใช้พลังงานต่ำกว่ามากเลย
พวกเราใช้ฟางก้อนสี่เหลี่ยม
มาใส่ตรงที่จะเป็นห้องสมุดของเราด้วย
ซึ่งถือว่าไร้พลังงานแฝงค่ะ
พอมาถึงเรื่องของผนังสำเร็จรูป
ถ้าเราใช้ อิโคร๊อค (EcoRock) ก็จะมี
พลังงานแฝงอยู่หนึ่งในสี่ของผนังสำเร็จรูปชนิดมาตรฐาน
ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนของการเก็บงาน
ซึ่งเป็นหัวข้อของบทความพวกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด
พอต้องมาทำอะไรที่ขนาดใหญ่อย่างบ้านเนี่ย
ดูจะไม่สร้างความแตกต่างอะไรขึ้นมาเลยค่ะ
แต่สื่อกลับมามุ่งประเด็นเอากับเรื่องพวกนี้
ยกเว้นพื้นบ้านนะคะ
ถ้าเราใส่พื้นพรมทั่วบ้าน
จะมีพลังงานแฝงประมาณ 1/10 ของพลังงานทั้งบ้าน
ยกเว้นว่าเราใช้คอนกรีตหรือไม้
พลังงานแฝงจะต่ำกว่ามากเลย
เอาหล่ะค่ะ ตอนนี้เราก็บวกพลังงานที่ใช้ในขั้นตอนการก่อสร้างเข้าไปแล้วรวมยอดให้หมด
เราได้ปลูกบ้านที่มีพลังงานแฝงน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
ของการปลูกบ้านแบบเดียวกันนี้อย่างที่ทำกันทั่วไป
แต่ก่อนที่เราจะลูบ
หลังชื่นชมตัวเองมากเกินไป
เราได้ใช้พลังงานเข้าไป 151 เมกกะวัตต์-ชั่วโมง
ไปในขั้นตอนการก่อสร้างบ้านหลังนี้
เทียบกับการที่ว่าเรามีบ้านหลังเก่าอยู่ตรงนี้มาก่อนแล้ว
ดังนั้น คำถามก็คือ
เราจะเอาพลังงานตรงนั้นทดแทนกลับคืนมาได้ยังไง
ถ้างั้น ดิฉันก็จะทดเวลาการอยู่ในบ้านประหยัดพลังงานหลังใหม่นี้ไปในอนาคต
เทียบกับถ้าอยู่บ้านหลังเก่าที่ไม่ใช่บ้านประหยัดพลังงาน
ปรากฏว่าเราจะได้พลังงานกลับมาทดแทนกันได้ใน 6 ปี
แต่เกิดว่าดิฉันเลือกปรับปรุงบ้านหลังเก่า
ให้มีประสิทธิภาพพลังงานมากขึ้น
ถ้าเป็นกรณีนั้น
ก็จะใช้เวลาราวๆ 20 ปีถึงจะคุ้มทุนทางพลังงาน
แต่ว่าถ้าหากดิฉันไม่นับพลังงานแฝง
ก็จะทำให้เราต้องใช้เวลา
กว่า 50 ปีจึงจะถึงจุดคุ้มทุนทางพลังงาน
เทียบกับบ้านหลังเก่าที่ได้รับการปรับปรุงอะนะคะ
ถ้างั้น มันหมายความว่าไงล่ะ?
ถ้านับตามสัดส่วนพลังงานในบ้านหลังนี้ที่เป็นของดิฉัน
ก็จะเท่ากับประมาณ
ที่ดิฉันขับรถในหนึ่งปี
จะเท่ากับประมาณห้าเท่า
ถ้าหากว่าดิฉันกินมังสวิรัติตลอดปี
แต่ว่าเจ้าช้างในห้องนั่งเล่นที่ ถี่ลอดตาข้าง ของดิฉันหน่ะมันบินได้ค่ะ
พูดกันชัดๆก็คือ ดิฉันต้องเดินจากงาน TED นี่กลับบ้านหละ
แต่การคำนวณทั้งหมดนี้
ที่ใช้คำนวณพลังงานแฝงอยู่บนเว็บบล๊อกอันนี้
และจำไว้นะคะว่า บางครั้งสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิด
ว่าจะทำอะไรได้กลับกลายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอะไรๆได้มากที่สุด
ขอบคุณค่ะ (เสียงปรบมือ)