< Return to Video

การทำงานของระบบย่อยอาหาร - เอ็มม่า ไบรซ์

  • 0:07 - 0:08
    ในโลกใบนี้
  • 0:08 - 0:14
    มนุษย์บริโภคอาหารเฉลี่ย
    วันละ 1 ถึง 2.7 กิโลกรัม
  • 0:14 - 0:18
    คิดเป็นกว่าปีละ 365 กิโลกรัมต่อคน
  • 0:18 - 0:23
    และกว่า 28,800 กิโลกรัม
    ตลอดช่วงชีวิต
  • 0:23 - 0:27
    อาหารจะลำเลียงผ่านระบบย่อยอาหาร
  • 0:27 - 0:30
    ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะกว่า 10 ชิ้น
    และมีความยาวกว่า 9 เมตร
  • 0:30 - 0:33
    มีเซลล์ทำหน้าที่พิเศษถึง 20 ชนิด
  • 0:33 - 0:38
    นับเป็นระบบที่ซับซ้อนมากที่สุด
    ระบบหนึ่งในร่างกายมนุษย์
  • 0:38 - 0:43
    ทุกส่วนทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง
    เพื่อเป้าหมายหลักอย่างเดียว
  • 0:43 - 0:45
    คือ ย่อยอาหารที่คุณกิน
  • 0:45 - 0:49
    ให้กลายเป็นสารอาหารและพลังงาน
    จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
  • 0:49 - 0:51
    ระบบย่อยอาหารที่ทอดยาวทั่วร่างกาย
  • 0:51 - 0:55
    ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก
  • 0:55 - 0:58
    ส่วนแรก คือ ระบบทางเดินอาหาร
  • 0:58 - 1:00
    มีลักษณะเป็นท่อที่ขดไปมา
    เพื่อส่งผ่านอาหาร
  • 1:00 - 1:06
    โดยผนังด้านในมีพื้นที่กว้าง
    ครอบคลุมถึง 30-40 ตารางเมตร
  • 1:06 - 1:09
    เทียบขนาดได้กับสนามแบดมินตันครึ่งสนาม
  • 1:09 - 1:10
    ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยตับอ่อน
  • 1:10 - 1:11
    ถุงน้ำดี
  • 1:11 - 1:12
    และตับ
  • 1:12 - 1:17
    อวัยวะทั้ง 3 ใช้น้ำย่อยและน้ำดี
    ในการย่อยอาหาร
  • 1:17 - 1:18
    ส่วนที่ 3 ประกอบด้วยเอนไซม์
  • 1:18 - 1:19
    ฮอร์โมน
  • 1:19 - 1:20
    ระบบประสาท
  • 1:20 - 1:21
    และเลือด
  • 1:21 - 1:23
    ทั้งหมดทำงานประสานกันเพื่อย่อยอาหาร
  • 1:23 - 1:25
    ควบคุมระบบการย่อย
  • 1:25 - 1:28
    และส่งต่อสารอาหารที่ย่อยแล้ว
  • 1:28 - 1:30
    ส่วนสุดท้าย คือ เยื่อบุช่องท้อง
  • 1:30 - 1:32
    เนื้อเยื่อขนาดใหญ่ที่รองรับ
  • 1:32 - 1:36
    และยึดตำแหน่ง
    อวัยวะย่อยอาหารในช่องท้อง
  • 1:36 - 1:38
    เพื่อให้อวัยวะทั้งหมดทำหน้าที่ได้
  • 1:38 - 1:42
    ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงาน
    ก่อนที่ลิ้นจะสัมผัสอาหารเสียอีก
  • 1:42 - 1:44
    ความคาดหวังรสชาติที่จะได้ลิ้มลอง
  • 1:44 - 1:48
    จะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายให้ทำงาน
  • 1:48 - 1:52
    โดยผลิตน้ำลายได้มากถึง 1.5 ลิตรต่อวัน
  • 1:52 - 1:54
    เมื่ออาหารอยู่ในปาก
  • 1:54 - 1:56
    น้ำลายจะคลุกเคล้ากับอาหาร
  • 1:56 - 2:01
    เปลี่ยนอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
    เรียกว่า ก้อนอาหาร
  • 2:01 - 2:05
    จากนั้น เอนไซม์ในน้ำลายจะย่อยแป้ง
  • 2:05 - 2:06
    และลำเลียงอาหารไปยังอวัยวะถัดไป
  • 2:06 - 2:11
    ซึ่งเป็นท่อที่มีความยาวถึง 25 เซนติเมตร
    เรียกว่า หลอดอาหาร
  • 2:11 - 2:14
    และไหลลงสู่กระเพาะอาหาร
  • 2:14 - 2:17
    เมื่อระบบประสาทรอบ ๆ
    เนื้อเยื่อหลอดอาหาร
  • 2:17 - 2:20
    สัมผัสก้อนอาหาร มันจะกระตุ้น
    ให้เกิดกระบวนการเพอริสตัลซิส
  • 2:20 - 2:23
    หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
    อย่างต่อเนื่องนั่นเอง
  • 2:23 - 2:26
    ทั้งนี้ เพื่อให้อาหารเคลื่อนไป
    สู่กระเพาะอาหารได้
  • 2:26 - 2:29
    จากนั้น ก็จะเป็นหน้าที่
    ของผนังกระเพาะอาหาร
  • 2:29 - 2:33
    ที่ย่อยก้อนอาหารออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • 2:33 - 2:37
    ฮอร์โมนที่หลั่งจากเซลล์ชั้นต่าง ๆ
    จะกระตุ้นกรด
  • 2:37 - 2:40
    และน้ำย่อยที่อุดมด้วยเอนไซม์
    ออกมาจากผนังกระเพาะอาหาร
  • 2:40 - 2:44
    เพื่อเริ่มกระบวนการย่อยอาหาร
    และโปรตีน
  • 2:44 - 2:46
    ฮอร์โมนดังกล่าวยังกระตุ้นตับอ่อน
  • 2:46 - 2:47
    ตับ
  • 2:47 - 2:48
    และถุงน้ำดี
  • 2:48 - 2:50
    ให้หลั่งน้ำย่อย
  • 2:50 - 2:54
    และน้ำดี ของเหลวสีเหลืองปนเขียว
    เพื่อย่อยไขมัน
  • 2:54 - 2:56
    เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป
  • 2:56 - 2:58
    หลังจากผ่านไป 3 ชั่วโมง
  • 2:58 - 3:03
    ก้อนอาหารจะเปลี่ยนสภาพ
    เป็นของเหลวมีฟองเรียกว่า ไคม์
  • 3:03 - 3:06
    พร้อมเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป
  • 3:06 - 3:08
    ตับจะได้รับน้ำดีจากถุงน้ำดี
  • 3:08 - 3:14
    และหลั่งสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
    ที่เรียกว่าดูโอดีนัม
  • 3:14 - 3:18
    จุดนี้เองที่ไขมันซึ่งลอยอยู่ในไคม์
    จะถูกแยก
  • 3:18 - 3:22
    เพื่อให้ย่อยได้ง่ายขึ้น
    ด้วยน้ำของย่อยตับอ่อนและลำไส้เล็ก
  • 3:22 - 3:24
    ที่ไหลมาดังจุดนี้
  • 3:24 - 3:30
    น้ำย่อยอุดมด้วยเอนไซม์นี้
    จะย่อยโมเลกุลไขมันเป็นกรดไขมัน
  • 3:30 - 3:33
    และกลีเซอรอล เพื่อให้ร่างกาย
    ดูดซึมได้ง่ายขึ้น
  • 3:33 - 3:36
    นอกจากนี้ เอมไซม์ยังช่วยย่อย
  • 3:36 - 3:38
    โปรตีนเป็นกรดอะมิโน
  • 3:38 - 3:41
    และย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคส
  • 3:41 - 3:44
    การย่อยสารอาหารที่ว่ามา
    เกิดขึ้นในลำไส้เล็กส่วนถัดมา
  • 3:44 - 3:46
    คือที่ส่วนกลางและส่วนปลาย
  • 3:46 - 3:50
    ซึ่งมีผนังที่เต็มไปด้วย
    ติ่งเล็ก ๆ เรียกว่าวิลไล
  • 3:50 - 3:54
    เกิดเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่
    ช่วยในการดูดซึมโมเลกุล
  • 3:54 - 3:57
    และส่งต่อเข้าสู่กระแสเลือด
  • 3:57 - 4:00
    ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านสุดท้าย
    ในการลำเลียงสารอาหาร
  • 4:00 - 4:02
    ไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย
  • 4:02 - 4:04
    แต่การเดินทางยังไม่จบเพียงเท่านี้
  • 4:04 - 4:06
    กากใยอาหาร
  • 4:06 - 4:06
    น้ำ
  • 4:06 - 4:09
    และซากเซลล์จากกระบวนการย่อย
  • 4:09 - 4:13
    จะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่
    หรือที่เรียกว่าโคลอน
  • 4:13 - 4:17
    ร่างกายจะดูดซึมน้ำเกือบทั้งหมด
    ที่เหลืออยู่ผ่านผนังลำไส้
  • 4:17 - 4:20
    เหลือเพียงมวลนุ่ม ๆ ที่เรียกว่า อุจจาระ
  • 4:20 - 4:24
    ลำไส้โคลอนจะบีบของเสียนี้
    ไปยังถุงเก็บหรือไส้ตรง
  • 4:24 - 4:26
    ที่ซึ่งเส้นประสาทจะรับรู้ถึง
    ขนาดที่ใหญ่ขึ้น
  • 4:26 - 4:29
    และส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่า
    ถึงเวลาต้องขับถ่ายแล้ว
  • 4:29 - 4:32
    ของเสียจากการย่อยอาหาร
    จะถูกขับออกจากทวารหนัก
  • 4:32 - 4:34
    และการเดินทางที่ยาวนานของอาหาร
  • 4:34 - 4:37
    ซึ่งกินเวลากว่า 30 ถึง 40 ชั่วโมง
  • 4:37 - 4:39
    ก็จะสิ้นสุดลง
Title:
การทำงานของระบบย่อยอาหาร - เอ็มม่า ไบรซ์
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/how-your-digestive-system-works-emma-bryce

ในโลกใบนี้มนุษย์บริโภคอาหารเฉลี่ยวันละ 1-2.7 กิโลกรัม และอาหารจะถูกส่งผ่านระบบย่อยอาหาร ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะ 10 ชิ้น ยาวร่วม 9 เมตร นับเป็นระบบที่ซับซ้อนมากที่สุดระบบหนึ่งในร่างกาย เอ็มม่า ไบรซ์ได้อธิบายวิธีการทำงานของระบบย่อยอาหารในแต่ละส่วน โดยทุก ๆส่วนทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่คุณรับประทานให้กลายเป็นสารอาหารและพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต

บทเรียน โดย เอ็มม่า ไบรซ์, ภาพเคลื่อนไหวประกอบ โดย ออเกนบริคสตูดิโอ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:57
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Thanandon Wongkittithon accepted Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Thanandon Wongkittithon edited Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Unnawut Leepaisalsuwanna rejected Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Thanandon Wongkittithon accepted Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Thanandon Wongkittithon edited Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Thanandon Wongkittithon edited Thai subtitles for How your digestive system works - Emma Bryce
Show all

Thai subtitles

Revisions