แนวคิดใหม่ว่าด้วยทุนในศตวรรษที่ 21
-
0:01 - 0:03ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้มาพูดในวันนี้
-
0:03 - 0:07ผมศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของรายได้
-
0:07 - 0:10และการกระจายความมั่งคั่งมา 15 ปี
-
0:10 - 0:13บทเรียนหนึ่งที่น่าสนใจ
-
0:13 - 0:16ที่ได้จากการวิจัยนี้
-
0:16 - 0:18คือ ในระยะยาว
-
0:18 - 0:21อัตราผลตอบแทนของทุนมีแนวโน้ม
-
0:21 - 0:24จะสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
0:24 - 0:27ทำให้เกิดการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
-
0:27 - 0:28ถึงแม้จะไม่ใช่การกระจุกตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
-
0:28 - 0:31แต่ยิ่งช่องว่างระหว่าง r และ g กว้างขึ้น
-
0:31 - 0:34ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งก็ยิ่งสูงขึ้น
-
0:34 - 0:37ซึ่งสังคมมักโน้มเอียงไปเช่นนั้นในที่สุด
-
0:37 - 0:41นี่คือปัจจัยหลักที่ผมจะพูดถึงในวันนี้
-
0:41 - 0:43แต่ผมขอออกตัวก่อนว่า
-
0:43 - 0:45นี่ไม่ใช่ปัจจัยหลักปัจจัยเดียว
-
0:45 - 0:48ที่มีผลต่อพลวัตของการกระจาย
ของรายได้และความมั่งคั่ง -
0:48 - 0:50ยังมีอีกหลายปัจจัย
-
0:50 - 0:53ที่มีบทบาทสำคัญต่อพลวัตในระยะยาว
-
0:53 - 0:55ของการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง
-
0:55 - 0:56และยังมีข้อมูลอีกมากมาย
-
0:56 - 0:58ที่เราต้องไปเก็บมาทดสอบ
-
0:58 - 1:02วันนี้ เรารู้อะไรมากขึ้นนิดหนึ่ง
เทียบกับที่เคยรู้ -
1:02 - 1:04แต่ก็นับว่าน้อยมาก
-
1:04 - 1:06และที่สำคัญ
ก็ยังมีอีกหลายปัจจัย -- -
1:06 - 1:08ทั้งเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง --
-
1:08 - 1:10ที่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม
-
1:10 - 1:13วันนี้ แม้ผมจะพูดถึงปัจจัยง่าย ๆ นี้
-
1:13 - 1:15แต่ไม่ได้แปลว่าปัจจัยสำคัญอื่น ๆ
-
1:15 - 1:16จะไม่มีความหมาย
-
1:16 - 1:18ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ผมนำมาแสดง
-
1:18 - 1:21มาจากฐานข้อมูล
-
1:21 - 1:22ที่หาได้ในอินเทอร์เน็ต
-
1:22 - 1:23ข้อมูล World Top Income Database
-
1:23 - 1:26ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด
-
1:26 - 1:28เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ
-
1:28 - 1:29เป็นผลงานการรวบรวม
-
1:29 - 1:33ของนักวิจัยนานาชาติมากกว่า 30 ท่าน
-
1:33 - 1:36มาดูข้อสรุปที่เราได้
-
1:36 - 1:37จากฐานข้อมูลนี้กันก่อน
-
1:37 - 1:39แล้วเราจะกลับไปพูดถึง
r ที่สูงกว่า g อีกครั้ง -
1:39 - 1:42ข้อเท็จจริงประการแรกคือ
-
1:42 - 1:45ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
ในสหรัฐฯ และยุโรป -
1:45 - 1:47เปลี่ยนแปลงแบบสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
-
1:47 - 1:49ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
-
1:49 - 1:52ในปี 1900, 1910 นั้น
ความเหลื่อมล้ำของรายได้ -
1:52 - 1:55ในยุโรปนั้น สูงกว่าในสหรัฐฯ มาก
-
1:55 - 1:57ในขณะที่วันนี้
ความเหลื่อมล้ำในสหรัฐฯ สูงกว่ามาก -
1:57 - 1:59ผมขอขยายความหน่อยว่า
-
1:59 - 2:02เหตุผลไม่ได้มาจาก r ที่สูงกว่า g
-
2:02 - 2:06แต่มาจากการเปลี่ยนแปลง
ของอุปสงค์และอุปทานในทักษะ, -
2:06 - 2:09การแข่งขันระหว่างการศึกษาและเทคโนโลยี,
-
2:09 - 2:12โลกาภิวัฒน์, และการเข้าถึงแหล่งความรู้
-
2:12 - 2:14และทักษะที่ไม่เสมอภาคกันในสหรัฐ
-
2:14 - 2:16ที่ที่คุณมีมหาวิทยาลัยระดับท็อป
-
2:16 - 2:18แต่ระบบการศึกษาในระดับล่าง
-
2:18 - 2:20กลับไม่ดีเท่าไหร่
-
2:20 - 2:22ทำให้เกิดความไม่เสมอภาค
ในการเข้าถึงแหล่งทักษะความรู้ -
2:22 - 2:24รวมถึงรายได้ผู้บริหารระดับสูงในสหรัฐฯ
-
2:24 - 2:27ที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
-
2:27 - 2:30จนยากจะอธิบายได้ โดยใช้เพียงระดับการศึกษา
-
2:30 - 2:32แล้วก็ยังมีอีกหลายปัจจัย
-
2:32 - 2:34แต่ผมจะไม่พูดถึงมันมากในวันนี้
-
2:34 - 2:37เพราะผมอยากจะพุ่งประเด็นไปที่
ความเหลื่อมล้ำทางฐานะ -
2:37 - 2:40ผมจะพูดถึงตัวชี้วัดง่ายๆ
-
2:40 - 2:42ของความเหลื่อมล้ำทางรายได้
-
2:42 - 2:44นี่คือส่วนแบ่งของรายได้ทั้งหมด
-
2:44 - 2:47ที่อยู่ในมือของกลุ่มคนรวยที่สุด 10% แรก
-
2:47 - 2:49คุณจะเห็นได้ว่า เมื่อร้อยปีก่อน
-
2:49 - 2:52อยู่ในระดับ 45-50% ในยุโรป
-
2:52 - 2:55และสูงกว่า 40% เล็กน้อย ในสหรัฐ
-
2:55 - 2:57ความเหลื่อมล้ำในยุโรปจึงสูงกว่าสหรัฐ
-
2:57 - 3:00จากนั้น ความเหลื่อมล้ำลดลงอย่างรวดเร็ว
-
3:00 - 3:02ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20
-
3:02 - 3:04และในช่วงทศวรรษหลังๆ มานี้ คุณจะเห็นได้ว่า
-
3:04 - 3:08ความเหลื่อมล้ำในสหรัฐฯ
เพิ่มสูงขึ้นกว่าในยุโรป -
3:08 - 3:10และนี่คือข้อเท็จจริงแรกที่ผมพูดถึง
-
3:10 - 3:14ข้อเท็จจริงที่สอง
เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง -
3:14 - 3:17ข้อค้นพบสำคัญของเรื่องนี้
คือความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งนั้น -
3:17 - 3:20จะสูงกว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้เสมอ
-
3:20 - 3:22และแม้ว่าความไม่เท่าเทียมด้านความมั่งคั่ง
-
3:22 - 3:25จะเพิ่มขึ้นในระยะหลังๆ มานี้
-
3:25 - 3:27ก็ยังไม่สูงเท่า
-
3:27 - 3:29ที่เคยเป็นเมื่อร้อยปีก่อน
-
3:29 - 3:31ถึงแม้ว่าระดับความมั่งคั่งโดยรวม
-
3:31 - 3:33เมื่อเทียบกับรายได้นั้น
-
3:33 - 3:34ได้ฟื้นตัวจากผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ -
3:34 - 3:37ที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 1
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ -
3:37 - 3:38และสงครามโลกครั้งที่ 2
-
3:38 - 3:40ผมจะให้ดูกราฟ 2 กราฟ
-
3:40 - 3:43ที่แสดงข้อเท็จจริงข้อที่ 2 และ 3
-
3:43 - 3:47เริ่มต้นจากระดับความเหลื่อมล้ำ
ของความมั่งคั่ง -
3:47 - 3:51นี่คือสัดส่วนของความมั่งคั่ง
-
3:51 - 3:53ที่ครอบครองโดยกลุ่มที่รวยที่สุด 10%
-
3:53 - 3:56ซึ่งคุณจะเห็นแนวโน้มที่สวนทางกัน
-
3:56 - 3:58ระหว่างสหรัฐฯ และยุโรป
-
3:58 - 4:00แบบเดียวกับในกราฟความเหลื่อมล้ำ
ของรายได้ที่เราได้เห็นไปแล้ว -
4:00 - 4:03การกระจุกตัวของความมั่งคั่งในยุโรป
-
4:03 - 4:05จึงสูงกว่าในสหรัฐฯ เมื่อร้อยปีก่อน
-
4:05 - 4:08แต่ตอนนี้ สถานการณ์กลับตรงข้ามกัน
-
4:08 - 4:10นอกจากนี้ คุณจะเห็นอีกสองประเด็นคือ
-
4:10 - 4:13หนึ่งคือระดับความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง
-
4:13 - 4:16จะสูงกว่าระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้เสมอ
-
4:16 - 4:18กลับไปที่เรื่องความเหลื่อมล้ำทางรายได้
-
4:18 - 4:21สัดส่วนรายได้ในมือคนรวยที่สุด 10% แรก
-
4:21 - 4:24อยู่ที่ 30-50% ของรายได้ทั้งหมด
-
4:24 - 4:27ในขณะที่ ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งนั้น
-
4:27 - 4:30สัดส่วนอยู่ระหว่าง 60% และ 90% เสมอ
-
4:30 - 4:31และนี่ก็คือข้อเท็จจริงข้อแรก
-
4:31 - 4:33ซึ่งสำคัญมากสำหรับเรื่องที่ผมจะพูดต่อไป
-
4:33 - 4:35คือการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
-
4:35 - 4:37จะสูงกว่าการกระจุกตัวของรายได้เสมอ
-
4:37 - 4:39ข้อเท็จจริงข้อที่สองคือ
-
4:39 - 4:43การเติบโตของความเหลื่อมล้ำ
ของความมั่งคั่งในระยะหลัง ๆ -
4:43 - 4:47ยังไม่กลับไปสูงเท่ากับเมื่อปี 1910
-
4:47 - 4:49ความแตกต่างที่เห็นชัดในวันนี้
-
4:49 - 4:51คือความไม่เท่าเทียมทางฐานะยังคงสูงมาก
-
4:51 - 4:54คือ 60-70% ของความมั่งคั่งทั้งหมด
ถูกครอบครองโดยกลุ่มที่รวยที่สุด 10% -
4:54 - 4:56แต่ข่าวดีก็คือ จริง ๆ แล้ว
-
4:56 - 4:58ปัจจุบันนี้ก็ยังดีกว่าเมื่อร้อยปีที่แล้ว
-
4:58 - 5:01ที่ 90% ของความมั่งคั่งในยุโรป
อยู่ในมือคนรวยที่สุด 10% -
5:01 - 5:03ขณะที่ปัจจุบัน
-
5:03 - 5:05เรามีกลุ่มที่ผมเรียกว่า
กลุ่มชนชั้นกลาง 40% -
5:05 - 5:07คือ คนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสูงสุด 10%
-
5:07 - 5:09แต่ก็ไม่ได้อยู่ต่ำกว่า 50%
-
5:09 - 5:11ซึ่งคุณอาจจะมองว่าเป็นชนชั้นกลางมีฐานะ
-
5:11 - 5:15ที่ถือครองประมาณ 20-30%
-
5:15 - 5:16ของความมั่งคั่งทั้งหมดของประเทศ
-
5:16 - 5:20ซึ่งกลุ่มนี้เคยเป็นคนจนเมื่อศตวรรษที่แล้ว
-
5:20 - 5:22ตอนที่ยังไม่มีชนชั้นกลางที่มีฐานะเกิดขึ้น
-
5:22 - 5:24นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
-
5:24 - 5:29ที่น่าสนใจคือ
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง -
5:29 - 5:32ยังไม่ย้อนกลับไปสูงถึงระดับยุค
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 -
5:32 - 5:35แม้ว่าปริมาณความมั่งคั่งโดยรวมนั้น
ได้ฟื้นตัวเต็มที่แล้ว -
5:35 - 5:37นี่คือมูลค่ารวมทั้งหมด
-
5:37 - 5:40ของความมั่งคั่งต่อรายได้
-
5:40 - 5:42คุณจะเห็นว่า โดยเฉพาะในยุโรป
-
5:42 - 5:45ความมั่งคั่งเกือบจะฟื้นกลับไป
เท่าระดับก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 -
5:45 - 5:47ดังนั้น เรากำลังพูดถึง
-
5:47 - 5:50สองด้านที่แตกต่างกันในเรื่องนี้
-
5:50 - 5:51ด้านแรกเกี่ยวกับ
-
5:51 - 5:53ปริมาณความมั่งคั่งมวลรวมที่เราสั่งสม
-
5:53 - 5:55ซึ่งไม่ได้เลวร้ายอะไร
-
5:55 - 5:57ที่เราสั่งสมความมั่งคั่งนี้
-
5:57 - 6:00โดยเฉพาะถ้ามีการกระจายตัวมากขึ้น
-
6:00 - 6:01และกระจุกตัวน้อยลง
-
6:01 - 6:04แต่สิ่งที่เราควรจะให้ความสำคัญ
-
6:04 - 6:06คือ วิวัฒนาการของ
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง -
6:06 - 6:09และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-
6:09 - 6:11เราจะอธิบายอย่างไร
-
6:11 - 6:14ว่าทำไมช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น
ความเหลื่อมล้ำทางฐานะจึงสูงมาก -
6:14 - 6:17ซึ่งหากไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
ก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ -
6:17 - 6:21แล้วอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
-
6:21 - 6:25คราวนี้ มาพูดถึงคำอธิบายของเหตุการณ์นี้
-
6:25 - 6:27และความน่าจะเป็นในอนาคตกันบ้าง
-
6:27 - 6:28ผมขอพูดก่อนว่า
-
6:28 - 6:30วิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้อธิบาย
-
6:30 - 6:32เหตุที่การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
-
6:32 - 6:35สูงกว่าการกระจุกตัวของรายได้
-
6:35 - 6:38น่าจะเป็นโมเดลพลวัตการสืบทอดมรดก
-
6:38 - 6:40ที่ผู้คนมองกลยุทธ์ระยะยาว
-
6:40 - 6:43และสะสมทรัพย์สมบัติด้วยเหตุผลหลายประการ
-
6:43 - 6:46หากผู้คนเพิ่มพูนความมั่งคั่ง
-
6:46 - 6:48เพียงเพื่อประทังชีวิตตัวเอง
-
6:48 - 6:50เช่น เอาไว้จับจ่ายใช้สอย
-
6:50 - 6:51เมื่อแก่ตัวลง
-
6:51 - 6:54หากเป็นเช่นนั้น
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง -
6:54 - 6:56น่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ
-
6:56 - 6:58ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
-
6:58 - 7:00แต่มันยากที่จะอธิบาย
-
7:00 - 7:02ว่าทำไมเราจึงมี
ความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง -
7:02 - 7:03สูงกว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้มาก
-
7:03 - 7:05หากดูจากช่วงชีวิตคนคนเดียว
-
7:05 - 7:07ดังนั้น เราจึงต้องมองจากมุม
-
7:07 - 7:08ที่ผู้คนสะสมทรัพย์สมบัติ
-
7:08 - 7:11ด้วยเหตุผลนอกเหนือจากนั้นด้วย
-
7:11 - 7:13โดยทั่วไป ผู้คนต้องการส่งต่อ
-
7:13 - 7:16ทรัพย์สมบัติไปสู่ลูกหลานรุ่นต่อไป
-
7:16 - 7:18หรือเขาอาจต้องการสะสมความมั่งคั่ง
-
7:18 - 7:20เพื่อเกียรติยศ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
-
7:20 - 7:22ดังนั้น ต้องมีเหตุผลอื่นๆ
-
7:22 - 7:25ที่คนสะสมความมั่งคั่ง
นอกเหนือจากเพียงเพื่อประทังชีวิต -
7:25 - 7:27ที่จะนำมาอธิบายข้อมูลต่างๆ นี้ได้
-
7:27 - 7:30ทีนี้ ในภาพใหญ่ของโมเดลพลวัต
-
7:30 - 7:32ของการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง
-
7:32 - 7:36ซึ่งมีเจตนาสะสมและสืบทอดความมั่งคั่ง
-
7:36 - 7:39คุณจะเห็นว่ามีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ
-
7:39 - 7:40มากมายหลายอย่าง
-
7:40 - 7:42เช่น บางครอบครัว
-
7:42 - 7:43ที่มีลูกหลายคน
-
7:43 - 7:45ทรัพย์สมบัติก็ถูกแบ่งกระจายออกไป
-
7:45 - 7:47แต่บางครอบครัวก็มีลูกน้อยคน
-
7:47 - 7:49คุณจะได้เห็นผลกระทบของอัตราผลตอบแทน
-
7:49 - 7:52บางครอบครัวได้กำไรมหาศาล
จากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ -
7:52 - 7:53บางครอบครัวขาดทุน
จากการลงทุนที่ผิดพลาด -
7:53 - 7:55คุณจะเห็นการขยับตัว
-
7:55 - 7:57ของความมั่งคั่งอยู่ตลอดเวลา
-
7:57 - 7:59บ้างก็มีฐานะสูงขึ้น บ้างก็แย่ลง
-
7:59 - 8:01ประเด็นที่สำคัญคือ
-
8:01 - 8:02ไม่ว่าจะใช้โมเดลใด
-
8:02 - 8:05กับปัจจัยกระตุ้นใดก็ตาม
-
8:05 - 8:07สภาวะสมดุลของความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง
-
8:07 - 8:11เท่ากับค่าฟังก์ชั่นของ r ลบด้วย g
ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว -
8:11 - 8:14และโดยธรรมชาติ สาเหตุที่ผลต่าง
-
8:14 - 8:16ระหว่างอัตราผลตอบแทนจากความมั่งคั่ง
-
8:16 - 8:18กับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นสำคัญ
-
8:18 - 8:20ก็เพราะความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง
-
8:20 - 8:23จะขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ
-
8:23 - 8:25จาก r ลบ g ที่ใหญ่ขึ้น
-
8:25 - 8:26ตัวอย่างง่าย ๆ
-
8:26 - 8:30เมื่อ r เท่ากับ 5% และ g เท่ากับ 1%
-
8:30 - 8:32คนรวยต้องใช้เงินเพียง 1 ใน 5
-
8:32 - 8:35ของรายได้ทั้งหมดของเขาไปลงทุน
-
8:35 - 8:37เพื่อให้อัตราการโตของทรัพย์สินของเขา
-
8:37 - 8:39เร็วเท่ากับการโตของเศรษฐกิจ
-
8:39 - 8:41นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้
-
8:41 - 8:42การสร้างความร่ำรวยไม่รู้จบได้ง่ายดาย
-
8:42 - 8:45เพราะคุณสามารถใช้เงิน 4 ใน 5 สำหรับจับจ่าย
-
8:45 - 8:46สมมุติว่าไม่มีภาษี
-
8:46 - 8:48และลงทุนเพียง 1 ใน 5
-
8:48 - 8:50แน่นอนว่าบางครอบครัวใช้จ่ายมากกว่านั้น
-
8:50 - 8:52และบางครอบครัวก็ใช้จ่ายน้อยกว่า
-
8:52 - 8:54เลยเกิดการเคลื่อนที่ของความมั่งคั่ง
-
8:54 - 8:57แต่โดยเฉลี่ยคือต้องลงทุนเพียง 1 ใน 5
-
8:57 - 9:00และนี่คือสิ่งที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำ
ของความมั่งคั่งคงอยู่ต่อ -
9:00 - 9:03ในตอนนี้ คุณคงไม่แปลกใจ
-
9:03 - 9:07ที่อัตรา r จะสูงกว่า g ตลอดไป
-
9:07 - 9:08เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดมา
-
9:08 - 9:10ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
-
9:10 - 9:14และมันค่อนข้างชัดเจนสำหรับทุกคน
-
9:14 - 9:15ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
9:15 - 9:17อยู่ในระดับใกล้ 0%
-
9:17 - 9:19มาตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
-
9:19 - 9:23อาจจะเท่ากับ 0.1% 0.2% หรือ 0.3%
-
9:23 - 9:25แต่มีการเติบโตอย่างช้า ๆ ของจำนวนประชากร
-
9:25 - 9:27และผลผลิตต่อหัว
-
9:27 - 9:29ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของทุน
-
9:29 - 9:30แน่นอน ไม่ได้อยู่ในระดับ 0%
-
9:30 - 9:32ในกรณีของที่ดิน
-
9:32 - 9:34ซึ่งเป็นทรัพย์สินรูปแบบดั้งเดิม
-
9:34 - 9:37มาตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม
-
9:37 - 9:38ซึ่งอยู่ในระดับประมาณ 5%
-
9:38 - 9:42แฟนนิยายของ เจน ออสติน น่าจะรู้ดี
-
9:42 - 9:45หากคุณต้องการมีรายได้ 1,000 ปอนด์ต่อปี
-
9:45 - 9:47คุณควรมีทรัพย์สินเริ่มต้นที่มูลค่า
-
9:47 - 9:4920,000 ปอนด์
-
9:49 - 9:51เพื่อให้ 1 ใน 5 ของ 20,000 เท่ากับ 1,000
-
9:51 - 9:53จะว่าไปแล้ว เรื่องนี้
-
9:53 - 9:56ถือเป็นรากฐานสำคัญของสังคมเลย
-
9:56 - 9:58เพราะ r ที่ใหญ่กว่า g
-
9:58 - 10:02ทำให้คนที่มีทรัพย์สินมากมาย
-
10:02 - 10:05เลี้ยงตัวเองได้ ด้วยผลตอบแทนจากการลงทุน
-
10:05 - 10:07และหันไปทำกิจกรรมอื่น
-
10:07 - 10:11นอกเหนือจากการหาเลี้ยงประทังชีพได้
-
10:11 - 10:13บทสรุปสำคัญจากการวิเคราะห์ข้อมูล
-
10:13 - 10:15จากประวัติศาสตร์เหล่านี้ คือ
-
10:15 - 10:18การเติบโตของอุตสาหกรรมสมัยใหม่
-
10:18 - 10:20กลับไม่ส่งผลต่อสภาพการณ์นี้
มากอย่างที่เราคาดคิดเลย -
10:20 - 10:22แน่นอน อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
10:22 - 10:24ในช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
-
10:24 - 10:28ปรับตัวสูงขึ้น จาก 0% เป็น 1% เป็น 2%
-
10:28 - 10:30แต่ในขณะเดียวกัน
-
10:30 - 10:32อัตราผลตอบแทนของทุนก็เพิ่มขึ้นด้วย
-
10:32 - 10:34ช่องว่างระหว่างสองอย่างนี้
-
10:34 - 10:36จึงไม่เปลี่ยนไปเลย
-
10:36 - 10:38ในศตวรรษที่ 20
-
10:38 - 10:41เราได้ผ่านเหตุการณ์พิเศษหลายๆ อย่าง
-
10:41 - 10:43อย่างแรก คือ อัตราผลตอบแทนที่ต่ำมาก
-
10:43 - 10:46ซึ่งเกิดจากสงครามเมื่อปี 1914 และ 1945
-
10:46 - 10:48และจากการล่มสลายของความมั่งคั่ง,
ภาวะเงินเฟ้อ -
10:48 - 10:50และการล้มละลาย ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
-
10:50 - 10:52เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้
-
10:52 - 10:53อัตราผลตอบแทน
-
10:53 - 10:55ลดลงอย่างน่าใจหาย
-
10:55 - 10:57ระหว่างปี ค.ศ. 1914 และ 1945
-
10:57 - 10:59แล้วในช่วงหลังสงคราม
-
10:59 - 11:03เศรษฐกิจก็เติบโตในอัตราสูงกว่าปกติ
-
11:03 - 11:05ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการบูรณะ
และฟื้นฟูประเทศ -
11:05 - 11:07ในเยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
-
11:07 - 11:08มีอัตราการเติบโตถึง 5%
-
11:08 - 11:11ระหว่างปี ค.ศ. 1950 และ 1980
-
11:11 - 11:13ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากการบูรณะและฟื้นฟู
-
11:13 - 11:16และจากการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว
-
11:16 - 11:18เป็นผลจากยุคเบบี้บูม
-
11:18 - 11:20แต่เราเห็นว่าเหตุการณ์นั้น
จะไม่คงอยู่เป็นเวลานาน -
11:20 - 11:22อย่างน้อย อัตราการเพิ่มประชากร
-
11:22 - 11:25มีแนวโน้มที่จะลดลงในอนาคต
-
11:25 - 11:28และการคาดการณ์ที่ดีที่สุดตอนนี้
-
11:28 - 11:30บอกเราว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
11:30 - 11:31จะอยู่ประมาณ 1% หรือ 2%
-
11:31 - 11:33แทนที่จะเป็น 4% หรือ 5%
-
11:33 - 11:36ถ้าคุณดูที่กราฟนี้
-
11:36 - 11:38นี่คือค่าประมาณการเติบโตของ
-
11:38 - 11:40ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(GDP) ทั่วโลก -
11:40 - 11:42และอัตราผลตอบแทนจากทุน
-
11:42 - 11:44และค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากทุน
-
11:44 - 11:47คุณจะเห็นว่าในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่ผ่านมา
-
11:47 - 11:49อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
11:49 - 11:50ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนจากทุนอยู่มาก
-
11:50 - 11:53แต่แล้ว ในศตวรรษที่ 20
-
11:53 - 11:55จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสูงมาก
-
11:55 - 11:57หลังจากสงครามสงบ
-
11:57 - 11:59และการบูรณะก่อสร้าง
-
11:59 - 12:00ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
-
12:00 - 12:02มาอยู่ในระดับใกล้เคียง
-
12:02 - 12:03กับอัตราผลตอบแทนจากทุน
-
12:03 - 12:07ผมใช้ประมาณการจำนวนประชากร
ของสหประชาชาติ -
12:07 - 12:09ข้อมูลพวกนี้ จึงยังเปลี่ยนแปลงได้
-
12:09 - 12:11เป็นไปได้ว่า พวกเราอาจ
-
12:11 - 12:13มีลูกเพิ่มขึ้นในอนาคต
-
12:13 - 12:16อัตราการเพิ่มประชากร ก็จะสูงขึ้น
-
12:16 - 12:17แต่ในเวลานี้
-
12:17 - 12:20นี่คือประมาณการดีที่สุดเท่าที่เรามี
-
12:20 - 12:22มันแปลว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
12:22 - 12:24จะลดลง และช่องว่างระหว่าง
-
12:24 - 12:26อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินจะสูงขึ้น
-
12:26 - 12:29เหตุการณ์พิเศษอีกอย่าง
-
12:29 - 12:31ในศตวรรษที่ 20
-
12:31 - 12:32อย่างที่ผมกล่าวไว้
-
12:32 - 12:35เช่น การตกต่ำของเศรษฐกิจ
การเก็บภาษีทรัพย์สิน -
12:35 - 12:37นี่คืออัตราผลตอบแทนก่อนหักภาษี
-
12:37 - 12:40ส่วนนี่คืออัตราผลตอบแทนหลังหักภาษี
-
12:40 - 12:42หลังเศรษฐกิจตกต่ำ
-
12:42 - 12:44ซึ่งทำให้
-
12:44 - 12:45อัตราเฉลี่ยของผลตอบแทน
-
12:45 - 12:47หลังหักภาษี
หลังเศรษฐกิจพัง -
12:47 - 12:50อยู่ต่ำกว่าอัตราการเติบโต
ของเศรษฐกิจเป็นเวลานาน -
12:50 - 12:51แต่ ถ้าหากเศรษฐกิจไม่พัง
-
12:51 - 12:54และไม่มีภาษี สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
-
12:54 - 12:57สรุปคือ ความสมดุลระหว่าง
-
12:57 - 12:59อัตราผลตอบแทนจากทุนและอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
12:59 - 13:01ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
-
13:01 - 13:03ที่ยากจะคาดเดา
-
13:03 - 13:05เทคโนโลยีและการพัฒนา
-
13:05 - 13:08การผลิตที่ใช้ทุนมาก (capital-intensive)
-
13:08 - 13:11ตอนนี้ เรามีการพัฒนาแบบนี้มาก
-
13:11 - 13:14ในภาคการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
-
13:14 - 13:17พลังงาน แต่ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้
-
13:17 - 13:21ว่าเราจะนำหุ่นยนต์มาใช้เยอะขึ้น
ในหลากหลายอุตสาหกรรม -
13:21 - 13:23แล้วจะมีสัดส่วนใหญ่ขึ้นในตลาด
-
13:23 - 13:25เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งหมด
-
13:25 - 13:27แต่ก็ยังอีกไกลจากวันนี้
-
13:27 - 13:28และจากนี้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
-
13:28 - 13:30ในภาคอสังหาริมทรัพย์ พลังงาน
-
13:30 - 13:32เป็นส่วนสำคัญหลักทั้งในทรัพย์สินรวม
-
13:32 - 13:34และในการจัดสรรตลาดอีกด้วย
-
13:34 - 13:36สิ่งสำคัญอีกประเด็น
-
13:36 - 13:38คือ ขนาดของการลงทุน
-
13:38 - 13:40ผนวกเข้ากับหลักทางการเงินที่ซับซ้อน
-
13:40 - 13:42การควบคุมการเงินที่หละหลวม
-
13:42 - 13:44ทำให้อัตราผลตอบแทนเพิ่มสูงขึ้นได้ง่ายขึ้น
-
13:44 - 13:46ในพอร์ตการลงทุนที่ใหญ่มาก
-
13:46 - 13:49ซึ่งจะเห็นได้เยอะในหมู่มหาเศรษฐี
-
13:49 - 13:51ที่มีกำลังลงทุนสูง
-
13:51 - 13:53ผมจะพูดถึงตัวอย่างหนึ่ง
-
13:53 - 13:56เป็นข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐี
-
13:56 - 14:00โดยนิตยสารฟอร์บส์ ระหว่างปี ค.ศ. 1987-2013
-
14:00 - 14:02คุณจะเห็นว่ากลุ่มที่รวยที่สุด
-
14:02 - 14:05รวยขึ้นประมาณ 6-7% ต่อปี
-
14:05 - 14:08มากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
-
14:08 - 14:10ในขณะที่รายได้เฉลี่ยในโลก
-
14:10 - 14:12และความมั่งคั่งเฉลี่ยในโลก
-
14:12 - 14:15ขยายตัวเพียง 2% ต่อปี
-
14:15 - 14:17คุณจะเห็นตัวอย่างแบบนี้
-
14:17 - 14:18ในมหาวิทยาลัยที่ทุนหนา
-
14:18 - 14:20การลงทุนเริ่มต้นยิ่งมีมูลค่าสูงเท่าไหร่
-
14:20 - 14:22อัตราผลตอบแทนจะยิ่งสูงขึ้น
-
14:22 - 14:24แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง?
-
14:24 - 14:26สิ่งแรกสุด ผมคิดว่าเราจำเป็น
-
14:26 - 14:28ต้องเพิ่มความโปร่งใสทางการเงิน
-
14:28 - 14:32เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของเงินน้อยมาก
-
14:32 - 14:34เราจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลการโอน
-
14:34 - 14:35ข้อมูลจากธนาคาร
-
14:35 - 14:38เราควรมีการจดทะเบียนทรัพย์สินของโลก
-
14:38 - 14:41มีการร่วมมือกันในการเก็บภาษีคนรวย
-
14:41 - 14:44ซึ่งไม่จำเป็นต้องเก็บในอัตราสูง
-
14:44 - 14:46เพื่อให้เราสามารถเก็บข้อมูล
-
14:46 - 14:49แล้วนำมาปรับให้เข้ากับนโยบาย
-
14:49 - 14:51บนพื้นฐานของข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
-
14:51 - 14:52ในระดับหนึ่ง การต่อสู้กับ
-
14:52 - 14:54การหนีภาษี
-
14:54 - 14:56และการโอนข้อมูลอัตโนมัติ
-
14:56 - 14:57ก็กำลังผลักดันเราไปในทางนั้นอยู่แล้ว
-
14:57 - 15:00ทีนี้ การกระจายความมั่งคั่งก็มีอีกหลายวิธี
-
15:00 - 15:03ที่ดูน่าสนใจ
-
15:03 - 15:04เช่น การสร้างภาวะเงินเฟ้อ
-
15:04 - 15:06การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มนั้น
-
15:06 - 15:08ง่ายกว่าการออกภาษีใหม่
จึงดูเป็นวิธีที่น่าทำ -
15:08 - 15:10แต่บางครั้งเราไม่รู้ว่าจะใช้เงินนั้นทำอะไร
-
15:10 - 15:12ซึ่งก็เป็นปัญหา
-
15:12 - 15:14การเวนคืนก็น่าสนใจ
-
15:14 - 15:16เมื่อใดที่เห็นใครรวยเกินไป
-
15:16 - 15:17ก็ไปเวนคืนกลับมา
-
15:17 - 15:19แต่มันไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ
-
15:19 - 15:22ในการบริหารการกระจายตัวของความมั่งคั่ง
-
15:22 - 15:24สงครามก็ยิ่งเป็นวิธี
ที่มีประสิทธิภาพน้อยลงไปอีก -
15:24 - 15:27ทำให้ผมจึงเอียงไปในการเก็บภาษีแบบขั้นบันได
-
15:27 - 15:29แต่แน่นอน ประวัติศาสตร์ (หัวเราะ)
-
15:29 - 15:31ประวัติศาสตร์จะสร้างวิธีดีที่สุดให้ตัวเอง
-
15:31 - 15:33ซึ่งน่าจะประกอบไปด้วย
-
15:33 - 15:34สิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้
-
15:34 - 15:36ขอบคุณครับ
-
15:36 - 15:38(เสียงปรบมือ)
-
15:38 - 15:44บรูโน่ กิอุสสานี: คุณโธมัส พิคเก้ตตี้
ขอบคุณครับ -
15:44 - 15:46โธมัส ผมอยากถามซัก 2-3 คำถามนะครับ
-
15:46 - 15:50ข้อมูลต่างๆ ที่คุณนำเสนอในวันนี้น่าทึ่งมาก
-
15:50 - 15:53คุณกำลังเสนอว่า
-
15:53 - 15:55การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
-
15:55 - 15:57เป็นแนวโน้มทางธรรมชาติในระบบทุนนิยม
-
15:57 - 16:00แล้วถ้าเราปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้น
-
16:00 - 16:03มันก็อาจจะทำลายตัวเองในที่สุด
-
16:03 - 16:04คุณจึงแนะนำว่าเราควรเริ่มลงมือ
-
16:04 - 16:07วางนโยบายเพื่อให้เกิด
การกระจายตัวของความมั่งคั่ง -
16:07 - 16:09อย่างตัวอย่างที่เราชมไป
-
16:09 - 16:11เช่น ภาษีขั้นบันได เป็นต้น
-
16:11 - 16:13ในบริบทของสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
-
16:13 - 16:15จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน?
-
16:15 - 16:17คุณคิดว่าเป็นไปได้แค่ไหน
-
16:17 - 16:18ที่สิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาปฏิบัติ?
-
16:18 - 16:19โธมัส พิคเก้ตตี้: ผมคิดว่า
-
16:19 - 16:21หากคุณมองย้อนกลับไป
-
16:21 - 16:24ประวัติศาสตร์ของรายได้
ความมั่งคั่ง และภาษี -
16:24 - 16:26นั้นเต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
-
16:26 - 16:28ผมไม่ค่อยมั่นใจ
-
16:28 - 16:30คนที่พูดว่า
-
16:30 - 16:31อนาคตจะเกิดอะไรหรือไม่เกิดอะไร
-
16:31 - 16:33ผมคิดว่า เมื่อศตวรรษก่อน
-
16:33 - 16:35คงมีหลายคนกล่าวไว้ว่า
-
16:35 - 16:37การเก็บภาษีแบบขั้นบันไดไม่มีวันเกิดขึ้นได้
-
16:37 - 16:38แต่แล้ว มันก็เกิดขึ้น
-
16:38 - 16:40หรือแม้แต่เมื่อห้าปีที่แล้ว
-
16:40 - 16:43หลายคนเชื่อว่าข้อมูลธนาคารในสวิสเซอร์แลนด์
-
16:43 - 16:45จะเป็นความลับตลอดไป
-
16:45 - 16:46มีความเชื่อว่าสวิสเซอร์แลนด์
-
16:46 - 16:48เป็นประเทศมหาอำนาจ
-
16:48 - 16:51แต่แล้ว สหรัฐก็ออกกฎต่างๆ ออกมา
-
16:51 - 16:53ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับธนาคารสวิส
-
16:53 - 16:55แล้วตอนนี้ เรากำลังเดินไปสู่
-
16:55 - 16:57ความโปร่งใสทางการเงินยิ่งขึ้นไปอีก
-
16:57 - 17:01ผมคิดว่า มันไม่ยากเกินไป
-
17:01 - 17:04ที่จะมีการร่วมมือกันในส่วนการเมือง
-
17:04 - 17:06เพื่อร่างสนธิสัญญาร่วมกัน
-
17:06 - 17:09โดยมีกลุ่มประเทศที่มี GDP ครึ่งหนึ่งของโลก
-
17:09 - 17:11สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป
-
17:11 - 17:13ถ้าหาก GDP ครึ่งหนึ่งของโลกไม่พอ
-
17:13 - 17:16ที่จะผลักดันให้เกิดความโปร่งใสทางการเงิน
-
17:16 - 17:20หรือแม้แต่ทำให้มีการ
จัดเก็บภาษีขั้นต่ำจากบริษัทข้ามชาติ -
17:20 - 17:21แล้วเราจะทำอะไรได้อีก?
-
17:21 - 17:25ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ยากในเชิงเทคนิค
-
17:25 - 17:27ผมคิดว่าเราสามารถก้าวหน้าต่อไปได้
-
17:27 - 17:29หากเราเน้นแนวทางปฏิบัติที่ตอบโจทย์นี้
-
17:29 - 17:31และกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม
-
17:31 - 17:34เพื่อจับตามองกลุ่มคนที่
ได้รับประโยชน์จากความไม่โปร่งใส -
17:34 - 17:36บรูโน่: ข้อโต้แย้งอีกอย่าง
-
17:36 - 17:37เกี่ยวกับมุมมองของคุณ
-
17:37 - 17:39คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐศาสตร์
-
17:39 - 17:42ไม่ใช่แค่ลักษณะอย่างหนึ่งของระบบทุนนิยม
แต่เป็นกลไกหลักเลย -
17:42 - 17:45ถ้าเราลงมือต่อสู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
-
17:45 - 17:48การเติบโตของเศรษฐกิจก็จะลดลงตามกันไปด้วย
-
17:48 - 17:49คุณจะตอบพวกเขาอย่างไรบ้างครับ?
-
17:49 - 17:51โธมัส: ใช่ครับ ผมคิดว่าความเหลื่อมล้ำ
-
17:51 - 17:53ไม่ใช่ปัญหาในตัวมันเอง
-
17:53 - 17:55ผมคิดว่า การมีความเหลื่อมล้ำในระดับหนึ่ง
-
17:55 - 17:58มีประโยชน์ต่อนวัตกรรม
และการเติบโตของเศรษฐกิจ -
17:58 - 18:00ปัญหาอยู่ที่ ระดับของมัน
-
18:00 - 18:02เมื่อความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับที่สูงเกินไป
-
18:02 - 18:05มันก็จะไม่มีประโยชน์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
18:05 - 18:07และจะทำให้แย่ลงด้วย
-
18:07 - 18:10เพราะมันมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดภาวะ
-
18:10 - 18:11ความเหลื่อมล้ำที่ไม่มีที่สิ้นสุด
-
18:11 - 18:13และการกระจายความมั่งคั่งลดน้อยลง
-
18:13 - 18:16ยกตัวอย่าง การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
-
18:16 - 18:19ในช่วงศตวรรษที่ 19
-
18:19 - 18:21เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
-
18:21 - 18:23ของประเทศในยุโรป
-
18:23 - 18:25ผมคิดว่าไม่ช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจ
-
18:25 - 18:27แล้วการกระจุกตัวนั้นก็ถูกทำลายลง
-
18:27 - 18:30ด้วยเหตุการณ์ที่น่าสลดและการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย
-
18:30 - 18:32การขยายตัวของเศรษฐกิจจึงกลับมาอีกครั้ง
-
18:32 - 18:35และความเหลื่อมล้ำอย่างสุดโต่ง
-
18:35 - 18:37ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสังคมประชาธิปไตย
-
18:37 - 18:40หากมันทำให้เกิดการไม่เสมอภาค
ในการออกเสียงทางการเมือง -
18:40 - 18:42การแทรกแซงของเงินจากเอกชน
-
18:42 - 18:44ในการเมืองสหรัฐในขณะนี้
-
18:44 - 18:46ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าวิตกมาก
-
18:46 - 18:49ดังนั้น เราจึงไม่ควรปล่อยให้ความเหลื่อมล้ำ
-
18:49 - 18:51กลับไปสู่จุดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อีก
-
18:51 - 18:55การแบ่งสัดส่วนของความมั่งคั่งที่เหมาะสม
-
18:55 - 18:58ให้กลุ่มคนชั้นกลางนั้น
มีผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ -
18:58 - 19:01มันดีทั้งในแง่มูลค่าทรัพย์สิน
-
19:01 - 19:03และในแง่ประสิทธิภาพ
-
19:03 - 19:05บรูโน: ผมได้กล่าวในตอนต้นว่า
-
19:05 - 19:07หนังสือของคุณได้ถูกวิจารณ์อย่างหนัก
-
19:07 - 19:08ข้อมูลของคุณถูกวิจารณ์
-
19:08 - 19:10การเลือกชุดข้อมูลมานำเสนอก็ถูกวิจารณ์
-
19:10 - 19:12คุณโดนกล่าวหาว่าเลือกเฉพาะข้อมูล
-
19:12 - 19:15ที่สนับสนุนทฤษฎีของตัวเอง
-
19:15 - 19:17โธมัส: ผมขอตอบว่า ผมยินดี
-
19:17 - 19:19ที่หนังสือเล่มนี้ทำให้เกิดการถกเถียง
-
19:19 - 19:22นี่คือสิ่งที่ผมตั้งใจให้เกิดขึ้น
-
19:22 - 19:25เหตุผลที่ผมใส่ข้อมูลทั้งหมดบนอินเตอร์เนท
-
19:25 - 19:27พร้อมอธิบายวิธีการคำนวนอย่างละเอียด
-
19:27 - 19:29ก็เพื่อแสดงความโปร่งใสและเปิดเผย
-
19:29 - 19:31ในการถกเถียงเรื่องนี้
-
19:31 - 19:33ผมได้ตอบได้ตรงประเด็น
-
19:33 - 19:35กับข้อสงสัยทุกข้อ
-
19:35 - 19:38หากผมกลับไปเขียนหนังสือเล่มนี้ใหม่อีกครั้ง
-
19:38 - 19:39ผมจะสรุปว่า
-
19:39 - 19:41ความไม่เท่าเทียมของความมั่งคั่งที่สูงขึ้น
-
19:41 - 19:43โดยเฉพาะในสหรัฐ
-
19:43 - 19:46จริงๆ แล้ว สูงกว่าที่ผมระบุไว้ในหนังสืออีก
-
19:46 - 19:49มีงานวิจัยโดยนักวิจัย 2 ท่าน เซซและซูคแมน
-
19:49 - 19:51ที่แสดงข้อมูลใหม่
-
19:51 - 19:52ที่ผมไม่มีตอนเขียนหนังสือเล่มนี้
-
19:52 - 19:55นั่นคือ การกระจุกตัว
ของความมั่งคั่งในสหรัฐนั้น -
19:55 - 19:57เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผมเขียนไว้ในหนังสือ
-
19:57 - 19:59และก็จะมีข้อมูลอื่นๆ อีกในอนาคต
-
19:59 - 20:01ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจจะไปในทิศตรงกันข้าม
-
20:01 - 20:05เราใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไป
ในอินเทอร์เน็ตทุกอาทิตย์ -
20:05 - 20:08ทั้งข้อมูลอัพเดทจาก
World Top Income Database -
20:08 - 20:10และเราก็จะยังคงเก็บข้อมุลต่อไปเรื่อย ๆ
-
20:10 - 20:12โดยเฉพาะข้อมูลของประเทศเกิดใหม่
-
20:12 - 20:15ผมยินดีรับข้อมูลจาก
ทุกคนที่ต้องการมีส่วนร่วม -
20:15 - 20:17ในการช่วยเก็บข้อมูล
-
20:17 - 20:20ในความเป็นจริง ผมเห็นด้วย
-
20:20 - 20:22ว่าความโปร่งใสของการกระจายตัว
-
20:22 - 20:24ของความมั่งคั่งนั้นยังไม่มากพอ
-
20:24 - 20:26ทางที่ดีที่จะช่วยเก็บข้อมูลนี้
-
20:26 - 20:28ก็คือการเก็บภาษีคนรวย
-
20:28 - 20:29เริ่มจากอัตราต่ำ ๆ
-
20:29 - 20:31เพื่อให้ทุกคนยอมร่วมมือ
-
20:31 - 20:33ทำให้เกิดวิวัฒนาการที่สำคัญ
-
20:33 - 20:36และเริ่มร่างกฎเกณฑ์
และนโยบายที่จำเป็นต่อไป -
20:36 - 20:38การเก็บภาษีคือการเก็บฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง
-
20:38 - 20:41และเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในเวลานี้
-
20:41 - 20:43บรูโน: โธมัส พิคเก้ตตี้ ขอบคุณมากครับ
-
20:43 - 20:47โธมัส: ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
- Title:
- แนวคิดใหม่ว่าด้วยทุนในศตวรรษที่ 21
- Speaker:
- โธมัส พิคเก้ตตี้ (Thomas Piketty)
- Description:
-
นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โธมัส พิคเก้ตตี้ (Thomas Piketty) สร้างความฮือฮาเมื่อต้นปี 2014 จากหนังสือว่าด้วยสูตรคณิตอันเรียบง่ายแต่โหดร้าย ซึ่งอธิบายความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ; r > g (หมายถึง ผลตอบแทนส่วนทุนโดยทั่วไปแล้วจะมีค่าสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ) คราวนี้ เขามาอธิบายถึงชุดข้อมูลมหาศาลที่ทำให้เขาได้ข้อสรุปว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่กำลังแย่ลงเรื่อยๆ และอาจก่อผลกระทบรุนแรงได้ด้วย
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 21:00
Thipnapa Huansuriya approved Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century | ||
Suppadej Mahapokai edited Thai subtitles for New thoughts on capital in the twenty-first century |