< Return to Video

คำท้าทฤษฎีเกม: คุณสามารถทายพฤติกรรมมนุษย์ได้หรือไม่ - Lucas Husted

  • 0:07 - 0:10
    เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว
    เราได้ท้าทายชุมชนของเรา
  • 0:10 - 0:15
    เราถามทุกคนว่า ถ้าให้จำนวนจริง
    ในช่วง 0 ถึง 100
  • 0:15 - 0:22
    ลองทายจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงกับ 2/3
    ของค่าเฉลี่ยตัวเลขที่ทุกคนทาย
  • 0:22 - 0:27
    ดังนั้น ถ้าค่าเฉลี่ยของทุกคนคือ 60
    คำตอบที่ถูกคือ 40
  • 0:27 - 0:31
    ตัวเลขใดที่คุณคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
    ของ 2/3 ของค่าเฉลี่ย
  • 0:33 - 0:36
    มาลองดูกันว่าเราสามารถลอง
    และให้เหตุผลกับคำตอบได้หรือไม่
  • 0:36 - 0:41
    เกมนี้จะเล่นภายใต้เงื่อนไขของทฤษฎีเกม
    ซึ่งเป็นความรู้ทั่วไป
  • 0:41 - 0:44
    ไม่เพียงแต่ผู้เล่นทุกรู้ข้อมูลเดียวกัน
  • 0:44 - 0:47
    ทุกคนยังรู้ว่าทุกคนรู้ข้อมูลเดียวกัน
  • 0:47 - 0:53
    และคนอื่น ๆ ทุกคนยังรู้ว่าทุกคนรู้ข้อมูลเดียวกัน
    และต่อไปเช่นนี้เรื่อย ๆ ไม่มีวันจบ
  • 0:53 - 0:59
    ตอนนี้ ค่าเฉลี่ยสูงสุดของ
    ตัวเลขที่เป็นไปได้หากทุกคนทายว่า 100
  • 0:59 - 1:03
    ในกรณีนั้น 2/3 ของค่าเฉลี่ยจะเป็น 66.66
  • 1:03 - 1:05
    ในเมื่อทุกคนสามารถคำนวณสิ่งนี้ได้
  • 1:05 - 1:10
    มันจะไม่สมเหตุผลที่จะ
    ทายตัวเลขที่มากกว่า 67
  • 1:10 - 1:13
    ถ้าผู้เล่นทุกคนได้ข้อสรุปเดียวกัน
  • 1:13 - 1:16
    จะไม่มีใครทายตัวเลขที่มากกว่า 67
  • 1:16 - 1:20
    ตอนนี้ 67 คือตัวเลขใหม่ที่เป็น
    ค่าสูงสุดของค่าเฉลี่ยที่เป็นไปได้
  • 1:20 - 1:25
    ดังนั้นไม่มีเหตุผลที่จะทายตัวเลข
    ที่มากกว่า 2/3 ของตัวเลขนั้น ซึ่งก็คือ 44
  • 1:25 - 1:29
    ตรรกะนี้สามารถขยายได้มากขึ้น และมากขึ้น
  • 1:29 - 1:34
    ทุก ๆ ขั้น ค่าสูงสุดของคำตอบสมเหตุสมผล
    ที่เป็นไปได้จะน้อยลงเรื่อย ๆ
  • 1:34 - 1:38
    ดังนั้นดูเหมือนว่ามันจะเหมาะกว่า
    ที่เราจะทายตัวเลขที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้
  • 1:38 - 1:41
    และโดยความเป็นจริงแล้ว หากทุกคนเลือก 0
  • 1:41 - 1:45
    เกมจะเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า
    Nash Equilibrium
  • 1:45 - 1:49
    สถานะนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นทุกคน
    ได้เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้
  • 1:49 - 1:53
    สำหรับตัวพวกเขาเอง
    เมื่อผู้เล่นทุกคนทาย
  • 1:53 - 1:57
    และไม่มีผู้เล่นคนใดได้ประโยชน์
    จากการเลือกตัวเลขต่างออกไป
  • 1:57 - 2:02
    แต่นั่นไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตจริง
  • 2:02 - 2:05
    มนุษย์ ปรากฎว่า ไม่ได้มีเหตุผลโดยสมบูรณ์
  • 2:05 - 2:09
    หรือไม่ได้คาดว่าคนอื่นจะมีเหตุผลโดยสมบูรณ์
  • 2:09 - 2:12
    หรือ บางทีอาจรวมทั้งสองอย่าง
  • 2:12 - 2:15
    เมื่อเกมถูกเล่นในชีวิตจริง
  • 2:15 - 2:20
    ค่าเฉลี่ยมีแนวโน้มอยู่ระหว่าง 20 และ 35
  • 2:20 - 2:26
    หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก Politiken จัดเกม
    นี้ขึ้นโดยมีผู้อ่าน 19,000 คนเข้าร่วม
  • 2:26 - 2:32
    ผลปรากฎว่า ค่าเฉลี่ยโดยประมาณคือ 22
    ทำให้คำตอบที่ถูกต้องคือ 14
  • 2:32 - 2:36
    สำหรับผู้เข้าร่วมของเรา ค่าเฉลี่ยคือ 31.3
  • 2:36 - 2:41
    ดังนั้น หากคุณทายว่า 21 ซึ่งเป็น 2/3
    ของค่าเฉลี่ย คุณทำได้ดีมาก
  • 2:41 - 2:45
    นักทฤษฎีเกมเศรษฐกิจมีแนวทางในการ
    สร้างแบบจำลองการมีอิทธิพลซึ่งกันและกันนี้
  • 2:45 - 2:50
    ระหว่างความมีเหตุผลและการปฏิบัติจริง
    เรียกว่าระดับการให้เหตุผล K
  • 2:50 - 2:55
    K มาจากจำนวนครั้งของตัวเลข
    ที่วัฏจักรการให้เหตุผลเกิดซ้ำ
  • 2:55 - 2:59
    คนที่เล่นที่ระดับ k เป็น 0
    จะสามารถเข้าใกล้เกมของเราอย่างไร้เดียงสา
  • 2:59 - 3:03
    การทายตัวเลขอย่างสุ่ม
    โดยไม่คิดถึงผู้เล่นคนอื่น
  • 3:03 - 3:08
    ณ ระดับ k เป็น 1 ผู้เล่นจะสันนิษฐานว่า
    ทุกคนเล่นที่ระดับ 0
  • 3:08 - 3:12
    ทำให้ผลลัพธ์ค่าเฉลี่ยเป็น 50
    และดังนั้นทายตัวเลข 33
  • 3:12 - 3:17
    ณ ที่ระดับ k เป็น 2 ผู้เล่นจะสันนิษฐานว่า
    ทุกคนเล่นที่ระดับ 1
  • 3:17 - 3:19
    นำไปสู่การทายตัวเลข 22
  • 3:19 - 3:23
    ใช้ 12 ระดับ k จึงจะเข้าใกล้ 0
  • 3:23 - 3:28
    จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่า
    คนส่วนใหญ่หยุดที่ระดับ k เป็น 1 หรือ 2
  • 3:28 - 3:29
    และนั่นเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์
  • 3:29 - 3:34
    เพราะการคิดระดับ k เข้ามามีบทบาท
    ในสถานการณ์ที่เดิมพันสูง
  • 3:34 - 3:39
    ตัวอย่างเช่น นักลงทุนในหุ้นประเมินหุ้น
    ไม่เพียงประเมินจากรายงานรายได้
  • 3:39 - 3:43
    แต่ยังประเมินจากมูลค่าที่ผู้อื่น
    ประเมินตัวเลข
  • 3:43 - 3:45
    และขณะที่เตะลูกโทษในกีฬาฟุตบอล
  • 3:45 - 3:50
    ทั้งผู้เตะและผู้รักษาประตู
    ตัดสินใจว่าจะไปซ้ายหรือขวา
  • 3:50 - 3:53
    จากการคิดว่าอีกคนคิดอะไร
  • 3:53 - 3:57
    ผู้รักษาประตูมักจำรูปแบบของคู่แข่งล่วงหน้า
  • 3:57 - 4:00
    แต่ผู้เตะลูกโทษรู้เรื่องนั้น
    และสามารถวางแผนจากเรื่องนั้น
  • 4:00 - 4:04
    ในแต่ละกรณี ผู้เข้าร่วมต้องชั่งน้ำหนัก
    ความเข้าใจของตน
  • 4:04 - 4:08
    จากของหลักการที่ดีที่สุดของการกระทำ
    กับการที่พวกเขาคิดว่าผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ
  • 4:08 - 4:10
    เข้าใจสถานการณ์ได้ดีเพียงใด
  • 4:10 - 4:15
    แต่ระดับ k 1 หรือ 2 นั้น
    ไม่ได้เป็นกฎที่ยากและรวดเร็ว
  • 4:15 - 4:20
    เพียงแค่ตระหนักถึงแนวโน้มนี้
    สามารถทำให้คนปรับความคาดหวังของพวกเขา
  • 4:20 - 4:24
    ตัวอย่างเช่น จะเกิดอะไรขึ้นหากเล่นเกม 2/3
  • 4:24 - 4:27
    หลังจากเข้าใจความแตกต่างระหว่าง
    วิธีตามตรรกะมากที่สุด
  • 4:27 - 4:28
    และวิธีทั่วไปที่สุด
  • 4:28 - 4:30
    ส่งตัวเลขที่คุณทายว่า ที่ 2/3
  • 4:30 - 4:34
    ของค่าเฉลี่ยใหม่จะเป็นเท่าไร
    โดยใช้แบบฟอร์มด้านล่าง
  • 4:34 - 4:36
    แล้วเราจะได้รู้
Title:
คำท้าทฤษฎีเกม: คุณสามารถทายพฤติกรรมมนุษย์ได้หรือไม่ - Lucas Husted
Speaker:
Lucas Husted
Description:

รับชมบทเรียนเต็ม: https://ed.ted.com/lessons/game-theory-challenge-can-you-predict-human-behavior-lucas-husted

ในช่วงจำนวนจริง 0 - 100 จำนวนเต็มใดที่เข้าใกล้ 2/3 ของค่าเฉลี่ยของตัวเลขที่ทุกคนทายมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าค่าเฉลี่ยที่ทุกคนทายคือ 60 คำตอบที่ถูกต้องคือ 40 เกมนี้ถูกเล่นภายใต้เงื่อนไขทฤษฎีเกมว่าเป็น "ความรู้ทั่วไป" ผู้เล่นทุกคนมีข้อมูลเหมือนกัน และทุกคนรู้ว่าคนอื่นก็รู้เช่นเดียวกัน Lucas Husted ได้อธิบายไว้

บทเรียนโดย Lucas Husted กำกับโดย Anton Trofimov

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:40

Thai subtitles

Revisions