< Return to Video

อีกไม่นาน เราจะรักษาโรคด้วยเซลล์ ไม่ใช่ด้วยยา

  • 0:01 - 0:05
    ผมอยากจะพูดกับคุณ
    เกี่ยวกับอนาคตของวงการแพทย์
  • 0:05 - 0:09
    แต่ก่อนที่ผมจะทำอย่างนั้น
    ผมอยากจะพูดถึงอดีตนิดหน่อย
  • 0:09 - 0:13
    ตลอดประวัติศาสตร์ทางการแพทย์
    จนถึงเมื่อไม่นานมานี้
  • 0:13 - 0:17
    เรามีแนวคิดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
    และการรักษา
  • 0:17 - 0:20
    ในรูปแบบที่ค่อนข้างเรียบง่ายชัดเจน
  • 0:20 - 0:23
    อันที่จริง รูปแบบนั้นมันก็เรียบง่ายจริง ๆ
  • 0:23 - 0:26
    จนคุณสามารถสรุปมันได้ในเพียงหกคำ
  • 0:26 - 0:30
    เป็นโรค กินยา ฆ่ามัน
  • 0:31 - 0:36
    ครับ เหตุผลที่รูปแบบนั้นเป็นที่นิยม
  • 0:36 - 0:38
    ก็เพราะการปฏิวัติทางยาปฏิชีวนะ
  • 0:38 - 0:42
    พวกคุณหลายคนคงจะไม่รู้
    แต่เราได้ผลบุญ
  • 0:42 - 0:46
    ของการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นปีที่หนึ่งร้อย
    ในสหรัฐอเมริกา
  • 0:46 - 0:47
    แต่สิ่งที่คุณรู้ก็คือ
  • 0:47 - 0:52
    การนำมันมาใช้นั้น
    เป็นเหมือนช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • 0:53 - 0:57
    คุณมีสารเคมี
    ไม่ว่ามันจะมาจากธรรมชาติ
  • 0:57 - 0:59
    หรือจากการสังเคราะห์ในห้องทดลอง
  • 1:00 - 1:03
    และมันจะกระจายไปทั่วร่างกายของคุณ
  • 1:03 - 1:06
    และไปหาเป้าหมายของมัน
  • 1:06 - 1:07
    เข้าจับกับเป้าหมาย --
  • 1:07 - 1:09
    ซึ่งเป็นจุลชีพ
    หรือส่วนหนึ่งของจุลชีพ --
  • 1:10 - 1:13
    และจากนั้นก็ปิดกั้น
    แม่กุญแจและลูกกุญแจ
  • 1:14 - 1:17
    ด้วยความคล่องแคล่ว
    และจำเพาะเจาะจงอย่างยิ่ง
  • 1:18 - 1:22
    และคุณอาจติดโรคร้ายแรง
    อะไรสักอย่างมาก่อนหน้านี้
  • 1:22 - 1:25
    เช่น ปอดบวม ซิฟิลิส วัณโรค --
  • 1:25 - 1:29
    และการเปลี่ยนมันให้กลายเป็น
    ความเจ็บป่วยที่รักษาและบำบัดได้
  • 1:30 - 1:32
    คุณมีเชื้อปอดบวม
  • 1:32 - 1:34
    คุณกินเพนิซิลิน
  • 1:34 - 1:35
    คุณฆ่าจุลชีพ
  • 1:35 - 1:38
    และคุณก็หายจากโรค
  • 1:38 - 1:41
    แนวคิดที่น่าดึงดูด
  • 1:41 - 1:45
    ศักยภาพที่เทียบได้กับ
    แม่กุญแจกับลูกกุญแจ
  • 1:45 - 1:46
    และการฆ่าอะไรสักอย่าง
  • 1:46 - 1:48
    มันแพร่กระจายไปทั่ววงการชีววิทยา
  • 1:48 - 1:50
    มันเป็นการเปลี่ยนแปลง
    อย่างที่ไม่มีอะไรเหมือน
  • 1:52 - 1:55
    และเราก็ใช้เวลา 100 ปีที่ผ่านมา
  • 1:55 - 1:59
    ในการพยายามทำตามแบบแผนนั้น
    ครั้งแล้วครั้งเล่า
  • 1:59 - 2:00
    กับโรคที่ไม่ใช่โรคติดต่อ
  • 2:00 - 2:04
    ในโรคเรื้อรัง อย่างเช่น เบาหวาน
    ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
  • 2:05 - 2:09
    และมันก็ได้ผล
    แต่มันได้ผลแค่บางส่วน
  • 2:09 - 2:11
    ให้ผมแสดงให้คุณดูนะครับ
  • 2:11 - 2:14
    ครับ ถ้าคุณพิจารณาองค์รวมทั้งหมด
  • 2:14 - 2:17
    ของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดในร่างกายมนุษย์
  • 2:17 - 2:21
    ทุก ๆ ปฏิกิริยาเคมี
    ที่ร่างกายของคุณจะทำได้
  • 2:21 - 2:24
    คนส่วนใหญ่คิดว่ามันมีจำนวนเป็นล้าน
  • 2:24 - 2:25
    เอาเป็นว่ามีประมาณล้านหนึ่งก็แล้วกัน
  • 2:25 - 2:27
    และคุณก็ตั้งคำถามว่า
  • 2:27 - 2:29
    มีส่วนปฏิกิริยาจำนวนเท่าไร
  • 2:29 - 2:31
    ที่จะสามารถใช้เป็นเป้าหมาย
  • 2:31 - 2:36
    ของเภสัชภัณฑ์ทั้งหลาย
    ซึ่งก็คือสารเคมีทางการแพทย์ทั้งหมด
  • 2:36 - 2:38
    จำนวนนั้นก็คือ 250
  • 2:40 - 2:42
    ที่เหลือคือสารเคมีที่เราไม่รู้จัก
  • 2:42 - 2:48
    หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ 0.025 เปอร์เซ็นต์
    ของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดในร่างกาย
  • 2:48 - 2:53
    อันที่จริงแล้วสามารถเป็นเป้าหมาย
    ของกลไกแม่กุญแจและลูกกุญแจได้
  • 2:54 - 2:57
    ครับ ถ้าคุณคิดว่าสรีรวิทยาของมนุษย์
  • 2:57 - 3:00
    เป็นดั่งเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
  • 3:00 - 3:04
    ที่มีจุดที่มีปฏิสัมพันธ์กัน
    และส่วนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน
  • 3:05 - 3:08
    จากนั้นสารเคมีทางการแพทย์ของเราทั้งหมด
  • 3:08 - 3:10
    ก็จัดการในส่วนมุมเล็ก ๆ
  • 3:10 - 3:13
    ที่ขอบ ที่ส่วนนอกของเครือข่ายนั้น
  • 3:13 - 3:17
    มันเหมือนกับว่า
    สารเคมีทางเภสัชกรรมของเราทั้งหมด
  • 3:17 - 3:20
    เป็นเหมือนเจ้าหน้าที่ชุมสาย
    ใน วิชิตา แคนซัส
  • 3:20 - 3:23
    ที่ง่วนอยู่กับโทรศัพท์ 10 หรือ 15 สาย
  • 3:25 - 3:27
    แล้วเราจะทำอย่างไรกับแนวคิดนี้ล่ะ
  • 3:28 - 3:31
    จะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถจัดระเบียบ
    วิธีการนี้ใหม่ได้
  • 3:32 - 3:35
    อันที่จริง มันกลายเป็นว่า ธรรมชาติ
  • 3:35 - 3:41
    ได้ให้แนวคิดว่าเราจะรู้สึก
    ต่อความเจ็บป่วยอย่างไร
  • 3:41 - 3:42
    ในทางที่แตกต่างกันไป
  • 3:42 - 3:46
    แทนที่จะเป็นเรื่องของโรค
    ยา และเป้าหมาย
  • 3:47 - 3:50
    อันที่จริง ธรรมชาติถูกจัดระเบียบ
    ตามลำดับจากด้านล่างสู่ด้านบน
  • 3:50 - 3:52
    ไม่ใช่จากด้านบนลงมา
  • 3:52 - 3:59
    และเราเริ่มต้นจากหน่วยที่ทำงานด้วยตัวเอง
    แบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า เซลล์
  • 4:00 - 4:03
    หน่วยที่ทำงานด้วยตัวเอง
    แบบกึ่งอัตโนมัตินี้
  • 4:03 - 4:08
    ก่อกำเนิดเป็นหน่วยที่ทำงานด้วยตัวเอง
    แบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า อวัยวะ
  • 4:08 - 4:11
    และอวัยวะเหล่านี้รวมตัวกัน
    เพื่อก่อกำเนิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า มนุษย์
  • 4:12 - 4:16
    และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
    สุดท้ายแล้ว ใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อม
  • 4:16 - 4:19
    ซึ่งส่วนหนึ่งทำงานด้วยตัวเอง
    และส่วนหนึ่งเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ
  • 4:21 - 4:24
    แผนภาพที่มีการลดหลั่นเป็นลำดับนี้
    มันเจ๋งตรงที่
  • 4:24 - 4:26
    มันถูกสร้างขึ้นมาจากด้านล่าง
    แทนที่จะเป็นการสร้างมาจากด้านบน
  • 4:26 - 4:30
    มันทำให้เราสามารถคิดถึง
    เรื่องความเจ็บป่วย
  • 4:30 - 4:31
    ในแบบที่แตกต่างออกไปได้
  • 4:32 - 4:35
    ลองพิจารณาดูโรค อย่างเช่น มะเร็ง
  • 4:36 - 4:37
    ตั้งแต่ยุค 1950
  • 4:37 - 4:43
    เราพยายามง่วนอยู่กับการหารูปแบบ
    แม่กุญแจและลูกกุญแจให้กับมะเร็ง
  • 4:43 - 4:46
    เราพยายามที่จะฆ่าเซลล์
  • 4:46 - 4:50
    โดยใช้เคมีบำบัดมากมาย
    หรือการบำบัดแบบกำหนดเป้าหมาย
  • 4:50 - 4:53
    และอย่างที่เรารู้ ๆ กัน
    มันได้ผล
  • 4:53 - 4:55
    มันได้ผลสำหรับโรคอย่าง มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • 4:55 - 4:57
    มันได้ผลกับบางรูปแบบ
    ของมะเร็งเต้านม
  • 4:57 - 5:01
    แต่สุดท้ายแล้ว คุณก็ไปถึงจุดสูงสุด
    ของวิธีการนั้น
  • 5:01 - 5:03
    และเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง
  • 5:03 - 5:06
    เราเพิ่งจะเริ่มคิดที่จะใช้ระบบภูมิคุ้มกัน
  • 5:06 - 5:10
    จำไว้นะครับว่าอันที่จริง
    เซลล์มะเร็งไม่ได้เติบโตขึ้นมาในสุญญากาศ
  • 5:10 - 5:12
    มันเติบโตอยู่ในร่างกายมนุษย์
  • 5:12 - 5:14
    และคุณจะใช้ความสามารถของเรา
  • 5:14 - 5:17
    ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์เรา
    ในการโจมตีมะเร็งไม่ได้เชียวหรือ
  • 5:17 - 5:21
    อันที่จริง มันนำเราไปสู่ยาใหม่
    ที่น่าทึ่งที่สุดสำหรับรักษามะเร็ง
  • 5:22 - 5:26
    และท้ายที่สุด
    มันมีระดับของสิ่งแวดล้อมไม่ใช่หรือ
  • 5:26 - 5:29
    รู้ไหมครับ ว่าเราไม่ได้คิดถึงมะเร็ง
    ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
  • 5:29 - 5:34
    แต่ให้ผมได้ยกตัวอย่างให้คุณฟังเกี่ยวกับ
    สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดมะเร็งอย่างมาก
  • 5:34 - 5:35
    มันเรียกว่า คุก
  • 5:36 - 5:41
    คุณเอาความเดียวดาย ความเครียด
    และการถูกกักขัง
  • 5:41 - 5:43
    ลองนึกต่อไปนะครับว่ามีอะไรอีก
  • 5:43 - 5:46
    พับม้วนมันด้วยกระดาษสีขาวแผ่นเล็ก ๆ
  • 5:47 - 5:51
    หนึ่งในสารกระตุ้นประสาทที่มีฤทธิ์มากที่สุด
    ที่เรารู้จักในนาม นิโคติน
  • 5:51 - 5:56
    และเอาหนึ่งในสารเสพติดที่มีฤทธิ์มากทึ่สุด
    ที่คุณรู้จักเติมเข้าไป
  • 5:56 - 5:59
    และคุณก็จะได้สิ่งแวดล้อม
    ที่พร้อมจะก่อให้เกิดมะเร็ง
  • 6:00 - 6:02
    แต่คุณสามารถมีสิ่งแวดล้อม
    ที่ต้านการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
  • 6:02 - 6:05
    มีความพยายามที่จะสร้างสื่อกลาง
  • 6:05 - 6:07
    ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนแปลงสื่อกลาง
    ที่เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
  • 6:08 - 6:12
    เราพยายามเปลี่ยนสื่อกลางเมตาบอลิก
    สำหรับมะเร็งรูปแบบอื่น ๆ
  • 6:12 - 6:14
    หรือลองพิจารณาโรคอื่น อย่างเช่น
    โรคเครียด
  • 6:14 - 6:17
    เช่นเดียวกัน มันก่อตัวจากด้านล่างขึ้นไป
  • 6:17 - 6:21
    ตั้งแต่ยุค 1960 และ 1970
    เราพยายามอย่างมาก
  • 6:21 - 6:25
    ในการปิดการทำงานของโมเลกุล
    ที่กำกับทำงานระหว่างเซลล์ประสาท --
  • 6:25 - 6:27
    เซราโทนิน โดปามีน --
  • 6:27 - 6:29
    และพยายามรักษาอาการเครียด
    ด้วยวิธีการนั้น
  • 6:29 - 6:32
    และมันก็ได้ผล
    แต่จากนั้น เราก็ไปถึงทางตัน
  • 6:33 - 6:36
    และตอนนี้เราก็รู้ว่า
    สิ่งที่คุณจะต้องทำจริง ๆ ก็คือ
  • 6:36 - 6:39
    เปลี่ยนสรีรวิทยาของอวัยวะ
    ซึ่งก็คือสมอง
  • 6:39 - 6:41
    ย้อนมันกลับ จัดรูปแบบมันใหม่
  • 6:41 - 6:43
    และจากนั้น แน่นอนครับ
    การศึกษามากมายได้แสดงว่า
  • 6:43 - 6:45
    การบำบัดด้วยการพูดคุย
    ทำให้เกิดสิ่งดังกล่าวเหล่านี้
  • 6:45 - 6:47
    และการศึกษามากมาย
    ได้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยการพูดคุย
  • 6:47 - 6:51
    เมื่อใช่ร่วมกับเภสัชภัณฑ์ และยาแล้ว
  • 6:51 - 6:53
    มีประสิทธิภาพมากกว่า
    ใช้แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • 6:54 - 6:57
    เราจะสามารถจินตนาการถึงสิ่งแวดล้อม
    ที่จะเปลี่ยนความเครียดนั้นได้หรือไม่
  • 6:57 - 7:01
    เราจะสามารถกั้นสัญญาณ
    ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดได้หรือเปล่า
  • 7:02 - 7:07
    เช่นเดียวกันครับ เคลื่อนขึ้นไป
    ตามสายโซ่ที่ลดหลั่นกันอย่างเป็นระเบียบนี้
  • 7:08 - 7:10
    สิ่งที่สำคัญจริง ๆ
  • 7:10 - 7:14
    อาจจะไม่ใช่ตัวยาเอง แต่เป็นการเปรียบเปรย
  • 7:14 - 7:16
    แทนที่จะเป็นการฆ่าอะไรสักอย่าง
  • 7:16 - 7:20
    ในกรณีของโรคเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพ
    ที่เรื้อรัง --
  • 7:20 - 7:23
    เช่น ไตล้มเหลว เบาหวาน
    ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม --
  • 7:23 - 7:27
    บางที สิ่งที่เราต้องทำกันจริง ๆ
    ก็คือการเปลี่ยนการเปรียบเปรย
  • 7:27 - 7:29
    และบางที นั่นก็เป็นกุญแจสำคัญ
  • 7:29 - 7:31
    เพื่อสร้างกรอบการคิดใหม่ของเรา
    เกี่ยวกับวงการแพทย์
  • 7:31 - 7:35
    เอาล่ะครับ แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
  • 7:35 - 7:37
    ของการสร้างแนวคิดใหม่นี้
  • 7:37 - 7:40
    พาผมกลับไปยังรากเหง้า
    ในแบบที่เป็นส่วนตัว เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน
  • 7:40 - 7:43
    ประมาณ 10 ปีก่อน --
    ผมเป็นนักวิ่งมาเกือบทั้งชีวิต --
  • 7:43 - 7:45
    ผมออกไปวิ่ง ตอนเช้าวันเสาร์
  • 7:45 - 7:48
    และกลับมา ตื่นขึ้นมา
    และไม่อาจขยับตัวได้
  • 7:48 - 7:50
    เข่าขวาของผมบวม
  • 7:50 - 7:53
    และคุณก็ได้ยินเสียงกรุบกรับของกระดูก
    ที่กระทบกัน ที่เป็นการสื่อลางร้าย
  • 7:54 - 7:59
    และประโยชน์หนึ่งของการเป็นแพทย์ก็คือ
    คุณสามารถส่งตัวเองไปตรวจ MRI ได้
  • 7:59 - 8:03
    ผมได้ผล MRI ในอีกสัปดาห์ต่อมา
    และมันก็มีหน้าตาเป็นแบบนี้
  • 8:03 - 8:07
    โดยรวมแล้วกระดูกอ่อนมินิสคัส
    ที่อยู่ระหว่างกระดูก
  • 8:07 - 8:11
    ถูกฉีกเสียจนไม่เหลือ
    และกระดูกเองก็แตกด้วย
  • 8:11 - 8:13
    เอาล่ะครับ ถ้าคุณมองมาที่ผม
    และรู้สึกเสียใจไปกับผม
  • 8:13 - 8:15
    ให้ผมได้บอกอะไรคุณสักนิดนะครับ
  • 8:15 - 8:19
    ถ้าผมได้ผล MRI ของทุกคนในที่นี้
  • 8:19 - 8:21
    เราจะพบว่า พวกคุณ 60 เปอร์เซ็นต์
  • 8:22 - 8:24
    จะมีอาการของการเสื่อมของกระดูก
    และการเสื่อมของกระดูกอ่อน
  • 8:24 - 8:28
    85 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงทุกคน
    ตอนมีอายุประมาณ 70 ปี
  • 8:28 - 8:31
    จะมีอาการกระดูกอ่อนเสื่อม
    ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • 8:31 - 8:34
    50 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์
    ของผู้ชายในที่นี้
  • 8:34 - 8:35
    จะมีอาการแบบนั้นเช่นกัน
  • 8:35 - 8:37
    ฉะนั้น มันเป็นโรคที่พบได้มาก
  • 8:37 - 8:39
    ครับ อีกประโยชน์หนึ่งของการเป็นแพทย์
  • 8:39 - 8:42
    ก็คือคุณสามารถทำการทดลอง
    กับอาการป่วยของตัวเองได้
  • 8:42 - 8:44
    ฉะนั้น ประมาณ 10 ปีก่อน
  • 8:44 - 8:47
    ผมนำกระบวนการนี้ไปยังห้องทดลอง
  • 8:47 - 8:49
    และเราก็เริ่มทำการทดลองง่าย ๆ
  • 8:49 - 8:51
    พยายามแก้ไขการเสื่อมสภาพนี้
  • 8:51 - 8:56
    เราพยายามที่จะฉีดสารเคมี
    เข้าไปในช่องว่างระหว่างเขาของสัตว์
  • 8:56 - 8:59
    เพื่อพยายามย้อน
    การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนกลับ
  • 8:59 - 9:03
    และเราสรุปกระบวนการ
    ที่แสนจะยาวนานนั้นได้ง่าย ๆ ว่า
  • 9:03 - 9:05
    ที่สุดแล้ว มันไม่เหลืออะไรเลย
  • 9:05 - 9:06
    มันไม่เกิดอะไรขึ้นเลยครับ
  • 9:07 - 9:12
    และจากนั้นประมาณเจ็ดปีก่อน ผมก็ได้
    นักเรียนวิจัยของผมคนหนึ่งจากออสเตรเลีย
  • 9:12 - 9:13
    สิ่งที่น่ารักสำหรับชาวออสเตรเลีย
  • 9:13 - 9:17
    ก็คือพวกเขาชอบมองอะไรกลับหัว
  • 9:17 - 9:18
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:18 - 9:22
    และแดนก็บอกผมว่า "รู้อะไรไหม
    บางทีมันไม่ใช่ปัญหาเรื่องกลไกหรอก
  • 9:22 - 9:26
    บางทีมันอาจเป็นปัญหาทางเคมี
    บางทีมันอาจเป็นปัญหาเรื่องสเต็มเซลล์"
  • 9:28 - 9:30
    หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เขามีสองสมมติฐาน
  • 9:30 - 9:33
    อย่างแรก มันมีสิ่งที่เรียกว่า
    สเต็มเซลล์โครงกระดูก --
  • 9:34 - 9:37
    ซึ่งก็คือ สเต็มเซลล์โครงกระดูก
    ที่สร้างโครงกระดูก
  • 9:37 - 9:40
    กระดูกแข็ง กระดูกอ่อน
    และโครงสร้างเส้นใยของโครงกระดูก
  • 9:40 - 9:41
    ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
    เช่นเดียวกับสเต็มเซลล์ในเลือด
  • 9:42 - 9:44
    เช่นเดียวกับที่มันมีสเต็มเซลล์
    ในระบบประสาท
  • 9:44 - 9:48
    และอย่างที่สองก็คือ การเสื่อมสภาพ
    หรือการพร่องประสิทธิภาพของสเต็มเซลล์นี้
  • 9:48 - 9:51
    คือสิ่งที่ทำให้เกิดข้อกระดูกเสื่อม
    ซึ่งเป็นอาการที่พบได้มาก
  • 9:51 - 9:54
    ฉะนั้น คำถามก็คือ
    เรากำลังมองหายารักษา
  • 9:54 - 9:57
    ในเมื่อเราควรที่จะมองหาเซลล์หรือเปล่า
  • 9:57 - 10:00
    เราก็เลยเปลี่ยนแบบจำลองของเรา
  • 10:00 - 10:03
    และตอนนี้ เราก็เริ่มมองหา
    สเต็มเซลล์โครงกระดูก
  • 10:04 - 10:06
    และเพื่อเป็นการสรุปเรื่องให้กระชับ
  • 10:06 - 10:09
    ประมาณห้าปีก่อน เราพบเซลล์เหล่านี้
  • 10:10 - 10:12
    พวกมันอยู่ในโครงกระดูก
  • 10:12 - 10:15
    นี่คือแผนภาพและภาพถ่ายจริงของพวกมัน
  • 10:15 - 10:17
    ส่วนสีขาวคือกระดูก
  • 10:17 - 10:20
    และคอลัมสีแดงที่คุณเห็นเหล่านี้
    และเซลล์สีเหลือง
  • 10:20 - 10:23
    คือเซลล์ที่เกิดขึ้น
    จากสเต็มเซลล์โครงกระดูกเซลล์เดียว --
  • 10:24 - 10:27
    คอลัมของกระดูกอ่อน กระดูกแข็ง
    เกิดมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว
  • 10:27 - 10:30
    เซลล์เหล่านี้น่าทึ่งมาก
    พวกมันมีคุณสมบัติสี่ประการ
  • 10:30 - 10:34
    อย่างแรกคือพวกมันอยู่ในที่ที่พวกมันควรอยู่
  • 10:34 - 10:36
    พวกมันอยู่ใต้พื้นผิวของกระดูก
  • 10:36 - 10:38
    ใต้กระดูกอ่อน
  • 10:38 - 10:41
    ครับ ในทางชีววิทยา
    บริเวณและสถานที่มันมีความสำคัญ
  • 10:41 - 10:45
    และพวกมันก็ย้ายเข้าไปในบริเวณที่เหมาะสม
    และก่อกำเนิดเป็นกระดูกและกระดูกอ่อน
  • 10:45 - 10:46
    นั่นครับ
  • 10:46 - 10:48
    คุณสมบัติที่น่าสนใจอีกประการคือ
  • 10:48 - 10:50
    คุณสามารถเอาพวกมันออกมา
    จากโครงกระดูกของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
  • 10:50 - 10:53
    คุณเลี้ยงพวกมันในจานเลี้ยงเชื้อ
    ในห้องทดลอง
  • 10:53 - 10:55
    และพวกมัน
    ก็อยากจะสร้างกระดูกอ่อนใจจะขาดแล้ว
  • 10:55 - 10:58
    จำไว้นะครับว่า เราไม่สามารถสร้างกระดูกอ่อน
    ได้จากความรักหรือว่าเงิน
  • 10:58 - 11:00
    เซลล์เหล่านี้อยากจะสร้างกระดูกอ่อนมาก
  • 11:00 - 11:03
    พวกมันสร้างกระดูกอ่อนของพวกมันเอง
    ไว้ล้อมรอบพวกมัน
  • 11:03 - 11:04
    อย่างที่สาม พวกมันยัง
  • 11:04 - 11:08
    เป็นผู้ซ่อมแซมส่วนที่หักที่มีประสิทธิภาพที่สุด
    ที่เราไม่เคยพบมาก่อน
  • 11:09 - 11:12
    นี่คือกระดูกเล็ก ๆ
    กระดูกของหนูที่เราทำให้มีรอยแตก
  • 11:12 - 11:13
    และปล่อยให้มันซ่อมตัวเอง
  • 11:13 - 11:16
    สเต็มเซลล์เหล่านี้เข้ามา
    และซ่อมกระดูก ในส่วนสีเหลือง
  • 11:16 - 11:19
    กระดูกอ่อน ในส่วนสีขาว
    เกือบที่จะสมบูรณ์
  • 11:19 - 11:23
    คุณจะเห็นพวกมันมากมาย
    ถ้าย้อมด้วยสีย้อมเรืองแสง
  • 11:23 - 11:26
    คุณจะเห็นว่าพวกมันดูคล้าย ๆ
    กับกาวในระดับเซลล์
  • 11:26 - 11:28
    เข้ามาในบริเวณของรอยแตก
  • 11:28 - 11:31
    ซ่อมบริเวณนั้น
    แลจากนั้นก็หยุดการทำงาน
  • 11:31 - 11:34
    ตอนนี้ อย่างที่สี่ เป็นสิ่งที่ลางร้าย
  • 11:34 - 11:38
    และมันก็คือ จำนวนของพวกมัน
    ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 11:38 - 11:42
    รวดเร็วประมาณ สิบถึงสิบหน้าเท่า
    เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น
  • 11:43 - 11:44
    และสิ่งที่เกิดขึ้นน่ะหรือครับ
  • 11:44 - 11:47
    ก็คือเราพบว่า
    พวกเรามีความเปลี่ยนแปลง
  • 11:47 - 11:50
    เราพยายามตามล่าหายา
  • 11:50 - 11:52
    แต่เราก็จบลงที่การมาค้นหาทฤษฎี
  • 11:52 - 11:53
    และในทำนองเดียวกัน
  • 11:54 - 11:56
    เรากลับไปได้ความคิดในแบบเก่า ๆ
  • 11:56 - 11:59
    เกี่ยวกับ เซลล์ สิ่งมีชีวิต
    สิ่งแวดล้อม
  • 11:59 - 12:02
    เพราะว่าเราไม่ได้คิดเกี่ยวกับ
    สเต็มเซลล์กระดูก
  • 12:02 - 12:05
    เราคิดถึงโรคข้อเสื่อม
    ในแบบของโรคระดับเซลล์
  • 12:06 - 12:08
    และจากนั้น คำถามต่อไปก็คือ
    แล้วอวัยวะล่ะ
  • 12:08 - 12:10
    เราสร้างสิ่งนี้เป็นอวัยวะภายนอกร่างกาย
    ได้หรือเปล่า
  • 12:10 - 12:14
    เราจะสามารถปลูกถ่ายกระดูกอ่อน
    เข้าไปในบริเวณที่เกิดแผล
  • 12:14 - 12:16
    และบางทีที่น่าสนใจที่สุด
  • 12:16 - 12:19
    คุณจะสามารถสร้างขึ้นไป
    จนถึงสิ่งแวดล้อมได้หรือเปล่า
  • 12:19 - 12:22
    ครับ เรารู้ว่าการออกกำลังสร้างกระดูกใหม่
  • 12:22 - 12:24
    แต่เอาจริง ๆ นะครับ
    ไม่มีใครจะออกกำลังกายกันหรอก
  • 12:24 - 12:29
    แล้วคุณนึกวิธีที่จะเอากระดูกเข้าและออก
    อย่างไม่ต้องใช้แรงได้หรือเปล่า
  • 12:29 - 12:34
    เพื่อที่คุณจะได้สร้างหรือทำให้กระดูกอ่อน
    เจริญเกิดขึ้นมาใหม่
  • 12:34 - 12:37
    และบางทีที่น่าสนใจ
    และน่าจะมีความสำคัญมากที่สุด
  • 12:37 - 12:40
    คำถามก็คือ คุณจะนำเอาแบบจำลองนี้
    ไปใช้กับโลกความเป็นจริงนอกวงการแพทย์ได้ไหม
  • 12:40 - 12:44
    สิ่งที่เป็นความท้าทาย ดังที่ผมได้บอกก่อนหน้านี้
    ไม่ใช่การฆ่าอะไรสักอย่าง
  • 12:44 - 12:46
    แต่เป็นการเลี้ยงอะไรสักอย่าง
  • 12:46 - 12:51
    และผมก็คิดว่า
    มันก็ทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจที่สุด
  • 12:51 - 12:54
    และการที่เราคิดเกี่ยวกับอนาคตของวงการแพทย์
  • 12:55 - 12:58
    ยาของคุณจะเป็นเซลล์ ไม่ใช่ยาเม็ด
  • 12:59 - 13:01
    เราจะเลี้ยงเซลล์ได้อย่างไร
  • 13:01 - 13:04
    เราจะหยุดการเติบโตอย่างลุกลาม
    ของเซลล์เหล่านี้ได้อย่างไร
  • 13:04 - 13:08
    เราทราบถึงปัญหาที่ทำให้เกิดการเติบโต
    แบบลุกลามนี้
  • 13:08 - 13:11
    เราจะสามารถปลูกถ่ายยีนฆ่าตัวตาย
    เข้าไปในเซลล์เหล่านี้ได้หรือเปล่า
  • 13:11 - 13:12
    เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของพวกมัน
  • 13:13 - 13:17
    ยาของคุณจะเป็นอวัยวะ
    ที่ถูกสร้างขึ้นภายนอกร่างกาย
  • 13:17 - 13:19
    และปลูกถ่ายเข้าไปในร่างกายได้หรือไม่
  • 13:19 - 13:22
    แล้วมันจะหยุดการเสื่อมถอยได้หรือเปล่า
  • 13:22 - 13:24
    ถ้าหากอวัยวะที่ต้องการเป็นความทรงจำล่ะ
  • 13:24 - 13:28
    ในกรณีของโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท
    อวัยวะเหล่านี้มีความทรงจำอยู่
  • 13:28 - 13:31
    เราจะปลูกถ่ายความทรงจำกลับไปได้อย่างไร
  • 13:31 - 13:33
    เราเก็บรักษาอวัยวะเหล่านี้ได้หรือเปล่า
  • 13:33 - 13:36
    อวัยวะแต่ละอย่างจะต้องถูกพัฒนา
    สำหรับมนุษย์แต่ละคน
  • 13:36 - 13:37
    และนำมันกลับไปใช่หรือเปล่า
  • 13:39 - 13:41
    และบางที ที่น่าฉงนที่สุด
  • 13:41 - 13:43
    ยาของคุณจะเป็นสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่
  • 13:44 - 13:46
    คุณจะจดสิทธิบัตรสิ่งแวดล้อมได้หรือเปล่า
  • 13:46 - 13:49
    ในทุก ๆ วัฒนธรรม
  • 13:49 - 13:52
    จอมเวทย์ได้ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นยา
  • 13:52 - 13:55
    เราจะจินตนาการถึงสิ่งนั้น
    เพื่ออนาคตของพวกเราได้หรือเปล่า
  • 13:56 - 13:59
    ผมได้บรรยายไปมากเกี่ยวกับแบบจำลอง
    ผมเริ่มการบรรยายนี้ด้วยแบบจำลอง
  • 13:59 - 14:02
    ฉะนั้น ให้ผมจบการบรรยายนี้
    ด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลอง
  • 14:02 - 14:04
    สิ่งที่เราทำในฐานะนักวิทยาศาสตร์
  • 14:04 - 14:08
    เมื่อสถาปนิกสร้างแบบจำลอง
  • 14:08 - 14:11
    เขาหรือเธอก็พยายามที่จะแสดง
    โลกขนาดเล็ก ๆ ให้กับคุณ
  • 14:11 - 14:14
    แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์กำลังสร้างแบบจำลอง
  • 14:14 - 14:16
    เขาหรือเธอพยายามที่จะสร้าง
    โลกในแบบการเปรียบเปรย
  • 14:18 - 14:21
    เขาหรือเธอพยายามที่จะสร้าง
    หนทางใหม่ในการมองเห็น
  • 14:21 - 14:26
    แบบดั้งเดิมเป็นการเปลี่ยนระดับ
    แบบอย่างหลังเป็นการเปลี่ยนการรับรู้
  • 14:27 - 14:32
    ทีนี้ ยาปฏิชีวนะ
    ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนการรับรู้
  • 14:32 - 14:36
    ในรูปแบบความคิดของเราเกี่ยวกับยา
    ที่ทำให้วิธีที่เราคิด
  • 14:36 - 14:40
    เกี่ยวกับยาในหลายร้อยปีที่ผ่านมา
    ถูกเติมแต่งและทำให้บิดเบี้ยวอย่างสมบูรณ์
  • 14:40 - 14:45
    แต่เราต้องการแบบจำลองใหม่
    เพื่อที่จะเป็นแนวคิดด้านการแพทย์ในอนาคต
  • 14:45 - 14:46
    นั่นคือความท้าทาย
  • 14:47 - 14:51
    มันมีภาพลักษณ์ที่เป็นที่นิยม
  • 14:51 - 14:55
    ที่เป็นเหตุผลว่า การที่เรา
    ไม่มีในการเปลี่ยนแปลงสำคัญ
  • 14:55 - 14:57
    เกี่ยวกับการบำบัดรักษาความเจ็บป่วย
  • 14:57 - 15:00
    ก็เป็นเพราะเราไม่มียาที่มีประสิทธิภาพพอ
  • 15:00 - 15:01
    และมันก็จริงเพียงบางส่วน
  • 15:02 - 15:04
    แต่บางทีเหตุผลที่แท้จริงก็คือ
  • 15:04 - 15:07
    เราไม่มีวิธีคิดอ่านเกี่ยวกับการแพทย์
    ที่ทรงพลังพอต่างหาก
  • 15:09 - 15:11
    มันจริงที่ว่า
  • 15:11 - 15:15
    มันน่าจะดีทีเดียวที่จะมียาใหม่ ๆ
  • 15:15 - 15:19
    แต่บางทีสิ่งที่เป็นความท้าทายสำคัญ
    คือ M ทั้งสามที่เป็นนามธรรม
  • 15:19 - 15:23
    ซึ่งได้แก่ กลไกล แบบจำลอง
    และการเปรียบเปรย
  • 15:23 - 15:25
    ของคุณครับ
  • 15:25 - 15:32
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:34 - 15:37
    คริส แอนเดอร์สัน:
    ผมชอบการเปรียบเปรยจริง ๆ
  • 15:37 - 15:39
    มันเชื่อมต่อเข้าไปได้อย่างไรครับ
  • 15:39 - 15:42
    มีการบรรยายมากมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี
  • 15:42 - 15:44
    เกี่ยวกับการแพทย์ส่วนบุคคล
  • 15:44 - 15:47
    ที่เรามีข้อมูลทั้งหมด
    และการบำบัดทางการแพทย์สำหรับอนาคต
  • 15:47 - 15:52
    จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุณอย่างจำเพาะ
    จีโนมของคุณ บริบทของคุณตอนนี้
  • 15:52 - 15:56
    นั่นมันใช้ได้กับแบบจำลอง
    ที่คุณมีอยู่ตรงนี้หรือเปล่าครับ
  • 15:56 - 15:58
    สิทธัตถะ มุกเคอร์จี:
    มันเป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ
  • 15:58 - 16:01
    เราคิดถึงการแพทย์ส่วนบุคคล
  • 16:01 - 16:02
    อย่างมากในส่วนของจีโนม
  • 16:02 - 16:05
    นั่นเป็นเพราะว่ายีน
    เป็นการเปรียบเปรยที่เด่นชัด
  • 16:05 - 16:08
    อีกครั้งครับ ถ้าจะใช้คำเดียวกัน
    ในการแพทย์ทุกวันนี้
  • 16:08 - 16:12
    ที่เราคิดว่าจีโนมจะขับเคลื่อน
    การแพทย์ส่วนบุคคล
  • 16:12 - 16:15
    แต่แน่นอน จีโนมเป็นเพียงพื้นฐาน
  • 16:15 - 16:19
    ของโซ่สายยาวของสิ่งมีชีวิต
    ในแบบที่มันเป็น
  • 16:19 - 16:22
    โซ่ที่ว่านี้ เป็นหน่วยแรกที่ถูกจัดเรียงของสิ่งนั้น
    ซึ่งก็คือเซลล์
  • 16:22 - 16:25
    ฉะนั้น ถ้าเรากำลังจะทำให้เกิด
    การแพทย์ส่วนบุคคลในลักษณะนี้
  • 16:25 - 16:28
    เราจะต้องคิดถึงการบำบัดระดับเซลล์
    แบบส่วนบุคคล
  • 16:28 - 16:31
    และจากนั้นการบำบัดด้วยอวัยวะ
    หรืออวัยวะส่วนบุคคล
  • 16:31 - 16:35
    และสุดท้ายแล้วการบำบัดส่วนบุคคล
    สำหรับสิ่งแวดล้อม
  • 16:35 - 16:38
    ฉะนั้น ผมคิดว่าทุก ๆ ขั้นตอนครับ
  • 16:38 - 16:41
    มันมีการเปรียบเปรย
    มันเป็นเต่าที่เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ
  • 16:41 - 16:43
    ครับ ในเรื่องนี้ มันเป็นการแพทย์ส่วนบุคคล
    ที่เรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ
  • 16:43 - 16:46
    คริส: ฉะนั้น เมื่อคุณบอกว่า
    การแพทย์อาจเป็นเซลลื
  • 16:46 - 16:48
    และไม่ได้เป็นยา
  • 16:48 - 16:50
    คุณพูดถึงเซลล์ของตัวคุณเองใช่ไหมครับ
  • 16:50 - 16:53
    สิทธัตถะ: แน่นอนครับ
    คริส: ฉะนั้น เปลี่ยนไปหาสเต็มเซลล์
  • 16:53 - 16:57
    บางที่อาจทดสอบมันกับยาทุก ๆ แบบ
    หรืออะไรแบบนั้น
  • 16:57 - 17:00
    สิทธัตถะ: และไม่ใช่บางทีหรอกครับ
    นั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ครับ
  • 17:00 - 17:04
    นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
    อันที่จริง เรากำลังคืบหน้าไปอย่างช้า ๆ
  • 17:04 - 17:07
    ไม่ได้ไปจากจีโนม
    แต่รวมเอาจีโนมไว้ด้วย
  • 17:07 - 17:12
    กับสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบที่กำกับตัวเอง
    กึ่งอัตโนมัติ ในหลาย ๆ ระดับ
  • 17:12 - 17:15
    อย่างเซลล์ อย่างอวัยวะ
    อย่างสิ่งแวดล้อม
  • 17:15 - 17:16
    คริส: ขอบคุณมากครับ
  • 17:16 - 17:18
    สิทธัตถะ: ยินดีครับ ขอบคุณครับ
Title:
อีกไม่นาน เราจะรักษาโรคด้วยเซลล์ ไม่ใช่ด้วยยา
Speaker:
Siddhartha Mukherjee (สิทธัตถะ มุกเคอร์จี)
Description:

การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถสรุปได้ในหกคำ คือ เป็นโรค กินยา ฆ่ามัน แต่แพทย์อย่าง สิทธัตถะ มุกเคอร์จี ชี้ทางแห่งอนาคตของวงการแพทย์ที่จะเปลี่ยนวิธีการรักษาของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:31

Thai subtitles

Revisions