hideApril is World Autism Month and we want to bring awareness to the importance of inclusion in the classroom!
💡Learn with Amara.org how Captioning Can Empower Diverse Learners!

< Return to Video

อาหารที่คุณกินส่งผลต่อสมองคุณอย่างไร - มีอา นาคามูลิ (Mia Nacamulli)

  • 0:06 - 0:09
    สมองของคุณหมกมุ่นกับเรื่องอาหาร
  • 0:09 - 0:13
    ถ้าคุณดูดเอาความชื้นออกจากสมองของคุณ
  • 0:13 - 0:16
    และแยกมันตาม
    องค์ประกอบสารอาหารพื้นฐาน
  • 0:16 - 0:18
    มันจะมีหน้าตาอย่างไร
  • 0:18 - 0:22
    น้ำหนักส่วนใหญ่ของสมองที่ไม่มีน้ำ
    มาจากไขมัน
  • 0:22 - 0:25
    หรือที่เรายังเรียกกันว่า ลิปิด
  • 0:25 - 0:29
    ที่เหลือ จะเป็นโปรตีนและกรดอะมิโน
  • 0:29 - 0:31
    สารอาหารรองอื่น ๆ อีกเล็กน้อย
  • 0:31 - 0:33
    และกลูโคส
  • 0:33 - 0:37
    แน่ละ สมองเป็นมากกว่า
    การเอาสารอาหารต่าง ๆ มารวมกัน
  • 0:37 - 0:41
    แต่ว่าแต่ละส่วนมีความสำคัญ
    ต่อหน้าที่การทำงาน
  • 0:41 - 0:42
    พัฒนาการ
  • 0:42 - 0:43
    อารมณ์
  • 0:43 - 0:45
    และพลังงาน
  • 0:45 - 0:47
    แล้วอาการเซื่องซึมหลังอาหาร
  • 0:47 - 0:50
    หรือการที่คุณรู้สึกตื่นตัวช่วงกลางคืน
  • 0:50 - 0:55
    นั่นมัน อาจเป็นแค่ผลจากอาหาร
    ที่มีต่อสมองของคุณ
  • 0:55 - 1:00
    ในบรรดาไขมันในสมองของคุณ
    ดาราสำคัญคือ โอเมกา 3 และ 6
  • 1:00 - 1:02
    กรดไขมันจำเป็นเหล่านี้
  • 1:02 - 1:05
    ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง
    กับการป้องกันสภาวะสมองเสื่อม
  • 1:05 - 1:07
    จะต้องมาจากการบริโภคของเรา
  • 1:07 - 1:09
    ฉะนั้น การรับประทานอาหาร
    ที่มีโอเมกาอยู่มาก ๆ
  • 1:09 - 1:10
    เช่น ถั่ว
  • 1:10 - 1:11
    เมล็ดพืช
  • 1:11 - 1:12
    และปลาที่มีไขมันมาก
  • 1:12 - 1:17
    มีความสำคัญในการสร้างและบำรุงรักษา
    เยื่อหุ้มเซลล์
  • 1:17 - 1:19
    และในขณะที่โอเมกาเป็นไขมันที่ดีต่อสมอง
  • 1:19 - 1:24
    การบริโภคไขมันอื่น ๆ อย่างไขมันทรานส์
    และไขมันอิ่มตัวในระยะยาว
  • 1:24 - 1:27
    อาจมีส่วนส่งเสริมสุขภาพสมองที่ดี
  • 1:27 - 1:29
    ในขณะเดียวกัน โปรตีน และกรดอะมิโน
  • 1:29 - 1:32
    ซึ่งเป็นสารอาหารที่เป็นพื้นฐาน
    ของการเติบโตและพัฒนาการ
  • 1:32 - 1:36
    กำกับความรู้สึกและพฤติกรรมของเรา
  • 1:36 - 1:40
    กรดอะมิโนมีสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท
  • 1:40 - 1:44
    ซึ่งเป็นตัวส่งเชิงเคมี
    ที่นำสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท
  • 1:44 - 1:45
    มีผลต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น อารมณ์
  • 1:45 - 1:46
    การนอนหลับ
  • 1:46 - 1:47
    ความตื่นตัว
  • 1:47 - 1:49
    และน้ำหนัก
  • 1:49 - 1:54
    พวกมันเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เรารู้สึกเนือย
    หลังจากกินพลาสต้าจานโต
  • 1:54 - 1:57
    หรืออาจทำให้ตื่นตัวมากขึ้น
    หลังจากที่กินอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • 1:57 - 2:00
    สัดส่วนที่ซับซ้อนของสารอาหาร
  • 2:00 - 2:05
    สามารถกระตุ้นเซลล์สมองให้ปลดปล่อย
    สารที่ส่งผลต่ออารมณ์ อย่างเช่น นอร์อิพิเนฟริน
  • 2:05 - 2:06
    โดปามีน
  • 2:06 - 2:08
    หรือ เซราโทนิน
  • 2:08 - 2:10
    แต่การจะไปถึงเซลล์สมองของคุณ
    มันไม่ใช่เรื่องง่าย
  • 2:10 - 2:13
    และกรดอะมิโนต้องแข่งขัน
    เพื่อการเข้าถึงที่จำกัดนั้น
  • 2:13 - 2:17
    การบริโภคอาหารที่หลากหลาย
    ช่วยคงสมดุลสัดส่วน
  • 2:17 - 2:19
    ของตัวส่งประสาทสมอง
  • 2:19 - 2:24
    และคงสมดุลอารมณ์ของคุณ
    ไม่ให้เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป
  • 2:24 - 2:26
    เช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของคุณ
  • 2:26 - 2:30
    สมองของเรายังได้รับประโยชน์
    จากสารอาหารที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอ
  • 2:30 - 2:32
    สารต้านอนุมูลอิสระในผักและผลไม้
  • 2:32 - 2:37
    เพิ่มความแข็งแรงให้กับสมองในการต่อสู้
    กับอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์สมอง
  • 2:37 - 2:41
    ทำให้สมองของคุณทำงานได้ดี
    ในช่วงเวลานาน ๆ
  • 2:41 - 2:43
    และถ้าไม่มีสารอาหารรอง
  • 2:43 - 2:45
    อย่างเช่น วิตามิน บี6
  • 2:45 - 2:46
    บี12
  • 2:46 - 2:47
    และ กรดโฟลิก
  • 2:47 - 2:52
    สมองของเราอาจเป็นโรคทางสมอง
    และมีอาการทางประสาทเสื่อมถอยได้ง่าย
  • 2:52 - 2:54
    ปริมาณเพียงน้อยนิดของแร่เหล็ก
  • 2:54 - 2:54
    ทองแดง
  • 2:54 - 2:55
    สังกะสี
  • 2:55 - 2:56
    และโซเดียม
  • 2:56 - 3:01
    ยังมีความสำคัญต่อสุขภาพของสมอง
    และพัฒนาการทางความจำในวัยเด็ก
  • 3:01 - 3:05
    เพื่อเพื่อที่สมองจะเปลี่ยนและสังเคราะห์
  • 3:05 - 3:06
    สารอาหารที่มีคุณค่าเหล่านี้
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 3:06 - 3:08
    มันต้องการพลังงานเยอะเสียด้วย
  • 3:08 - 3:13
    ในขณะที่สมองมนุษย์
    มีน้ำหนักเพียงร้อยละ 2 ของร่างกาย
  • 3:13 - 3:17
    มันใช้พลังงานถึงร้อยละ 20
    ของแหล่งพลังงาน
  • 3:17 - 3:20
    พลังงานส่วนใหญ่มาในรูปแบบ
    คาร์โบไฮเดรต
  • 3:20 - 3:24
    ที่ร่างกายย่อยสลายเป็นกลูโคส
    หรือน้ำตาลในเลือด
  • 3:24 - 3:28
    สมองส่วนหน้ามีความไวมาก
    ต่อการลดลงของกลูโคส
  • 3:28 - 3:32
    และการเปลี่ยนแปลงการทำงานทางประสาท
    คือหนึ่งในสัญญาณแรก
  • 3:32 - 3:35
    ของการขาดสารอาหาร
  • 3:35 - 3:37
    ถ้าหากว่าเราได้กลูโคสเป็นประจำ
  • 3:37 - 3:42
    คาร์โบไฮเดรตชนิดต่าง ๆ ที่เรากิน
    มีผลต่อสมองของเราต่างกันอย่างไร
  • 3:42 - 3:44
    มีคาร์โบไฮเดรตอยู่สามรูปแบบ
  • 3:44 - 3:45
    แป้ง
  • 3:45 - 3:46
    น้ำตาล
  • 3:46 - 3:47
    และใยอาหาร
  • 3:47 - 3:49
    บนฉลากบอกปริมาณสารอาหารส่วนใหญ่
  • 3:49 - 3:52
    พวกมันจะถูกนับรวมกันทั้งหมด
  • 3:52 - 3:56
    แต่อัตราส่วนของชนิดน้ำตาลและใยอาหาร
    ต่อปริมาณทั้งหมด
  • 3:56 - 3:59
    ส่งผลว่าร่ายกายและสมองของเรา
    จะตอบสนองอย่างไร
  • 3:59 - 4:02
    อาหารที่มีค่าไกลซีมิกสูง อย่างเช่น ขนมปัง
  • 4:02 - 4:06
    ทำให้เกิดการปลดปล่อยกลูโคสอย่างรวดเร็ว
    เข้าไปยังกระแสเลือด
  • 4:06 - 4:08
    และจากนั้นก็ลดต่ำลงมา
  • 4:08 - 4:12
    น้ำตาลในเลือดลดต่ำลง และเมื่อมันเกิดขึ้น
    สมาธิและอารมณ์ของเราก็ตกด้วย
  • 4:12 - 4:18
    ในทางกลับกัน ข้าวโอ๊ต เมล็ดพืช
    และถั่ว ปลดปล่อยกลูโคสช้ากว่า
  • 4:18 - 4:21
    ทำให้ระดับความตื่นตัวของเรา
    เสถียรกว่า
  • 4:21 - 4:23
    เพื่อประคองระดับพลังงานสมอง
  • 4:23 - 4:27
    การเลือกบริโภคอาหารหลากหลาย
    ที่มีสารอาหารมากเป็นสิ่งสำคัญ
  • 4:27 - 4:30
    เมื่อเมื่อมันเป็นเรื่องการกัด เคี้ยว และกลืน
  • 4:30 - 4:34
    การเลือกของคุณมีผลโดยตรง
    และยาวนาน
  • 4:34 - 4:36
    ต่ออวัยวะที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดของร่างกาย
Title:
อาหารที่คุณกินส่งผลต่อสมองคุณอย่างไร - มีอา นาคามูลิ (Mia Nacamulli)
Speaker:
Mia Nacamulli
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/how-the-food-you-eat-affects-your-brain-mia-nacamulli

เมื่อมันเป็นเรื่องการกัด เคี้ยว และกลืน การเลือกของคุณมีผลโดยตรงและยาวนานต่ออวัยวะที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดของร่างกาย ซึ่งก็คือสมองของคุณ แล้วอาหารอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยหลังจากอาหารเที่ยง หรือรู้สึกกระสับกระส่ายในตอนกลางคืน มีอา นาคามูลิ พาคุณเข้าไปในสมองเพื่อหาคำตอบ

บทเรียนโดย Mia Nacamulli, แอนิเมชันโดย Private Island

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:53
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 26, 2016, 3:14 PM
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 26, 2016, 2:20 PM
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 26, 2016, 9:38 AM
Rawee Ma declined Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 26, 2016, 5:19 AM
Rawee Ma edited Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 26, 2016, 5:19 AM
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 23, 2016, 9:14 AM
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How the food you eat affects your brain Jun 23, 2016, 6:59 AM

Thai subtitles

Revisions

  • Revision 4 Edited
    Kelwalin Dhanasarnsombut Jun 26, 2016, 9:38 AM