< Return to Video

วิทรูเวียนแมน แห่งคณิตศาสตร์ ของดาวินชี่- เจมส์ เอิร์ล (James Earle)

  • 0:16 - 0:17
    ภาพ เดอะวิทรูเวียนแมน (the Vitruvian Man)
  • 0:17 - 0:18
    ที่นำมาจากภาพร่างของ เลโอนาโด (Leonardo)
  • 0:18 - 0:20
    ได้กลายมาเป็นภาพที่ถูกจดจำได้มากที่สุด
  • 0:20 - 0:22
    ในฐานะสัญลักษณ์ของยุคฟื้นฟูศิลปะ (Renaissance)
  • 0:22 - 0:23
    แต่ทำไมล่ะ ?
  • 0:23 - 0:25
    มันเป็นแค่ภาพวาดจากปากกาและหมึกใช่ไหม ?
  • 0:25 - 0:26
    ผิด !
  • 0:26 - 0:27
    ลองเริ่มตอบคำถามนี้
  • 0:27 - 0:29
    จากปัญหาทางคณิตศาสตร์
  • 0:29 - 0:31
    ผมรู้ว่าจะคำนวณพื้นที่ของวงกลมได้อย่างไร
  • 0:31 - 0:32
    ผมนำค่าไพน์
  • 0:32 - 0:34
    และคูณมันด้วยรัศมียกกำลังสอง
  • 0:34 - 0:37
    ผมยังรู้อีกว่า หาพื้นที่สี่เหลี่ยมได้อย่างไร
  • 0:37 - 0:39
    ผมคูณความยาวฐานด้วยตัวของมันเอง
  • 0:39 - 0:41
    แต่ผมจะหาพื้นที่วงกลม
  • 0:41 - 0:44
    และสร้างสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่เท่ากันได้อย่างไร ?
  • 0:44 - 0:46
    นี่เป็นปริศนาที่ถูกขนานนามบ่อยๆว่า
    "สร้างสี่เหลี่ยมจากวงกลม" (squaring a circle)
  • 0:46 - 0:48
    มันถูกเสนอขึ้นมาครั้งแรกในยุคโบราณ
  • 0:48 - 0:50
    และเหมือนกับความคิดอื่นๆจากยุคโบราณ
  • 0:50 - 0:52
    มันถูกชุบชีวิตขึ้นใหม่ในยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ
  • 0:52 - 0:53
    ดั่งที่มันได้ปรากฎ
  • 0:53 - 0:54
    ปริศนานี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้
  • 0:54 - 0:56
    เพราะว่าธรรมชาติของค่าไพน์
  • 0:56 - 0:58
    แต่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
  • 0:58 - 0:59
    ภาพร่างของ เลโอนาโด
  • 0:59 - 1:00
    ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานเขียน
  • 1:00 - 1:02
    ของสถาปนิกชาวโรมัน นาม วิทรูเวียน
  • 1:02 - 1:04
    ได้ว่างภาพมนุษย์ไว้ตรงกลาง
  • 1:04 - 1:06
    ของวงกลมและสี่เหลี่ยม
  • 1:06 - 1:07
    วิทรูเวียนอ้างว่า สะดือ
  • 1:07 - 1:08
    เป็นจุดศูนย์กลางของร่างกายมนุษย์
  • 1:08 - 1:10
    และถ้านำเอาวงเวียน
  • 1:10 - 1:11
    มาปักที่จุดคงที่ ณ ตำแหน่งสะดือ
  • 1:11 - 1:14
    ก็จะสามารถวาดวงกลมได้อย่างสมบูรณ์รอบตัวมนุษย์
  • 1:14 - 1:16
    ยิ่งไปกว่านั้น วิทรูเวียนยังแสดงให้เห็นว่า
  • 1:16 - 1:17
    ช่วงแขนและและความสูง
  • 1:17 - 1:20
    แทบจะมีความสอดคล้องอย่างสมบูรณ์กับลำตัว
  • 1:20 - 1:23
    ฉะนั้น ลำตัวของมนุษย์ก็ถูกจัดวางอยู่ในสี่เหลี่ยม
    อย่างลงตัวสมบูรณ์เช่นกัน
  • 1:23 - 1:24
    เลโอนาโดใช้แนวคิดของวิทรูเวียน
  • 1:24 - 1:27
    เพื่อที่จะแก้ปริศนา "สร้างสี่เหลี่ยมจากวงกลม"
    ในเชิงอุปมา
  • 1:27 - 1:30
    โดยการใช้ตัวมนุษย์เป็นดั่งพื้นที่ของทั้งสองรูปร่าง
  • 1:30 - 1:33
    เลโอนาโดไม่ได้คิดถึงเพียงแค่วิทรูเวียนหรอก อันที่จริง
  • 1:33 - 1:34
    มันเกิดแนวปรัชญาความคิดขึ้น
  • 1:34 - 1:35
    ที่อิตาลี ในขณะนั้น
  • 1:35 - 1:36
    เรียกว่า นีโอพลาโตอิซึม (Neoplatonism)
  • 1:36 - 1:38
    แนวความคิดดังกล่าวนำเอาแนวคิดเดิม
  • 1:38 - 1:40
    จากยุคศตวรรษที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมาโดยพลาโตและอริสโตเติล
  • 1:40 - 1:42
    เรียกว่า "สายโซ่แห่งชีวิต" (The Great Chain of Being)
  • 1:42 - 1:44
    ความเชื่อนี้กล่าวว่าเอกภพนั้นมีลำดับขั้น
  • 1:44 - 1:46
    เหมือนกับสายโช่
  • 1:46 - 1:48
    และสายโช่นั้นเริ่มจากส่วนบนสุดคือพระเจ้า
  • 1:48 - 1:50
    จากนั้นลดหลั่นลงมาผ่านเทพเทวดา
  • 1:50 - 1:50
    ดาวเคราะห์
  • 1:50 - 1:51
    ดวงดาว
  • 1:51 - 1:52
    และสิ่งมีชีวิตทุกรูปกาย
  • 1:52 - 1:54
    ก่อนที่จะจบลงที่อสูรและปิศาจ
  • 1:54 - 1:56
    ในช่วงแรกของแนวคิดทางปรัชญานี้
  • 1:56 - 1:58
    เป็นที่คิดกันว่า ตำแหน่งของมนุษย์ในสายโซ่นี้
  • 1:58 - 2:00
    อยู่ตรงกลางอย่างพอดิบพอดี
  • 2:00 - 2:01
    เพราะว่ามนุษย์มีร่างกายที่ไม่จีรัง
  • 2:01 - 2:03
    อยู่ร่วมกันกับจิตวิญญาณที่เป็นอมตะ
  • 2:03 - 2:05
    พวกเราแบ่งครึ่งเอกภพได้อย่างสวยงาม
  • 2:05 - 2:07
    อย่างไรก็ดี ในช่วงราวๆที่เลโอนาโด
  • 2:07 - 2:09
    ได้ร่างภาพวิทรูเวียนแมน
  • 2:09 - 2:11
    นักปรัชญายุคนีโอพลาโต นามว่า พิโก เดลล่า มิแรนโดล่า
    (Pico della Mirandola)
  • 2:11 - 2:12
    มีแนวคิดที่ต่างไป
  • 2:12 - 2:14
    เขางัดมนุษย์ออกมาจากสายโซ่นั่น
  • 2:14 - 2:16
    และอ้างว่า มนุษย์มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์
  • 2:16 - 2:18
    ที่สามารถจะอยู่ในท่าทางใดก็ได้ที่ต้องการ
  • 2:18 - 2:19
    พิโกอ้างว่า พระเจ้ามีพระประสงค์
  • 2:19 - 2:21
    สร้างสิ่งมีชีวิตที่สามารถที่จะเข้าใจ
  • 2:21 - 2:24
    เอกภพที่สวยงามและซับซ้อน ที่ถูกสร้างโดยน้ำมือพระเจ้า
  • 2:24 - 2:25
    สิ่งนี้นั่นเองที่นำไปสู่การสร้างมนุษย์
  • 2:25 - 2:27
    ซึ่งพระเจ้าได้วางลง ณ ศูนย์กลางของเอกภพ
  • 2:27 - 2:30
    ด้วยความสามารถที่จะอยู่ในรูปใดก็ได้ที่ต้องการ
  • 2:30 - 2:32
    มนุษย์ ตามแนวคิดของพิโก
  • 2:32 - 2:35
    สามารถที่จะไต่ลงไปตามสายโช่
    และมีพฤติกรรมเยี่ยงเดรัจฉาน
  • 2:35 - 2:37
    หรือจะคลานขึ้นไปตามสายโช่
    และมีพฤติกรรมเสมอเหมือนพระเจ้า
  • 2:37 - 2:38
    มันเป็นทางเลือกของเรา
  • 2:38 - 2:39
    มองกลับไปยังภาพร่างนั้น
  • 2:39 - 2:42
    เราสามารถเห็นได้ว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงท่าทางของมนุษย์
  • 2:42 - 2:43
    มนุษย์นั้นก็จะสามารถอยู่ในพื้นที่ของวงกลมและสี่เหลี่ยม
  • 2:43 - 2:45
    ที่ไม่ลงรอยกัน
  • 2:45 - 2:47
    ถ้าเรขาคณิตเป็นภาษาที่ใช้สร้างสรรค์เอกภพแล้วไซร้
  • 2:47 - 2:49
    ภาพร่างนี้เหมือนจะบอกเป็นนัย
  • 2:49 - 2:51
    ว่าเราปรากฎอยู่ในทุกธาตุพื้นฐานของมัน
  • 2:51 - 2:52
    มนุษย์สามารถที่จะอยู่ในรูปร่างใดก็ได้ที่เขาต้องการ
  • 2:52 - 2:53
    ในเชิงเรขาคณิต
  • 2:53 - 2:55
    และในเชิงปรัชญาเช่นกัน
  • 2:55 - 2:56
    ในภาพร่างนี้
  • 2:56 - 2:58
    เลโอนาโดสามารถที่จะรวบรวม
  • 2:58 - 2:58
    คณิตศาสตร์
  • 2:58 - 2:59
    ศาสนา
  • 2:59 - 3:00
    ปรัชญา
  • 3:00 - 3:01
    สถาปัตยกรรม
  • 3:01 - 3:03
    และความสามารถทางศิลปะในช่วงสมัยของเขา
  • 3:03 - 3:04
    มันได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์
  • 3:04 - 3:06
    ตลอดช่วงยุคนั้นอย่างไร้ข้อกังขา
Title:
วิทรูเวียนแมน แห่งคณิตศาสตร์ ของดาวินชี่- เจมส์ เอิร์ล (James Earle)
Speaker:
James Earle
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/da-vinci-s-vitruvian-man-of-math-james-earle

ภาพร่าง วิทรูเวียนแมน ของดาวินชี่ มีอะไรพิเศษงั้นหรือ? ด้วยแขนที่กางออกนั้น มนุษย์ได้เติมเต็มพื้นที่ที่เข้ากันไม่ได้ของวงกลมและสี่เหลี่ยม -- ซึ่งนั่นเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อในยุคฟื้นฟูวิทยาการถึงเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่สามารถแปรผันได้ เจมส์ เอิร์ล อธิบายถึงความสำคัญของ เรขาคณิต ศาสนา และ ปรัชญา ของภาพวาดที่แสร้งว่าเรียบง่ายภาพนี้

แบบเรียนโดย James Earle แอนิเมชั่นโดย TED-Ed.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:21
TED Translators admin edited Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Weerawan Thongpradab accepted Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Weerawan Thongpradab commented on Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Weerawan Thongpradab edited Thai subtitles for Da Vinci's Vitruvian Man of math
Show all
  • Great Thai translation. Only one minor changed I did. Feel free to contact if you have any question. :)

  • Thank you very much for being my reviewer. I have no any objection with this change.
    Wish to working with you again :)

Thai subtitles

Revisions Compare revisions