-
(ระฆัง)
-
(ระฆัง)
-
ฉันจะสามารถอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร
เมื่อปัจจุบันนั้นทนได้ยาก
-
เพราะว่าในหมู่บ้านพลัม
เราจะพูดอยู่เสมอว่า
-
ให้เราไม่จมอยู่กับอดีต
หรือหลงไปกับอนาคต
-
ให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน
-
และคำถามนี้เกี่ยวกับว่า
เราจะสามารถอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร
-
เมื่อเรารู้สึกว่าปัจจุบันนั้นทนได้ยาก
-
นี่เป็นคำถามที่ดี
-
(หัวเราะ)
-
ใครก็ตามที่รู้จักการฝึกอบรมสติ
-
รู้ว่าเราจะต้องกลับบ้าน
มาอยู่กับปัจจุบัน
-
เมื่อเรากลับบ้าน มาอยู่กับปัจจุบัน
เราจะเจอ
-
สถานการณ์สองแบบ
-
แบบแรกคือ
-
มีปัจจัยของความสุขอยู่มากมาย
-
ในปัจจุบันขณะ
-
เมื่อเราหายใจเข้าและนำจิตกลับบ้าน
มาอยู่ที่ร่างกาย
-
เราจะดำรงอยู่กับปัจจุบันขณะ
-
และเราจะพบว่า องค์ประกอบของ
ความสดชื่นและการเยียวยา
-
นั้นมีอยู่มากมายในปัจจุบันขณะ
-
องค์ประกอบของความสุขก็มีอยู่มากมายเช่นกัน
ในปัจจุบันขณะ
-
และด้วยความตระหนักรู้นั้น
-
เราจะสามารถสร้างความเบิกบานและ
และความสุขได้อย่างง่ายดาย
-
เราสามารถทำแบบนั้นได้เพื่อหล่อเลี้ยงตนเอง
-
หล่อเลี้ยงตนเองด้วยความเบิกบานและความสุข
-
นี่คือสถานการณ์แบบแรกที่เราจะเจอเมื่อ
เรากลับมาสู่ปัจจุบันขณะ
-
สถานการณ์แบบที่สอง คือ
เมื่อเรากลับมาสู่ปัจจุบันขณะ
-
เราอาจจะพบความรู้สึกเจ็บปวด
-
ความรู้สึกที่เจ็บปวด
-
ที่อยู่ในเรา
-
ที่จริงแล้ว ความรู้สึกที่เจ็บปวด
อารมณ์ที่เจ็บปวด
-
นั้นปรากฏออกมาเรื่อยๆ
-
แต่เวลาที่มันเริ่มปรากฏขึ้น
เราไม่ต้องการที่จะอยู่ตรงนั้น
-
เราจึงพยายามวิ่งหนี
-
ทำเหมือนกับว่าความเจ็บปวดนั้น
ไม่ได้มีอยู่
-
จึงไม่มีใครที่อยู่ตรงนั้น คอยดูแล
ความรู้สึกและอารมณ์ที่เจ็บปวด
-
การกลับมาสู่ปัจจุบันขณะในสถานการณ์นี้
จึงไม่ใช่เพื่อสำนึกรู้
-
ถึงองค์ประกอบของความสดชื่นและความสุข
-
แต่เพื่อให้มีโอกาสได้ดูแล
ความเจ็บปวดในตัวเรา
-
และเปลี่ยนแปลงมัน
-
ฉะนั้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันขณะ
นั้นจะทนได้ยาก
-
การกลับมาสู่ขณะนั้น เป็นโอกาสเดียวของเรา
-
ที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อสงบระงับ
ความเจ็บปวดนั้น
-
และเปลี่ยนแปลงมัน
-
คนส่วนใหญ่ไม่ทำแบบนั้น
-
เพราะว่าพวกเขากลัวว่า
เมื่อเขากลับมาอยู่กับตัวเอง
-
และเข้าไปสู่ความเจ็บปวดภายใน
-
เขาจะถูกความทุกข์ถาโถม
-
พวกเขาจึงพยายามหลีกหนี
-
คิดถึงเรื่องในอนาคตเพื่อลืม
-
กลับไปในอดีตเพื่อลืม
-
แต่ว่าอดีตและอนาคตนั้นเป็นเหมือนภาพ
-
ไม่ใช่ความเป็นจริง
-
มีแต่ปัจจุบันขณะเท่านั้นที่เป็นความจริง
-
หลายคนพยายามกลบเกลื่อน
ความทุกข์ภายใน
-
ไม่ใช่แค่โดยการกลับไปในอดีต
หรือวิ่งไปสู่อนาคต
-
นึกคิดว่ามันจะมีความหวังบางอย่าง
-
การสิ้นสุดของความทุกข์ในอนาคต
-
แต่ความคิดแบบนั้นก็ไม่สามารถจะอยู่ได้นาน
-
หลายคนพยายามกลบเกลื่อนความทุกข์ภายใน
-
โดยการบริโภค
-
เราอ่านนิตยสาร ดูโทรทัศน์
-
เราหาของกิน
-
เราฟังเพลง หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาคุย
-
ทุกอย่างที่เราทำ เราทำเพราะหวังว่า
ถ้าทำสิ่งเหล่านั้นแล้ว
-
เราจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ที่อยู่
ภายในตัวเรา
-
และเรายอมให้ความเจ็บปวดนั้นเติบโตต่อไป
ในตัวเรา
-
การกลับมารู้สึกตัวจะช่วยให้เรากลับมา
สู่ปัจจุบันขณะ
-
ถึงแม้ว่าขณะนั้นจะไม่ได้น่ายินดี
-
แต่ในขณะนั้นแหละ
-
ที่เราจะสามารถเข้าใจความทุกข์
-
แล้วหาทางที่จะสงบระงับมัน
-
และเปลี่ยนแปลงมัน
-
เพราะฉะนั้น คราวหน้าถ้าเราพบว่า
ปัจจุบันขณะนั้นไม่น่าอภิรมย์
-
อย่าคิดว่าการวิ่งหนีจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
-
ไม่หรอก
มันอาจจะมีโอกาสอยู่
-
ฉะนั้น อยู่กับขณะนั้น มองเข้าไปอย่าง
ลึกซึ้งถึงธรรมชาติของความทุกข์นั้น
-
ถ้าเรารู้วิธีหายใจอย่างมีสติ
-
หรือเดินอย่างมีสติ
-
เราจะสร้างพลังงานแห่งสติ
-
และพลังงานของสติที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติ
-
จะช่วยให้เราเข้มแข็งพอ
-
ที่จะสำนึกรู้ และต้านทานความเจ็บปวด
และโอบรับมันอย่างอ่อนโยน
-
และการโอบรับความเจ็บปวดอย่าง
อ่อนโยน
-
ในไม่กี่นาที
เราจะสามาถสงบมันลงได้
-
และ
-
ถ้ามีผู้ฝึกปฏิบัติคนอื่นๆ อยู่กับเราด้วย
-
เราจะได้รับประโยชน์จากพลังงานของสติ
-
และความเห็นอกเห็นใจ
-
การทำความรู้จักกับความทุกข์
-
นำมาซึ่งความเข้าใจในความทุกข์
-
และ
-
พลังงานของความเห็นอกเห็นใจ
ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ
-
มีพลังที่จะเยียวยา
-
ที่จะเยียวยาเรา และผู้คนรอบข้างในขณะนั้น
-
และถ้ามีกลุ่มผู้ฝึกปฏิบัติอยู่ด้วยกัน
-
โอบรับความทุกข์อย่างอ่อนโยนไปด้วยกัน
-
พวกเขาจะประสบกับกลุ่มพลังงานของ
ความเห็นอกเห็นใจ ที่จะเยียวยาพวกเขา
-
และเมื่อพวกเขาทุกข์น้อยลง พวกเขาจะอยู่ใน
สถานะที่จะช่วยผู้อื่น
-
ให้ทำแบบเดียวกันได้
-
มีพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง ชื่อ
พระกษิติครรภโพธิสัตว์
-
เขาปฏิญาณว่าจะไปยังที่
-
ที่มีความทุกข์เยอะ
-
เพื่อจะได้มีโอกาสช่วยเหลือ
-
มีหมอ พยาบาล และนักสังคมสงเคราะห์เป็น
จำนวนมากที่ทำแบบเดียวกัน
-
พวกเขาอาสาที่จะไปยังสถานที่ที่
มีความเจ็บปวดในโลก
-
เพื่อที่จะช่วยผู้คน
-
เพราะฉะนั้น พระกษิติครรภโพธิสัตว์นั้น
มีอยู่จริง ไม่ใช่แค่ความนึกคิด
-
มีเด็กเล็กๆ ที่กำลังเป็น
พระกษิติครรภโพธิสัตว์
-
พวกเขาไม่กลัวความทุกข์
-
เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาสามารถ
ช่วยบรรเทาความทุกข์
-
พระกษิติครรภโพธิสัตว์มีแหล่งที่มาของ
พลังงานที่แข็งแกร่ง
-
นั่นคือความปราถนา
-
การบำรุงหล่อเลี้ยงประเภทที่สาม
ความปราถนา
-
เรารู้ว่าเราอยู่ตรงนั้น มีชีวิตอยู่
-
และเราอยากจะทำอะไรบางอย่างในชีวิต
-
เราอยากให้ชีวิตของเรามีประโยชน์
มีความหมาย
-
เราจึงปฏิญาณอย่างแรงกล้า ว่าจะไปช่วยผู้คน
ที่มีความทุกข์
-
เราจึงไม่กลัวสถานการณ์ที่มีความทุกข์
-
และ พระโพธิสัตว์เหล่านี้ ควรได้รับ
การสนับสนุนจากพวกเรา
-
เราสนับสนุนพวกเขาเพื่อไม่ให้พวกเขาสูญเสีย
ความปราถนาหลังจากให้บริการเป็นปีๆ
-
พวกเราต้องส่งพลังงานแห่งกำลังใจ
ไปยังพวกเขา
-
พวกเขาต้องการการบำรุงหล่อเลี้ยงและเยียวยา
-
หกเดือนให้หลัง จากการทำงานในสถานการณ์ที่
ยากลำบาก พวกเขากลับบ้าน
-
และพวกเขามีพวกเราคอยดูแล
-
พยายามช่วยให้พวกเขาเยียวยา เพื่อให้พวกเขา
ได้ออกไปอีกเป็นครั้งที่สอง และครั้งที่สาม
-
พระกษิติครรภโพธิสัตว์ ก็ต้องการ
ความช่วยเหลือเช่นกัน
-
เพราะฉะนั้น พวกเราจึงอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วย
พระกษิติครรภโพธิสัตว์น้อย
-
ให้ทำงานต่อไปได้ในโลก
-
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเห็นอกเห็นใจ
-
ถ้าเราไม่รังเกียจการอยู่ในสถานการณ์
ที่ยากลำบากและประกอบไปด้วยความทุกข์
-
และถ้าเรามีความเห็นอกเห็นใจเพียงพอ
-
เราจะถูกคุ้มครอง เราจะไม่ถูกถาโถมไปด้วย
พลังงานรวม
-
ของความทุกข์จากผู้คนรอบข้าง
-
และ พระกษิติครรภโพธิสัตว์รู้ว่า
พวกเขาต้องการสังฆะ
-
เพื่อที่จะดำเนินงานต่อไปได้อีกนาน
-
เพราะฉะนั้น การฝึกปฏิบัตินั้น ไม่ควร
เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
-
การฝึกปฏิบัติควรเป็นของส่วนรวมด้วย
-
เพราะฉะนั้น ให้พวกเราพยายามโน้มน้าวคนใน
ครอบครัวมาร่วมฝึกปฏิบัติ
-
วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้เปลี่ยนเป็น
ผู้ที่เป็นมิตรมากขึ้นทุกๆ วัน
-
ยิ้มมากขึ้น น่ารักมากขึ้น
-
และพวกเขาจะเชื่อว่า การฝึกปฏิบัตินั้นจะ
ช่วยพวกเขาได้เช่นกัน
-
เพราะฉะนั้น เมื่อครอบครัว และสังคมของเรา
มีความสมานฉันท์มากขึ้น
-
มีสุขภาพที่ดีขึ้น
มีความกลมเกลียวมากขึ้น
-
เมื่อนั้น ความปราถนาของเรา
จะเป็นจริงได้ง่ายขึ้น
-
ถ้าไม่มีสังฆะ ไม่มีหมู่คณะ
-
ความฝันของเราจะไม่เกิดขึ้น
-
ฉะนั้น เราไม่เพียงแต่พยายามด้วยตัวคนเดียว
-
แต่เรารู้ว่าการปฏิบัติ
เป็นหมู่คณะ เป็นสังฆะ
-
นั้นดีกว่ามากเสมอ
-
(ระฆัง)