< Return to Video

หลักสูตรเคมีอินทรีย์ฉบับเร่งรัด

  • 0:01 - 0:03
    ผมอยากให้ทุกคนลองถามตัวเอง
  • 0:03 - 0:07
    เมื่อพูดถึง "เคมีอินทรีย์"
    คุณรู้สึกอย่างไร
  • 0:07 - 0:09
    ทำให้คุณคิดถึงอะไร
  • 0:09 - 0:12
    มีวิชาหนึ่งที่เปิดสอนอยู่
    เกือบทุกมหาวิทยาลัย
  • 0:12 - 0:14
    เรียกว่าวิชา "เคมีอินทรีย์"
  • 0:14 - 0:18
    พูดถึงวิชานี้ก็หนักและทรหดมากแล้ว
  • 0:18 - 0:21
    ด้วยเนื้อหาที่มหาศาลท่วมหัวนักศึกษา
  • 0:21 - 0:25
    คุณจะต้องทำเก่งวิชานี้ให้ได้
    ถ้าคุณอยากเป็นหมอ หมอฟัน
  • 0:25 - 0:27
    หรือสัตวแพทย์
  • 0:27 - 0:31
    มันทำให้นักศึกษาหลายคนมองวิชานี้เป็นแบบนี้
  • 0:32 - 0:34
    มันกลายเป็นอุปสรรค
  • 0:34 - 0:36
    ทำให้พวกเขาทั้งกลัว ทั้งเกลียดมัน
  • 0:36 - 0:38
    และพวกเขาเรียกมันว่า "วิชาคัดคนออก"
  • 0:38 - 0:41
    ช่างเป็นวิชาที่โหดร้ายกับเยาวชนเสียจริง
  • 0:41 - 0:44
    เพราะมันคอยกำจัดพวกเขาทิ้ง
  • 0:44 - 0:47
    มุมมองแบบนี้ได้แพร่กระจายไปทั่ว
    ในสถาบันหลายแห่งเป็นเวลานาน
  • 0:47 - 0:51
    ทำให้ทุกคนต่างเป็นกังวล
    เมื่อได้ยินสองคำนี้
  • 0:53 - 0:55
    แต่ผมกลับรักวิชานี้มาก
  • 0:55 - 0:58
    และผมก็คิดว่าการทำใจยอมรับ
    กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • 0:58 - 1:00
    เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้
  • 1:00 - 1:04
    มันไม่ดีทั้งต่อวิทยาศาสตร์ และต่อสังคม
  • 1:04 - 1:06
    ผมคิดว่ามันไม่ควรจะปล่อยให้เป็นแบบนี้
  • 1:06 - 1:10
    และผมก็ไม่ได้คิดว่าวิชานี้ควรจะง่ายขึ้น
  • 1:10 - 1:12
    มันไม่ควรจะง่ายขึ้น
  • 1:12 - 1:16
    แต่มุมมองที่คุณมีต่อสองคำนี้
  • 1:17 - 1:21
    ไม่ควรตกทอดมาจากประสบการณ์
    จากเหล่านักเรียนเตรียมแพทย์ทั้งหลาย
  • 1:21 - 1:24
    ที่กำลังวิตกกังวลกับชีวิตของพวกเขา
  • 1:25 - 1:28
    ผมมาที่นี่ ในวันนี้ เพราะผมเชื่อว่า
  • 1:28 - 1:31
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
    เคมีอินทรีย์นั้นมีคุณค่า
  • 1:31 - 1:35
    และผมคิดว่าทุกคนสามารถเข้าถึงได้
  • 1:35 - 1:38
    ซึ่งผมอยากจะพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นในวันนี้
  • 1:38 - 1:39
    ขอให้ผมลองได้ไหม
  • 1:39 - 1:41
    ผู้ชม: เอาสิ
  • 1:41 - 1:44
    เอาล่ะ งั้นเริ่มกันเลย
  • 1:44 - 1:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:45 - 1:48
    ในมือผมตอนนี้คือ
    เอพิเพน ที่มีราคาสูงลิบลิ่ว
  • 1:48 - 1:51
    ข้างในมีตัวยา "เอพิเนฟรีน"
  • 1:51 - 1:54
    เอพิเนฟรีนทำให้หัวใจของผม
    กลับมาเต้นอีกครั้ง
  • 1:54 - 1:57
    และช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้
    ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
  • 1:57 - 2:00
    เพียงแค่ฉีดมันเข้าไปตรงนี้
  • 2:01 - 2:05
    มันเหมือนกับการเปิดสวิตซ์ให้ร่างกายของผม
    ตอบสนองแบบสู้หรือหนี
  • 2:05 - 2:09
    อัตราการเต้นของหัวใจและความดันจะสูงขึ้น
    เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
  • 2:09 - 2:12
    รูม่านตาจะขยาย
    ผมรู้สึกมีกำลังวังชาขึ้น
  • 2:12 - 2:17
    เอพิเนฟรีนเป็นสิ่งที่กำหนด
    ความเป็นความตายของใครหลาย ๆ คน
  • 2:17 - 2:20
    มันเป็นเหมือนปาฏิหาริย์เล็ก ๆ
    ในกำมือคุณ
  • 2:21 - 2:25
    นี่คือโครงสร้างทางเคมีของเอพิเนฟรีน
  • 2:26 - 2:28
    นี่คือหน้าตาของ "เคมีอินทรีย์"
  • 2:28 - 2:30
    มันดูเหมือน เส้นกับตัวอักษร
  • 2:31 - 2:33
    ไม่มีความหมายสำหรับคนทั่วไป
  • 2:33 - 2:37
    ผมอยากจะให้พวกคุณเห็นสิ่งที่ผมเห็น
    เมื่อผมมองภาพภาพนั้น
  • 2:38 - 2:39
    ผมเห็นวัตถุชิ้นหนึ่ง
  • 2:41 - 2:43
    ที่มีความลึก และมีส่วนที่หมุนได้
  • 2:43 - 2:45
    ขยับได้
  • 2:46 - 2:49
    พวกเราเรียกสิ่งนี้ว่า
    สารประกอบ หรือโมเลกุล
  • 2:49 - 2:54
    มันประกอบขึ้นมาจาก 26 อะตอม
    เชื่อมกันด้วยพันธะเคมี
  • 2:54 - 3:00
    การจัดเรียงตัวของอะตอมเหล่านี้
    ทำให้เอพิเนฟรีนมีลักษณะเฉพาะ
  • 3:00 - 3:02
    แต่ว่าไม่เคยมีใครมองเห็นมันจริง ๆ
  • 3:02 - 3:04
    เพราะว่ามันเล็กมาก
  • 3:04 - 3:07
    ดังนั้นมันจึงเป็นการตีความทางศิลปะ
  • 3:07 - 3:09
    ผมอยากจะให้พวกคุณให้เห็น
    ว่ามันเล็กแค่ไหน
  • 3:11 - 3:15
    ในหลอดนี้มีสารน้อยกว่าครึ่งมิลลิกรัม
    ที่ละลายอยู่ในน้ำ
  • 3:15 - 3:16
    มีมวลเท่าเม็ดทรายหนึ่งเม็ด
  • 3:16 - 3:21
    เอพิเนฟรีนในหลอดนี้
    มีจำนวนโมเลกุลหนึ่งล้านล้านล้านโมเลกุล
  • 3:21 - 3:23
    ซึ่งก็คือเลขศูนย์ 18 ตัว
  • 3:23 - 3:25
    เป็นตัวเลขที่ยากที่จะคิดภาพตาม
  • 3:25 - 3:28
    เรามีกันอยู่เจ็ดพันล้านคนบนโลก
  • 3:28 - 3:33
    อาจจะมีดาวสี่แสนล้านดวงในกาแล็กซี
  • 3:33 - 3:35
    นั่นยังไม่เข้าใกล้เลย
  • 3:35 - 3:37
    ถ้าคุณต้องการทราบปริมาณที่แน่ชัด
  • 3:37 - 3:40
    ให้คุณนึกถึงปริมาณเม็ดทรายทุกเม็ด
  • 3:40 - 3:44
    บนชายหาดทุกหาด
    ทั้งที่อยู่ใต้มหาสมุทรและทะเลสาบทุกแห่ง
  • 3:44 - 3:46
    และย่อขนาดมันลงมาในหลอดนี้
  • 3:48 - 3:51
    เอพิเนฟรีนนั้นเล็กมาก
    พวกเราไม่มีทางที่จะมองเห็นมัน
  • 3:51 - 3:53
    แม้แต่จะใช้กล้องจุลทรรศน์ก็ตาม
  • 3:54 - 3:56
    แต่พวกเรารู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง
  • 3:56 - 3:59
    เพราะมันแสดงตัวตน
    ให้เราเห็นผ่านเครื่องมือที่ซับซ้อน
  • 3:59 - 4:01
    ที่มีชื่อสุดแฟนซีว่า
  • 4:01 - 4:04
    "นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์
    สเปกโทรมิเตอร์"
  • 4:05 - 4:09
    ไม่ว่าจะมองเห็นหรือไม่
    พวกเรารู้จักโมเลกุลนี้เป็นอย่างดี
  • 4:09 - 4:11
    มันเกิดจากอะตอมสี่ชนิดที่แตกต่างกัน
  • 4:11 - 4:13
    ไฮโดรเจน คาร์บอน ออกซิเจน และไนโตรเจน
  • 4:13 - 4:15
    นี่คือสีที่นิยมใช้บ่งบอกแต่ละอะตอม
  • 4:15 - 4:19
    ทุกสิ่งในเอกภพ
    ต่างก็เกิดจากทรงกลมเล็ก ๆ นี้
  • 4:19 - 4:20
    ที่เราเรียกว่าอะตอม
  • 4:20 - 4:23
    วัตถุดิบพื้นฐานพวกนี้
    มีอยู่ประมาณร้อยชนิด
  • 4:23 - 4:25
    พวกมันประกอบมาจาก
    อนุภาคพื้นฐานอีกสามชนิด
  • 4:25 - 4:27
    ได้แก่โปรตอน นิวตรอน
    และอิเล็กตรอน
  • 4:27 - 4:30
    พวกเราจัดเรียงอะตอมเหล่านี้ออกมา
    เป็นตารางที่คุ้นเคยกันดี
  • 4:31 - 4:33
    พวกเราตั้งชื่อและให้เลขประจำตัวแก่มัน
  • 4:33 - 4:36
    ตามที่พวกเรารู้กันดี
    ชีวิตไม่ได้ต้องการทั้งหมดนี้
  • 4:36 - 4:38
    แค่ส่วนเล็ก ๆ แค่นั้น
  • 4:38 - 4:42
    และมีอะตอมอยู่สี่ชนิด
    ที่โดดเด่นกว่าชนิดอื่น
  • 4:42 - 4:44
    ที่เป็นโครงสร้างหลักของชีวิต
  • 4:44 - 4:47
    และพวกมันคือพวกเดียวกับที่อยู่ในเอพิเนฟรีน
  • 4:47 - 4:51
    ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจน
  • 4:52 - 4:55
    สิ่งที่ผมจะบอกคุณต่อไปนี้เป็นหัวใจสำคัญ
  • 4:56 - 4:59
    เมื่ออะตอมเหล่านี้เชื่อมต่อกันเป็นโมเลกุล
  • 4:59 - 5:01
    มันจะเป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้
  • 5:01 - 5:03
    ไฮโดรเจนสร้างได้หนึ่งพันธะ
  • 5:03 - 5:05
    ออกซิเจนจะต้องเป็นสองพันธะเสมอ
  • 5:05 - 5:07
    ไนโตรเจนสร้างสามพันธะ
  • 5:07 - 5:08
    และคาร์บอนสร้างได้สี่พันธะ
  • 5:09 - 5:10
    แค่นั้น
  • 5:10 - 5:13
    H O N C -- หนึ่ง สอง สาม สี่
  • 5:14 - 5:18
    ถ้าคุณนับได้ถึงสี่แล้วสะกดผิดเป็น "honk"
  • 5:18 - 5:20
    คุณจะจำได้ไปตลอดชีวิต
  • 5:20 - 5:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:22 - 5:25
    เอาล่ะ ตอนนี้เรามีวัตถุดิบสี่ถ้วย
  • 5:25 - 5:28
    เราสามารถนำมันมาสร้างโมเลกุลได้
  • 5:29 - 5:31
    มาเริ่มด้วยเอพิเนฟรีนดีกว่า
  • 5:31 - 5:35
    พันธะที่เชื่อมระหว่างอะตอม
    เกิดจากอิเล็กตรอน
  • 5:36 - 5:39
    อะตอมใช้อิเล็กตรอนเป็นแขน
    ในการจับกับอะตอมข้างๆ
  • 5:39 - 5:42
    อิเล็กตรอนสองตัวต่อหนึ่งพันธะ
    เหมือนการจับมือ
  • 5:42 - 5:44
    และการจับมือมันไม่ถาวร
  • 5:44 - 5:46
    มันสามารถละจากกันเพื่อไปจับกับอะตอมอื่นต่อ
  • 5:46 - 5:48
    นั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าปฏิกิริยาเคมี
  • 5:48 - 5:51
    เมื่ออะตอมแลกคู่กัน
    เพื่อสร้างโมเลกุลใหม่
  • 5:51 - 5:55
    แกนหลักของเอพิเนฟรีน
    ประกอบด้วยคาร์บอนเป็นส่วนมาก
  • 5:55 - 5:56
    และนั่นเกิดขึ้นทั่วไป
  • 5:56 - 5:59
    คาร์บอนเป็นวัสดุโครงสร้าง
    ที่สิ่งมีชีวิตโปรดปราน
  • 5:59 - 6:02
    เพราะว่ามันจับมือกันได้
    ในจำนวนที่เหมาะสม
  • 6:02 - 6:04
    บวกกับความแข็งแรงในการจับที่พอเหมาะ
  • 6:04 - 6:08
    และนั่นคือเหตุผลที่เรานิยามเคมีอินทรีย์
    ว่าเป็นการศึกษาโมเลกุลคาร์บอน
  • 6:08 - 6:13
    ถ้าเราสร้างโมเลกุลที่เล็กที่สุด
    ที่สามารถคิดได้และเป็นไปตามกฎ
  • 6:13 - 6:16
    พวกมันให้ความสำคัญกับกฏ
    และพวกมันมีชื่อที่คล้ายกัน
  • 6:16 - 6:20
    น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน
    H2O NH3 และ CH4
  • 6:21 - 6:24
    เราใช้ชื่ออะตอม "ไฮโดรเจน"
    "ออกซิเจน" และ "ไนโตรเจน"
  • 6:24 - 6:26
    มาใช้กับโมเลกุลทั้งสามชนิด
  • 6:26 - 6:29
    ซึ่งมีสองอะตอมที่เหมือนกัน
  • 6:29 - 6:31
    และพวกมันยังคงเป็นไปตามกฎ
  • 6:31 - 6:33
    เนื่องจากมีหนึ่ง สอง และสามพันธะ
    ภายในโมเลกุลของพวกมัน
  • 6:33 - 6:35
    นั่นคือสาเหตุที่เรียกออกซิเจนว่า O2
  • 6:36 - 6:38
    ผมจะแสดงการสันดาปให้พวกคุณดู
  • 6:39 - 6:42
    นี่คือคาร์บอนไดออกไซด์ CO2
  • 6:42 - 6:47
    วางน้ำและออกซิเจนไว้ข้างบนมันอีกที
    ส่วนข้าง ๆ ให้เป็นเชื้อเพลิง
  • 6:47 - 6:49
    เชื้อเพลิงพวกนี้ประกอบด้วย
    ไฮโดรเจนและคาร์บอน
  • 6:49 - 6:52
    นี่คือที่มาของชื่อไฮโดรคาร์บอน
    มาจากความสร้างสรรค์ล้วน ๆ
  • 6:52 - 6:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:53 - 6:55
    ดังนั้นเมื่อพวกมันชนกับโมเลกุลออกซิเจน
  • 6:55 - 7:00
    เหมือนกับที่เกิดในเครื่องยนต์
    หรือเตาบาร์บีคิวของคุณ
  • 7:00 - 7:02
    พวกมันจะปลดปล่อยพลังงานและรวมตัวกันใหม่
  • 7:02 - 7:05
    คาร์บอนทุก ๆ อะตอมจะลงเอยด้วย
    การเป็นศูนย์กลางให้กับโมเลกุล CO2
  • 7:05 - 7:06
    คอยจับแขนออกซิเจนสองตัว
  • 7:06 - 7:09
    และไฮโดรเจนทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของน้ำ
  • 7:09 - 7:11
    และมันเป็นไปตามกฎทุกอย่าง
  • 7:11 - 7:12
    ไม่มีข้อยกเว้น
  • 7:12 - 7:15
    แม้ว่าจะเป็นโมเลกุล
    ที่มีขนาดใหญ่แค่ไหนก็ตาม
  • 7:15 - 7:16
    เช่นเดียวกับสามตัวนี้
  • 7:17 - 7:20
    นี่คือวิตามินที่พวกเรารู้จัก
  • 7:20 - 7:21
    วางอยู่ข้าง ๆ ยาขนานเอกของพวกเรา
  • 7:21 - 7:23
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:23 - 7:24
    ความเป็นมาของมอร์ฟีน
  • 7:24 - 7:27
    เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่สำคัญที่สุด
    ในประวัติศาสตร์การแพทย์
  • 7:27 - 7:29
    มันเป็นยาตัวแแรก
    ที่เอาชนะความเจ็บปวดทางกายได้
  • 7:29 - 7:31
    ทุก ๆ โมเลกุลมีความเป็นมา
  • 7:31 - 7:33
    และล้วนได้รับการเผยแพร่
  • 7:33 - 7:36
    มันถูกบันทึกโดยนักวิทยาศาสตร์
    และอ่านโดยนักวิทยาศาสตร์
  • 7:36 - 7:40
    เราจึงมีข้อมูลที่พร้อมใช้งานมากมาย
    จนวาดลงบนกระดาษได้อย่างรวดเร็ว
  • 7:40 - 7:41
    ซึ่งผมต้องสอนพวกคุณว่าควรทำยังไง
  • 7:41 - 7:44
    เริ่มจากวางเอพิเนฟรีนลงบนกระดาษ
  • 7:44 - 7:47
    จากนั้นแทนที่ลูกกลม ๆ ทั้งหมดด้วยตัวอักษร
  • 7:47 - 7:49
    และจากพันธะที่เคยวางตามแนวระนาบกระดาษ
  • 7:49 - 7:51
    ได้เปลี่ยนเป็นเส้นธรรมดา ๆ
  • 7:51 - 7:53
    พันธะที่เคยชี้ไปข้างหน้าและหลัง
  • 7:53 - 7:55
    ได้กลายเป็นสามเหลี่ยมเล็ก ๆ
  • 7:55 - 7:57
    ทั้งแบบทึบและแบบประ
    เพื่อบอกความลึก
  • 7:57 - 8:00
    เราไม่วาดคาร์บอนลงไป
  • 8:00 - 8:03
    ซ่อนมันไว้ดีกว่า
    เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลา
  • 8:03 - 8:06
    มุมของพันธะบ่งชี้ชัดว่าเป็นคาร์บอน
  • 8:06 - 8:10
    เราไม่เขียนอะตอมไฮโดรเจน
    ที่ทำพันธะกับคาร์บอน
  • 8:10 - 8:12
    เรารู้ว่ามันอยู่ตรงนั้น
  • 8:12 - 8:15
    เมื่อไรก็ตามที่คาร์บอนหนึ่งตัว
    มีน้อยกว่าสี่พันธะ
  • 8:16 - 8:19
    สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือ
    พันธะระหว่าง OH และ NH
  • 8:19 - 8:22
    แค่เอามันออกไปทำให้ดูสะอาดตาขึ้น
  • 8:22 - 8:23
    และทั้งหมดก็มีแค่นี้
  • 8:23 - 8:26
    นี่คือวิธีการวาดโมเลกุล
    ให้ได้อย่างมืออาชีพ
  • 8:26 - 8:29
    นี่คือสิ่งที่พวกคุณเห็นในวิกิพีเดีย
  • 8:30 - 8:35
    มันอาจจะใช้เวลาในการฝึกสักหน่อย
    แต่ผมเชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้
  • 8:35 - 8:38
    แต่สำหรับวันนี้ นี่คือเอพิเนฟรีน
  • 8:38 - 8:41
    หรืออาจเรียกว่าอะดรีนาลีน
    มันคือตัวเดียวกัน
  • 8:41 - 8:42
    ที่ถูกสร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต
  • 8:42 - 8:45
    โมเลกุลนี้กำลังแหวกว่าย
    อยู่ในร่างกายของทุกคน
  • 8:45 - 8:47
    มันเป็นโมเลกุลธรรมชาติ
  • 8:47 - 8:52
    เอพิเพนแค่เพิ่มมันเข้าไปอีกล้านล้านล้าน
    โมเลกุลในเวลารวดเร็ว
  • 8:52 - 8:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:53 - 8:56
    พวกเราสามารถสกัดเอพิเนฟรีน
  • 8:56 - 9:00
    จากต่อมหมวกไตของแกะหรือวัว
  • 9:00 - 9:02
    แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ได้มันมา
  • 9:02 - 9:05
    เราสร้างมันขึ้นมาในโรงงาน
  • 9:05 - 9:11
    โดยการต่อโมเลกุลเล็ก ๆ
    ที่ส่วนมากได้มาจากปิโตรเลียมเข้าด้วยกัน
  • 9:11 - 9:13
    และนี่ได้มาจากการสังเคราะห์ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 9:13 - 9:18
    คำว่า "สังเคราะห์"
    อาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจ
  • 9:18 - 9:21
    ไม่เหมือนกับคำว่า "ธรรมชาติ"
    ที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย
  • 9:21 - 9:25
    แต่โมเลกุลทั้งสองแบบนี้
    แทบแยกกันไม่ออกเลย
  • 9:26 - 9:30
    เราไม่ได้พูดถึงรถสองคันที่ออกมาจาก
    โรงงานประกอบ
  • 9:30 - 9:32
    รถยนต์อาจมีรอยขีดข่วนได้บ้าง
  • 9:32 - 9:34
    แต่คุณขีดข่วนอะตอมไม่ได้
  • 9:34 - 9:39
    โมเลกุลคู่นี้เหมือนกันอย่างไม่น่าเชื่อ
    ด้วยเหตุผลในเชิงคณิตสาสตร์
  • 9:39 - 9:42
    ในระดับอะตอม
    คณิตศาสตร์ใช้พิสูจน์ได้จริง
  • 9:42 - 9:46
    ไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมา
    ของโมเลกุลเอพิเนฟรีน
  • 9:46 - 9:48
    มันเป็นตามที่เห็นทุกวันนี้
  • 9:48 - 9:50
    และเมื่อคุณได้รับมันแล้ว
  • 9:50 - 9:54
    ไม่ว่าคำว่า "ธรรมชาติ" หรือ "สังเคราะห์"
    ก็ไม่สำคัญทั้งนั้น
  • 9:54 - 9:58
    ธรรมชาติเองก็สังเคราะห์มันขึ้นมา
    ในแบบเดียวกับที่เราทำ
  • 9:58 - 10:00
    เว้นแต่ว่าธรรมชาติถนัดในเรื่องนี้
    ดีกว่าพวกเรา
  • 10:00 - 10:02
    ก่อนที่จะมีสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้
  • 10:02 - 10:05
    โมเลกุลทั้งหมดนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย
  • 10:05 - 10:07
    คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ไนโตรเจน
  • 10:08 - 10:09
    แค่สิ่งเรียบง่าย
  • 10:09 - 10:11
    การเกิดของสิ่งมีชีวิตทำให้มันเปลี่ยนไป
  • 10:11 - 10:14
    ชีวิตก่อให้เกิดโรงงานสังเคราะห์ทางชีวภาพ
    ที่หล่อเลี้ยงด้วยแสงอาทิตย์
  • 10:14 - 10:18
    และภายในโรงงานแห่งนั้น
    คือโมเลกุลเล็ก ๆ ที่พุ่งชนกัน
  • 10:18 - 10:21
    และกลายเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้น
    คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดนิวคลีอิก
  • 10:21 - 10:24
    เป็นการเพื่มจำนวนของการสร้างที่งดงาม
  • 10:26 - 10:28
    ธรรมชาติคือบรรพบุรุษของนักเคมีอินทรีย์
  • 10:29 - 10:32
    ผลงานของเธอช่วยเติมเต็มท้องฟ้า
    ด้วยแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ
  • 10:32 - 10:34
    ออกซิเจนที่มีพลังงานมากมายนี้
  • 10:36 - 10:39
    โมเลกุลทั้งหมดนี้
    จะรวมกันกับพลังงานของดวงอาทิตย์
  • 10:39 - 10:41
    มันกักพลังงานราวกับแบตเตอรี่
  • 10:41 - 10:44
    ฉะนั้นธรรมชาติทำมาจากสารเคมี
  • 10:44 - 10:47
    บางที พวกคุณอาจช่วยผมกอบกู้คำว่า
    "สารเคมี" กลับมา
  • 10:47 - 10:50
    เพราะว่ามันถูกขโมยไปจากพวกเรา
  • 10:50 - 10:52
    มันไม่ได้เป็นพิษ และไม่ได้มีอันตราย
  • 10:52 - 10:55
    มันไม่ได้สื่อว่าเป็นสิ่งของปลอม
    หรือไม่เป็นธรรมชาติ
  • 10:55 - 10:57
    มันก็คือ
  • 10:57 - 10:59
    "สิ่งของทั่วไป" โอเคไหมครับ
  • 10:59 - 11:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:00 - 11:04
    มันไม่มีถ่านก้อนไหนปลอดสารเคมี
  • 11:04 - 11:05
    มันน่าตลก
  • 11:05 - 11:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:06 - 11:08
    และผมจะขอพูดอีกประโยค
  • 11:09 - 11:12
    คำว่า "ธรรมชาติ" ไม่ได้แปลว่า "ปลอดภัย"
  • 11:12 - 11:14
    เรื่องนี้คุณก็รู้
  • 11:14 - 11:19
    มีสารเคมีจากธรรมชาติเยอะแยะที่เป็นพิษ
  • 11:19 - 11:21
    และอีกมากมายที่รสชาติอร่อย
  • 11:21 - 11:23
    และอาจจะทั้งคู่
  • 11:23 - 11:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:25 - 11:27
    ทั้งเป็นพิษและอร่อย
  • 11:27 - 11:30
    ทางเดียวที่จะบอกว่าสิ่งนั้นอันตรายหรือไม่
  • 11:30 - 11:32
    คือต้องลอง
  • 11:32 - 11:34
    และผมไม่ได้หมายถึงให้พวกคุณลอง
  • 11:34 - 11:36
    เรามีผู้เชี่ยวชาญเรื่องความเป็นพิษ
  • 11:36 - 11:38
    พวกเขาถูกฝึกมาเป็นอย่างดี
  • 11:38 - 11:41
    คุณควรจะเชื่อใจพวกเขาอย่างที่ผมเชื่อ
  • 11:41 - 11:43
    โมเลกุลทางธรรมชาติมีอยู่ทั่วไป
  • 11:43 - 11:47
    รวมไปถึงพวกที่สลายตัวไปเป็นสารสีดำ
    ที่เรียกว่าปิโตรเลียม
  • 11:47 - 11:50
    เรากลั่นโมเลกุลเหล่านี้
  • 11:50 - 11:53
    พวกมันไม่ได้มีอะไรที่ผิดธรรมชาติ
    พวกเราแค่ทำให้บริสุทธิ์
  • 11:54 - 11:57
    ตอนนี้พวกเราพึ่งพามันเพื่อพลังงาน
  • 11:57 - 12:01
    นั่นหมายความว่า
    ทุก ๆ อะตอมคาร์บอนจะถูกเปลี่ยนไปเป็น CO2
  • 12:01 - 12:04
    ซึ่งคือแก๊สเรือนกระจก
    ที่ทำลายสภาพอากาศของเราอยู่ตอนนี้
  • 12:04 - 12:08
    บางทีความรู้ทางเคมี
    ก็ทำให้การยอมรับความจริงเรื่องนี้ง่ายขึ้น
  • 12:08 - 12:10
    สำหรับบางคน ผมก็ไม่ทราบ
  • 12:10 - 12:13
    แต่โมเลกุลเหล่านี้ ไม่ใช่แค่พลังงานฟอสซิล
  • 12:13 - 12:15
    พวกมันยังเป็นวัตถุดิบที่ถูกที่สุด
  • 12:15 - 12:18
    ในการนำมาทำอะไรบางอย่างที่เรียกว่า
    การสังเคราะห์
  • 12:18 - 12:21
    พวกเราเอามันมาใช้ราวกับเป็นชิ้นส่วนเลโก้
  • 12:21 - 12:25
    พวกเราเรียนรู้ว่าจะต่อมันเข้าด้วยกัน
    หรือแยกมันออกจากกันยังไงภายใต้การควบคุม
  • 12:25 - 12:27
    ผมลองทำมาแล้วหลายรอบ
  • 12:27 - 12:29
    และยังคิดว่ามัน
    เป็นเรื่องน่าทึ่งที่เป็นไปได้
  • 12:29 - 12:33
    สิ่งที่พวกเราทำเป็นเหมือนการต่อเลโก้
  • 12:33 - 12:36
    ซึ่งเราเทตัวต่อหลายกล่องลงในเครื่องซักผ้า
  • 12:36 - 12:37
    แต่มันได้ผล
  • 12:37 - 12:41
    เราสามารถสร้างโมเลกุลเหมือนกับที่
    ธรรมชาติสร้างได้เป๊ะ ๆ อย่างเอพิเนฟรีน
  • 12:41 - 12:45
    เรายังสร้างชิ้นงานของเราเองได้
    จากความกระเสือกกระสน เหมือนสองตัวนี้
  • 12:45 - 12:50
    หนึ่งในสองตัวนี้ช่วยหยุดอาการของ
    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • 12:50 - 12:53
    อีกตัวหนึ่งช่วยรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    ที่เกิดจากเซลล์ที
  • 12:53 - 12:58
    เป็นโมเลกุลที่มีขนาดและรูปร่างเข้ากันเป๊ะ
    เหมือนกับการไขกุญแจ
  • 12:58 - 13:01
    และเมื่อมันประกบพอดี
    มันรบกวนสมบัติทางเคมีของโรค
  • 13:01 - 13:03
    นั่นคือการทำงานของยา
  • 13:04 - 13:05
    ไม่ว่าจะธรรมชาติหรือสังเคราะห์
  • 13:05 - 13:09
    พวกมันล้วนเป็นโมเลกุลที่เกิดขึ้นเพื่อ
    ไปประกบเข้ากับอะไรสักอย่างพอดี
  • 13:09 - 13:11
    แต่ธรรมชาติถนัดเรื่องนี้มากกว่าพวกเรา
  • 13:11 - 13:14
    สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นจึงน่าประทับใจกว่า
  • 13:14 - 13:15
    อย่างเช่นตัวนี้
  • 13:15 - 13:17
    นี่เรียกว่าแวนโคมัยซิน
  • 13:17 - 13:20
    ธรรมชาติมอบคลอรีนสองอะตอม
    ให้กับเจ้ายักษ์ใหญ่ตัวนี้
  • 13:20 - 13:22
    ประดับราวกับเป็นต่างหู
  • 13:22 - 13:27
    เราค้นพบแวนโคมัยซินจากบ่อโคลนในป่า
    ที่บอร์เนียวในปี ค.ศ. 1953
  • 13:27 - 13:29
    มันเกิดจากแบคทีเรีย
  • 13:30 - 13:34
    เราไม่สามารถสังเคราะห์สิ่งนี้ได้
    มันต้องใช้เงินมหาศาล
  • 13:34 - 13:38
    มันซับซ้อนเกินความสามารถของพวกเรา
    แต่พวกเราสามารถเก็บเกี่ยวมันจากธรรมชาติได้
  • 13:38 - 13:42
    และพวกเราก็ทำ เพราะว่ามันคือ
    หนึ่งในยาปฏิชีวนะที่ทรงพลังที่สุด
  • 13:42 - 13:45
    และมีรายงานโมเลกุลใหม่ ๆ ในวารสารทุก ๆ วัน
  • 13:45 - 13:49
    พวกเราสร้างมันขึ้นมา หรือค้นพบมัน
    ในทุกซอกทุกมุมของดาวดวงนี้
  • 13:50 - 13:52
    และนั่นคือที่ที่เราได้ยามา
  • 13:52 - 13:54
    และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมหมอถึงมีพลังวิเศษ
  • 13:54 - 13:55
    (เสียงหัวเราะ)
  • 13:55 - 13:58
    เพื่อรักษาโรคติดเชื้อและอื่น ๆ
  • 13:58 - 14:02
    การเป็นหมอทุกวันนี้เหมือนกับการเป็นอัศวิน
    ในชุดเกราะเปล่งประกาย
  • 14:02 - 14:05
    พวกเขาสู้ในสนามรบด้วยความกล้าและใจเย็น
  • 14:05 - 14:07
    พร้อมด้วยอาวุธที่พรั่งพร้อม
  • 14:07 - 14:11
    อย่าได้ลืมบทบาทของช่างตีเหล็กในรูปนี้ไป
  • 14:11 - 14:14
    ถ้าไม่มีช่างตีเหล็ก
    หลาย ๆ อย่างอาจดูแตกต่างไป
  • 14:14 - 14:16
    (เสียงหัวเราะ)
  • 14:16 - 14:19
    แต่วิทยาศาสตร์แขนงนี้ไปไกลกว่าเรื่องหยูกยา
  • 14:19 - 14:22
    มันคือน้ำมัน ตัวทำละลาย สารให้รสชาติ
  • 14:22 - 14:25
    สิ่งทอ และพลาสติกทั้งหมด
  • 14:25 - 14:27
    เบาะที่พวกคุณนั่งทับอยู่ตอนนี้
  • 14:27 - 14:30
    ทั้งหมดล้วนผลิตขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์
    และเกือบทั้งหมดเป็นคาร์บอน
  • 14:30 - 14:32
    ทำให้ทั้งหมดเป็นเคมีอินทรีย์
  • 14:32 - 14:34
    นี่คือความล้ำหน้าทางวิทยาศาสตร์
  • 14:34 - 14:36
    ผมมีสิ่งที่ยังไม่ได้พูดถึงอีกมากในวันนี้
  • 14:36 - 14:39
    ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ และอะตอมอื่น ๆ
  • 14:39 - 14:42
    ทำไมพวกมันถึงทำพันธะในแบบที่ทำกันอยู่
  • 14:42 - 14:43
    ความสมมาตร
  • 14:43 - 14:45
    อิเล็กตรอนที่ไม่สร้างพันธะ
  • 14:45 - 14:47
    อะตอมที่มีประจุ
  • 14:47 - 14:50
    ปฏิกิริยาและกลไกของมัน
    และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • 14:50 - 14:52
    การสังเคราะห์ใช้เวลานานมากในการเรียนรู้
  • 14:52 - 14:55
    แต่ผมไม่ได้มาที่นี่
    เพื่อสอนเคมีอินทรีย์แก่พวกคุณ
  • 14:55 - 14:57
    ผมแค่ต้องการแสดงให้เห็น
  • 14:57 - 14:59
    ผมได้รับความช่วยเหลืออย่างมากในวันนี้
  • 14:59 - 15:02
    จากชายหนุ่มที่ชื่อเวสตัน เดอร์แลนด์
  • 15:02 - 15:03
    และคุณเจอเขาแล้ว
  • 15:04 - 15:07
    เขาเป็นนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเคมี
  • 15:07 - 15:10
    และเขาเหมือนจะเก่งในด้าน
    คอมพิวเตอร์กราฟิกอีกด้วย
  • 15:10 - 15:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:12 - 15:16
    เวสตันออกแบบโมเลกุลที่เคลื่อนไหวทั้งหมด
  • 15:16 - 15:17
    ที่คุณเห็นในวันนี้
  • 15:17 - 15:20
    เขาและผมอยากสาธิตโดยใช้กราฟิกแบบนี้เพื่อ
  • 15:20 - 15:23
    ช่วยเหลือคนที่พูดเกี่ยวกับ
    วิทยาศาสตร์อันซับซ้อนนี้
  • 15:23 - 15:29
    เป้าหมายของพวกเราคือต้องการให้พวกคุณเห็น
    ว่าเคมีอินทรีย์ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว
  • 15:29 - 15:32
    แกนหลักของมันเป็นเหมือนหน้าต่าง
  • 15:32 - 15:36
    ที่ทำให้โลกธรรมชาติอันงดงาม
    ดูสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • 15:36 - 15:38
    ขอบคุณครับ
  • 15:38 - 15:41
    (เสียงปรบมือ)
Title:
หลักสูตรเคมีอินทรีย์ฉบับเร่งรัด
Speaker:
ยากอบ มากอลัน (Jakob Magolan)
Description:

ยากอบ มากอลันมาเพื่อเปลี่ยนมุมมองของคุณที่มีต่อเคมีอินทรีย์ด้วยการบรรยายที่เข้าถึงง่าย พร้อมกับกราฟิกที่โดดเด่น เขาสอนพื้นฐานซึ่งช่วยทำลายภาพลักษณ์ที่มีร่วมกันว่าเคมีอินทรีย์เป็นสิ่งที่น่ากลัว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:53
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon accepted Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Supakij Patthanapitoon edited Thai subtitles for A crash course in organic chemistry
Show all

Thai subtitles

Revisions