-
เมืองไทยเป็นเมืองร้อน สมัยโบราณไทยไม่มีน้ำแข็ง
-
แล้วทำไม ขนมไทยหลายๆ ชนิดถึงเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ใส่น้ำแข็งกันล่ะ?
-
สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ
-
บอกเลยนะคะว่า คลิปวันนี้ วิวตั้งตามใจตัวเองสุดๆ เลยค่ะ
-
เพราะว่าวันนี้วิวอยากจะมาชวนทุกคนคุยเรื่องราวเกี่ยวกับขนมไทยนะคะ
-
โดยเฉพาะขนมต่างๆ ที่มันมีการใส่เกล็ดน้ำแข็ง ใส่อะไรลงไปเนี่ยนะ
-
แน่นอนว่า อือหือ บิงซูก็บิงซูเถอะค่ะ
-
เจอขนมไทยเข้าไป
-
เวลาร้อนๆ เนี่ยนะ ฟินอย่าบอกใครเลยทีเดียวนะคะ
-
เรียกได้ว่า เนื้อหาวันนี้นะคะ เราจะมาคุยเรื่องขนมไทยกันค่ะว่า
-
เออ พูดถึงสมัยโบราณเนี่ย เราก็รู้กันดีนะว่า เมืองไทยเป็นเมืองร้อน
-
น่าจะไม่มีน้ำแข็งแน่ๆ นะคะ
-
แล้วทำไมขนมไทยหลายๆ ชนิดเนี่ย ถึงมีการใส่น้ำแข็งลงไป?
-
ถึงเป็นเกล็ดน้ำแข็งอะไรต่างๆ นะคะ?
-
มันเริ่มขึ้นสมัยไหน?
-
มีน้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยไหนค่ะ?
-
และที่สำคัญนะคะ วันนี้วิวไม่ได้มาคนเดียวค่ะ
-
แต่มากับแขกรับเชิญอีกหนึ่งท่านนะที่หลายๆ คนน่าจะคิดถึงแน่ๆ เลย
-
แขกรับเชิญคนนั้นนะคะ ก็คือ
-
สวัสดีค่ะ พ้อยท์เองค่ะ เสียใจด้วยนะคะสำหรับใครที่คาดหวังว่า
-
มองมาแล้วจะเห็นภูเขาค่ะ
-
วันนี้นะคะ พ้อยท์นะคะ มาคนเดียวค่ะ อ็อฟไม่ได้มาด้วย
-
ค่าตัวแพง ขอโทษด้วยจริงๆ นะคะ
-
เราประหยัดงบแขกรับเชิญนะคะ
-
เอาล่ะ ตอนนี้เราเวิ่นนอกเรื่องกันมาพอสมควรแล้วค่ะ
-
พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ?
-
ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปฟังกันเลยค่ะ
-
เอาจริงๆ นะ พูดถึงขนมไทย
-
ขนมไทยคือ อะไร?
-
อ่ะ คิดว่า ขนมไทยในความคิดของตัวเองเนี่ย นึกถึงขนมประเภทไหน?
-
พูดถึงขนมไทยก็...
-
อ่ะ นึกถึงง่ายๆ ล่ะกัน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง?
-
ใช่ไหม? แต่ว่า ขนมพวกนี้เราก็คุ้นเคยกันดีนะคะ จากคลิปก่อนๆ ที่เราเคยทำ
-
หรือว่าจากบทเรียนต่างๆ ว่า ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ลูกชุบเนี่ยนะ
-
มันเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมากจากโปรตุเกส ใช่ไหมคะ?
-
ก่อนที่จะมีการพัฒนาสูตรนู่นนี่นั่น
-
จนเข้ากับลิ้นคนไทย แล้วก็กลายเป็นขนมไทยในที่สุด ใช่ไหมคะ?
-
อันนี้ค่อนข้างชัดว่า เออ มันเป็นขนมไทยแหละ
-
มันผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว
-
มีการวิวัฒนาการอะไรต่างๆ
-
แต่ขนมอีกประเภทนึงเนี่ย
-
เป็นขนมที่ฟังดูเผินๆ ปัจจุบันนี้เราก็รู้สึกว่า
-
เฮ้ย มันเป็นขนมไทยนี่แหละ
-
แต่พอไปดูรายละเอียดจริงๆ เราจะรู้สึกว่า
-
เอ๊ะ มันเป็นขนมไทยจริงเหรอนะคะ?
-
ขนมพวกนี้คือ ขนมที่แบบมีการเอามากินแบบเย็น
-
บางทีก็มีการแช่ให้น้ำกะทิเนี่ย กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
-
หรือว่ามีการไสน้ำแข็งใส่ลงไปนะคะ
-
เอ๊ ขนมพวกนี้มันเป็นขนมไทยจริงหรือเปล่า?
-
ยกตัวอย่างง่ายๆ สาคูแคนตาลูป คิดว่า เป็นขนมไทยไหม?
-
เอ๊า ก็เป็นสิ
-
เวลาที่ไปกินข้าวตามร้านอาหารไทยเนี่ย
-
เปิดไปหน้าของหวานทีไร ก็เจอสาคูแตนตาลูปประจำเลยนะ
-
หลายคนฟังปุ๊บไม่ปฏิเสธเลยค่ะว่า สาคูแคนตาลูปเนี่ยเป็นขนมไทย
-
แต่ลองมาดูสาคูแคนตาลูปกันดีๆ สิคะ
-
เราไปพูดถึงแค่ คำว่า แคนตาลูป ก่อนก็พอ
-
แคนตาลูปเนี่ยเป็นแตงจากที่ไหน?
-
แคนตาลูปเนี่ยนะคะ เป็นแตงที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียค่ะ
-
แล้วก็มีการนำไปปลูกที่เมืองแถวๆ โรมนะคะ
-
ชื่อเมือง คันตาลูโป
-
อ่ะ พอไปอยู่ที่เมืองคันตาลูโป ก็เกิดมีชื่อเสียงขึ้นมา
-
คนก็เลยไปเรียกกันว่า อ่อ แตงจากเมืองคันตาลูโปๆ
-
พอแพร่กระจายเข้าไปถึงอังกฤษ
-
ไปอยู่ในภาษาอังกฤษ ก็ดันเรียกเพี้ยนกันอีกค่ะว่า แคนตาลูป
-
ดังนั้นนะคะ แคนตาลูปนี่ แค่ชื่อก็ไม่มีความเป็นไทยแล้วค่ะ
-
แล้วมาอยู่ในขนมไทยได้ยังไง? ถูกไหม?
-
เออ จริงด้วย
-
มานั่งคิดดีๆ นะ บางที่ที่ไปสั่งกินเนี่ย
-
ก็เป็นสาคูแคนตาลูปแบบร้อน
-
บางที่มันก็เป็นสาคูแคนตาลูปแบบเย็น
-
คือไอ้แบบร้อนนี่เข้าใจได้นะ
-
แต่ว่า แบบเย็นเนี่ย ที่มันแบบเป็นเกล็ดน้ำแข็งเลยอ่ะ
-
แล้วประเทศอากาศร้อนๆ แบบไทยเรา
-
จะไปมีขนมที่มันเป็นเกล็ดน้ำแข็งอย่างนั้นได้ยังไงอ่ะ?
-
หรืออย่างอีกอย่างนึงนะ ที่เป็นของโปรดของเราสองคนเลยใช่ไหม?
-
นั่นก็คือ ปังนมเย็นนะคะ
-
ใช่ เราสองคนก็
-
ก็เราสองคนก็ชอบอะไรเหมือนกันน่ะนะ
-
กลับมาพูดถึงปังนมเย็นกันดีกว่า
-
ปังนมเย็นนะคะ เป็นขนมไทยหรือเปล่า?
-
หลายคนฟังปุ๊บก็ เอ้า ขนมไทยสิ ปังนมเย็น
-
ฮู้ หน้าตาดูไท้ไทย
-
แต่ในปังนมเย็นเนี่ย เกล็ดน้ำแข็งมาเต็มขนาดนี้
-
เอ๊ คนไทยสมัยโบราณเรากินน้ำแข็งด้วยเหรอ?
-
กินตั้งแต่เมื่อไหร่? อะไร? ยังไง? นะคะ
-
จะบอกว่า บังเอิญมากๆ เลยค่ะ
-
ตอนที่วิวกำลังคิดจะทำคลิปนี้อยู่เนี่ย
-
ก็มีคนส่งคำถามเข้ามานะคะ ใน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด
-
ที่เราเนี่ยมีไว้ตอบคำถามกันค่ะ
-
ซึ่งคุณคนนี้ ขอโทษจริงๆ วิวอ่านชื่อไม่ออกนะคะ
-
เค้าส่งคำถามเข้ามาได้น่าสนใจมาก
-
สรุปใจความง่ายๆ คือถามว่า ชาวไทยเราเนี่ย รู้จักน้ำแข็งเมื่อไหร่?
-
น้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยเมื่อไหร่นะคะ?
-
ดังนั้นไหนๆ ก็ไหนๆ วิวขออนุญาตรวมคำถามของเค้ากับคำถามของวิวเนี่ย
-
เข้าเป็นคลิปวิดีโอนี้ คลิปวิดีโอเดียวกันเลยค่ะ
-
วันนี้เราจะมาตอบคำถามกันนะคะว่า
-
สรุปแล้วเนี่ย คนไทยเราเนี่ย เริ่มบริโภคน้ำแข็งกันเมื่อไหร่?
-
แล้วขนมที่เป็นเกร็ดน้ำแข็งต่างๆ มีการใส่น้ำแข็งลงไป
-
อย่างสาคูแคนตาลูป หรือว่าปังนมเย็นเนี่ย
-
นับเป็นขนมไทยไหมนะคะ?
-
ก่อนอื่นนะ ก่อนที่เราจะไปถึงจุดที่ว่า
-
ปังนมเย็นกับสาคูแคนตาลูปเป็นขนมไทยไหมเนี่ย?
-
เรามาเริ่มที่คำถามแรกกันก่อนดีกว่าค่ะ
-
น้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรกเมื่อไหร่?
-
อ่ะ มาละ เจ๊แกสาระมาเต็มละค่ะ
-
มา จัดมาเลยๆ เล่ามา
-
อ่ะ ถ้าเราพูดถึงอะไรที่เป็นเกล็ดน้ำแข็งเนี่ยนะคะ
-
ก็ต้องบอกว่า จริงๆ ความรู้เรื่องเกล็ดน้ำแข็ง หรืออะไรต่างๆ ของคนไทยเนี่ย
-
น่าจะมีมาก่อนหน้านี้แล้วแหละ
-
เพราะว่าประเทศไทยเรา ถึงจะไม่มีหิมะ ถึงจะไม่มีน้ำแข็ง
-
แต่เราก็มีลูกเห็บใช่ไหมคะ?
-
ซึ่งมันก็คือ น้ำแข็งนี่แหละที่ตกลงมาจากฟากฟ้า
-
เท่านั้นยังไม่พอ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเนี่ย
-
ก็มีการเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสใช่ไหม?
-
ในบันทึกของราชทูตสมัยนั้นก็มีการบันทึกถึงการที่ไปเจอหิมงหิมะอะไรด้วย
-
ดังนั้นเราข้ามไปเรื่องความรู้เรื่องเกี่ยวกับเกล็ดน้ำแข็งนะคะ
-
แต่ถามว่า คนไทยเนี่ย เริ่มบริโภคน้ำแข็งเมื่อไหร่?
-
มีการนำเข้าน้ำแข็งมาที่ไทยครั้งแรกเมื่อไหร่นะคะ?
-
ก็ต้องบอกว่า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ
-
เพราะว่าในช่วงเวลานั้นอ่ะ เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเนี่ยนะคะ
-
มีการเดินทางค้าขายกับต่างชาติค่ะ
-
โดยเฉพาะชาติตะวันตกนะคะ
-
ก็มีการเดินทางค้าขายกันอย่างแบบว่า แพร่หลายค่ะ
-
ก็มีการนำสินค้าส่งออก นำเข้าสินค้าอะไรต่างๆ
-
แลกเปลี่ยนกันไปมา
-
แน่นอนว่า น้ำแข็งก็เป็นหนึ่งในสินค้านั้นค่ะ
-
โดยเราสันนิษฐานกันนะคะว่า
-
น้ำแข็งเนี่ย น่าจะเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรก ช่วงระหว่างปี 2405-2411 ค่ะ
-
ถามว่า ทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้?
-
เพราะว่าตัวเลขนี้ 2405 คือปีประสูติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะ
-
ส่วน 2411 เนี่ยนะคะ คือปีที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตค่ะ
-
เพราะว่า เราเนี่ยสันนิษฐานจากบันทึกในสมัยทรงพระเยาว์นะคะ
-
ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะว่า
-
เออ น้ำแข็งเข้ามาช่วงเวลานั้น
-
ดังนั้นก็ตีความได้ว่า ประมาณนี้แหละค่ะ
-
ซึ่งตอนนั้นเนี่ย ถามว่า เข้ามาได้ยังไงนะคะ?
-
ก็มากับเรือกลไฟค่ะ ชื่อว่า เรือเจ้าพระยา นะคะ
-
ซึ่งเจ้าของเนี่ย ก็คือ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ค่ะ หรือว่า ยิ้ม พิศลยบุตร นะคะ
-
เอ้า แล้วเอาเข้ามายังไง? สมัยนั้นมีตู้เย็นแล้วเหรอ?
-
ขนน้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยเนี่ย
-
แน่นอนนะคะ สมัยนั้นยังไม่มีตู้เย็นค่ะ
-
ดังนั้น เค้าก็ต้องมีวิธีการรักษาความเย็นในแบบของเค้าค่ะ
-
คือตอนนั้นเนี่ย ตอนที่เอาใส่เรือมาเนี่ยนะคะ
-
เค้าเอาใส่มาในหีบไม้ค่ะ แล้วก็เป็นไม้ฉำฉาอ่ะนะ
-
นอกจากนี้ก็จะมีการโรยขี้เลื่อยไว้ค่ะ เพื่อกักเก็บความเย็นนะคะ
-
ส่วนถ้าใครถามว่า แล้วเอาเข้ามาจากไหน?
-
ต้องบอกว่า เอาเข้ามาจากสิงคโปร์ค่ะ
-
โดยจริงๆ แล้วเค้าตีความออกเป็น 2 ทฤษฎีด้วยกันนะคะ
-
ทฤษฎีแรกบอกว่า น่าจะเอามาจากที่ผลิตในสิงคโปร์เลยเนี่ยแหละ
-
เพราะว่ามีการประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็งที่ประเทศออสเตรเลียนะคะ
-
แต่ว่า เอาจริงๆ เทคโนโลยีสมัยนั้นน่ะ มันไม่ได้แพร่กระจายเร็วเท่าทุกวันนี้
-
ไม่ใช่ว่าแบบ โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ออกวันนี้ พรุ่งนี้ขายกันทั่วโลกนะคะ
-
มันต้องค่อยๆ แบบผลิต
-
มีไม่กี่เครื่อง อะไรอย่างนี้
-
ดังนั้นก็เลยมีอีกทฤษฎีนึงค่ะว่า
-
สิงคโปร์เนี่ย อาจจะยังไม่ได้ผลิตน้ำแข็งเองได้ขนาดส่งขายน่ะนะ
-
อาจจะเป็นว่า น้ำแข็งที่มาที่ประเทศไทยเนี่ย
-
นำเข้ามาจากประเทศอื่นอีกต่อนึงนะคะ
-
เป็นประเทศที่มีน้ำแข็ง เป็นเมืองหนาวอะไรอยู่แล้ว
-
เป็นน้ำแข็งธรรมชาติอ่ะนะ
-
ตัดแบ่งมาขายค่ะ
-
แล้วก็ส่งมาที่สิงคโปร์ ก่อนที่สิงคโปร์เนี่ยจะส่งมาขายที่กรุงเทพต่ออีกต่อนึงค่ะ
-
อย่างไรก็ตามนะคะ นึกสภาพสมัยก่อนค่ะ
-
เรือเจ้าพระยาเนี่ย เรือกลไฟเนี่ยนะคะ
-
วิ่งรอบนึงจากกรุงเทพ-สิงคโปร์ สิงคโปร์-กรุงเทพเนี่ย
-
ใช้เวลา 15 วันค่ะ
-
ดังนั้นนะคะ น้ำแข็งในสมัยนั้นก็จะเข้ามาทุก 15 วัน
-
ไม่ได้มีทุกวันน่ะนะ
-
ทีนี้พอปริมาณมันมีน้อยเนี่ย
-
รอบนึงขนมา ก็คงขนมาไม่ได้เยอะหรอกค่ะ
-
ต้องมีสินค้าอื่นด้วยใช่ไหม?
-
ก็เลยทำให้น้ำแข็งเนี่ยนะคะ กลายเป็นของหายาก แล้วก็มีราคาสูงค่ะ
-
คนที่จะได้กินน้ำแข็งนะ ก็เลยต้องเป็น ชนชั้นสูงค่ะ
-
เช่น เจ้านาย แล้วก็ขุนนางในสมัยนั้นนะคะ
-
โห แล้วคนไทยสมัยก่อนไม่แตกตื่นแย่เหรอ?
-
คือ เคยได้ยินสำนวนไทยป้ะ? บอกว่า ปั้นน้ำเป็นตัวอย่างนี้?
-
น้ำแข็งนี่มาเป็นก้อนเลย
-
นึกสภาพคนไม่เคยเห็นน้ำแข็งมาก่อน
-
จะต้องคิดว่า ปั่นน้ำเป็นตัวแน่ๆ เลย
-
แน่นอน ตื่นเต้นนะคะ
-
อย่างเช่นที่ เสฐียรโกเศศ หรือว่า พระยาอนุมานราชธน เนี่ยนะคะ
-
เคยบันทึกไว้ในหนังสือฟื้นความหลังเล่มหนึ่งค่ะ
-
ก็เล่าเนื้อหาประมาณว่า
-
เออ สมัยท่านเด็กๆ เนี่ยนะ มีการนำน้ำแข็งเข้ามาเนี่ย
-
คนตื่นเต้นกันมากนะคะ
-
แล้วบางคนก็ไม่เชื่อว่า มีน้ำแข็ง
-
ถึงขนาดที่ว่า ต้องมีการเอาน้ำแข็งเนี่ยไปตั้งที่ศาลาสหทัยนะคะ
-
แล้วก็ให้คนเนี่ย เข้าไปดูว่า เฮ้ย แก น้ำแข็งมันมีจริงๆ
-
เนี่ย น้ำมันเป็นตัวได้จริงๆ นะ
-
มันเย็นด้วย
-
อูหู้ แปลกจังเลย นะคะ
-
บางคนถึงขนาดที่ต้องขอแบ่งน้ำแข็งนะคะ เอากลับไปที่บ้านเลย
-
เอาไปอวดคนที่บ้านว่า แก น้ำแข็งมีจริง
-
ที่สำคัญนะคะ ความไม่รู้เนี่ยก็มาพร้อมกับความเชื่อแปลกๆ ค่ะ
-
ไม่ว่าจะเป็นบอกว่า เฮ้ยแก อย่าไปกินนะ น้ำแข็งอ่ะ
-
กินแล้วมันปวดฟัน
-
อ่ะ อันนี้อาจจะเป็นว่า เสียวฟันหรือเปล่านะคะ?
-
หรือว่าบอกว่า เฮ้ยแก อย่าไปกินน้ำแข็งนะ มันใส่ยาอะไรก็ไม่รู้
-
ทำให้น้ำเนี่ยขึ้นมาเป็นตัว มันจะต้องเป็นเวทมนตร์แน่ๆ เลย
-
หรืออันนี้นะคะ ที่บอกว่า แก น้ำแข็งมันเป็นของแสลง
-
ถึงมันจะเย็นนะ แต่กินลงไปแล้วมันจะร้อนใน
-
อันนี้ส่วนตัววิวเนี่ยเคยได้ยินเหมือนกันนะ สมัยเด็กๆ ค่ะ
-
อย่างนี้แปลว่า คนก็จะไม่กินน้ำแข็งกันใช่ไหม?
-
เพราะว่าไม่คุ้นเคย
-
ใครบอก? ใครบอกว่า ไม่กินนะคะ
-
กินค่ะ
-
แต่ว่า คนที่กินเนี่ย จะเป็นชนชั้นสูงนะคะ
-
ที่มีตังค์ สามารถซื้อน้ำแข็งมาได้ค่ะ
-
สมัยแรกๆ เลยเนี่ย ชนชั้นสูงนะคะ
-
ก็มีการเอาน้ำแข็งเนี่ยมาเป็นวัตถุดิบในการทำไอศกรีมนะคะ
-
นอกจากนี้ แน่นอนว่า คนไทยเราเนี่ยเป็นคนที่จับเล็กผสมน้อยเก่งอยู่แล้ว
-
ดังนั้นพอน้ำแข็งเข้ามาเนี่ยนะคะ
-
ก็เลยมีการผลิตขึ้นมาเป็นขนม เป็นอาหารอะไร
-
เรียกได้ว่า พัฒนาต่อยอดจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้เลยทีเดียวค่ะ
-
ยกตัวอย่างง่ายๆ อ่ะ อย่างไอ้สาคูแคนตาลูปที่เราคุยกันมาเนี่ย
-
ก็อาจจะเกิดจากการที่ อ่ะ คนไทยเรามีขนมที่เป็นน้ำกะทิ
-
เราก็กินกับแตงอยู่แล้วใช่ไหม?
-
เป็นแตงไทยอะไรอย่างนี้
-
พอมันมีแคนตาลูปเข้ามา เค้าก็อาจจะแบบเปลี่ยน
-
เช่น เฮ้ย แตงไทยไม่ค่อยหอม แคนตาลูปหอมกว่า
-
เอาแคนตาลูปใส่โบ้มลงไป บึ้ม
-
อูว ได้สาคูมาจากภาคใต้ เอาสาคูใส่โบ้มลงไป บึ้ม
-
แล้วก็แบบ หูว มีน้ำแข็งด้วย
-
อุ๊ย เอาน้ำแข็งมาทำให้กะทิมันเย็นดีกว่า
-
กินร้อนๆ มันจะแบบ ไม่เข้ากับอากาศบ้านเรา
-
ก็เลยกลายเป็นสาคูแคนตาลูปแบบทุกวันนี้ ก็เป็นได้เช่นกันค่ะ
-
นี่แหละนะคะ เค้าเรียกว่า การต่อยอดค่ะ
-
คือคนที่ทำอาหารเนี่ย เค้าไม่ได้มาคิดหรอกว่า
-
ฉันกำลังทำขนมไทยอยู่ ขนมนี้จะต้องเป็นวัตถุดิบจากไทยเท่านั้น
-
ไม่ค่ะ คนสมัยนั้นเค้าคิดอะไร?
-
เค้าคิดแค่ว่า อันนี้อร่อยๆๆ
-
เอ้า เอามารวมกัน บึ้ม ออกมาเป็นอาหารชนิดใหม่ค่ะ
-
หรืออีกอย่างที่น่าสนใจกว่านั้นนะ คือที่มาของปังนมเย็นค่ะ
-
ต้องบอกว่า ปังนมเย็นเนี่ยมีวิวัฒนาการของตัวเองที่น่าสนใจเหมือนกันนะคะ
-
ไหน น่าสนใจยังไง?
-
โม้มาขนาดนี้ ไหนเล่าให้คนดูฟังซิ
-
คือสมัยก่อนเนี่ย ปังนมเย็นไม่ได้ชื่อว่า ปังนมเย็นค่ะ
-
แต่สันนิษฐานนะ อันนี้วิวสันนิษฐานว่า
-
ปังนมเย็นเนี่ย น่าจะวิวัฒนาการมาจากน้ำแข็งไสค่ะ
-
และมันไม่ใช่ว่าแบบ น้ำแข็งไสแล้ว บึ้ม ข้ามมาเป็นปังนมเย็นเลยนะคะ
-
แต่ว่า มันมีขนมอีกชนิดนึงคั่นกลางค่ะ
-
ขนมชนิดนั้นเรียกว่า จ้ำบ๊ะ
-
เอ้า ใครเคยได้ยินชื่อขนมจ้ำบ๊ะบ้างคะ?
-
สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้ยินชื่อขนมจ้ำบ๊ะนะคะ
-
เรามาฟังประวัติสั้นๆ ของขนมชนิดนี้ดีกว่า
-
เริ่มต้นเนี่ย จ้ำบ๊ะ แปลง่ายๆ ก็แปลว่า น้ำแข็งไสนี่แหละค่ะ
-
ก็คือการที่เอาน้ำแข็งเนี่ย มาไสนะคะ
-
กิริยาการไสคืออย่างนี้นะ
-
ดังนั้นไม่ใช่ใสที่แปลว่าแบบ ใสสะอาด นะคะ
-
น้ำแข็งไส สะกดแบบนี้นะ
-
ก็คือการเอาน้ำแข็งเนี่ย มาไสนะคะ
-
แล้วก็เทลงมาเป็นถ้วยใช่ไหม?
-
เสร็จแล้วก็ราดน้ำหวานนะคะ ราดๆๆ
-
แล้วก็มีการเอาเครื่องต่างๆ มาใส่ค่ะ
-
ซึ่งจากการที่วิวไปอ่านงานวิจัยมาเนี่ยนะ
-
เค้าสันนิษฐานกันว่า ไอ้ขนมประเภทนี้ มันเริ่มที่จังหวัดเพชรบุรีค่ะ
-
โดยเริ่มจากการที่เค้าเนี่ย เอาข้าวเช้าที่กินเหลือนะคะ
-
ก็คือ ปาท่องโก๋
-
ซึ่งจริงๆ ใครเคยดูคลิปวิวน่าจะรู้ว่า มันเรียกว่า อิ่วจาก้วย นะคะ
-
คือเอาปาท่องโก๋เนี่ยที่กินเหลือตอนเช้า ไปทอดเพิ่มอีกรอบ
-
แล้วก็เอามาใส่กับน้ำแข็งไส
-
เสร็จแล้วก็เอาเครื่องใส่ เอาน้ำหวานราดนะคะ
-
ก็เลยกลายมาเป็นขนมไอ้น้ำแข็งไส ต้นตำหรับแบบเพชรบุรีเนี่ยแหละค่ะ
-
โดยเครื่องที่เค้าใส่นะ ก็ใส่ได้หลากหลายเลย
-
จะเป็นมันเชื่อม พุทราเชื่อม เฉาก๊วย ทับทิมกรอบ ลูกชิด
-
อะไร ใส่ได้หมดเลยค่ะ
-
ซึ่งในยุคแรกเนี่ยนะคะ เค้าก็ยังไม่เรียกจ้ำบ๊ะหรอกค่ะ
-
เค้าเรียกน้ำแข็งไสนี่แหละ
-
จนกระทั่งช่วงที่เค้าเนี่ยเริ่มราดนมข้นหวานลงไปเนี่ยนะคะ
-
เค้าถึงเริ่มเรียกขนมชนิดนี้ว่า จ้ำบ๊ะ ค่ะ
-
พอราดนมข้นหวานลงไป เริ่มรู้สึกแล้วใช่ไหมว่า
-
เนี่ย เหมือนปังนมเย็นที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้นะคะ
-
ดังนั้นก็เลยสันนิษฐานได้ว่า ปังนมเย็นเนี่ย น่าจะวิวัฒนาการมาจากจ้ำบ๊ะ
-
ซึ่งจ้ำบ๊ะเนี่ย ก็น่าจะวิวัฒนาการมาจากน้ำแข็งไสนั่นเองค่ะ
-
เดี๋ยวๆๆ จ้ำบ๊ะเนี่ย เคยได้ยินนะคำนี้
-
มันไม่ใช่ของหวานไม่ใช่เหรอ?
-
มันคือชื่ออย่างอื่นไม่ใช่เหรอ?
-
อ่ะ ใช่ๆๆ
-
สำหรับใครที่เคยได้ยินชื่อ จ้ำบ๊ะ มาจากที่อื่นนะคะ
-
อันนี้แถมให้นิดนึงนะ จ้ำบ๊ะคือเป็น ระบำแบบนึงของไทย
-
พูดง่ายๆ ก็ระบำโป๊อ่ะค่ะ แบบโชว์เมียงูอะไรอย่างนี้อ่ะนะ
-
เพราะว่าคำว่า จ้ำ เนี่ยนะคะ
-
เค้าสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า จัม ภาษาจีนแต้จิ๋วค่ะ
-
คือแบบว่า ใส่แรงอ่ะ ไม่ยั้งอ่ะ ปึ้กๆๆๆ อะไรอย่างนี้
-
แทงไม่ยั้งอ่ะ หรือว่า ไม่ยั้งอ่ะ ประมาณนี้
-
อธิบายไม่ถูกเหมือนกันเป็นภาษาไทยอ่ะนะ
-
ส่วนคำว่า บ๊ะ เนี่ยแปลว่า เนื้อ ค่ะ
-
เหมือนแบบหมูบ๊ะช่ออ่ะ ประมาณนั้นเลยนะ
-
ทีนี้ พอมันเอามาผสมกัน กลายเป็นจ้ำบ๊ะ
-
ก็เลยเหมือนแบบ ส่ายเนื้อแบบไม่ยั้งนะคะ
-
ก็เลยเป็นการเต้นแบบโชว์เนื้อหนังมังสา อะไรประมาณนี้ค่ะ
-
ซึ่งถามว่า จ้ำบ๊ะขนมกับไอ้จ้ำบ๊ะโชว์เนี่ย เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่า?
-
ก็ต้องบอกว่า มันเป็นที่มาของชื่อค่ะ
-
คือ เค้าบอกว่า ลักษณะการที่เอาน้ำแข็งเนี่ยมาไสๆๆ
-
แล้วก็เทใส่ถ้วยเนี่ยนะ
-
ทรงมันเหมือนกับหน้าอกผู้หญิงค่ะ
-
ส่วนการที่ราดน้ำเชื่อมนะ แล้วก็ใส่ของตกแต่งลงไปเนี่ย
-
มันเหมือนกับชุดของนักเต้นจ้ำบ๊ะนะคะ ที่สีสันสดใสค่ะ
-
และสุดท้ายนะคะ กิริยาของการราดนมข้นส่ายๆ ลงไปเนี่ย
-
มันก็กิริยาการส่ายนมนั่นเองนะ
-
ดังนั้นมันก็เลยมีคนปิ๊งว่า อุ๊ย ฉันเรียกขนมชนิดนี้ว่า จ้ำบ๊ะ ดีกว่านะคะ
-
สุดท้ายชื่อ จ้ำบ๊ะ เนี่ย มันก็เลยแพร่กระจายไปทั่วประเทศค่ะ
-
ใช้เรียกแทนชื่อของน้ำแข็งไสนั่นเองน่ะนะ
-
ก่อนที่ชื่อนี้จะหายไป
-
แล้วก็วิวัฒนาการอิท่าไหนไม่รู้กลายมาเป็นปังนมเย็นแบบทุกวันนี้นี่แหละค่ะ
-
สรุปง่ายๆ นะคะ
-
เห็นไหมว่า ของกินเนี่ย มันเป็นวัฒนธรรมที่แบบพัฒนาได้ตลอดเวลาค่ะ
-
ขนาดน้ำแข็งที่แต่ก่อนไทยเราเนี่ย ไม่มีเลยนะคะ
-
ยังกลายมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบของขนมไทยได้เลยค่ะ
-
แถมมันก็พัฒนามาเรื่อยๆ ไม่หยุดเลยนะคะ
-
ตั้งแต่สมัยที่คนเนี่ยขอแบ่งน้ำแข็งไปอมเล่นเฉยๆ
-
พัฒนาเอามาทำเป็นไอศกรีมเลียนแบบต่างชาติ
-
เอามาทำน้ำแข็งไส เอามาทำจ้ำบ๊ะ
-
พัฒนาเป็นปังนมเย็น
-
เอามาทำให้กะทิเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
-
กลายมาเป็นสาคูแคนตาลูปเย็น
-
ดังนั้นจากคำถามตอนต้นนู่นนะคะว่า
-
ไอ้พวกขนมที่มันใส่น้ำแข็งเนี่ย มันนับเป็นขนมไทยไหม?
-
หรือว่าสาคูแคนตาลูปเป็นขนมไทยไหม?
-
ปังนมเย็นเป็นขนมไทยไหมนะคะ?
-
ถ้าถามวิวเนี่ยนะคะ ก็ตอบเลยว่า เป็นค่ะ
-
เพราะว่าคนไทยเราเนี่ย ก็คุ้นกับการเอาอะไรรอบๆ ตัวเนี่ยนะคะ
-
มาประยุกต์ให้เข้ากับสิ่งที่ตัวเองต้องการเสมอค่ะ
-
อย่างขนม อย่างอาหารเนี่ย
-
เจออะไรก็เอามาประยุกต์ให้เข้ากับลิ้นของตัวเองนั่นแหละค่ะ
-
ซึ่งเอาจริงๆ นะคะ เหมือนกับทุกคลิปวิดีโอที่วิวทำมาเนี่ยแหละ
-
ส่วนตัวไม่อยากให้ไปโฟกัสนะคะว่า
-
อะไรเป็นของไทย หรือไม่เป็นของไทย หรือว่าเป็นของชาติไหนกันแน่?
-
เวลาเราศึกษาเรื่องพวกนี้ จริงๆ เราควรจะศึกษามากกว่าค่ะว่า
-
เส้นทางการเดินทางของมันเนี่ย เดินทางมายังไงนะคะ?
-
จนกลายมาเป็นสิ่งที่เราเห็นทุกวันนี้
-
มันวิวัฒนาการมาจากอะไร? มันพัฒนามาจากอะไรค่ะ?
-
น่าจะเป็นการศึกษาที่น่าจะสนุกมากกว่า การพยายามจะตอบนะคะว่า
-
สิ่งนี้เป็นของชาตินั้น สิ่งนั้นเป็นของชาตินี้
-
ชาตินี้จะต้องอนุรักษ์ไว้ ชาตินี้จะต้องหวงแหนไว้ ไม่ให้ชาตินี้มายุ่ง
-
คือถามว่า อะไรเก่าๆ เนี่ยอนุรักษ์ไว้ดีไหมนะคะ?
-
คือก็ดีค่ะ อนุรักษ์ไว้เป็นภูมิปัญญา
-
อนุรักษ์ไว้ให้รู้ว่า เออ ของเก่าๆ มันเป็นอย่างนี้
-
แต่ถามว่า อนุรักษ์แล้วฟรีซค้างไว้อยู่ตรงนั้นเลย
-
ไม่ขยับดีไหม?
-
ส่วนตัวสำหรับวิวเนี่ยรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเวิร์กค่ะ
-
เพราะว่า ถ้าเราไม่ได้มีการวิวัฒนาการเนี่ยนะคะ
-
ขนมไทยของเราก็คงไม่อร่อยเท่าทุกวันนี้แหละค่ะ
-
อาจจะแบบยังอมอ้อยควั่นกันอยู่ตั้งแต่สมัยนั้น
-
ตัดอ้อยมาแล้วก็กินได้เลยนะคะ
-
คงไม่มีตั้งแต่ทองหยิบ ทองหยอด
-
ไม่มีสาคูแคนตาลูป ไม่มีปังนมเย็น
-
แล้วก็ไม่มีขนมไทยอร่อยๆ อีกหลายชนิดเลยค่ะ
-
อูหูว สรุปซะสวยเชียว
-
เดี๋ยวๆ พูดมาขนาดนี้ จะสรุปแค่นี้จริงๆ เหรอ?
-
ใครบอกว่า จะมาบอกแค่นี้คะ?
-
จริงๆ นะคะที่จะมาบอกก็คือ
-
ตอนนี้มันมีขนมหวานชนิดใหม่พัฒนาขึ้นมาแล้วค่ะ
-
สำหรับใครที่ไม่อยากไปนั่งปั่นน้ำแข็ง
-
กว่าจะได้กินปังนมเย็นถ้วยนึง
-
หรือกว่าจะได้ไปหาสาคูแคนตาลูปเย็นๆ กินแก้วนึงนะคะ
-
คือ ตอนนี้นะคะ วอลล์ค่ะ เค้าพัฒนาไอศกรีมนะคะ จากถ้วยมาสู่แท่งค่ะ
-
มีสองรสชาติใหม่เลย นั่นก็คือ
-
เอเชียนดีไลท์ สาคูแคนตาลูปนะคะ
-
แล้วก็เอเชียนดีไลท์ ปังนมเย็นค่ะ
-
ใช่ค่ะ เราจะขายกันตรงๆ แบบนี้แหละ
-
ทำไม เจอของอร่อยขายไม่ได้เหรอ?
-
อ่ะ มีอะไรบอกมาให้หมด บอกมา คายออกมา
-
รอฟังแล้วเนี่ย
-
บอกเลยนะคะว่า ถึงรูปร่างเนี่ย มันจะเปลี่ยนไปมาเป็นแท่งแบบนี้
-
จากถ้วยนะคะ
-
แต่รสชาติข้างในยังเหมือนเดิมค่ะ
-
มาแกะให้ดูกันทีละรสเลยดีกว่านะ
-
เริ่มจากนี่ก่อนเลยนะคะ ปังนมเย็น ของโปรดของวิว
-
แกะแล้วนะ
-
จะบอกว่า แกะออกมานะ หอมนมเย็นขึ้นมาก่อนเลยทุกคน
-
หอมมากอ่ะ
-
คือที่บอกว่าเป็นไอศกรีมปังนมเย็นนะคะ
-
มันเป็นปังนมเย็นจริงๆ ค่ะทุกคน
-
คืออย่างแรกเลยนะ หยิบขึ้นมาอย่างที่บอกเมื่อกี้เลย
-
แกะซองปุ๊บ กลิ่นนมเย็นหอมเข้มข้นเตะจมูกขึ้นมาก่อนเลยค่ะ
-
คือแบบหอมมาก
-
สำหรับคนที่เป็นแฟนคลับนมเย็นนี่ชอบแน่นอนนะคะ
-
แค่ได้กลิ่นก็ฟินแล้วค่ะ
-
และที่สำคัญ บอกว่าเป็นปังนมเย็น ต้องไม่ใช่มีแต่นมเย็นใช่ไหม?
-
เพราะว่าเค้านะคะ จะมีขนมปังเนี่ยอยู่ข้างในจริงๆ เลยค่ะ
-
และบอกเลยนะคะว่า จากที่ลองกินไปแล้วเนี่ย เครื่องเค้าแน่นมากจริงๆ ค่ะ
-
กัดเข้าไปเนี่ย เจอเครื่องทุกคำเลยนะคะ
-
ไม่เชื่อดูนี่
-
อือหือ ซูมอินกันเข้าไปดูเลยค่ะว่า
-
มันมีเนื้อขนมปังอยู่ข้างในจริงๆ นะทุกคน
-
ส่วนใครที่ชอบรสกะทิเนี่ยนะ
-
ก็รสนี้เลยค่ะ สาคูแคนตาลูปนะคะ
-
เดี๋ยวแกะให้ดูด้านในดีกว่า
-
นี่ ผ่าม อูหูว สีสวยงามนะคะ
-
เห็นส้มๆ นี่ไม่ใช่ชาไทยนะคะ
-
สีแคนตาลูปค่ะทุกคน แล้วแบบหอมกลิ่นแคนตาลูปมากๆ อ่ะ
-
หอมจริงนะคะ ไปลองซื้อมาดมกันได้
-
หมายถึงดมแล้วกินด้วยนะ ไม่ใช่ดมเฉยๆ
-
นี่ ใครชอบแคนตาลูปนะคะ
-
อันนี้ก็คือแบบที่บอกเลยว่า หอมแคนตาลูป
-
แล้วก็..
-
แล้วก็รสชาติแคนตาลูป หอมมาก อร่อยมาก
-
ที่สำคัญนะคะ เนื้อสาคูเนี่ย เหนียวนุ่ม เต็มคำนะคะ
-
คือกัดไปทุกคำเนี่ย มีสาคูแทรกอยู่จุ๊ดๆๆๆ
-
เป็น texture ที่แบบกลมกล่อม
-
นอกจากนี้นะคะ ไปอ่านมาแล้ว เค้าบอกว่า ทำจากกะทิแท้ด้วย
-
อือหืม perfect สุดๆ เลยค่ะ
-
เอาเป็นว่า ใครชอบรสไหนนะคะ ก็ไปหาซื้อกินกันได้ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป
-
หรือว่าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป ก็มีขายเช่นกันนะคะ
-
ส่วนใครไม่สะดวก ไม่อยากออกไปไหน
-
ก็สามารถสั่งออนไลน์มาได้เช่นกัน
-
สะดวกสบายสุดๆ เลยนะคะ
-
ง่ายกว่านี้ไม่มีอีกแล้วค่ะ
-
เอาเป็นว่า วันนี้วิวขอตัวไปจัดการกับไอศกรีมก่อน
-
แต่ว่า ใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว
-
แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ
-
แล้วพบกันใหม่โอกาสนะคะทุกคน
-
บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ
-
กินได้ทั้งแท่งอ่ะ
-
คือนี่ยังกินไม่หยุดเลยอ่ะ มาแบบหลายวันแล้วอ่ะ
-
คือแบบ คือกินแบบ อือหือ กินทุกวัน
-
ทุกคน มันอร่อยนะคะ
-
คือแบบนมเย็น ชอบอยู่แล้วไง
-
แล้วแบบอันนี้มันเป็นขนมปัง
-
ทางนั้นเป็นไงบ้างอ่ะ?
-
อือหือ สาคูแคนตาลูปก็อร่อยนะบอกเลย
-
ไม่ใช่มีแค่ปังนมเย็นที่อร่อย อืม
-
-อร่อยเนอะ
-อือ
-
เอาเป็นว่า พอเหอะ ปิดคลิปไหม?
-
งั้นขอปิดคลิปแทนวิวเลยนะคะ
-
วันนี้ก็ลาไปก่อนละกันค่ะทุกคน
-
บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ