เมืองไทยเป็นเมืองร้อน สมัยโบราณไทยไม่มีน้ำแข็ง แล้วทำไม ขนมไทยหลายๆ ชนิดถึงเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ใส่น้ำแข็งกันล่ะ? สวัสดีค่ะ วิวจากแชนเนล Point of View ค่ะ บอกเลยนะคะว่า คลิปวันนี้ วิวตั้งตามใจตัวเองสุดๆ เลยค่ะ เพราะว่าวันนี้วิวอยากจะมาชวนทุกคนคุยเรื่องราวเกี่ยวกับขนมไทยนะคะ โดยเฉพาะขนมต่างๆ ที่มันมีการใส่เกล็ดน้ำแข็ง ใส่อะไรลงไปเนี่ยนะ แน่นอนว่า อือหือ บิงซูก็บิงซูเถอะค่ะ เจอขนมไทยเข้าไป เวลาร้อนๆ เนี่ยนะ ฟินอย่าบอกใครเลยทีเดียวนะคะ เรียกได้ว่า เนื้อหาวันนี้นะคะ เราจะมาคุยเรื่องขนมไทยกันค่ะว่า เออ พูดถึงสมัยโบราณเนี่ย เราก็รู้กันดีนะว่า เมืองไทยเป็นเมืองร้อน น่าจะไม่มีน้ำแข็งแน่ๆ นะคะ แล้วทำไมขนมไทยหลายๆ ชนิดเนี่ย ถึงมีการใส่น้ำแข็งลงไป? ถึงเป็นเกล็ดน้ำแข็งอะไรต่างๆ นะคะ? มันเริ่มขึ้นสมัยไหน? มีน้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรกในสมัยไหนค่ะ? และที่สำคัญนะคะ วันนี้วิวไม่ได้มาคนเดียวค่ะ แต่มากับแขกรับเชิญอีกหนึ่งท่านนะที่หลายๆ คนน่าจะคิดถึงแน่ๆ เลย แขกรับเชิญคนนั้นนะคะ ก็คือ สวัสดีค่ะ พ้อยท์เองค่ะ เสียใจด้วยนะคะสำหรับใครที่คาดหวังว่า มองมาแล้วจะเห็นภูเขาค่ะ วันนี้นะคะ พ้อยท์นะคะ มาคนเดียวค่ะ อ็อฟไม่ได้มาด้วย ค่าตัวแพง ขอโทษด้วยจริงๆ นะคะ เราประหยัดงบแขกรับเชิญนะคะ เอาล่ะ ตอนนี้เราเวิ่นนอกเรื่องกันมาพอสมควรแล้วค่ะ พร้อมจะไปฟังเรื่องราวที่ทั้งสนุก แล้วก็ได้สาระกันหรือยังคะ? ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็ไปฟังกันเลยค่ะ เอาจริงๆ นะ พูดถึงขนมไทย ขนมไทยคือ อะไร? อ่ะ คิดว่า ขนมไทยในความคิดของตัวเองเนี่ย นึกถึงขนมประเภทไหน? พูดถึงขนมไทยก็... อ่ะ นึกถึงง่ายๆ ล่ะกัน ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง? ใช่ไหม? แต่ว่า ขนมพวกนี้เราก็คุ้นเคยกันดีนะคะ จากคลิปก่อนๆ ที่เราเคยทำ หรือว่าจากบทเรียนต่างๆ ว่า ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ลูกชุบเนี่ยนะ มันเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมากจากโปรตุเกส ใช่ไหมคะ? ก่อนที่จะมีการพัฒนาสูตรนู่นนี่นั่น จนเข้ากับลิ้นคนไทย แล้วก็กลายเป็นขนมไทยในที่สุด ใช่ไหมคะ? อันนี้ค่อนข้างชัดว่า เออ มันเป็นขนมไทยแหละ มันผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว มีการวิวัฒนาการอะไรต่างๆ แต่ขนมอีกประเภทนึงเนี่ย เป็นขนมที่ฟังดูเผินๆ ปัจจุบันนี้เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย มันเป็นขนมไทยนี่แหละ แต่พอไปดูรายละเอียดจริงๆ เราจะรู้สึกว่า เอ๊ะ มันเป็นขนมไทยจริงเหรอนะคะ? ขนมพวกนี้คือ ขนมที่แบบมีการเอามากินแบบเย็น บางทีก็มีการแช่ให้น้ำกะทิเนี่ย กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง หรือว่ามีการไสน้ำแข็งใส่ลงไปนะคะ เอ๊ ขนมพวกนี้มันเป็นขนมไทยจริงหรือเปล่า? ยกตัวอย่างง่ายๆ สาคูแคนตาลูป คิดว่า เป็นขนมไทยไหม? เอ๊า ก็เป็นสิ เวลาที่ไปกินข้าวตามร้านอาหารไทยเนี่ย เปิดไปหน้าของหวานทีไร ก็เจอสาคูแตนตาลูปประจำเลยนะ หลายคนฟังปุ๊บไม่ปฏิเสธเลยค่ะว่า สาคูแคนตาลูปเนี่ยเป็นขนมไทย แต่ลองมาดูสาคูแคนตาลูปกันดีๆ สิคะ เราไปพูดถึงแค่ คำว่า แคนตาลูป ก่อนก็พอ แคนตาลูปเนี่ยเป็นแตงจากที่ไหน? แคนตาลูปเนี่ยนะคะ เป็นแตงที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียค่ะ แล้วก็มีการนำไปปลูกที่เมืองแถวๆ โรมนะคะ ชื่อเมือง คันตาลูโป อ่ะ พอไปอยู่ที่เมืองคันตาลูโป ก็เกิดมีชื่อเสียงขึ้นมา คนก็เลยไปเรียกกันว่า อ่อ แตงจากเมืองคันตาลูโปๆ พอแพร่กระจายเข้าไปถึงอังกฤษ ไปอยู่ในภาษาอังกฤษ ก็ดันเรียกเพี้ยนกันอีกค่ะว่า แคนตาลูป ดังนั้นนะคะ แคนตาลูปนี่ แค่ชื่อก็ไม่มีความเป็นไทยแล้วค่ะ แล้วมาอยู่ในขนมไทยได้ยังไง? ถูกไหม? เออ จริงด้วย มานั่งคิดดีๆ นะ บางที่ที่ไปสั่งกินเนี่ย ก็เป็นสาคูแคนตาลูปแบบร้อน บางที่มันก็เป็นสาคูแคนตาลูปแบบเย็น คือไอ้แบบร้อนนี่เข้าใจได้นะ แต่ว่า แบบเย็นเนี่ย ที่มันแบบเป็นเกล็ดน้ำแข็งเลยอ่ะ แล้วประเทศอากาศร้อนๆ แบบไทยเรา จะไปมีขนมที่มันเป็นเกล็ดน้ำแข็งอย่างนั้นได้ยังไงอ่ะ? หรืออย่างอีกอย่างนึงนะ ที่เป็นของโปรดของเราสองคนเลยใช่ไหม? นั่นก็คือ ปังนมเย็นนะคะ ใช่ เราสองคนก็ ก็เราสองคนก็ชอบอะไรเหมือนกันน่ะนะ กลับมาพูดถึงปังนมเย็นกันดีกว่า ปังนมเย็นนะคะ เป็นขนมไทยหรือเปล่า? หลายคนฟังปุ๊บก็ เอ้า ขนมไทยสิ ปังนมเย็น ฮู้ หน้าตาดูไท้ไทย แต่ในปังนมเย็นเนี่ย เกล็ดน้ำแข็งมาเต็มขนาดนี้ เอ๊ คนไทยสมัยโบราณเรากินน้ำแข็งด้วยเหรอ? กินตั้งแต่เมื่อไหร่? อะไร? ยังไง? นะคะ จะบอกว่า บังเอิญมากๆ เลยค่ะ ตอนที่วิวกำลังคิดจะทำคลิปนี้อยู่เนี่ย ก็มีคนส่งคำถามเข้ามานะคะ ใน #วิวเอ๋ยบอกข้าเถิด ที่เราเนี่ยมีไว้ตอบคำถามกันค่ะ ซึ่งคุณคนนี้ ขอโทษจริงๆ วิวอ่านชื่อไม่ออกนะคะ เค้าส่งคำถามเข้ามาได้น่าสนใจมาก สรุปใจความง่ายๆ คือถามว่า ชาวไทยเราเนี่ย รู้จักน้ำแข็งเมื่อไหร่? น้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยเมื่อไหร่นะคะ? ดังนั้นไหนๆ ก็ไหนๆ วิวขออนุญาตรวมคำถามของเค้ากับคำถามของวิวเนี่ย เข้าเป็นคลิปวิดีโอนี้ คลิปวิดีโอเดียวกันเลยค่ะ วันนี้เราจะมาตอบคำถามกันนะคะว่า สรุปแล้วเนี่ย คนไทยเราเนี่ย เริ่มบริโภคน้ำแข็งกันเมื่อไหร่? แล้วขนมที่เป็นเกร็ดน้ำแข็งต่างๆ มีการใส่น้ำแข็งลงไป อย่างสาคูแคนตาลูป หรือว่าปังนมเย็นเนี่ย นับเป็นขนมไทยไหมนะคะ? ก่อนอื่นนะ ก่อนที่เราจะไปถึงจุดที่ว่า ปังนมเย็นกับสาคูแคนตาลูปเป็นขนมไทยไหมเนี่ย? เรามาเริ่มที่คำถามแรกกันก่อนดีกว่าค่ะ น้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรกเมื่อไหร่? อ่ะ มาละ เจ๊แกสาระมาเต็มละค่ะ มา จัดมาเลยๆ เล่ามา อ่ะ ถ้าเราพูดถึงอะไรที่เป็นเกล็ดน้ำแข็งเนี่ยนะคะ ก็ต้องบอกว่า จริงๆ ความรู้เรื่องเกล็ดน้ำแข็ง หรืออะไรต่างๆ ของคนไทยเนี่ย น่าจะมีมาก่อนหน้านี้แล้วแหละ เพราะว่าประเทศไทยเรา ถึงจะไม่มีหิมะ ถึงจะไม่มีน้ำแข็ง แต่เราก็มีลูกเห็บใช่ไหมคะ? ซึ่งมันก็คือ น้ำแข็งนี่แหละที่ตกลงมาจากฟากฟ้า เท่านั้นยังไม่พอ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเนี่ย ก็มีการเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสใช่ไหม? ในบันทึกของราชทูตสมัยนั้นก็มีการบันทึกถึงการที่ไปเจอหิมงหิมะอะไรด้วย ดังนั้นเราข้ามไปเรื่องความรู้เรื่องเกี่ยวกับเกล็ดน้ำแข็งนะคะ แต่ถามว่า คนไทยเนี่ย เริ่มบริโภคน้ำแข็งเมื่อไหร่? มีการนำเข้าน้ำแข็งมาที่ไทยครั้งแรกเมื่อไหร่นะคะ? ก็ต้องบอกว่า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ค่ะ เพราะว่าในช่วงเวลานั้นอ่ะ เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเนี่ยนะคะ มีการเดินทางค้าขายกับต่างชาติค่ะ โดยเฉพาะชาติตะวันตกนะคะ ก็มีการเดินทางค้าขายกันอย่างแบบว่า แพร่หลายค่ะ ก็มีการนำสินค้าส่งออก นำเข้าสินค้าอะไรต่างๆ แลกเปลี่ยนกันไปมา แน่นอนว่า น้ำแข็งก็เป็นหนึ่งในสินค้านั้นค่ะ โดยเราสันนิษฐานกันนะคะว่า น้ำแข็งเนี่ย น่าจะเข้ามาที่ประเทศไทยครั้งแรก ช่วงระหว่างปี 2405-2411 ค่ะ ถามว่า ทำไมต้องเป็นตัวเลขนี้? เพราะว่าตัวเลขนี้ 2405 คือปีประสูติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะ ส่วน 2411 เนี่ยนะคะ คือปีที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตค่ะ เพราะว่า เราเนี่ยสันนิษฐานจากบันทึกในสมัยทรงพระเยาว์นะคะ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพค่ะว่า เออ น้ำแข็งเข้ามาช่วงเวลานั้น ดังนั้นก็ตีความได้ว่า ประมาณนี้แหละค่ะ ซึ่งตอนนั้นเนี่ย ถามว่า เข้ามาได้ยังไงนะคะ? ก็มากับเรือกลไฟค่ะ ชื่อว่า เรือเจ้าพระยา นะคะ ซึ่งเจ้าของเนี่ย ก็คือ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ค่ะ หรือว่า ยิ้ม พิศลยบุตร นะคะ เอ้า แล้วเอาเข้ามายังไง? สมัยนั้นมีตู้เย็นแล้วเหรอ? ขนน้ำแข็งเข้ามาที่ประเทศไทยเนี่ย แน่นอนนะคะ สมัยนั้นยังไม่มีตู้เย็นค่ะ ดังนั้น เค้าก็ต้องมีวิธีการรักษาความเย็นในแบบของเค้าค่ะ คือตอนนั้นเนี่ย ตอนที่เอาใส่เรือมาเนี่ยนะคะ เค้าเอาใส่มาในหีบไม้ค่ะ แล้วก็เป็นไม้ฉำฉาอ่ะนะ นอกจากนี้ก็จะมีการโรยขี้เลื่อยไว้ค่ะ เพื่อกักเก็บความเย็นนะคะ ส่วนถ้าใครถามว่า แล้วเอาเข้ามาจากไหน? ต้องบอกว่า เอาเข้ามาจากสิงคโปร์ค่ะ โดยจริงๆ แล้วเค้าตีความออกเป็น 2 ทฤษฎีด้วยกันนะคะ ทฤษฎีแรกบอกว่า น่าจะเอามาจากที่ผลิตในสิงคโปร์เลยเนี่ยแหละ เพราะว่ามีการประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็งที่ประเทศออสเตรเลียนะคะ แต่ว่า เอาจริงๆ เทคโนโลยีสมัยนั้นน่ะ มันไม่ได้แพร่กระจายเร็วเท่าทุกวันนี้ ไม่ใช่ว่าแบบ โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ออกวันนี้ พรุ่งนี้ขายกันทั่วโลกนะคะ มันต้องค่อยๆ แบบผลิต มีไม่กี่เครื่อง อะไรอย่างนี้ ดังนั้นก็เลยมีอีกทฤษฎีนึงค่ะว่า สิงคโปร์เนี่ย อาจจะยังไม่ได้ผลิตน้ำแข็งเองได้ขนาดส่งขายน่ะนะ อาจจะเป็นว่า น้ำแข็งที่มาที่ประเทศไทยเนี่ย นำเข้ามาจากประเทศอื่นอีกต่อนึงนะคะ เป็นประเทศที่มีน้ำแข็ง เป็นเมืองหนาวอะไรอยู่แล้ว เป็นน้ำแข็งธรรมชาติอ่ะนะ ตัดแบ่งมาขายค่ะ แล้วก็ส่งมาที่สิงคโปร์ ก่อนที่สิงคโปร์เนี่ยจะส่งมาขายที่กรุงเทพต่ออีกต่อนึงค่ะ อย่างไรก็ตามนะคะ นึกสภาพสมัยก่อนค่ะ เรือเจ้าพระยาเนี่ย เรือกลไฟเนี่ยนะคะ วิ่งรอบนึงจากกรุงเทพ-สิงคโปร์ สิงคโปร์-กรุงเทพเนี่ย ใช้เวลา 15 วันค่ะ ดังนั้นนะคะ น้ำแข็งในสมัยนั้นก็จะเข้ามาทุก 15 วัน ไม่ได้มีทุกวันน่ะนะ ทีนี้พอปริมาณมันมีน้อยเนี่ย รอบนึงขนมา ก็คงขนมาไม่ได้เยอะหรอกค่ะ ต้องมีสินค้าอื่นด้วยใช่ไหม? ก็เลยทำให้น้ำแข็งเนี่ยนะคะ กลายเป็นของหายาก แล้วก็มีราคาสูงค่ะ คนที่จะได้กินน้ำแข็งนะ ก็เลยต้องเป็น ชนชั้นสูงค่ะ เช่น เจ้านาย แล้วก็ขุนนางในสมัยนั้นนะคะ โห แล้วคนไทยสมัยก่อนไม่แตกตื่นแย่เหรอ? คือ เคยได้ยินสำนวนไทยป้ะ? บอกว่า ปั้นน้ำเป็นตัวอย่างนี้? น้ำแข็งนี่มาเป็นก้อนเลย นึกสภาพคนไม่เคยเห็นน้ำแข็งมาก่อน จะต้องคิดว่า ปั่นน้ำเป็นตัวแน่ๆ เลย แน่นอน ตื่นเต้นนะคะ อย่างเช่นที่ เสฐียรโกเศศ หรือว่า พระยาอนุมานราชธน เนี่ยนะคะ เคยบันทึกไว้ในหนังสือฟื้นความหลังเล่มหนึ่งค่ะ ก็เล่าเนื้อหาประมาณว่า เออ สมัยท่านเด็กๆ เนี่ยนะ มีการนำน้ำแข็งเข้ามาเนี่ย คนตื่นเต้นกันมากนะคะ แล้วบางคนก็ไม่เชื่อว่า มีน้ำแข็ง ถึงขนาดที่ว่า ต้องมีการเอาน้ำแข็งเนี่ยไปตั้งที่ศาลาสหทัยนะคะ แล้วก็ให้คนเนี่ย เข้าไปดูว่า เฮ้ย แก น้ำแข็งมันมีจริงๆ เนี่ย น้ำมันเป็นตัวได้จริงๆ นะ มันเย็นด้วย อูหู้ แปลกจังเลย นะคะ บางคนถึงขนาดที่ต้องขอแบ่งน้ำแข็งนะคะ เอากลับไปที่บ้านเลย เอาไปอวดคนที่บ้านว่า แก น้ำแข็งมีจริง ที่สำคัญนะคะ ความไม่รู้เนี่ยก็มาพร้อมกับความเชื่อแปลกๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นบอกว่า เฮ้ยแก อย่าไปกินนะ น้ำแข็งอ่ะ กินแล้วมันปวดฟัน อ่ะ อันนี้อาจจะเป็นว่า เสียวฟันหรือเปล่านะคะ? หรือว่าบอกว่า เฮ้ยแก อย่าไปกินน้ำแข็งนะ มันใส่ยาอะไรก็ไม่รู้ ทำให้น้ำเนี่ยขึ้นมาเป็นตัว มันจะต้องเป็นเวทมนตร์แน่ๆ เลย หรืออันนี้นะคะ ที่บอกว่า แก น้ำแข็งมันเป็นของแสลง ถึงมันจะเย็นนะ แต่กินลงไปแล้วมันจะร้อนใน อันนี้ส่วนตัววิวเนี่ยเคยได้ยินเหมือนกันนะ สมัยเด็กๆ ค่ะ อย่างนี้แปลว่า คนก็จะไม่กินน้ำแข็งกันใช่ไหม? เพราะว่าไม่คุ้นเคย ใครบอก? ใครบอกว่า ไม่กินนะคะ กินค่ะ แต่ว่า คนที่กินเนี่ย จะเป็นชนชั้นสูงนะคะ ที่มีตังค์ สามารถซื้อน้ำแข็งมาได้ค่ะ สมัยแรกๆ เลยเนี่ย ชนชั้นสูงนะคะ ก็มีการเอาน้ำแข็งเนี่ยมาเป็นวัตถุดิบในการทำไอศกรีมนะคะ นอกจากนี้ แน่นอนว่า คนไทยเราเนี่ยเป็นคนที่จับเล็กผสมน้อยเก่งอยู่แล้ว ดังนั้นพอน้ำแข็งเข้ามาเนี่ยนะคะ ก็เลยมีการผลิตขึ้นมาเป็นขนม เป็นอาหารอะไร เรียกได้ว่า พัฒนาต่อยอดจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้เลยทีเดียวค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ อ่ะ อย่างไอ้สาคูแคนตาลูปที่เราคุยกันมาเนี่ย ก็อาจจะเกิดจากการที่ อ่ะ คนไทยเรามีขนมที่เป็นน้ำกะทิ เราก็กินกับแตงอยู่แล้วใช่ไหม? เป็นแตงไทยอะไรอย่างนี้ พอมันมีแคนตาลูปเข้ามา เค้าก็อาจจะแบบเปลี่ยน เช่น เฮ้ย แตงไทยไม่ค่อยหอม แคนตาลูปหอมกว่า เอาแคนตาลูปใส่โบ้มลงไป บึ้ม อูว ได้สาคูมาจากภาคใต้ เอาสาคูใส่โบ้มลงไป บึ้ม แล้วก็แบบ หูว มีน้ำแข็งด้วย อุ๊ย เอาน้ำแข็งมาทำให้กะทิมันเย็นดีกว่า กินร้อนๆ มันจะแบบ ไม่เข้ากับอากาศบ้านเรา ก็เลยกลายเป็นสาคูแคนตาลูปแบบทุกวันนี้ ก็เป็นได้เช่นกันค่ะ นี่แหละนะคะ เค้าเรียกว่า การต่อยอดค่ะ คือคนที่ทำอาหารเนี่ย เค้าไม่ได้มาคิดหรอกว่า ฉันกำลังทำขนมไทยอยู่ ขนมนี้จะต้องเป็นวัตถุดิบจากไทยเท่านั้น ไม่ค่ะ คนสมัยนั้นเค้าคิดอะไร? เค้าคิดแค่ว่า อันนี้อร่อยๆๆ เอ้า เอามารวมกัน บึ้ม ออกมาเป็นอาหารชนิดใหม่ค่ะ หรืออีกอย่างที่น่าสนใจกว่านั้นนะ คือที่มาของปังนมเย็นค่ะ ต้องบอกว่า ปังนมเย็นเนี่ยมีวิวัฒนาการของตัวเองที่น่าสนใจเหมือนกันนะคะ ไหน น่าสนใจยังไง? โม้มาขนาดนี้ ไหนเล่าให้คนดูฟังซิ คือสมัยก่อนเนี่ย ปังนมเย็นไม่ได้ชื่อว่า ปังนมเย็นค่ะ แต่สันนิษฐานนะ อันนี้วิวสันนิษฐานว่า ปังนมเย็นเนี่ย น่าจะวิวัฒนาการมาจากน้ำแข็งไสค่ะ และมันไม่ใช่ว่าแบบ น้ำแข็งไสแล้ว บึ้ม ข้ามมาเป็นปังนมเย็นเลยนะคะ แต่ว่า มันมีขนมอีกชนิดนึงคั่นกลางค่ะ ขนมชนิดนั้นเรียกว่า จ้ำบ๊ะ เอ้า ใครเคยได้ยินชื่อขนมจ้ำบ๊ะบ้างคะ? สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้ยินชื่อขนมจ้ำบ๊ะนะคะ เรามาฟังประวัติสั้นๆ ของขนมชนิดนี้ดีกว่า เริ่มต้นเนี่ย จ้ำบ๊ะ แปลง่ายๆ ก็แปลว่า น้ำแข็งไสนี่แหละค่ะ ก็คือการที่เอาน้ำแข็งเนี่ย มาไสนะคะ กิริยาการไสคืออย่างนี้นะ ดังนั้นไม่ใช่ใสที่แปลว่าแบบ ใสสะอาด นะคะ น้ำแข็งไส สะกดแบบนี้นะ ก็คือการเอาน้ำแข็งเนี่ย มาไสนะคะ แล้วก็เทลงมาเป็นถ้วยใช่ไหม? เสร็จแล้วก็ราดน้ำหวานนะคะ ราดๆๆ แล้วก็มีการเอาเครื่องต่างๆ มาใส่ค่ะ ซึ่งจากการที่วิวไปอ่านงานวิจัยมาเนี่ยนะ เค้าสันนิษฐานกันว่า ไอ้ขนมประเภทนี้ มันเริ่มที่จังหวัดเพชรบุรีค่ะ โดยเริ่มจากการที่เค้าเนี่ย เอาข้าวเช้าที่กินเหลือนะคะ ก็คือ ปาท่องโก๋ ซึ่งจริงๆ ใครเคยดูคลิปวิวน่าจะรู้ว่า มันเรียกว่า อิ่วจาก้วย นะคะ คือเอาปาท่องโก๋เนี่ยที่กินเหลือตอนเช้า ไปทอดเพิ่มอีกรอบ แล้วก็เอามาใส่กับน้ำแข็งไส เสร็จแล้วก็เอาเครื่องใส่ เอาน้ำหวานราดนะคะ ก็เลยกลายมาเป็นขนมไอ้น้ำแข็งไส ต้นตำหรับแบบเพชรบุรีเนี่ยแหละค่ะ โดยเครื่องที่เค้าใส่นะ ก็ใส่ได้หลากหลายเลย จะเป็นมันเชื่อม พุทราเชื่อม เฉาก๊วย ทับทิมกรอบ ลูกชิด อะไร ใส่ได้หมดเลยค่ะ ซึ่งในยุคแรกเนี่ยนะคะ เค้าก็ยังไม่เรียกจ้ำบ๊ะหรอกค่ะ เค้าเรียกน้ำแข็งไสนี่แหละ จนกระทั่งช่วงที่เค้าเนี่ยเริ่มราดนมข้นหวานลงไปเนี่ยนะคะ เค้าถึงเริ่มเรียกขนมชนิดนี้ว่า จ้ำบ๊ะ ค่ะ พอราดนมข้นหวานลงไป เริ่มรู้สึกแล้วใช่ไหมว่า เนี่ย เหมือนปังนมเย็นที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้นะคะ ดังนั้นก็เลยสันนิษฐานได้ว่า ปังนมเย็นเนี่ย น่าจะวิวัฒนาการมาจากจ้ำบ๊ะ ซึ่งจ้ำบ๊ะเนี่ย ก็น่าจะวิวัฒนาการมาจากน้ำแข็งไสนั่นเองค่ะ เดี๋ยวๆๆ จ้ำบ๊ะเนี่ย เคยได้ยินนะคำนี้ มันไม่ใช่ของหวานไม่ใช่เหรอ? มันคือชื่ออย่างอื่นไม่ใช่เหรอ? อ่ะ ใช่ๆๆ สำหรับใครที่เคยได้ยินชื่อ จ้ำบ๊ะ มาจากที่อื่นนะคะ อันนี้แถมให้นิดนึงนะ จ้ำบ๊ะคือเป็น ระบำแบบนึงของไทย พูดง่ายๆ ก็ระบำโป๊อ่ะค่ะ แบบโชว์เมียงูอะไรอย่างนี้อ่ะนะ เพราะว่าคำว่า จ้ำ เนี่ยนะคะ เค้าสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า จัม ภาษาจีนแต้จิ๋วค่ะ คือแบบว่า ใส่แรงอ่ะ ไม่ยั้งอ่ะ ปึ้กๆๆๆ อะไรอย่างนี้ แทงไม่ยั้งอ่ะ หรือว่า ไม่ยั้งอ่ะ ประมาณนี้ อธิบายไม่ถูกเหมือนกันเป็นภาษาไทยอ่ะนะ ส่วนคำว่า บ๊ะ เนี่ยแปลว่า เนื้อ ค่ะ เหมือนแบบหมูบ๊ะช่ออ่ะ ประมาณนั้นเลยนะ ทีนี้ พอมันเอามาผสมกัน กลายเป็นจ้ำบ๊ะ ก็เลยเหมือนแบบ ส่ายเนื้อแบบไม่ยั้งนะคะ ก็เลยเป็นการเต้นแบบโชว์เนื้อหนังมังสา อะไรประมาณนี้ค่ะ ซึ่งถามว่า จ้ำบ๊ะขนมกับไอ้จ้ำบ๊ะโชว์เนี่ย เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่า? ก็ต้องบอกว่า มันเป็นที่มาของชื่อค่ะ คือ เค้าบอกว่า ลักษณะการที่เอาน้ำแข็งเนี่ยมาไสๆๆ แล้วก็เทใส่ถ้วยเนี่ยนะ ทรงมันเหมือนกับหน้าอกผู้หญิงค่ะ ส่วนการที่ราดน้ำเชื่อมนะ แล้วก็ใส่ของตกแต่งลงไปเนี่ย มันเหมือนกับชุดของนักเต้นจ้ำบ๊ะนะคะ ที่สีสันสดใสค่ะ และสุดท้ายนะคะ กิริยาของการราดนมข้นส่ายๆ ลงไปเนี่ย มันก็กิริยาการส่ายนมนั่นเองนะ ดังนั้นมันก็เลยมีคนปิ๊งว่า อุ๊ย ฉันเรียกขนมชนิดนี้ว่า จ้ำบ๊ะ ดีกว่านะคะ สุดท้ายชื่อ จ้ำบ๊ะ เนี่ย มันก็เลยแพร่กระจายไปทั่วประเทศค่ะ ใช้เรียกแทนชื่อของน้ำแข็งไสนั่นเองน่ะนะ ก่อนที่ชื่อนี้จะหายไป แล้วก็วิวัฒนาการอิท่าไหนไม่รู้กลายมาเป็นปังนมเย็นแบบทุกวันนี้นี่แหละค่ะ สรุปง่ายๆ นะคะ เห็นไหมว่า ของกินเนี่ย มันเป็นวัฒนธรรมที่แบบพัฒนาได้ตลอดเวลาค่ะ ขนาดน้ำแข็งที่แต่ก่อนไทยเราเนี่ย ไม่มีเลยนะคะ ยังกลายมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบของขนมไทยได้เลยค่ะ แถมมันก็พัฒนามาเรื่อยๆ ไม่หยุดเลยนะคะ ตั้งแต่สมัยที่คนเนี่ยขอแบ่งน้ำแข็งไปอมเล่นเฉยๆ พัฒนาเอามาทำเป็นไอศกรีมเลียนแบบต่างชาติ เอามาทำน้ำแข็งไส เอามาทำจ้ำบ๊ะ พัฒนาเป็นปังนมเย็น เอามาทำให้กะทิเป็นเกล็ดน้ำแข็ง กลายมาเป็นสาคูแคนตาลูปเย็น ดังนั้นจากคำถามตอนต้นนู่นนะคะว่า ไอ้พวกขนมที่มันใส่น้ำแข็งเนี่ย มันนับเป็นขนมไทยไหม? หรือว่าสาคูแคนตาลูปเป็นขนมไทยไหม? ปังนมเย็นเป็นขนมไทยไหมนะคะ? ถ้าถามวิวเนี่ยนะคะ ก็ตอบเลยว่า เป็นค่ะ เพราะว่าคนไทยเราเนี่ย ก็คุ้นกับการเอาอะไรรอบๆ ตัวเนี่ยนะคะ มาประยุกต์ให้เข้ากับสิ่งที่ตัวเองต้องการเสมอค่ะ อย่างขนม อย่างอาหารเนี่ย เจออะไรก็เอามาประยุกต์ให้เข้ากับลิ้นของตัวเองนั่นแหละค่ะ ซึ่งเอาจริงๆ นะคะ เหมือนกับทุกคลิปวิดีโอที่วิวทำมาเนี่ยแหละ ส่วนตัวไม่อยากให้ไปโฟกัสนะคะว่า อะไรเป็นของไทย หรือไม่เป็นของไทย หรือว่าเป็นของชาติไหนกันแน่? เวลาเราศึกษาเรื่องพวกนี้ จริงๆ เราควรจะศึกษามากกว่าค่ะว่า เส้นทางการเดินทางของมันเนี่ย เดินทางมายังไงนะคะ? จนกลายมาเป็นสิ่งที่เราเห็นทุกวันนี้ มันวิวัฒนาการมาจากอะไร? มันพัฒนามาจากอะไรค่ะ? น่าจะเป็นการศึกษาที่น่าจะสนุกมากกว่า การพยายามจะตอบนะคะว่า สิ่งนี้เป็นของชาตินั้น สิ่งนั้นเป็นของชาตินี้ ชาตินี้จะต้องอนุรักษ์ไว้ ชาตินี้จะต้องหวงแหนไว้ ไม่ให้ชาตินี้มายุ่ง คือถามว่า อะไรเก่าๆ เนี่ยอนุรักษ์ไว้ดีไหมนะคะ? คือก็ดีค่ะ อนุรักษ์ไว้เป็นภูมิปัญญา อนุรักษ์ไว้ให้รู้ว่า เออ ของเก่าๆ มันเป็นอย่างนี้ แต่ถามว่า อนุรักษ์แล้วฟรีซค้างไว้อยู่ตรงนั้นเลย ไม่ขยับดีไหม? ส่วนตัวสำหรับวิวเนี่ยรู้สึกว่า มันไม่น่าจะเวิร์กค่ะ เพราะว่า ถ้าเราไม่ได้มีการวิวัฒนาการเนี่ยนะคะ ขนมไทยของเราก็คงไม่อร่อยเท่าทุกวันนี้แหละค่ะ อาจจะแบบยังอมอ้อยควั่นกันอยู่ตั้งแต่สมัยนั้น ตัดอ้อยมาแล้วก็กินได้เลยนะคะ คงไม่มีตั้งแต่ทองหยิบ ทองหยอด ไม่มีสาคูแคนตาลูป ไม่มีปังนมเย็น แล้วก็ไม่มีขนมไทยอร่อยๆ อีกหลายชนิดเลยค่ะ อูหูว สรุปซะสวยเชียว เดี๋ยวๆ พูดมาขนาดนี้ จะสรุปแค่นี้จริงๆ เหรอ? ใครบอกว่า จะมาบอกแค่นี้คะ? จริงๆ นะคะที่จะมาบอกก็คือ ตอนนี้มันมีขนมหวานชนิดใหม่พัฒนาขึ้นมาแล้วค่ะ สำหรับใครที่ไม่อยากไปนั่งปั่นน้ำแข็ง กว่าจะได้กินปังนมเย็นถ้วยนึง หรือกว่าจะได้ไปหาสาคูแคนตาลูปเย็นๆ กินแก้วนึงนะคะ คือ ตอนนี้นะคะ วอลล์ค่ะ เค้าพัฒนาไอศกรีมนะคะ จากถ้วยมาสู่แท่งค่ะ มีสองรสชาติใหม่เลย นั่นก็คือ เอเชียนดีไลท์ สาคูแคนตาลูปนะคะ แล้วก็เอเชียนดีไลท์ ปังนมเย็นค่ะ ใช่ค่ะ เราจะขายกันตรงๆ แบบนี้แหละ ทำไม เจอของอร่อยขายไม่ได้เหรอ? อ่ะ มีอะไรบอกมาให้หมด บอกมา คายออกมา รอฟังแล้วเนี่ย บอกเลยนะคะว่า ถึงรูปร่างเนี่ย มันจะเปลี่ยนไปมาเป็นแท่งแบบนี้ จากถ้วยนะคะ แต่รสชาติข้างในยังเหมือนเดิมค่ะ มาแกะให้ดูกันทีละรสเลยดีกว่านะ เริ่มจากนี่ก่อนเลยนะคะ ปังนมเย็น ของโปรดของวิว แกะแล้วนะ จะบอกว่า แกะออกมานะ หอมนมเย็นขึ้นมาก่อนเลยทุกคน หอมมากอ่ะ คือที่บอกว่าเป็นไอศกรีมปังนมเย็นนะคะ มันเป็นปังนมเย็นจริงๆ ค่ะทุกคน คืออย่างแรกเลยนะ หยิบขึ้นมาอย่างที่บอกเมื่อกี้เลย แกะซองปุ๊บ กลิ่นนมเย็นหอมเข้มข้นเตะจมูกขึ้นมาก่อนเลยค่ะ คือแบบหอมมาก สำหรับคนที่เป็นแฟนคลับนมเย็นนี่ชอบแน่นอนนะคะ แค่ได้กลิ่นก็ฟินแล้วค่ะ และที่สำคัญ บอกว่าเป็นปังนมเย็น ต้องไม่ใช่มีแต่นมเย็นใช่ไหม? เพราะว่าเค้านะคะ จะมีขนมปังเนี่ยอยู่ข้างในจริงๆ เลยค่ะ และบอกเลยนะคะว่า จากที่ลองกินไปแล้วเนี่ย เครื่องเค้าแน่นมากจริงๆ ค่ะ กัดเข้าไปเนี่ย เจอเครื่องทุกคำเลยนะคะ ไม่เชื่อดูนี่ อือหือ ซูมอินกันเข้าไปดูเลยค่ะว่า มันมีเนื้อขนมปังอยู่ข้างในจริงๆ นะทุกคน ส่วนใครที่ชอบรสกะทิเนี่ยนะ ก็รสนี้เลยค่ะ สาคูแคนตาลูปนะคะ เดี๋ยวแกะให้ดูด้านในดีกว่า นี่ ผ่าม อูหูว สีสวยงามนะคะ เห็นส้มๆ นี่ไม่ใช่ชาไทยนะคะ สีแคนตาลูปค่ะทุกคน แล้วแบบหอมกลิ่นแคนตาลูปมากๆ อ่ะ หอมจริงนะคะ ไปลองซื้อมาดมกันได้ หมายถึงดมแล้วกินด้วยนะ ไม่ใช่ดมเฉยๆ นี่ ใครชอบแคนตาลูปนะคะ อันนี้ก็คือแบบที่บอกเลยว่า หอมแคนตาลูป แล้วก็.. แล้วก็รสชาติแคนตาลูป หอมมาก อร่อยมาก ที่สำคัญนะคะ เนื้อสาคูเนี่ย เหนียวนุ่ม เต็มคำนะคะ คือกัดไปทุกคำเนี่ย มีสาคูแทรกอยู่จุ๊ดๆๆๆ เป็น texture ที่แบบกลมกล่อม นอกจากนี้นะคะ ไปอ่านมาแล้ว เค้าบอกว่า ทำจากกะทิแท้ด้วย อือหืม perfect สุดๆ เลยค่ะ เอาเป็นว่า ใครชอบรสไหนนะคะ ก็ไปหาซื้อกินกันได้ ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือว่าตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป ก็มีขายเช่นกันนะคะ ส่วนใครไม่สะดวก ไม่อยากออกไปไหน ก็สามารถสั่งออนไลน์มาได้เช่นกัน สะดวกสบายสุดๆ เลยนะคะ ง่ายกว่านี้ไม่มีอีกแล้วค่ะ เอาเป็นว่า วันนี้วิวขอตัวไปจัดการกับไอศกรีมก่อน แต่ว่า ใครชื่นชอบคลิปนี้อย่าลืมกดไลก์เป็นกำลังใจให้วิว แล้วก็กดแชร์เพื่อชวนเพื่อนๆ มาดูด้วยกันค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสนะคะทุกคน บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ กินได้ทั้งแท่งอ่ะ คือนี่ยังกินไม่หยุดเลยอ่ะ มาแบบหลายวันแล้วอ่ะ คือแบบ คือกินแบบ อือหือ กินทุกวัน ทุกคน มันอร่อยนะคะ คือแบบนมเย็น ชอบอยู่แล้วไง แล้วแบบอันนี้มันเป็นขนมปัง ทางนั้นเป็นไงบ้างอ่ะ? อือหือ สาคูแคนตาลูปก็อร่อยนะบอกเลย ไม่ใช่มีแค่ปังนมเย็นที่อร่อย อืม -อร่อยเนอะ -อือ เอาเป็นว่า พอเหอะ ปิดคลิปไหม? งั้นขอปิดคลิปแทนวิวเลยนะคะ วันนี้ก็ลาไปก่อนละกันค่ะทุกคน บ๊าย บาย สวัสดีค่ะ