< Return to Video

ทำไมธุรกิจจึงสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้เป็นอย่างดี

  • 0:00 - 0:02
    ผมคิดว่าพวกเราทุกคนทราบ
  • 0:02 - 0:05
    ว่าโลกทุกวันนี้มีแต่ปัญหา
  • 0:05 - 0:07
    เราได้ยินได้ฟังปัญหาพวกนั้น
  • 0:07 - 0:11
    ในวันนี้ เมื่อวาน และทุกๆ วัน
    มาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว
  • 0:11 - 0:15
    ปัญหาหนัก ปัญหาใหญ่ ปัญหาเร่งด่วน
  • 0:15 - 0:19
    ปัญหาด้านโภชนาการ ปัญหาการเข้าถึงนํ้าใช้
  • 0:19 - 0:22
    การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การทำลายป่าไม้
  • 0:22 - 0:25
    การขาดทักษะฝีมือ ความไม่มั่นคงปลอดภัย
    อาหารไม่เพียงพอ
  • 0:25 - 0:28
    บริการทางสุขภาพไม่เพียงพอ ปัญหามลพิษ
  • 0:28 - 0:30
    ปัญหาแล้วปัญหาเล่า
  • 0:30 - 0:32
    และผมคิดว่าสิ่งที่แบ่งแยกช่วงเวลานี้
  • 0:32 - 0:36
    ออกจากช่วงเวลาอื่นๆที่ผมจดจำได้
    ภายในช่วงชีวิตสั้นๆ ของผมบนโลกใบนี้
  • 0:36 - 0:39
    ก็คือ การตื่นตัวต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้
  • 0:39 - 0:42
    เราทุกคนต่างตื่นตัวอย่างมาก
  • 0:42 - 0:44
    แต่ทำไมเราจึงมีความยากลำบากอย่างมาก
  • 0:44 - 0:45
    ที่จะรับมือกับปัญหาเหล่านี้ล่ะ
  • 0:45 - 0:48
    นั่นคือคำถาม ที่ผมปลุกปลํ้ากับมันมาโดยตลอด
  • 0:48 - 0:53
    มันมาจากมุมมองที่แตกต่างออกไปอย่างมากของผม
  • 0:53 - 0:56
    ผมไม่ใช่คนที่ทำงานด้านปัญหาสังคม
  • 0:56 - 0:58
    ผมเป็นคนทำงานด้านธุรกิจ
  • 0:58 - 1:02
    ช่วยธุรกิจให้ทำเงินได้
  • 1:02 - 1:05
    พระเจ้าทรงห้าม
  • 1:05 - 1:08
    แล้วทำไมเราจึงมีปัญหามากเหลือเกิน
  • 1:08 - 1:11
    กับปัญหาสังคมเหล่านี้
  • 1:11 - 1:13
    และจริงๆแล้ว องค์กรธุรกิจมีบทบาทอะไรได้หรือไม่
  • 1:13 - 1:17
    ถ้ามี บทบาทที่ว่านั้นคืออะไร
  • 1:17 - 1:20
    ผมคิดว่า เพื่อที่จะจัดการกับปัญหานั้น
  • 1:20 - 1:23
    เราต้องถอยออกมาสักก้าว แล้วมาคิดเกี่ยวกับ
  • 1:23 - 1:27
    ว่าเราได้เข้าใจ และตรึกตรองอย่างไรเกี่ยวกับ
  • 1:27 - 1:29
    ปัญหาและการแก้ปัญหา
  • 1:29 - 1:33
    ของข้อท้าทายทางสังคมอันยิ่งใหญ่ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้
  • 1:33 - 1:36
    ครับ ผมคิดว่า หลายท่านได้มองภาคธุรกิจว่า
  • 1:36 - 1:39
    เป็นตัวปัญหา หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นหนึ่งในหลายๆปัญหา
  • 1:39 - 1:42
    ท่ามกลางข้อท้าทายทางสังคมมากมาย ที่เราเผชิญอยู่
  • 1:42 - 1:43
    ลองคิดถึงธุรกิจอาหารจานด่วน (ฟาสต์ฟู้ด)
  • 1:43 - 1:45
    อุตสาหกรรมยา ธุรกิจการธนาคาร
  • 1:45 - 1:47
    นี่เป็นจุดด้อย
  • 1:47 - 1:50
    เกี่ยวกับภาคธุรกิจ
  • 1:50 - 1:52
    ภาคธุรกิจไม่ได้ถูกมองว่าเป็นทางออก
  • 1:52 - 1:56
    ในปัจจุบัน สำหรับคนส่วนมาก มันถูกมองว่าเป็นปัญหา
  • 1:56 - 1:58
    และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆด้วยในหลายๆ กรณี
  • 1:58 - 2:00
    มีคนในธุรกิจที่แย่ๆ จำนวนมาก ข้างนอกนั่น
  • 2:00 - 2:02
    ที่ได้ทำสิ่งที่ผิดๆ
  • 2:02 - 2:04
    ซึ่งได้ทำให้ปัญหานั้นยิ่งแย่ลงไปอีก
  • 2:04 - 2:07
    ดังนั้นการมองแบบนี้ก็อาจถือได้ว่าฟังขึ้น
  • 2:07 - 2:10
    เรามักชอบที่จะมองหาทางออกกันอย่างไร
  • 2:10 - 2:12
    สำหรับปัญหาทางสังคมเหล่านี้
  • 2:12 - 2:16
    ประเด็นปัญหามากมายเหล่านี้ ที่เราเผชิญอยู่ในสังคม
  • 2:16 - 2:17
    ครับ เรามักจะมองหาทางแก้
  • 2:17 - 2:19
    ในแง่ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)
  • 2:19 - 2:21
    หรือในแง่ของรัฐบาล
  • 2:21 - 2:23
    หรือในแง่ของมูลนิธิ
  • 2:23 - 2:26
    ความจริงแล้ว เอกลักษณ์ขององค์กรที่ไม่เหมือนใครแบบนี้
  • 2:26 - 2:31
    ของยุคนี้ ก็คือการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเอ็นจีโอ
  • 2:31 - 2:33
    และองค๋กรทางสังคมนี้
  • 2:33 - 2:36
    สิ่งนี้รูปแบบองค์กรที่ใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • 2:36 - 2:37
    ที่เราได้เห็นเติบโตขึ้นมา
  • 2:37 - 2:41
    นวัตกรรมมหึมา พลังงานมหึมา
  • 2:41 - 2:43
    พรสวรรค์มหึมา ปัจจุบันได้ถูกนำมาขับเคลื่อน
  • 2:43 - 2:45
    ผ่านทางโครงสร้างนี้
  • 2:45 - 2:50
    เพื่อพยายามจัดการกับสิ่งที่ท้าทายเหล่านี้
  • 2:50 - 2:55
    และพวกเราหลายคนที่นี่
    ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมากในสิ่งเหล่านั้นด้วย
  • 2:55 - 2:56
    ผมเองเป็นอาจารย์สอนวิชาธุรกิจในมหาวิทยาลัย
  • 2:56 - 3:00
    แต่ที่จริงแล้ว ผมได้ก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร
    ผมคิดว่า จนถึงทุกวันนี้มีสี่แห่ง
  • 3:00 - 3:03
    เมื่อใดก็ตามที่ผมสนใจและรับทราบ
  • 3:03 - 3:06
    ปัญหาทางสังคม และนั่นแหละ ที่ผมได้ทำ
  • 3:06 - 3:08
    จัดตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรขึ้น
  • 3:08 - 3:11
    และนั่นคือวิธีการที่เราคิด เกี่ยวกับวิธีที่จะไปจัดการ
  • 3:11 - 3:12
    กับปัญหาเหล่านี้
  • 3:12 - 3:16
    แม้อาจารย์สอนวิชาธุรกิจในมหาวิทยาลัย ก็คิดแบบนั้น
  • 3:16 - 3:18
    แต่ในขณะนี้ ผมคิดว่า
  • 3:18 - 3:21
    เราได้ทำเรื่องนี้ มานานพอสมควรแล้ว
  • 3:21 - 3:24
    เราได้รับรู้ถึงปัญหาเหล่านั้น มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
  • 3:24 - 3:26
    เรามีประสบการณ์มาหลายทศวรรษแล้ว
  • 3:26 - 3:30
    กับเอ็นจีโอของเรา และกับหน่วยงานรัฐบาลของเรา
  • 3:30 - 3:32
    และมีความเป็นจริงที่น่าอึดอัดใจ
  • 3:32 - 3:34
    ความเป็นจริงที่น่าอึดอัดใจก็คือ เราไม่ได้ทำให้เกิด
  • 3:34 - 3:36
    ความก้าวหน้าได้อย่างเร็วพอ
  • 3:36 - 3:39
    เราไม่ได้กำลังมุ่งไปสู่ชัยชนะ
  • 3:39 - 3:41
    ปัญหาเหล่านี้ ยังดูเหมือนจะทำให้เราหวาดหวั่นอยู่มาก
  • 3:41 - 3:42
    และควบคุมยากมาก
  • 3:42 - 3:45
    และวิธีแก้ปัญหาใดๆ ที่เราได้มา
  • 3:45 - 3:47
    ก็เล็กน้อย
  • 3:47 - 3:51
    เรากำลังก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
  • 3:51 - 3:54
    แล้วอะไรคืออุปสรรคสำคัญ ที่เราประสบอยู่
  • 3:54 - 3:57
    ในการจัดการกับปัญหาสังคมเหล่านี้เล่า
  • 3:57 - 4:01
    ถ้าเราตัดเอาความซับซ้อนทั้งหมดนั้นออกไป
  • 4:01 - 4:04
    เราก็มีปัญหาด้านการประเมินค่า
  • 4:04 - 4:07
    เราไม่สามารถประมินค่าได้
  • 4:07 - 4:10
    เราก้าวหน้าไปได้ แสดงให้เห็นผลกำไรได้
  • 4:10 - 4:14
    เราแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ ทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นได้
  • 4:14 - 4:18
    เรากำลังช่วยกัน เรากำลังทำให้มันดีขึ้น
    เรากำลังทำในสิ่งที่ดี
  • 4:18 - 4:20
    เราไม่สามารถรับมือได้
  • 4:20 - 4:25
    แต่เราไม่สามารถสร้างผลกระทบต่อปัญหา
    ให้เกิดขึ้นได้ในระดับกว้าง
  • 4:25 - 4:27
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นหรือครับ
  • 4:27 - 4:31
    เพราะว่าเราไม่มีทรัพยากร
  • 4:31 - 4:32
    และนั่นก็เห็นได้ชัดเจนยิ่งในปัจจุบัน
  • 4:32 - 4:35
    และนั่นก็ชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน
    กว่าที่มันเป็นอยู่ในหลายๆ ทศวรรษที่แล้วมา
  • 4:35 - 4:39
    เรื่องง่ายๆ ก็คือ ไม่มีเงินพอ
  • 4:39 - 4:42
    ที่จะไปจัดการกับปัญหามากมายเหล่านี้
  • 4:42 - 4:44
    โดยใช้วิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • 4:44 - 4:48
    ไม่มีรายได้จากภาษีที่เพียงพอ
  • 4:48 - 4:52
    ไม่มีเงินบริจาคจากการทำบุญอย่างเพียงพอ
  • 4:52 - 4:54
    เพื่อไปจัดการกับปัญหา ในแบบที่เราจัดการอยู่ในปัจจุบัน
  • 4:54 - 4:59
    เราต้องเผชิญกับความเป็นจริงนั้น
  • 4:59 - 5:02
    และความขาดแคลนทรัพยากร
  • 5:02 - 5:06
    ที่จะเข้าไปจัดการกับปัญหาเหล่านี้ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 5:06 - 5:10
    เห็นได้ชัดในโลกที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน
  • 5:10 - 5:14
    กับปัญหาด้านงบประมาณทั้งมวลที่เราเผชิญอยู่
  • 5:14 - 5:18
    หากโดยพื้นฐานแล้ว เราประสบปัญหาด้านทรัพยากร
  • 5:18 - 5:22
    แล้วพรัพยากรในสังคมนั้นอยู่ที่ไหนกันเล่าครับ
  • 5:22 - 5:25
    ทรัพยากรเหล่านั้น จริงๆแล้วมีขึ้นมาได้อย่างไร
  • 5:25 - 5:27
    ทรัพยากรที่เราจำเป็นต้องนำมาใช้จัดการ
  • 5:27 - 5:30
    กับสิ่งที่ท้าทายสังคมทั้งหมดนี้
  • 5:30 - 5:33
    เอาละครับ ผมคิดว่า คำตอบนั้นชัดเจนมาก
  • 5:33 - 5:37
    คำตอบนั้นอยู่ในธุรกิจไงครับ
  • 5:37 - 5:43
    ความรํ่ารวยทั้งหมด จริงๆแล้วสร้างขึ้นมาจากธุรกิจ
  • 5:43 - 5:45
    ธุรกิจสร้างความรํ่ารวยขึ้นมา
  • 5:45 - 5:50
    เมื่อมันสนองความต้องการด้านผลกำไร
  • 5:50 - 5:53
    นั่นเป็นวิธีการที่ความรํ่ารวยทั้งมวลเกิดขึ้นมา
  • 5:53 - 5:55
    มันสนองความต้องการด้านผลกำไร
  • 5:55 - 5:58
    ซึ่งจะนำไปสู่การเสียภาษี
  • 5:58 - 5:59
    และซึ่งจะนำไปสู่รายได้
  • 5:59 - 6:02
    และซึ่งนำไปสู่การบริจาคเงินเพื่อการกุศล
  • 6:02 - 6:05
    นั่นคือ แหล่งกำเนิดของทรัพยากรทั้งหมด
  • 6:05 - 6:07
    ธุรกิจเท่านั้นสามารถสร้างทรัพยากรขึ้น ได้อย่างแท้จริง
  • 6:07 - 6:09
    สถาบันอื่นสามารถนำมันไปใช้ประโยชน์
  • 6:09 - 6:10
    เพื่อทำงานที่สำคัญๆ ได้
  • 6:10 - 6:14
    ธุรกิจเท่านั้นที่สร้างทรัพยากรขึ้นมาได้
  • 6:14 - 6:15
    และธุรกิจสร้างทรัพยากรขึ้นมา
  • 6:15 - 6:23
    เมื่อธุรกิจนั้นสามารถสนองความต้องการทางผลกำไรได้
  • 6:23 - 6:26
    ทรัพยากรนั้นถูกสร้างขึ้นโดยธุรกิจ
  • 6:26 - 6:28
    อย่างมากมายท่วมท้น
  • 6:28 - 6:34
    แล้วคำถามก็คือ เราจะเอาสิ่งนี้มาได้ใช้อย่างไร
  • 6:34 - 6:36
    เราจะเอามันมาใช้ได้อย่างไร
  • 6:36 - 6:39
    ธุรกิจสร้างทรัพยากรเหล่านั้นขึ้นมา
  • 6:39 - 6:44
    เมื่อมันทำกำไรได้
  • 6:44 - 6:47
    กำไรนั้นก็คือ ผลต่างเล็กๆน้อยๆ
  • 6:47 - 6:52
    ระหว่างราคา และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิต
  • 6:52 - 6:54
    วิธีแก้ปัญหาใดๆที่ธุรกิจได้สร้างขึ้น
  • 6:54 - 6:57
    กับปัญหาใดๆก็ตามที่พวกเขากำลังพยายามแก้อยู่
  • 6:57 - 7:04
    แต่กำไรนั้น เป็นมนต์ขลัง
  • 7:04 - 7:09
    ทำไมหรือครับ ก็เพราะว่าผลกำไรที่ว่านั้น ทำให้เราได้มาซึ่ง
  • 7:09 - 7:11
    วิธีแก้ปัญหาที่เราเป็นผู้ก่อ
  • 7:11 - 7:15
    ให้สามารถประเมินค่าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
  • 7:15 - 7:18
    เพราะว่า ถ้าเราสามารถทำกำไรได้
  • 7:18 - 7:21
    เราก็จะสามารถทำขึ้นมาได้เป็น 10, เป็น 100, เป็นล้าน
  • 7:21 - 7:25
    เป็น 100 ล้าน, เป็นพันล้าน
  • 7:25 - 7:29
    วิธีแก้ปัญหานั้นก็จะยั่งยืนได้ในตัวเอง
  • 7:29 - 7:32
    นั่นคือสิ่งที่ธุรกิจทำงาน
  • 7:32 - 7:36
    เมื่อธุรกิจทำกำไรได้
  • 7:36 - 7:38
    ครับ ทั้งหมดนี้มันเกี่ยวข้องอะไร
  • 7:38 - 7:41
    กับปัญหาสังคมหรือครับ
  • 7:41 - 7:44
    ครับ แนวคิดหนึ่งก็คือ เรามาเอาผลกำไรนี้มา
  • 7:44 - 7:50
    และนำมันกลับไปใช้ใหม่ในเรื่องของปัญหาสังคม
  • 7:50 - 7:51
    ธุรกิจควรจะให้มากกว่านี้
  • 7:51 - 7:53
    ธุรกิจควรจะรับผิดชอบมากกว่านี้
  • 7:53 - 7:55
    และนั่นเป็นวิถีทางที่เราทำอยู่
  • 7:55 - 7:58
    ในธุรกิจ
  • 7:58 - 8:00
    แต่ขอยํ้าอีกครั้ง วิถีทางที่เราทำอยู่นี้
  • 8:00 - 8:04
    จะไม่นำพาเราไปยังที่ๆเราต้องไป
  • 8:04 - 8:07
    ครับ ผมเริ่มต้นด้วยการเป็นอาจารย์ด้านยุทธศาสตร์
  • 8:07 - 8:09
    และผมก็ยังคงเป็นอาจารย์ด้านยุทธศาสตร์อยู่
  • 8:09 - 8:10
    ผมภาคภูมิใจในเรื่องนั้น
  • 8:10 - 8:11
    แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านไป ผมก็ยังคง
  • 8:11 - 8:14
    ทำงานเกี่ยวกับปัญหาสังคม เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 8:14 - 8:17
    ผมได้ทำงานด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม
  • 8:17 - 8:21
    การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การลดความยากจน
  • 8:21 - 8:25
    และเมื่อผมทำงานเพิ่มมากขึ้นๆในสาขาสังคมนั้น
  • 8:25 - 8:27
    ผมก็เริ่มเห็นบางสิ่งบางอย่าง
  • 8:27 - 8:30
    ที่ส่งผลกระทบอย่างลึกลํ้ากับผม
  • 8:30 - 8:34
    และชีวิตทั้งหมดของผม แบบใดแบบหนึ่ง
  • 8:34 - 8:38
    ความฉลาดลํ้าแบบดั้งเดิมในเรื่องเศรษฐกิจ
  • 8:38 - 8:41
    และแนวคิดทางธุรกิจที่เป็นมาตลอดประวัติศาสตร์
  • 8:41 - 8:45
    เป็นไปในแนวนั้นจริงๆ คือมีการได้อย่างเสียอย่าง
  • 8:45 - 8:50
    ระหว่างสมรรถนะทางสังคม
    และสมรรถนะทางเศรษฐกิจ
  • 8:50 - 8:52
    ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาก็คือ
  • 8:52 - 8:55
    ธุรกิจนั้น จริงๆแล้วทำกำไร
  • 8:55 - 8:57
    ด้วยการก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
  • 8:57 - 8:59
    ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมก็คือ มลพิษ
  • 8:59 - 9:02
    ถ้าธุรกิจทำให้เกิดมลพิษ ก็จะทำเงินได้มากกว่า
  • 9:02 - 9:06
    ความพยายาที่จะมลดมลพิษนั้นลง
  • 9:06 - 9:08
    การลดมลพิษลงมีราคาแพง
  • 9:08 - 9:14
    ดังนั้นธุรกิจจึงไม่ต้องการทำเช่นนั้น
  • 9:14 - 9:17
    ผลกำไรจะดีขึ้น หากสภาพแวดล้อมการทำงานไม่ปลอดภัย
  • 9:17 - 9:19
    ราคาจะสูงเกินไป
    หากจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัย
  • 9:19 - 9:21
    ดังนั้น ธุรกิจจึงทำเงินได้มากกว่า
  • 9:21 - 9:23
    ถ้าพวกเขาไม่จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัย
  • 9:23 - 9:26
    นั่นเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา
  • 9:26 - 9:29
    บริษัทต่างๆ จำนวนมาก ได้ตกอยู่ในภูมิปัญญาเดิมนั้น
  • 9:29 - 9:31
    พวกเขาต่อต้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
  • 9:31 - 9:37
    พวกเขาต่อต้านการพัฒนาสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น
  • 9:37 - 9:40
    ผมคิดว่า ความคิดอย่างนั้นได้นำไปสู่
  • 9:40 - 9:42
    พฤติกรรมส่วนใหญ่
  • 9:42 - 9:44
    ที่ทำให้เราต้องมาวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจ
  • 9:44 - 9:46
    ที่ทำให้ผมวิพากษ์วิจารณ์ธุรกิจ
  • 9:46 - 9:50
    แต่ยิ่งผมเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมลึกลงไปเท่าใด
  • 9:50 - 9:53
    ทีละปัญหา
  • 9:53 - 9:55
    และจริงแล้ว ยิ่งผมพยายาม
    ที่จะระบุปัญหามากขึ้นเท่าใด
  • 9:55 - 9:57
    ตัวผมเอง โดยส่วนตัวแล้ว มีสองสามกรณี
  • 9:57 - 10:00
    ที่ผมทำผ่านทางองค์กรไม่หวังผลกำไร
    ซึ่งผมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น
  • 10:00 - 10:03
    ผมยิ่งพบว่า ในความเป็นจริงนั้น
  • 10:03 - 10:06
    มันเป็นสิ่งตรงกันข้าม
  • 10:06 - 10:07
    ธุรกิจไม่ได้กำไร
  • 10:07 - 10:09
    จากการทำให้เกิดปัญหาขึ้น
  • 10:09 - 10:13
    จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ในสำนึกพื้นฐานไหนๆ
  • 10:13 - 10:15
    นั่นเป็นแนวคิดที่ง่ายเกินไปมาก
  • 10:15 - 10:18
    ยิ่งเราลงลึกไปในปัญหาเหล่านี้
  • 10:18 - 10:20
    เราจะเริ่มเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  • 10:20 - 10:22
    ว่าจริงๆ แล้ว ธุรกิจนั้นได้กำไร
  • 10:22 - 10:24
    จากการแก้ไขปัญหาสังคม
  • 10:24 - 10:26
    นั่นคือ ที่มาของผลกำไรที่แท้จริง
  • 10:26 - 10:29
    เรามาดูเรื่องมลพิษกัน
  • 10:29 - 10:31
    ในวันนี้เราเรียนรู้ว่า ที่จริงแล้ว
  • 10:31 - 10:34
    การลดมลพิษและการปลดปล่อยมลพิษ
  • 10:34 - 10:37
    ทำให้เกิดผลกำไร
  • 10:37 - 10:39
    ช่วยประหยัดเงิน
  • 10:39 - 10:41
    ทำให้ธุรกิจผลิตได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • 10:41 - 10:42
    ไม่ได้ทำให้ทรัพยากรสูญไปเปล่าๆ
  • 10:42 - 10:45
    จริงๆ แล้ว สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยมากขึ้น
  • 10:45 - 10:46
    และการป้องกันอุบัติเหตุ
  • 10:46 - 10:48
    ช่วยทำให้ธุรกิจมีผลกำไรเพิ่มขึ้น
  • 10:48 - 10:51
    เพราะนั่นเป็นสัญญาณของกระบวนการที่ดี
  • 10:51 - 10:55
    อุบัติเหตุนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและทำให้เกิดความสูญเสีย
  • 10:55 - 10:58
    ปัญหาแล้วปัญหาเล่า เราจึงเริ่มเรียนรู้
  • 10:58 - 11:01
    ว่าแท้จริงแล้ว ไม่มีการได้อย่างเสียอย่าง
  • 11:01 - 11:04
    ระหว่างความก้าวหน้าทางสังคม
  • 11:04 - 11:07
    และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ
  • 11:07 - 11:09
    ในสำนึกพื้นฐานไหนๆ
  • 11:09 - 11:11
    อีกปัญหาหนึ่งก็คือ สุขภาพ
  • 11:11 - 11:13
    ผมหมายถึง สิ่งที่เราได้พบก็คือ แท้จริงแล้ว
  • 11:13 - 11:15
    สุขภาพของลูกจ้างคือสิ่ง
  • 11:15 - 11:16
    ที่ธุรกิจควรจะเห็นคุณค่า
  • 11:16 - 11:19
    เพราะว่าสุขภาพทำให้ลูกจ้างเหล่านั้น
  • 11:19 - 11:20
    ผลิตได้มากขึ้น และมาทำงาน
  • 11:20 - 11:23
    ไม่ขาดงานไปไหน
  • 11:23 - 11:26
    งานที่ลึกกว่า งานใหม่ การคิดแบบใหม่
  • 11:26 - 11:30
    ที่เชื่อมโยงกันระหว่างธุรกิจกับปัญหาสังคม
  • 11:30 - 11:33
    จริงๆแล้ว กำลังชี้ให้เห็นว่ามีการประสานกัน
  • 11:33 - 11:35
    ขั้นรากฐานและลึกซึ้ง
  • 11:35 - 11:39
    โดยเฉพาะ ถ้าเราไม่คิดถึงในระยะสั้นมากๆ
  • 11:39 - 11:41
    ในระยะสั้นมากนั้น บางครั้งคุณอาจ
  • 11:41 - 11:43
    โกหกตัวเองให้คิด
  • 11:43 - 11:45
    ว่ามีเป้าหมายซึ่งแตกต่างกันอย่างสำคัญ
  • 11:45 - 11:48
    แต่ในระยะไกล ท้ายที่สุดแล้ว เรากำลังเรียนรู้
  • 11:48 - 11:52
    ในหลายต่อหลายสาขามาแล้ว ว่าสิ่งนี้ไม่จริง
  • 11:52 - 11:55
    ฉะนั้นแล้ว เราจะนำเอา
  • 11:55 - 11:58
    พลังของธุรกิจออกมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
  • 11:58 - 12:00
    เพื่อคิดจัดการกับปัญหาพื้นฐาน
  • 12:00 - 12:03
    ที่เราเผชิญอยู่นั้น
  • 12:03 - 12:05
    ลองจินตนาการดูซิครับ ว่าเราจะทำได้ เพราะถ้าเราทำได้
  • 12:05 - 12:07
    เราก็จะประเมินค่ามันได้
  • 12:07 - 12:10
    เราจะนำทรัพยากรที่รวบรวมไว้จำนวนมหึมานี้
  • 12:10 - 12:13
    และสมรรถภาพองค์การนี้มาใช้ประโยชน๋ได้
  • 12:13 - 12:18
    และลองเดาดูซิครับ ในที่สุดสิ่งนั้นกำลังเกิดขึ้นอยู่
  • 12:18 - 12:22
    บางส่วนเกิดขึ้นเพราะผู้คนอย่างเช่นพวกท่าน
  • 12:22 - 12:24
    ซึ่งในปัจจุบัน ได้ยกปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาถกกัน
  • 12:24 - 12:27
    มาปีแล้วปีเล่า ทศวรรษแล้วทศวรรษเล่า
  • 12:27 - 12:30
    เราเห็นองค์กรอย่างเช่น
    กลุ่มบริษัท ดาว เคมิคอล (Dow Chemical)
  • 12:30 - 12:32
    ชักนำการเปลี่ยนแปลงจากไขมันทรานส์ (trans fat)
  • 12:32 - 12:35
    และไขมันอิ่มตัว (saturated fat) ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
    ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา
  • 12:35 - 12:37
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ เจน เออริเกชั่น (Jain Irrigation)
  • 12:37 - 12:39
    เป็นบริษัทที่นำเอาเทคนิคการชลประทานแบบนํ้าหยด
    (drip irrigation)
  • 12:39 - 12:42
    มาให้ชาวนาหลายพันหลายล้านคน
  • 12:42 - 12:45
    ช่วยลดการใช้นํ้าจำนวนมากได้
  • 12:45 - 12:48
    เราเห็นบริษัทอย่างเช่น บริษัทป่าไม้ในบราซิล ฟิเบรีย (Fibria)
  • 12:48 - 12:50
    ที่คิดได้ว่าจะหลีกเลี่ยง
  • 12:50 - 12:52
    การโค่นต้นไม้เก่าแก่ในป่า
  • 12:52 - 12:54
    และหันมาใช้ต้นยูคาลิปตัส และได้ผลผลิตของเยื่อไม้
  • 12:54 - 12:56
    ต่อหนึ่งเฮกตาร์เพิ่มมากกว่าเดิม
  • 12:56 - 12:58
    และทำกระดาษได้มากกว่าที่คุณจะได้จาก
  • 12:58 - 13:01
    การตัดต้นไม้เก่าแก่เหล่านั้น
  • 13:01 - 13:03
    คุณเห็นบริษัทอย่างเช่น ซิสโก (Cisco) ซึ่งกำลังฝึก
  • 13:03 - 13:08
    ทักษะ IT ให้กับผู้คน จนถึงปัจจุบันได้สี่ล้านคนแล้ว
  • 13:08 - 13:10
    จริงๆแล้วเพื่อ ใช่ครับ รับผิดชอบ
  • 13:10 - 13:12
    แต่ก็ได้ช่วยขยายโอกาส
  • 13:12 - 13:14
    ที่จะแพร่กระจายเทคโนโลยี่ IT
  • 13:14 - 13:16
    และทำให้ธุรกิจโดยรวมเติบโตขึ้น
  • 13:16 - 13:20
    มีโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจในทุกวันนี้
  • 13:20 - 13:24
    ที่จะทำให้เกิดผลกระทบและจัดการกับปัญหาสังคมเหล่านี้
  • 13:24 - 13:26
    และโอกาสนี้
  • 13:26 - 13:29
    เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด
  • 13:29 - 13:32
    ที่เราเห็นอยู่ในธุรกิจ
  • 13:32 - 13:35
    และคำถามก็คือ เราจะสามารถทำให้ธุรกิจ
  • 13:35 - 13:38
    คิดที่จะนำประเด็น ค่านิยมร่วม (shared value) นี้
    มาปรับใช้ได้อย่างไร
  • 13:38 - 13:40
    นี่คือสิ่งที่ผมเรียกว่า ค่านิยมร่วม
  • 13:40 - 13:44
    การคิดจัดการกับปัญหาสังคม ด้วยการใช้โมเดลธุรกิจ (business model)
  • 13:44 - 13:46
    นั่นคือ ค่านิยมร่วม
  • 13:46 - 13:47
    ค่านิยมร่วม เป็นลัทธิทุนนิยม
  • 13:47 - 13:50
    แต่มันเป็นแบบของลัทธิทุนนิยมที่สูงขึ้นมา
  • 13:50 - 13:53
    มันเป็นลัทธิทุนนิยม ที่เราตั้งใจจะให้มันเป็น ในท้ายที่สุด
  • 13:53 - 13:57
    สนองความจำเป็นที่สำคัญ
  • 13:57 - 14:00
    ไม่ใช่การยิ่งแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อ
  • 14:00 - 14:03
    ผลต่างเล็กๆน้อยๆ ในคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์
  • 14:03 - 14:05
    และในส่วนแบ่งทางการตลาด
  • 14:05 - 14:07
    ค่านิยมร่วม คือ เมื่อเราสามารถสร้างค่านิยมทางสังคม
  • 14:07 - 14:09
    และค่านิยมทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆกัน
  • 14:09 - 14:12
    มันคือ การค้นพบโอกาสเหล่านั้น
  • 14:12 - 14:15
    ที่จะปลดปล่อยความเป็นไปได้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรามี
    ให้ออกมา
  • 14:15 - 14:17
    เพื่อคิดรับมือกับปัญหาสังคมเหล่านี้อย่างแท้จริง
  • 14:17 - 14:19
    เพราะว่าเราจะสามารถประเมินค่าได้
  • 14:19 - 14:23
    เราจะจัดการกับค่านิยมร่วมได้ ในระดับทวีคูณ
  • 14:23 - 14:26
    มันจริง มันกำลังเกิดขึ้น
  • 14:26 - 14:29
    แต่เพื่อที่จะให้ทางออกนี้ทำงานได้
  • 14:29 - 14:33
    เราต้องเปลี่ยนวิธีการที่ธุรกิจมองตนเองเสียแต่เดี๋ยวนี้
  • 14:33 - 14:35
    และต้องขอบคุณ ที่เรื่องนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
  • 14:35 - 14:39
    ในอดีต ธุรกิจติดกับดักอยู่ในภูมิปัญญาแบบเดิมๆ
  • 14:39 - 14:41
    ว่าพวกเขาไม่ควรจะวิตกอะไรเกี่ยวกับปัญหาสังคม
  • 14:41 - 14:43
    ว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ
  • 14:43 - 14:45
    ว่าคนอื่นก็กำลังจัดการอยู่แล้ว
  • 14:45 - 14:47
    บัดนี้ เรากำลังเห็นบริษัทต่างๆ
  • 14:47 - 14:49
    ยอมรับความคิดนี้
  • 14:49 - 14:51
    แต่เราก็ยังต้องยอมรับด้วยว่าธุรกิจ
  • 14:51 - 14:54
    ไม่อาจทำสิ่งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 14:54 - 14:56
    เท่าๆกับที่เรามีเอ็นจีโอและรัฐบาล
  • 14:56 - 14:59
    ร่วมกันทำงานกับธุรกิจ
  • 14:59 - 15:02
    เอ็นจีโอใหม่ ที่กำลังทำให้เกิดความแตกต่างอย่างสำคัญ
  • 15:02 - 15:04
    ก็คือหน่วยงานที่ได้มีหุ้นส่วนเหล่านี้
  • 15:04 - 15:06
    ที่ได้พบวิธีทำงานร่วมกัน
  • 15:06 - 15:09
    รัฐบาลซึ่งกำลังก้าวหน้าไปอย่างมากที่สุด
  • 15:09 - 15:10
    ก็คือ รัฐบาลที่ได้พบวิธีการ
  • 15:10 - 15:14
    เพื่อทำให้ค่านิยมร่วม เกิดขึ้นได้
  • 15:14 - 15:17
    มากกว่าที่จะเห็นฝ่ายรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว
  • 15:17 - 15:20
    ที่ต้องเป็นผู้ตัดสินใจปฏิบัติการ
  • 15:20 - 15:22
    และรัฐบาลมีวิธีการหลายอย่างที่จะทำให้เกิดผลกระทบ
  • 15:22 - 15:25
    ด้านความเต็มใจและความสามารถของบริษัท
  • 15:25 - 15:27
    ที่จะแข่งขันกันในแนวทางนี้
  • 15:27 - 15:30
    ผมคิดว่า ถ้าเราทำให้ธุรกิจมองตัวเองให้แตกต่างออกไปได้
  • 15:30 - 15:32
    แะถ้าเราทำให้หน่วยงานอื่นๆ มองธุรกิจแตกต่างออกไป
  • 15:32 - 15:35
    เราก็จะสามารถเปลี่ยนโลกได้
  • 15:35 - 15:38
    ผมรู้ครับ ผมกำลังเห็นมันอยู่
  • 15:38 - 15:40
    ผมรู้สึกได้ถึงมัน
  • 15:40 - 15:42
    ผมคิดว่า สำหรับเยาวชน
  • 15:42 - 15:45
    นักศึกษาคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดของผม
    กำลังทำความเข้าใจ
  • 15:45 - 15:49
    ถ้าเราสามารถทำลายเส้นแบ่งแยกนี้ได้
  • 15:49 - 15:52
    ความไม่สบายใจนี้ ความตึงเครียดนี้
  • 15:52 - 15:54
    ความรู้สึกนี้ที่เรา
  • 15:54 - 15:57
    ไม่ได้ร่วมมือกันอย่างสมบูรณ์ตรงนี้
  • 15:57 - 15:59
    ในการขับเคลื่อนปัญหาสังคมเหล่านี้
  • 15:59 - 16:01
    เราก็จะสามารถทำลายสิ่งนี้ได้
  • 16:01 - 16:03
    และท้ายที่สุด ผมคิดว่า
  • 16:03 - 16:06
    เรามีวิธีแก้ปัญหาได้
  • 16:06 - 16:08
    ขอบคุณครับ
  • 16:08 - 16:11
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ทำไมธุรกิจจึงสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้เป็นอย่างดี
Speaker:
ไมเคิล พอร์เตอร์ (Michael Porter)
Description:

ทำไมเราจึงหันไปหาองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร, ทั้ง NGO และภาครัฐบาล, เพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของสังคม ไมเคิล พอร์เตอร์ ยอมรับว่า เขามีอคติในฐานะที่เป็นศาสตราจารย์สาขาวิชาธุรกิจ แต่เขาต้องการให้คุณรับฟังเรื่องของเขาที่จะให้ธุรกิจพยายามแก้ปัญหาใหญ่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และการเข้าถึงนํ้าใช้ ทำไมหรือ ก็เพราะว่า เมื่อธุรกิจแก้ปัญหาหนึ่งได้และทำกำไร--ก็ให้วิธีแก้ปัญหาแบบนั้นเจริญงอกงามขึ้นซิครับ

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:28
  • Dear Mick, I think there are more to do with this translation. I know you both want to be accurate (at least the translator might wanted to), but I found that some of the sentences don't seem so clear if you read it in Thai. I have tried to chance them but before I change you guys' work too much. I wish to send this back to you for more review.

    Please amend it as you wish. Economy is not my forte, you know :) Once you are happy. I will help you polish the final draft again.

    Thanks in advance and happy translation/revision :)
    Note

  • Thank you for the translation. The work is impressive, words used in the translation are very well selected. However, I made some minor changes on economic-related vocabularies and punctuation mark (interval). If there is any question regarding the changes I have made, please do not hesitate to let me know.

  • Excellent! I will approve this video then. Please let me know if you guys spot anything that you guys wish to change :)

Thai subtitles

Revisions