< Return to Video

รากจินตภาพของจำนวนลบ

  • 0:00 - 0:08
    เราต้องเขียนรากที่สองตัวหลักของ -52 เป็นรูปอย่างง่าย และเราจะสมมุติเพราะเรามีลบ 52
  • 0:08 - 0:15
    ตรงนี้ในเครื่องหมายราก แล้วนี่คือรากหลักของฟังก์ชันสแควร์รูทแบบเชิงซ้อน
  • 0:15 - 0:20
    เราสามารถใส่จำนวนลบลงในโดเมนของฟังก์ชันนี้ได้
  • 0:20 - 0:24
    แล้วเราจะได้คำตอบเป็นจำนวนจินตภาพ หรือจำนวนเชิงซ้อน
  • 0:24 - 0:28
    เราก็สามารถเขียน ลบ 52 เป็น ลบ 1 คูณ 52 ได้
  • 0:28 - 0:38
    นี่สามารถเขียนใหม่เป็นรากที่สองตัวหลักของ ลบ 1 คูณ 52
  • 0:38 - 0:43
    แล้วถ้าเราสมมุติว่านี่เป็นรากตัวหลักของฟังก์ชันสแควร์รูทแบบเชิงซ้อน,
  • 0:43 - 0:50
    เราสามารถเขียนนี่ใหม่ -- นี่จะเท่ากับสแควร์รูทของลบ 1 คูณรากหลัก --
  • 0:50 - 0:58
    หรือผมควรบอกว่า รากที่สองตัวหลักของ ลบ 1 คูณรากที่สองตัวหลักของ 52
  • 0:58 - 1:01
    ทีนี้, ผมอยากพูดให้ชัดมากๆ ตรงนี้
  • 1:01 - 1:06
    คุณทำอย่างที่เราทำได้ ถ้าเรามีรากที่สองตัวหลักของผลคูณสองตัว
  • 1:06 - 1:13
    เราสามารถเขียนมันใหม่ว่า รากที่สองตัวหลักของแต่ละตัว แล้วเราก็หาผลคูณ, แต่คุณทำแบบนี้ได้ --
  • 1:13 - 1:19
    หรือผมควรบอกว่าคุณทำแบบได้หากทั้งคู่เป็นบวก หรือตัวใดตัวหนึ่งเป็นลบเท่านั้น
  • 1:19 - 1:23
    คุณทำอย่างนี้ไม่ได้ถ้าทั้งคู่เป็นลบ
  • 1:23 - 1:26
    ตัวอย่างเช่น, คุณทำแบบนี้ไม่ได้
  • 1:26 - 1:37
    คุณบอกไม่ได้ว่า รากที่สองตัวหลักของ 52 เท่ากับ ลบ 1 คูณ ลบ 52
  • 1:37 - 1:43
    ถึงตอนนี้คุณทำแบบนี้ได้, ผมยังไม่ได้พูดอะไรผิดนะ. 52 แน่นอนเท่ากับ ลบ 1 คูณ ลบ 52
  • 1:43 - 1:50
    แต่เนื่องจากมันเป็นลบทั้งคู่, คุณไม่สามารถบอกได้ว่านี่เท่ากับ
  • 1:50 - 1:55
    สแควร์รูทของลบ 1 คูณสแควร์รูทของลบ 52
  • 1:55 - 1:57
    ที่จริง, ผมแนะนำให้คุณลองคิดเหตุผลต่ไป,
  • 1:57 - 1:59
    แล้วเราจะได้คำตอบที่ไม่สมเหตุสมผล
  • 1:59 - 2:07
    มันใช้ไม่ได้ คุณทำอย่างนี้ไม่ได้ตรงนี้, และสาเหตุที่คุณทำไม่ได้คือว่า
  • 2:07 - 2:12
    สมบัตินี้ใช้ไม่ได้หากจำนวนทั้งสองเป็นลบ
  • 2:12 - 2:18
    ทีนี้เมื่อรู้แล้ว เราสามารถทำได้ถ้าตัวใดตัวหนึ่งเป็นลบ หรือทั้งคู่เป็นบวกตรงนี้
  • 2:18 - 2:26
    ทีนี้, รากที่สองตัวหลักของลบ 1, ถ้าเราพูดถึงรากตัวหลักของฟังก์ชันสแควร์รูทแบบเชิงซ้อน, มันคือ i
  • 2:26 - 2:34
    แล้วนี่ตรงนี้จะกลายเป็น i แล้วลองดูว่าเราสามารถจัดรูปสแควร์รูทของ 52 ได้ไหม
  • 2:34 - 2:36
    ในการทำอย่างนั้น, เราสามารถ, ตรงนี้, คิดถึงการแยกตัวประกอบ
  • 2:36 - 2:48
    ลองดูว่าเรามีกำลังสองสมบูรณ์อยู่ในนี้หรือเปล่า เราได้ 52 เท่ากับ 2 คูณ 26, และ 26 เท่ากับ 2 คูณ 13
  • 2:48 - 2:52
    เราจึงได้ 2 คูณ 2 ตรงนี้, หรือ 4 ตรงนี้, ซึ่งเป็นกำลังสองสมบูรณ์
  • 2:52 - 2:58
    เราจึงสามารถเขียนนี่ใหม่ว่าเท่ากับ (นี่เท่ากับ) -- ตรงนี้, เรามี i อยู่
  • 2:58 - 3:03
    สแควร์รูทของ -- รากที่สองตัวหลักของลบ 1 คือ i, รากที่สองอีกตัวของลบ 1 คือ ลบ i
  • 3:03 - 3:13
    รากที่สองตัวหลักของลบ 1 คือ i, แล้วเราจะคูณมันด้วยสแควร์รูทของ 4 คูณ 13
  • 3:13 - 3:26
    4 คูณ 13 และนี่เท่ากับ i คูณสแควร์รูทของ 4 -- รากที่สองตัวหลักของ 4
  • 3:26 - 3:34
    คูณรากที่สองตัวหลักของ 13 รากที่สองตัวหลักของ 4 คือ 2, แล้วนี่ก็จัดรูปเป็น --
  • 3:34 - 3:39
    เราสามารถสลับลำดับตรงนี้ได้ -- นี่เท่ากับ 2 คูณสแควร์รูทของ 13 --
  • 3:39 - 3:46
    2 คูณรากที่สองตัวหลักของ 13, ผมควรบอกอย่างนั้น, คูณ i
  • 3:46 - 3:52
    และผมเปลี่ยนลำดับหน่อย, เพื่อให้มันอ่านง่ายหน่อย ถ้าผมใส่ i หลังตัวเลขตรงนี้,
  • 3:52 - 3:54
    แต่ผมแค่คูณ i คูณ 2 คูณสแควร์รูทของ 13
  • 3:54 - 4:00
    นี่ก็เหมือนกับ การคูณ 2 ด้วยรากที่สองตัวหลักของ 13 คูณ i
  • 4:00 - 4:04
    และผมว่ามันอยู่ในรูปอย่างง่ายที่สุดที่เราทำได้แล้ว
Title:
รากจินตภาพของจำนวนลบ
Description:

รากจินตภาพของจำนวนลบ

more » « less
Video Language:
English
Duration:
04:04

Thai subtitles

Revisions