< Return to Video

โลมาฉลาดแค่ไหน - ลอริ มาริโน (Lori Marino)

  • 0:07 - 0:12
    ใน ค.ศ. 1985 นักวิจัยสามคน
    ที่เดินทางสำรวจชีวิตโลมา
  • 0:12 - 0:14
    เกิดอาการเบื่อเล็กน้อย
  • 0:14 - 0:17
    เพื่อจะให้มีชีวิตชีวาขึ้น
    คนหนึ่งแกล้งทำเป็นเทพโพไซดอน
  • 0:17 - 0:22
    โดยการวางพวงมาลัยสาหร่ายบนศีรษะของเขา
    และโยนมันทิ้งลงไปในมหาสมุทร
  • 0:22 - 0:27
    หลังจากนั้น โลมาว่ายขึ้นมาบนผิวน้ำ
    โดยมีสาหร่ายอยู่บนหัวของมัน
  • 0:27 - 0:29
    แน่นอน นี่อาจเป็นเรื่องบังเอิญ
  • 0:29 - 0:35
    แต่มันก็เป็นไปได้ว่าโลมากำลังเลียนแบบ
    นักวิทยาศาสตร์อยู่
  • 0:35 - 0:40
    นั่นเพราะว่าโลมาคือหนึ่งในสายพันธุ์สัตว์
    ที่ฉลาดที่สุดในโลก
  • 0:40 - 0:43
    แล้วพวกมันฉลาดแค่ไหนกันนะ
  • 0:43 - 0:45
    เหมือนกับวาฬและโลมาหัวบาตร
  • 0:45 - 0:48
    โลมาอยู่ในกลุ่ม
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์น้ำ
  • 0:48 - 0:53
    ที่เรียกกันว่า ซีตาเชี่ยน (cetaceans)
    ซึ่งประกอบรวมด้วยสัตว์ 86 สายพันธุ์
  • 0:53 - 0:57
    และมีส่วนเหมือนร่วมกันกับสัตว์เท้ากีบ
  • 0:57 - 1:00
    แต่เดิมพวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
    ที่อยู่บนบก
  • 1:00 - 1:04
    สัตว์จำพวกซีตาเซี่ยนกลุ่มแรก ๆ
    ย้ายลงมาอยู่ในน้ำเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน
  • 1:04 - 1:07
    เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่มีฟันแหลม
  • 1:07 - 1:12
    หลังจากนั้น อุณหภูมิมหาสมุทร
    ที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณ 35 ล้านปีก่อน
  • 1:12 - 1:15
    ลดเหยื่อให้มีจำนวนน้อยลง
  • 1:15 - 1:18
    สัตว์จำพวกซีตาเซี่ยนกลุ่มหนึ่ง
    ที่รอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
  • 1:18 - 1:22
    ออดอนโทซีเทส (odontocetes)
    มีขนาดเล็กลงและฟันที่แหลมน้อยลง
  • 1:22 - 1:26
    แต่มีสมองที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้น
  • 1:26 - 1:28
    ซึ่งทำให้มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน
  • 1:28 - 1:32
    เช่นเดียวกับ วิธีกำหนดระยะทางโดยเรดาร์
    เพื่อการกำกับเส้นทางและการสื่อสาร
  • 1:32 - 1:33
    กระโดดข้ามมาถึงปัจจุบัน
  • 1:33 - 1:38
    และสมองโลมาปัจจุบันใหญ่มาก
    จนความฉลาดของสมอง
  • 1:38 - 1:42
    ขนาดของสมองเปรียบเทียบกับ
    ค่าเฉลี่ยของลำตัวมัน
  • 1:42 - 1:44
    เป็นที่สองรองจากมนุษย์เท่านั้น
  • 1:44 - 1:47
    โลมาวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด
  • 1:47 - 1:50
    ผ่านความสามารถของมัน
    เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมที่ซับซ้อน
  • 1:50 - 1:54
    เพื่อล่า ไล่ศัตรู และเลี้ยงลูกด้วยกัน
  • 1:54 - 1:57
    ตัวอย่างเช่น โลมาฟลอริดากลุ่มหนึ่ง
  • 1:57 - 2:01
    รวมมือกันอย่างละเอียดซับซ้อนเพื่อล่าปลา
  • 2:01 - 2:05
    โลมาถูกกำหนดให้เป็นผู้สร้างตาข่าย
    โดยการเตะดินโคลนขึ้นมา
  • 2:05 - 2:07
    ขณะที่อีกตัวหนึ่งให้สัญญาณ
  • 2:07 - 2:12
    ให้โลมาตัวอื่น ๆ เรียงแถวและจับปลา
    ที่ว่ายน้ำหนีในเวลาเดียวกัน
  • 2:12 - 2:16
    การบรรลุเป้าหมายแบบนี้ต้องมีการวางแผน
    ที่ไตร่ตรองไว้ดีแล้วและมีการร่วมมือกัน
  • 2:16 - 2:21
    ซึ่งต้องมีการสื่อสารแบบจงใจในรูปแบบหนึ่ง
  • 2:21 - 2:24
    โลมาส่งต่อการสื่อสารและทักษะอื่น
  • 2:24 - 2:26
    จากรุ่นสู่รุ่น
  • 2:26 - 2:30
    ประชากรโลมาต่าง ๆ
    แสดงการทักทายที่แตกต่างกัน
  • 2:30 - 2:33
    วิธีการล่าเหยื่อและพฤติกรรมอื่น ๆ
  • 2:33 - 2:38
    การส่งต่อทางวัฒนธรรมแบบนี้
    ยังรวมไปถึงการใช้เครื่องมือ
  • 2:38 - 2:41
    โลมาปากขวดกลุ่มหนึ่ง
    ที่อยู่ชายฝั่งออสเตรเลีย
  • 2:41 - 2:44
    ที่มีชื่อเล่นว่า สโมสรโลมาฟองน้ำ
  • 2:44 - 2:49
    ได้เรียนรู้การปิดจงอยปากด้วยฟองน้ำ
    เมื่อดำน้ำลงไปเจอปะการังแหลม ๆ
  • 2:49 - 2:52
    ส่งต่อความรู้จากแม่ไปสู่ลูกสาว
  • 2:52 - 2:55
    โลมายังแสดงความสามารถ
    ในการเข้าใจทางภาษาอีกด้วย
  • 2:55 - 2:58
    เมื่อถูกสอนด้วยภาษากาย
    อย่างการผิวปากและท่าทาง
  • 2:58 - 3:01
    พวกมันไม่เพียงแค่เข้าใจความหมาย
    ของสัญญาณเหล่านั้น
  • 3:01 - 3:03
    แต่เข้าใจด้วยว่าลำดับท่าทางก็มีความหมาย
  • 3:03 - 3:05
    ความแตกต่างระหว่าง
    เอาลูกบอลลอดห่วง
  • 3:05 - 3:08
    และเอาห่วงผ่านลูกบอล
  • 3:08 - 3:12
    ดังนั้น พวกมันสามารถประมวลผล
    สองส่วนประกอบหลักของภาษามนุษย์:
  • 3:12 - 3:15
    สัญลักษณ์ที่แสดงถึงวัตถุและการกระทำ
  • 3:15 - 3:19
    และวากยสัมพันธ์ที่
    กำกับว่าพวกมันควรมีโครงอย่างไร
  • 3:19 - 3:23
    โลมาเป็นหนึ่งในสัตว์ไม่กี่ประเภทที่ผ่าน
    การทดสอบด้วยกระจก
  • 3:23 - 3:28
    ด้วยการรู้จักตัวเองในกระจก
    พวกมันบ่งบอกว่ารู้จักตนเองทางกายภาพ
  • 3:28 - 3:32
    และการวิจัยแสดงว่าไม่เพียงแต่พวกมัน
    จะจดจำตัวเองได้อย่างเดียว
  • 3:32 - 3:37
    แต่ยังรับรู้ถึงความคิดของพวกมันเอง
    คุณสมบัติหนึ่งที่เรียกว่า อภิปัญญา
  • 3:37 - 3:40
    ในการศึกษาหนึ่ง
    โลมาที่เปรียบเทียบเสียงสองเสียง
  • 3:40 - 3:44
    สามารถบ่งบอกถึงการตอบสนองที่
    เหมือนกัน ต่างกัน หรือ ไม่แน่นอน
  • 3:44 - 3:46
    เหมือนกับมนุษย์
  • 3:46 - 3:49
    พวกมันบ่งบอกถึงความไม่แน่นอนบ่อยขึ้น
    เมื่อพบกับการทดสอบยาก ๆ
  • 3:49 - 3:52
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกมันรู้ถึงสิ่งที่พวกมันรู้
  • 3:52 - 3:55
    และระดับความความรู้สึกมั่นใจต่อความรู้นั้น
  • 3:55 - 3:57
    แต่สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดเกี่ยวกับโลมา
  • 3:57 - 4:01
    คือความรู้สึกเห็นใจ น้ำใจ และผูกพัน
  • 4:01 - 4:06
    นิสัยช่วยผู้อื่นที่บาดเจ็บ
    ก้าวข้ามขอบเขตเพื่อนร่วมสายพันธุ์
  • 4:06 - 4:08
    ดังที่เห็นได้จากหลักฐาน
  • 4:08 - 4:11
    โลมาพามนุษย์ขึ้นมาเหนือน้ำเพือหายใจ
  • 4:11 - 4:14
    และเหมือนกับพวกเรา
    โลมาคร่ำครวญถึงโลมาที่ตาย
  • 4:14 - 4:16
    เมื่อพวกเราพิจารณาหลักฐานทั้งหมด
  • 4:16 - 4:20
    พวกเราอาจจะสงสัยว่า
    ทำไมมนุษย์ยังล่าเนื้อโลมาอยู่
  • 4:20 - 4:22
    ทำให้พวกมันใกล้สูญพันธ์ุ
    ด้วยการตกปลาและมลภาวะ
  • 4:22 - 4:25
    หรือขังมันเพื่อการแสดง
  • 4:25 - 4:29
    คำถามสุดท้ายอาจจะไม่ใช่ว่า
    โลมาฉลาด
  • 4:29 - 4:30
    และเป็นสิ่งมีชีวิตซับซ้อนหรือเปล่า
  • 4:30 - 4:35
    แต่อาจเป็นว่า มนุษย์จะสามารถเห็นใจพวกมันมากพอ
    ที่จะช่วยให้มันปลอดภัยและเป็นอิสระได้หรือเปล่า
Title:
โลมาฉลาดแค่ไหน - ลอริ มาริโน (Lori Marino)
Description:

ดูบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-smart-are-dolphins-lori-marino

โลมาเป็นหนึ่งในสายพันธ์ุสัตว์ที่ฉลาดที่สุดในโลก อันที่จริงความฉลาดของสมอง (ขนาดสมองของพวกมันเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยสำหรับขนาดตัวของมัน) เป็นที่สองรองจากมนุษย์เท่านั้น แต่พวกมันฉลาดขนาดไหนกันนะ ลอริ มาริโนพูดถึงรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เหลือเชื่อเกี่ยวกับโลมา

บทเรียนโดย ลอริ มาริโน แอนิเมชั่น โดย เซเดม มีเดีย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:51
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How smart are dolphins? - Lori Marino
Show all

Thai subtitles

Revisions