ใน ค.ศ. 1985 นักวิจัยสามคน ที่เดินทางสำรวจชีวิตโลมา เกิดอาการเบื่อเล็กน้อย เพื่อจะให้มีชีวิตชีวาขึ้น คนหนึ่งแกล้งทำเป็นเทพโพไซดอน โดยการวางพวงมาลัยสาหร่ายบนศีรษะของเขา และโยนมันทิ้งลงไปในมหาสมุทร หลังจากนั้น โลมาว่ายขึ้นมาบนผิวน้ำ โดยมีสาหร่ายอยู่บนหัวของมัน แน่นอน นี่อาจเป็นเรื่องบังเอิญ แต่มันก็เป็นไปได้ว่าโลมากำลังเลียนแบบ นักวิทยาศาสตร์อยู่ นั่นเพราะว่าโลมาคือหนึ่งในสายพันธุ์สัตว์ ที่ฉลาดที่สุดในโลก แล้วพวกมันฉลาดแค่ไหนกันนะ เหมือนกับวาฬและโลมาหัวบาตร โลมาอยู่ในกลุ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นสัตว์น้ำ ที่เรียกกันว่า ซีตาเชี่ยน (cetaceans) ซึ่งประกอบรวมด้วยสัตว์ 86 สายพันธุ์ และมีส่วนเหมือนร่วมกันกับสัตว์เท้ากีบ แต่เดิมพวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่อยู่บนบก สัตว์จำพวกซีตาเซี่ยนกลุ่มแรก ๆ ย้ายลงมาอยู่ในน้ำเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่มีฟันแหลม หลังจากนั้น อุณหภูมิมหาสมุทร ที่มีการเปลี่ยนแปลงประมาณ 35 ล้านปีก่อน ลดเหยื่อให้มีจำนวนน้อยลง สัตว์จำพวกซีตาเซี่ยนกลุ่มหนึ่ง ที่รอดจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ออดอนโทซีเทส (odontocetes) มีขนาดเล็กลงและฟันที่แหลมน้อยลง แต่มีสมองที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้น ซึ่งทำให้มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน เช่นเดียวกับ วิธีกำหนดระยะทางโดยเรดาร์ เพื่อการกำกับเส้นทางและการสื่อสาร กระโดดข้ามมาถึงปัจจุบัน และสมองโลมาปัจจุบันใหญ่มาก จนความฉลาดของสมอง ขนาดของสมองเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยของลำตัวมัน เป็นที่สองรองจากมนุษย์เท่านั้น โลมาวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด ผ่านความสามารถของมัน เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมที่ซับซ้อน เพื่อล่า ไล่ศัตรู และเลี้ยงลูกด้วยกัน ตัวอย่างเช่น โลมาฟลอริดากลุ่มหนึ่ง รวมมือกันอย่างละเอียดซับซ้อนเพื่อล่าปลา โลมาถูกกำหนดให้เป็นผู้สร้างตาข่าย โดยการเตะดินโคลนขึ้นมา ขณะที่อีกตัวหนึ่งให้สัญญาณ ให้โลมาตัวอื่น ๆ เรียงแถวและจับปลา ที่ว่ายน้ำหนีในเวลาเดียวกัน การบรรลุเป้าหมายแบบนี้ต้องมีการวางแผน ที่ไตร่ตรองไว้ดีแล้วและมีการร่วมมือกัน ซึ่งต้องมีการสื่อสารแบบจงใจในรูปแบบหนึ่ง โลมาส่งต่อการสื่อสารและทักษะอื่น จากรุ่นสู่รุ่น ประชากรโลมาต่าง ๆ แสดงการทักทายที่แตกต่างกัน วิธีการล่าเหยื่อและพฤติกรรมอื่น ๆ การส่งต่อทางวัฒนธรรมแบบนี้ ยังรวมไปถึงการใช้เครื่องมือ โลมาปากขวดกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่ชายฝั่งออสเตรเลีย ที่มีชื่อเล่นว่า สโมสรโลมาฟองน้ำ ได้เรียนรู้การปิดจงอยปากด้วยฟองน้ำ เมื่อดำน้ำลงไปเจอปะการังแหลม ๆ ส่งต่อความรู้จากแม่ไปสู่ลูกสาว โลมายังแสดงความสามารถ ในการเข้าใจทางภาษาอีกด้วย เมื่อถูกสอนด้วยภาษากาย อย่างการผิวปากและท่าทาง พวกมันไม่เพียงแค่เข้าใจความหมาย ของสัญญาณเหล่านั้น แต่เข้าใจด้วยว่าลำดับท่าทางก็มีความหมาย ความแตกต่างระหว่าง เอาลูกบอลลอดห่วง และเอาห่วงผ่านลูกบอล ดังนั้น พวกมันสามารถประมวลผล สองส่วนประกอบหลักของภาษามนุษย์: สัญลักษณ์ที่แสดงถึงวัตถุและการกระทำ และวากยสัมพันธ์ที่ กำกับว่าพวกมันควรมีโครงอย่างไร โลมาเป็นหนึ่งในสัตว์ไม่กี่ประเภทที่ผ่าน การทดสอบด้วยกระจก ด้วยการรู้จักตัวเองในกระจก พวกมันบ่งบอกว่ารู้จักตนเองทางกายภาพ และการวิจัยแสดงว่าไม่เพียงแต่พวกมัน จะจดจำตัวเองได้อย่างเดียว แต่ยังรับรู้ถึงความคิดของพวกมันเอง คุณสมบัติหนึ่งที่เรียกว่า อภิปัญญา ในการศึกษาหนึ่ง โลมาที่เปรียบเทียบเสียงสองเสียง สามารถบ่งบอกถึงการตอบสนองที่ เหมือนกัน ต่างกัน หรือ ไม่แน่นอน เหมือนกับมนุษย์ พวกมันบ่งบอกถึงความไม่แน่นอนบ่อยขึ้น เมื่อพบกับการทดสอบยาก ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกมันรู้ถึงสิ่งที่พวกมันรู้ และระดับความความรู้สึกมั่นใจต่อความรู้นั้น แต่สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดเกี่ยวกับโลมา คือความรู้สึกเห็นใจ น้ำใจ และผูกพัน นิสัยช่วยผู้อื่นที่บาดเจ็บ ก้าวข้ามขอบเขตเพื่อนร่วมสายพันธุ์ ดังที่เห็นได้จากหลักฐาน โลมาพามนุษย์ขึ้นมาเหนือน้ำเพือหายใจ และเหมือนกับพวกเรา โลมาคร่ำครวญถึงโลมาที่ตาย เมื่อพวกเราพิจารณาหลักฐานทั้งหมด พวกเราอาจจะสงสัยว่า ทำไมมนุษย์ยังล่าเนื้อโลมาอยู่ ทำให้พวกมันใกล้สูญพันธ์ุ ด้วยการตกปลาและมลภาวะ หรือขังมันเพื่อการแสดง คำถามสุดท้ายอาจจะไม่ใช่ว่า โลมาฉลาด และเป็นสิ่งมีชีวิตซับซ้อนหรือเปล่า แต่อาจเป็นว่า มนุษย์จะสามารถเห็นใจพวกมันมากพอ ที่จะช่วยให้มันปลอดภัยและเป็นอิสระได้หรือเปล่า