Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.

Return to Video

อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอาการไอเรื้อรัง

  • 0:00 - 0:03
    MED Cram
  • 0:03 - 0:05
    ครับ ขอต้อนรับสู่การบรรยายอีกหัวข้อหนึ่งของ MED CRAM
  • 0:05 - 0:08
    เราจะพูดถึงอาการไอเรื้อรัง
  • 0:08 - 0:17
    ซึ่งจะใช้นิยามสำหรับใครก็ตามที่มีอาการไอต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 8 สัปดาห์
  • 0:17 - 0:33
    โดยทั่วไป สิ่งแรกที่คุณควรทำเมื่อมีอาการนี้ คือ คุณต้องเอ็กซ์เรย์ทรวงอก เพื่อตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อ
  • 0:33 - 0:39
    มันจะเป็นปัญหาใหญ่มาก ถ้าคุณมีคนไข้โรคติดเชื้อ ดังนั้นให้คุณสงสัยเลยว่ามีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัณโรค
  • 0:39 - 0:45
    ถ้าคุณสงสัยว่ามันอาจเกี่ยวกับปอดบวม ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องให้แพทย์ตรวจคัดกรองโดยเร็วที่สุด
  • 0:45 - 0:53
    อย่างไรก็ตาม สมมุติว่าผลเอ็กซ์เรย์ทรวงอกเป็นปกติ สิ่งที่คุณต้องคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจอีกอย่างหนึ่งคือ คนไข้ไม่ได้กำลังกินยาลดความดันโลหิตสูงที่อยู่ในกลุ่ม ACE inhibitor
  • 0:53 - 1:02
    ซึ่งยาเหล่านี้มักจะมีชื่อลงท้ายด้วยคำว่า "pril" เช่น แค็ปโตพริล ไลไซโนพริล อินาลาพริล รามิพริล เป็นต้น
  • 1:02 - 1:11
    ซึ่งยาในกลุ่ม ACE Inhibitor เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอาการไอได้โดยไปเพิ่มการเกิดสารแบรดีไคนิน
  • 1:11 - 1:16
    ดังนั้น หากใครมีอาการไอเรื้อรังจนคุณต้องหาทางทดสอบเพื่อหาสาเหตุแล้วล่ะก็
  • 1:16 - 1:23
    สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ คุณต้องมั่นใจว่าคุณได้ทำการเอ็กซเรย์ทรวงอกเพื่อตรวจคัดกรองปัญหาการติดเชื้อแล้ว หลังจากนั้นก็ให้พิจารณาว่ายาที่พวกเค้ากำลังรับประทานอยู่นั้นไม่ใช่ยาในกลุ่ม ACE Inhibitor
  • 1:23 - 1:35
    ผมพูดได้เลยว่าประมาณร้อยละ 30 ของคนไข้ที่กินยากลุ่ม ACE Inhibitor จะมีอาการไอแห้งเรื้อรัง เอาล่ะ เมื่อคุณคัดกรองเรื่องพวกนี้ออกไปแล้ว ความเป็นไปได้อย่างอื่นคืออะไร
  • 1:35 - 1:48
    มาพูดถึงความเป็นไปได้อื่นกันดีกว่า มันมีความเป็นไปได้อยู่ 3 อย่าง ที่ผมมักจะมองหาเมื่อคนไข้มีอาการไอเรื้อรัง และสิ่งแรกที่ผมมักจะทำคือเริ่มจากสาเหตุที่เกิดจากด้านบนก่อน ถ้าคุณอยากทำนะ
  • 1:48 - 2:00
    เอาล่ะ ถ้าคุณรู้ว่ามี ดูที่รูปเล็กๆ นี่นะ นี่คือหัว จมูก และปากนะ
  • 2:00 - 2:05
    คุณรู้แล้วว่าช่องโพรงจมูกจะต่ำลงไปทางนี้ ถัดจากนั้นก็คือลิ้น
  • 2:05 - 2:15
    ถ้าคนไข้มีอาการอักเสบจากภูมิแพ้เกิดขึ้นที่บริเวณนี้ จะมีการสร้างน้ำมูกจำนวนมาก และน้ำมูกเหล่านี้จะหลั่งออกมารวมกันจนเหนียวข้นจนเป็นเสมหะ แล้วไหลลงไปที่คอส่วนหลัง
  • 2:15 - 2:28
    ซึ่งทำให้คุณต้องกำจัดมันออกไปจากคอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่าเสมหะไหลลงคอ หรือคออักเสบจากภูมิแพ้
  • 2:28 - 2:37
    เข้าใจนะ เสมหะไหลลงคอซึ่งเป็นการอักเสบจากภูมิแพ้ แล้วอาการของมันคืออะไร มันก็คือการพยายามกำจัดเสมหะออกจากลำคอบ่อยๆไงล่ะ
  • 2:37 - 2:45
    ถ้าคุณมองไปที่คอส่วนหลัง จะเห็นว่ามีปุ่มเกิดขึ้นลักษณะคล้ายปุ่มหิน เรียกว่า Cobblestone
  • 2:45 - 2:55
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเวลาที่คุณคันเปลือกตาหรือเกิดภูมิแพ้เช่นกัน นึกออกนะ
  • 2:55 - 3:02
    ทีนี้ลองนึกถึงสิ่งที่จะเกิดเมื่อมีเสมหะไหลลงหรือคออักเสบจากภูมิแพ้สิ
  • 3:02 - 3:05
    ผมพูดได้เลยว่าคนไข้ทุกคนที่มีอาการไอเรื้อรังนอกเกิดจากการที่เราขับเสมหะออกจากร่างกาย
  • 3:05 - 3:10
    ซึ่งจะมีคนไข้อยู่ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ที่ไอเรื้อรังจากสาเหตุนี้
  • 3:10 - 3:13
    ดังนั้น ถ้าคราวหน้ามีคนไข้มาด้วยอาการไอเรื้อรังให้คิดถึงเรื่องนี้ด้วย
  • 3:13 - 3:17
    ว่ามันค่อนข้างจะเป็นไปได้ที่เราจะเจอคนไข้ที่มีเสมหะไหลลงคอ
  • 3:17 - 3:23
    แล้วการรักษาสำหรับอาการนี้คืออะไร? คุณต้องพยายามหาสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้
  • 3:23 - 3:34
    แต่สำหรับการรักษานั้น โดยทั่วไปก็จะใช้ยาสเตียรอยด์พ่นช่องจมูก ทันนะ?
  • 3:34 - 3:41
    คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อยาเนโซเน็กซ์ , Flonase, Astelin หรือ Astepro
  • 3:41 - 3:50
    ยาเหล่านี้ล้วนเป็นยาสเตียรอยด์พ่นช่องจมูก หรือลดอาการภูมิแพ้ทั้งนั้น ทันนะ?
  • 3:50 - 3:56
    อีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดว่าเป็นการอักเสบจากภูมิแพ้คือมันมีอาการแค่อย่างเดียว
  • 3:56 - 4:00
    เอาล่ะ อาจมีอะไรอย่างอื่นที่คุณจะใช้ได้ในการวินิจฉัยอาการไอเรื้อรัง
  • 4:00 - 4:04
    แต่ถ้าอาการมันเหมือนกับที่กล่าวมา ก็ดีเลย
  • 4:04 - 4:15
    ทีนี้มาต่อที่ความเป็นไปได้อย่างต่อไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9% แต่แทนที่จะเกิดจากส่วนบนไปยังส่วนล่าง มันกลับเกิดจากส่วนล่างขึ้นสู่ส่วนบนแทน
  • 4:15 - 4:29
    คุณมีหลอดลม แต่ที่ติดอยู่กับหลอดลม อันที่จริงคือมันติดอยู่หลังหลอดลมเลยคือหลอดอาหาร ซึ่งเชื่อมลงไปยังกระเพาะ
  • 4:29 - 4:33
    แต่ถ้ามีอะไรไปขวางอยู่ในนั้น คุณจะเป็นโรคที่เรียกว่าโรคกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ
  • 4:33 - 4:42
    บางครั้งเวลามันเกิด จะทำให้ระคายเคืองหลอดลม และเป็นสาเหตุของภาวะที่เรียกว่ากรดไหลย้อน (เกิร์ด)
  • 4:42 - 4:53
    แล้วเราจะดูได้ยังไงว่ามีกรดไหลย้อนเกิดขึ้นหรือหรือเปล่า โรคกรดไหลย้อนจะมักจะเกิดและสัมพันธ์กับการไอ และที่แน่ๆ มันมักเกิดกับคนอายุน้อย คุณไม่ต้องอยากแก่ก็ได้นะ
  • 4:53 - 5:04
    โดยทั่วไป สิ่งที่คุณจะพบคือรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวของกรดในตอนเช้า ลองชันตัวขึ้นสิ คุณจะรู้สึกดีขึ้นนิดนึง รู้แล้วนะ 1. คือรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวของกรดในตอนเช้า
  • 5:04 - 5:13
    อ่า อาการหนึ่งที่บ่งชี้ว่าคุณเป็นกรดไหลย้อนแน่ๆ ก็คืออาการแสบร้อนกลางอก
  • 5:13 - 5:23
    อืม.. บางทีอาจมีการถูกทำลายจากกรดเกิดขึ้นที่ด้านหลังของคอ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฟันของคุณอาจมีการถูกกัดกร่อน
  • 5:23 - 5:28
    หรือเมื่อเวลาส่องคออย่างที่แพทย์หูคอจมูกทำกัน จะเห็นว่ามันเป็นยังไง
  • 5:28 - 5:37
    แล้วอะไรคือวิธีการรักษาล่ะ? คุณสามารถใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor ได้
  • 5:37 - 5:46
    คุณสามารถไปซื้อที่ร้านขายยาได้ มันชื่อว่า Prilosec หรือจะใช้ยา Protonix Pantoprazole ก็ได้เช่นกัน เพราะยาในที่ยับยั้งการหลั่งของกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitor นั้นมีอยู่หลายตัว
  • 5:46 - 5:56
    แต่มีอีกวิธีคือให้คุณยกศีรษะให้สูงขึ้นจากที่นอน และใช้อิฐสองก้อนหนุนขาหัวเตียง เพื่อที่ใบหน้าคุณก็จะได้ยกสูง
  • 5:56 - 6:07
    ทางเลือกในการรักษาอีกอย่างหนึ่งคือการนอนหนุนเบาะสามเหลี่ยม (wedge) วัตถุประสงค์ในการใช้เบาะนี้ก็เพื่อรักษาสภาพศีรษะให้ยกสูงจากที่นอน ดังนั้น สิ่งผิดปกติจะไม่สามารถไหลย้อนขึ้นมาได้ และทำให้หลอดลมอยู่ในแนวดิ่ง
  • 6:07 - 6:26
    อีกอย่างที่ทำได้คืองดทานอาหารก่อนเอนนอน 3 ชั่วโมง
  • 6:26 - 6:34
    และที่กระเพาะอาหารก็มีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่ มีอยู่สองสามสิ่งที่เรารู้ว่าจะทำให้หูรูดเปิดออก ซึ่งคุณต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น
  • 6:34 - 6:53
    สิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน คือ แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารรสจัด และช็อคโกแล็ต
  • 6:53 - 7:02
    เอาล่ะ ถ้าดูแล้วว่ามันเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่คุณต้องพยายามที่จะไม่ทำสิ่งเหล่านี้
  • 7:02 - 7:11
    ความเป็นไปได้อย่างสุดท้ายเป็นเรื่องที่พบบ่อย คือประมาณ 39% และเหมือนจะเป็นกลุ่มหลักๆ นั่นคือ โรคหอบหืด
  • 7:11 - 7:29
    คนไข้อาจไม่ได้หายใจมีเสียงหวีด พวกเขาอาจมีแค่อาการไอ หรือในบางรายแต่ก็ไม่เสมอไปที่อาจจะมีเสียงหวีดได้ แต่ที่แน่ๆ คือ คนไข้ไอมาก ซึ่งก็อาจเป็นอาการของโรคหอบหืดที่ตรวจพบได้อย่างเดียว
  • 7:29 - 7:36
    แล้วคนไข้กลุ่มนี้เป็นอะไร คนไข้จะมีอาการของโรคหอบหืดแต่แทนที่จะมีเสียงหวีดพวกเขาจะมีอาการไอแทน
  • 7:36 - 7:43
    ดังนั้นจึงต้องมีวิธีลดอาการ บางทีคนไข้อาจต้องหยุดใช้หมอนหรือเครื่องนอนที่มีขนสัตว์
  • 7:43 - 7:52
    นอกจากนี้ยังต้องไม่ให้มีสัตว์เลี้ยงในห้องนอน หรือลดสิ่งที่ก่อภูมิแพ้
  • 7:52 - 7:58
    ที่จริงแล้วคุณจะยังไม่รู้หรอกว่าคุณเป็นอะไรจนกว่าจะได้ทำการตรวจการทำงานของปอด
  • 7:58 - 8:03
    เรามาดูการบรรยายของ MED CRAM เรื่องการตรวจการทำงานของปอดเพื่อให้เข้าใจว่าโรคหอบหืดเป็นอย่างไร
  • 8:03 - 8:09
    และอีกสิ่งที่ใช้วินิจฉัยร่วมด้วยคือการทำ methocholine challenge test เพื่อวัดความไวของหลอดลมหลังให้สารเมธาโคลิน (methocholine)
  • 8:09 - 8:16
    นี่คือเวลาที่คนไข้หายใจเข้า แล้ววัดปริมาตรของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่หลังจากหายใจเข้าเต็มที่ จากนั้นจึงให้สารเมธาโคลิน (methocholine)
  • 8:16 - 8:25
    คุณจะเห็นเลยว่าคนไข้เป็นอย่างไร ถ้าคนไข้อาการแย่ลง ก็จะทราบได้ว่าคนไข้ไวต่อสารเมธาโคลิน (methocholine) ซึ่งหมายถึงคนไข้เป็นโรคหอบหืด
  • 8:25 - 8:29
    จากนั้นจะให้ยา albuterol พ่นเข้าทางปาก เพื่อให้คนไข้กลับสู่ภาวะปกติ
  • 8:29 - 8:35
    ถ้าการทดสอบเป็นเช่นนี้ คุณก็จะทราบได้ว่าการทดสอบความไวของหลอดลมมีผลบวก ซึ่งหมายถึงคนไข้เป็นโรคหอบหืดอย่างที่คุณคิดไว้
  • 8:35 - 8:52
    และถ้าคนไข้รายนั้นต้องใช้ยาพ่น หรือยาสูด หรือยาสเตียรอยด์แบบสูดพ่น นั่นคือวิธีการเดียวกับการรักษาโรคหอบหืด
  • 8:52 - 9:01
    นี่คือวิธีต่างๆ ที่ใช้วินิจฉัย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการไอเรื้อรังอาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างใด แต่จริงๆ แล้วเกิดจากหลายอย่างร่วมกัน
  • 9:01 - 9:12
    และคุณจะเห็นว่ามันเป็นอาการคาบเกี่ยวกันระหว่างกลุ่มโรคที่แตกต่างกันเหล่านี้ ฉะนั้น คุณต้องให้การรักษาที่ต่างกันไปในแต่ละกลุ่มโรค
  • 9:12 - 9:21
    ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อมีคนไข้มาด้วยอาการไอเรื้อรัง ให้นึกถึงอาการไอที่สัมพันธ์กับโรคหอบหืดอย่างหนึ่ง
  • 9:21 - 9:28
    โรคกรดไหลย้อนอย่างหนึ่ง และโรคภูมิแพ้อีกอย่างหนึ่ง
  • 9:28 - 9:30
    ขอบคุณมากครับ
  • 9:30 - 9:40
    ดนตรีบรรเลง
Title:
อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอาการไอเรื้อรัง
Description:

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุหลักของอาการไอเรื้อรัง มีคำอธิบายอย่างชัดเจนจาก Dr. Roger Seheult. รวมไปถึงการบรรยายเกี่ยวกับโรคหอบหืด กรดไหลย้อน การอักเสบจากภูมิแพ้ การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก และอื่นๆ

MedCram เป็นการบรรยายโดยอาจารย์ชั้นนำระดับโลกเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนในหัวข้อทางการแพทย์

กลุ่มผู้ชมที่แนะนำคือ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและนักเรียน
และเป็นการทบทวนสำหรับการสอบ USMLE, MCAT, PANCE, NCLEX, NAPLEX, NDBE, การสอบในระดับวิทยาลัยแลการสอบระดับประกาศนียบัตร

จัดทำโดย Kyle Allred PA-C

โปรดทราบ: วิดีทัศน์ของ MedCram Videos จัดทำเพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาและการเตรียมตัวสอบ มิได้ประสงค์ให้นำไปใช้แทนคำแนะนำจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ของท่าน

more » « less
Video Language:
English
Team:
Volunteer
Duration:
09:45

Thai subtitles

Revisions Compare revisions