ยังไงก็รัก
-
0:00 - 0:05"แม้แต่ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย
-
0:05 - 0:11ความรักร่วมเพศก็ยังเป็นการใช้อวัยวะเพศอย่างผิดที่ผิดทาง
-
0:11 - 0:15เป็นวิธีเลี่ยงสัจธรรมของชีวิตที่ไม่ได้เรื่อง
-
0:15 - 0:18และต่ำช้าน่าสมเพช
-
0:18 - 0:22ดังนั้นความรักร่วมเพศจึงไม่ใช่เรื่องน่าเห็นใจ
-
0:22 - 0:24มันเป็นเรื่องที่ไม่สมควรได้รับการปกป้องดูแล
-
0:24 - 0:27มันก็แค่คนกลุ่มน้อยที่ได้รับความลำบากแสนสาหัส
-
0:27 - 0:34จะเป็นได้ก็เพียงแต่โรคร้ายที่ทำลายชีวิตคนเท่านั้น"
-
0:34 - 0:39นั่นเป็นข้อความจากนิตยสาร ไทม์ (Time)
เมื่อปีค.ศ. 1996 ตอนผมอายุสามขวบ -
0:39 - 0:43และเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิปดีประเทศสหรัฐอเมริกา
ออกตัวว่าเห็นด้วย -
0:43 - 0:45กับการอนุญาตให้ชาวรักร่วมเพศแต่งงานกัน
-
0:45 - 0:53(เสียงปรบมือ)
-
0:53 - 0:58และคำถามของผมคือ
จากตรงนั้น เรามายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้อย่างไร -
0:58 - 1:03เหตุใดความเจ็บป่วยจึงกลายเป็นอัตลักษณ์
-
1:03 - 1:06ตอนที่ผมอายุราว ๆ หกขวบ
-
1:06 - 1:09ผมไปร้านรองเท้ากับแม่และพี่ชาย
-
1:09 - 1:11แล้วพอซื้อรองเท้าเสร็จ
-
1:11 - 1:15คนขายก็บอกผมกับพี่ว่า
เอาลูกโป่งกลับบ้านกันได้คนละลูก -
1:15 - 1:21พี่ชายผมอยากได้อันสีแดง ส่วนผมอยากได้อันสีชมพู
-
1:21 - 1:26แม่ผมบอกว่า จริง ๆ แล้วลูกเลือกลูกโป่งสีฟ้าไปดีกว่า
-
1:26 - 1:29แต่ผมบอกว่าผมอยากได้สีชมพูจริงๆ
-
1:29 - 1:34แล้วแม่ก็ย้ำกับผมว่า สีฟ้าคือสีที่ผมชอบที่สุด
-
1:34 - 1:39ก็จริงที่ว่าตอนนี้ ผมชอบสีฟ้าที่สุด
-
1:39 - 1:42แต่ผมก็ยังชอบผู้ชายอยู่ดี (เสียงหัวเราะ)
-
1:42 - 1:47แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของแม่ที่มีต่อผม และข้อจำกัดของมัน
-
1:47 - 1:49(เสียงหัวเราะ)
-
1:49 - 1:56(เสียงปรบมือ)
-
1:56 - 1:58ตอนที่ผมยังเล็ก ๆ แม่ผมพูดบ่อย ๆ ว่า
-
1:58 - 2:03"ความรักที่มีให้ลูกนั้น
ไม่มีความรู้สึกใดในโลกเทียบเคียงได้ -
2:03 - 2:06และจนกว่าจะมีลูกเอง ไม่มีใครรู้หรอกว่ามันเป็นยังไง"
-
2:06 - 2:09ตอนเด็ก ๆ ผมถือว่านั่นเป็นคำชื่นชมที่ประเสริฐที่สุดในโลก
-
2:09 - 2:12ที่แม่พูดถึง เกี่ยวกับการเลี้ยงดูผมกับพี่
-
2:12 - 2:15แล้วตอนที่ผมเป็นวัยรุ่น ผมก็นึกในใจ
-
2:15 - 2:18ว่าผมเป็นเกย์ ฉะนั้นผมก็คงจะมีครอบครัวไม่ได้
-
2:18 - 2:20คำเดิมที่แม่เคยพูดไว้ กลับทำให้ผมวิตกกังวล
-
2:20 - 2:22และหลังจากที่ผมเปิดเผยว่าเป็นเกย์
-
2:22 - 2:25แล้วแม่ก็ยังพูดอย่างเดิมซ้ำ ๆ มันทำให้ผมโกรธแทบบ้า
-
2:25 - 2:29ผมบอกว่า "ผมเป็นเกย์ ผมไม่ได้กำลังจะเลือกเส้นทางนั้น
-
2:29 - 2:32และผมก็อยากให้แม่หยุดพูดถึงมันสักที"
-
2:35 - 2:40ประมาณ 20 ปีที่แล้ว บรรณาธิการของผม
ที่นิตยสาร เดอะ นิวยอร์ค ไทม์ (The New York Times) -
2:40 - 2:43ขอให้ผมเขียนบทความเรื่องวัฒนธรรมคนหูหนวก
-
2:43 - 2:44ผมก็อึ้งไปนิดหน่อย
-
2:44 - 2:47ผมมองความหูหนวกเป็นความเจ็บป่วยมาตลอด
-
2:47 - 2:48คนพวกนั้นน่าสงสาร เขาไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย
-
2:48 - 2:51เขาไม่สามารถฟังอะไรได้ และเราจะช่วยเขายังไงดี
-
2:51 - 2:53แล้วผมก็เข้าไปอยู่ในโลกของคนหูหนวก
-
2:53 - 2:56ผมไปเที่ยวคลับหูหนวก
-
2:56 - 2:59ผมดูการแสดงโรงละครและร้อยกรองของคนหูหนวก
-
2:59 - 3:06ผมไปดูแม้กระทั่งการแข่งขันนางงามหูหนวกอเมริกา
ที่แนชวิล รัฐเทนเนสซี -
3:06 - 3:10ที่ผู้คนก่นด่าเกี่ยวกับภาษามือกระแดะ ๆ ของคนใต้
-
3:10 - 3:14(เสียงหัวเราะ)
-
3:14 - 3:18ยิ่งผมถลำลึกเข้าไปในโลกของคนหูหนวกมากเท่าไหร่
-
3:18 - 3:21ผมยิ่งเชื่อว่าความหูหนวกเป็นวัฒนธรรมมากขึ้นเท่านั้น
-
3:21 - 3:23และผู้คนในโลกหูหนวกที่พูดว่า
-
3:23 - 3:26"พวกเราไม่ได้ขาดโสตทัศนะ
พวกเราเป็นสมาชิกในวัฒนธรรมนี้" -
3:26 - 3:29พวกเขาไม่ได้พูดเกินจริงเลยสักนิด
-
3:29 - 3:31มันไม่ได้เป็นวัฒนธรรมของผม
-
3:31 - 3:33แล้วผมก็ไม่ได้อยากจะรีบร้อนเข้าไปร่วมด้วย
-
3:33 - 3:36แต่ผมก็ซี้งใจว่ามันเป็นวัฒนธรรมหนึ่ง
-
3:36 - 3:38และสำหรับคนที่เป็นส่วนหนึ่งของมันแล้ว
-
3:38 - 3:44มันมีคุณค่าไม่ต่างจากวัฒนธรรมชาวละติน
หรือวัฒนธรรมชาวรักร่วมเพศ หรือวัฒนธรรมชาวยิว -
3:44 - 3:49หรือแม้กระทั่ง วัฒนธรรมชาวอเมริกัน
-
3:49 - 3:53มีเพื่อนของเพื่อนของผมคนหนึ่งมีลูกสาวเป็นคนแคระ
-
3:53 - 3:54ตอนลูกสาวของเธอเกิด
-
3:54 - 3:57เธอต้องเผชิญหน้ากับคำถามมากมายอย่างไม่ทันตั้งตัว
-
3:57 - 4:00ที่ตอนนี้ มันเริ่มสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องของผมเอง
-
4:00 - 4:03เธอเจอกับคำถามว่าจะเลี้ยงลูกคนนี้ยังไงดี
-
4:03 - 4:07เธอควรจะบอกลูกว่า "หนูก็เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ
เพียงแต่เตี้ยกว่าเขาหน่อยนึงเท่านั้น" -
4:07 - 4:10หรือเธอควรจะสร้างความเป็นตัวตนของคนแคระสักอย่างขึิ้น
-
4:10 - 4:13แล้วเข้าสู่สังคมคนตัวเล็กแห่งอเมริกา
-
4:13 - 4:15เรียนรู้เรื่องราวความเป็นไปของเหล่าชาวแคระ
-
4:15 - 4:17แล้วอยู่ ๆ ผมก็คิดได้ว่า
-
4:17 - 4:19เด็กหูหนวกส่วนใหญ่มาจากพ่อแม่ที่ได้ยินเสียงอย่างปกติ
-
4:19 - 4:22พ่อแม่ที่หูดีมักจะพยายามรักษาลูก
-
4:22 - 4:26แล้วลูกหูหนวกเหล่านั้นก็ค้นพบสังคมหูหนวก
ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตอนเป็นวัยรุ่น -
4:26 - 4:29ชาวรักร่วมเพศส่วนใหญ่มีพ่อแม่ที่รักกับเพศตรงข้าม
-
4:29 - 4:31แล้วพ่อแม่เหล่านั้นก็มักจะอยากให้ลูก ๆ ของตน
-
4:31 - 4:33ทำตัวดั่งเช่นที่พ่อแม่เห็นว่าคนส่วนใหญ่เขาทำกัน
-
4:33 - 4:37และชาวรักร่วมเพศเหล่านั้น
ก็ต้องค้นหาตัวตนที่แท้จริงในภายหลัง -
4:37 - 4:38ตอนนี้ก็มีเพื่อนของผมคนนี้
-
4:38 - 4:42กำลังครุ่นคิดถึงคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์
ของลูกสาวแคระของเธอ -
4:42 - 4:44ผมก็คิดว่า เอาอีกแล้ว
-
4:44 - 4:46ครอบครัวที่มองตัวเองว่าเป็นปกติธรรมดา
-
4:46 - 4:49มีลูกที่ดูแล้วไม่เป็นปกติธรรมดาเหมือนใครๆ
-
4:49 - 4:53และผมก็เลยฉุดคิดได้ว่า ที่จริงมันมีอัตลักษณ์อยู่สองประเภท
-
4:53 - 4:55มีอัตลักษณ์แบบที่เป็นแนวตั้ง
-
4:55 - 4:58ซึ่งส่งต่อรุ่นสู่รุ่นจากพ่อแม่สู่ลูก
-
4:58 - 5:04อัตลักษณ์เหล่านี้ ได้แก่
เชื้อชาติ หรืออาจจะสัญชาติ หรือภาษา หรือบางทีก็ศาสนา -
5:04 - 5:08นี่คือสิ่งที่คุณมีเหมือน ๆ กัน กับพ่อแม่และลูกของคุณ
-
5:08 - 5:10และถึงแม้บางอัตลักษณ์นั้นจะทำให้ชีวิตลำบาก
-
5:10 - 5:12ก็ไม่มีใครเคยคิดจะแก้ไขมัน
-
5:12 - 5:16คุณอาจจะแย้งว่า ชีวิตในสหรัฐนั้นยากกว่า --
-
5:16 - 5:18ไม่เว้นแม้แต่ ประธานาธิปดีคนปัจจุบันของเรา
-
5:18 - 5:20ที่จะเป็นคนผิวสี
-
5:20 - 5:22เราก็ยังไม่เคยมีใคร ที่จะพยายาสร้างความมั่นใจ
-
5:22 - 5:26ได้ว่าลูกรุ่นต่อไปของคนแอฟริกันอเมริกันและเอเชีย
-
5:26 - 5:30จะคลอดออกมาผิวขาวและผมทอง
-
5:30 - 5:34อีกประเภทหนึ่งของอัตลักษณ์ คือสิ่งที่คุณได้จากกลุ่มเพื่อน
-
5:34 - 5:36ผมขอเรียกมันว่าอัตลักษณ์แนวขวางแล้วกัน
-
5:36 - 5:39เพราะกลุ่มเพื่อนคือประสบการณ์แนวขวาง
-
5:39 - 5:42มันมีอัตลักษณ์ที่แปลกประหลาดในสายตาของพ่อแม่คุณ
-
5:42 - 5:46และคุณจะพบมันเมื่อได้เห็นมันในตัวเพื่อน ๆ ของคุณ
-
5:46 - 5:49และความเป็นตัวตนเหล่านี้ อัตลักษณ์แนวขวางเหล่านี้แหละ
-
5:49 - 5:53ที่ใครต่อใคร พยายามหาทางแก้ให้หายไป
-
5:53 - 5:55แล้วผมก็อยากจะมองให้ออกว่าวิธีไหน
-
5:55 - 5:58ที่ทำให้คนที่มีอัตลักษณ์เหล่านี้
-
5:58 - 6:00มามีความสัมพันธ์ที่ดีกับมันได้
-
6:00 - 6:05และสำหรับผม เหมือนกับว่าจะมีการยอมรับอยู่สามระดับ
-
6:05 - 6:06ที่ต้องเกิดขึ้น
-
6:06 - 6:12มันคือ การยอมรับในตัวเอง การยอมรับจากครอบครัว
และการยอมรับจากสังคม -
6:12 - 6:13แล้วมันก็ไม่เกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป
-
6:13 - 6:18และส่วนมาก ผู้คนที่อยู่ในสภาวะนี้จะหงุดหงิดมาก
-
6:18 - 6:21เพราะพวกเขารู้สึกอย่างกับว่าพ่อแม่ไม่รักเขา
-
6:21 - 6:25ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่เกิดขึ้นคือพ่อแม่ไม่ยอมรับเขา
-
6:25 - 6:28ความรักเป็นอะไรที่ในอุดมคติแล้วไม่มีข้อแม้
-
6:28 - 6:31ตลอดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก
-
6:31 - 6:34แต่การยอมรับเป็นอะไรที่ต้องอาศัยเวลา
-
6:34 - 6:37ต้องอาศัยเวลาอย่างแน่นอน
-
6:37 - 6:42หนึ่งในบรรดาคนแคระที่ผมได้รู้จัก ชื่อคลินตัน บราวน์
-
6:42 - 6:45ตอนที่เกิดนั้น เขาได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็นโรคแคระกระดูกเบี้ยว (diastrophic dwarfism) -
6:45 - 6:47ซึ่งเป็นภาวะพิการมาก
-
6:47 - 6:50และพ่อแม่ก็ได้รับการบอกว่าเขาไม่มีทางที่จะเดินหรือพูดได้
-
6:50 - 6:52เขาจะไม่สามารถมีสติปัญญาเรียนรู้
-
6:52 - 6:55แล้วเขาก็คงจะจำหน้าพ่อแม่ไม่ได้ด้วยซ้ำ
-
6:55 - 6:58แล้วก็มีคำแนะนำ ให้ทิ้งเขาไว้ที่โรงพยาบาล
-
6:58 - 7:00เพื่อให้เขาได้จากไปอย่างสงบ
-
7:00 - 7:02แล้วแม่เขาก็บอกว่า เธอจะไม่ทำแบบนั้น
-
7:02 - 7:04แล้วเธอก็พาลูกชายของเธอกลับบ้าน
-
7:04 - 7:08และถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้เรียนสูงมากมายหรือร่ำรวยล้นฟ้า
-
7:08 - 7:10เธอหาหมอที่มือดีที่สุดในประเทศ
-
7:10 - 7:12ที่จะจัดการกับโรคแคระกระดูกเบี้ยว
-
7:12 - 7:14และเธอก็พาคลินตันไปรักษากับเขา
-
7:14 - 7:16และในช่วงระยะเวลาที่เขาเป็นเด็กนั้น
-
7:16 - 7:19เขาได้รับการผ่าตัดใหญ่ 30 ครั้ง
-
7:19 - 7:22แล้วเขาก็ใช้เวลาทั้งหมดติดอยู่ในโรงพยาบาล
-
7:22 - 7:23ในระหว่างที่เขาเข้ารับการรักษาอยู่
-
7:23 - 7:26ผลลัพธ์ก็คือตอนนี้เขาเดินได้แล้ว
-
7:26 - 7:30ตอนที่เขาอยู่ที่นั่น มีติวเตอร์มาช่วยเขาเรื่องการเรียน
-
7:30 - 7:33แล้วเขาก็ตั้งใจเรียนมาก เพราะมันไม่มีอย่างอื่นทำ
-
7:33 - 7:35จนสุดท้ายเขาประสบความสำเร็จ
-
7:35 - 7:38ในระดับที่ไม่เคยมีใครในครอบครัวเคยทำได้มาก่อน
-
7:38 - 7:41เขาเป็นคนแรกในครอบครัวจริง ๆ ที่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
-
7:41 - 7:45ที่เขาอยู่ในวิทยาเขตและขับรถที่ทำมาพิเศษ
-
7:45 - 7:48เพื่อให้พอดีกับรูปร่างพิเศษของเขา
-
7:48 - 7:51แล้วแม่เขาเล่าให้ผมฟังเรื่องที่ว่า วันหนึ่งเธอกลับบ้านมา
-
7:51 - 7:52และเขาก็ไปมหาวิทยาลัยใกล้ ๆ บ้าน
-
7:52 - 7:55แล้วเธอก็บอกว่า
"ฉันเห็นรถคันนั้น ซึ่งคุณจำมันได้แน่ๆไม่ผิดหรอก -
7:55 - 8:00ในที่จอดรถของบาร์" เธอเล่า (เสียงหัวเราะ)
-
8:00 - 8:04"แล้วฉันคิดกับตัวเองว่า คนอื่นสูงตั้งร้อยแปดสิบ
ลูกฉันสูงแค่เก้าสิบ -
8:04 - 8:07เบียร์สองแก้วของคนอื่น เท่ากับเบียร์สี่แก้วของลูก"
-
8:07 - 8:09เธอบอกว่า "ฉันรู้ว่าจะเข้าไปแล้วห้ามลูก มันก็ใช่ที่
-
8:09 - 8:14แต่ฉันกลับบ้านแล้วฝากข้อความไปยังมือถือเขาแปดครั้ง"
-
8:14 - 8:15เธอเล่าต่อว่า "แล้วฉันก็คิดอีก
-
8:15 - 8:17ว่าถ้ามีใครมาบอกฉันตอนที่เขาคลอดนะ
-
8:17 - 8:23ว่าเรื่องที่น่าเป็นห่วงในอนาคตคือ เขาจะออกไปดื่มเหล้า
แล้วเมาขับรถกับเพื่อนมหาวิทยาลัย --" -
8:23 - 8:32(เสียงปรบมือ)
-
8:32 - 8:34แล้วผมก็พูดกับเธอว่า "คุณคิดว่าคุณทำอะไร
-
8:34 - 8:38จึงช่วยให้เขากลายเป็นคนมีสเน่ห์ ประสบความสำเร็จในชีวิต
และแสนวิเศษอย่างนี้" -
8:38 - 8:43แล้วเธอก็บอกว่า "ฉันทำอะไรน่ะเหรอ ฉันรักเขา ก็แค่นั้นเอง
-
8:43 - 8:46คลินตันมีประกายไฟอยู่ในตัวเขาอยู่แล้ว
-
8:46 - 8:52และพ่อของเขากับฉัน ก็โชคดีพอที่ได้เป็นคนแรกที่เห็นมัน"
-
8:52 - 8:55ผมจะยกข้อความจากอีกนิตยสารหนึ่งในยุค 60
-
8:55 - 9:01อันนี้มาจากปี 1968 นิตยสาร The Atlantic Monthly
เสียงของอเมริกันเสรี -
9:01 - 9:04เขียนโดยนักชีวจริยธรรมที่สำคัญคนหนึ่ง
-
9:04 - 9:08กล่าวไว้ว่า "มันไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้รู้สึกผิด
-
9:08 - 9:11เกี่ยวกับเรื่องการอำพรางเด็กปัญญาอ่อน
-
9:11 - 9:16ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการเอาไปซ่อนไว้ในสถานพยาบาล
-
9:16 - 9:20หรือในแง่ที่แสดงถึงความรับผิดชอบมากกว่าและการถึงฆาต
-
9:20 - 9:25มันน่าเศร้า จริงอยู่ น่าสะพรึงกลัว แต่มันไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด
-
9:25 - 9:29ความผิดที่แท้จริงเกิดขึ้นเมื่อมีการโจมตีตัวบุคคล
-
9:29 - 9:34และพวกปัญญาอ่อนนั้นไม่ใช่คน"
-
9:34 - 9:37คราบน้ำหมึกมากมายได้อุทิศต่อความก้าวหน้าก้าวใหญ่ของเรา
-
9:37 - 9:40ในเรื่องการปฏิบัติต่อชาวรักร่วมเพศ
-
9:40 - 9:44ความจริงว่า ทัศนคติของพวกเราเปลี่ยนไปแล้ว
ปรากฏอยู่บนพาดหัวข่าวทุกวัน -
9:44 - 9:48แต่พวกเราลืม ว่าพวกเราเคยมองผู้คนที่แตกต่างอย่างไร
-
9:48 - 9:50เคยมองคนพิการแบบไหน
-
9:50 - 9:53เคยลดหลั่นความเป็นมนุษย์ของผู้คนเหล่านั้นเท่าไร
-
9:53 - 9:55และความเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้น
-
9:55 - 9:57ซึ่งแทบกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ
-
9:57 - 10:00คือสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้ใส่ใจมากนัก
-
10:00 - 10:04หนึ่งในครอบครัวที่ผมสัมภาษณ์ ทอมและคาเรน โรบาร์ดส์
-
10:04 - 10:08ชาวนิวยอร์กรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งสอง ต้องตกตะลึก
-
10:08 - 10:11เมื่อลูกคนแรกของพวกเขาถูกวินิจฉัยว่ามีอาการดาวน์
-
10:11 - 10:15พวกเขาคิดว่าโอกาสทางการศึกษาของลูก
ไม่ใช่อย่างที่ควรจะเป็น -
10:15 - 10:19เพราะฉะนั้น พวกเขาเลยตัดสินใจว่าจะสร้างศูนย์เล็ก ๆ --
-
10:19 - 10:23สองห้องเรียนที่พวกเขาริเริ่ม
ร่วมกับพ่อแม่คนอื่น ๆ อีกสองสามคน -- -
10:23 - 10:25เพื่อให้การศึกษากับเด็ก ๆ ที่มีอาการดาวน์
-
10:25 - 10:29และหลายปีต่อมา ศูนย์นั้นก็เติบโตขึ้นเป็นสถานที่
ที่เรียกว่า Cooke Center -
10:29 - 10:31ที่ตอนนี้มีเด็กเป็นพัน ๆ คน
-
10:31 - 10:35ที่มีความพิการด้านสติปัญญา ได้รับการเรียนการสอน
-
10:35 - 10:38นับตั้งแต่เวลาที่เรื่องใน Atlantic Monthly ตีพิมพ์
-
10:38 - 10:42อายุคาดเฉลี่ยของคนที่มีอาการดาวน์เพิ่มเป็นสามเท่าตัว
-
10:42 - 10:47ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับคนที่มีอาการดาวน์
รวมไปด้วยนักแสดง นักเขียน -
10:47 - 10:53และบรรดาผู้ที่สามารถ
อยู่ได้บนลำแข้งของตัวเองเมื่อเป็นผู้ใหญ่ -
10:53 - 10:55ครอบครัวโรบาร์ดส์เผชิญกับมันมามาก
-
10:55 - 10:57และผมก็พูดว่า "คุณเสียใจมั้ย
-
10:57 - 10:59คุณหวังไหมว่าลูกคุณนั้นไม่ได้มีอาการดาวน์
-
10:59 - 11:01คุณหวังไหมว่าคุณน่ะจะไม่เคยได้ยินคำนี้เลย
-
11:01 - 11:03และที่น่าสนใจ พ่อของเขาบอกว่า
-
11:03 - 11:06"ก็ สำหรับเดวิดลูกผมแล้ว ผมเสียใจนะ
-
11:06 - 11:09เพราะสำหรับเดวิด มันเป็นหนทางใช้ชีวิตที่ยากลำบาก
-
11:09 - 11:12และผมก็อยากให้เดวิดมีชีวิตที่ง่ายดายกว่านี้
-
11:12 - 11:17แต่ผมว่า ถ้าเราสูญเสียทุกคนที่มีอาการดาวน์ มันจะเป็นภัยหายนะ
-
11:17 - 11:21และคาเรน โรบาร์ดก็บอกผมว่า "ฉันคิดเหมือนทอมนั่นแหละ
-
11:21 - 11:25สำหรับเดวิดแล้ว ฉันอยากจะรักษา
เพื่อให้เขาได้อยู่อย่างสุขสบาย -
11:25 - 11:30แต่ในฐานะของตัวฉันเอง --
คือ ฉันจะไม่มีทางเชื่อเมื่อ 23 ปีก่อน ตอนเขาเกิด -
11:30 - 11:32ว่าฉันจะมาอยู่ตรงจุดนี้ --
-
11:32 - 11:36สำหรับฉันแล้ว มันทำให้ฉันเป็นคนดีขึ้นมาก
และมีเมตตาขึ้นเยอะ -
11:36 - 11:39และมีจุดมุ่งหมายในชีวิตมากกว่าอะไรทั้งหมด
-
11:39 - 11:46นั่นคือคำพูดสำหรับตัวฉันเอง
เรื่องที่เกิดขึ้นจะเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม" -
11:46 - 11:50เราอยู่ในช่วงที่การยอมรับทางสังคม
สำหรับเรื่องนี้และเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย -
11:50 - 11:52กำลังเปิดกว้างขึ้นและกว้างขึ้น
-
11:52 - 11:54แต่เราก็ยังอยู่ในช่วงเวลา
-
11:54 - 11:57ที่ความสามารถในการกำจัดข้อบกพร่องเหล่านั้น
-
11:57 - 11:59เรามาถึงจุดที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อนด้วย
-
11:59 - 12:02ทารกหูหนวกที่คลอดในสหรัฐตอนนี้
-
12:02 - 12:04จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกรูปหอยโข่งในหูชั้นใน
-
12:04 - 12:09ที่ถูกใส่ไว้ในสมองและต่อกับตัวรับสัญญาณ
-
12:09 - 12:14และที่จะเปิดโอกาสให้พวกเขา
สามารถจำลองทักษะการฟังและการใช้ภาษาพูดได้ -
12:14 - 12:18สารประกอบ BMN-111 ที่มีการทดลองในหนู
-
12:18 - 12:23มีประโยชน์ในการยับยั้งการทำงาน
ของยีนโรคกระดูกอ่อนไม่เจริญ -
12:23 - 12:26โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในภาวะแคระ
-
12:26 - 12:30และพวกหนูที่ได้รับสารสังเคราะห์และมียีนกระดูกอ่อนไม่เจริญ
-
12:30 - 12:32และไม่เติบโตได้เท่าปกติ
-
12:32 - 12:35การทดลองในมนุษย์ก็อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลแล้ว
-
12:35 - 12:37มีการทดสอบตัวอย่างเลือดที่กำลังพัฒนา
-
12:37 - 12:42ที่จะแยกแยะกลุ่มอาการดาวน์ได้ชัดเจนขึ้น
และภายในช่วงอายุครรภ์น้อยลงกว่าที่เคยเป็นมา -
12:42 - 12:48มันทำให้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะลดเลี่ยงการตั้งครรภ์แบบนั้น
-
12:48 - 12:49หรือทำแท้งไปเลย
-
12:49 - 12:54และแล้วเราก็เลยมีพัฒนาการทั้งทางสังคมและทางการแพทย์
-
12:54 - 12:55และผมก็เชื่อมั่นในทั้งสองอย่าง
-
12:55 - 12:59ผมเชื่อว่าความก้าวหน้าของสังคมนั้น
น่าปลาบปลื้มมหัศจรรย์และมีความหมาย -
12:59 - 13:03และผมก็คิดอย่างเดียวกันกับความก้าวหน้าทางการแพทย์
-
13:03 - 13:07แต่ผมคิดว่ามันเป็นโศกนาฏกรรม
เมื่อพวกเขามองไม่เห็นกันและกัน -
13:07 - 13:09และเมื่อผมเห็นสองเส้นทางมาพบกัน
-
13:09 - 13:11ในสถานการณ์สามแบบที่ผมเพิ่งอธิบายไป
-
13:11 - 13:15ผมว่าบางทีมันเหมือนกับ ณ เวลาจุดนั้นในมหาอุปรากร
-
13:15 - 13:17ตอนที่พระเอกรู้ตัวว่ารักนางเอก
-
13:17 - 13:22ณ เวลาที่เธอนั้นกำลังนอนรอความตายอยู่พอดี
-
13:22 - 13:25(เสียงหัวเราะ)
-
13:25 - 13:29เราต้องคิดถึงความรู้สึกของเรา
ที่มีต่อการรักษาทั้งหมดทั้งปวง -
13:29 - 13:31หลายต่อหลายครั้งคำถามของการเป็นพ่อแม่ก็คือ
-
13:31 - 13:33อะไรที่เรามองว่ารับได้ในตัวลูกของเรา
-
13:33 - 13:35และอะไรที่เราต้องแก้ไข
-
13:35 - 13:39จิม ซินแคลร์ (Jim Sinclair)
นักปฏิวัติออทิสซึมคนสำคัญกล่าวไว้ว่า -
13:39 - 13:44"เวลาพ่อแม่พูดว่า
'ฉันอยากให้ลูกฉันไม่ได้เกิดมามีอาการออทิสซึม' -
13:44 - 13:49สิ่งที่พวกเขาพูดจริง ๆ ก็คือ
'ฉันอยากลูกฉันไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง -
13:49 - 13:53และฉันน่ะ มีลูกอีกคนที่ไม่ได้เป็นออทิสติกแทน'
-
13:53 - 13:58อ่านอีกรอบนะ นี่คือสิ่งที่พวกเราได้ยิน
เวลาที่คุณโศกเศร้าเสียใจกับความเป็นอยู่ของเรา -
13:58 - 14:01นี่คือสิ่งที่พวกเราได้ยินเวลาที่คุณสวดมนต์ขอวิธีรักษา
-
14:01 - 14:03ความหวังที่คุณปรารถนาที่สุดสำหรับพวกเรา
-
14:03 - 14:05คือว่าสักวันหนึ่งพวกเราจะไม่มีตัวตนอีกต่อไป
-
14:05 - 14:11และคนแปลกหน้าที่คุณรักเขาได้
จะย้ายมาอยู่ใต้ใบหน้าของพวกเรา" -
14:11 - 14:14นี่เป็นมุมมองที่สุดโต่ง
-
14:14 - 14:18แต่มันชี้ให้เห็นสัจธรรมว่า
คนเรามีส่วนร่วมกับชีวิตที่ตัวเองมีอยู่ -
14:18 - 14:22และพวกเขาก็ไม่อยากจะถูกรักษา
เปลี่ยนแปลง หรือถูกกำจัดไป -
14:22 - 14:26พวกเขาอยากจะเป็นใครก็ตามที่พวกเขาโตขึ้นมาเป็นเช่นนั้น
-
14:26 - 14:29หนึ่งในครอบครัวที่ผมสัมภาษณ์เพื่อโครงการนี้
-
14:29 - 14:35เป็นครอบครัวของ ดีแลน คลีโบลด์ (Dylan Klebold)
ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อการฆาตกรรมหมู่ที่โรงเรียนโคลัมไบน์ -
14:35 - 14:37มันใช้เวลานานมากที่จะโน้มน้าวใจ ให้พวกเขายอมคุยกับผม
-
14:37 - 14:40และเมื่อพวกเขาตกลง พวกเขามีเรื่องราวมากมาย
-
14:40 - 14:42ที่พวกเขาไม่สามารถหยุดเล่าได้
-
14:42 - 14:44สุดสัปดาห์แรกที่ผมใช้เวลาอยู่กับพวกเขา
ครั้งแรกของครั้งต่อไปอีกหลายครั้ง -
14:44 - 14:48ผมบันทึกบทสนทนาไปมากกว่า 20 ชั่วโมง
-
14:48 - 14:50และตอนคืนวันอาทิตย์ เราทุกคนต่างสิ้นเรี่ยวแรง
-
14:50 - 14:53เรานั่งอยู่ในห้องครัว ซู คลีโบลด์ (Sue Klebold)
กำลังทำข้าวเย็น -
14:53 - 14:55และผมพูดว่า "ถ้าดีแลนอยู่ที่นี่ตอนนี้
-
14:55 - 14:58คุณรู้บ้างไหมว่าอยากจะถามอะไรเขา"
-
14:58 - 15:00และพ่อเขาก็บอกว่า "รู้สิ
-
15:00 - 15:04ผมอยากจะถามว่า มึงรู้ไหมว่าอะไรอยู่"
-
15:04 - 15:08และซูก็มองพื้น แล้วใช้เวลาคิดสักนาที
-
15:08 - 15:10และเธอก็เงยหน้าขึ้นแล้วบอกว่า
-
15:10 - 15:14"ฉันจะขอให้เขายกโทษให้ฉันที่เป็นแม่ของเขา
-
15:14 - 15:18และไม่เคยรู้เลยว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นในหัวเขาบ้าง"
-
15:18 - 15:21ตอนที่ผมไปทานอาหารเย็นกับเธอสองปีต่อมา
-
15:21 - 15:23หนึ่งในมื้อเย็นที่พวกเราทานร่วมกัน
-
15:23 - 15:27เธอบอกว่า "รู้มั้ย ตอนที่มันเกิดขึ้นตอนแรก
-
15:27 - 15:30ฉันเคยหวังว่าฉันน่ะไม่ได้แต่งงานและไม่เคยมีลูก
-
15:30 - 15:34ถ้าฉันไม่เคยไปรัฐโอไฮโอแล้วเจอกับทอม
-
15:34 - 15:38เด็กคนนี้คงไม่ได้เกิดและเรื่องเลวร้ายนี้คงไม่ได้เกิดขึ้น
-
15:38 - 15:42แต่ฉันก็กลับมารู้สึกตัวว่าฉันรักลูก ๆ ของฉันมากเหลือเกิน
-
15:42 - 15:45ฉันไม่อยากจะจินตนาการถึงชีวิตที่ไม่มีพวกเขา
-
15:45 - 15:50ฉันจำได้ถึงความเจ็บปวดที่พวกเขาทำต่อผู้อื่น
ซึ่งมันมิอาจให้อภัยได้ -
15:50 - 15:54แต่ความเจ็บปวดที่พวกเขาทำฉัน
ฉันยกโทษให้ได้" เธอพูดอย่างนั้น -
15:54 - 15:58"เพราะงั้น แม้ฉันจะคิดว่าว่าโลกนี้คงจะดีกว่านี้
-
15:58 - 16:00ถ้าดีแลนไม่ได้เกิดมา
-
16:00 - 16:06ฉันตัดสินใจแล้วว่า มันไม่ได้ดีขึ้นสำหรับฉันแน่นอน"
-
16:06 - 16:12ผมคิดว่ามันน่าประหลาดใจที่ครอบครัวทั้งหลาย
ที่มีเด็กๆที่มีปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ -
16:12 - 16:15ปัญหาที่พวกเขาทุกคนคงจะทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น
-
16:15 - 16:19และที่พวกเขาต่างก็ค้นพบความหมายมากมาย
ในประสบการณ์เลี้ยงดูลูกนั้น -
16:19 - 16:22แล้วผมก็คิด ว่าพวกเราทุกคนที่มีลูก
-
16:22 - 16:25รักลูก ๆ ที่เรามี แม้พวกเขาจะมีจุดด่างพร้อย
-
16:25 - 16:29ถ้าอยู่ ๆ มีนางฟ้าแสนดีมาปรากฎตัวในห้องนั่งเล่นของผม
-
16:29 - 16:31และยื่นข้อเสนอว่าจะพาลูก ๆ ของผมไป
-
16:31 - 16:38แล้วมอบเด็กคนอื่นที่ดีกว่า
มารยาทดีกว่า ตลกกว่า นิสัยดีกว่า เก่งกว่าให้ -
16:38 - 16:43ผมจะกอดลูก ๆ ผมแนบอกไว้แน่น
และสวดมนต์อ้อนวอนให้ปรากฏการณ์เลวร้ายนี้ผ่านพ้นไป -
16:43 - 16:45ที่สุดของที่สุดแล้ว ผมรู้สึกว่า
-
16:45 - 16:49มันก็เช่นเดียวกับที่เราทดลองเสื้อนอนกันไฟในกองเพลิงนรก
-
16:49 - 16:53เพื่อให้มั่นใจว่ามันจะไม่ไหม้เมื่อลูก ๆ ของเราเอื้อมมือผ่านเตา
-
16:53 - 16:57เรื่องราวของครอบครัวที่ต้องต่อกร
กับความแปลกแยกอย่างสุดโต่งนี้ -
16:57 - 17:00สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์
ที่เป็นจริงทุกระดับของการเลี้ยงลูก -
17:00 - 17:04นั่นก็คือทุกที ที่บางครั้งคุณมองลูกตัวเองแล้วคุณคิดว่า
-
17:04 - 17:06นี่หนูมาจากไหนเนี่ย
-
17:06 - 17:09(เสียงหัวเราะ)
-
17:09 - 17:14กลายเป็นว่า เมื่อแต่ละความแตกต่างนี้
ถูกเอามามัดรวมกัน -
17:14 - 17:16ครอบครัวมากมายเหลือเกินที่กำลังรับมือกับโรคจิตเภท
-
17:16 - 17:19ครอบครัวมากมายเหลือเกินที่มีลูกแปลงเพศ
-
17:19 - 17:21ครอบครัวมากมายเหลือเกินที่มีเด็กอัจฉริยะ
-
17:21 - 17:23ที่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่คล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ทาง
-
17:23 - 17:26มันก็แค่ครอบครัวจำนวนมากในแต่ละกลุ่มนั้น
-
17:26 - 17:27แต่ถ้าคุณลองคิดดู
-
17:27 - 17:31ถึงประสบการณ์ในการต่อกรความแตกต่าง
ภายในครอบครัวของคุณ -
17:31 - 17:33คือสิ่งที่ผู้คนกำลังพูดถึงกัน
-
17:33 - 17:37แล้วคุณจะพบว่ามันเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหง
-
17:37 - 17:41มันน่าขันที่ความแตกต่างของเรา
และการต่อรองกันในเรื่องที่เราต่างกัน -
17:41 - 17:44เป็นสิ่งที่ผูกพันเราเข้าด้วยกัน
-
17:44 - 17:49ผมตัดสินใจมีลูกในตอนที่ผมกำลังทำโครงการนี้
-
17:49 - 17:52หลายคนตกตะลึงแล้วถามว่า
-
17:52 - 17:54"แต่คุณตัดสินมีลูกได้ยังไง
-
17:54 - 17:58ทั้ง ๆ ที่กำลังศึกษาทุกเรื่องที่อาจผิดพลาดไปได้"
-
17:58 - 18:01แล้วผมก็บอกว่า "ผมไม่ได้กำลังศึกษาทุกเรื่องที่ผิดพลาดได้
-
18:01 - 18:04แต่ผมกำลังศึกษาว่ามันจะมีความรักได้มากมายเพียงใด
-
18:04 - 18:09แม้ในสถานการณ์ที่ทุกอย่างดูจะผิดเพี้ยนไปเสียหมด"
-
18:09 - 18:15บ่อยครั้งผมคิดถึง
เรื่องของแม่ของเด็กพิการคนหนึ่งที่ผมได้เจอ -
18:15 - 18:19เด็กพิการซ้ำซ้อน ที่เสียชีวิตจากความประมาทของคนดูแล
-
18:19 - 18:21และเมื่อเถ้าของเขาได้บรรจุอัฐิ แม่เขาพูดว่า
-
18:21 - 18:29ฉันสวดมนต์ขออโหสิกรรมที่ต้องถูกปล้นไปสองครั้ง
-
18:29 - 18:35ครั้งนึงพรากเด็กที่ฉันอยากได้และอีกครั้งพรากลูกชายที่ฉันรัก
-
18:35 - 18:40แล้วผมก็พบว่ามันเป็นไปได้สำหรับทุกคนที่จะรักเด็กสักคน
-
18:40 - 18:43ถ้ามีแรงใจพอที่จะทำ
-
18:43 - 18:48สามีของผมเป็นพ่อทางสายเลือดให้กับเด็กสองคน
-
18:48 - 18:50กับเพื่อน ๆ เลสเบี้ยนที่มินนิอาโปลิส (Minneapolis)
-
18:50 - 18:56ผมมีเพื่อนสนิทสมัยมหา'ลัย
ที่ผ่านการหย่าร้างมา แล้วอยากมีลูก -
18:56 - 18:58เธอกับผมก็เลยมีลูกสาวด้วยกัน
-
18:58 - 19:00และแม่กับลูกสาวก็อยู่ที่เท็กซัส
-
19:00 - 19:04และผมกับสามีก็มีลูกชายที่อยู่กับเราตลอดเวลา
-
19:04 - 19:06ที่มีผมเป็นพ่อทางสายเลือด
-
19:06 - 19:10และแม่บุญธรรมที่อุ้มท้องให้คือลอร่า
-
19:10 - 19:13แม่เลสเบี้ยนของโอลิเวอร์และลูซี่ที่มินนิอาโปลิส
-
19:13 - 19:22(ปรบมือ)
-
19:22 - 19:27ว่ากันสั้น ๆ ก็คือมีพ่อแม่ห้าคนของลูก ๆ สี่คนในสามรัฐ
-
19:27 - 19:30แล้วก็มีคนที่คิดว่าการที่มีครอบครัวอย่างที่ผมมีอยู่นั้น
-
19:30 - 19:35ไปทำให้ครอบครัวของเขาด้อยลง
อ่อนแอลง หรือว่าราวฉานมากขึ้น -
19:35 - 19:39และก็มีคนที่คิดว่าครอบครัวอย่างครอบครัวผม
-
19:39 - 19:40ไม่ควรจะได้รับอนุญาตให้มีอยู่ด้วยซ้ำไป
-
19:40 - 19:46และผมไม่ยอมรับรูปแบบความรักแบบหักลบ
มันจะมีก็แต่แบบเพิ่มเติมเท่านั้น -
19:46 - 19:50และผมเชื่อว่า
เหมือนอย่างที่เราต้องมีความหลากหลายของสายพันธุ์ -
19:50 - 19:52เพื่อให้มั่นใจว่าโลกจะหมุนต่อไป
-
19:52 - 19:56เราก็ต้องการความหลากหลายของความรัก
และความหลากหลายของครอบครัว -
19:56 - 20:01เพื่อที่จะเพิ่มความแข็งแกร่ง
ของสภาวะแวดล้อมแห่งความเอื้ออารี -
20:01 - 20:03วันหลังจากที่ลูกชายเราเกิด
-
20:03 - 20:08หมอเด็กเข้ามาในห้องที่โรงพยาบาล
แล้วบอกว่าเธอมีเรื่องกังวล -
20:08 - 20:11เพราะว่าลููกเรายืดขาได้ไม่สมบูรณ์
-
20:11 - 20:14เธอบอกว่าเขาอาจมีความผิดปกติในสมอง
-
20:14 - 20:17ตอนที่เขายืดขานั้นเขายืดได้ไม่เท่ากัน
-
20:17 - 20:21ซึ่งอาจจะแปลว่ามีก้อนเนื้อบางอย่างอยู่
-
20:21 - 20:26เขามีศีรษะที่ใหญ่มาก ซึ่งเธอคิดว่ามันอาจแปลว่ามีน้ำคั่งในสมอง
-
20:26 - 20:27แล้วตอนที่เธอบอกผมนั้น
-
20:27 - 20:31ผมรู้สึกเหมือนทั้งใจหล่นไปกองกับพื้น
-
20:31 - 20:34แล้วผมก็คิดว่า นี่ไง ที่ผมทำงานมาเป็นปี ๆ
-
20:34 - 20:36กับการทำหนังสือเรื่องว่า
ผู้คนค้นพบความหมายมากมายแค่ไหน -
20:36 - 20:40กับประสบการณ์เลี้ยงดูลูกที่มีความพิการ
-
20:40 - 20:44และผมก็ไม่อยากจะเป็นหนึ่งในผู้คนเหล่านั้น
-
20:44 - 20:46เพราะว่าผมกำลังเผชิญหน้ากับแนวคิดเรื่องความเจ็บป่วย
-
20:46 - 20:49และเช่นเดียวกับพ่อแม่ทุกคนตั้งแต่โบราณ
-
20:49 - 20:52ผมอยากจะปกป้องลูกจากความเจ็บป่วย
-
20:52 - 20:55และผมก็อยากปกป้องตัวเองจากความเจ็บป่วยนั้นด้วย
-
20:55 - 20:58แต่ผมก็รู้ จากงานที่ผมทำ
-
20:58 - 21:02ว่าถ้าลูกมีลักษณะอะไรสักอย่างที่เรากำลังจะตรวจหา
-
21:02 - 21:05สิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นความเป็นตัวตนของเขา
-
21:05 - 21:09และถ้านั่นเป็นอัตลักษณ์ของลูก
มันก็จะกลายเป็นของผมด้วย -
21:09 - 21:13และความเจ็บป่วยนั้นก็จะกลายรูปเป็นอะไรที่ต่างไป
เมื่อมันเผยออกมา -
21:13 - 21:16พวกเราพาเขาไปที่เครื่อง MRI พาเขาไปทำ CAT สแกน
-
21:16 - 21:20เราพาเด็กอายุหนึ่งวันไปให้เขานำเลือดไปตรวจ
-
21:20 - 21:21เรารู้สึกว่าเราช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย
-
21:21 - 21:23และสุดท้ายห้าชั่วโมงต่อมา
-
21:23 - 21:25พวกเขาบอกว่าสมองของลูกนั้นไม่มีปัญหาใด ๆ
-
21:25 - 21:28และเขาก็สามารถยืดขาได้ตามปกติแล้ว
-
21:28 - 21:31และเมื่อผมถามหมอเด็กว่ามันเกิดอะไรขึ้น
-
21:31 - 21:35เธอบอกว่าสงสัยเมื่อเช้าน้องคงจะเป็น
-
21:35 - 21:39ตะคริว (เสียงหัวเราะ)
-
21:39 - 21:47และผมก็คิดถึงคำที่แม่พูดว่ามันจริง
-
21:47 - 21:50ผมคิด ว่าความรักที่คุณมีให้ลูกคุณนั้น
-
21:50 - 21:54ไม่มีความรู้สึกอื่นใดเทียบเคียงได้
-
21:54 - 22:00และจนกว่าคุณจะมีลูกคุณไม่รู้หรอกว่ามันรู้สึกยังไง
-
22:00 - 22:02ผมคิดว่าเด็ก ๆ นั้น คล้องใจผมได้
-
22:02 - 22:06ตั้งแต่ตอนที่ผมเชื่อมโยงความเป็นพ่อ
และความสูญเสียเข้าด้วยกัน -
22:06 - 22:08แต่ผมไม่แน่ใจว่าผมจะสังเกตเห็นเรื่องนี้
-
22:08 - 22:13ถ้าผมไม่ได้อยู่ท่ามกลางโครงการวิจัยของผมอันนี้
-
22:13 - 22:16ผมอาจจะได้พบกับความรักแปลก ๆ มากมาย
-
22:16 - 22:20แล้วผมก็ตกหลุมรักในรูปแบบ
ที่น่าหลงใหลราวกับต้องมนต์ของมันอย่างไม่ยากเย็น -
22:20 - 22:27และผมเห็นความงดงามที่ส่องประกาย
ให้แม้กระทั่งกับความอ่อนแอที่น่าอนาถที่สุด -
22:27 - 22:31ในช่วงระหว่างสิบปีนี้ ผมได้พบเจอและเรียนรู้
-
22:31 - 22:34ถึงความสุขที่เกินรับได้
จากความรับผิดชอบที่แทบจะแบกรับไม่ไหว -
22:34 - 22:38และผมได้เห็นกับตาแล้วว่ามันชนะทุกสิ่งได้อย่างไร
-
22:38 - 22:42และแม้บางครั้ง ผมคิดว่าพ่อแม่ที่ผมสัมภาษณ์นั้นงี่เง่าสิ้นดี
-
22:42 - 22:47ที่ทำให้ตัวเองตกเป็นทาสของลูกอกตัญญูไปตลอดชีวิต
-
22:47 - 22:50และพยายามปรับปรุงอัตลักษณ์
ให้พ้นจากความอัปลักษณ์นั้น -
22:50 - 22:55ผมได้เข้าใจในวันนั้นเอง
ว่างานวิจัยของผมได้สร้างแพไว้ให้ผม -
22:55 - 22:58และผมก็พร้อมแล้ว ที่จะร่วมลงเรือลำเดียวกันกับพวกเขา
-
22:58 - 23:00ขอบคุณครับ
-
23:00 - 23:05(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ยังไงก็รัก
- Speaker:
- แอนดริว โซโลมอน (Andrew Solomon)
- Description:
-
จะเป็นยังไงนะ หากต้องเลี้ยงดูเด็กที่มีพื้นฐานชีวิตไม่เหมือนกับคุณ เช่นเด็กอัจฉริยะ เด็กพิการ หรืออาชญากร ในการบรรยายเรียบง่ายกินใจนี้ นักเขียนแอนดริว โซโลมอน ได้แบ่งปันเรื่องราวที่เขาได้เรียนรู้จากการพูดคุยกับพ่อแม่หลายครอบครัว เพื่อถามพวกเขาว่า เส้นแบ่งความรักอย่างไร้เงื่อนไขและการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขอยู่ที่ใด
- Video Language:
- English
- Team:
- closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 23:27
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut commented on Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Love, no matter what | ||
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Love, no matter what |
Kelwalin Dhanasarnsombut
I have made some change na ka. Hope it's ok. Please further suggest me na ka :)