< Return to Video

ไวยากรณ์มีความสำคัญหรือไม่ - แอนเดรีย เอส. คาลูด (Andreea S. Calude)

  • 0:07 - 0:09
    คุณกำลังเล่าเรื่องสนุก ๆ
    ให้เพื่อนฟังอยู่ดี ๆ
  • 0:09 - 0:14
    ทันใดนั้นเอง ตอนมาถึงส่วนสำคัญ
    เขาก็ขัดขึ้นว่า
  • 0:14 - 0:18
    "เอเลียนกับฉัน" ไม่ใช่ "ฉันกับเอเลียน"
  • 0:18 - 0:20
    พวกเราส่วนใหญ่อาจเกิดความรำคาญ
  • 0:20 - 0:22
    แต่นอกเหนือจากการขัดที่ดูหยาบคายนี้
  • 0:22 - 0:24
    เพื่อนของคุณมีเหตุผลหรือเปล่า
  • 0:24 - 0:27
    ประโยคของคุณผิดไวยากรณ์หรือเปล่า
  • 0:27 - 0:31
    และถ้าเขายังเข้าใจมันได้อยู่
    มันจะไปสำคัญอะไรล่ะ
  • 0:31 - 0:33
    จากมุมมองของนักภาษาศาสตร์
  • 0:33 - 0:37
    ไวยากรณ์คือชุดของรูปแบบ
    ในการนำคำมาประกอบกัน
  • 0:37 - 0:39
    เพื่อให้เกิดเป็นวลี หรืออนุประโยค
  • 0:39 - 0:42
    ไม่ว่าจะเป็นในการพูด
    หรือการเขียนก็ตาม
  • 0:42 - 0:44
    แต่ละภาษามีรูปแบบไวยากรณ์
    ที่แตกต่างกัน
  • 0:44 - 0:47
    ในภาษาอังกฤษ ประธานมักจะมาก่อน
  • 0:47 - 0:49
    ตามด้วยคำกริยา
  • 0:49 - 0:50
    และจากนั้นจึงเป็นกรรม
  • 0:50 - 0:53
    ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่น
    และอีกหลาย ๆ ภาษา
  • 0:53 - 0:56
    ลำดับคือประธาน กรรม และคำกริยา
  • 0:56 - 1:00
    นักวิชาการบางรายพยายาม
    จัดแจงรูปแบบพื้นฐานของทุกภาษา
  • 1:00 - 1:02
    แต่นอกเหนือไปจาก
    โครงสร้างพื้นฐานบางอย่าง
  • 1:02 - 1:05
    เช่นการมีคำนาม หรือคำกริยา แล้ว
  • 1:05 - 1:09
    สิ่งที่เรียกว่า ความเป็นสากลทางภาษา
    ปรากฏอยู่น้อยมาก
  • 1:09 - 1:12
    และในขณะภาษาใด ๆ ก็ต้องการ
    รูปแบบที่แน่นอนเพื่อการใช้งาน
  • 1:12 - 1:17
    การศึกษารูปแบบเหล่านี้ ทำให้เกิด
    การถกเถียงระหว่างสองแนวคิด
  • 1:17 - 1:21
    ที่เป็นที่รู้จักกันว่าภาษาศาสตร์แบบกำหนด
    และภาษาศาสตร์แบบบรรยาย
  • 1:21 - 1:22
    สรุปรวมก็คือ
  • 1:22 - 1:26
    นักภาษาศาสตร์แบบกำหนดคิดว่า
    ภาษาควรที่จะอยู่ในกรอบของกฎที่ชัดเจน
  • 1:26 - 1:31
    ในขณะที่นักภาษาศาสตร์แบบบรรยายเห็นว่า
    ความหลากหลายและการดัดแปลงเป็นเรื่องปกติ
  • 1:31 - 1:34
    และเป็นส่วนสำคัญของภาษา
  • 1:34 - 1:38
    ตามประวัติศาสตร์
    ส่วนใหญ่ภาษาถูกใช้เพื่อสนทนา
  • 1:38 - 1:42
    แต่เมื่อคนมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น
    และการเขียนมีความสำคัญมากขึ้น
  • 1:42 - 1:46
    ภาษาเขียนถูกใช้เป็นมาตราฐาน
    เพื่อการสือสารที่กว้างขวางขึ้น
  • 1:46 - 1:51
    และเป็นการให้หลักประกันว่า
    คนที่อยู่ในคนละพื้นที่จะเข้าใจกันและกัน
  • 1:51 - 1:57
    ในหลายภาษา รูปแบบมาตรฐานนี้
    เป็นแบบเดียวเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับ
  • 1:57 - 2:01
    ทั้งที่มันถูกดัดแปลง
    มาจากรูปแบบการพูดแบบเดียว
  • 2:01 - 2:03
    โดยทั่วไปแล้ว โดยคนที่มีอำนาจ
  • 2:03 - 2:07
    นักวิชาการทางภาษาทำหน้าที่สร้างกฎ
    และเผยแผ่มาตรฐานนี้
  • 2:07 - 2:13
    โดยให้รายละเอียดในกฎแต่ละชุด
    ที่สะท้อนไวยากรณ์ที่พวกเขาสร้างขึ้น
  • 2:13 - 2:17
    และกฎสำหรับไวยากรณ์การเขียน
    ถูกดัดแปลงมาใช้กับภาษาพูดด้วยเช่นกัน
  • 2:17 - 2:22
    รูปแบบของการพูด
    ที่ไม่เหมือนกับกฎการเขียน
  • 2:22 - 2:24
    ถูกมองว่าเป็นความวิบัติ
    หรือการใช้ภาษาแบบชนชั้นล่าง
  • 2:24 - 2:27
    และหลายคนที่เติบโตมา
    กับการพูดในลักษณะนี้
  • 2:27 - 2:31
    ถูกบังคับให้เปลี่ยนมาใช้
    รูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
  • 2:31 - 2:32
    อย่างไรก็ดี เมื่อไม่นานมานี้เอง
  • 2:32 - 2:36
    นักภาษาศาสตร์เข้าใจว่า การพูด
    เป็นปรากฏการณ์ที่แยกขาดจากการเขียน
  • 2:36 - 2:38
    ที่มีความสม่ำเสมอและรูปแบบของมันเอง
  • 2:38 - 2:43
    พวกเราส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะพูด
    ตอนที่เราอายุยังน้อยจนจำไม่ได้ด้วยซ้ำ
  • 2:43 - 2:46
    เราสร้างคลังการพูดของเรา
    ผ่านนิสัยที่ไม่ได้ผ่านความคิด
  • 2:46 - 2:49
    ไม่ใช่กฎที่ต้องจดจำ
  • 2:49 - 2:53
    และเพราะว่าการพูดยังใช้อารมณ์
    และน้ำเสียงสูงต่ำสำหรับสื่อความหมาย
  • 2:53 - 2:55
    โครงสร้างของมันมักจะยืดหยุ่นมากกว่า
  • 2:55 - 2:59
    เพื่อปรับให้เข้ากับความต้องการ
    กับผู้พูดและผู้ฟัง
  • 2:59 - 3:03
    นั่นอาจหมายถึงการหลีกเลี่ยงอนุประโยค
    ที่ยากต่อการวิเคราะห์แจกแจงในทันที
  • 3:03 - 3:06
    การเปลี่ยนเปลงเพื่อหลีกเลี่ยง
    การออกเสียงที่ทำให้ติดขัด
  • 3:06 - 3:09
    หรือกร่อนเสียงเพื่อทำให้พูดได้เร็วขึ้น
  • 3:09 - 3:14
    วิธีการทางภาษาศาสตร์ที่พยายาม
    เข้าใจและร่างแผนที่ความแตกต่าง
  • 3:14 - 3:18
    โดยไม่เข้าไปกำกับแก้ไข
    เรียกว่าภาษาศาสตร์แบบบรรยาย
  • 3:18 - 3:20
    แทนที่จะกำหนดว่า
    ภาษาควรถูกนำไปใช้อย่างไร
  • 3:20 - 3:23
    มันอธิบายว่าคนใช้ภาษากันอย่างไร
  • 3:23 - 3:27
    และติดตามนวัฒกรรมที่มันเกี่ยวข้อง
  • 3:27 - 3:29
    แต่ในขณะที่การโต้เถียงระหว่าง
  • 3:29 - 3:31
    ภาษาศาสตร์แบบกำหนด
    และแบบบรรยายยังคงดำเนินต่อไป
  • 3:31 - 3:34
    ทั้งสองแนวคิดนี้
    ไม่ได้มีความสมบูรณ์ในทุกแง่มุม
  • 3:34 - 3:37
    เอาเข้าจริง ภาษาศาสตร์แบบกำหนด
    มีประโยชน์สำหรับการบอกเรา
  • 3:37 - 3:42
    เกี่ยวกับรูปแบบพื้นฐานทั่วไป
    ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง
  • 3:42 - 3:44
    มันมีความเสำคัญ
    ไม่เพียงแต่สำหรับบริบทที่เป็นทางการ
  • 3:44 - 3:48
    แต่ยังทำให้การสื่อสารง่ายขึ้นอีก
    ระหว่างผู้พูดที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา
  • 3:48 - 3:51
    ที่มีพื้นเพที่แตกต่างกัน
  • 3:51 - 3:52
    ทว่าภาษาศาสตร์แบบบรรยาย
  • 3:52 - 3:54
    ให้รายละเอียดเชิงลึกกับเรา
    ว่าความคิดของเราทำงานอย่างไร
  • 3:54 - 3:59
    และวิธีการโดยสัญชาตญาณ
    ซึ่งเราสร้างกรอบการมองโลกของเรา
  • 3:59 - 4:03
    ที่สุดแล้ว ไวยากรณ์ควรถูกพิจารณา
    ว่าเป็นกลุ่มพฤติกรรมทางภาษา
  • 4:03 - 4:07
    ที่คนยอมรับตกลงและสร้างขึ้นมาใหม่
    อย่างสม่ำเสมอ
  • 4:07 - 4:10
    โดยกลุ่มคนที่ใช้ภาษานั้น
  • 4:10 - 4:11
    เช่นเดียวกับตัวภาษาเอง
  • 4:11 - 4:13
    มันเป็นเส้นใยที่สวยงามและซับซ้อน
  • 4:13 - 4:17
    ที่สอดประสานผ่านความร่วมมือ
    ของผู้พูดและผู้ฟัง
  • 4:17 - 4:19
    ผู้เขียนและผู้อ่าน
  • 4:19 - 4:21
    นักภาษาศาสตร์แบบกำหนด
    และแบบบรรยาย
  • 4:21 - 4:23
    จากทั้งใกล้และไกล
Title:
ไวยากรณ์มีความสำคัญหรือไม่ - แอนเดรีย เอส. คาลูด (Andreea S. Calude)
Speaker:
Andreea S. Calude
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/does-grammar-matter-andreea-s-calude

บางครั้งมันก็ไม่ง่ายเลยที่จะจดจำกฎไวยากรณ์ทั้งหมดที่แนะแนวการเขียนของเราในขณะที่เราสนทนา เมื่อไรที่เราสามารถพูดได้ว่า "the dog and me" (หมากับฉัน[ประธาน]) และเมื่อไรที่มันควรจะเป็น "the dog and I" (หมากับฉัน[กรรม]) มันสำคัญจริง ๆ หรือ แอนเดรีย เอส. คาลูด ดำดิ่งสู่ข้อถกเถียงเก่าแก่ระหว่างภาษาศาสตร์แบบกำหนดและแบบบรรยาย -- ซึ่งต่างก็มีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นนี้

บทเรียนโดย Andreea S. Calude, แอนิเมชันโดย Mike Schell

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:39
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Does grammar matter?
Pitipa Chongwatpol accepted Thai subtitles for Does grammar matter?
Pitipa Chongwatpol declined Thai subtitles for Does grammar matter?
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Does grammar matter?
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Does grammar matter?
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for Does grammar matter?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Does grammar matter?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Does grammar matter?
Show all

Thai subtitles

Revisions