< Return to Video

เดนนิส ฮอง: สร้างรถยนต์ให้ผู้พิการทางสายตาขับขี่

  • 0:00 - 0:03
    หลายคนเชื่อว่าการขับขี่เป็นเรื่อง
  • 0:03 - 0:05
    เฉพาะของคนที่มองเห็นได้เท่านั้น
  • 0:05 - 0:08
    สำหรับผู้พิการทางสายตาที่จะขับขี่อย่างอิสระและปลอดภัยนั้น
  • 0:08 - 0:11
    เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งทุกวันนี้
  • 0:11 - 0:13
    สวัสดีครับ ผมชื่อ เดนนิส ฮอง
  • 0:13 - 0:15
    และพวกเราจะนำความอิสระเสรีมาสู่คนตาบอด
  • 0:15 - 0:18
    โดยสร้างยานพาหนะสำหรับผู้พิการทางสายตา
  • 0:18 - 0:21
    ก่อนที่ผมจะพูดเกี่ยวกับรถสำหรับคนตาบอดนี้
  • 0:21 - 0:23
    ขอผมเล่าย่อๆเกี่ยวกับผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ผมได้ทำ
  • 0:23 - 0:25
    ที่เรียกว่า DARPA Urban Challenge
  • 0:25 - 0:27
    มันเป็นการสร้างรถหุ่นยนต์
  • 0:27 - 0:29
    ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้
  • 0:29 - 0:31
    คุณแค่กดปุ่มเริ่ม ไม่มีใครแตะต้องอะไรทั้งนั้น
  • 0:31 - 0:34
    แล้วมันก็จะเคลื่อนไปจนถึงจุดหมายอัตโนมัติ
  • 0:34 - 0:37
    ในปี 2007 (พ.ศ.2550) ทีมของเราชนะรางวัลกว่าครึ่งล้านดอลล่าร์
  • 0:37 - 0:39
    โดยพวกเราได้อันดับ 3 ในการแข่งขัน
  • 0:39 - 0:41
    จากการแข่งขันนั้น
  • 0:41 - 0:43
    สมาพันธ์ผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ (National Federation of the Blind: NFB)
  • 0:43 - 0:45
    กำหนดโจทย์ให้คณะกรรมการวิจัย
  • 0:45 - 0:47
    หาคนที่จะพัฒนารถ
  • 0:47 - 0:49
    สำหรับผู้พิการทางสายตาได้ขับอย่างอิสระและปลอดภัย
  • 0:49 - 0:51
    พวกเราเลยตัดสินใจลองดู
  • 0:51 - 0:53
    เพราะพวกเราคิดว่า เฮ้ มันจะไปยากอะไร
  • 0:53 - 0:55
    รถขับเครื่องอัตโนมัติ เรายังทำมาแล้วเลย
  • 0:55 - 0:57
    พวกเราแค่จับผู้พิการทางสายตามานั่งและก็เสร็จแล้วจริงไหม?
  • 0:57 - 0:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:59 - 1:01
    ซึ่งพวกเราผิดถนัดเลย
  • 1:01 - 1:03
    สิ่งที่ NFB ต้องการ
  • 1:03 - 1:06
    ไม่ใช่ยานพาหนะที่พาผู้พิการทางสายตาไปรอบๆ
  • 1:06 - 1:09
    แต่เป็นยานพาหนะที่ผู้พิการทางสายตาสามารถตัดสินใจและขับเองได้
  • 1:09 - 1:11
    ดังนั้นพวกเราเลยต้องโยนตำราทิ้งหมด
  • 1:11 - 1:13
    แล้วเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
  • 1:13 - 1:15
    เพื่อทดสอบไอเดียบ้าบิ่นนี้
  • 1:15 - 1:17
    เราได้พัฒนารถต้นแบบคันเล็กนี้
  • 1:17 - 1:19
    เพื่อทดสอบความเป็นไปได้
  • 1:19 - 1:21
    และในฤดูร้อนปี 2009 (พ.ศ.2552)
  • 1:21 - 1:24
    พวกเราได้เชิญผู้พิการทางสายตาวัยหนุ่มสาวมากมายจากทั่วประเทศ
  • 1:24 - 1:26
    ให้พวกเขาได้ทดลองดู
  • 1:26 - 1:28
    มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากครับ
  • 1:28 - 1:30
    แต่ปัญหาของรถแบบนี้คือ
  • 1:30 - 1:33
    มันถูกออกแบบมาเพื่อขับในสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาให้ควบคุมได้เท่านั้น
  • 1:33 - 1:35
    เช่นในลานจอดรถแบบปิด
  • 1:35 - 1:37
    หรือที่ซึ่งกำหนดโดยกรวยจราจรสีแดง
  • 1:37 - 1:39
    หลังจากประสบความสำเร็จ
  • 1:39 - 1:41
    พวกเราตัดสินใจที่จะพัฒนาไปอีกก้าว
  • 1:41 - 1:44
    โดยลองทำกับรถจริงๆ ขับบนถนนจริงดู
  • 1:44 - 1:46
    เรามาดูกันว่ามันทำงานอย่างไร
  • 1:46 - 1:48
    มันออกจะซับซ้อนหน่อยนะครับ
  • 1:48 - 1:51
    แต่ผมจะพยายามอธิบาย แบบง่ายๆแล้วกันครับ
  • 1:51 - 1:53
    การทำงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
  • 1:53 - 1:55
    คือ การรับรู้ การคำนวณ
  • 1:55 - 1:57
    และระบบอินเตอร์เฟซที่ไม่ใช้ภาพ
  • 1:57 - 1:59
    แน่นอนว่าคนขับมองไม่เห็น
  • 1:59 - 2:01
    ดังนั้นระบบจำเป็นต้องรับรู้สภาพแวดล้อม
  • 2:01 - 2:03
    และให้ข้อมูลต่างๆกับคนขับ
  • 2:03 - 2:06
    ดังนั้นเราจึงใช้หน่วยวัดเริ่มต้น
  • 2:06 - 2:08
    เพื่อวัดความเร่ง อัตราเร่งเชิงมุม
  • 2:08 - 2:10
    เหมือนกับหูของมนุษย์ หูชั้นใน
  • 2:10 - 2:12
    และเชื่อมข้อมูลเหล่านั้นกับ GPS
  • 2:12 - 2:15
    เพื่อหาค่าประมาณของตำแหน่งรถ
  • 2:15 - 2:18
    แล้วก็มีกล้องอีก 2 ตัวเพื่อจับภาพช่องทางบนถนน
  • 2:18 - 2:20
    นอกจากนั้นก็มีเลเซอร์ค้นหาอีก3ตัว
  • 2:20 - 2:23
    ซึ่งเลเซอร์ทำหน้าที่เป็นตัวสแกนรอบๆหาสิ่งกีดขวาง
  • 2:23 - 2:25
    ต่างๆทั้งด้านหน้า ด้านหลัง
  • 2:25 - 2:28
    รวมทั้งอุปสรรคต่างๆบนท้องถนน
  • 2:28 - 2:30
    และรอบๆรถด้วย
  • 2:30 - 2:33
    แล้วข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะถูกป้อนใส่คอมพิวเตอร์
  • 2:33 - 2:35
    แล้วคอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ 2 ประการ
  • 2:35 - 2:38
    สิ่งเรกคือ แปลข้อมูลเหล่านี้
  • 2:38 - 2:40
    เพื่อที่จะเข้าใจสภาพแวดล้อม
  • 2:40 - 2:43
    นี่เป็นทางวิ่งของถนน นั่นเป็นอุปสรรคกีดขวาง
  • 2:43 - 2:45
    และนำเสนอข้อมูลสู่ผู้ขับขี่
  • 2:45 - 2:47
    ระบบยังฉลาดพอที่จะ
  • 2:47 - 2:49
    เลือกทางที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับรถด้วย
  • 2:49 - 2:51
    ดังนั้นเราจึงสามารถใส่ข้อแนะนำ
  • 2:51 - 2:53
    เกี่ยวกับวิธีการควบคุมรถได้ด้วย
  • 2:53 - 2:55
    แต่ปัญหามีอยู่ว่า: เราจะอธิบาย
  • 2:55 - 2:57
    ข้อมูลเหล่าและข้อแนะนำเหล่านี้
  • 2:57 - 2:59
    ให้กับคนที่มองไม่เห็นได้
  • 2:59 - 3:02
    เร็วพอและถูกต้องที่สุดได้อย่างไร
  • 3:02 - 3:04
    ด้วยเหตุผลนี้ พวกเราจึงพัฒนาเทคโนโลยี
  • 3:04 - 3:07
    สำหรับผู้พิการทางสายตาหลายด้าน
  • 3:07 - 3:09
    โดยเริ่มจากระบบส่งเสียง 3 มิติ
  • 3:09 - 3:11
    เสื้อกั๊กระบบสั่น
  • 3:11 - 3:14
    การเปลี่ยนวงล้อด้วยคำสั่งเสียง ด้วยการใช้แถบติดขา
  • 3:14 - 3:16
    หรือแม้แต่รองเท้ารับแรงกดของเท้า
  • 3:16 - 3:18
    แต่วันนี้ผมจะพูดถึง
  • 3:18 - 3:20
    ระบบอินเตอร์เฟซสำหรับคนพิการทางสายตา 3 ระบบ
  • 3:20 - 3:23
    ระบบแรกเรียกว่า DriveGrip
  • 3:23 - 3:25
    นี่เป็นถุงมือ
  • 3:25 - 3:27
    ที่มีระบบสั่นอยู่ที่บริเวณข้อมือ
  • 3:27 - 3:30
    เพื่อที่คุณจะรับรู้ได้ถึงคำแนะนำว่าจะหัน
  • 3:30 - 3:32
    ไปทางทิศใดและเมื่อไหร่
  • 3:32 - 3:34
    อุปกรณ์อีกอันเรียกว่า SpeedStrip
  • 3:34 - 3:37
    นี่เป็นเก้าอี้ ความจริงแล้วมันเป็นเก้าอี้นวดครับ
  • 3:37 - 3:41
    พวกเราจัดการต่อระบบใหม่ให้ระบบสั่นเปลี่ยนไป
  • 3:41 - 3:44
    เพื่อให้มันทำหน้าที่บอกความเร็ว
  • 3:44 - 3:47
    และแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำมันกับการใช้เบรคด้วย
  • 3:47 - 3:49
    โดยตรงนี้ คุณจะเห็นว่า
  • 3:49 - 3:51
    คอมพิวเตอร์เข้าใจสภาพแวดล้อมได้อย่างไร
  • 3:51 - 3:53
    และเพราะคุณไม่สามารถเห็นการสั่นสะเทือน
  • 3:53 - 3:56
    พวกเราเลยใส่หลอดแอลอีดี (LED) สีแดงให้คนขับ เพื่อที่คนขับจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 3:56 - 3:58
    นี่เป็นข้อมูลการรับรู้
  • 3:58 - 4:01
    แล้วข้อมูลส่วนนี้จะโอนถ่ายไปยังอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเข้าไปสู่คอมพิวเตอร์
  • 4:01 - 4:03
    ดังนั้นอุปกรณ์สองอย่างนี้ DriveGrip และ SpeedStrip
  • 4:03 - 4:05
    มีประสิทธิผลสูงมาก
  • 4:05 - 4:07
    แต่ปัญหาคือ
  • 4:07 - 4:09
    มันเป็นระบบแบบกำหนดคำสั่ง
  • 4:09 - 4:11
    ซึ่งมันก็ไม่อิสระจริงไหมครับ
  • 4:11 - 4:13
    คอมพิวเตอร์บอกคุณว่าคุณจะขับอย่างไร
  • 4:13 - 4:15
    ไปซ้าย ไปขวา เร่งความเร็ว หรือหยุด
  • 4:15 - 4:17
    เราเรียกปัญหานี้ว่า ปัญหาของการเป็นผู้ขับตัวสำรอง
  • 4:17 - 4:20
    พวกเราจึงพยายามเบนตัวออกจากระบบคำสั่งเหล่านี้
  • 4:20 - 4:22
    แล้วมุ่งไปที่
  • 4:22 - 4:24
    ระบบการให้ข้อมูลมากขึ้น
  • 4:24 - 4:26
    ตัวอย่างที่ดีสำหรับระบบอินเตอร์เฟซข้อมูลสำหรับผู้พิการทางสายตา
  • 4:26 - 4:28
    คือ AirPix
  • 4:28 - 4:30
    ลองคิดเสียว่ามันเป็นจอภาพสำหรับคนตาบอด
  • 4:30 - 4:32
    ที่เป็นเหมือนสมุดบันทึกที่เจาะรูไว้มากมาย
  • 4:32 - 4:34
    และลมก็ผ่านรูนั้นเข้ามา
  • 4:34 - 4:36
    แล้วมันก็สามารถวาดเป็นภาพได้
  • 4:36 - 4:38
    ดังนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะสายตาพิการ คุณเอามือวางบนนั้น
  • 4:38 - 4:40
    แล้วก็จะเห็นช่องทางบนถนนและสิ่งกีดขวางได้
  • 4:40 - 4:43
    จริงๆแล้ว คุณสามารถปรับเปลี่ยนความถี่ของลมที่พ่นออกมา
  • 4:43 - 4:45
    และก็อาจจะอุณหภูมิด้วย
  • 4:45 - 4:48
    ซึ่งนี้เป็นระบบอินเตอร์เฟซหลายมิติ
  • 4:48 - 4:51
    ที่คุณสามารถเห็นกล้องทางซ้าย ทางขวาของรถ
  • 4:51 - 4:54
    และได้รู้ว่าคอมพิวเตอร์แปลงและส่งข้อมูลไปยัง AirPix ได้อย่างไร
  • 4:54 - 4:56
    ด้วยสิ่งนี้ พวกเรากำลังแสดงภาพจำลอง
  • 4:56 - 4:59
    ผู้พิการทางสายตาขับรถโดยใช้ AirPix
  • 4:59 - 5:02
    การแสดงภาพจำลองนี้ยังมีประโยชน์ในการฝึกผู้พิการทางสายตาขับรถ
  • 5:02 - 5:04
    และยังเป็นการทดสอบอย่างเร็วให้กับ
  • 5:04 - 5:06
    ระบบอินเตอร์เฟซผู้พิการทางสายตาหลายประเภทด้วยเช่นกัน
  • 5:06 - 5:08
    นี่เป็นการทำงานโดยพพื้นฐานของอุปกรณ์
  • 5:08 - 5:10
    เมื่อเดือนที่แล้ว
  • 5:10 - 5:12
    วันที่ 29 มกราคม
  • 5:12 - 5:14
    เราได้เปิดตัวรถคันนี้ครั้งแรกต่อสาธารณชน
  • 5:14 - 5:17
    ที่สนามแข่งรถชื่อดัง Daytona International Speedway
  • 5:17 - 5:19
    ในงานแข่งขัน Rolex 24
  • 5:19 - 5:22
    ที่พวกเราได้รับเรื่องประหลาดใจด้วย มาดูกันครับ
  • 5:22 - 5:32
    (เสียงดนตรี)
  • 5:32 - 5:36
    (วิดีโอ) ผู้ประกาศ: วันนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์(เสียงพร่า)
  • 5:36 - 5:40
    ตอนนี้เขาขับถึงอัฒจรรย์แล้วครับ ตามด้วย Federistas
  • 5:40 - 5:46
    (เสียงเชียร์)
  • 5:46 - 5:49
    (เสียงแตร)
  • 5:49 - 5:51
    นั่นไงครับอัฒจรรย์
  • 5:51 - 5:55
    และเขา(เสียงพร่า)ขับตามรถแวนข้างหน้าเขามาแล้วครับ
  • 5:55 - 5:57
    มาแล้วครับ กล่องใบแรก
  • 5:57 - 6:00
    มาดูกันครับว่ามาร์คจะหลบได้ไหม
  • 6:00 - 6:03
    เขาทำได้ครับ เขาเบียงผ่านออกทางขวา
  • 6:05 - 6:08
    กล่องใบที่สามมาแล้วครับ ตามด้วยใบที่สี่
  • 6:08 - 6:11
    และเขาขับผ่านทั้งสองกล่องได้อย่างสวยงามครับ
  • 6:11 - 6:13
    เขาไล่รถแวนเข้ามาแล้วครับ
  • 6:13 - 6:16
    ขับผ่านไปแล้วครับ
  • 6:17 - 6:19
    นี่คือความฉลาด
  • 6:19 - 6:23
    ของระบบไดนามิกนี้เลย
  • 6:24 - 6:27
    เขากำลังเข้าสู่เส้นชัยแล้วครับ
  • 6:27 - 6:32
    โดยผ่านแผงกั้นอย่างสวยงาม
  • 6:32 - 6:35
    (เสียงแตร)
  • 6:35 - 6:38
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:41 - 6:43
    เดนนิส ฮอง: ผมดีใจไปกับคุณอย่างมากเลยครับ
  • 6:43 - 6:45
    มาร์คจะขับไปส่งผมที่โรงแรม
  • 6:45 - 6:47
    มาร์ก ริโคโบโน: แน่นอนครับ
  • 6:50 - 6:59
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:59 - 7:01
    เดนนิส: ตั้งแต่เราเริ่มงานนี้
  • 7:01 - 7:04
    พวกเราได้รับจดหมาย อีเมลล์ โทรศัพท์มากมาย
  • 7:04 - 7:06
    จากคนทั่วโลก
  • 7:06 - 7:09
    มีทั้งจดหมายขอบคุณ แต่บางครั้งก็มีจดหมายขำๆเหมือนกัน อย่างเช่นฉบับนี้:
  • 7:09 - 7:13
    "ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมมีอักษรเบรลล์อยู่บนตู้ ATM ที่ตั้งไว้บริการผู้ขับขี่"
  • 7:13 - 7:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:15 - 7:17
    แต่บางครั้ง
  • 7:17 - 7:19
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:19 - 7:21
    แต่บางครั้งผมก็ได้รับ
  • 7:21 - 7:23
    ผมไม่อยากเรียกว่าเมลล์ว่าร้าย
  • 7:23 - 7:25
    แต่น่าจะเป็นข้อท้วงติงมากกว่า
  • 7:25 - 7:27
    "ดร.ฮอง คุณบ้าไปแล้ว
  • 7:27 - 7:29
    พยายามให้คนตาบอดอยู่บนถนนเนี่ยนะ
  • 7:29 - 7:31
    คุณเสียสติไปแล้วแน่ๆ"
  • 7:31 - 7:33
    แต่รถนี้เป็นแค่แบบจำลอง
  • 7:33 - 7:35
    และมันจะไม่ออกสู่ท้องถนนแน่
  • 7:35 - 7:37
    จนกว่าจะถูกทดสอบว่าปลอดภัย หรือปลอดภัยกว่ารถทั่วไปแล้วเท่านั้น
  • 7:37 - 7:40
    และผมเชื่อจริงๆว่ามันจะต้องเป็นไปได้
  • 7:40 - 7:42
    แต่ยังมีข้อกังขาว่าสังคม
  • 7:42 - 7:44
    จะยอมรับไอเดียนี้ได้หรือไม่
  • 7:44 - 7:46
    แล้วพวกเราจะรับมือกับประกันอย่างไร
  • 7:46 - 7:48
    แล้วเราจะออกใบขับขี่ให้ได้อย่างไร
  • 7:48 - 7:51
    ยังมีอีกหลายอย่าง นอกเหนือจากความท้าทายทางเทคโนโลยี
  • 7:51 - 7:54
    ที่พวกเราต้องขบคิดกันก่อนที่เรื่องนี้จะเป็นจริง
  • 7:54 - 7:56
    แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายของโปรเจคนี้
  • 7:56 - 7:58
    คือพัฒนารถให้ผู้พิการทางสายตา
  • 7:58 - 8:00
    แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ
  • 8:00 - 8:03
    เทคโนโลยีมูลค่ามหาศาล
  • 8:03 - 8:05
    ที่ได้จากโปรเจคนี้ต่างหาก
  • 8:05 - 8:07
    เซนเซอร์เหล่านี้สามารถมองเห็นในที่มืด
  • 8:07 - 8:09
    หมอกควัน และฝนได้
  • 8:09 - 8:11
    ประกอบกับระบบอินเตอร์เฟซแบบใหม่
  • 8:11 - 8:13
    พวกเราสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้
  • 8:13 - 8:15
    ปรับใช้ได้กับรถของคนสายตาปกติ
  • 8:15 - 8:18
    หรือกับผู้พิการทางสายตา หรือกับเครื่องใช้ในบ้าน
  • 8:18 - 8:20
    ใช้สำหรับการศึกษา หรือที่ทำงาน
  • 8:20 - 8:23
    ลองคิดดูซิครับ ในห้องเรียนที่ครูเขียนกระดานดำ
  • 8:23 - 8:26
    และนักเรียนที่สายตาพิการสามารถเห็นและอ่านได้ว่าครูเขียนอะไร
  • 8:26 - 8:28
    โดยใช้ระบบอินเตอร์เฟซที่ไม่ใช้ภาพนี้
  • 8:28 - 8:31
    มีค่าอันประมาณมิได้ครับ
  • 8:31 - 8:34
    ดังนั้นวันนี้ สิ่งที่ผมได้นำเสนอไป มันแค่การเริ่มต้นเท่านั้นครับ
  • 8:34 - 8:36
    ขอบคุณมากครับ
  • 8:36 - 8:47
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เดนนิส ฮอง: สร้างรถยนต์ให้ผู้พิการทางสายตาขับขี่
Speaker:
Dennis Hong
Description:

ด้วยหุ่นยนต์ กล้องเลเซอร์วัดระยะเอนกประสงค์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) และเครื่องกลตอบสนองอัตโตมัติ ทำให้เดนนิส ฮอง (Dennis Hong) สร้างรถยนต์สำหรับผู้ขับขี่ที่พิการทางสายตา เขายังได้ย้ำว่ารถนี้ไม่ได้เป็นรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ แต่เป็นรถที่ผู้พิการทางสายตาสามารถขับ กำหนดความเร็ว กะระยะห่างและเส้นทางด้วยตนเองได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:48
Sritala Dhanasarnsombut added a translation

Thai subtitles

Revisions