หลายคนเชื่อว่าการขับขี่เป็นเรื่อง เฉพาะของคนที่มองเห็นได้เท่านั้น สำหรับผู้พิการทางสายตาที่จะขับขี่อย่างอิสระและปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งทุกวันนี้ สวัสดีครับ ผมชื่อ เดนนิส ฮอง และพวกเราจะนำความอิสระเสรีมาสู่คนตาบอด โดยสร้างยานพาหนะสำหรับผู้พิการทางสายตา ก่อนที่ผมจะพูดเกี่ยวกับรถสำหรับคนตาบอดนี้ ขอผมเล่าย่อๆเกี่ยวกับผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ผมได้ทำ ที่เรียกว่า DARPA Urban Challenge มันเป็นการสร้างรถหุ่นยนต์ ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้ คุณแค่กดปุ่มเริ่ม ไม่มีใครแตะต้องอะไรทั้งนั้น แล้วมันก็จะเคลื่อนไปจนถึงจุดหมายอัตโนมัติ ในปี 2007 (พ.ศ.2550) ทีมของเราชนะรางวัลกว่าครึ่งล้านดอลล่าร์ โดยพวกเราได้อันดับ 3 ในการแข่งขัน จากการแข่งขันนั้น สมาพันธ์ผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ (National Federation of the Blind: NFB) กำหนดโจทย์ให้คณะกรรมการวิจัย หาคนที่จะพัฒนารถ สำหรับผู้พิการทางสายตาได้ขับอย่างอิสระและปลอดภัย พวกเราเลยตัดสินใจลองดู เพราะพวกเราคิดว่า เฮ้ มันจะไปยากอะไร รถขับเครื่องอัตโนมัติ เรายังทำมาแล้วเลย พวกเราแค่จับผู้พิการทางสายตามานั่งและก็เสร็จแล้วจริงไหม? (เสียงหัวเราะ) ซึ่งพวกเราผิดถนัดเลย สิ่งที่ NFB ต้องการ ไม่ใช่ยานพาหนะที่พาผู้พิการทางสายตาไปรอบๆ แต่เป็นยานพาหนะที่ผู้พิการทางสายตาสามารถตัดสินใจและขับเองได้ ดังนั้นพวกเราเลยต้องโยนตำราทิ้งหมด แล้วเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น เพื่อทดสอบไอเดียบ้าบิ่นนี้ เราได้พัฒนารถต้นแบบคันเล็กนี้ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ และในฤดูร้อนปี 2009 (พ.ศ.2552) พวกเราได้เชิญผู้พิการทางสายตาวัยหนุ่มสาวมากมายจากทั่วประเทศ ให้พวกเขาได้ทดลองดู มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากครับ แต่ปัญหาของรถแบบนี้คือ มันถูกออกแบบมาเพื่อขับในสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาให้ควบคุมได้เท่านั้น เช่นในลานจอดรถแบบปิด หรือที่ซึ่งกำหนดโดยกรวยจราจรสีแดง หลังจากประสบความสำเร็จ พวกเราตัดสินใจที่จะพัฒนาไปอีกก้าว โดยลองทำกับรถจริงๆ ขับบนถนนจริงดู เรามาดูกันว่ามันทำงานอย่างไร มันออกจะซับซ้อนหน่อยนะครับ แต่ผมจะพยายามอธิบาย แบบง่ายๆแล้วกันครับ การทำงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การรับรู้ การคำนวณ และระบบอินเตอร์เฟซที่ไม่ใช้ภาพ แน่นอนว่าคนขับมองไม่เห็น ดังนั้นระบบจำเป็นต้องรับรู้สภาพแวดล้อม และให้ข้อมูลต่างๆกับคนขับ ดังนั้นเราจึงใช้หน่วยวัดเริ่มต้น เพื่อวัดความเร่ง อัตราเร่งเชิงมุม เหมือนกับหูของมนุษย์ หูชั้นใน และเชื่อมข้อมูลเหล่านั้นกับ GPS เพื่อหาค่าประมาณของตำแหน่งรถ แล้วก็มีกล้องอีก 2 ตัวเพื่อจับภาพช่องทางบนถนน นอกจากนั้นก็มีเลเซอร์ค้นหาอีก3ตัว ซึ่งเลเซอร์ทำหน้าที่เป็นตัวสแกนรอบๆหาสิ่งกีดขวาง ต่างๆทั้งด้านหน้า ด้านหลัง รวมทั้งอุปสรรคต่างๆบนท้องถนน และรอบๆรถด้วย แล้วข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะถูกป้อนใส่คอมพิวเตอร์ แล้วคอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ 2 ประการ สิ่งเรกคือ แปลข้อมูลเหล่านี้ เพื่อที่จะเข้าใจสภาพแวดล้อม นี่เป็นทางวิ่งของถนน นั่นเป็นอุปสรรคกีดขวาง และนำเสนอข้อมูลสู่ผู้ขับขี่ ระบบยังฉลาดพอที่จะ เลือกทางที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับรถด้วย ดังนั้นเราจึงสามารถใส่ข้อแนะนำ เกี่ยวกับวิธีการควบคุมรถได้ด้วย แต่ปัญหามีอยู่ว่า: เราจะอธิบาย ข้อมูลเหล่าและข้อแนะนำเหล่านี้ ให้กับคนที่มองไม่เห็นได้ เร็วพอและถูกต้องที่สุดได้อย่างไร ด้วยเหตุผลนี้ พวกเราจึงพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับผู้พิการทางสายตาหลายด้าน โดยเริ่มจากระบบส่งเสียง 3 มิติ เสื้อกั๊กระบบสั่น การเปลี่ยนวงล้อด้วยคำสั่งเสียง ด้วยการใช้แถบติดขา หรือแม้แต่รองเท้ารับแรงกดของเท้า แต่วันนี้ผมจะพูดถึง ระบบอินเตอร์เฟซสำหรับคนพิการทางสายตา 3 ระบบ ระบบแรกเรียกว่า DriveGrip นี่เป็นถุงมือ ที่มีระบบสั่นอยู่ที่บริเวณข้อมือ เพื่อที่คุณจะรับรู้ได้ถึงคำแนะนำว่าจะหัน ไปทางทิศใดและเมื่อไหร่ อุปกรณ์อีกอันเรียกว่า SpeedStrip นี่เป็นเก้าอี้ ความจริงแล้วมันเป็นเก้าอี้นวดครับ พวกเราจัดการต่อระบบใหม่ให้ระบบสั่นเปลี่ยนไป เพื่อให้มันทำหน้าที่บอกความเร็ว และแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำมันกับการใช้เบรคด้วย โดยตรงนี้ คุณจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์เข้าใจสภาพแวดล้อมได้อย่างไร และเพราะคุณไม่สามารถเห็นการสั่นสะเทือน พวกเราเลยใส่หลอดแอลอีดี (LED) สีแดงให้คนขับ เพื่อที่คนขับจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นข้อมูลการรับรู้ แล้วข้อมูลส่วนนี้จะโอนถ่ายไปยังอุปกรณ์อื่นๆเพื่อเข้าไปสู่คอมพิวเตอร์ ดังนั้นอุปกรณ์สองอย่างนี้ DriveGrip และ SpeedStrip มีประสิทธิผลสูงมาก แต่ปัญหาคือ มันเป็นระบบแบบกำหนดคำสั่ง ซึ่งมันก็ไม่อิสระจริงไหมครับ คอมพิวเตอร์บอกคุณว่าคุณจะขับอย่างไร ไปซ้าย ไปขวา เร่งความเร็ว หรือหยุด เราเรียกปัญหานี้ว่า ปัญหาของการเป็นผู้ขับตัวสำรอง พวกเราจึงพยายามเบนตัวออกจากระบบคำสั่งเหล่านี้ แล้วมุ่งไปที่ ระบบการให้ข้อมูลมากขึ้น ตัวอย่างที่ดีสำหรับระบบอินเตอร์เฟซข้อมูลสำหรับผู้พิการทางสายตา คือ AirPix ลองคิดเสียว่ามันเป็นจอภาพสำหรับคนตาบอด ที่เป็นเหมือนสมุดบันทึกที่เจาะรูไว้มากมาย และลมก็ผ่านรูนั้นเข้ามา แล้วมันก็สามารถวาดเป็นภาพได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะสายตาพิการ คุณเอามือวางบนนั้น แล้วก็จะเห็นช่องทางบนถนนและสิ่งกีดขวางได้ จริงๆแล้ว คุณสามารถปรับเปลี่ยนความถี่ของลมที่พ่นออกมา และก็อาจจะอุณหภูมิด้วย ซึ่งนี้เป็นระบบอินเตอร์เฟซหลายมิติ ที่คุณสามารถเห็นกล้องทางซ้าย ทางขวาของรถ และได้รู้ว่าคอมพิวเตอร์แปลงและส่งข้อมูลไปยัง AirPix ได้อย่างไร ด้วยสิ่งนี้ พวกเรากำลังแสดงภาพจำลอง ผู้พิการทางสายตาขับรถโดยใช้ AirPix การแสดงภาพจำลองนี้ยังมีประโยชน์ในการฝึกผู้พิการทางสายตาขับรถ และยังเป็นการทดสอบอย่างเร็วให้กับ ระบบอินเตอร์เฟซผู้พิการทางสายตาหลายประเภทด้วยเช่นกัน นี่เป็นการทำงานโดยพพื้นฐานของอุปกรณ์ เมื่อเดือนที่แล้ว วันที่ 29 มกราคม เราได้เปิดตัวรถคันนี้ครั้งแรกต่อสาธารณชน ที่สนามแข่งรถชื่อดัง Daytona International Speedway ในงานแข่งขัน Rolex 24 ที่พวกเราได้รับเรื่องประหลาดใจด้วย มาดูกันครับ (เสียงดนตรี) (วิดีโอ) ผู้ประกาศ: วันนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์(เสียงพร่า) ตอนนี้เขาขับถึงอัฒจรรย์แล้วครับ ตามด้วย Federistas (เสียงเชียร์) (เสียงแตร) นั่นไงครับอัฒจรรย์ และเขา(เสียงพร่า)ขับตามรถแวนข้างหน้าเขามาแล้วครับ มาแล้วครับ กล่องใบแรก มาดูกันครับว่ามาร์คจะหลบได้ไหม เขาทำได้ครับ เขาเบียงผ่านออกทางขวา กล่องใบที่สามมาแล้วครับ ตามด้วยใบที่สี่ และเขาขับผ่านทั้งสองกล่องได้อย่างสวยงามครับ เขาไล่รถแวนเข้ามาแล้วครับ ขับผ่านไปแล้วครับ นี่คือความฉลาด ของระบบไดนามิกนี้เลย เขากำลังเข้าสู่เส้นชัยแล้วครับ โดยผ่านแผงกั้นอย่างสวยงาม (เสียงแตร) (เสียงปรบมือ) เดนนิส ฮอง: ผมดีใจไปกับคุณอย่างมากเลยครับ มาร์คจะขับไปส่งผมที่โรงแรม มาร์ก ริโคโบโน: แน่นอนครับ (เสียงปรบมือ) เดนนิส: ตั้งแต่เราเริ่มงานนี้ พวกเราได้รับจดหมาย อีเมลล์ โทรศัพท์มากมาย จากคนทั่วโลก มีทั้งจดหมายขอบคุณ แต่บางครั้งก็มีจดหมายขำๆเหมือนกัน อย่างเช่นฉบับนี้: "ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมมีอักษรเบรลล์อยู่บนตู้ ATM ที่ตั้งไว้บริการผู้ขับขี่" (เสียงหัวเราะ) แต่บางครั้ง (เสียงหัวเราะ) แต่บางครั้งผมก็ได้รับ ผมไม่อยากเรียกว่าเมลล์ว่าร้าย แต่น่าจะเป็นข้อท้วงติงมากกว่า "ดร.ฮอง คุณบ้าไปแล้ว พยายามให้คนตาบอดอยู่บนถนนเนี่ยนะ คุณเสียสติไปแล้วแน่ๆ" แต่รถนี้เป็นแค่แบบจำลอง และมันจะไม่ออกสู่ท้องถนนแน่ จนกว่าจะถูกทดสอบว่าปลอดภัย หรือปลอดภัยกว่ารถทั่วไปแล้วเท่านั้น และผมเชื่อจริงๆว่ามันจะต้องเป็นไปได้ แต่ยังมีข้อกังขาว่าสังคม จะยอมรับไอเดียนี้ได้หรือไม่ แล้วพวกเราจะรับมือกับประกันอย่างไร แล้วเราจะออกใบขับขี่ให้ได้อย่างไร ยังมีอีกหลายอย่าง นอกเหนือจากความท้าทายทางเทคโนโลยี ที่พวกเราต้องขบคิดกันก่อนที่เรื่องนี้จะเป็นจริง แน่นอนว่าจุดมุ่งหมายของโปรเจคนี้ คือพัฒนารถให้ผู้พิการทางสายตา แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เทคโนโลยีมูลค่ามหาศาล ที่ได้จากโปรเจคนี้ต่างหาก เซนเซอร์เหล่านี้สามารถมองเห็นในที่มืด หมอกควัน และฝนได้ ประกอบกับระบบอินเตอร์เฟซแบบใหม่ พวกเราสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ปรับใช้ได้กับรถของคนสายตาปกติ หรือกับผู้พิการทางสายตา หรือกับเครื่องใช้ในบ้าน ใช้สำหรับการศึกษา หรือที่ทำงาน ลองคิดดูซิครับ ในห้องเรียนที่ครูเขียนกระดานดำ และนักเรียนที่สายตาพิการสามารถเห็นและอ่านได้ว่าครูเขียนอะไร โดยใช้ระบบอินเตอร์เฟซที่ไม่ใช้ภาพนี้ มีค่าอันประมาณมิได้ครับ ดังนั้นวันนี้ สิ่งที่ผมได้นำเสนอไป มันแค่การเริ่มต้นเท่านั้นครับ ขอบคุณมากครับ (เสียงปรบมือ)